GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
ผลการค้นหา : "Review"
รีวิวเกม Necrobarista กาแฟแก้วสุดท้ายแด่ผู้วายชนม์
-หมายเหตุ : ผู้เขียนใช้เวลาในการ เล่น และ อ่าน เนื้อหาของเกมนี้ทั้ง 10 Episodes เป็นเวลา 6 ชั่วโมง และยังคงพยายามเก็บเนื้อหา Side-Story ที่ยังเหลืออยู่อีกครึ่งหนึ่ง ระยะเวลาในการเล่นขึ้นกับผู้เล่นแต่ละคนเป็นสำคัญ... -หมายเหตุ 2 : Necrobarista มีอยู่บนระบบ Mac iOS ผ่าน Apple Arcade ที่ผู้ใช้ Mac สามารถหามาเล่นได้จาก ที่นี่ และมีกำหนดจะพอร์ทลงสู่ระบบ Playstation 4 และ Nintendo Switch ในปี 2021 ที่จะถึงนี้ ถ้าหากจะพูดกันถึง ‘ร้านกาแฟ’ แล้วนั้น ไม่ว่าจะเป็นร้านที่มีเชนสาขาขนาดใหญ่ หรือร้านแผงเล็กๆ ในปากซอยหมู่บ้าน ต่างก็มีเสน่ห์และบรรยากาศที่แตกต่างกันออกไป มันเป็นทั้งที่ดื่มด่ำในรสชาติของกาแฟอย่างเข้มขรึม เป็นที่รวมพลถกเรื่องราวในสังคม เป็นที่พักใจเล็กๆ สำหรับนักเขียน และอาจจะเป็นสถานที่สุดพิเศษที่อยู่ในความทรงจำของผู้คนที่หลากหลาย และแน่นอนว่า ร้านกาแฟ ก็ปรากฏในสื่อบันเทิงอยู่มากมาย อาจจะเรียกได้ว่าเป็น Settings ที่พบเห็นได้บ่อยเป็นลำดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ (เช่น นวนิยายญี่ปุ่น ‘เพียงชั่วเวลากาแฟยังอุ่น (Café Funiculi Funicula)’ ของโทชิคาซึ คาวางุจิ ที่อบอวลไปด้วยความรู้สึกที่สุดแสนจะพิเศษ จนได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ในปี 2018) [caption id="attachment_63988" align="aligncenter" width="555"] เพียงชั่วเวลากาแฟยังอุ่น ของโทชิคาซึ คาวางุจิ แปลโดยคุณฉัตรขวัญ อดิศัย แพรวสำนักพิมพ์ เป็นนวนิยายแสนอบอุ่นขนาดกะทัดรัดที่ผู้เขียนขอแนะนำ[/caption] แต่สำหรับแวดวงวิดีโอเกม ร้านกาแฟ กลับเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ค่อนข้างยาก ท่ามกลางความสุดสวิงของเนื้อหาที่หลากหลาย ความเรียบง่ายและง่ายงามของร้านกาแฟกลับเป็นสิ่งที่ยากจะพบ และนั่นทำให้ ‘Necrobarista’ จากทีมพัฒนาสายอินดี้สัญชาติออสเตรเลีย Route 59 นั้น ดูมีความพิเศษขึ้นมา ไม่ใช่แค่ในส่วนของเนื้อหา หากแต่เป็นองค์ประกอบศิลป์โดยภาพรวม ที่ขับเน้นให้เกม ‘Visual Novel’ ชิ้นนี้ โดดเด่นจับตาและมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน -The Terminal : ร้านกาแฟแห่งนี้ขอต้อนรับ ทั้งคนเป็นและคนตาย (แต่ไม่มี WiFi โปรดเข้าใจ...) Necrobarista บอกเล่าเรื่องราวของร้านกาแฟ ‘The Terminal’ กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ที่เป็น ‘จุดเปลี่ยนผ่าน’ ระหว่างคนเป็นและคนตาย กับวิถีชีวิตของ Maddy ‘บาริสต้าหมอผี (Necrobarista)’ ผู้ทำหน้าที่ชงกาแฟแก้วสุดท้ายให้กับผู้วายชนม์ที่แวะเวียนเข้ามา และให้ใช้เวลา 24 ชั่วโมงสุดท้ายร่วมกับคนเป็นก่อนจะเดินทางไปสู่โลกหน้า และในเกมนี้ ก็คือเรื่องราว 24 ชั่วโมงอันสุดพิเศษ ที่เต็มไปด้วยความผูกพัน ความโกลาหล การเล่นแร่แปรมนต์ และผู้คนที่ผ่านทางเข้ามา ไม่ว่าจะทั้งคนเป็นหรือคนตาย [caption id="attachment_63973" align="aligncenter" width="1024"] Maddy บาริสต้าหมอผี (Necrobarista) แห่งร้าน The Terminal กับชีวิตอันไม่สามัญระหว่างคนเป็นและคนตายที่เธอต้องพบเจอ[/caption] ในเบื้องต้น สิ่งที่โดดเด่นเป็นอย่างมากสำหรับ Necrobarista นั้น คือการที่มันเป็นเกม Visual Novel ที่เลือกใช้การนำเสนอกราฟิกแบบ 3d สไตล์ Cel-Shaded โทนสีอบอุ่นสบายตา คลอไปกับดนตรีประกอบแบบ Lo-Fi ที่ฟังแล้วสบายใจ ในขณะที่เรื่องราวของ Maddy ดำเนินไป ผ่าน Episode ทั้ง 10 ในรอบระยะเวลา 24 ชั่วโมง อันเป็นกิจวัตรอันแสนจะเป็นปกติสำหรับเธอ (ที่ก็ยุ่งเหยิงจนเราเผลอลืมไปว่าที่แห่งนี้ คือจุดพักกึ่งกลางระหว่างคนเป็นและคนตาย) [caption id="attachment_63974" align="aligncenter" width="1024"] การใช้งานศิลป์แบบ 3d Cel-Shaded โทนสีอบอุ่น คลอไปด้วยเพลงแบบ Lo-Fi ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ประหนึ่งอยู่ในร้านกาแฟจริงๆ อย่างไงอย่างงั้น[/caption] แน่นอนว่าองค์ประกอบศิลป์ที่โดดเด่น ถูกนำมาขับเน้นด้วยบรรดาตัวละครเสริมที่เข้ามาช่วยสร้างสีสันให้กับเรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะทั้งตัวของ Maddy, Chay เชฟและผู้ช่วยจิปาถะ อดีต บาริสต้าหมอผี อมตะอายุ 200 ปี, Ashley เด็กสาวอัจฉริยะนักประดิษฐ์ผู้เสพติดคาเฟอีนเข้าเส้น จนถึง Kishan วิญญาณเร่ร่อนที่เข้ามาใช้เวลาร่วมกับพลพรรคแห่งร้าน The Terminal ใน 24 ชั่วโมงสุดท้าย ยังไม่นับรวมเหล่าตัวละครอื่นๆ ที่มีทั้งฮิปสเตอร์, มาเฟีย, คนจร และสมาชิกสภาผู้วายชนม์ (Council of Death) ผู้คุมกฎแห่งร้าน (และเป็นผู้ออกกฎ 24 ชั่วโมงที่ไม่อาจละเมิดได้…) ที่ทำให้เรื่องราวนั้น น่าติดตาม เพราะมันไม่ได้เพียงแค่บอกเล่าเนื้อหาที่เหนือธรรมชาติ แต่มันยังพูดถึงความรักความผูกพัน ความลำบากใจ ปัญหาชีวิต การรักษาสมดุลระหว่างโลกคนเป็นและคนตาย การทำสิ่งตกค้างที่เหลืออยู่ ไปจนถึงการปล่อยวางในวาระสุดท้าย เรียกได้ว่ามันเป็นนวนิยายภาพที่ครบรส และอ่านได้สนุก ด้วยรูปแบบการนำเสนอที่ชวนให้ติดตามเป็นอย่างมาก [caption id="attachment_64281" align="alignnone" width="1024"] แม้จะเป็นวิญญาณจร แต่ Kishan ก็เป็นตัวละครที่ชวนให้เราตั้งคำถามกับ ชีวิต ได้อย่างลึกซึ้ง ภายใต้การบอกเล่านำเสนออย่างลื่นไหล และชวนให้กระตุกความคิดไว้อย่างมาก[/caption] แน่นอนว่าในประเด็นเนื้อหาหลักใหญ่นั้น มองดูเผินๆ แล้วจะดำเนินผ่านสายตาของ Maddy กับ Chay แต่การพูดถึง ชีวิตและความตาย กับ การรับมือในห้วงวาระสุดท้าย ก็ต้องยกให้ตัวละครอย่าง Kishan ที่ในตลอดทั้ง 10 Episodes นี้ คือคนที่แบกรับความรู้สึกไว้หนักหน่วงที่สุด ความสงสัยในสาเหตุการตาย การหลงเหลือสิ่งที่ตกค้างที่ยังไม่ได้ทำ การผูกความสัมพันธ์กับผู้คน (ที่มันอาจจะสั้นเพียงแค่ 24 ชั่วโมง) และการทำความเข้าใจกับสภาวะปัจจุบันของตัวเองและการต้อง เลือก ที่จะก้าวข้ามไปโลกหน้าโดยไม่เหลือสิ่งใดค้างคา หากแต่เต็มไปด้วยความกลัวและไม่แน่ใจ เหล่านี้ ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถนำเสนอออกมาได้อย่างง่ายๆ (เพราะเรื่องหลังความตาย ตกอยู่ในขอบเขตที่เป็นนามธรรม เปิดกว้างต่อการตีความอย่างสูง...) แต่บรรดาตัวละครที่ผ่านทางเข้ามา ก็ช่วยให้มันมีความ ลื่นไหล และ ติดดิน ภายใต้ Settings ที่ผสมผสานความเหนือจริงเข้ากับวิถีชีวิตในแบบปกติธรรมดา ที่ทีมงาน Route 59 ทำออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม กลมกล่อม และหลายครั้งก็ชวนให้กระตุกคิดถึงชีวิตในฐานะ คนเป็น อย่างเราๆ อยู่ไม่น้อย -ชีวิตหลากสีสัน ในแต่ละวันของ The Terminal นอกเหนือจากเนื้อหาหลักทั้ง 10 Episodes แล้วนั้น ตัวเกมยังพ่วงด้วยระบบ ‘เนื้อหาเสริม (Side-Story)’ ที่จะปลดล็อคด้วย Token ที่จะมีให้เลือกในระหว่าง Episode เอาไว้สำหรับปลดล็อคเนื้อหาในช่วง Intercourse ซึ่งก็มีตั้งแต่เรื่องราวชวนหัวเบาสมอง เรื่องราวที่ซีเรียสจริงจัง แม้จะไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อไปให้ถึงปลายทางตอนจบของเกม แต่การได้รับรู้เรื่องราวเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชายชราขาจรที่ชื่อพ้องกับเหล้า Jack Daniels ผู้ชอบร่ำดื่มในโอกาสพิเศษ, ความขัดแย้งของ Maddy กับ Ned สมาชิกสภาผู้วายชนม์ คู่กัดไม้เบื่อไม้เมาเกี่ยวกับการ อนุโลม ให้วิญญาณจรอยู่เกิน 24 ชั่วโมง (ที่กลายเป็นปัญหา หนี้เวลา ที่เธอยังหาทางชดใช้ไม่ได้...) ไปจนถึงเรื่องเบาสมองของการประดิษฐ์หุ่นยนต์ของ Ashley ที่น่ารักหยิกแกมหยอก ก็ช่วยขยายโลกของเกม และเรื่องราวของร้าน The Terminal แห่งนี้ให้ชัดเจน จับต้องได้มากยิ่งขึ้น [caption id="attachment_63976" align="aligncenter" width="1024"] เนื้อหาเสริมหรือ Side-Story ที่มีให้ปลดล็อคและ อ่าน คั่นจังหวะระหว่างแต่ละ Episode ที่เปี่ยมไปด้วยความหลากหลาย น่าติดตาม[/caption] -เน้น เล่า ไม่เน้น เล่น... อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นเนื้อหาที่อ่านได้สนุก งานภาพสวยงาม ดนตรีไพเราะ และตัวละครที่มีสีสันและบุคลิกเฉพาะตัว แต่ Necrobarista นั้นก็ทำหน้าที่เป็น ‘Visual Novel’ หรือนวนิยายภาพชนิดตั้งแต่หัวจรดท้าย นั่นเพราะสิ่งที่ผู้เล่นสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ ก็คือการเดินสำรวจ ดูเรื่องราว และปลดล็อคเนื้อหาเสริม ไม่มาก ไม่น้อยไปกว่านั้น และเรียกร้องการมีส่วนร่วมกับเนื้อหาด้วยการ ‘อ่าน’ ที่มากอย่างมีนัยสำคัญ [caption id="attachment_63977" align="aligncenter" width="1024"] การเลือก คำ เพื่อปลดล็อค Token สำหรับเนื้อหาเสริม ดูจะไม่ใช่วิธีที่ดีเท่าไหร่ในการดึงผู้เล่นให้เข้าสู่โลกอีกด้านของตัวเกม...[/caption] ซึ่งในจุดนี้ ถ้าเทียบกับเกมแนวที่ใกล้เคียงกันอย่าง VA-11 Hall-A: Cyberpunk Bartender Action ของ Sukeban Games ทีมอินดี้จากเวเนซุเอลา หรือ Coffee Talk ของ Toge Productions (ที่คุณสามารถอ่านรีวิวโดยคุณ ll7777ll ได้จาก ที่นี่) แล้วนั้น จะพบว่าสองเกมที่กล่าวถึง จะมีการปฏิสัมพันธ์และการใส่ Mini-Games ที่ผู้เล่นสามารถ ‘เล่น’ ได้มากกว่า ซึ่งทำให้ Necrobarista นั้น อาจจะกลายเป็นยาขมหรือยานอนหลับชวนง่วงไปเสียก่อนถ้าหากคุณไม่ใช่สายอ่านอย่างจริงจัง (แม้ว่าไดอะล็อกจะถูกเขียนขึ้นอย่างคมคาย ทั้งเนื้อหาและจังหวะการหยอดมุกก็ตาม) ไปจนถึงปัญหาทางเทคนิคประปราย จากการที่เกมถูกสร้างด้วยเอนจิ้น Unity (ที่ผู้เขียนแม้จะใช้การ์ดจอ RTX 2070 Super แต่ก็ยังมีแอบพบอาการกระตุกให้เห็นบ้างเป็นครั้งคราว) แต่ถ้าจะนับสิ่งที่น่าเสียดายมากๆ สำหรับ Necrobarista นั้น คือระบบการปลดล็อค Side-Story หรือเนื้อหาเสริม ที่การเลือก Keyword ในระหว่าง Episode เพื่อสะสม Token นั้น แทบจะไม่มีอะไรบ่งบอกเลยว่าผู้เล่นจะได้รับ Token แบบไหนมาอยู่ในมือ ซึ่งในขณะที่พิมพ์บทความชิ้นนี้ ผู้เขียนก็ปลดล็อคไปได้แค่ครึ่งเดียว และวัดจากจำนวนแล้วก็อาจจะน้อยไปสักนิด แม้ว่าทาง Route 59 สัญญาว่าจะเพิ่มเติมในส่วนนี้เข้ามาให้ฟรีๆ ในอัพเดทภายหลังก็ตาม -แก้วสุดท้ายแด่ผู้วายชนม์ แต่ไม่ว่าจะอย่างไร Necrobarista ก็ถือได้ว่าเป็นผลงานที่ชัดเจนในแนวทางของตัวเอง ไม่ประนีประนอมต่อรูปแบบการนำเสนอ และผ่านการคิดและเขียนขึ้นอย่างละเมียดละไม มันใช้ฉากหลังที่ผสมเรื่องราวเหนือธรรมชาติ  (บาริสต้าหมอผีกับเหล่าวิญญาณจรที่ผ่านทางเข้ามา…) แต่ในแต่ละเรื่องราว มันกำลังพูดถึงความเป็น ‘มนุษย์’ ที่ชัดถ้อยในจุดประสงค์ มีแง่มุมให้ขบคิด และชวนให้เราย้อนระลึกว่าความรักความผูกพัน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และการ ‘ปล่อยวาง’ ในช่วงเวลาสุดท้ายที่เหลืออยู่ มีคุณค่าและความสำคัญมากเพียงใด กล่าวโดยสรุป มันอาจจะไม่ใช่เกมที่เหมาะสมสำหรับทุกคน (อย่างที่กล่าวไปข้างต้น มันไม่ประนีประนอมในการนำเสนอเลยแม้แต่นิดเดียว) และเรียกร้องการมีส่วนร่วมอย่างสูง แต่ Pace และเนื้อหาที่มันนำเสนอ ก็น่าเอนกายผ่อนใจให้เราชะลอจังหวะชีวิต ค่อยๆ จิบและดื่มด่ำกับเรื่องราวที่จะคลี่ห่มอย่างอบอุ่น เช่นเดียวกับการห่อหุ้มความรู้สึกด้วยรสชาติแห่งกาแฟ มันคือเกมขนาดเล็ก แต่บอกเล่าเรื่องราวที่ไม่เล็ก และมีคุณสมบัติที่ครบพร้อม แม้ว่ามันจะใช้เวลาถึงสามปีกว่าที่จะวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ แต่มันก็ฉายให้เห็นว่า เส้นทางของทีม Route 59 นั้น มีรสนิยม เข้าใจคิด ไม่ติดในเรื่องการนำเสนอ และยังทอดยาวออกไปได้ไกลแค่ไหน … “ซึ่งถ้าเปรียบพวกเขาเป็นบาริสต้าแล้วนั้น เรื่องราวที่หลากหลายผสมผสานกันในครั้งนี้ ก็ยอดเยี่ยม เฉกเช่นกาแฟที่คั่วจากเมล็ดชั้นดีที่ชวนให้เราร่ำดื่ม และย้อนกลับมาหามัน ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่านั้นเอง…” [penci_review id="63970"]
24 Aug 2020
รีวิวเกม Might & Magic: Era of Chaos เกมรบทัพจับศึกสุดแฟนตาซี
ซีรีส์ Might & Magic เป็นซีรีส์เกม RPG สวมบทบาทที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะฝั่งยุโรป ถือว่าเกมนี้เป็นระดับตำนานเลยก็ว่าได้ โดยตัวเกมตัวแรกสุดของซีรีส์ Might & Magic ปล่อยออกมาในปี 1986 หลังจากนั้นมา ตัวเกมก็มีภาคใหม่ ๆ ออกมาเรื่อย ๆ โดยเฉพาะยุคปัจจุบันที่แพลตฟอร์มมือถือเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดเกมแนวใหม่ ๆ ขึ้นมามากมาย Might & Magic เองก็ถือเป็นอีกหนึ่งเกม ที่ได้ทำการวิวัฒตัวเองไปสู่เกมรูปแบบใหม่เช่นกัน Might & Magic: Era of Chaos เป็นเกมแนว Strategy RPG บนแพลตฟอร์ม Android และ iOS เปิดให้บริการโดยค่ายเกมยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่างค่าย Ubisoft โดยตัวเกมแม้ว่าจะได้ชื่อว่าเป็น Strategy RPG  ก็ตาม แต่เอาจริง ๆ ตัวเกมสามารถเรียกได้ว่าเป็นเกมแนว RPG สไตล์จัดทีมตัวละคร ที่จะส่งให้ทีมตัวละครของเราและฝั่งศัตรูได้ออกไปสู้กันโดยอัตโนมัตินั่นเอง ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเกม Might & Magic: Era of Chaos เป็นเกมแนว Strategy RPG ที่เราจะได้เลือกฮีโร่และจัดทีมกองทัพของตัวเอง ให้ออกไปต่อสู้กับกองทัพของศัตรู ตัวเกมโดดเด่นเป็นอย่างมากในการหยิบเอาตัวละคร ธีมเกม ฉาก รวมไปถึงเรื่องราวต่าง ๆ มาจากซีรีส์ Might & Magic ซึ่งได้ชื่ออยู่แล้วว่าเป็นซีรีส์แฟนตาซีสุดยิ่งใหญ่อลังการ ที่มีทั้งเผ่า โลก เวทย์มนตร์ และตัวละครสำคัญ ๆ ที่มีเสน่ห์มากมายให้เราได้หลงใหล กราฟฟิก และงานออกแบบ "กราฟิก 2D รายละเอียดดี ภาพประกอบคุณภาพงานแฟนตาซีแท้" กราฟฟิกตัวเกมของ Might & Magic: Era of Chaos จะมาในรูปแบบสไตล์แนวการ์ตูน 2D แต่คงไว้ด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ที่ทำออกมาได้อย่างปราณีตครบถ้วน โดยเฉพาะภาพประกอบต่าง ๆ ของตัวละครที่ทำออกมาในรูปแบบการ์ด ก็ทำออกมาได้ดูดีมาก ถ้าปริ๊นออกมาเป็นการ์ดจริง ๆ ผมว่าสามารถนำมาขายได้เลยละ จุดหนึ่งที่ตัวกราฟฟิกทำออกมาดี คือฉากการต่อสู้ เพราะในเกมในสไตล์เดียวกันกับ Might & Magic: Era of Chaos ฉากต่อสู้ส่วนใหญ่จะค่อนข้างและมาก ๆ ดูไม่ออกว่าใครสู้กับใคร ใครทำอะไรบ้าง มันทำให้เราพลาดความเท่ห์ หรือเสน่ห์ของตัวละครที่ทำออกมาอย่างดีไปเสียหมด แต่สำหรับฉากต่อสู้ของ Might & Magic: Era of Chaos ถือว่าทำออกมาดูดีทีเดียว เราสามารถเห็นกลุ่มก้อนของยูนิตแต่ละตนได้เป็นอย่างดี และเห็นว่าตัวละครเหล่านั้นทำอะไรลงไปบ้าง ระบบเกมเพลย์ "จัดทัพตัวละคร วางกลยุทธ์ตำแหน่ง เหมือนเล่นเกมหมากกระดาน แต่ตัวหมากมีชีวิต สกิล และความแข็งแกร่งที่สามารถสอดผสานกันได้" ตัวระบบเกมเพลย์หลักหรือระบบต่อสู้ภายในเกม จะมาในรูปแบบของเกมแนว RPG จัดทีม ที่ปล่อยให้ฮีโร่ของเราออกไปต่อสู้กับทีมฮีโร่ของฝั่งศัตรูโดยอัตโนมัติ แต่แตกต่างนิดหน่อยตรง Might & Magic: Era of Chaos จะให้ความรู้สึกถึงความเป็นกองทัพมากกว่า โดยภายในตัวเกม เราจะสามารถจัดกองทัพของเราได้สูงสุด 8 ยูนิต ซึ่งยูนิตบางประเภทจะไม่ได้ออกมายืนโดดเดี่ยวตนเดียว แต่จะมายืนเป็นกลุ่ม เวลาต่อสู้ จึงเหมือนการเคลื่อนพลของกองทัพ มากกว่าเห็นเป็นตัวละครวิ่งเข้าไปต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม ความพิเศษของ Might & Magic: Era of Chaos คือเรามีพื้นที่ให้วางยูนิตทั้งหมด 4 x 4 ช่องเท่านั้น และจะแบ่งแถวหน้าหลังไว้เท่า ๆ กันที่ 2 x 4 ช่อง โดยยูนิตภายในเกมแบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 สาย โดย โจมตี ป้องกัน และจู่โจม จะเป็นยูนิตแถวหน้า ส่วน ระยะไกล กับคาสเตอร์จะถูกล็อคไว้ให้อยู่แถวหลัง โดยการวางตำแหน่งตัวยูนิต ถือว่ามีความสำคัญมาก ๆ เพราะจะหมายถึงการปะทะ หรือการเจาะเข้าสู่ตำแหน่งยูนิตแถวหลัง ซึ่งมีพลังป้องกันที่น้อยกว่าได้ นอกจากการจัดทัพตัวยูนิตแล้ว ตัวเกมยังมีระบบ "ฮีโร่" หรือคนคุมกองทัพ โดยในปัจจุบันฮีโร่ของ Might & Magic: Era of Chaos มีมากถึง 23 ตน ฮีโร่เป็นตัวละครที่สำคัญมาก เพราะนอกจากจะช่วยบัพโบนัสค่าสเตตัสให้ตัวยูนิตในกองทัพของเราเองแล้ว ฮีโร่ยังเป็นตัวแปลในการใช้สกิลในระหว่างการต่อสู้อีกด้วย โหมด & ระบบการเล่น "การันตีเรื่องโหมดการเล่นที่เยอะมาก ตามสไตล์เกม RPG บนมือถือยุคปัจจุบัน" ใน Might & Magic: Era of Chaos การปลดล็อคระบบต่าง ๆ ทำได้ด้วยการเพิ่มระดับเลเวลของตัวเรา ตัวเกมมีระบบให้เราได้เล่นได้ศึกษาเยอะมาก ตั้งแต่ระบบอัปเกรดร้อยแปด ทั้งอัปเกรดยูนิต อัปเกรดฮีโร่ ระบบภารกิจ ระบบแจกของมากมาย โหมดเนื้อเรื่อง โหมด PVP โหมด PVE ระบบ Guild โหมดอีเวนท์รายวันรายสัปดาห์ ระบบค่ายทหาร และอีกมากมายหลายหลากตามสไตล์เกม RPG บนมือถือยุคปัจจุบัน ระบบกาชา "ระบบกาชาแบบเศษยูนิต พร้อมการสุ่ม SSR แบบ 100%" ระบบกาชาของ Might & Magic: Era of Chaos แม้จะมีแจกให้เราได้หมุนฟรีวันละ 1 ครั้ง แต้ตู้กาชาของตัวเกมก็ค่อนข้างที่จะหมุนให้ได้ยูนิตตามที่ต้องการยาก เพราะภายในตู้จะไม่ได้ออกมาแค่ยูนิตเท่านั้น แต่ยังมาพร้อมกับเศษของยูนิต ซึ่งการจะได้ตัวละครระดับ SSR มาครองค่อนข้างหวังกับการสุ่มเป็นครั้ง ๆ ได้ยาก เน้นกาชาให้ครบ 100 ครั้งจะดีกว่า เพราะพอครบ 100 ครั้ง ระบบจะสุ่มปล่อยยูนิต SSR มาให้เราได้เชยชม 1 ตัวแบบ 100% อย่างไรก็ตาม เศษยูนิตของฮีโร่ค่อนข้างสำคัญมาก เพราะมันเอาไว้สำหรับอัปเกรดเพิ่มดาวให้ตัวละคร ซึ่งจะทำให้ตัวละครแข็งแกร่งขึ้นอย่างก้าวกระโดดได้นั่นเอง นอกจากนี้ตัวละครระดับ SR ก็เป็นตัวละครที่อัปเกรดได้ง่าย สามารถสอดผสานกันได้ดีไม่แพ้ตัวละครระดับ SSR ดังนั้นต่อให้เกมนี้ยูนิต SSR จะออกยากไปหน่อย แต่ยูนิตระดับ SR ก็เจ๋งไม่แพ้กันเลย สรุป "เกมจัดทัพตัวละครที่ให้อารมณ์วางกลยุทย์ และควบคุมกองทัพใหญ่จริง ๆ แม้ว่าตัวเกมจะเป็นเกม RPG ทั่ว ๆ ไปก็ตาม" ผมชอบสเน่ห์ของ Might & Magic: Era of Chaos ตรงตัวละคร และงานออกแบบต่าง ๆ เรารู้สึกได้เลยว่านี้คือโลกแฟนตาซี การจัดทีมตัวละคร ให้อารมณ์เหมือนการจัดกองทัพมากกว่าจะเรียกว่าเป็นแค่การจัดทีม เราต้องรู้จักวางกลยุทธ์ให้กองทัพของเราได้เปรียบกว่ากองทัพศัตรู การกดใช้สกิลของฮีโร่ระหว่างการต่อสู้มีผลต่อรูปเกมเป็นอย่างมาก ให้อารมณ์เหมือนเราเป็นผู้วิเศษของกองทัพ ที่สามารถใช้พลังเวทย์กวาดต้อนกองทัพของศัตรูให้ราบเรียบได้ในครั้งเดียว หากคุณชอบเกมแนว RPG แฟนตาซี ที่ให้อารมณ์การจัดกองทัพ การวางกลยุทธโดยอิงตำแหน่งของตัวละครเป็นหลัก Might & Magic: Era of Chaos สามารถตอบโจทย์ความชอบของคุณได้แน่นอน ดาวน์โหลดเกม Might & Magic ®: Era of Chaos  [penci_review id="63847"]
18 Aug 2020
รีวิว Doom Eternal บัลเล่ต์แห่งความตาย ศิลปะแห่งการทำลายล้าง
หมายเหตุ : บทความรีวิวชิ้นนี้ เขียนขึ้นหลังจากใช้เวลาเล่น Doom Eternal ระบบพีซีนับตั้งแต่วันวางจำหน่ายจนถึงปลายทางด้วยเวลา 27 ชั่วโมง เก็บ Secret และ Challenge จนครบที่ความยากระดับ Hurt Me Plenty (Normal) หมายเหตุ 2 : เกมนี้มีความไวของ Frame Rates ที่สูงมาก ผู้ที่มีประวัติอาการ Motion Sickness กับเกมแนว FPS ควรเล่นด้วยความระมัดระวัง *********************************************************************************************************** ถ้าหากนับตามอายุขัยแล้ว เกมประเภทเดินหน้ายิงหรือ First Person Shooting (FPS) ก็มีขวบปีที่จะย่างใกล้สามสิบเข้าไปทุกขณะ มันคือหนึ่งในแนวเกมที่ยืนยงคงกระพันนับตั้งแต่การปรากฏตัวครั้งแรกของมันผ่านงานจากทีม id Software เช่น Wolfenstein 3D ในปี 1992 และผ่านการเติบโต วิวัฒน์พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผสมผสานเข้ากับแนวอื่นๆ จนเป็นภาพจำที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และชื่อของ ‘Doom’ ก็เป็นอีกหนึ่งซีรีส์ที่ยังได้รับการกล่าวถึงอยู่เสมอ … ด้วยบทแอ็คชันอันรวดเร็วสุดระห่ำ เทคโนโลยีด้านภาพที่ล้ำยุค (ในช่วงเวลานั้น) เพียงแค่สององค์ประกอบ ก็ทำให้มันติดลมบนจนเป็นที่กล่าวขาน และก้าวเข้าสู่สถานะของความเป็น ‘ตำนาน’ แห่งเกม FPS ที่แม้แต่คนที่เกิดไม่ทัน ก็ต้องเคยได้ยินชื่อ หรือรับรู้การดำรงอยู่ของมันกันบ้าง ไม่มากก็น้อย (แถมลงมันทุกระบบตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ตั้งแต่ที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด จนถึงแพลทฟอร์มขนาดพกพาอย่าง Game Boy Advanced และ Nintendo Switch หรือแม้แต่ดัดแปลง Homebrew ไปเล่นบนเครื่องคิดเลขดิจิตอล!) แน่นอนว่ามันเคยพลาดพลั้งผิดจังหวะกันไปบ้าง กับผลงานอย่าง Doom 3 ในปี 2004 ที่ทางผู้พัฒนาคิดลองของให้มันเป็นเกมสยองเปิดไฟฉาย (แต่ก็ยังประสบความสำเร็จในยอดขายและเสียงวิจารณ์) และห่างหายไปจากแวดวงเป็นเวลาเกือบสิบสองปี ก่อนที่ ‘Doom’ จะกลับมาอีกครั้งในปี 2016 และสร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญ เมื่อมันกลับสู่รากเหง้าที่แท้จริงของความคลาสสิคสุดระห่ำ ตอกย้ำความเหนือชั้นด้วยจิตวิญญาณดั้งเดิมที่เพิ่มเติมด้วยเทคนิคและลูกเล่นแบบที่เกมยุคสมัยโมเดิร์นพึงมีและพึงเป็น จากวันนั้น สี่ปีผ่านไป (และผ่านการเลื่อนการวางจำหน่ายไปหนึ่งรอบ) Doom Eternal คือการต่อยอดในแนวทางที่แผ้วถางเอาไว้ก่อนหน้าได้อย่างชัดเจนยิ่ง เมื่อความระห่ำนั้นถูกทวีคูณขึ้นอีกสามเท่า เสริมรสแต่งแต้มสีสันด้วยเทคโนโลยี การบอกเล่าเนื้อหา ดนตรีประกอบ งานศิลป์ และเกมการเล่นอันสุดเร้าใจ เป็น ‘บัลเล่ต์แห่งความตาย’ ที่ราวกับจะเป็นการยืนหนึ่งอย่างท้าทาย ว่าในท้ายที่สุด ซีรีส์นี้ก็พร้อมจะทวงถามที่ทางของมันบนบัลลังก์แห่งราชาเหนือเกม FPS ทั้งปวง ดังที่มันเคยเป็น และจะยังคงเป็นโดยตลอดมา Doom Eternal สานต่อเรื่องราวจากภาคปี 2016 เมื่อกองทัพจากนรกรุกรานโลก เข่นฆ่าประชากรไปกว่าครึ่ง และเปลี่ยนพื้นพิภพให้เดือดไปด้วยไฟประลัยกัลป์ และเป็นอีกครั้ง ที่ ‘Doom Slayer’ ผู้พิฆาต จะต้องออกมากอบกู้วิกฤติครั้งนี้ ในการเดินทางผจญภัยที่ไม่เพียงแต่จะพาเขาไปสู่นรกขุมที่ลึกที่สุด แต่ยังไต่ขึ้นสู่บันไดแห่งสวรรค์ที่สูงที่สุด ท้าทายการคงอยู่ของสามโลกที่จะสั่นคลอนความเป็นไปของทุกสิ่งอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในเบื้องต้น ต้องชื่นชมทีมเขียนบทของ id Software เพราะไม่เพียงแต่พวกเขาจะสานต่อเนื้อหาที่รจนาเอาไว้จากภาค 2016 ได้อย่างละเมียดละไม แต่ยังมาพร้อมการนำเสนอผ่านคัทซีน ปูมบันทึก และการเรียงลำดับเรื่องราวได้อย่างหมดจด มันคือการขยายขอบเขตของการบอกเล่าที่ไปได้ไกลกว่า ที่จะพาผู้เล่นไปพบกับโลกที่ถูกเผาผลาญด้วยกองทัพปิศาจ, ขุมนรกที่ลึกที่สุด และสวรรค์ชั้นที่สูงที่สุด พร้อมผสมผสานพื้นหลังที่มาที่ไปของ Doom Slayer ให้มีมิติและมีความ ‘กลม’ ในฐานะตัวละครหลัก ที่เชื่อมโยงกับเกมภาคก่อนๆ อย่าง Doom, Doom 2 และ Doom 64 ให้มากขึ้นกว่าเดิม มันคือปกรณัมแห่งสามโลก เป็นการตีความสงครามนรกสวรรค์ในแบบใหม่ และอาจจะเป็นหนึ่งในเกมซีรีส์ Doom ที่มีเนื้อเรื่องที่เฉียบคมที่สุดเท่าที่มันเคยสร้างมาในตลอดระยะเวลาเกือบสามสิบปีเลยก็เป็นได้ พร้อมกันนั้น มันยังมีความ ‘ยั่วล้อ’ ตัวเองในแบบที่ไม่ซีเรียส ด้วยการยัดไส้ Easter Egg และ Reference จาก Doom ภาคเก่าก่อนและเกมของ id Software อันหลากหลาย ประหนึ่งว่าจะทำลายเส้นแบ่งระหว่างความจริงจังและความไม่เอาสาระ ที่ทำออกมาได้อย่างเรียบเนียน และน่ารักหยิกแกมหยอกอยู่ไม่น้อย แต่ก็เช่นเดียวกับ Doom ในทุกภาค การดำรงอยู่ของเนื้อหาอาจจะไม่ใช่สาระสำคัญเมื่อเทียบกับเกมการเล่น (ซึ่งผู้เล่นอาจจะไม่ต้องสนใจด้วยซ้ำว่ามันจะถูกบอกเล่าออกมาอย่างไรตราบเท่าที่มีกองทัพปิศาจออกมาให้ฆ่า ตัด เฉือน) และ Eternal ก็พร้อมจัดให้ ในความระห่ำที่มากยิ่งกว่าภาคเก่าก่อน บอกลาได้เลยกับการสู้รบในพื้นที่ปิดแบบครั้งต่อครั้ง เพราะทุกการปะทะ มันคือความเดือดของการฆ่าและการทำลายล้าง ที่เหล่าปิศาจได้ขนกองทัพแทบจะหมดนรกมาเพื่อบดขยี้ Doom Slayer รอบทิศทางอย่างไม่มียั้ง (ซึ่งทำให้เกมโหดขึ้นกว่าภาคที่แล้วอีกสามเท่า...) ผ่านงานออกแบบ Level Design ที่เพิ่มพื้นที่สนามแห่งการสังหารให้มีมิติและเปิดกว้างมากยิ่งขึ้น มี Secret และลูกเล่นมากขึ้น และเริ่มต้นอย่างเร้าใจนับตั้งแต่ฉากแรกจนถึงฉากสุดท้าย เหล่านี้ ถูกเสริมความสะใจไปด้วยดนตรีเมทัลระดับจัดหนักโดยฝีมือของ Mick Gordon ประพันธกรมือเอกคู่บุญของค่าย ที่จะทำให้อะดรีนาลีนของผู้เล่นถูกสูบฉีดจนถึงขีดสุดในทุกการปะทะ เป็นโมเมนตัมของมหกรรมการเข่นฆ่าที่แทบไม่ทำให้ผู้เล่นได้หยุดพักหายใจ และมากยิ่งกว่าครั้งใดๆ ที่ผ่านมา พร้อมกันนั้น ในความคลาสสิคของการปะทะที่เร้าใจ มันก็ยังไม่ลืมหัวใจของเกมแบบโมเดิร์น ด้วยลูกเล่นของการอัพเกรดอาวุธ ความสามารถ และท่วงท่าของ Doom Slayer ผ่านไอเทมที่มีให้เลือกเก็บและ Challenge ให้เลือกทำ ทุกอาวุธต่างมีโหมดที่สองเพื่อตอบสนองต่อการประหัตประหารได้ตามสถานการณ์ ไม่มีอีกแล้วกับอาวุธที่ดีที่สุดเพียงหนึ่งเดียว เพราะศัตรูที่แตกต่าง ย่อมต้องการอุปกรณ์ในการสังหารที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ที่ทุกอาวุธต่างมีอรรถประโยชน์ใช้สอย แน่นอนว่ามันอาจจะชวนให้สับสนในเบื้องแรก ที่ต้องคอยสับเปลี่ยนมันอยู่บ่อยครั้ง (ท่ามกลางสนามแห่งการฆ่าที่ทุกวินาทีนั้นมีค่า และการเคลื่อนไหวหรือหยุดนิ่งอาจหมายถึงการอยู่รอดหรือความตาย) แต่ความแข็งแกร่งจากการอัพเกรดตามเวลาและการสร้างความคุ้นเคยจะเกิดขึ้นตามมา จนกลายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้เองโดยธรรมชาติ ที่จะช่วยให้การเล่นนั้นสนุกขึ้น สะใจมากยิ่งขึ้น และต่อเนื่องไร้รอยสะดุด อันเป็นจุดขายที่ซีรีส์ Doom ภาคคลาสสิคนั้นเคยเป็น และถูกนำมาต่อยอดได้อย่างเหนือชั้นในภาค Eternal ไม่มีครั้งไหนที่ผู้เล่นจะรู้สึกทรงพลัง ไร้เทียมทานฆ่าไม่ตาย ประหนึ่งความหายนะเดินได้ที่เหล่าปิศาจทั้งหลายจะต้องหลาบจำและหวาดกลัวเท่ากับครั้งนี้อีกแล้ว ในด้านเทคโนโลยี Eternal ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังแห่ง id Tech 7 ตัวใหม่ล่าสุดที่ได้รับการปรับปรุงจากตัวก่อนหน้า มันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในแง่ของการแสดงผลและการแปรเปลี่ยนงานศิลป์แห่งนรกและการเข่นฆ่าให้สุดยอดอลังการ ด้วยความละเอียดที่สูงขึ้น เหล่าปิศาจต่อฉากที่มากขึ้น และเอฟเฟกต์แสงสีที่ดีขึ้น โดยที่ไม่กระเทือนต่อ Performance ทรัพยากรเครื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่เชื่อมือได้จากทีมงานสาย id Software ผู้ก้าวล้ำนำหน้าด้านเทคโนโลยีอยู่เสมอ และเชื่อว่าเอนจิ้นตัวล่าสุด อาจจะกลายเป็นทางเลือกสำหรับผู้พัฒนารายอื่นๆ ให้ได้นำไปต่อยอดกันต่อไปในเวลาภายภาคหน้า กระนั้นแล้ว ใช่ว่า Eternal จะไม่มีจุดบกพร่องใดๆ ให้เห็น แน่นอนว่ามันยังเป็นสนามแห่งการฆ่าอันสุดเร้าใจ แต่ช่วง Downtime ที่ถูกแทรกด้วยปริศนากระโดดแบบ Platforming ที่มากขึ้นนั้นก็ดูน่าขัดใจและประดักประเดิดจนเกินกว่าความจำเป็น (และหลายครั้ง ยากในระดับที่ทำให้หัวอุ่นๆ กันพอประมาณ…) , Hub ศูนย์กลางอย่าง Doom Fortress ที่ยังไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเห็นจริงในเชิงรูปธรรม (ซึ่งอาจจะต้องรอ DLC เนื้อหาที่จะตามมา…) , ปัญหาบั๊กส์และเชิงเทคนิคตั้งแต่เล็กๆ ไปจนถึงระดับถีบออกจากเกมและร้ายแรงอย่างไฟล์เซฟพัง (ที่เกิดน้อยมาก แต่อันตรายขั้นสุด...) ที่รอคอยการแก้ไขด้วยแพทช์ ไปจนถึงโหมดผู้เล่นหลายคนอย่าง Battlemode ที่ทำออกมาได้อย่างไม่สมดุลและแทบจะกลายเป็นอาณาเขตแดนร้างปราศจากผู้เล่นไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าทาง id Software จะนำโหมด Arena แบบดั้งเดิมกลับมาหรือไม่ ก็คงได้แต่หวังกันไป…) แต่โดยสรุป แม้จะมีข้อเสียที่ชวนให้ขัดใจ แต่ Doom Eternal ก็คือสิ่งที่ตอกย้ำความอยู่มือและความไม่เป็นสองรองใครของทีม id Software ผู้ให้กำเนิดเกมแนว First Person Shooting ที่ปรับตัวตามยุคสมัย โดยที่ไม่ลืมซึ่งแก่นหลักและหัวใจที่ทำให้ซีรีส์ Doom นั้นยืนยงคงกระพันมาอย่างยาวนาน ที่มีแต่จะมากขึ้น ระห่ำขึ้น และเดือดขึ้นอย่างที่เกมแนวเดียวกันยุคสมัยใหม่ได้แต่มองด้วยความตกตะลึง ทึ่ง และอึ้งว่าสิ่งเก่าเหล่านี้จะสามารถวิวัฒน์ให้มายืนหยัดได้อย่างองอาจและท้าทายได้อย่างไม่เกรงกลัวใคร มันคือการเข่นฆ่าที่งดงามราวกับฟลอร์ของบัลเล่ต์แห่งความตาย และเท่ไปด้วยสไตล์ที่เปลี่ยนการทำลายล้างให้กลายเป็นงานศิลปะ ที่มีแต่ id Software เท่านั้นที่จะกล้า และสามารถทำได้ เฉกเช่นเดียวกับภารกิจของ Doom Slayer ผู้ยอมปวารณาตน ดำดิ่งไปสู่ขุมนรกที่ลึกที่สุด และไต่บันไดสวรรค์ที่สูงที่สุด เพื่อหยุดยั้งและทำลายกองทัพปิศาจ ล้างบางเหล่าเทวฑูต และปกป้องมนุษยชาติอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ไม่มีหยุด และไม่คำนึงถึงปลายทางใดๆ... และ Doom Eternalจะทำให้ชื่อของ Doom ยังคงสถิตอยู่ในใจของนักเล่น และแวดวงวิดีโอเกมในเวลาถัดจากนี้ต่อไป….ชั่วนิรันดร์ [penci_review id="47573"]
27 Mar 2020
Final Fantasy VII Remake Demo : 23 ปีเพื่อนกัน และความมหัศจรรย์ของการพบกันอีกครั้ง
คุณเคยมีเพื่อนที่สร้างความประทับใจให้ไม่รู้ลืม ไม่ว่าจะผ่านเวลามานานขนาดไหนหรือเปล่า? สำหรับผู้เขียน … ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 23 ปีที่แล้ว ในวันศุกร์ที่ 31 มกราคม 1997 ด้วยวัย 12 ขวบ ที่ยอมลาเรียน รบเร้าคุณพ่อให้พาไปต่อคิวหน้าศูนย์โซนีสาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วาน ที่เต็มไปด้วยผู้คนที่มาด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกัน อันช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิต มันเป็นวินาทีที่พิเศษที่สุด ที่ผลจากความพยายามเก็บเงินข้ามปี จำนวน 2180 บาท กำลังจะออกดอกผล เป็นแพ็คเกจแผ่นเกมเครื่องเล่น Playstation ใหม่ล่าสุด ที่มีชื่อว่า …. Final Fantasy VII จากวันที่ได้รับแผ่น ผู้เขียนเล่นมันอย่างไม่ลืมหูลืมตา แม้ว่าจะไม่เข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ปรากฏขึ้นมาบนหน้าจอโทรทัศน์แม้แต่ตัวเดียว เฝ้าเสาะแสวงหาบทสรุปของสำนักพิมพ์ต่างๆ มาประกอบการเล่น เล่นจบแล้วก็เล่นซ้ำไปมา เป็นห้วงเวลาที่มีความสุขที่สุด ที่ได้ใช้ร่วมกันกับ ‘เพื่อน’ ผู้นี้ และเป็นสิ่งที่กำหนดตัวตน และความเป็น ‘คนเล่นเกม’ ของผู้เขียนมานับตั้งแต่นั้น…. เวลาผ่านไป 23 ปีมาจนถึงปัจจุบัน ที่ผู้เขียนเป็นชายวัยเกือบกลางคน ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายพรรษา ผ่านชิ้นงานเกมหลากหลายแนวมานับไม่ถ้วน ได้เห็นวัฏจักรการเกิดดับของแต่ละ Cycle ของแวดวง และได้รับทราบถึง ‘การกลับมา’ ของเพื่อนคนเก่า ที่มาในรูปโฉมใหม่ มันอดที่จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วยไม่ได้ มันเป็นความตื่นเต้น อันเกิดจากความอยากรู้อยากเห็น ว่าเวลากว่าสองทศวรรษที่ผ่านไป ‘เพื่อน’ คนนี้ จะยังคงน่าสนใจแค่ไหน และมีเรื่องราวใดที่จะมาบอกกล่าวกันกับผู้เขียน เรานัดเจอกันในเย็นย่ำวันธรรมดาหลังเลิกงาน เฝ้ารอให้เพื่อนเดินทางมาสถิตอยู่ในเครื่อง Playstation 4 Pro ใช้เวลาเพียงไม่นาน ‘เพื่อนเก่า’ ใน ‘โฉมใหม่’ ก็ได้มาอยู่ต่อหน้า พร้อมสำหรับการพูดคุยสนทนาวิสาสะกัน และนี่ คือการสนทนาของผู้เขียน กับ ‘เพื่อน’ คนนี้ … รูปลักษณ์ สุ้มเสียง สำเนียงที่เปลี่ยนไป ในเรื่องราวเก่าแก่ที่บอกกล่าวกันใหม่ตามช่วงเวลา เราเริ่มต้นทักทายกันด้วยความทรงจำและเรื่องราวเก่าเป็นบทเปิดโหมโรงพอเป็นพิธี แต่ก็สัมผัสได้ทันที ว่าเพื่อนผู้นี้ มีกลวิธีที่แตกต่างออกไปจากเดิม มันมีเสน่ห์มากขึ้นตามยุคสมัย แต่สามารถลงลึกถึงรายละเอียดเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนได้อย่างแม่นยำ ฉากที่เป็น Signature หลายช่วงถูกนำเสนอออกมาในรายละเอียดที่มากขึ้น ที่แม้แต่ผู้เขียนก็คาดไม่ถึง ว่าเรื่องราวในครั้งนั้น จะมีสิ่งละอันพันละน้อยปลีกย่อยที่น่าสนใจได้ถึงขนาดนี้ มันช่วยเติมรสชาติที่แปลกใหม่ แต่ก็ยังมีความชวนให้หวนอาลัยต่อความทรงจำที่เคยได้รับมาในสถานการณ์เดียวกัน ดวงตาของผู้เขียนเป็นประกายราวกับเด็กที่ได้ของเล่นใหม่ เหมือนได้ย้อนกลับไปยังวันเวลาเก่าก่อนอีกครั้ง ‘เพื่อน’ ไม่รอช้า เข้าสู่บทโหมโรงของเรื่องราวแห่ง Cloud Strife ทหารรับจ้าง กับภารกิจร่วมกับกลุ่ม Avalanche ในการทำลายเตาปฏิกรณ์ Mako ของบรรษัทยักษ์ใหญ่ Shinra Company แน่นอนว่านี่ เป็นเรื่องเก่า แต่ก็เป็นเรื่องเก่าที่น่าคิดถึง และยิ่งมาในรูปโฉมใหม่ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ความน่าสนใจในการสนทนาครั้งนี้ เพิ่มสูงขึ้นอีกเป็นเท่าตัว ตัวละครประกอบอย่างแก๊งส์ร่วมขบวนการอย่าง Biggs, Wedge และ Jessie ถูกขับเน้นให้มีตัวตน มีบุคลิก และ ‘มีความสำคัญ’ ดังที่เพื่อนได้กล่าวกับผู้เขียนว่า เรื่องราวถัดจากนั้น จะยิ่งเข้มข้นและลงลึกในรายละเอียดมากยิ่งขึ้น (และอาจจะดึงดราม่าเรียกน้ำตากันได้ง่ายๆ...) ผู้เขียนพอจะทราบมาบ้างแล้วว่า เพื่อนผู้นี้มีความพยายามที่จะตามยุคสมัยและเวลาที่เปลี่ยนไปให้ทัน นั่นทำให้สิ่งรกรุงรังอย่างการผลัดกันตีผลัดกันเดิน ถูกทดแทนด้วยบทแอ็คชันประยุกต์ผสมผสานโหมด Active Time Bar (ATB) แบบฉบับดั้งเดิมให้เป็นในส่วนของคอมมานด์ที่สามารถกดใช้ได้แทบจะทันที หรือจะกดใช้แบบกึ่งชะลอจังหวะการเล่นเพื่อดูภาพรวมของสมรภูมิก็สามารถทำได้ ทำให้การออกท่วงท่าต่างๆ เป็นไปอย่างเรียบเนียนไร้รอยสะดุด ช่วยให้การเล่นนั้นรวดเร็ว คมกริบ และง่ายต่อการเรียนรู้ เพียงแค่สองการปะทะ ผู้เขียนก็สามารถใช้มันได้อย่างคล่องแคล่วโดยแทบไม่ต้องมองจอยแพดที่อยู่ในมือ เขาบอกว่าเอาตัวอย่างบางส่วนมาจากภาค 15 เข้ามาปรับปรุง แต่ก็ยังเหลือเผื่อจังหวะให้ช้าลงเพื่อความสะดวกมากยิ่งขึ้น เป็นการประนีประนอมที่เข้าท่ามากๆ เพราะมันได้ทั้งความเร็ว และมิติทางการวางแผน อันเป็นมรดกสืบทอดจากช่วงเวลาอันแสนน่าคิดถึงเหล่านั้น ความรวดเร็วในการดำเนินเรื่องราวของเพื่อนยังคงไว้ซึ่งจังหวะอย่างต่อเนื่อง คลอไปด้วยดนตรีที่คุ้นเคย ไม่มีอีกแล้วกับการเดินในพื้นที่แล้วสู้กับศัตรูแบบสุ่ม ทุกอย่างถูกวางสคริปต์เอาไว้อย่างเหมาะเจาะ ทุกการปะทะถูกเตรียมพร้อมเอาไว้โดยมีเป้าประสงค์ที่ชัดเจน และเข้าถึงประเด็นได้โดยไม่ต้องเสียเวลาสาธยายความ แต่ไม่ละเลยซึ่งส่วนปลีกย่อยที่เล็กน้อยที่สุดอย่างการแสดงออกทางสีหน้าตัวละคร ท่วงท่าภาษากาย บทสนทนาตอบโต้ระหว่างกัน เป็นการบอกบุคลิกที่แตกต่างระหว่าง Cloud Strife และ Barret Wallace ในภารกิจทำลายเตาปฏิกรณ์ มันชัดเจน และขับเน้นตัวละครได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้ บ่งบอกถึงการคิดมาอย่างดี พ่วงด้วยประสบการณ์ที่สะสมตามเวลามานานปี ที่ผู้เขียนมั่นใจ ว่าจะสามารถจับหัวใจได้ทั้งเพื่อนเก่าแก่ท่านอื่น และผู้ที่รู้จักกับเขาเพียงครั้งแรก ดังเช่นที่ผู้เขียนได้เพลิดเพลินกับการปรับโฉมในรอบนี้ เรื่องราวการผจญภัยมาถึงปลายทาง ผ่านบทต่อสู้กับบอสประจำพื้นที่อย่างหุ่นยนต์ Scorpion Sentry หน้าเก่า ที่กลับมาอย่างเร้าใจ มันมีลูกเล่นที่มากมาย และซุกซ่อนกลเม็ดเด็ดพรายที่ทำให้การต่อสู้นั้นท้าทายและเป็นมากกว่าการเดินเข้าตีอย่างดาดๆ มันต้องใช้ความคิดที่มากขึ้น ใช้ทักษะที่มากขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือ มันค่อนข้างจะเป็นการต่อสู้ที่ ‘ยาก’ เอาเรื่อง หลายครั้งที่ผู้เขียนเกือบจะพลาดพลั้งเสียที จนต้องเรียนรู้รูปแบบการโจมตีและท่วงท่าของมัน และเลือกใช้ความสามารถของสองตัวละครที่สลับผลัดเปลี่ยนในช่วงที่เหมาะสม จึงสามารถคว้าชัยชนะในการปะทะครั้งนี้ลงไปได้ ทั้งหมดนี้ ผู้เขียนเชื่อว่า คือสิ่งที่เพื่อนอยากจะบอกกล่าวตั้งแต่กาลก่อน แต่ไม่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยี หรือด้วยวัยที่ยังใหม่ต่อโลกกว้าง ที่วงการยังอยู่ในระยะตั้งไข่ก้าวเดินออกไปได้ไม่นานก็ตาม จุดสะดุดในเรื่องเล่า แต่ก็เช่นเดียวกับเรื่องเล่าในทุกเรื่อง การบอกเล่าของเพื่อนยังไม่ได้สมบูรณ์แบบจนถึงที่สุด ยังมีจุดที่ยังน่ากังขาอยู่ไม่น้อยที่ยังรอคอยคำตอบ ไม่ว่าจะด้วยมุมกล้องที่ใช้งานได้ไม่สะดวกมากนัก ไปจนถึงระดับความยากของการเล่นที่ค่อนข้างสวิงไม่คงที่ แต่นั่นก็เป็นเพียงความไม่สะดวกเพียงเล็กน้อย ที่ไม่ได้ขัดขวางซึ่งความสนุกที่พึงได้รับแต่ประการใด รูปแบบการบอกเล่า (การเล่น) ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เพื่อนผู้นี้กังวล อาจจะเพราะด้วยความที่เขามีคนที่รักอยู่มากมาย การเปลี่ยนแปลงสไตล์จากหน้ามือเป็นหลังมือเช่นนี้ อาจก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์ได้ทั้งทางบวกและทางลบ แต่ก็เป็นความกังวลที่แฝงไปด้วยความมั่นใจในน้ำเสียงอยู่ไม่น้อย ว่าจะสามารถมัดใจผู้ที่เข้ามาพูดคุยได้อย่างอยู่หมัด มันบ่งบอกชัดผ่านการนำเสนอที่ทั้งนอบน้อมต่อความทรงจำเก่าของเรา และความพยายามที่ก้าวสู่อาณาเขตของความร่วมสมัยที่สามารถสัมผัสได้แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก็ตาม อีกทั้งเพื่อนผู้นี้ออกตัวกับผู้เขียนเอาไว้แต่เนิ่นๆ ด้วยว่า เขาอาจจะไม่ได้มีความพร้อมที่จะบอกเล่าทุกเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบไปถึงปลายทางดังที่เคยเป็น อาจจะเพราะมีหลายสิ่งที่ได้รับการเพิ่มเติมเข้ามา หลายอย่างที่ช่วงเวลาได้บ่งเพาะให้มีความละเมียดละไม และหลายจุดที่ไม่สามารถละสายตาไปได้ แต่นั่นไม่ใช่สาระเท่าใดในความรู้สึกของผู้เขียน มันออกจะเป็นความน่าลุ้นเสียด้วยซ้ำว่าด้วยพรรษาที่ผ่านไป เขาจะเพิ่มเติมส่วนประกอบอันใดเข้าไว้ในเรื่องราวแต่หนก่อน ให้มีเสน่ห์และรสชาติที่น่าลิ้มลองอีกครั้ง การเฝ้าคอย และนับถอยหลังสู่การพูดคุยครั้งสำคัญ ผู้เขียนและเพื่อนใช้เวลาร่วมกันในการสนทนาครั้งนี้ที่ 45 นาที เป็นเวลาที่ดูเหมือนจะนาน แต่ก็ผ่านไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าใจคิด อดที่จะรู้สึกเสียดายไปไม่ได้ ที่การพบปะกันหลังเวลาผ่านไปกว่าสองทศวรรษจะต้องปิดฉากลงไปก่อนเป็นการชั่วคราว เพราะมันเป็นการพบกันที่น่าอภิรมย์ แม้จะเป็นช่วงสั้นๆ แต่ก็ทำให้เห็นว่า เพื่อนผู้นี้ มีดีมากกว่าที่คิด และมีดีมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มรู้จัก แม้เวลาจะผ่านไปกว่าสองทศวรรษ และยิ่งเปล่งประกายเมื่อได้รับการขัดด้วยกาลเวลา ก่อนจากกัน เราให้สัญญานัดแนะอย่างเป็นมั่นเหมาะ ว่าจะพบกันเพื่อพูดคุยอีกครั้ง ในวันที่ 10 เมษายน ที่จะมาถึงในอีกไม่กี่อึดใจนี้  แน่นอนว่าผู้เขียนเองก็อดใจแทบไม่ไหว ที่จะได้เปิดวงสนทนากับเพื่อนผู้นี้กันให้อย่างเต็มอิ่มชุ่มปอด สวมกอดด้วยมิตรภาพที่มีให้มาอย่างยาวนานนับแรมปี และมันคงจะเป็นสิ่งที่ทำให้ย้อนระลึกถึงความเป็นเด็กวัย 12 อีกครั้ง ในวันที่ได้พบเจอกัน เพราะช่วงเวลาที่แสนสุข และยอดเยี่ยม มันไม่เคยเกี่ยง ว่าจะกลับมาในรูปโฉมไหน หรือออกมาในรูปแบบใด แล้วคุณล่ะ มีเพื่อนแบบนี้อยู่ในความทรงจำบ้างหรือเปล่า?
13 Mar 2020
รีวิว Battlefield V เจ้าแห่งเกมสงคราม ที่กลับมาอย่างยิ่งใหญ่
แนวเกม: FPS ผู้พัฒนา: DICE จัดจำหน่าย: EA แพลตฟอร์ม: PlayStation 4, Xbox One, PC (Origin) Battlefield V เกมแนว FPS ภาคต่อจากซีรีส์แนวสงครามของค่ายยักษ์ใหญ่อย่าง EA ที่คุณรู้จักกันดี โดยในภาคนี้ตัวเกมจะพาให้คุณเข้าไปสัมผัสในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่ามกลางการต่อสู้ของเหล่ามหาอำนาจอย่างฝ่ายสัมพันธมิตร และ ฝ่ายอักษะ เพื่อชิงความเป็นหนึ่ง โดยตัวเกมได้พัฒนาระบบต่างๆ ให้แตกต่างจากภาค Battlefield 1 อยู่มากพอสมควรเพื่อส่งมอบประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับตัวผู้เล่น และถือว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญมากสำหรับเกมนี้ที่ต้องบอกว่าพวกเขากล้า !! และอาจจะเป็นมิติใหม่ของเกมที่เราจะได้เห็นไปอีกซักพักสำหรับซีรีส์ Battlefield ภาคถัดๆ ไป ถึงแม้ว่าในช่วงเปิดตัวนั้น ตัวเกมได้รับคำวิจารณ์ในเชิงลบอยู่มากพอสมควร จนทำให้บัลลังค์ชื่อเสียงคำว่าเฟรนไชส์เกมยอดเยี่ยมนั้นสั่นคลอนลงมาเลยทีเดียว ซึ่งทางผู้พัฒนาก็ไม่ได้นิ่งนอนใจและไปปรับแก้ระบบต่างๆ จนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2018 ที่ผ่านมา ตัวเกมนั้นก็ได้วางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ โดยในบทความนี้พวกเราชาว GamefeverTH จะมารีวิวเกมนี้อย่างละเอียด ดีหรือไม่ดีตรงไหนจากความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน พร้อมทั้งการเปรียบเทียบระหว่างภาคนี้กับ Battlefield 1 ที่มันแตกต่างกันยังไง และต้องขอบคุณผู้สนับสนุนใจดีอย่าง NGIN ที่ส่งแผ่น PS4 เกมนี้มาให้เรารีวิวครับ เอาล่ะเราไปชมกันเลย กราฟิก ถึงแม้ว่าตัวกราฟิกของเกมภาคนี้จะใช้เอ็นจิ้น Frostbite 3 เหมือนในภาคที่แล้ว แอนิเมชั่นต่างๆ ก็จะคล้ายกันในหลายๆ อย่าง แต่ในเรื่องรายละเอียดต่างๆ ของภาคนี้กลับทำได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม แสง เสียง เงาต่างๆ ก็ดูสมจริงมากขึ้น เพราะใน Battlefield 1 ที่เราคิดว่าภาพสวยแล้วนั้น แต่มันก็ยังมีความเรียบของดีเทลเล็กน้อยในเรื่องของ แสง เงา ที่ทำให้เรารู้สึกว่ามันยังไม่สมจริงเท่าที่ควร แต่ต่างจากในภาคนี้ เรื่องแสง เงา คือจัดเต็ม !! จัดเต็มมาก !! กะเอาให้ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด เหมือนต้องการให้เราได้อยู่ในเหตุการณ์นั้นจรืงๆ รวมถึงสำหรับสาวก PC ที่คอมแรงก็จะโชคดีกว่าคนอื่น เพราะตัวเกมนี้ก็จะมีระบบ Ray Tracing ที่จะเป็นการสะท้อนเงาฉากในเกมให้เกมสมจริงขึ้นอีกไปอีก แต่ถ้าหากใครที่ต้องการจะใช้ระบบนี้ คุณก็อาจจะต้องใช้การ์ดจอระดับ High End ของค่ายเขียวซีรีส์ 2000 ขึ้นไปด้วย ซึ่งถ้าว่าคอมคุณทำได้ ต้องบอกเลยว่านี่คือเกมที่ภาพสวยที่สุดในตอนนี้เลยทีเดียว [caption id="attachment_13824" align="aligncenter" width="1280"] ในภาค Battlefield V จะมีรายละเอียดเรื่องแสง และเงาที่สวยกว่า[/caption] Single Player ในภาคนี้ตัวเกมก็ยังคงคอนเซ็บที่จะเล่าเนื้อเรื่องในหลายๆ มุมของยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ดั่งที่เคยทำมาในเกม Battlefield 1 โดยการนำเสนอของภาคนี้จะเน้นเนื้อเรื่องในอีกหนึ่งเรื่องราวที่ทุกคนไม่เคยเห็นในแต่ละประเทศ โดยจะมีเนื้อเรื่องอยู่ทั้งหมด 4 บทนั่นคือ Nordlys - สาวน้อยนักฆ่าความสามารถสูงที่จะต้องปลดแอกประเทศ Norway ของตัวเอกจากฝ่ายนาซี พร้อมทั้งต้องช่วยเหลือครอบครัวที่โดนจับตัวไป Under No Flag - เล่าถึงเรื่องโอกาศที่สองของอาชญากรนามว่า Billy Bridger ที่จะต้องเข้าร่วมกองกำลังรบอังกฤษ เพื่อมารับใช้ชาติแทนที่จะเข้าคุก Tirailleur - การต่อสู้ของกองกำลังเซเนกัลประเทศฝรั่งเศษที่จะต้องปกป้อง Homeland พื้นที่ ที่พวกเขาไม่เคยเห็นมาก่อน The Last Tiger - จะเล่าเรื่องของทหารฝ่ายนาซี กับลูกเรือบนรถถัง The Tiger คนหนึ่งที่เริ่มสงสัยและตั้งคำถามต่ออุดมการณ์ของประเทศตัวเอง (แต่ในเนื้อเรื่องนี้ผมยังไม่ได้เล่น เพราะว่าผู้พัฒนาบอกว่ามันจะตามมาทีหลังนั่นเอง) โดยตัวเกมเพลย์ในภาคนี้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เพราะระบบการเล่นนั้นจะกลายเป็นรูปแบบ Openworld เต็มตัว มีแนวทางการเล่นหลากหลายมากกว่าก่อน มีอิสระในการผ่านด่านต่างๆ ได้มากขึ้น อย่างเช่นการบุกประจันหน้าเข้าไป หรือจะเป็นการลอบเร้นเข้าไปก็ได้ อาวุธภายในเกมก็มีหลากหลายเพียงแต่เราอาจจะต้องไปไล่เก็บตามแคมป์ศัตรูต่างๆ ซึ่งมันจะทำให้เราต้องสำรวจมากขึ้นนั่นเอง มีการส่อง Mark ตำแหน่งของศัตรูเพื่อให้เล่นได้ง่ายมากยิ่งขึ้นอย่างเช่นการคอยๆ เก็บทีละตัวเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรู Alert และไปกดเสาสัญญานขอความช่วยเหลือให้เพื่อนมาช่วยเป็นต้น [caption id="attachment_13827" align="aligncenter" width="1280"] โหมดเนื้อเรื่องกลายเป็นแนว Openworld เต็มตัว[/caption] [caption id="attachment_13853" align="aligncenter" width="1280"] มีการส่องกล้องหาศํตรูหรือจุดดรอปปืนเพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับตัวเรา[/caption] [caption id="attachment_13829" align="aligncenter" width="1280"] สามารถรอบเร้นเข้าไปเก็บทีละคนได้[/caption] แต่เนื่องจากที่ระบบการเล่นแบบนี้ มันอาจจะเป็นเรื่องใหม่ที่ Battlefield เคยทำ มันเลยทำให้การดีไซน์ต่างๆ ของแผนที่นั้นออกมาไม่ดีเท่าที่ควร อย่างเช่นภายในเนื้อเรื่องที่เราจะต้องแอบเข้าไปในดงศัตรูเพื่อทำภารกิจ ซึ่งในเนื้อเรื่องของมันก็บังคับแบบกลายๆ แล้วว่าเราจะต้องลอบเร้นเข้าไป แต่ตัวศัตรูนั้นนอกจากที่จะหูไวตาไวแล้ว ข้อจำกัดในการเล่นหรืออาวุธที่เราใช้มันยังไม่ดีพอที่จะทำให้เราผ่านด่านได้แบบ Perfect เพราะบางครั้งศัตรูเองก็จะไม่เดินไปเดินมาเหมือนเกมอื่น อาวุธเริ่มต้นก็จะไม่มีปืนเก็บเสียงนอกจากมีดลับที่สามารถปาให้เข้าหัวเท่านั้น แต่มันก็จะมีพวกปืนเก็บเสียงบ้างตามแคมป์ ซึ่งมันก็แลกกับการที่เราจะต้องไปควานหามันก่อนที่จะทำภารกิจ โดยถ้าใครชอบระบบนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ส่วนถ้าใครไม่ชอบระบบนี้ก็คงจะน่ารำคาญเล็กน้อย และอย่างที่แย่เลยก็คือใครบางครั้ง ศัตรูนั้นหันหน้าไปทางเดียวกันหมดทุกคน มันเลยทำให้การลอบเร้นยากกว่าเดิมเลยทำให้ความสนุกมันลดทอนลงไป ถ้าให้เปรียบเทียบระบบการลอบเร้นของเกมนี้ มันก็ดูเหมือนเกม Metal Gear Solid V: The Phanton pain เล็กน้อย เพียงแต่เกมนั้นมีสิ่งอำนวยความสะดวกหรือกลไกของเกมที่ทำให้เราลอบเร้นสนุกมากกว่าเกมนี้หลายเท่า [caption id="attachment_13832" align="aligncenter" width="1280"] บางพื้นที่ศัตรูหันหน้าทางเดียวกัน ซึ่งมันทำให้การรอบเร้นฆ่าทีละตัวยากกว่าเดิม[/caption] ส่วนตัวเนื้อเรื่องของเกมนี้ เนื่องจากที่แต่ละบทจะใช้เวลาเพียงแค่ 2 - 3 ชั่วโมงเท่านั้น การเล่าเรื่องในซีนสำคัญๆ มันเลยทำให้เราไม่อินเท่าที่ควร เพราะเราเองก็พึ่งจะรู้จักตัวละครพวกนี้ได้ไม่นาน เราเลยยังไม่ผูกพันธ์พวกเขาเท่าที่ควร แต่ก็ต้องชมเลยว่าในเรื่องของซีนที่จะสื่อถึงความรักชาติ หรือทำให้เรารู้สึกหึกเหิม ตัวเกมจะสื่อออกมาได้ดีมากๆ ซึ่งส่วนตัวของผมนั้นจะชอบในบท Under No Flag มากที่สุด เพราะเนื้อเรื่องมันจะทำให้เราเอาใจช่วยเจ้าหนูคนนี้ตลอดเวลา   Multiplayer ในเกม Battlefield V ระบบมัลติเพลยเยอร์นั้นก็จะมีโหมดการเล่นอยู่ด้วยกัน โหมดนั่นคือ Conquest - โหมดคลาสสิค ที่มีมาตั้งแต่ภาคเก่าๆ เป็นการต่อสู้ในสเกลใหญ่ที่เราจะต้องยึดพื้นที่ต่างๆ โดยในภาคนี้ระบบจะไม่เหมือนกับภาคก่อนหน้าตรงที่การนับคะแนนคือการตาย ซึ่งถ้าหากว่าเราถูกยึดจุดมากกว่าครึ่งจะทำให้คะแนนลดมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งมันทำให้การ Comeback ของฝ่ายเสียเปรียบทำได้ง่ายขึ้น Domination - การต่อสู้ภาคพื้นดินที่จะสเกลเล็กลงมากว่าโหมด Conqest เราจะพบเจอศัตรูได้ง่ายกว่า Team Deathmatch - โหมดยิงประจันหน้าที่มีอยู่ทุกเกม โดยตัวเราและศัตรูจะสุ่มเกิดในพื้นที่ขนาดเล็กอยู่เรื่อยๆ เหมาะสำหรับคนที่อยากจะเข้าไปฝึกยิงให้คล่อง Frontlines - โหมดภารกิจยึดจุด ในธีมที่เหมือนกับการเล่นชักกะเย่อ ถ้าหากว่าฝ่ายเรายึดจุดมากกว่าอีกฝ่ายเราก็จะชนะไป Breakthrough - โหมด Capture the flags ที่เรารู้จักกันดีฝ่ายบุกต้องเข้ายึด ส่วนฝ่ายกันก็จะต้องทำทุกวิธีทางเพื่อไม่ให้ฝ่ายบุกเข้ามาได้ Grand Oparation - โหมดสเกลใหญ่ที่รวมหลายๆ โหมดเข้าด้วยกัน ซึ่งตัวโหมดนี้เองก็มีตั้งแต่ภาคก่อนหน้า ตัวเกมใช้เวลาในการเล่นนาน และเนื้อเรื่องก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามผู้แพ้ชนะของแมทนั้นๆ โดยเกมนี้จะเน้นการเล่นเป็นทีมไม่ต่างจากในเกมภาคที่แล้ว เพียงแต่วิธีการเล่นเป็นทีมจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และระบบต่างๆ จะปรับเปลี่ยนใหม่อย่างเช่น ในเกม Battlefield 1 ตัวละครของเราถ้าหากไม่ใช่คลาส Medic เราก็จะไม่มียาให้เพิ่มเลย แต่ถึงอย่างนั้นถ้าหากว่าเรารอเวลาซักนิดตัวละครก็จะค่อยๆ ฟืนเลือดมาเรื่อยๆ จนเต็มแต่มันจะเสียเวลา ซึ่งการมี Medic ในทีมนั้นสำคัญเป็นอย่างมากเพราะจะคลาสนี้จะคอยเติมเลือดให้เราได้ไว ส่วนในเกมภาคใหม่ทุกคลาสที่ไม่ใช่ Medic จะมียาเพิ่มเลือดให้คนละ 1 อัน  แต่ข้อเสียคือถ้าหากเราไม่มียาเลือดของเรานั้นก็จะเพิ่มไม่เต็มหลอดทำให้เสียเปรียบนั่นเอง ซึ่งนี่คือข้อแตกต่างอย่างหนึ่ง และการชุบเพื่อนเราไม่จำเป็นต้องรอ Medic อย่างเดียวเหมือนภาคที่แล้ว เพราะในภาคนี้ไม่ว่าคุณจะเล่นคลาสไหน ก็สามารถที่จะชุบเพื่อนได้ เพียงแต่ว่าคลาสที่ไม่ใช่ Medic จะใช้เวลาชุบที่นานมากกว่านั่นเอง และในภาคนี้ก็จะตัดระบบการวิ่งชาร์จที่มีข้อดีในการเข้ายึดจุดไว หรือ Take Down ศัตรูในทีเดียวออกไป พร้อมทั้งยังตัดระบบชุดเกราะพิเศษในภาค 1 ที่จะทำให้เราถึกขึ้นปืนโหดขึ้น มันเลยทำให้ความแฟนตาซีลดลงไป และให้ความสมจริงมากขึ้น เจาะจงการเล่นเป็นทีมมากขึ้น เกาะกันเป็นกลุ่มมากกว่าแต่เก่านั่นเอง [caption id="attachment_13839" align="aligncenter" width="1280"] เป็นคลาส Assault แต่มียามาให้ 1 ชิ้น[/caption] [caption id="attachment_13840" align="aligncenter" width="1280"] ทุกอาชีพสามารถชุบเพื่อนได้ เพียงแค่ Medic จะสามารถชุบได้เร็วกว่าคลาสอื่นนั่นเอง[/caption] ระบบการต่อสู้แบบเดินเท้าก็จะสนุกมากยิ่งขึ้น เพราะว่าตัวเกมได้ตัดทอนความสามารถของยานพาหนะให้เก่งน้อยลงกว่าภาคก่อนๆ เยอะ ซึ่งตัวผมเองเล่นเกมนี้บนเครื่อง PS4 และเห็นรถถังเดินบู๊ฆ่าแหลกน้อยมาก เพราะตัวรถถังมันโดนทำลายง่ายพอสมควร เนื่องจากที่ฝ่าย Assault นั้นมีปืนระเบิดไว้ทำลายรถถังหลายลูกต่อหนึ่งคน มันเลยทำให้การสู้ด้วยยานพาหนะจะต้องใช้แบบแผนมากยิ่งขึ้นกว่าในภาค Battlefield 1 ที่ก่อนจะปรับสมดุล ตัวรถถังมัน OP มากๆ สามารถบู๊แหลกเก็บทั้งทีมได้สบายๆ พร้อมทั้งระบบ Behemoth ที่มีในเกม Battlefield 1 ก็ได้ตัดออกไปอย่างสิ้นเชิง โดยระบบนี้จะเป็นการนำยานพาหนะขนาดใหญ่เข้ามาร่วมรบสำหรับฝ่ายที่มีคะแนนน้อยและใกล้แพ้ แต่เอาตามตรงมันก็ไม่ค่อยจะช่วยให้เราชนะซักเท่าไร เพราะตัว Behemoth นั้นมีพื้นที่จำกัดในการเคลื่อนที่ รวมถึงถ้าหากคนที่ใช้ปืนเล่นไม่เก่งและสามารถเก็บฝ่ายศัตรูให้เรียบได้ มันก็แทบจะไร้ประโยชน์เลยทีเดียว แถมมันยังทำให้ผู้เล่นมัวแต่ไปขี่ตัว Behemoth จนไม่มาช่วยกันยึดจุดด้วยซ้ำ ซึ่งในภาคนี้ได้ใส่ระบบแต้มคะแนนของ Squard เข้ามาแทนที่ถ้าหากว่าเราและเพื่อนร่วมทีมสามารถเก็บคะแนนได้เยอะๆ หัวหน้าทีมสามารถเรียกคำสั่งนี้เพื่อที่จะใช้ให้เครื่องบินมาทิ้งระเบิด ใส่ศัตรู หรือเรียก Supply มาให้ก็ได้ รวมถึงภาคนี้ยังได้ใส่ระบบการก่อสร้างเพื่อเราจะได้สร้างที่กำบังให้สามารถเพิ่มความได้เปรียบกับตัวเราได้ อย่างเช่นการเอาถุงทรายมาเป็นป้อม สร้างถุงทรายให้กลายเป็นกำแพง หรือการซ่อมหน้าต่างที่กำบังในบ้านเพื่อทำที่หลบภัยให้กับสไนเปอร์ รวมถึงตัวเกมยังมีระบบ Peek Over เล็กๆ ซึ่งถ้าหากเราเอาตัวไปหลบในที่กำบังแล้วกดเล็ง ตัวเราจะชโงกหน้าออกมาเล็งอัตโนมัติ ซึ่งมันเหมาะทั้งในทีมบุกและทีมรับ เพราะตัวทีมบุกเองก็สามารถบุกหลบในหลุมขนาดใหญ่บนพื้น แล้วสร้างที่กำบังเพื่อหลบภัยชั่วครู่แล้วจึงค่อยบุกต่อก็ได้ ส่วนทีมกันก็สามารถสร้างที่หลบภัยเพิ่มเติมถ้าหากว่าตัวสิ่งก่อสร้างมันโดนพังเป็นต้น แต่ข้อเสียของระบบนี้คือตำแหน่งในการสร้างบนภาคพื้นดินจะมีอยู่จำกัดและสร้างที่กำบังไม่ได้ทุกพื้นที่ รวมถึงมันต้องอาศัยการเล่นเป็นทีมสูง ถ้าหากจะให้ระบบนี้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะเราจะได้ช่วยกันสร้างป้อมทุกมุมได้ไวขึ้น หรือถ้าหากเราเผลอโดนศัตรูยิงก็จะสามารถช่วยกันชุบได้ หรือช่วยกันแจกกระสุน ยาเป็นต้น และพอใช้งานจริงระบบนี้กลับไม่ค่อยจะมีคนนิยมเท่าไร เพราะมันทำให้รูปเกมช้าลงอย่างเห็นได้ชัด คนในเซิร์ฟเลยเลือกที่จะเล่นในแบบเดิมๆ มากกว่า แต่จะมักนิยมสำหรับคนที่เล่น Sniper ที่สามารถยิงปืนได้ในระยะไกลนั่นเอง รวมถึงการ Peek Over ส่วนตัวมันรู้สึกเอ๋อๆ กดได้บ้างไม่ได้บ้างในบางครั้ง ทำไมบางจังหวะมันผิดพลาดไปหมด ระบบคลาสของเกมนี้ในแต่ละคลาสก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันไปอีก โดยฟังชั่นนี้จะเรียกว่า Combat Role ในการเล่นได้ ซึ่งมันก็จะไปเพิ่ม Passive ให้เราเก่งในสายนั้นๆ อย่างเช่น Role ของฝ่าย Assault ก็จะมี Role ที่จะเน้นระเบิดรถถัง หรือ Role ที่เน้นการยิงเป็นต้น พร้อมทั้งในเกมภาคนี้ได้ตัดระบบ Season Pass ออกไปไม่ต้องเทพทรูอีกแล้ว การได้ของใหม่ๆ ก็จะสามารถเก็บเลเวล รวมถึงแต่ละเลเวลก็จะมีของที่บอกชัดเจนว่าจะปลดล็อคอะไร พร้อมทั้งสกีนต่างๆ ซึ่งเราสามารถทำเควสหรือซื้อด้วยเงินเครดิตในเกมได้เช่นกัน และก่อนหน้านี้ที่ทางผู้พัฒนาโดนโจมตีเรื่องสกีนของตัวละครที่คาดว่าจะมีระบบ Lootbox เข้ามาให้เราเปิดสกีน ซึ่งดูเหมือนว่าทางผู้พัฒนาก็ได้ตัดระบบนี้ออกไปเลยทำให้สกีนหรือชุดสวมใส่ต่างๆ ก็จะดูไม่แฟนตาซีมาก ซึ่งตัวผมเองก็ไม่แน่ใจว่าระบบสกีนจะมีมาเพิ่มในอนาคตหรือไม่เราต้องรอดูกัน [caption id="attachment_13847" align="aligncenter" width="1280"] ระบบ Combat Role ที่จะเป็นคลาสย่อยของแต่ละคลาสหลักที่จะมีความสามารถแตกต่างกัน[/caption] [caption id="attachment_13848" align="aligncenter" width="1280"] ชุดไม่แฟนตาซี เพราะตัวเกมไม่มีระบบ Lootbox อย่างที่คนกลัวกัน (แต่อนาคตไม่แน่ใจว่าจะมีเข้ามาไหม)[/caption] สรุป ต้องบอกเลยว่าระบบ Singleplayer ของเกมนี้ทำออกมาได้แปลกใหม่ และถือว่าเป็นการเริ่มต้นได้ดีมากๆ เพราะระบบ Openworld ที่เราสามารถเลือกวิธีเล่นได้หลากหลายรูปแบบ แต่ต้องยอมรับว่ามันยังดีไซน์ออกมาได้ไม่ดีพอ เพราะตัวเกมมีความยากในการเล่น แต่ข้อจำกัดอาวุธที่ใช้ต่างๆ มันทำให้ความสนุกถูกบั่นทอนลงมา แต่ถ้าหากใครที่ชอบแบบนี้มันอาจจะเป็นเรืองดีก็ได้ ส่วนระบบ Multiplayer เกมนี้ทำออกมาได้ยอดเยี่ยมเลยทีเดียว มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ให้ระบบเดินเท้าทำออกมาได้ดีขึ้น แต่ข้อเสียคือถ้าหากเราเล่นคนเดียวประสบการณ์ที่เราจะได้รับมันอาจะไม่เต็มร้อย แต่ถ้าหากคุณมาคนเดียวก็ใช่ว่าจะไม่สนุก เพราะถ้าหากคุณเล่นเป็นงานคุณก็คอยช่วยเหลือเพื่อน หรือช่วยเหลือทีม Squard อื่น เพื่อสร้างความได้เปรียบได้เช่นกัน และเนื่องจากที่มันเน้นความสมจริง สปีดการเล่น หรือเข้าทำก็จะช้าลงกว่าภาคก่อนหน้า เพราะระบบต่างๆ มันเอื้อต่อการเล่นเป็นทีม ซึ่งถ้าหากคุณวิ่งมั่วๆ คุณอาจจะโดนสอยตายได้ง่ายๆ แต่ก็บอกว่านี่แหละมันคือเสน่ห์หลักของภาคนี้เลยทีเดียว เพราะไอ้ความสมจริงนี่แหะมันเลยทำให้เราอินกับคำว่าสงครามโลกมากยิ่งขึ้น นี่อาจจะเป็นเกม Battlefield ภาคที่เปิดตัวออกมาโดนด่ามากที่สุด แต่ทางผู้พัฒนาเองก็ได้แก้ไขจุดต่างๆ เอาใจความคิดเห็นของผู้เล่นมากขึ้น จนทำให้มาตรฐานของมันก็ยังดีเยี่ยมเหมือนอย่างเคย [penci_review id="13607"]
29 Nov 2018
ผจญภัยในโลกกว้างไปกับเจ้าหนุ่มหมวกฟาง! - พรีวิว One Piece: World Seeker จากงาน TGS 2018
https://www.youtube.com/watch?v=sZR44R87E6U&feature=youtu.be อีกหนึ่งเกมที่พลาดไม่ได้สำหรับค่ายเกม Bandai Namco ก็คือ One Piece: World Seeker เกมแนวแอคชั่นผจญภัยแบบ Open World ที่ให้ผู้เล่นได้สวมบทบาทเป็น Monkey D. Luffy ออกตามล่าวันพีชพร้อมกับผองเพื่อน เมื่อมาเยือนถึง TGS 2018 แล้ว เราก็ไม่พลาดที่จะไปทดลองเล่นเกมเพื่อจะได้มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง โดยเดโมตัวที่เราเล่น เป็นตัวเดียวกับที่เคยเผยโฉมมาก่อนแล้วในงาน Gamescom 2018 ที่ผ่านมา จากที่ชมในเทรลเลอร์ต่างๆ ผู้เขียนรู้สึกตื่นเต้นเป็นพิเศษสำหรับการออกผจญภัยในฐานะ "ลูฟี่" ครั้งนี้ เพราะแทบจะเป็นครั้งแรกที่ One Piece มีเกมแบบ Open World ออกมาให้แฟนเกมได้สัมผัสบรรยากาศของการท่องไปในแกรนด์ไลน์ ทว่าพอได้ลองเล่นจริงๆ ตัวเกมกลับทำได้ไม่น่าประทับใจเท่ากับที่คาดหวังเอาไว้ สิ่งที่ผู้เขียนผิดหวังกับตัวเกมมากที่สุดน่าจะเป็นระบบ Open World ซึ่งถ้าเทียบกับ Marvels Spider-man ที่เป็นเกมแนวแบบเดียวกันแล้ว เรียกได้ว่า One Piece: World Seeker แทบจะไม่ติดฝุ่นไอแมงมุม ในที่นี้ผู้เขียนไม่ได้จะเปรียบเทียบด้านภาพ มุมกล้อง หรือเนื้อเรื่องของเกม แต่จะพูดถึงความอิสระในเกม จากที่เล่นในเดโม แทบไม่รู้สึกเลยเสียด้วยซ้ำว่าเกมเป็นระบบแบบเปิดที่เราสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระ แน่นอนว่าลูฟี่ไม่ได้ใช้มือยางยืดตึ๋งหนืดในการเดินทางบ่อยเท่ากับสไปเดอร์แมนที่พ่นใยอยู่ตลอดเวลา แต่การเดินหรือวิ่งก็มีพื้นที่จำกัดจำเขี่ยมาก ตัวเกมมีกำแพงที่มองไม่เห็นคอยกันไม่ให้เราออกนอกพื้นที่ ชวนให้รู้สึกอึดอัด แทบไม่ต่างจากการเล่นเกมแบบเป็นด่าน ไม่เหมือน Marvels Spider-man ที่ให้อิสระแก่ผู้เล่นในการชักใย ห้อยโหนและกระโจนไปไหนก็ได้ตามใจอยาก โดยไม่มีขอบเขต รวมถึงทุกสถานที่ที่ไปยังมีภารกิจยิบย่อยให้ทำ เสมือนกับว่าเราได้ไปเดินอยู่ในนิวยอร์กแล้วได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในเมืองจริงๆ ถือเป็นอีกจุดหนึ่งที่ One Piece: World Seeker ยังขาดไปอยู่ ส่วนการใช้มือยางยืดเพื่อการเคลื่อนที่ดูเหมือนจะเป็นประโยชน์ในการเล่นแบบ Open World ที่แผนที่ค่อนข้างกว้าง และตัวละครจำเป็นต้องมีท่าที่ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็ว ทว่าในความเป็นจริงตัวเกมกลับทำระบบนี้ออกมาได้ไม่ดีเท่าไหร่ เมื่อมือที่ยืดออกไป ยืดได้ไม่ยาวพอ กะระยะยาก อีกทั้งยังใช้ได้กับวัตถุหรือสิ่งของแค่บางอย่าง เช่น ต้นไม้ หรือหอคอยเป็นต้น ไม่สามารถใช้จับขอบเนินดินแล้วปีนขึ้นได้ ต้องคอยเดินไปตามทางลาดที่เกมกำหนด ด้านการต่อสู้ "ลูฟี่" ตัวละครหลักของเราจะต้องเข้าไปสู้รบและประมือกับทหารเรือมากมาย ตัวเกมทำออกมารองรับรูปแบบการเล่นที่มีตั้งแต่การให้ Stealth ไปจนถึงการเปิดตัวด้วยการลุยดะแบบไม่แคร์ใคร สไตล์กัปตันผู้ไม่คิดมาก นอกจากนี้เกมยังถ่ายทอดความเป็นเจ้าหนุ่มหมวกฟางออกมาด้วยการใส่กิมมิคฮาๆ เข้าไปเล็กน้อย อย่างการเข้าไปแอบซ่อนให้ถังเหล้าแล้วค่อยๆ ย่องเข้าไปแบบ (ไม่) เนียน เป็นต้น ทว่าการต่อสู้ที่น่าจะเป็นจุดขายของเกมแนวแอคชั่นอย่าง One Piece: World Seeker กลับทำออกมาได้ขาดๆ เกินๆ แม้จะมีการอ้างอิงท่าต่อสู้ของลูฟี่มาจากอนิเมะหรือมังกะ อย่างฮาคิ หรือท่ายางยืดต่างๆ แต่กลับไม่ได้มีท่าที่หลากหลายมากพอในการจะสร้างคอมโบต่อสู้แบบมันส์ๆ นอกจากนี้ระบบการต่อสู้ก็ไม่ได้ไหลลื่นอย่างที่คิด ที่ผู้เขียนรู้สึกอึดอัดที่สุดคือ One Piece: World Seeker ถือเป็นเกมที่เล็งเป้ายากเอาการ ทำให้การโจมตีหลายต่อหลายครั้งก็พลาดเป้าได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีที่แสนจะเบสิค การโจมตีคอมโบ หรือท่าพิเศษก็ตาม นอกจากนี้ในการยืดมือออกไปจับศัตรูแล้วพุ่งไปหาก็ดูเหมือนจะเป็นอะไรที่น่าสนุก ย่นระยะเวลาเดินทางไปได้เยอะ แต่จะมีประโยชน์อะไร ในเมื่อพอพุ่งเข้าไปหาเหล่าทหารเรือแล้วกดใส่คอมโบหรือโจมตีกลับวืดไม่เป็นท่า จนกลายเป็นว่าแทบจะไม่สามารถ "ยืด จับ พุ่ง และโจมตี" ได้เลย แม้ตอนสู้กับ "อาคาอินุ" บอสในเดโม จะค่อนข้างทำให้เกมสนุกขึ้นบ้าง แต่เมื่อเทียบกับระบบการต่อสู้ของ Marvels Spider-man เกมไอแมงมุมกลับทำออกมาได้ดีกว่าเยอะ ทั้งๆ ที่ Spider-man ไม่ได้มีท่าคอมโบหรือท่าที่ใช้โจมตีศัตรูมากเท่ากับท่าของลูฟี่เองเสียด้วยซ้ำ แต่กลับมีการโจมตีแบบคอมโบลื่นไหลกว่า และมันส์กว่า นอกจากนี้ตัวเกมยังขาดความตื่นเต้นและท้าทายอีก ทั้งภารกิจก็ไม่ได้มีส่วนช่วยให้เราเข้าถึงความรู้สึกของตัวละครอย่างลูฟี่ หรือเพิ่มความอินกับเนื้อเรื่องแต่อย่างใด โดยตลอดเวลาที่ตลอดเวลาที่ได้เล่นเกมประมาณ 20 นาทีก็แอบมีจังหวะที่เกิดความรู้สึกเบื่ออยู่บ่อยๆ ภารกิจที่ได้รับแทบจะไม่ค่อยมีอะไรให้ทำ นอกจากเดินไปยังยอดเขาที่ตัวเกมกำหนด ค่อยๆ กำจัดทหารเรือไปทีละตัวสองตัว ตามเปิดกล่องที่กองอยู่บนพื้น แถมยังต้องค่อยๆ เดินไปตามทาง ทำให้นอกจากกำจัดทหารเรือไปเรื่อยๆ แล้วก็แทบไม่มีอะไรให้ทำอีก ที่สำคัญคือเกมขาดความสมจริง ในฐานะเกมที่มีพื้นฐานเนื้อเรื่องมาจากการ์ตูน โดยลูฟี่ที่เราเล่นใน One Piece: World Seeker สามารถถูกโจมตีด้วยกระสุนปืนธรรมดาของทหารเรือ หากจะบอกว่าทหารเรือทุกคน ทุกเมืองใช้กระสุนไคโรอยู่ตลอดก็คงจะไม่ใช่ แม้จะเป็นที่เข้าใจได้ว่าหากยึดตามเรื่องจริงทั้งหมด ลูฟี่ของเราก็แทบจะเป็นอัมตะ เพราะนอกจากจะโจมตีแบบระยะไกลได้แล้ว ยังแทบไม่มีอะไรมาทำร้ายตัวละครของเราได้ แต่ตรงจุดนี้ก็ทำให้ผู้เขียนรู้สึกตะขิดตะขวงใจ จนไม่ค่อยอินกับตัวเกมอยู่เหมือนกัน หากจะให้รีบตัดสินว่า One Piece: World Seeker เป็นเกมที่ไม่คุ้มค่าในการเสียเวลาเล่นก็อาจจะเป็นการรีบด่วนสรุปไป ต้องรอดูกันต่อไปว่าเมื่อเกมออกมาแบบเต็มรูปแบบแล้ว จะมีการปูเนื้อเรื่อง สร้างบรรยากาศให้เราอินกับตัวเกมได้ขนาดไหน หรือเมื่อมีเหล่าผองเพื่อนกลุ่มหมวกฟางเข้ามาร่วมจอยอาจทำให้เล่นสนุกขึ้นก็เป็นได้ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะต้องเตรียมใจเผื่อไว้หากเกมไม่ได้สนุกอย่างที่เพื่อนๆ คาดหวัง ทั้งนี้ One Piece: World Seeker จะจัดจำหน่ายให้เล่นผ่าน PlayStation 4, Xbox One และ PC ในปี 2019
22 Sep 2018
พรีวิว Jump Force จากงาน Tokyo Game Show 2018
https://www.youtube.com/watch?v=tm_-1DnNcXQ&feature=youtu.be ถ้าพูดเกมแนวต่อสู้ที่มีแนวโน้มว่าจะมาแรงในอนาคตก็คงไม่หนีไม่พ้น Jump Force เกมแนวต่อสู้ที่รวบรวมตัวละครจากทั้งอนิเมะและมังกะของ Weekly Shonen Jump มาลงสังเวียน ต่อสู้เพื่อหาความเป็นหนึ่ง โดยเป็นเกมจากผู้พัฒนา Spike Chunsoft และผู้จัดจำหน่ายเกมยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น Bandai Namco ทาง Game Fever ก็ได้เล่น Demo Jump Force ในงานTokyo Game Show 2018 มาเหมือนกัน เลยอยากมาแชร์ประสบการณ์ให้เพื่อนๆ ได้ฟัง ต้องเกริ่นก่อนว่าเกมนี้มีรูปแบบเกมเป็นการต่อสู้แบบ 3 ต่อ 3 ซึ่งล่าสุดตัวเกมมีตัวละครให้เลือกกว่า 20 ตัว มาจาก 7 ซีรีส์ด้วยกัน ได้แก่ Bleach, Dragon Ball, Hunter x Hunter, Naruto, One Piece, Yu-Gi-Oh! และ Yu Yu Hakusho (มีตัวละครจาก Death Note ด้วย ทว่าจะปรากฎตัวในโหมดเนื้อเรื่องแทน) ด้านภาพ ก่อนหน้าที่ผู้เขียนจะได้ลองเล่น ก็เคยดู Trailer ของ Jump Force มาแล้วหลายตัว รวมถึงไปส่อง Screen Shot มาก็หลายครั้ง พอไปเล่นเองก็ต้องยอมรับจริงๆ ว่าทำภาพออกมาได้ค่อนข้างดี ทั้งรายละเอียดหน้าตารูปลักษณ์ตัวละคร ความสวยงามของฉาก ที่เด็ดที่สุดคือเอฟเฟ็กต์การใช้ท่าของตัวละคร ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับเรากำลังได้ดูภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องหนึ่งพร้อมกับเล่นเกมต่อสู้อยู่ ทว่าเกมก็ยังมีปัญหาด้านการให้น้ำหนักกับภาพมากเกินไป อย่างเอฟเฟ็กต์ของตัวละครบางตัวก็ใหญ่เกินไป จนบดบังมุมมอง ทำให้เล่นเกมได้ไม่ค่อยลื่นและทำให้รู้สึกรำคาญในบางครั้งอยู่เหมือนกัน ระบบการต่อสู้ แต่เกมก็ไม่ได้ทำออกมาได้ดีขนาดนั้น แม้ภาพจะสวย แต่การต่อสู้กลับไม่ได้บู๊มันเท่าที่ควร เหมือนกับแค่กดปุ่มไปแล้วรอตัวละครระเบิดพลังออกมาใส่ศัตรูมากกว่า แทบจะไม่ต้องใช้เทคนิคการเล่นอะไรมากมายเหมือนกับต่อสู้แบบ Tekken ทำให้เกมถูกลดเสน่ห์ลงไปพอสมควร ถ้าให้นึกถึง Jump Force ในแง่ของการจัดแข่งขันเกมแนวต่อสู้แล้ว แทบจะนึกไม่ออกเลยว่าจะออกมาเป็นอย่างไร ในภาพรวมแล้วเกมทำออกมาได้ในระดับโอเค หากเป็นเกมเมอร์ที่เป็นคอการ์ตูน อยากเล่นเกมไฟต์ติ้งสนุกๆ แบบไม่คิดอะไรมาก เกมนี้ก็อาจเหมาะ ทว่าหากเป็นแฟนเกมที่ชอบบู๊แบบจัดหนักจัดเต็ม เน้นการเล่นแบบใช้เทคนิคแล้วก็อาจจะต้องตัดสินใจดีๆ สิ่งที่เราอาจพอคาดหวังได้ก็คือ Jump Force คล้ายกับเกม J-Stars Victory VS ของ Bandai Namco ที่ออกมาเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 45 ปีของนิตยสาร Weekly Shonen Jump เมื่อปี 2014 แล้ว จะเรียกว่าเป็นเวอร์ชันใหม่ของ J-Stars Victory VS ที่ผ่านการปรับปรุงภาพมาแล้วก็อาจจะไม่ผิดนัก เพราะเป็นการรวม All Star เหมือนกัน ระบบการเล่นส่วนใหญ่เท่าที่ดูคร่าวๆ ก็คล้ายกันมาก อาจคาดหวังได้ในอนาคตว่า Jump Force อาจเจริญรอยตาม J-Stars Victory VS ด้วยการนำตัวละครในเครือที่มีสเกลพลังต่างกัน หรือไม่น่ามีความสามารถในการต่อสู้ และเป็นตัวละครที่ไม่ได้มาจากอนิเมะต่อสู้ อย่าง Ryotsu คุณตำรวจป้อมยาม, Lucky Man หรือแม้กระทั่งไซคิ มางัดกับตัวละครพลังยิ่งใหญ่แบบโงกุน นารูโตะ หรือลูฟี่ ซึ่งหากเป็นแบบนั้นจริงคงทำให้เกมมีมิติที่แปลกใหม่และแตกต่างจากเกมแนว Fighting อื่นๆ ของค่ายมากเลยทีเดียว ยิ่งถ้ามีโหมด story เพิ่มเข้ามาอีกก็น่าลุ้นว่าตอนเกมออกมาจริงๆ จะสนุกสมกับที่แฟนๆ รอคอยกันหรือเปล่า ทั้งนี้ทาง Bandai Namco ยังประกาศเปิดตัว 4 ตัวละครใหม่ประจำ Jump Force ที่ดีไซน์โดยคุณ Akira Toriyama โดยตัวละครที่ชื่อ Glover และ Navigator จะเป็นฝ่ายพันธมิตร ส่วน Galena และ Kane จะอยู่ฝั่งศัตรู ทว่ายังไม่มีข้อมูลออกมาแน่ชัดว่าเราจะสามารถเล่นตัวละคร 4 ตัวนี้ได้หรือไม่ หากใครสนใจก็สามารถติดตามข่าวสารกันได้ โดย Jump Force จะจัดจำหน่ายผ่าน PS4, Xbox One และ PC ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2019
21 Sep 2018
รีวิวเกม Earthfall (PC, Steam)
รีวิวเกม Earthfall (PC, Steam) แนวเกม: Co-op FPS ผู้พัฒนา: Holospark แพลตฟอร์ม: PS4, Xbox One, PC (Steam) ____________________________________________________________________________ ข้อดี แนวเกมเข้าใจง่าย สนุกเมื่อเล่นกับเพื่อน ราคาใน PC ถูก ข้อเสีย ด่านน้อยและเล็ก เล่นไม่กี่ครั้งก็เบื่อ ไม่ค่อยมีจุดเด่นเป็นของตัวเอง ไม่มีระบบใหม่ๆ ที่น่าสนใจ เล่นออนไลน์กับคนที่ไม่ใช่เพื่อนแล้วแลค/หลุดบ่อย ระบบการตกแต่งตัวละคร/ปืนไม่น่าสนใจ เกมเมอร์ชาวไทยหลายๆ คนน่าจะมีความทรงจำดีๆ กับเกมซีรี่ย์ Left 4 Dead เกมยอดฮิตประจำร้านเน็ตที่ให้เราร่วมมือกับเพื่อนๆ เพื่อเอาตัวรอดจากฝูงซอมบี้นับร้อยๆ ตัว เพื่อทำภารกิจจากด่านแต่ละด่าน เป็นรูปแบบการเล่นเกมที่ตื่นเต้นและเอื้อต่อการสร้างจังหวะที่น่าจดจำ เช่นจังหวะที่เราช่วยเพื่อนจากการถูก Smoker จับ หรือจังหวะที่เราร่วมมือกันเพืื่อล้ม Tank ลงจนได้ แถมยังสามารถเล่นซ้ำได้เรื่อยๆ เพราะด่านจะสุ่มตำแหน่งของไอเทมและซอมบี้ทุกครั้ง ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทุกครั้งที่เข้าไปเล่น เกม Earthfall เป็นเกมที่สร้างมาเพื่อคนที่โหยหาการเล่นเกมแบบ Left 4 Dead อย่างเต็มรูปแบบ แทบจะเรียกว่ายกเกม Left 4 Dead มาหมดแค่เปลี่ยนซอมบี้เป็นเอเลี่ยนหน้าตาธรรมดาๆ ก็ได้ แต่ด้วยการออกแบบฉากที่ค่อนข้างจำกัด รวมกับความตายตัวในโครงสร้างของด่านแต่ละด่านและองค์ประกอบย่อยอื่นๆ ทำให้เกมขาดความรู้สึกตื่นเต้นของเกม Left 4 Dead ไป Earthfall อาจจะเป็นเกมที่ตอบโจทย์สำหรับคนที่ต้องการหาเกมเล่นเพลินๆ กับกลุ่มเพื่อนเมื่อไม่มีอย่างอื่นจะเล่น โดยเฉพาะใน PC ที่เกมราคาถูกมากๆ (ขณะเขียนรีวิวเกมมีราคาใน Steam เพียง 379 บาทเท่านั้น) แต่ถ้าเลือกได้ก็ขอกลับไปเล่น Left 4 Dead 2 ดีกว่า เกม Earthfall เป็นเกมที่ให้เรารับบทเป็นผู้รอดชีวิต 4 คนในโลกที่ล่มสลายจากการโดนเอเลี่ยนถล่ม ที่ต้องเดินทางไปด้วยกันเพื่อตามหาวิธีเอาตัวรอดจากเหล่าเอเลี่ยน โดยเกมจะตั้งอยู่ในยุคอนาคตอันใกล้ และดำเนินเนื้อเรื่องผ่านบทสนทนาสั้นๆ ระหว่างตัวละครตอนเริ่มฉาก ซึ่งแฟนๆ เกมแนว Left 4 Dead หรือ Call of Duty: Zombies น่าจะคุ้นเคยกันดี เนื้อเรื่องของเกมแนวนี้อาจจะไม่ได้มีความสำคัญอะไรนัก แต่การเล่าเรื่องในเกมแบบนี้ก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบการเล่นในฉากต่างๆ ให้น่าสนใจได้ อย่างใน Left 4 Dead 2 ที่มีด่านที่ผู้เล่นต้องเติมน้ำมันใส่รถในห้างเพื่อหลบหนี หรือฉากที่ผู้เล่นต้องต่อสู้กับซอมบี้กลางเวทีวงร๊อคเพื่อรอเฮลิคอปเตอร์มาช่วย ซึ่งเนื้อเรื่องใน Earthfall ก็ถือว่าตอบโจทย์ตรงนี้ได้บ้าง แม้ว่าสุดท้ายภารกิตต่างๆ ในด่าน รวมไปถึงตัวด่านเองจะไม่ได้น่าตื่นเต้นเท่าที่ควร จะมีก็เพียงแค่ด่านสุดท้ายของเนื้อเรื่องสองภาคในเกม (ภาคละ 5 ด่าน รวมเป็น 10) ที่พอจะมีความน่าตื่นเต้นอยู่บ้าง เรื่องด่านถือเป็นจุดอ่อนที่สุดของ Earthfall เลยก็ว่าได้ ด่านทุกด่านถูกออกแบบมาค่อนข้างแคบ ทำให้การทำภารกิจในแต่ละด่านต้องวนๆ อยู่ในพื้นที่เล็กๆ แบ่งเป็นห้องๆ ไม่กี่ห้องในแต่ละด่าน เมื่อรวมกับความซ้ำซากในจุดเกิดของอาวุธและไอเทมในด่าน (ศัตรูยังพอมีสุ่มจุดเกิดกันบ้าง) ทำให้การเล่นด่านเดิมซ้ำๆ ขาดความน่าตื่นเต้นไปพอสมควร เพราะรู้หมดแล้วว่าจังหวะไหนที่ศัตรูจะแห่มาเยอะๆ จังหวะไหนกำลังจะมีของเพิ่มเลือดหรืออาวุธให้เก็บเพิ่ม อีกหนึ่งจุดที่เกมทำได้ไม่ค่อยดีคือเรื่องของเหล่าเอเลี่ยนพันธุ์พิเศษ ที่ลอกมาจาก Left 4 Dead เกือบทุกตัว เช่นเอเลี่ยนที่คอยตะปบคนที่อยู่ห่างจากเพื่อนร่วมทีม เอเลี่ยนที่จะวิ่งมาลากเพื่อนร่วมทีมไปจากกลุ่ม เอเลี่ยนที่ระเบิดเป็นควันพิษ เป็นต้น ซึ่งการที่เหล่าเอเลี่ยนพิเศษทุกตัวมีความคุ้นเคยมากๆ ก็ทำให้เกมขาดความน่าตื่นเต้นไปอีกเช่นกัน สำหรับระบบอื่นๆ ของเกมอย่างระบบ FPS หรือไอเทมพิเศษอย่างรั้วกั้นหรือเครื่องพิมพ์ปืนนั้นทำออกมาได้ค่อยข้างธรรมดาๆ ไม่ได้ให้ความรู้สึกแปลกใหม่หรือพิเศษอะไรกับเกม โดยข้อด้อยนี้รวมถึงระบบการแต่งชุดตัวละครและปืนด้วย ที่ทำออกมาได้อย่างจืดชืด ไม่ได้น่าสะสมหรือค้นหาเลย การเล่นออนไลน์กับเพื่อนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีปัญหา แต่การหาห้องเล่นกับคนแปลกหน้ามักจะมีปัญหาเรื่องการหลุดหรือแลคจนเห็นตัวละครคนอื่นหายตัวไปมาได้เลย ซึ่งจุดนี้อาจจะพออนุโลมได้บ้างถ้าเกมมีกราฟิคสวยงามหรือน่าสนใจ แต่กราฟิคของเกมใน PC (ปรับกราฟิคระดับ High ด้วยการ์ดจอ GTX 1050ti) กลับทำให้นึกถึงเกมยุค PS3 ที่ผ่านการ Remaster มากกว่า ถ้าถามว่าสุดท้ายแล้วเกม Earthfall สนุกหรือไม่ ก็ต้องยอมรับว่าด้วยรูปแบบการเล่นก็สามารถสร้างความเพลิดเพลินได้บ้างเมื่อมีโอกาสได้เล่นเฮฮากับเพื่อน แต่ก็มีเกมรูปแบบเดียวกันมากมายในตลาดอย่าง Warhammer: Vermintide หรือ Call of Duty: Zombies หรือกระทั่ง Left 4 Dead เองที่มีความน่าสนใจกว่ามากทั้งในเรื่องของรูปลักษณ์และระบบการเล่น [penci_review id="1993"]
16 Jul 2018
รีวิว Detroit: Become Human
Detroit ถือเป็นเกมลำดับที่สี่จากค่าย Quantic Dream ที่เป็นแนว Interactive Drama-Action Adventure คือเป็นเกมที่มีจุดเด่นอยู่ที่เนื้อเรื่องและการนำเสนอด้านภาพยนตร์เป็นหลัก โดยเราจะต้องคอยกดปุ่มเพื่อเลือกการกระทำของตัวละคร คล้ายๆ กับเรากำลังดูหนังแล้วเราสามารถมีส่วนร่วมในการกำกับฉากที่เกิดขึ้นต่อไปได้ โดยไม่ว่าเราจะตัดสินใจแบบไหนก็ไม่ใช่คำตอบที่ผิด ทุกๆ การตัดสินใจของเราจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต่างกัน ทำให้เกิดฉากจบได้หลายแบบ และเมื่อรวมกับผลลัพธ์ยิบย่อยตลอดทั้งเกมแล้ว ก็สามารถพูดได้อีกอย่างว่าการเล่นเกมของค่ายนี้เปรียบได้กับการดูหนังที่มีเพียงเรื่องเดียวเท่านั้นในโลก เพราะผู้เล่นคนอื่นๆ ย่อมมีวิธีเล่นที่ไม่เหมือนกับเรา โดยเกมก่อนหน้านี้ของค่ายก็มีเกมที่ทำได้ไม่น่าประทับใจเท่าไหร่นักอย่าง Beyond: Two Souls มีเกมที่ทำได้ดีมากอย่าง Farenheit และเกมที่กลายเป็นหนึ่งในประสบการณ์การเล่นเกมที่ดีที่สุดในชีวิตของใครหลายคนอย่าง Heavy Rain จึงน่าสนใจว่าหลังจากหายไปนานหลายปี Detroit จะกลายเป็นหนึ่งในเกมชั้นเยี่ยมอีกเกมหนึ่งหรือไม่ เนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องของเกม Detroit เกิดขึ้นในยุคอนาคต ในโลกที่หุ่นยนต์แอนดรอยด์ได้รับการพัฒนาจนมีลักษณะที่เหมือนกับมนุษย์ทุกประการ แต่มีความสามารถที่เหนือกว่ามนุษย์ในทุกๆ ด้าน แต่ถึงอย่างนั้นแอนดรอยด์เหล่านี้ก็เป็นเพียงหุ่นยนต์ ไม่ได้มีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตัวเอง เป็นได้เพียงทาสรับใช้ของมนุษย์เท่านั้น แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าวันดีคืนดีแอนดรอยด์เหล่านี้เกิดมีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตัวเองขึ้นมา จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหุ่นยนต์เหล่านี้ไม่ต้องการเป็นทาสรับใช้ของมนุษย์อีกต่อไป จะเกิดอะไรขึ้นถ้าทาสรับใช้ที่มนุษย์สร้างขึ้นมานี้ต้องการเรียกร้องอิสรภาพของตัวเอง มนุษย์จะยอมรับให้แอนดรอยด์เหล่านี้เป็นสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับตนหรือไม่ และแอนดรอยด์เหล่านี้จะมีวิธีการเช่นไรในการเรียกร้องอิสรภาพให้ตัวเอง ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์และแอนดรอยด์คือประเด็นหลักของเกมนี้ ในเกมเราจะได้เล่นสลับเป็นตัวละครแอนดรอยด์สามตัว ได้แก่ Connor แอนดรอยด์ฝั่งตำรวจที่มีหน้าที่สืบและจัดการกับเหตุการณ์แอนดรอยด์ที่ผิดปกติ ซึ่งมีปัญหาเข้ากันไม่ได้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เห็น Connor เป็นเพียงเครื่องจักร แต่ในขณะเดียวกันก็มีปัญหากับแอนดรอยด์พวกเดียวกันที่กล่าวโทษว่า Connor ทรยศพวกพ้องตนเอง Markus ผู้นำการปฏิวัติเรียกร้องอิสรภาพของแอนดรอยด์ ซึ่งต้องเลือกระหว่างการเรียกร้องสันติภาพอย่างสันติที่ดูไร้หนทาง กับการใช้กำลังที่ทำให้รู้สึกว่าตนเองไม่ต่างอะไรจากมนุษย์ที่กดขี่และใช้ความรุนแรงกับเหล่าแอนดรอยด์ และ Kara แอนดรอยด์สาวที่พาเด็กสาวหลบหนีจากพ่อผู้มีปมปัญหาในชีวิตและใช้ความรุนแรงกับลูกสาวตนเอง ซึ่งต้องคอยรอนแรมหาที่พักพิงและปกปิดความเป็นแอนดรอยด์เพื่อเอาตัวรอดท่ามกลางเหตุการณ์ความวุ่นวายที่มนุษย์ส่วนใหญ่ดูจะเป็นปฏิปักษ์กับแอนดรอยด์อย่างไม่เลือกหน้า เกมเพลย์ วิธีการเล่นของเกมจากค่ายนี้หลักๆ แล้วคือการกดปุ่มเพื่อตัดสินใจ เป็นการเลือกคำพูดหรือการกระทำของตัวละคร ซึ่งสิ่งที่เราเลือกแน่นอนว่าจะมีผลต่อสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น เราอาจเลือกวิธีพูดอย่างนุ่มนวลเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ อาจเลือกโกหก หรือใช้กำลัง แต่ละวิธีก็ให้ผลลัพธ์ที่ต่างออกไป และหลายๆ ครั้งเราจะมีเวลาให้ตัดสินใจไม่นาน ไม่เช่นนั้นตัวละครจะเลือกตัดสินใจโดยอัตโนมัติ เป็นการเพิ่มความลุ้นระทึกและทำให้การตัดสินใจของผู้เล่นมาจากสัญชาตญาณมากกว่าที่จะมาจากการคิดมากเพื่อเลือกตำตอบที่ดีที่สุด นอกจากการกดปุ่มแบบที่เราตัดสินใจแล้วก็ยังมีแบบที่ไม่ต้องตัดสินใจด้วย เช่นให้ตัวละครเดิน หยิบจับสิ่งของ มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัว และแบบที่ลุ้นระทึกขึ้นมาหน่อยก็เป็นในฉากต่อสู้ต่างๆ ที่เราต้องกดปุ่มที่ปรากฏให้ทันเพื่อให้ตัวละครหลบการโจมตีให้พ้น นอกจากนั้นวิธีการเล่นที่เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างของเกมนี้คือการกดปุ่มให้ตัวละครแอนดรอยด์ที่เราบังคับใช้ความสามารถของแอนดรอยด์เพื่อสำรวจฉาก โดยเราจะเห็นว่ามีสิ่งไหนที่เราสำรวจได้บ้าง นอกจากนี้ตัวละคร Connor ที่ทำงานกับตำรวจจะมีวิธีการเล่นที่เพิ่มขึ้นมาคือการสำรวจเพื่อหาเบาะแส ซึ่งเมื่อเราหาได้ครบเราจะสามารถจำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อหาหลักฐานสำคัญเพิ่มขึ้นได้ ในขณะที่ตัวละครนักปฏิวัติอย่าง Marcus จะมีความสามารถในการคำนวณความเป็นไปได้ของการตัดสินใจเพื่อเลือกเส้นทางที่ทำแล้วมีโอกาสสำเร็จแน่นอน วิธีการเล่นของเกมนี้น่าสนใจอยู่ในช่วงแรกๆ แต่เมื่อเกมดำเนินไปเรื่อยๆ การเล่นแบบนี้ก็กลายเป็นอะไรที่ค่อนข้างซ้ำซากจำเจ แม้จะมีช่วงที่ตื่นเต้นหน่อยอย่างเวลาที่ต้องกดปุ่มให้ทันในฉากที่มีแอคชั่นเยอะๆ แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วการกดปุ่มของเกมนี้ก็เหมือนเป็นการกดปุ่มดูหนังที่มีความเป็นไปได้หลายอย่างเท่านั้นเอง เพราะแบบนี้ความสนุกของเกมเลยไปขึ้นอยู่กับว่าหนังที่ว่าทำออกมาได้ดีแค่ไหน ซึ่ง Detroit ก็ทำออกมาได้ดีพอใช้แต่ไม่ได้ดีขนาดนั้น  กราฟิก ในด้านของกราฟิกของเกมนี้มีทั้งส่วนที่ทำได้ดีมากและส่วนที่ดูธรรมดา สภาพแวดล้อมในเกมไม่ได้น่าตื่นตาตื่นใจเป็นพิเศษ ฉากต่างๆ และตัวละครทำได้ตามมาตรฐานของเกมในยุคนี้ แต่เกมมีจุดเด่นที่ฉากโคลสอัพของบรรดาตัวละครสำคัญที่ทำออกมาได้ดีจนรู้สึกราวกับว่าภาพที่ปรากฏเป็นคนจริงๆ ไม่ใช่ภาพกราฟิกที่สร้างขึ้นมา การตัดสินใจ จุดขายเลยของเกมนี้ก็คือการที่เกมเคารพการตัดสินใจของผู้เล่น เกมมีผลลัพธ์หลากหลายแบบไว้รองรับการตัดสินใจที่ต่างกันของผู้เล่นแต่ละคน ซึ่งเกมทำออกมาได้ละเอียดอ่อนมาก ถึงขั้นว่าวิธีที่เราปฏิบัติกับตัวละครบางตัวในฉากแรกๆ ไปส่งผลต่อวิธีที่ตัวละครตัวนั้นพูดกับเราในฉากหลังๆ และส่งผลต่อการได้รับความช่วยเหลือจากตัวละครนั้น เงื่อนงำที่เราคลี่คลายได้ในฉากก่อนหน้ามีผลต่อจำนวนตัวเลือกที่เรามีในฉากถัดๆ ไปหลังจากนั้น ถึงแม้ในส่วนนี้เกมจะทำได้ดีตามที่สัญญาไว้แต่จุดอ่อนอย่างหนึ่งก็คือเกมให้เราสลับไปเล่นระหว่างตัวละครสามตัว และตัวละครทั้งสามก็ไม่ได้มีเสน่ห์ให้เราอยากเอาใจช่วยหรือน่าติดตามขนาดนั้น ทำให้เราไม่ค่อยผูกพันกับตัวละครแต่ละตัวเท่าไหร่ ซึ่งจุดนี้ทำให้ความรู้สึกร่วมที่เรามีต่อการตัดสินใจต่างๆ ลดลงไปเยอะ เลยทำให้แม้ว่าเราจะสามารถกลับมาเล่นเกมอีกหลายๆ ครั้งเพื่อดูผลลัพธ์ของการตัดสินใจต่างๆ ให้ครบ ซึ่งอาจใช้เวลาได้ถึง 40 ชั่วโมง ก็กลับกลายเป็นว่าเล่นจบเพียงรอบเดียวก็พอแล้ว ไม่ได้มีแรงจูงใจให้เล่นต่อ แต่ทั่งนี้ก็อาจขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้เล่นด้วย สำหรับผมที่ไม่ได้ชอบเนื้อเรื่องเกมนี้เป็นพิเศษ รู้สึกว่าเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนเรื่องการเหยียดชาติหรือเผ่าพันธ์ุมาปรับใช้กับแอนดรอยด์ เล่นเพียงรอบเดียวก็เพียงพอแล้ว แต่กับคนที่ติดใจเรื่องราวของเกมนี้ก็อาจใช้เวลาไปกับเกมนี้ได้อีกนาน สรุปคะแนน: (7.5/10) Detroit พัฒนารูปแบบการเล่นที่มีเอกลักษณ์ของค่าย Quantic Dream ได้อย่างที่ต้องเรียกได้ว่าทำออกมาได้ดีที่สุดเท่าที่เคยทำมาแล้ว แต่ส่วนสำคัญที่ทำให้เกมก่อนหน้าของค่ายออกมาสนุกมากๆ อย่างเนื้อเรื่องนั้นเกมนี้ทำออกมาได้ไม่น่าประทับใจเท่าไหร่นักสำหรับผม เลยทำให้ต้องหักไปหลายคะแนน โดยเฉพาะเมื่อคุ้นเคยกับการเล่นเกมของค่ายนี้อยู่แล้ว แต่กับคนที่ไม่เคยเล่นเกมของค่ายนี้มาก่อนน่าจะสนุกกับการเล่นเกมรูปแบบนี้เป็นครั้งแรก และเกมยังมีฉากที่น่าประทับใจบางฉากที่ทำได้ดีจริงๆ และหาจากเกมอื่นไม่ได้ด้วย ถ้าไม่ได้ชื่นชอบการเสพเนื้อเรื่องหรือเกมของค่ายนี้เป็นพิเศษก็อาจผ่านๆ ไป แต่กับคนที่ไม่เคยเล่นเกมของค่ายนี้ก็น่าลองหามาเล่นดู เพราะถ้าชอบเนื้อเรื่องของเกมนี้ขึ้นมาด้วยแล้วก็น่าจะชอบเกมนี้ได้ไม่ยาก ดูรีวิวตัวเต็มแบบวิดีโอได้ที่นี่เลย
24 May 2018
รีวิว Stifled (PS4) พวกมันได้ยินเสียงความกลัวของคุณ!
Stifled เป็นเกมสยองขวัญบน Playstation 4 ที่มีระบบการเล่นที่แปลกใหม่ด้วยการใช้เสียงเป็นส่วนสำคัญในเกม โดยมีคำโปรยต่อท้ายชื่อเกมว่า THEY HEAR YOU FEAR (พวกมันได้ยินเสียงความกลัวของคุณ!) เพื่อนๆ สามารถใช้ Playstation VR และไมโครโฟนเพื่อเพิ่มอรรถรสในการเล่น ตัวเกมออกไปตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แต่เพิ่งจะมาลง PSN โซนเอเชียเมื่อไม่นานมานี้ โดยการกลับมาครั้งนี้ยังมาพร้อมกับเสียงพากย์และคำบรรยายภาษาไทยอีกด้วย ไปดูกันเลยว่าทีมงาน GameFever มีความเห็นอย่างไรหลังจากเล่นเกมที่ได้รับรางวัลด้านความสร้างสรรค์มากมายเกมนี้จนจบ ในเกมนี้เราจะรับบทเป็นชายคนหนึ่งที่ตื่นขึ้นมาในบ้านด้วยเสียงนาฬิกาปลุก เนื้อเรื่องเริ่มต้นของเกมมีแค่นั้นจริงๆ โดยผู้เล่นจะรู้เรื่องราวที่เหลือจากการเล่นเกม ผ่านบันทึก จดหมาย เสียงข้อความที่เพื่อนบ้านฝากไว้กับโทรศัพท์ และสิ่งอื่นๆ ที่เราสามารถสำรวจได้ เกมแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกจะเป็นฉากภายในอาคารซึ่งเป็นส่วนที่เราจะได้เดินสำรวจ ปะติดปะต่อเรื่องราวต่างๆ โดยไม่ได้มีการใช้ฟังก์ชันเสียงของเกมเท่าไหร่นัก ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้วถ้าผู้เล่นไม่สนใจก็ไม่จำเป็นต้องอ่านหรือฟังอะไรเลยก็ได้ เพราะสิ่งที่ต้องการในการเล่นผ่านส่วนนี้จริงๆ ก็คือการเดินไปถึงจุดที่กำหนด รวมถึงสำรวจอะไรที่เกมกำหนดไว้ ส่วนที่สองของเกมคือส่วนที่เป็นจุดเด่นของเกมนี้ เป็นส่วนที่ผู้เล่นจะได้ใช้ฟังก์ชันเสียงของเกม เป็นส่วนที่ค่อนข้างจะตื่นเต้นลุ้นระทึกกว่า เนื่องจากเป็นส่วนที่เราจะต้องคอยหลบหนีศัตรู รวมทั้งรอบกายเรายังเต็มไปด้วยความมืดมิด โดยภาพในเกมจะเปลี่ยนเป็นฉากสีดำและเราจะเห็นสิ่งรอบกายเป็นเพียงโครงร่างสีขาวในระยะการมองเห็นที่จำกัดมากๆ จุดนี้เราจะต้องใช้เสียงเพื่อสำรวจเส้นทาง (Echolocation) โดยเราสามารถหยิบข้าวของที่อยู่ตามพื้นเพื่อปาให้เกิดเสียง หรือใช้การส่งเสียงของเราเองผ่านไมโครโฟน (หรือใช้ปุ่มบนจอยในกรณีที่ไม่มีไมโครโฟน) ซึ่งเสียงที่เกิดจากการกระทำทั้งสองอย่างจะไปสะท้อนกับสิ่งรอบตัวเรา ปรากฏเป็นโครงร่างสีขาวขึ้นมา ทำให้พื้นที่การมองเห็นของเรามากขึ้นกว่าเดิม เราจะต้องใช้การสำรวจด้วยเสียงภายในฉากแบบนี้อยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะที่เราใช้เสียงเพื่อสำรวจเส้นทางนั้นเราจะต้องคอยระวังว่าเสียงของเราจะไปถึงเหล่าปีศาจภายในเกมด้วย โดยศัตรูจะมองไม่เห็นเรา แต่หากเราส่งเสียงเมื่อไหร่ แม้จะเป็นเพียงเสียงเดิน ศัตรูที่เดินอยู่จะพุ่งเข้าโจมตีเราทันที และเราไม่สามารถที่จะจู่โจมกลับได้ ส่วนนี้เราจะต้องหาทางหลอกล่อศัตรูให้ไปทางอื่นด้วยเสียง แบบเดียวกับที่เราใช้เพื่อสำรวจฉาก รูปแบบการเล่นในส่วนนี้ซึ่งเป็นจุดขายของเกมนี้ซึ่งดูเหมือนจะน่าสนใจ เอาเข้าจริงๆ แล้วกลายเป็นจุดอ่อนของเกมเพราะทำมาได้ไม่ดีพอ ถึงแม้จะบอกว่าเราใช้เสียงเพื่อสำรวจฉากแต่เอาเข้าจริงๆ เรายังต้องใช้การมองเห็นเป็นส่วนหลักของเกมอยู่ดี การส่งเสียงเพื่อสำรวจเส้นทางน่าสนุกอยู่ในช่วงแรกๆ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นการพูดหรือตะโกนซ้ำๆ เพื่อทำให้ตัวละครเรามองเห็นฉากเท่านั้นเอง ถึงแม้เสียงเบาหรือดังจะมีผลต่อระยะการมองเห็นแต่ก็ไม่ได้สร้างความแตกต่างเท่าไหร่ การหยิบของตามพื้นเพื่อปาล่อศัตรูไปที่อื่นนั้นมีประโยชน์และได้ผลดีกว่ามาก และการสำรวจฉากส่วนใหญ่ก็ดำเนินไปด้วยการพูดเสียงปกติเนื่องจากเราไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่การมองเห็นที่มากขึ้นด้วยการพูดเสียงดัง เพราะไม่กี่วินาทีต่อมาภาพที่เรามองเห็นก็จะกลับมามืดเหมือนเดิมและต้องส่งเสียงใหม่อยู่ดี และการพูดเสียงเบาก็ให้พื้นที่ในการมองเห็นน้อยเกินไป กลายเป็นว่าการสำรวจฉากด้วยวิธีนี้ให้ความรู้สึกเหมือนการย้ายฟังก์ชันที่อยู่ในปุ่มมาทำให้มีลูกเล่นมากขึ้นหน่อยเท่านั้นเอง เกมนี้เป็นเกมสยองขวัญที่แทบไม่มีความน่ากลัวเลย สาเหตุอย่างแรกก็คือกราฟิกที่มีคุณภาพต่ำ ความประทับใจแรกที่ผู้เล่นจะได้พบเมื่อสวมแว่น VR เพื่อดำดิ่งเข้าสู่โลกของเกมก็คือสิ่งแวดล้อมที่ดูราวกับเป็นของปลอม และเพราะแบบนั้นประสบการณ์ร่วมจากการคิดว่าเราได้เข้าไปอยู่ในโลกของเกมจริงๆ จึงลดลงอย่างมาก ในส่วนที่เราต้องคอยหลบศัตรูซึ่งถึงแม้จะตื่นเต้นกว่าแต่เนื่องด้วยกราฟิกที่เปลี่ยนเป็นสไตล์แบบภาพโครงร่างของสิ่งรอบตัวทำให้เหล่าปีศาจในเกมแทบไม่มีความน่ากลัวเหลืออยู่เลย ความตกใจที่เกิดขึ้นเป็นแบบความตกใจแบบที่เกิดขึ้นเวลามีเพื่อนแอบแกล้งให้เราตกใจแค่นั้นเอง ซึ่งพอผู้เล่นปรับตัวให้เข้ากับความตกใจแบบนั้นได้ การเจอศัตรูแต่ละครั้งก็กลายเป็นความรำคาญมากกว่าความล้นระทึก เหล่าปีศาจกลายเป็นสิ่งน่าเบื่อที่คอยขัดขวางไม่ให้เราไปต่อมากกว่าที่จะเป็นความน่าสะพรึงกลัวที่ทำให้เราขนลุก และเนื่องจากเราไม่ค่อยจะตกใจกลัว ฟีเจอร์ที่น่าสนใจอย่างการที่ศัตรูสัมผัสความกลัวจากเสียงตกใจของเราได้จึงแทบไม่ได้ทำงานเลย เป็นเรื่องน่ายินดีมากๆ ที่ได้เห็นเกมที่มีทั้งเสียงพากย์และคำบรรยายภาษาไทย เมื่อคิดถึงความรู้สึกร่วมที่มากขึ้นและความเข้าใจเนื้อเรื่องที่มากขึ้น โดยเฉพาะกับเกมที่ส่วนหนึ่งของเกมคือการค่อยๆ เผยเนื้อเรื่องจากการอ่าน การฟังสิ่งต่างๆ ในเกม คำบรรยายของเกมทำออกมาได้ดีตามมาตรฐาน แต่สิ่งที่ดีจริงๆ คือพวกเอกสารหรือบันทึกต่างๆ ในเกมที่สามารถกดดูคำแปลได้หมด ช่วยทำให้เข้าใจเรื่องราวในเกมได้ง่ายขึ้นมาก ส่วนเสียงพากย์นั้นถือว่าทำได้น่าผิดหวังพอสมควร นั่นเพราะเสียงของตัวละครหลักมีการเลือกนักพากย์มาได้ไม่เข้ากับตัวละครเลย และน้ำเสียงค่อนข้างขัดกับบรรยากาศอยู่พอสมควร โดยเฉพาะถ้าเราเลือกเล่นแบบไม่ใช้ไมโครโฟน เราจะได้ยินเสียงตัวละครหลักอยู่ตลอดเวลาเมื่อกดปุ่มให้ตัวละครส่งเสียงเพื่อสำรวจเส้นทาง จากบรรยากาศที่ควรจะน่ากลัวก็กลายเป็นว่าตลกไปเลย ซึ่งเราไม่สามารถที่จะเปลี่ยนให้ใช้เฉพาะคำบรรยายภาษาไทยแต่ใช่เสียงพากย์ต้นฉบับได้ หากอยากเข้าใจเนื้อเรื่องได้ง่ายขึ้นก็ต้องแลกมากับเสียงพากย์แบบนี้ สรุปคะแนน: 6.5/10 Stifled เป็นเกมที่มีรูปแบบการเล่นที่น่าสนใจแต่ทำออกมาได้ไม่ดีพอ บวกกับกราฟิกที่ทำให้เราไม่อินไปกับเกมความน่ากลัวที่ปรับตัวให้ชินได้อย่างรวดเร็ว และเนื้อเรื่องที่เราต้องปะติดปะต่อเอาเองก็ไม่ได้น่าติดตามขนาดนั้น ทำให้เกมนี้สนุกน้อยกว่าที่ควรจะเป็นมากๆ ความคุ้มค่าในการเล่นกับ VR: 2/5 การเล่นกับ VR ทำให้เกมนี้สนุกขึ้นกว่าการเล่นแบบปกติ หากใครมี VR อยู่แล้วและสนใจเล่นเกมนี้ แนะนำให้เล่นด้วย VR ไปเลย แต่หากยังไม่มี VR มาก่อน เกมนี้ก็ยังไม่ใช่เหตุผลในการซื้อหามาเล่น เพราะทำออกมาได้ไม่น่าประทับใจเท่าไหร่นัก
11 May 2018
รีวิว God of War ตัวเต็ม
เชื่อว่าเกมเมอร์หลายๆ คนคงรู้จักกันอยู่แล้วไม่มากก็น้อยกับเกม God of War ซีรี่ย์แอคชั่นรุ่นเก๋าที่เพิ่งปล่อยภาคใหม่ไปเมื่อไม่นานมานี้ ถือเป็นการยกเครื่องใหม่กันหมด ตั้งแต่ สถานที่ตั้งของเกม ที่ย้ายจากดินแดนกรีกโบราณมาอยู่ในดินแดนของเหล่าเทพ Norse (เทพไวกิ้งอย่าง ธอร์ หรือ โอดิน นั่นแหละ) ไปจนถึงระบบต่อสู้ ที่เปลี่ยนจากกล้องมุมสูงมาเป็นมุมมองแบบ Third-Person แต่ทีเด็ดจริงๆ ต้องยกให้เนื้อเรื่องและวิธีการเล่า ที่ยกระดับซีรี่ย์นี้ขึ้นไปเทียบเกมในตำนานของเครื่อง PS4 อย่าง The Last of Us หรือ Uncharted ได้สบายๆ ทีมงาน GameFever เองเพิ่งจะเคลียร์โหมดเนื้อเรื่อง จึงอยากจะนำความรู้สึกนึกคิดมาแบ่งปันกับเพื่อนๆ แบบไม่มีการสปอย กับเกมที่แฟนเกมทุกคนไม่ควรพลาด! สำหรับเนื้อเรื่องภาคนี้ดำเนินต่อจาก God of War 3 (ที่ปล่อยตั้งแต่ปี 2010) โดยเริ่มขึ้นที่การจากไปของคนรักใหม่ของ Kratos ทิ้งไว้เพียงคำขอสุดท้ายให้ Kratos และลูกชายหรือ Atreus นำอัฐิของเธอไปโปรยลงจากยอดเขาที่สูงที่สุด แต่การเดินทางของทั้งสองกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เมื่อเหล่าเทพเจ้าถิ่นเริ่มสนใจสองพ่อลูกเทพสงครามผู้บุกรุกในดินแดนของตน โดยความสัมพันธ์ระหว่างสองพ่อลูก Kratos และ Atreus ถือเป็นแกนหลักของเกมเลยก็ว่าได้ เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เน้นไปที่การพัฒนาของสองตัวละครอย่างลึกซึ้ง หลายคนคงรู้จัก Kratos ในฐานะเทพสงครามบ้าเลือด แต่เกมนี้กลับสร้างมิติให้ตัวละครในฐานะพ่อ ที่มีความห่วงใยต่อลูกแต่กลับแสดงออกไม่ถูก ด้วยความกลัวว่าลูกจะกลายเป็นเหมือนตัวเองในอดีต จึงทำได้เพียงแค่ปกป้องลูกอยู่ห่างๆ ทั้งจากภัยยันตรายรอบตัว และจากอดีตอันคาวเลือดของตัวเอง ในขณะเดียวกัน Atreus เองก็มีปมที่รู้สึกว่าไม่ได้รับความรักจากพ่อ จึงพยายามทุกวิถีทางเพื่อพิสูจน์ให้พ่อเห็นว่าสามารถดูแลตัวเองได้ แต่แน่นอนว่ายิ่ง Atreus ดูจะพยายามเป็นเหมือนพ่อเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ Kratos ลำบากใจและตีตัวออกห่างมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ Atreus ทำได้แค่ผูกใจเจ็บที่ตัวเองดูจะไม่ดีพอเสียที การใช้เรื่องราวของทั้งสองเป็นแกนหลัก ยังเป็นการสร้างคุณค่าให้กับเกม ให้เป็นมากกว่าแค่เกมแอคชั่นฟาดฟันเกมนึงที่เนื้อเรื่องเคยถูกเมินอีกด้วย และยกระดับ Kratos ในฐานะตัวละครแบนๆ มิติเดียว เป็นตัวละครที่ลึกซึ้งน่าติดตาม มีอารมณ์ที่หลากหลายมากขึ้น แม้ว่าเนื้อเรื่องของเกมมีความเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าองค์อื่นๆ ด้วย (ไม่งั้นคงไม่ใช่ God of War) แต่เทพเหล่านั้นก็ยังถือเป็นตัวประกอบในเรื่องของสองพ่อลูกอยู่ดี จากการเล่นไปเกือบ 30 ชั่วโมงของทีมงาน GameFever พบว่าเกมแทบจะไม่มีการเฟรมตกหรือติดบัคใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งถือว่าน่าทึ่งมากสำหรับเกมที่ใหญ่และรายละเอียดหนาตาขนาดนี้ แต่ที่สุดยอดที่สุดคงเป็นเรื่องมุมกล้อง ที่ถ่ายต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มจนจบเกมโดยไม่มีการตัดเปลี่ยนฉากหรือเข้าหน้าจอโหลดเกมเลยแม้แต่ครั้งเดียว ทำให้ผู้เล่นสามารถชื่นชมความงดงามของฉากได้อย่างเต็มที่ รวมกระทั่งการตัดเข้า-ออกคัตซีนด้วย โดยการเปลี่ยนมุมกล้องนี้ ที่ติดตาม Kratos และ Atreus ตลอดเวลาตั้งแต่ต้นจนจบแบบไม่ตัดไปไหนเลยยังทำให้ผู้เล่นสามารถติดตามอารมณ์ของสองตัวละครตลอดเวลา ทำให้เราเห็นและรู้สึกร่วมไปกับตัวละครได้อย่างใกล้ชิด แต่ด้วยความที่เนื้อเรื่องภาคนี้ดูจะมีความติดดินกว่าภาคก่อนๆ ทำให้เกมมีโอกาสในการโชว์ฉากแอคชั่นระเบิดระเบ้อเหมือนภาคเก่าๆ น้อยหน่อย โดยจะเน้นไปที่การเดินทางผ่านป่าเขาหรือซากปรักหักพังแทน แต่ทั้งหมดก็ยังถือว่าสวยมากๆ เป็นเกมที่ดูมาแล้วเป็นสิบๆ ชั่วโมงก็ยังไม่เบื่อเลย สำหรับคนที่เคยเล่นเกมแอคชั่นหรือเกม God of War ภาคก่อนๆ มาอาจจะพอคุ้นเคยกับระบบโจมตีหนัก-เบาอยู่บ้าง โดยเกมภาคล่าสุดก็ยังไม่ทิ้งวิญญาณเกมแอคชั่นล้างผลาญที่มีมาแต่เดิม แต่อาจจะทำให้ช้าลงมาหน่อย การต่อสู้ทำโดยการกดปุ่ม R1 กับ R2 เพื่อโจมตีเบาและหนักตามลำดับ ผู้เล่นสามารถกดการโจมตีทั้งสองแบบสลับกันเพื่อสร้างเป็นคอมโบต่างๆ ได้ เป็นระบบที่เข้าใจง่าย แต่ก็ลึกซึ้งเมื่อนำมารวมกับระบบอื่นๆในเกมอย่างการใช้โล่ห์ป้องกัน การหลบ หรือกระทั่งการปาขวานระยะใกลเพื่อโจมตี แช่แข็ง หรือขัดขาศัตรูให้ล้มแล้ววิ่งเข้าไปต่อยศัตรูมือเปล่าแทน ซึ่งการต่อสู้มือเปล่าก็มีหน้าที่ของมันในการเก็บหลอด Stun Meter ของศัตรู ซึ่งเมื่อเต็มแล้วจะเปิดโอกาศให้เราเข้าไปทำท่าปลิดชีพสุดโหดอันโด่งดังของซีรี่ได้อีกด้วย อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่าเรื่องราวของพ่อลูก Kratos และ Atreus ถือเป็นแกนหลักของเกม การต่อสู้ก็เช่นกัน โดยเราจะสามารถสั่งเจ้าลูกชายของเราให้โจมตีศัตรูด้วยธนูได้ ซึ่งนอกจากจะสามารถขัดจังหวะการโจมตีของศัตรูได้แล้ว ยังสามารถเพิ่มหลอด Stun Meter ได้เร็วอีกด้วย โดยเราสามารถอัพสกิลเพื่อเพิ่มความสามารถทั้งของตัวเองและลูกชายได้ ซึ่งระบบผูกเข้ากับเนื้อเรื่องได้อย่างแยบยล ด้วยการปลดล๊อคความสามารถบางอย่างของ Atreus ตามจุดที่เราอยู่ในเควสหลัก ทำให้เรารู้สึกเหมือนตัวเองสามารถร่วมมือกับลูกได้ดีมากขึ้น สะท้อนถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองที่ค่อยๆ พัฒนาไปตามเนื้อเรื่อง โดยแรกๆ อาจจะรู้สึกว่าต้องเลือกอัพสกิลให้ดี เพราะการเก็บ EXP ในช้วงแรกค่อยข้างช้า แต่พอเล่นไปเรื่อยๆ กลับอัพสกิลเต็มหมดแต่เหลือ EXP กระจุย ทำให้ระบบสกิลที่ตั้งใจเล่นอย่างระวังตอนแรกกลายเป็นไม่ค่อยมีความหมายเท่าไหร่ในท้ายเกม ถ้าระบบสกิลมีความหลากหลายกว่านี้ก็คงจะช่วยเพิ่มความหลากหลายให้ระบบต่อสู้ได้อีกมาก ดูเหมือนง่าย แต่เกมนี้ถือเป็นเกมที่มีความยากพอสมควร โดยเฉพาะช่วงต้นๆ ที่เรายังไม่มีชุดเกราะหรือสกิลมารับมือกับศัตรูกลุ่มใหญ่ๆ ที่มักจะเจอตามด่านเป็นระยะ ทำให้ผู้เล่นต้องใช้ทักษะอันยืดหยุ่นของเกมในการเล่นงานจุดอ่อนของศัตรูแต่ละชนิดอีกด้วย การเพิ่มเลือดระหว่างต่อสู้ก็ค่อนข้างลำบากในหลายๆ ครั้ง ทำให้ต้องระมัดระวังการโจมตีของศัตรูมากเป็นพิเศษ เกมจึงรู้สึกช้าๆ กว่าเกมแอคชั่นเลือดเดือดอย่าง Devil May Cry แต่ใกล้เคียงเกมอย่าง Bloodborne มากกว่า (แต่ไม่ยากขนาดนั้นนะเออ) เกมอาจจะบังคับให้ผู้เล่นใช้ความตั้งใจในการเล่นมากขึ้น แต่เมื่อคล่องแล้วก็สามารถกระโดดเข้าไปล้างบางศัตรูให้สมชื่อเทพสงครามได้เหมือนกัน เกมนี้ถือเป็นเกมแรกในซีรี่ที่ใช้ระบบกึ่งๆ open-world ซึ่งเปิดโอกาศให้ผู้เล่นสามารถดำเนินเนื้อเรื่องได้ตามใจของตัวเอง หรือจะเลือกไปทำภารกิจย่อยต่างๆ ที่ตัวละครอื่นๆ ในเกมมอบให้ก็ได้ ในเกมยังมีความลับและปริศนาต่างๆ ซ่อนไว้ให้ผู้เล่นค้นหา ซึ่งปริศนาในเกมนี้บางทีก็ทำให้เกิดความหัวร้อนจากความยากขึ้นมาได้เหมือนกันในบางครั้ง แต่โดยรวมก็ถือเป็นข้อดี เพราะทำให้เรารู้สึกมีแรงจูงใจในการออกเดินทางไปตามที่ต่างๆ ในเกม เพราะบางครั้งการแก้ปริศนาเหล่านี้อาจจะให้รางวัลเราเป็นของเพิ่มหลอดเลือด หรือชิ้นส่วนในการอัพเกรดชุดเกราะหายากที่กำลังต้องการอยู่พอดี การแก้ปัญหาในเกมส่วนใหญ่ทำด้วยการใช้ขวานน้ำแข็งคู่ใจหรือ Leviathan Axe ของเรา ที่นอกจากจะใช้จามศัตรูได้อย่างหนักหน่วงสะใจแล้วยังสามารถนำมาใช้ปาเพื่อตัดเชือกแก้ปริศนาอีก โดยเราสามารถกดปุ่มสามเหลี่ยมเพื่อเรียกขวานให้บินกลับมาเข้ามือ Kratos ได้ตลอดเวลาอีกด้วย (เป็นอะไรที่ทำกี่ทีๆ ก็ไม่เบื่อจริงๆ ) เมื่อเราดำเนินเนื้อเรื่องไปเรื่อยๆ เราจะเริ่มมีความสามารถพิเศษในการใช้แก้ปริศนาเพิ่มขึ้นอีกด้วย ฉะนั้นถ้าเจอปริศนาที่ดูเหมือนไม่มีทางแก้อย่าเพิ่งท้อ เกมอาจจะให้เรากลับมาแก้อีกทีภายหลังก็เป็นได้ แถมการสำรวจที่ต่างๆ ในเกมยังเปิดโอกาสให้ตัวละครพ่อ-ลูกได้คุยกันมากขึ้น ทำให้เราสัมผัสความรู้สึกนึกคิดของตัวละครในมุมใหม่ๆ ได้อีกด้วย สรุปคะแนน: 9.5/10 ทีมงาน GameFever พูดได้เต็มปากจริงๆ ครับว่าเกม God of War ภาคใหม่นี้ถือเป็นเกมที่ดีที่สุดอันดับต้นๆ ของ PS4 เลยทีเดียว เป็นเกมที่แฟนซีรี่ God of War หรือแฟนเกมแอคชั่นไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง ยิ่งคนที่ชอบเสพเนื้อเรื่องดีๆ ด้วยแล้ว ควรซื้อมาประดับเพลย์สี่กัน ข้อดี - เนื้อเรื่องระดับท๊อป - ภาพสวยอันดับต้นๆ แม้ในเครื่อง PS4 ธรรมดา - ระบบต่อสู้เข้าใจง่ายแต่ลึกและท้าทาย - เกมเปิดโอกาสให้สำรวจเยอะ มีปริศนาท้าทายให้แก้ตลอดทาง ข้อเสีย - ระบบสกิลมีความสำคัญแค่ต้นเกม ท้ายเกมอัพได้หมดอยู่ดี - ปริศนาบางอันก็ทำหัวร้อนอยู่เหมือนกัน 555  
24 Apr 2018
GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
ผลการค้นหา : "Review"
รีวิวเกม Necrobarista กาแฟแก้วสุดท้ายแด่ผู้วายชนม์
-หมายเหตุ : ผู้เขียนใช้เวลาในการ เล่น และ อ่าน เนื้อหาของเกมนี้ทั้ง 10 Episodes เป็นเวลา 6 ชั่วโมง และยังคงพยายามเก็บเนื้อหา Side-Story ที่ยังเหลืออยู่อีกครึ่งหนึ่ง ระยะเวลาในการเล่นขึ้นกับผู้เล่นแต่ละคนเป็นสำคัญ... -หมายเหตุ 2 : Necrobarista มีอยู่บนระบบ Mac iOS ผ่าน Apple Arcade ที่ผู้ใช้ Mac สามารถหามาเล่นได้จาก ที่นี่ และมีกำหนดจะพอร์ทลงสู่ระบบ Playstation 4 และ Nintendo Switch ในปี 2021 ที่จะถึงนี้ ถ้าหากจะพูดกันถึง ‘ร้านกาแฟ’ แล้วนั้น ไม่ว่าจะเป็นร้านที่มีเชนสาขาขนาดใหญ่ หรือร้านแผงเล็กๆ ในปากซอยหมู่บ้าน ต่างก็มีเสน่ห์และบรรยากาศที่แตกต่างกันออกไป มันเป็นทั้งที่ดื่มด่ำในรสชาติของกาแฟอย่างเข้มขรึม เป็นที่รวมพลถกเรื่องราวในสังคม เป็นที่พักใจเล็กๆ สำหรับนักเขียน และอาจจะเป็นสถานที่สุดพิเศษที่อยู่ในความทรงจำของผู้คนที่หลากหลาย และแน่นอนว่า ร้านกาแฟ ก็ปรากฏในสื่อบันเทิงอยู่มากมาย อาจจะเรียกได้ว่าเป็น Settings ที่พบเห็นได้บ่อยเป็นลำดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ (เช่น นวนิยายญี่ปุ่น ‘เพียงชั่วเวลากาแฟยังอุ่น (Café Funiculi Funicula)’ ของโทชิคาซึ คาวางุจิ ที่อบอวลไปด้วยความรู้สึกที่สุดแสนจะพิเศษ จนได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ในปี 2018) [caption id="attachment_63988" align="aligncenter" width="555"] เพียงชั่วเวลากาแฟยังอุ่น ของโทชิคาซึ คาวางุจิ แปลโดยคุณฉัตรขวัญ อดิศัย แพรวสำนักพิมพ์ เป็นนวนิยายแสนอบอุ่นขนาดกะทัดรัดที่ผู้เขียนขอแนะนำ[/caption] แต่สำหรับแวดวงวิดีโอเกม ร้านกาแฟ กลับเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ค่อนข้างยาก ท่ามกลางความสุดสวิงของเนื้อหาที่หลากหลาย ความเรียบง่ายและง่ายงามของร้านกาแฟกลับเป็นสิ่งที่ยากจะพบ และนั่นทำให้ ‘Necrobarista’ จากทีมพัฒนาสายอินดี้สัญชาติออสเตรเลีย Route 59 นั้น ดูมีความพิเศษขึ้นมา ไม่ใช่แค่ในส่วนของเนื้อหา หากแต่เป็นองค์ประกอบศิลป์โดยภาพรวม ที่ขับเน้นให้เกม ‘Visual Novel’ ชิ้นนี้ โดดเด่นจับตาและมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน -The Terminal : ร้านกาแฟแห่งนี้ขอต้อนรับ ทั้งคนเป็นและคนตาย (แต่ไม่มี WiFi โปรดเข้าใจ...) Necrobarista บอกเล่าเรื่องราวของร้านกาแฟ ‘The Terminal’ กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ที่เป็น ‘จุดเปลี่ยนผ่าน’ ระหว่างคนเป็นและคนตาย กับวิถีชีวิตของ Maddy ‘บาริสต้าหมอผี (Necrobarista)’ ผู้ทำหน้าที่ชงกาแฟแก้วสุดท้ายให้กับผู้วายชนม์ที่แวะเวียนเข้ามา และให้ใช้เวลา 24 ชั่วโมงสุดท้ายร่วมกับคนเป็นก่อนจะเดินทางไปสู่โลกหน้า และในเกมนี้ ก็คือเรื่องราว 24 ชั่วโมงอันสุดพิเศษ ที่เต็มไปด้วยความผูกพัน ความโกลาหล การเล่นแร่แปรมนต์ และผู้คนที่ผ่านทางเข้ามา ไม่ว่าจะทั้งคนเป็นหรือคนตาย [caption id="attachment_63973" align="aligncenter" width="1024"] Maddy บาริสต้าหมอผี (Necrobarista) แห่งร้าน The Terminal กับชีวิตอันไม่สามัญระหว่างคนเป็นและคนตายที่เธอต้องพบเจอ[/caption] ในเบื้องต้น สิ่งที่โดดเด่นเป็นอย่างมากสำหรับ Necrobarista นั้น คือการที่มันเป็นเกม Visual Novel ที่เลือกใช้การนำเสนอกราฟิกแบบ 3d สไตล์ Cel-Shaded โทนสีอบอุ่นสบายตา คลอไปกับดนตรีประกอบแบบ Lo-Fi ที่ฟังแล้วสบายใจ ในขณะที่เรื่องราวของ Maddy ดำเนินไป ผ่าน Episode ทั้ง 10 ในรอบระยะเวลา 24 ชั่วโมง อันเป็นกิจวัตรอันแสนจะเป็นปกติสำหรับเธอ (ที่ก็ยุ่งเหยิงจนเราเผลอลืมไปว่าที่แห่งนี้ คือจุดพักกึ่งกลางระหว่างคนเป็นและคนตาย) [caption id="attachment_63974" align="aligncenter" width="1024"] การใช้งานศิลป์แบบ 3d Cel-Shaded โทนสีอบอุ่น คลอไปด้วยเพลงแบบ Lo-Fi ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ประหนึ่งอยู่ในร้านกาแฟจริงๆ อย่างไงอย่างงั้น[/caption] แน่นอนว่าองค์ประกอบศิลป์ที่โดดเด่น ถูกนำมาขับเน้นด้วยบรรดาตัวละครเสริมที่เข้ามาช่วยสร้างสีสันให้กับเรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะทั้งตัวของ Maddy, Chay เชฟและผู้ช่วยจิปาถะ อดีต บาริสต้าหมอผี อมตะอายุ 200 ปี, Ashley เด็กสาวอัจฉริยะนักประดิษฐ์ผู้เสพติดคาเฟอีนเข้าเส้น จนถึง Kishan วิญญาณเร่ร่อนที่เข้ามาใช้เวลาร่วมกับพลพรรคแห่งร้าน The Terminal ใน 24 ชั่วโมงสุดท้าย ยังไม่นับรวมเหล่าตัวละครอื่นๆ ที่มีทั้งฮิปสเตอร์, มาเฟีย, คนจร และสมาชิกสภาผู้วายชนม์ (Council of Death) ผู้คุมกฎแห่งร้าน (และเป็นผู้ออกกฎ 24 ชั่วโมงที่ไม่อาจละเมิดได้…) ที่ทำให้เรื่องราวนั้น น่าติดตาม เพราะมันไม่ได้เพียงแค่บอกเล่าเนื้อหาที่เหนือธรรมชาติ แต่มันยังพูดถึงความรักความผูกพัน ความลำบากใจ ปัญหาชีวิต การรักษาสมดุลระหว่างโลกคนเป็นและคนตาย การทำสิ่งตกค้างที่เหลืออยู่ ไปจนถึงการปล่อยวางในวาระสุดท้าย เรียกได้ว่ามันเป็นนวนิยายภาพที่ครบรส และอ่านได้สนุก ด้วยรูปแบบการนำเสนอที่ชวนให้ติดตามเป็นอย่างมาก [caption id="attachment_64281" align="alignnone" width="1024"] แม้จะเป็นวิญญาณจร แต่ Kishan ก็เป็นตัวละครที่ชวนให้เราตั้งคำถามกับ ชีวิต ได้อย่างลึกซึ้ง ภายใต้การบอกเล่านำเสนออย่างลื่นไหล และชวนให้กระตุกความคิดไว้อย่างมาก[/caption] แน่นอนว่าในประเด็นเนื้อหาหลักใหญ่นั้น มองดูเผินๆ แล้วจะดำเนินผ่านสายตาของ Maddy กับ Chay แต่การพูดถึง ชีวิตและความตาย กับ การรับมือในห้วงวาระสุดท้าย ก็ต้องยกให้ตัวละครอย่าง Kishan ที่ในตลอดทั้ง 10 Episodes นี้ คือคนที่แบกรับความรู้สึกไว้หนักหน่วงที่สุด ความสงสัยในสาเหตุการตาย การหลงเหลือสิ่งที่ตกค้างที่ยังไม่ได้ทำ การผูกความสัมพันธ์กับผู้คน (ที่มันอาจจะสั้นเพียงแค่ 24 ชั่วโมง) และการทำความเข้าใจกับสภาวะปัจจุบันของตัวเองและการต้อง เลือก ที่จะก้าวข้ามไปโลกหน้าโดยไม่เหลือสิ่งใดค้างคา หากแต่เต็มไปด้วยความกลัวและไม่แน่ใจ เหล่านี้ ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถนำเสนอออกมาได้อย่างง่ายๆ (เพราะเรื่องหลังความตาย ตกอยู่ในขอบเขตที่เป็นนามธรรม เปิดกว้างต่อการตีความอย่างสูง...) แต่บรรดาตัวละครที่ผ่านทางเข้ามา ก็ช่วยให้มันมีความ ลื่นไหล และ ติดดิน ภายใต้ Settings ที่ผสมผสานความเหนือจริงเข้ากับวิถีชีวิตในแบบปกติธรรมดา ที่ทีมงาน Route 59 ทำออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม กลมกล่อม และหลายครั้งก็ชวนให้กระตุกคิดถึงชีวิตในฐานะ คนเป็น อย่างเราๆ อยู่ไม่น้อย -ชีวิตหลากสีสัน ในแต่ละวันของ The Terminal นอกเหนือจากเนื้อหาหลักทั้ง 10 Episodes แล้วนั้น ตัวเกมยังพ่วงด้วยระบบ ‘เนื้อหาเสริม (Side-Story)’ ที่จะปลดล็อคด้วย Token ที่จะมีให้เลือกในระหว่าง Episode เอาไว้สำหรับปลดล็อคเนื้อหาในช่วง Intercourse ซึ่งก็มีตั้งแต่เรื่องราวชวนหัวเบาสมอง เรื่องราวที่ซีเรียสจริงจัง แม้จะไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อไปให้ถึงปลายทางตอนจบของเกม แต่การได้รับรู้เรื่องราวเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชายชราขาจรที่ชื่อพ้องกับเหล้า Jack Daniels ผู้ชอบร่ำดื่มในโอกาสพิเศษ, ความขัดแย้งของ Maddy กับ Ned สมาชิกสภาผู้วายชนม์ คู่กัดไม้เบื่อไม้เมาเกี่ยวกับการ อนุโลม ให้วิญญาณจรอยู่เกิน 24 ชั่วโมง (ที่กลายเป็นปัญหา หนี้เวลา ที่เธอยังหาทางชดใช้ไม่ได้...) ไปจนถึงเรื่องเบาสมองของการประดิษฐ์หุ่นยนต์ของ Ashley ที่น่ารักหยิกแกมหยอก ก็ช่วยขยายโลกของเกม และเรื่องราวของร้าน The Terminal แห่งนี้ให้ชัดเจน จับต้องได้มากยิ่งขึ้น [caption id="attachment_63976" align="aligncenter" width="1024"] เนื้อหาเสริมหรือ Side-Story ที่มีให้ปลดล็อคและ อ่าน คั่นจังหวะระหว่างแต่ละ Episode ที่เปี่ยมไปด้วยความหลากหลาย น่าติดตาม[/caption] -เน้น เล่า ไม่เน้น เล่น... อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นเนื้อหาที่อ่านได้สนุก งานภาพสวยงาม ดนตรีไพเราะ และตัวละครที่มีสีสันและบุคลิกเฉพาะตัว แต่ Necrobarista นั้นก็ทำหน้าที่เป็น ‘Visual Novel’ หรือนวนิยายภาพชนิดตั้งแต่หัวจรดท้าย นั่นเพราะสิ่งที่ผู้เล่นสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ ก็คือการเดินสำรวจ ดูเรื่องราว และปลดล็อคเนื้อหาเสริม ไม่มาก ไม่น้อยไปกว่านั้น และเรียกร้องการมีส่วนร่วมกับเนื้อหาด้วยการ ‘อ่าน’ ที่มากอย่างมีนัยสำคัญ [caption id="attachment_63977" align="aligncenter" width="1024"] การเลือก คำ เพื่อปลดล็อค Token สำหรับเนื้อหาเสริม ดูจะไม่ใช่วิธีที่ดีเท่าไหร่ในการดึงผู้เล่นให้เข้าสู่โลกอีกด้านของตัวเกม...[/caption] ซึ่งในจุดนี้ ถ้าเทียบกับเกมแนวที่ใกล้เคียงกันอย่าง VA-11 Hall-A: Cyberpunk Bartender Action ของ Sukeban Games ทีมอินดี้จากเวเนซุเอลา หรือ Coffee Talk ของ Toge Productions (ที่คุณสามารถอ่านรีวิวโดยคุณ ll7777ll ได้จาก ที่นี่) แล้วนั้น จะพบว่าสองเกมที่กล่าวถึง จะมีการปฏิสัมพันธ์และการใส่ Mini-Games ที่ผู้เล่นสามารถ ‘เล่น’ ได้มากกว่า ซึ่งทำให้ Necrobarista นั้น อาจจะกลายเป็นยาขมหรือยานอนหลับชวนง่วงไปเสียก่อนถ้าหากคุณไม่ใช่สายอ่านอย่างจริงจัง (แม้ว่าไดอะล็อกจะถูกเขียนขึ้นอย่างคมคาย ทั้งเนื้อหาและจังหวะการหยอดมุกก็ตาม) ไปจนถึงปัญหาทางเทคนิคประปราย จากการที่เกมถูกสร้างด้วยเอนจิ้น Unity (ที่ผู้เขียนแม้จะใช้การ์ดจอ RTX 2070 Super แต่ก็ยังมีแอบพบอาการกระตุกให้เห็นบ้างเป็นครั้งคราว) แต่ถ้าจะนับสิ่งที่น่าเสียดายมากๆ สำหรับ Necrobarista นั้น คือระบบการปลดล็อค Side-Story หรือเนื้อหาเสริม ที่การเลือก Keyword ในระหว่าง Episode เพื่อสะสม Token นั้น แทบจะไม่มีอะไรบ่งบอกเลยว่าผู้เล่นจะได้รับ Token แบบไหนมาอยู่ในมือ ซึ่งในขณะที่พิมพ์บทความชิ้นนี้ ผู้เขียนก็ปลดล็อคไปได้แค่ครึ่งเดียว และวัดจากจำนวนแล้วก็อาจจะน้อยไปสักนิด แม้ว่าทาง Route 59 สัญญาว่าจะเพิ่มเติมในส่วนนี้เข้ามาให้ฟรีๆ ในอัพเดทภายหลังก็ตาม -แก้วสุดท้ายแด่ผู้วายชนม์ แต่ไม่ว่าจะอย่างไร Necrobarista ก็ถือได้ว่าเป็นผลงานที่ชัดเจนในแนวทางของตัวเอง ไม่ประนีประนอมต่อรูปแบบการนำเสนอ และผ่านการคิดและเขียนขึ้นอย่างละเมียดละไม มันใช้ฉากหลังที่ผสมเรื่องราวเหนือธรรมชาติ  (บาริสต้าหมอผีกับเหล่าวิญญาณจรที่ผ่านทางเข้ามา…) แต่ในแต่ละเรื่องราว มันกำลังพูดถึงความเป็น ‘มนุษย์’ ที่ชัดถ้อยในจุดประสงค์ มีแง่มุมให้ขบคิด และชวนให้เราย้อนระลึกว่าความรักความผูกพัน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และการ ‘ปล่อยวาง’ ในช่วงเวลาสุดท้ายที่เหลืออยู่ มีคุณค่าและความสำคัญมากเพียงใด กล่าวโดยสรุป มันอาจจะไม่ใช่เกมที่เหมาะสมสำหรับทุกคน (อย่างที่กล่าวไปข้างต้น มันไม่ประนีประนอมในการนำเสนอเลยแม้แต่นิดเดียว) และเรียกร้องการมีส่วนร่วมอย่างสูง แต่ Pace และเนื้อหาที่มันนำเสนอ ก็น่าเอนกายผ่อนใจให้เราชะลอจังหวะชีวิต ค่อยๆ จิบและดื่มด่ำกับเรื่องราวที่จะคลี่ห่มอย่างอบอุ่น เช่นเดียวกับการห่อหุ้มความรู้สึกด้วยรสชาติแห่งกาแฟ มันคือเกมขนาดเล็ก แต่บอกเล่าเรื่องราวที่ไม่เล็ก และมีคุณสมบัติที่ครบพร้อม แม้ว่ามันจะใช้เวลาถึงสามปีกว่าที่จะวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ แต่มันก็ฉายให้เห็นว่า เส้นทางของทีม Route 59 นั้น มีรสนิยม เข้าใจคิด ไม่ติดในเรื่องการนำเสนอ และยังทอดยาวออกไปได้ไกลแค่ไหน … “ซึ่งถ้าเปรียบพวกเขาเป็นบาริสต้าแล้วนั้น เรื่องราวที่หลากหลายผสมผสานกันในครั้งนี้ ก็ยอดเยี่ยม เฉกเช่นกาแฟที่คั่วจากเมล็ดชั้นดีที่ชวนให้เราร่ำดื่ม และย้อนกลับมาหามัน ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่านั้นเอง…” [penci_review id="63970"]
24 Aug 2020
รีวิวเกม Might & Magic: Era of Chaos เกมรบทัพจับศึกสุดแฟนตาซี
ซีรีส์ Might & Magic เป็นซีรีส์เกม RPG สวมบทบาทที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะฝั่งยุโรป ถือว่าเกมนี้เป็นระดับตำนานเลยก็ว่าได้ โดยตัวเกมตัวแรกสุดของซีรีส์ Might & Magic ปล่อยออกมาในปี 1986 หลังจากนั้นมา ตัวเกมก็มีภาคใหม่ ๆ ออกมาเรื่อย ๆ โดยเฉพาะยุคปัจจุบันที่แพลตฟอร์มมือถือเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมาก ทำให้เกิดเกมแนวใหม่ ๆ ขึ้นมามากมาย Might & Magic เองก็ถือเป็นอีกหนึ่งเกม ที่ได้ทำการวิวัฒตัวเองไปสู่เกมรูปแบบใหม่เช่นกัน Might & Magic: Era of Chaos เป็นเกมแนว Strategy RPG บนแพลตฟอร์ม Android และ iOS เปิดให้บริการโดยค่ายเกมยักษ์ใหญ่ระดับโลกอย่างค่าย Ubisoft โดยตัวเกมแม้ว่าจะได้ชื่อว่าเป็น Strategy RPG  ก็ตาม แต่เอาจริง ๆ ตัวเกมสามารถเรียกได้ว่าเป็นเกมแนว RPG สไตล์จัดทีมตัวละคร ที่จะส่งให้ทีมตัวละครของเราและฝั่งศัตรูได้ออกไปสู้กันโดยอัตโนมัตินั่นเอง ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเกม Might & Magic: Era of Chaos เป็นเกมแนว Strategy RPG ที่เราจะได้เลือกฮีโร่และจัดทีมกองทัพของตัวเอง ให้ออกไปต่อสู้กับกองทัพของศัตรู ตัวเกมโดดเด่นเป็นอย่างมากในการหยิบเอาตัวละคร ธีมเกม ฉาก รวมไปถึงเรื่องราวต่าง ๆ มาจากซีรีส์ Might & Magic ซึ่งได้ชื่ออยู่แล้วว่าเป็นซีรีส์แฟนตาซีสุดยิ่งใหญ่อลังการ ที่มีทั้งเผ่า โลก เวทย์มนตร์ และตัวละครสำคัญ ๆ ที่มีเสน่ห์มากมายให้เราได้หลงใหล กราฟฟิก และงานออกแบบ "กราฟิก 2D รายละเอียดดี ภาพประกอบคุณภาพงานแฟนตาซีแท้" กราฟฟิกตัวเกมของ Might & Magic: Era of Chaos จะมาในรูปแบบสไตล์แนวการ์ตูน 2D แต่คงไว้ด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ที่ทำออกมาได้อย่างปราณีตครบถ้วน โดยเฉพาะภาพประกอบต่าง ๆ ของตัวละครที่ทำออกมาในรูปแบบการ์ด ก็ทำออกมาได้ดูดีมาก ถ้าปริ๊นออกมาเป็นการ์ดจริง ๆ ผมว่าสามารถนำมาขายได้เลยละ จุดหนึ่งที่ตัวกราฟฟิกทำออกมาดี คือฉากการต่อสู้ เพราะในเกมในสไตล์เดียวกันกับ Might & Magic: Era of Chaos ฉากต่อสู้ส่วนใหญ่จะค่อนข้างและมาก ๆ ดูไม่ออกว่าใครสู้กับใคร ใครทำอะไรบ้าง มันทำให้เราพลาดความเท่ห์ หรือเสน่ห์ของตัวละครที่ทำออกมาอย่างดีไปเสียหมด แต่สำหรับฉากต่อสู้ของ Might & Magic: Era of Chaos ถือว่าทำออกมาดูดีทีเดียว เราสามารถเห็นกลุ่มก้อนของยูนิตแต่ละตนได้เป็นอย่างดี และเห็นว่าตัวละครเหล่านั้นทำอะไรลงไปบ้าง ระบบเกมเพลย์ "จัดทัพตัวละคร วางกลยุทธ์ตำแหน่ง เหมือนเล่นเกมหมากกระดาน แต่ตัวหมากมีชีวิต สกิล และความแข็งแกร่งที่สามารถสอดผสานกันได้" ตัวระบบเกมเพลย์หลักหรือระบบต่อสู้ภายในเกม จะมาในรูปแบบของเกมแนว RPG จัดทีม ที่ปล่อยให้ฮีโร่ของเราออกไปต่อสู้กับทีมฮีโร่ของฝั่งศัตรูโดยอัตโนมัติ แต่แตกต่างนิดหน่อยตรง Might & Magic: Era of Chaos จะให้ความรู้สึกถึงความเป็นกองทัพมากกว่า โดยภายในตัวเกม เราจะสามารถจัดกองทัพของเราได้สูงสุด 8 ยูนิต ซึ่งยูนิตบางประเภทจะไม่ได้ออกมายืนโดดเดี่ยวตนเดียว แต่จะมายืนเป็นกลุ่ม เวลาต่อสู้ จึงเหมือนการเคลื่อนพลของกองทัพ มากกว่าเห็นเป็นตัวละครวิ่งเข้าไปต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม ความพิเศษของ Might & Magic: Era of Chaos คือเรามีพื้นที่ให้วางยูนิตทั้งหมด 4 x 4 ช่องเท่านั้น และจะแบ่งแถวหน้าหลังไว้เท่า ๆ กันที่ 2 x 4 ช่อง โดยยูนิตภายในเกมแบ่งออกเป็นทั้งหมด 5 สาย โดย โจมตี ป้องกัน และจู่โจม จะเป็นยูนิตแถวหน้า ส่วน ระยะไกล กับคาสเตอร์จะถูกล็อคไว้ให้อยู่แถวหลัง โดยการวางตำแหน่งตัวยูนิต ถือว่ามีความสำคัญมาก ๆ เพราะจะหมายถึงการปะทะ หรือการเจาะเข้าสู่ตำแหน่งยูนิตแถวหลัง ซึ่งมีพลังป้องกันที่น้อยกว่าได้ นอกจากการจัดทัพตัวยูนิตแล้ว ตัวเกมยังมีระบบ "ฮีโร่" หรือคนคุมกองทัพ โดยในปัจจุบันฮีโร่ของ Might & Magic: Era of Chaos มีมากถึง 23 ตน ฮีโร่เป็นตัวละครที่สำคัญมาก เพราะนอกจากจะช่วยบัพโบนัสค่าสเตตัสให้ตัวยูนิตในกองทัพของเราเองแล้ว ฮีโร่ยังเป็นตัวแปลในการใช้สกิลในระหว่างการต่อสู้อีกด้วย โหมด & ระบบการเล่น "การันตีเรื่องโหมดการเล่นที่เยอะมาก ตามสไตล์เกม RPG บนมือถือยุคปัจจุบัน" ใน Might & Magic: Era of Chaos การปลดล็อคระบบต่าง ๆ ทำได้ด้วยการเพิ่มระดับเลเวลของตัวเรา ตัวเกมมีระบบให้เราได้เล่นได้ศึกษาเยอะมาก ตั้งแต่ระบบอัปเกรดร้อยแปด ทั้งอัปเกรดยูนิต อัปเกรดฮีโร่ ระบบภารกิจ ระบบแจกของมากมาย โหมดเนื้อเรื่อง โหมด PVP โหมด PVE ระบบ Guild โหมดอีเวนท์รายวันรายสัปดาห์ ระบบค่ายทหาร และอีกมากมายหลายหลากตามสไตล์เกม RPG บนมือถือยุคปัจจุบัน ระบบกาชา "ระบบกาชาแบบเศษยูนิต พร้อมการสุ่ม SSR แบบ 100%" ระบบกาชาของ Might & Magic: Era of Chaos แม้จะมีแจกให้เราได้หมุนฟรีวันละ 1 ครั้ง แต้ตู้กาชาของตัวเกมก็ค่อนข้างที่จะหมุนให้ได้ยูนิตตามที่ต้องการยาก เพราะภายในตู้จะไม่ได้ออกมาแค่ยูนิตเท่านั้น แต่ยังมาพร้อมกับเศษของยูนิต ซึ่งการจะได้ตัวละครระดับ SSR มาครองค่อนข้างหวังกับการสุ่มเป็นครั้ง ๆ ได้ยาก เน้นกาชาให้ครบ 100 ครั้งจะดีกว่า เพราะพอครบ 100 ครั้ง ระบบจะสุ่มปล่อยยูนิต SSR มาให้เราได้เชยชม 1 ตัวแบบ 100% อย่างไรก็ตาม เศษยูนิตของฮีโร่ค่อนข้างสำคัญมาก เพราะมันเอาไว้สำหรับอัปเกรดเพิ่มดาวให้ตัวละคร ซึ่งจะทำให้ตัวละครแข็งแกร่งขึ้นอย่างก้าวกระโดดได้นั่นเอง นอกจากนี้ตัวละครระดับ SR ก็เป็นตัวละครที่อัปเกรดได้ง่าย สามารถสอดผสานกันได้ดีไม่แพ้ตัวละครระดับ SSR ดังนั้นต่อให้เกมนี้ยูนิต SSR จะออกยากไปหน่อย แต่ยูนิตระดับ SR ก็เจ๋งไม่แพ้กันเลย สรุป "เกมจัดทัพตัวละครที่ให้อารมณ์วางกลยุทย์ และควบคุมกองทัพใหญ่จริง ๆ แม้ว่าตัวเกมจะเป็นเกม RPG ทั่ว ๆ ไปก็ตาม" ผมชอบสเน่ห์ของ Might & Magic: Era of Chaos ตรงตัวละคร และงานออกแบบต่าง ๆ เรารู้สึกได้เลยว่านี้คือโลกแฟนตาซี การจัดทีมตัวละคร ให้อารมณ์เหมือนการจัดกองทัพมากกว่าจะเรียกว่าเป็นแค่การจัดทีม เราต้องรู้จักวางกลยุทธ์ให้กองทัพของเราได้เปรียบกว่ากองทัพศัตรู การกดใช้สกิลของฮีโร่ระหว่างการต่อสู้มีผลต่อรูปเกมเป็นอย่างมาก ให้อารมณ์เหมือนเราเป็นผู้วิเศษของกองทัพ ที่สามารถใช้พลังเวทย์กวาดต้อนกองทัพของศัตรูให้ราบเรียบได้ในครั้งเดียว หากคุณชอบเกมแนว RPG แฟนตาซี ที่ให้อารมณ์การจัดกองทัพ การวางกลยุทธโดยอิงตำแหน่งของตัวละครเป็นหลัก Might & Magic: Era of Chaos สามารถตอบโจทย์ความชอบของคุณได้แน่นอน ดาวน์โหลดเกม Might & Magic ®: Era of Chaos  [penci_review id="63847"]
18 Aug 2020
รีวิว Doom Eternal บัลเล่ต์แห่งความตาย ศิลปะแห่งการทำลายล้าง
หมายเหตุ : บทความรีวิวชิ้นนี้ เขียนขึ้นหลังจากใช้เวลาเล่น Doom Eternal ระบบพีซีนับตั้งแต่วันวางจำหน่ายจนถึงปลายทางด้วยเวลา 27 ชั่วโมง เก็บ Secret และ Challenge จนครบที่ความยากระดับ Hurt Me Plenty (Normal) หมายเหตุ 2 : เกมนี้มีความไวของ Frame Rates ที่สูงมาก ผู้ที่มีประวัติอาการ Motion Sickness กับเกมแนว FPS ควรเล่นด้วยความระมัดระวัง *********************************************************************************************************** ถ้าหากนับตามอายุขัยแล้ว เกมประเภทเดินหน้ายิงหรือ First Person Shooting (FPS) ก็มีขวบปีที่จะย่างใกล้สามสิบเข้าไปทุกขณะ มันคือหนึ่งในแนวเกมที่ยืนยงคงกระพันนับตั้งแต่การปรากฏตัวครั้งแรกของมันผ่านงานจากทีม id Software เช่น Wolfenstein 3D ในปี 1992 และผ่านการเติบโต วิวัฒน์พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ผสมผสานเข้ากับแนวอื่นๆ จนเป็นภาพจำที่เราคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี และชื่อของ ‘Doom’ ก็เป็นอีกหนึ่งซีรีส์ที่ยังได้รับการกล่าวถึงอยู่เสมอ … ด้วยบทแอ็คชันอันรวดเร็วสุดระห่ำ เทคโนโลยีด้านภาพที่ล้ำยุค (ในช่วงเวลานั้น) เพียงแค่สององค์ประกอบ ก็ทำให้มันติดลมบนจนเป็นที่กล่าวขาน และก้าวเข้าสู่สถานะของความเป็น ‘ตำนาน’ แห่งเกม FPS ที่แม้แต่คนที่เกิดไม่ทัน ก็ต้องเคยได้ยินชื่อ หรือรับรู้การดำรงอยู่ของมันกันบ้าง ไม่มากก็น้อย (แถมลงมันทุกระบบตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ตั้งแต่ที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด จนถึงแพลทฟอร์มขนาดพกพาอย่าง Game Boy Advanced และ Nintendo Switch หรือแม้แต่ดัดแปลง Homebrew ไปเล่นบนเครื่องคิดเลขดิจิตอล!) แน่นอนว่ามันเคยพลาดพลั้งผิดจังหวะกันไปบ้าง กับผลงานอย่าง Doom 3 ในปี 2004 ที่ทางผู้พัฒนาคิดลองของให้มันเป็นเกมสยองเปิดไฟฉาย (แต่ก็ยังประสบความสำเร็จในยอดขายและเสียงวิจารณ์) และห่างหายไปจากแวดวงเป็นเวลาเกือบสิบสองปี ก่อนที่ ‘Doom’ จะกลับมาอีกครั้งในปี 2016 และสร้างปรากฏการณ์ครั้งสำคัญ เมื่อมันกลับสู่รากเหง้าที่แท้จริงของความคลาสสิคสุดระห่ำ ตอกย้ำความเหนือชั้นด้วยจิตวิญญาณดั้งเดิมที่เพิ่มเติมด้วยเทคนิคและลูกเล่นแบบที่เกมยุคสมัยโมเดิร์นพึงมีและพึงเป็น จากวันนั้น สี่ปีผ่านไป (และผ่านการเลื่อนการวางจำหน่ายไปหนึ่งรอบ) Doom Eternal คือการต่อยอดในแนวทางที่แผ้วถางเอาไว้ก่อนหน้าได้อย่างชัดเจนยิ่ง เมื่อความระห่ำนั้นถูกทวีคูณขึ้นอีกสามเท่า เสริมรสแต่งแต้มสีสันด้วยเทคโนโลยี การบอกเล่าเนื้อหา ดนตรีประกอบ งานศิลป์ และเกมการเล่นอันสุดเร้าใจ เป็น ‘บัลเล่ต์แห่งความตาย’ ที่ราวกับจะเป็นการยืนหนึ่งอย่างท้าทาย ว่าในท้ายที่สุด ซีรีส์นี้ก็พร้อมจะทวงถามที่ทางของมันบนบัลลังก์แห่งราชาเหนือเกม FPS ทั้งปวง ดังที่มันเคยเป็น และจะยังคงเป็นโดยตลอดมา Doom Eternal สานต่อเรื่องราวจากภาคปี 2016 เมื่อกองทัพจากนรกรุกรานโลก เข่นฆ่าประชากรไปกว่าครึ่ง และเปลี่ยนพื้นพิภพให้เดือดไปด้วยไฟประลัยกัลป์ และเป็นอีกครั้ง ที่ ‘Doom Slayer’ ผู้พิฆาต จะต้องออกมากอบกู้วิกฤติครั้งนี้ ในการเดินทางผจญภัยที่ไม่เพียงแต่จะพาเขาไปสู่นรกขุมที่ลึกที่สุด แต่ยังไต่ขึ้นสู่บันไดแห่งสวรรค์ที่สูงที่สุด ท้าทายการคงอยู่ของสามโลกที่จะสั่นคลอนความเป็นไปของทุกสิ่งอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ในเบื้องต้น ต้องชื่นชมทีมเขียนบทของ id Software เพราะไม่เพียงแต่พวกเขาจะสานต่อเนื้อหาที่รจนาเอาไว้จากภาค 2016 ได้อย่างละเมียดละไม แต่ยังมาพร้อมการนำเสนอผ่านคัทซีน ปูมบันทึก และการเรียงลำดับเรื่องราวได้อย่างหมดจด มันคือการขยายขอบเขตของการบอกเล่าที่ไปได้ไกลกว่า ที่จะพาผู้เล่นไปพบกับโลกที่ถูกเผาผลาญด้วยกองทัพปิศาจ, ขุมนรกที่ลึกที่สุด และสวรรค์ชั้นที่สูงที่สุด พร้อมผสมผสานพื้นหลังที่มาที่ไปของ Doom Slayer ให้มีมิติและมีความ ‘กลม’ ในฐานะตัวละครหลัก ที่เชื่อมโยงกับเกมภาคก่อนๆ อย่าง Doom, Doom 2 และ Doom 64 ให้มากขึ้นกว่าเดิม มันคือปกรณัมแห่งสามโลก เป็นการตีความสงครามนรกสวรรค์ในแบบใหม่ และอาจจะเป็นหนึ่งในเกมซีรีส์ Doom ที่มีเนื้อเรื่องที่เฉียบคมที่สุดเท่าที่มันเคยสร้างมาในตลอดระยะเวลาเกือบสามสิบปีเลยก็เป็นได้ พร้อมกันนั้น มันยังมีความ ‘ยั่วล้อ’ ตัวเองในแบบที่ไม่ซีเรียส ด้วยการยัดไส้ Easter Egg และ Reference จาก Doom ภาคเก่าก่อนและเกมของ id Software อันหลากหลาย ประหนึ่งว่าจะทำลายเส้นแบ่งระหว่างความจริงจังและความไม่เอาสาระ ที่ทำออกมาได้อย่างเรียบเนียน และน่ารักหยิกแกมหยอกอยู่ไม่น้อย แต่ก็เช่นเดียวกับ Doom ในทุกภาค การดำรงอยู่ของเนื้อหาอาจจะไม่ใช่สาระสำคัญเมื่อเทียบกับเกมการเล่น (ซึ่งผู้เล่นอาจจะไม่ต้องสนใจด้วยซ้ำว่ามันจะถูกบอกเล่าออกมาอย่างไรตราบเท่าที่มีกองทัพปิศาจออกมาให้ฆ่า ตัด เฉือน) และ Eternal ก็พร้อมจัดให้ ในความระห่ำที่มากยิ่งกว่าภาคเก่าก่อน บอกลาได้เลยกับการสู้รบในพื้นที่ปิดแบบครั้งต่อครั้ง เพราะทุกการปะทะ มันคือความเดือดของการฆ่าและการทำลายล้าง ที่เหล่าปิศาจได้ขนกองทัพแทบจะหมดนรกมาเพื่อบดขยี้ Doom Slayer รอบทิศทางอย่างไม่มียั้ง (ซึ่งทำให้เกมโหดขึ้นกว่าภาคที่แล้วอีกสามเท่า...) ผ่านงานออกแบบ Level Design ที่เพิ่มพื้นที่สนามแห่งการสังหารให้มีมิติและเปิดกว้างมากยิ่งขึ้น มี Secret และลูกเล่นมากขึ้น และเริ่มต้นอย่างเร้าใจนับตั้งแต่ฉากแรกจนถึงฉากสุดท้าย เหล่านี้ ถูกเสริมความสะใจไปด้วยดนตรีเมทัลระดับจัดหนักโดยฝีมือของ Mick Gordon ประพันธกรมือเอกคู่บุญของค่าย ที่จะทำให้อะดรีนาลีนของผู้เล่นถูกสูบฉีดจนถึงขีดสุดในทุกการปะทะ เป็นโมเมนตัมของมหกรรมการเข่นฆ่าที่แทบไม่ทำให้ผู้เล่นได้หยุดพักหายใจ และมากยิ่งกว่าครั้งใดๆ ที่ผ่านมา พร้อมกันนั้น ในความคลาสสิคของการปะทะที่เร้าใจ มันก็ยังไม่ลืมหัวใจของเกมแบบโมเดิร์น ด้วยลูกเล่นของการอัพเกรดอาวุธ ความสามารถ และท่วงท่าของ Doom Slayer ผ่านไอเทมที่มีให้เลือกเก็บและ Challenge ให้เลือกทำ ทุกอาวุธต่างมีโหมดที่สองเพื่อตอบสนองต่อการประหัตประหารได้ตามสถานการณ์ ไม่มีอีกแล้วกับอาวุธที่ดีที่สุดเพียงหนึ่งเดียว เพราะศัตรูที่แตกต่าง ย่อมต้องการอุปกรณ์ในการสังหารที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ที่ทุกอาวุธต่างมีอรรถประโยชน์ใช้สอย แน่นอนว่ามันอาจจะชวนให้สับสนในเบื้องแรก ที่ต้องคอยสับเปลี่ยนมันอยู่บ่อยครั้ง (ท่ามกลางสนามแห่งการฆ่าที่ทุกวินาทีนั้นมีค่า และการเคลื่อนไหวหรือหยุดนิ่งอาจหมายถึงการอยู่รอดหรือความตาย) แต่ความแข็งแกร่งจากการอัพเกรดตามเวลาและการสร้างความคุ้นเคยจะเกิดขึ้นตามมา จนกลายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้เองโดยธรรมชาติ ที่จะช่วยให้การเล่นนั้นสนุกขึ้น สะใจมากยิ่งขึ้น และต่อเนื่องไร้รอยสะดุด อันเป็นจุดขายที่ซีรีส์ Doom ภาคคลาสสิคนั้นเคยเป็น และถูกนำมาต่อยอดได้อย่างเหนือชั้นในภาค Eternal ไม่มีครั้งไหนที่ผู้เล่นจะรู้สึกทรงพลัง ไร้เทียมทานฆ่าไม่ตาย ประหนึ่งความหายนะเดินได้ที่เหล่าปิศาจทั้งหลายจะต้องหลาบจำและหวาดกลัวเท่ากับครั้งนี้อีกแล้ว ในด้านเทคโนโลยี Eternal ขับเคลื่อนด้วยขุมพลังแห่ง id Tech 7 ตัวใหม่ล่าสุดที่ได้รับการปรับปรุงจากตัวก่อนหน้า มันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในแง่ของการแสดงผลและการแปรเปลี่ยนงานศิลป์แห่งนรกและการเข่นฆ่าให้สุดยอดอลังการ ด้วยความละเอียดที่สูงขึ้น เหล่าปิศาจต่อฉากที่มากขึ้น และเอฟเฟกต์แสงสีที่ดีขึ้น โดยที่ไม่กระเทือนต่อ Performance ทรัพยากรเครื่อง ซึ่งเป็นสิ่งที่เชื่อมือได้จากทีมงานสาย id Software ผู้ก้าวล้ำนำหน้าด้านเทคโนโลยีอยู่เสมอ และเชื่อว่าเอนจิ้นตัวล่าสุด อาจจะกลายเป็นทางเลือกสำหรับผู้พัฒนารายอื่นๆ ให้ได้นำไปต่อยอดกันต่อไปในเวลาภายภาคหน้า กระนั้นแล้ว ใช่ว่า Eternal จะไม่มีจุดบกพร่องใดๆ ให้เห็น แน่นอนว่ามันยังเป็นสนามแห่งการฆ่าอันสุดเร้าใจ แต่ช่วง Downtime ที่ถูกแทรกด้วยปริศนากระโดดแบบ Platforming ที่มากขึ้นนั้นก็ดูน่าขัดใจและประดักประเดิดจนเกินกว่าความจำเป็น (และหลายครั้ง ยากในระดับที่ทำให้หัวอุ่นๆ กันพอประมาณ…) , Hub ศูนย์กลางอย่าง Doom Fortress ที่ยังไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างเห็นจริงในเชิงรูปธรรม (ซึ่งอาจจะต้องรอ DLC เนื้อหาที่จะตามมา…) , ปัญหาบั๊กส์และเชิงเทคนิคตั้งแต่เล็กๆ ไปจนถึงระดับถีบออกจากเกมและร้ายแรงอย่างไฟล์เซฟพัง (ที่เกิดน้อยมาก แต่อันตรายขั้นสุด...) ที่รอคอยการแก้ไขด้วยแพทช์ ไปจนถึงโหมดผู้เล่นหลายคนอย่าง Battlemode ที่ทำออกมาได้อย่างไม่สมดุลและแทบจะกลายเป็นอาณาเขตแดนร้างปราศจากผู้เล่นไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าทาง id Software จะนำโหมด Arena แบบดั้งเดิมกลับมาหรือไม่ ก็คงได้แต่หวังกันไป…) แต่โดยสรุป แม้จะมีข้อเสียที่ชวนให้ขัดใจ แต่ Doom Eternal ก็คือสิ่งที่ตอกย้ำความอยู่มือและความไม่เป็นสองรองใครของทีม id Software ผู้ให้กำเนิดเกมแนว First Person Shooting ที่ปรับตัวตามยุคสมัย โดยที่ไม่ลืมซึ่งแก่นหลักและหัวใจที่ทำให้ซีรีส์ Doom นั้นยืนยงคงกระพันมาอย่างยาวนาน ที่มีแต่จะมากขึ้น ระห่ำขึ้น และเดือดขึ้นอย่างที่เกมแนวเดียวกันยุคสมัยใหม่ได้แต่มองด้วยความตกตะลึง ทึ่ง และอึ้งว่าสิ่งเก่าเหล่านี้จะสามารถวิวัฒน์ให้มายืนหยัดได้อย่างองอาจและท้าทายได้อย่างไม่เกรงกลัวใคร มันคือการเข่นฆ่าที่งดงามราวกับฟลอร์ของบัลเล่ต์แห่งความตาย และเท่ไปด้วยสไตล์ที่เปลี่ยนการทำลายล้างให้กลายเป็นงานศิลปะ ที่มีแต่ id Software เท่านั้นที่จะกล้า และสามารถทำได้ เฉกเช่นเดียวกับภารกิจของ Doom Slayer ผู้ยอมปวารณาตน ดำดิ่งไปสู่ขุมนรกที่ลึกที่สุด และไต่บันไดสวรรค์ที่สูงที่สุด เพื่อหยุดยั้งและทำลายกองทัพปิศาจ ล้างบางเหล่าเทวฑูต และปกป้องมนุษยชาติอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ไม่มีหยุด และไม่คำนึงถึงปลายทางใดๆ... และ Doom Eternalจะทำให้ชื่อของ Doom ยังคงสถิตอยู่ในใจของนักเล่น และแวดวงวิดีโอเกมในเวลาถัดจากนี้ต่อไป….ชั่วนิรันดร์ [penci_review id="47573"]
27 Mar 2020
Final Fantasy VII Remake Demo : 23 ปีเพื่อนกัน และความมหัศจรรย์ของการพบกันอีกครั้ง
คุณเคยมีเพื่อนที่สร้างความประทับใจให้ไม่รู้ลืม ไม่ว่าจะผ่านเวลามานานขนาดไหนหรือเปล่า? สำหรับผู้เขียน … ย้อนเวลากลับไปเมื่อ 23 ปีที่แล้ว ในวันศุกร์ที่ 31 มกราคม 1997 ด้วยวัย 12 ขวบ ที่ยอมลาเรียน รบเร้าคุณพ่อให้พาไปต่อคิวหน้าศูนย์โซนีสาขาเดอะมอลล์งามวงศ์วาน ที่เต็มไปด้วยผู้คนที่มาด้วยจุดมุ่งหมายเดียวกัน อันช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิต มันเป็นวินาทีที่พิเศษที่สุด ที่ผลจากความพยายามเก็บเงินข้ามปี จำนวน 2180 บาท กำลังจะออกดอกผล เป็นแพ็คเกจแผ่นเกมเครื่องเล่น Playstation ใหม่ล่าสุด ที่มีชื่อว่า …. Final Fantasy VII จากวันที่ได้รับแผ่น ผู้เขียนเล่นมันอย่างไม่ลืมหูลืมตา แม้ว่าจะไม่เข้าใจภาษาญี่ปุ่นที่ปรากฏขึ้นมาบนหน้าจอโทรทัศน์แม้แต่ตัวเดียว เฝ้าเสาะแสวงหาบทสรุปของสำนักพิมพ์ต่างๆ มาประกอบการเล่น เล่นจบแล้วก็เล่นซ้ำไปมา เป็นห้วงเวลาที่มีความสุขที่สุด ที่ได้ใช้ร่วมกันกับ ‘เพื่อน’ ผู้นี้ และเป็นสิ่งที่กำหนดตัวตน และความเป็น ‘คนเล่นเกม’ ของผู้เขียนมานับตั้งแต่นั้น…. เวลาผ่านไป 23 ปีมาจนถึงปัจจุบัน ที่ผู้เขียนเป็นชายวัยเกือบกลางคน ผ่านร้อนผ่านหนาวมาหลายพรรษา ผ่านชิ้นงานเกมหลากหลายแนวมานับไม่ถ้วน ได้เห็นวัฏจักรการเกิดดับของแต่ละ Cycle ของแวดวง และได้รับทราบถึง ‘การกลับมา’ ของเพื่อนคนเก่า ที่มาในรูปโฉมใหม่ มันอดที่จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วยไม่ได้ มันเป็นความตื่นเต้น อันเกิดจากความอยากรู้อยากเห็น ว่าเวลากว่าสองทศวรรษที่ผ่านไป ‘เพื่อน’ คนนี้ จะยังคงน่าสนใจแค่ไหน และมีเรื่องราวใดที่จะมาบอกกล่าวกันกับผู้เขียน เรานัดเจอกันในเย็นย่ำวันธรรมดาหลังเลิกงาน เฝ้ารอให้เพื่อนเดินทางมาสถิตอยู่ในเครื่อง Playstation 4 Pro ใช้เวลาเพียงไม่นาน ‘เพื่อนเก่า’ ใน ‘โฉมใหม่’ ก็ได้มาอยู่ต่อหน้า พร้อมสำหรับการพูดคุยสนทนาวิสาสะกัน และนี่ คือการสนทนาของผู้เขียน กับ ‘เพื่อน’ คนนี้ … รูปลักษณ์ สุ้มเสียง สำเนียงที่เปลี่ยนไป ในเรื่องราวเก่าแก่ที่บอกกล่าวกันใหม่ตามช่วงเวลา เราเริ่มต้นทักทายกันด้วยความทรงจำและเรื่องราวเก่าเป็นบทเปิดโหมโรงพอเป็นพิธี แต่ก็สัมผัสได้ทันที ว่าเพื่อนผู้นี้ มีกลวิธีที่แตกต่างออกไปจากเดิม มันมีเสน่ห์มากขึ้นตามยุคสมัย แต่สามารถลงลึกถึงรายละเอียดเมื่อยี่สิบกว่าปีก่อนได้อย่างแม่นยำ ฉากที่เป็น Signature หลายช่วงถูกนำเสนอออกมาในรายละเอียดที่มากขึ้น ที่แม้แต่ผู้เขียนก็คาดไม่ถึง ว่าเรื่องราวในครั้งนั้น จะมีสิ่งละอันพันละน้อยปลีกย่อยที่น่าสนใจได้ถึงขนาดนี้ มันช่วยเติมรสชาติที่แปลกใหม่ แต่ก็ยังมีความชวนให้หวนอาลัยต่อความทรงจำที่เคยได้รับมาในสถานการณ์เดียวกัน ดวงตาของผู้เขียนเป็นประกายราวกับเด็กที่ได้ของเล่นใหม่ เหมือนได้ย้อนกลับไปยังวันเวลาเก่าก่อนอีกครั้ง ‘เพื่อน’ ไม่รอช้า เข้าสู่บทโหมโรงของเรื่องราวแห่ง Cloud Strife ทหารรับจ้าง กับภารกิจร่วมกับกลุ่ม Avalanche ในการทำลายเตาปฏิกรณ์ Mako ของบรรษัทยักษ์ใหญ่ Shinra Company แน่นอนว่านี่ เป็นเรื่องเก่า แต่ก็เป็นเรื่องเก่าที่น่าคิดถึง และยิ่งมาในรูปโฉมใหม่ด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ความน่าสนใจในการสนทนาครั้งนี้ เพิ่มสูงขึ้นอีกเป็นเท่าตัว ตัวละครประกอบอย่างแก๊งส์ร่วมขบวนการอย่าง Biggs, Wedge และ Jessie ถูกขับเน้นให้มีตัวตน มีบุคลิก และ ‘มีความสำคัญ’ ดังที่เพื่อนได้กล่าวกับผู้เขียนว่า เรื่องราวถัดจากนั้น จะยิ่งเข้มข้นและลงลึกในรายละเอียดมากยิ่งขึ้น (และอาจจะดึงดราม่าเรียกน้ำตากันได้ง่ายๆ...) ผู้เขียนพอจะทราบมาบ้างแล้วว่า เพื่อนผู้นี้มีความพยายามที่จะตามยุคสมัยและเวลาที่เปลี่ยนไปให้ทัน นั่นทำให้สิ่งรกรุงรังอย่างการผลัดกันตีผลัดกันเดิน ถูกทดแทนด้วยบทแอ็คชันประยุกต์ผสมผสานโหมด Active Time Bar (ATB) แบบฉบับดั้งเดิมให้เป็นในส่วนของคอมมานด์ที่สามารถกดใช้ได้แทบจะทันที หรือจะกดใช้แบบกึ่งชะลอจังหวะการเล่นเพื่อดูภาพรวมของสมรภูมิก็สามารถทำได้ ทำให้การออกท่วงท่าต่างๆ เป็นไปอย่างเรียบเนียนไร้รอยสะดุด ช่วยให้การเล่นนั้นรวดเร็ว คมกริบ และง่ายต่อการเรียนรู้ เพียงแค่สองการปะทะ ผู้เขียนก็สามารถใช้มันได้อย่างคล่องแคล่วโดยแทบไม่ต้องมองจอยแพดที่อยู่ในมือ เขาบอกว่าเอาตัวอย่างบางส่วนมาจากภาค 15 เข้ามาปรับปรุง แต่ก็ยังเหลือเผื่อจังหวะให้ช้าลงเพื่อความสะดวกมากยิ่งขึ้น เป็นการประนีประนอมที่เข้าท่ามากๆ เพราะมันได้ทั้งความเร็ว และมิติทางการวางแผน อันเป็นมรดกสืบทอดจากช่วงเวลาอันแสนน่าคิดถึงเหล่านั้น ความรวดเร็วในการดำเนินเรื่องราวของเพื่อนยังคงไว้ซึ่งจังหวะอย่างต่อเนื่อง คลอไปด้วยดนตรีที่คุ้นเคย ไม่มีอีกแล้วกับการเดินในพื้นที่แล้วสู้กับศัตรูแบบสุ่ม ทุกอย่างถูกวางสคริปต์เอาไว้อย่างเหมาะเจาะ ทุกการปะทะถูกเตรียมพร้อมเอาไว้โดยมีเป้าประสงค์ที่ชัดเจน และเข้าถึงประเด็นได้โดยไม่ต้องเสียเวลาสาธยายความ แต่ไม่ละเลยซึ่งส่วนปลีกย่อยที่เล็กน้อยที่สุดอย่างการแสดงออกทางสีหน้าตัวละคร ท่วงท่าภาษากาย บทสนทนาตอบโต้ระหว่างกัน เป็นการบอกบุคลิกที่แตกต่างระหว่าง Cloud Strife และ Barret Wallace ในภารกิจทำลายเตาปฏิกรณ์ มันชัดเจน และขับเน้นตัวละครได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งหมดนี้ บ่งบอกถึงการคิดมาอย่างดี พ่วงด้วยประสบการณ์ที่สะสมตามเวลามานานปี ที่ผู้เขียนมั่นใจ ว่าจะสามารถจับหัวใจได้ทั้งเพื่อนเก่าแก่ท่านอื่น และผู้ที่รู้จักกับเขาเพียงครั้งแรก ดังเช่นที่ผู้เขียนได้เพลิดเพลินกับการปรับโฉมในรอบนี้ เรื่องราวการผจญภัยมาถึงปลายทาง ผ่านบทต่อสู้กับบอสประจำพื้นที่อย่างหุ่นยนต์ Scorpion Sentry หน้าเก่า ที่กลับมาอย่างเร้าใจ มันมีลูกเล่นที่มากมาย และซุกซ่อนกลเม็ดเด็ดพรายที่ทำให้การต่อสู้นั้นท้าทายและเป็นมากกว่าการเดินเข้าตีอย่างดาดๆ มันต้องใช้ความคิดที่มากขึ้น ใช้ทักษะที่มากขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือ มันค่อนข้างจะเป็นการต่อสู้ที่ ‘ยาก’ เอาเรื่อง หลายครั้งที่ผู้เขียนเกือบจะพลาดพลั้งเสียที จนต้องเรียนรู้รูปแบบการโจมตีและท่วงท่าของมัน และเลือกใช้ความสามารถของสองตัวละครที่สลับผลัดเปลี่ยนในช่วงที่เหมาะสม จึงสามารถคว้าชัยชนะในการปะทะครั้งนี้ลงไปได้ ทั้งหมดนี้ ผู้เขียนเชื่อว่า คือสิ่งที่เพื่อนอยากจะบอกกล่าวตั้งแต่กาลก่อน แต่ไม่สามารถทำได้ ไม่ว่าจะด้วยข้อจำกัดของเทคโนโลยี หรือด้วยวัยที่ยังใหม่ต่อโลกกว้าง ที่วงการยังอยู่ในระยะตั้งไข่ก้าวเดินออกไปได้ไม่นานก็ตาม จุดสะดุดในเรื่องเล่า แต่ก็เช่นเดียวกับเรื่องเล่าในทุกเรื่อง การบอกเล่าของเพื่อนยังไม่ได้สมบูรณ์แบบจนถึงที่สุด ยังมีจุดที่ยังน่ากังขาอยู่ไม่น้อยที่ยังรอคอยคำตอบ ไม่ว่าจะด้วยมุมกล้องที่ใช้งานได้ไม่สะดวกมากนัก ไปจนถึงระดับความยากของการเล่นที่ค่อนข้างสวิงไม่คงที่ แต่นั่นก็เป็นเพียงความไม่สะดวกเพียงเล็กน้อย ที่ไม่ได้ขัดขวางซึ่งความสนุกที่พึงได้รับแต่ประการใด รูปแบบการบอกเล่า (การเล่น) ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เพื่อนผู้นี้กังวล อาจจะเพราะด้วยความที่เขามีคนที่รักอยู่มากมาย การเปลี่ยนแปลงสไตล์จากหน้ามือเป็นหลังมือเช่นนี้ อาจก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์ได้ทั้งทางบวกและทางลบ แต่ก็เป็นความกังวลที่แฝงไปด้วยความมั่นใจในน้ำเสียงอยู่ไม่น้อย ว่าจะสามารถมัดใจผู้ที่เข้ามาพูดคุยได้อย่างอยู่หมัด มันบ่งบอกชัดผ่านการนำเสนอที่ทั้งนอบน้อมต่อความทรงจำเก่าของเรา และความพยายามที่ก้าวสู่อาณาเขตของความร่วมสมัยที่สามารถสัมผัสได้แม้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ก็ตาม อีกทั้งเพื่อนผู้นี้ออกตัวกับผู้เขียนเอาไว้แต่เนิ่นๆ ด้วยว่า เขาอาจจะไม่ได้มีความพร้อมที่จะบอกเล่าทุกเรื่องราวตั้งแต่ต้นจนจบไปถึงปลายทางดังที่เคยเป็น อาจจะเพราะมีหลายสิ่งที่ได้รับการเพิ่มเติมเข้ามา หลายอย่างที่ช่วงเวลาได้บ่งเพาะให้มีความละเมียดละไม และหลายจุดที่ไม่สามารถละสายตาไปได้ แต่นั่นไม่ใช่สาระเท่าใดในความรู้สึกของผู้เขียน มันออกจะเป็นความน่าลุ้นเสียด้วยซ้ำว่าด้วยพรรษาที่ผ่านไป เขาจะเพิ่มเติมส่วนประกอบอันใดเข้าไว้ในเรื่องราวแต่หนก่อน ให้มีเสน่ห์และรสชาติที่น่าลิ้มลองอีกครั้ง การเฝ้าคอย และนับถอยหลังสู่การพูดคุยครั้งสำคัญ ผู้เขียนและเพื่อนใช้เวลาร่วมกันในการสนทนาครั้งนี้ที่ 45 นาที เป็นเวลาที่ดูเหมือนจะนาน แต่ก็ผ่านไปอย่างรวดเร็วเกินกว่าใจคิด อดที่จะรู้สึกเสียดายไปไม่ได้ ที่การพบปะกันหลังเวลาผ่านไปกว่าสองทศวรรษจะต้องปิดฉากลงไปก่อนเป็นการชั่วคราว เพราะมันเป็นการพบกันที่น่าอภิรมย์ แม้จะเป็นช่วงสั้นๆ แต่ก็ทำให้เห็นว่า เพื่อนผู้นี้ มีดีมากกว่าที่คิด และมีดีมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มรู้จัก แม้เวลาจะผ่านไปกว่าสองทศวรรษ และยิ่งเปล่งประกายเมื่อได้รับการขัดด้วยกาลเวลา ก่อนจากกัน เราให้สัญญานัดแนะอย่างเป็นมั่นเหมาะ ว่าจะพบกันเพื่อพูดคุยอีกครั้ง ในวันที่ 10 เมษายน ที่จะมาถึงในอีกไม่กี่อึดใจนี้  แน่นอนว่าผู้เขียนเองก็อดใจแทบไม่ไหว ที่จะได้เปิดวงสนทนากับเพื่อนผู้นี้กันให้อย่างเต็มอิ่มชุ่มปอด สวมกอดด้วยมิตรภาพที่มีให้มาอย่างยาวนานนับแรมปี และมันคงจะเป็นสิ่งที่ทำให้ย้อนระลึกถึงความเป็นเด็กวัย 12 อีกครั้ง ในวันที่ได้พบเจอกัน เพราะช่วงเวลาที่แสนสุข และยอดเยี่ยม มันไม่เคยเกี่ยง ว่าจะกลับมาในรูปโฉมไหน หรือออกมาในรูปแบบใด แล้วคุณล่ะ มีเพื่อนแบบนี้อยู่ในความทรงจำบ้างหรือเปล่า?
13 Mar 2020
รีวิว Battlefield V เจ้าแห่งเกมสงคราม ที่กลับมาอย่างยิ่งใหญ่
แนวเกม: FPS ผู้พัฒนา: DICE จัดจำหน่าย: EA แพลตฟอร์ม: PlayStation 4, Xbox One, PC (Origin) Battlefield V เกมแนว FPS ภาคต่อจากซีรีส์แนวสงครามของค่ายยักษ์ใหญ่อย่าง EA ที่คุณรู้จักกันดี โดยในภาคนี้ตัวเกมจะพาให้คุณเข้าไปสัมผัสในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่ามกลางการต่อสู้ของเหล่ามหาอำนาจอย่างฝ่ายสัมพันธมิตร และ ฝ่ายอักษะ เพื่อชิงความเป็นหนึ่ง โดยตัวเกมได้พัฒนาระบบต่างๆ ให้แตกต่างจากภาค Battlefield 1 อยู่มากพอสมควรเพื่อส่งมอบประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับตัวผู้เล่น และถือว่าเป็นก้าวแรกที่สำคัญมากสำหรับเกมนี้ที่ต้องบอกว่าพวกเขากล้า !! และอาจจะเป็นมิติใหม่ของเกมที่เราจะได้เห็นไปอีกซักพักสำหรับซีรีส์ Battlefield ภาคถัดๆ ไป ถึงแม้ว่าในช่วงเปิดตัวนั้น ตัวเกมได้รับคำวิจารณ์ในเชิงลบอยู่มากพอสมควร จนทำให้บัลลังค์ชื่อเสียงคำว่าเฟรนไชส์เกมยอดเยี่ยมนั้นสั่นคลอนลงมาเลยทีเดียว ซึ่งทางผู้พัฒนาก็ไม่ได้นิ่งนอนใจและไปปรับแก้ระบบต่างๆ จนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2018 ที่ผ่านมา ตัวเกมนั้นก็ได้วางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ โดยในบทความนี้พวกเราชาว GamefeverTH จะมารีวิวเกมนี้อย่างละเอียด ดีหรือไม่ดีตรงไหนจากความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน พร้อมทั้งการเปรียบเทียบระหว่างภาคนี้กับ Battlefield 1 ที่มันแตกต่างกันยังไง และต้องขอบคุณผู้สนับสนุนใจดีอย่าง NGIN ที่ส่งแผ่น PS4 เกมนี้มาให้เรารีวิวครับ เอาล่ะเราไปชมกันเลย กราฟิก ถึงแม้ว่าตัวกราฟิกของเกมภาคนี้จะใช้เอ็นจิ้น Frostbite 3 เหมือนในภาคที่แล้ว แอนิเมชั่นต่างๆ ก็จะคล้ายกันในหลายๆ อย่าง แต่ในเรื่องรายละเอียดต่างๆ ของภาคนี้กลับทำได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม แสง เสียง เงาต่างๆ ก็ดูสมจริงมากขึ้น เพราะใน Battlefield 1 ที่เราคิดว่าภาพสวยแล้วนั้น แต่มันก็ยังมีความเรียบของดีเทลเล็กน้อยในเรื่องของ แสง เงา ที่ทำให้เรารู้สึกว่ามันยังไม่สมจริงเท่าที่ควร แต่ต่างจากในภาคนี้ เรื่องแสง เงา คือจัดเต็ม !! จัดเต็มมาก !! กะเอาให้ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด เหมือนต้องการให้เราได้อยู่ในเหตุการณ์นั้นจรืงๆ รวมถึงสำหรับสาวก PC ที่คอมแรงก็จะโชคดีกว่าคนอื่น เพราะตัวเกมนี้ก็จะมีระบบ Ray Tracing ที่จะเป็นการสะท้อนเงาฉากในเกมให้เกมสมจริงขึ้นอีกไปอีก แต่ถ้าหากใครที่ต้องการจะใช้ระบบนี้ คุณก็อาจจะต้องใช้การ์ดจอระดับ High End ของค่ายเขียวซีรีส์ 2000 ขึ้นไปด้วย ซึ่งถ้าว่าคอมคุณทำได้ ต้องบอกเลยว่านี่คือเกมที่ภาพสวยที่สุดในตอนนี้เลยทีเดียว [caption id="attachment_13824" align="aligncenter" width="1280"] ในภาค Battlefield V จะมีรายละเอียดเรื่องแสง และเงาที่สวยกว่า[/caption] Single Player ในภาคนี้ตัวเกมก็ยังคงคอนเซ็บที่จะเล่าเนื้อเรื่องในหลายๆ มุมของยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ดั่งที่เคยทำมาในเกม Battlefield 1 โดยการนำเสนอของภาคนี้จะเน้นเนื้อเรื่องในอีกหนึ่งเรื่องราวที่ทุกคนไม่เคยเห็นในแต่ละประเทศ โดยจะมีเนื้อเรื่องอยู่ทั้งหมด 4 บทนั่นคือ Nordlys - สาวน้อยนักฆ่าความสามารถสูงที่จะต้องปลดแอกประเทศ Norway ของตัวเอกจากฝ่ายนาซี พร้อมทั้งต้องช่วยเหลือครอบครัวที่โดนจับตัวไป Under No Flag - เล่าถึงเรื่องโอกาศที่สองของอาชญากรนามว่า Billy Bridger ที่จะต้องเข้าร่วมกองกำลังรบอังกฤษ เพื่อมารับใช้ชาติแทนที่จะเข้าคุก Tirailleur - การต่อสู้ของกองกำลังเซเนกัลประเทศฝรั่งเศษที่จะต้องปกป้อง Homeland พื้นที่ ที่พวกเขาไม่เคยเห็นมาก่อน The Last Tiger - จะเล่าเรื่องของทหารฝ่ายนาซี กับลูกเรือบนรถถัง The Tiger คนหนึ่งที่เริ่มสงสัยและตั้งคำถามต่ออุดมการณ์ของประเทศตัวเอง (แต่ในเนื้อเรื่องนี้ผมยังไม่ได้เล่น เพราะว่าผู้พัฒนาบอกว่ามันจะตามมาทีหลังนั่นเอง) โดยตัวเกมเพลย์ในภาคนี้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง เพราะระบบการเล่นนั้นจะกลายเป็นรูปแบบ Openworld เต็มตัว มีแนวทางการเล่นหลากหลายมากกว่าก่อน มีอิสระในการผ่านด่านต่างๆ ได้มากขึ้น อย่างเช่นการบุกประจันหน้าเข้าไป หรือจะเป็นการลอบเร้นเข้าไปก็ได้ อาวุธภายในเกมก็มีหลากหลายเพียงแต่เราอาจจะต้องไปไล่เก็บตามแคมป์ศัตรูต่างๆ ซึ่งมันจะทำให้เราต้องสำรวจมากขึ้นนั่นเอง มีการส่อง Mark ตำแหน่งของศัตรูเพื่อให้เล่นได้ง่ายมากยิ่งขึ้นอย่างเช่นการคอยๆ เก็บทีละตัวเพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรู Alert และไปกดเสาสัญญานขอความช่วยเหลือให้เพื่อนมาช่วยเป็นต้น [caption id="attachment_13827" align="aligncenter" width="1280"] โหมดเนื้อเรื่องกลายเป็นแนว Openworld เต็มตัว[/caption] [caption id="attachment_13853" align="aligncenter" width="1280"] มีการส่องกล้องหาศํตรูหรือจุดดรอปปืนเพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับตัวเรา[/caption] [caption id="attachment_13829" align="aligncenter" width="1280"] สามารถรอบเร้นเข้าไปเก็บทีละคนได้[/caption] แต่เนื่องจากที่ระบบการเล่นแบบนี้ มันอาจจะเป็นเรื่องใหม่ที่ Battlefield เคยทำ มันเลยทำให้การดีไซน์ต่างๆ ของแผนที่นั้นออกมาไม่ดีเท่าที่ควร อย่างเช่นภายในเนื้อเรื่องที่เราจะต้องแอบเข้าไปในดงศัตรูเพื่อทำภารกิจ ซึ่งในเนื้อเรื่องของมันก็บังคับแบบกลายๆ แล้วว่าเราจะต้องลอบเร้นเข้าไป แต่ตัวศัตรูนั้นนอกจากที่จะหูไวตาไวแล้ว ข้อจำกัดในการเล่นหรืออาวุธที่เราใช้มันยังไม่ดีพอที่จะทำให้เราผ่านด่านได้แบบ Perfect เพราะบางครั้งศัตรูเองก็จะไม่เดินไปเดินมาเหมือนเกมอื่น อาวุธเริ่มต้นก็จะไม่มีปืนเก็บเสียงนอกจากมีดลับที่สามารถปาให้เข้าหัวเท่านั้น แต่มันก็จะมีพวกปืนเก็บเสียงบ้างตามแคมป์ ซึ่งมันก็แลกกับการที่เราจะต้องไปควานหามันก่อนที่จะทำภารกิจ โดยถ้าใครชอบระบบนี้ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ส่วนถ้าใครไม่ชอบระบบนี้ก็คงจะน่ารำคาญเล็กน้อย และอย่างที่แย่เลยก็คือใครบางครั้ง ศัตรูนั้นหันหน้าไปทางเดียวกันหมดทุกคน มันเลยทำให้การลอบเร้นยากกว่าเดิมเลยทำให้ความสนุกมันลดทอนลงไป ถ้าให้เปรียบเทียบระบบการลอบเร้นของเกมนี้ มันก็ดูเหมือนเกม Metal Gear Solid V: The Phanton pain เล็กน้อย เพียงแต่เกมนั้นมีสิ่งอำนวยความสะดวกหรือกลไกของเกมที่ทำให้เราลอบเร้นสนุกมากกว่าเกมนี้หลายเท่า [caption id="attachment_13832" align="aligncenter" width="1280"] บางพื้นที่ศัตรูหันหน้าทางเดียวกัน ซึ่งมันทำให้การรอบเร้นฆ่าทีละตัวยากกว่าเดิม[/caption] ส่วนตัวเนื้อเรื่องของเกมนี้ เนื่องจากที่แต่ละบทจะใช้เวลาเพียงแค่ 2 - 3 ชั่วโมงเท่านั้น การเล่าเรื่องในซีนสำคัญๆ มันเลยทำให้เราไม่อินเท่าที่ควร เพราะเราเองก็พึ่งจะรู้จักตัวละครพวกนี้ได้ไม่นาน เราเลยยังไม่ผูกพันธ์พวกเขาเท่าที่ควร แต่ก็ต้องชมเลยว่าในเรื่องของซีนที่จะสื่อถึงความรักชาติ หรือทำให้เรารู้สึกหึกเหิม ตัวเกมจะสื่อออกมาได้ดีมากๆ ซึ่งส่วนตัวของผมนั้นจะชอบในบท Under No Flag มากที่สุด เพราะเนื้อเรื่องมันจะทำให้เราเอาใจช่วยเจ้าหนูคนนี้ตลอดเวลา   Multiplayer ในเกม Battlefield V ระบบมัลติเพลยเยอร์นั้นก็จะมีโหมดการเล่นอยู่ด้วยกัน โหมดนั่นคือ Conquest - โหมดคลาสสิค ที่มีมาตั้งแต่ภาคเก่าๆ เป็นการต่อสู้ในสเกลใหญ่ที่เราจะต้องยึดพื้นที่ต่างๆ โดยในภาคนี้ระบบจะไม่เหมือนกับภาคก่อนหน้าตรงที่การนับคะแนนคือการตาย ซึ่งถ้าหากว่าเราถูกยึดจุดมากกว่าครึ่งจะทำให้คะแนนลดมากขึ้นนั่นเอง ซึ่งมันทำให้การ Comeback ของฝ่ายเสียเปรียบทำได้ง่ายขึ้น Domination - การต่อสู้ภาคพื้นดินที่จะสเกลเล็กลงมากว่าโหมด Conqest เราจะพบเจอศัตรูได้ง่ายกว่า Team Deathmatch - โหมดยิงประจันหน้าที่มีอยู่ทุกเกม โดยตัวเราและศัตรูจะสุ่มเกิดในพื้นที่ขนาดเล็กอยู่เรื่อยๆ เหมาะสำหรับคนที่อยากจะเข้าไปฝึกยิงให้คล่อง Frontlines - โหมดภารกิจยึดจุด ในธีมที่เหมือนกับการเล่นชักกะเย่อ ถ้าหากว่าฝ่ายเรายึดจุดมากกว่าอีกฝ่ายเราก็จะชนะไป Breakthrough - โหมด Capture the flags ที่เรารู้จักกันดีฝ่ายบุกต้องเข้ายึด ส่วนฝ่ายกันก็จะต้องทำทุกวิธีทางเพื่อไม่ให้ฝ่ายบุกเข้ามาได้ Grand Oparation - โหมดสเกลใหญ่ที่รวมหลายๆ โหมดเข้าด้วยกัน ซึ่งตัวโหมดนี้เองก็มีตั้งแต่ภาคก่อนหน้า ตัวเกมใช้เวลาในการเล่นนาน และเนื้อเรื่องก็จะเปลี่ยนแปลงไปตามผู้แพ้ชนะของแมทนั้นๆ โดยเกมนี้จะเน้นการเล่นเป็นทีมไม่ต่างจากในเกมภาคที่แล้ว เพียงแต่วิธีการเล่นเป็นทีมจะแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และระบบต่างๆ จะปรับเปลี่ยนใหม่อย่างเช่น ในเกม Battlefield 1 ตัวละครของเราถ้าหากไม่ใช่คลาส Medic เราก็จะไม่มียาให้เพิ่มเลย แต่ถึงอย่างนั้นถ้าหากว่าเรารอเวลาซักนิดตัวละครก็จะค่อยๆ ฟืนเลือดมาเรื่อยๆ จนเต็มแต่มันจะเสียเวลา ซึ่งการมี Medic ในทีมนั้นสำคัญเป็นอย่างมากเพราะจะคลาสนี้จะคอยเติมเลือดให้เราได้ไว ส่วนในเกมภาคใหม่ทุกคลาสที่ไม่ใช่ Medic จะมียาเพิ่มเลือดให้คนละ 1 อัน  แต่ข้อเสียคือถ้าหากเราไม่มียาเลือดของเรานั้นก็จะเพิ่มไม่เต็มหลอดทำให้เสียเปรียบนั่นเอง ซึ่งนี่คือข้อแตกต่างอย่างหนึ่ง และการชุบเพื่อนเราไม่จำเป็นต้องรอ Medic อย่างเดียวเหมือนภาคที่แล้ว เพราะในภาคนี้ไม่ว่าคุณจะเล่นคลาสไหน ก็สามารถที่จะชุบเพื่อนได้ เพียงแต่ว่าคลาสที่ไม่ใช่ Medic จะใช้เวลาชุบที่นานมากกว่านั่นเอง และในภาคนี้ก็จะตัดระบบการวิ่งชาร์จที่มีข้อดีในการเข้ายึดจุดไว หรือ Take Down ศัตรูในทีเดียวออกไป พร้อมทั้งยังตัดระบบชุดเกราะพิเศษในภาค 1 ที่จะทำให้เราถึกขึ้นปืนโหดขึ้น มันเลยทำให้ความแฟนตาซีลดลงไป และให้ความสมจริงมากขึ้น เจาะจงการเล่นเป็นทีมมากขึ้น เกาะกันเป็นกลุ่มมากกว่าแต่เก่านั่นเอง [caption id="attachment_13839" align="aligncenter" width="1280"] เป็นคลาส Assault แต่มียามาให้ 1 ชิ้น[/caption] [caption id="attachment_13840" align="aligncenter" width="1280"] ทุกอาชีพสามารถชุบเพื่อนได้ เพียงแค่ Medic จะสามารถชุบได้เร็วกว่าคลาสอื่นนั่นเอง[/caption] ระบบการต่อสู้แบบเดินเท้าก็จะสนุกมากยิ่งขึ้น เพราะว่าตัวเกมได้ตัดทอนความสามารถของยานพาหนะให้เก่งน้อยลงกว่าภาคก่อนๆ เยอะ ซึ่งตัวผมเองเล่นเกมนี้บนเครื่อง PS4 และเห็นรถถังเดินบู๊ฆ่าแหลกน้อยมาก เพราะตัวรถถังมันโดนทำลายง่ายพอสมควร เนื่องจากที่ฝ่าย Assault นั้นมีปืนระเบิดไว้ทำลายรถถังหลายลูกต่อหนึ่งคน มันเลยทำให้การสู้ด้วยยานพาหนะจะต้องใช้แบบแผนมากยิ่งขึ้นกว่าในภาค Battlefield 1 ที่ก่อนจะปรับสมดุล ตัวรถถังมัน OP มากๆ สามารถบู๊แหลกเก็บทั้งทีมได้สบายๆ พร้อมทั้งระบบ Behemoth ที่มีในเกม Battlefield 1 ก็ได้ตัดออกไปอย่างสิ้นเชิง โดยระบบนี้จะเป็นการนำยานพาหนะขนาดใหญ่เข้ามาร่วมรบสำหรับฝ่ายที่มีคะแนนน้อยและใกล้แพ้ แต่เอาตามตรงมันก็ไม่ค่อยจะช่วยให้เราชนะซักเท่าไร เพราะตัว Behemoth นั้นมีพื้นที่จำกัดในการเคลื่อนที่ รวมถึงถ้าหากคนที่ใช้ปืนเล่นไม่เก่งและสามารถเก็บฝ่ายศัตรูให้เรียบได้ มันก็แทบจะไร้ประโยชน์เลยทีเดียว แถมมันยังทำให้ผู้เล่นมัวแต่ไปขี่ตัว Behemoth จนไม่มาช่วยกันยึดจุดด้วยซ้ำ ซึ่งในภาคนี้ได้ใส่ระบบแต้มคะแนนของ Squard เข้ามาแทนที่ถ้าหากว่าเราและเพื่อนร่วมทีมสามารถเก็บคะแนนได้เยอะๆ หัวหน้าทีมสามารถเรียกคำสั่งนี้เพื่อที่จะใช้ให้เครื่องบินมาทิ้งระเบิด ใส่ศัตรู หรือเรียก Supply มาให้ก็ได้ รวมถึงภาคนี้ยังได้ใส่ระบบการก่อสร้างเพื่อเราจะได้สร้างที่กำบังให้สามารถเพิ่มความได้เปรียบกับตัวเราได้ อย่างเช่นการเอาถุงทรายมาเป็นป้อม สร้างถุงทรายให้กลายเป็นกำแพง หรือการซ่อมหน้าต่างที่กำบังในบ้านเพื่อทำที่หลบภัยให้กับสไนเปอร์ รวมถึงตัวเกมยังมีระบบ Peek Over เล็กๆ ซึ่งถ้าหากเราเอาตัวไปหลบในที่กำบังแล้วกดเล็ง ตัวเราจะชโงกหน้าออกมาเล็งอัตโนมัติ ซึ่งมันเหมาะทั้งในทีมบุกและทีมรับ เพราะตัวทีมบุกเองก็สามารถบุกหลบในหลุมขนาดใหญ่บนพื้น แล้วสร้างที่กำบังเพื่อหลบภัยชั่วครู่แล้วจึงค่อยบุกต่อก็ได้ ส่วนทีมกันก็สามารถสร้างที่หลบภัยเพิ่มเติมถ้าหากว่าตัวสิ่งก่อสร้างมันโดนพังเป็นต้น แต่ข้อเสียของระบบนี้คือตำแหน่งในการสร้างบนภาคพื้นดินจะมีอยู่จำกัดและสร้างที่กำบังไม่ได้ทุกพื้นที่ รวมถึงมันต้องอาศัยการเล่นเป็นทีมสูง ถ้าหากจะให้ระบบนี้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะเราจะได้ช่วยกันสร้างป้อมทุกมุมได้ไวขึ้น หรือถ้าหากเราเผลอโดนศัตรูยิงก็จะสามารถช่วยกันชุบได้ หรือช่วยกันแจกกระสุน ยาเป็นต้น และพอใช้งานจริงระบบนี้กลับไม่ค่อยจะมีคนนิยมเท่าไร เพราะมันทำให้รูปเกมช้าลงอย่างเห็นได้ชัด คนในเซิร์ฟเลยเลือกที่จะเล่นในแบบเดิมๆ มากกว่า แต่จะมักนิยมสำหรับคนที่เล่น Sniper ที่สามารถยิงปืนได้ในระยะไกลนั่นเอง รวมถึงการ Peek Over ส่วนตัวมันรู้สึกเอ๋อๆ กดได้บ้างไม่ได้บ้างในบางครั้ง ทำไมบางจังหวะมันผิดพลาดไปหมด ระบบคลาสของเกมนี้ในแต่ละคลาสก็จะมีหน้าที่แตกต่างกันไปอีก โดยฟังชั่นนี้จะเรียกว่า Combat Role ในการเล่นได้ ซึ่งมันก็จะไปเพิ่ม Passive ให้เราเก่งในสายนั้นๆ อย่างเช่น Role ของฝ่าย Assault ก็จะมี Role ที่จะเน้นระเบิดรถถัง หรือ Role ที่เน้นการยิงเป็นต้น พร้อมทั้งในเกมภาคนี้ได้ตัดระบบ Season Pass ออกไปไม่ต้องเทพทรูอีกแล้ว การได้ของใหม่ๆ ก็จะสามารถเก็บเลเวล รวมถึงแต่ละเลเวลก็จะมีของที่บอกชัดเจนว่าจะปลดล็อคอะไร พร้อมทั้งสกีนต่างๆ ซึ่งเราสามารถทำเควสหรือซื้อด้วยเงินเครดิตในเกมได้เช่นกัน และก่อนหน้านี้ที่ทางผู้พัฒนาโดนโจมตีเรื่องสกีนของตัวละครที่คาดว่าจะมีระบบ Lootbox เข้ามาให้เราเปิดสกีน ซึ่งดูเหมือนว่าทางผู้พัฒนาก็ได้ตัดระบบนี้ออกไปเลยทำให้สกีนหรือชุดสวมใส่ต่างๆ ก็จะดูไม่แฟนตาซีมาก ซึ่งตัวผมเองก็ไม่แน่ใจว่าระบบสกีนจะมีมาเพิ่มในอนาคตหรือไม่เราต้องรอดูกัน [caption id="attachment_13847" align="aligncenter" width="1280"] ระบบ Combat Role ที่จะเป็นคลาสย่อยของแต่ละคลาสหลักที่จะมีความสามารถแตกต่างกัน[/caption] [caption id="attachment_13848" align="aligncenter" width="1280"] ชุดไม่แฟนตาซี เพราะตัวเกมไม่มีระบบ Lootbox อย่างที่คนกลัวกัน (แต่อนาคตไม่แน่ใจว่าจะมีเข้ามาไหม)[/caption] สรุป ต้องบอกเลยว่าระบบ Singleplayer ของเกมนี้ทำออกมาได้แปลกใหม่ และถือว่าเป็นการเริ่มต้นได้ดีมากๆ เพราะระบบ Openworld ที่เราสามารถเลือกวิธีเล่นได้หลากหลายรูปแบบ แต่ต้องยอมรับว่ามันยังดีไซน์ออกมาได้ไม่ดีพอ เพราะตัวเกมมีความยากในการเล่น แต่ข้อจำกัดอาวุธที่ใช้ต่างๆ มันทำให้ความสนุกถูกบั่นทอนลงมา แต่ถ้าหากใครที่ชอบแบบนี้มันอาจจะเป็นเรืองดีก็ได้ ส่วนระบบ Multiplayer เกมนี้ทำออกมาได้ยอดเยี่ยมเลยทีเดียว มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ให้ระบบเดินเท้าทำออกมาได้ดีขึ้น แต่ข้อเสียคือถ้าหากเราเล่นคนเดียวประสบการณ์ที่เราจะได้รับมันอาจะไม่เต็มร้อย แต่ถ้าหากคุณมาคนเดียวก็ใช่ว่าจะไม่สนุก เพราะถ้าหากคุณเล่นเป็นงานคุณก็คอยช่วยเหลือเพื่อน หรือช่วยเหลือทีม Squard อื่น เพื่อสร้างความได้เปรียบได้เช่นกัน และเนื่องจากที่มันเน้นความสมจริง สปีดการเล่น หรือเข้าทำก็จะช้าลงกว่าภาคก่อนหน้า เพราะระบบต่างๆ มันเอื้อต่อการเล่นเป็นทีม ซึ่งถ้าหากคุณวิ่งมั่วๆ คุณอาจจะโดนสอยตายได้ง่ายๆ แต่ก็บอกว่านี่แหละมันคือเสน่ห์หลักของภาคนี้เลยทีเดียว เพราะไอ้ความสมจริงนี่แหะมันเลยทำให้เราอินกับคำว่าสงครามโลกมากยิ่งขึ้น นี่อาจจะเป็นเกม Battlefield ภาคที่เปิดตัวออกมาโดนด่ามากที่สุด แต่ทางผู้พัฒนาเองก็ได้แก้ไขจุดต่างๆ เอาใจความคิดเห็นของผู้เล่นมากขึ้น จนทำให้มาตรฐานของมันก็ยังดีเยี่ยมเหมือนอย่างเคย [penci_review id="13607"]
29 Nov 2018
ผจญภัยในโลกกว้างไปกับเจ้าหนุ่มหมวกฟาง! - พรีวิว One Piece: World Seeker จากงาน TGS 2018
https://www.youtube.com/watch?v=sZR44R87E6U&feature=youtu.be อีกหนึ่งเกมที่พลาดไม่ได้สำหรับค่ายเกม Bandai Namco ก็คือ One Piece: World Seeker เกมแนวแอคชั่นผจญภัยแบบ Open World ที่ให้ผู้เล่นได้สวมบทบาทเป็น Monkey D. Luffy ออกตามล่าวันพีชพร้อมกับผองเพื่อน เมื่อมาเยือนถึง TGS 2018 แล้ว เราก็ไม่พลาดที่จะไปทดลองเล่นเกมเพื่อจะได้มาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง โดยเดโมตัวที่เราเล่น เป็นตัวเดียวกับที่เคยเผยโฉมมาก่อนแล้วในงาน Gamescom 2018 ที่ผ่านมา จากที่ชมในเทรลเลอร์ต่างๆ ผู้เขียนรู้สึกตื่นเต้นเป็นพิเศษสำหรับการออกผจญภัยในฐานะ "ลูฟี่" ครั้งนี้ เพราะแทบจะเป็นครั้งแรกที่ One Piece มีเกมแบบ Open World ออกมาให้แฟนเกมได้สัมผัสบรรยากาศของการท่องไปในแกรนด์ไลน์ ทว่าพอได้ลองเล่นจริงๆ ตัวเกมกลับทำได้ไม่น่าประทับใจเท่ากับที่คาดหวังเอาไว้ สิ่งที่ผู้เขียนผิดหวังกับตัวเกมมากที่สุดน่าจะเป็นระบบ Open World ซึ่งถ้าเทียบกับ Marvels Spider-man ที่เป็นเกมแนวแบบเดียวกันแล้ว เรียกได้ว่า One Piece: World Seeker แทบจะไม่ติดฝุ่นไอแมงมุม ในที่นี้ผู้เขียนไม่ได้จะเปรียบเทียบด้านภาพ มุมกล้อง หรือเนื้อเรื่องของเกม แต่จะพูดถึงความอิสระในเกม จากที่เล่นในเดโม แทบไม่รู้สึกเลยเสียด้วยซ้ำว่าเกมเป็นระบบแบบเปิดที่เราสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้อย่างอิสระ แน่นอนว่าลูฟี่ไม่ได้ใช้มือยางยืดตึ๋งหนืดในการเดินทางบ่อยเท่ากับสไปเดอร์แมนที่พ่นใยอยู่ตลอดเวลา แต่การเดินหรือวิ่งก็มีพื้นที่จำกัดจำเขี่ยมาก ตัวเกมมีกำแพงที่มองไม่เห็นคอยกันไม่ให้เราออกนอกพื้นที่ ชวนให้รู้สึกอึดอัด แทบไม่ต่างจากการเล่นเกมแบบเป็นด่าน ไม่เหมือน Marvels Spider-man ที่ให้อิสระแก่ผู้เล่นในการชักใย ห้อยโหนและกระโจนไปไหนก็ได้ตามใจอยาก โดยไม่มีขอบเขต รวมถึงทุกสถานที่ที่ไปยังมีภารกิจยิบย่อยให้ทำ เสมือนกับว่าเราได้ไปเดินอยู่ในนิวยอร์กแล้วได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนในเมืองจริงๆ ถือเป็นอีกจุดหนึ่งที่ One Piece: World Seeker ยังขาดไปอยู่ ส่วนการใช้มือยางยืดเพื่อการเคลื่อนที่ดูเหมือนจะเป็นประโยชน์ในการเล่นแบบ Open World ที่แผนที่ค่อนข้างกว้าง และตัวละครจำเป็นต้องมีท่าที่ทำให้เคลื่อนที่ได้เร็ว ทว่าในความเป็นจริงตัวเกมกลับทำระบบนี้ออกมาได้ไม่ดีเท่าไหร่ เมื่อมือที่ยืดออกไป ยืดได้ไม่ยาวพอ กะระยะยาก อีกทั้งยังใช้ได้กับวัตถุหรือสิ่งของแค่บางอย่าง เช่น ต้นไม้ หรือหอคอยเป็นต้น ไม่สามารถใช้จับขอบเนินดินแล้วปีนขึ้นได้ ต้องคอยเดินไปตามทางลาดที่เกมกำหนด ด้านการต่อสู้ "ลูฟี่" ตัวละครหลักของเราจะต้องเข้าไปสู้รบและประมือกับทหารเรือมากมาย ตัวเกมทำออกมารองรับรูปแบบการเล่นที่มีตั้งแต่การให้ Stealth ไปจนถึงการเปิดตัวด้วยการลุยดะแบบไม่แคร์ใคร สไตล์กัปตันผู้ไม่คิดมาก นอกจากนี้เกมยังถ่ายทอดความเป็นเจ้าหนุ่มหมวกฟางออกมาด้วยการใส่กิมมิคฮาๆ เข้าไปเล็กน้อย อย่างการเข้าไปแอบซ่อนให้ถังเหล้าแล้วค่อยๆ ย่องเข้าไปแบบ (ไม่) เนียน เป็นต้น ทว่าการต่อสู้ที่น่าจะเป็นจุดขายของเกมแนวแอคชั่นอย่าง One Piece: World Seeker กลับทำออกมาได้ขาดๆ เกินๆ แม้จะมีการอ้างอิงท่าต่อสู้ของลูฟี่มาจากอนิเมะหรือมังกะ อย่างฮาคิ หรือท่ายางยืดต่างๆ แต่กลับไม่ได้มีท่าที่หลากหลายมากพอในการจะสร้างคอมโบต่อสู้แบบมันส์ๆ นอกจากนี้ระบบการต่อสู้ก็ไม่ได้ไหลลื่นอย่างที่คิด ที่ผู้เขียนรู้สึกอึดอัดที่สุดคือ One Piece: World Seeker ถือเป็นเกมที่เล็งเป้ายากเอาการ ทำให้การโจมตีหลายต่อหลายครั้งก็พลาดเป้าได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีที่แสนจะเบสิค การโจมตีคอมโบ หรือท่าพิเศษก็ตาม นอกจากนี้ในการยืดมือออกไปจับศัตรูแล้วพุ่งไปหาก็ดูเหมือนจะเป็นอะไรที่น่าสนุก ย่นระยะเวลาเดินทางไปได้เยอะ แต่จะมีประโยชน์อะไร ในเมื่อพอพุ่งเข้าไปหาเหล่าทหารเรือแล้วกดใส่คอมโบหรือโจมตีกลับวืดไม่เป็นท่า จนกลายเป็นว่าแทบจะไม่สามารถ "ยืด จับ พุ่ง และโจมตี" ได้เลย แม้ตอนสู้กับ "อาคาอินุ" บอสในเดโม จะค่อนข้างทำให้เกมสนุกขึ้นบ้าง แต่เมื่อเทียบกับระบบการต่อสู้ของ Marvels Spider-man เกมไอแมงมุมกลับทำออกมาได้ดีกว่าเยอะ ทั้งๆ ที่ Spider-man ไม่ได้มีท่าคอมโบหรือท่าที่ใช้โจมตีศัตรูมากเท่ากับท่าของลูฟี่เองเสียด้วยซ้ำ แต่กลับมีการโจมตีแบบคอมโบลื่นไหลกว่า และมันส์กว่า นอกจากนี้ตัวเกมยังขาดความตื่นเต้นและท้าทายอีก ทั้งภารกิจก็ไม่ได้มีส่วนช่วยให้เราเข้าถึงความรู้สึกของตัวละครอย่างลูฟี่ หรือเพิ่มความอินกับเนื้อเรื่องแต่อย่างใด โดยตลอดเวลาที่ตลอดเวลาที่ได้เล่นเกมประมาณ 20 นาทีก็แอบมีจังหวะที่เกิดความรู้สึกเบื่ออยู่บ่อยๆ ภารกิจที่ได้รับแทบจะไม่ค่อยมีอะไรให้ทำ นอกจากเดินไปยังยอดเขาที่ตัวเกมกำหนด ค่อยๆ กำจัดทหารเรือไปทีละตัวสองตัว ตามเปิดกล่องที่กองอยู่บนพื้น แถมยังต้องค่อยๆ เดินไปตามทาง ทำให้นอกจากกำจัดทหารเรือไปเรื่อยๆ แล้วก็แทบไม่มีอะไรให้ทำอีก ที่สำคัญคือเกมขาดความสมจริง ในฐานะเกมที่มีพื้นฐานเนื้อเรื่องมาจากการ์ตูน โดยลูฟี่ที่เราเล่นใน One Piece: World Seeker สามารถถูกโจมตีด้วยกระสุนปืนธรรมดาของทหารเรือ หากจะบอกว่าทหารเรือทุกคน ทุกเมืองใช้กระสุนไคโรอยู่ตลอดก็คงจะไม่ใช่ แม้จะเป็นที่เข้าใจได้ว่าหากยึดตามเรื่องจริงทั้งหมด ลูฟี่ของเราก็แทบจะเป็นอัมตะ เพราะนอกจากจะโจมตีแบบระยะไกลได้แล้ว ยังแทบไม่มีอะไรมาทำร้ายตัวละครของเราได้ แต่ตรงจุดนี้ก็ทำให้ผู้เขียนรู้สึกตะขิดตะขวงใจ จนไม่ค่อยอินกับตัวเกมอยู่เหมือนกัน หากจะให้รีบตัดสินว่า One Piece: World Seeker เป็นเกมที่ไม่คุ้มค่าในการเสียเวลาเล่นก็อาจจะเป็นการรีบด่วนสรุปไป ต้องรอดูกันต่อไปว่าเมื่อเกมออกมาแบบเต็มรูปแบบแล้ว จะมีการปูเนื้อเรื่อง สร้างบรรยากาศให้เราอินกับตัวเกมได้ขนาดไหน หรือเมื่อมีเหล่าผองเพื่อนกลุ่มหมวกฟางเข้ามาร่วมจอยอาจทำให้เล่นสนุกขึ้นก็เป็นได้ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะต้องเตรียมใจเผื่อไว้หากเกมไม่ได้สนุกอย่างที่เพื่อนๆ คาดหวัง ทั้งนี้ One Piece: World Seeker จะจัดจำหน่ายให้เล่นผ่าน PlayStation 4, Xbox One และ PC ในปี 2019
22 Sep 2018
พรีวิว Jump Force จากงาน Tokyo Game Show 2018
https://www.youtube.com/watch?v=tm_-1DnNcXQ&feature=youtu.be ถ้าพูดเกมแนวต่อสู้ที่มีแนวโน้มว่าจะมาแรงในอนาคตก็คงไม่หนีไม่พ้น Jump Force เกมแนวต่อสู้ที่รวบรวมตัวละครจากทั้งอนิเมะและมังกะของ Weekly Shonen Jump มาลงสังเวียน ต่อสู้เพื่อหาความเป็นหนึ่ง โดยเป็นเกมจากผู้พัฒนา Spike Chunsoft และผู้จัดจำหน่ายเกมยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น Bandai Namco ทาง Game Fever ก็ได้เล่น Demo Jump Force ในงานTokyo Game Show 2018 มาเหมือนกัน เลยอยากมาแชร์ประสบการณ์ให้เพื่อนๆ ได้ฟัง ต้องเกริ่นก่อนว่าเกมนี้มีรูปแบบเกมเป็นการต่อสู้แบบ 3 ต่อ 3 ซึ่งล่าสุดตัวเกมมีตัวละครให้เลือกกว่า 20 ตัว มาจาก 7 ซีรีส์ด้วยกัน ได้แก่ Bleach, Dragon Ball, Hunter x Hunter, Naruto, One Piece, Yu-Gi-Oh! และ Yu Yu Hakusho (มีตัวละครจาก Death Note ด้วย ทว่าจะปรากฎตัวในโหมดเนื้อเรื่องแทน) ด้านภาพ ก่อนหน้าที่ผู้เขียนจะได้ลองเล่น ก็เคยดู Trailer ของ Jump Force มาแล้วหลายตัว รวมถึงไปส่อง Screen Shot มาก็หลายครั้ง พอไปเล่นเองก็ต้องยอมรับจริงๆ ว่าทำภาพออกมาได้ค่อนข้างดี ทั้งรายละเอียดหน้าตารูปลักษณ์ตัวละคร ความสวยงามของฉาก ที่เด็ดที่สุดคือเอฟเฟ็กต์การใช้ท่าของตัวละคร ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับเรากำลังได้ดูภาพยนตร์อนิเมชั่นเรื่องหนึ่งพร้อมกับเล่นเกมต่อสู้อยู่ ทว่าเกมก็ยังมีปัญหาด้านการให้น้ำหนักกับภาพมากเกินไป อย่างเอฟเฟ็กต์ของตัวละครบางตัวก็ใหญ่เกินไป จนบดบังมุมมอง ทำให้เล่นเกมได้ไม่ค่อยลื่นและทำให้รู้สึกรำคาญในบางครั้งอยู่เหมือนกัน ระบบการต่อสู้ แต่เกมก็ไม่ได้ทำออกมาได้ดีขนาดนั้น แม้ภาพจะสวย แต่การต่อสู้กลับไม่ได้บู๊มันเท่าที่ควร เหมือนกับแค่กดปุ่มไปแล้วรอตัวละครระเบิดพลังออกมาใส่ศัตรูมากกว่า แทบจะไม่ต้องใช้เทคนิคการเล่นอะไรมากมายเหมือนกับต่อสู้แบบ Tekken ทำให้เกมถูกลดเสน่ห์ลงไปพอสมควร ถ้าให้นึกถึง Jump Force ในแง่ของการจัดแข่งขันเกมแนวต่อสู้แล้ว แทบจะนึกไม่ออกเลยว่าจะออกมาเป็นอย่างไร ในภาพรวมแล้วเกมทำออกมาได้ในระดับโอเค หากเป็นเกมเมอร์ที่เป็นคอการ์ตูน อยากเล่นเกมไฟต์ติ้งสนุกๆ แบบไม่คิดอะไรมาก เกมนี้ก็อาจเหมาะ ทว่าหากเป็นแฟนเกมที่ชอบบู๊แบบจัดหนักจัดเต็ม เน้นการเล่นแบบใช้เทคนิคแล้วก็อาจจะต้องตัดสินใจดีๆ สิ่งที่เราอาจพอคาดหวังได้ก็คือ Jump Force คล้ายกับเกม J-Stars Victory VS ของ Bandai Namco ที่ออกมาเพื่อเฉลิมฉลองครบรอบ 45 ปีของนิตยสาร Weekly Shonen Jump เมื่อปี 2014 แล้ว จะเรียกว่าเป็นเวอร์ชันใหม่ของ J-Stars Victory VS ที่ผ่านการปรับปรุงภาพมาแล้วก็อาจจะไม่ผิดนัก เพราะเป็นการรวม All Star เหมือนกัน ระบบการเล่นส่วนใหญ่เท่าที่ดูคร่าวๆ ก็คล้ายกันมาก อาจคาดหวังได้ในอนาคตว่า Jump Force อาจเจริญรอยตาม J-Stars Victory VS ด้วยการนำตัวละครในเครือที่มีสเกลพลังต่างกัน หรือไม่น่ามีความสามารถในการต่อสู้ และเป็นตัวละครที่ไม่ได้มาจากอนิเมะต่อสู้ อย่าง Ryotsu คุณตำรวจป้อมยาม, Lucky Man หรือแม้กระทั่งไซคิ มางัดกับตัวละครพลังยิ่งใหญ่แบบโงกุน นารูโตะ หรือลูฟี่ ซึ่งหากเป็นแบบนั้นจริงคงทำให้เกมมีมิติที่แปลกใหม่และแตกต่างจากเกมแนว Fighting อื่นๆ ของค่ายมากเลยทีเดียว ยิ่งถ้ามีโหมด story เพิ่มเข้ามาอีกก็น่าลุ้นว่าตอนเกมออกมาจริงๆ จะสนุกสมกับที่แฟนๆ รอคอยกันหรือเปล่า ทั้งนี้ทาง Bandai Namco ยังประกาศเปิดตัว 4 ตัวละครใหม่ประจำ Jump Force ที่ดีไซน์โดยคุณ Akira Toriyama โดยตัวละครที่ชื่อ Glover และ Navigator จะเป็นฝ่ายพันธมิตร ส่วน Galena และ Kane จะอยู่ฝั่งศัตรู ทว่ายังไม่มีข้อมูลออกมาแน่ชัดว่าเราจะสามารถเล่นตัวละคร 4 ตัวนี้ได้หรือไม่ หากใครสนใจก็สามารถติดตามข่าวสารกันได้ โดย Jump Force จะจัดจำหน่ายผ่าน PS4, Xbox One และ PC ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2019
21 Sep 2018
รีวิวเกม Earthfall (PC, Steam)
รีวิวเกม Earthfall (PC, Steam) แนวเกม: Co-op FPS ผู้พัฒนา: Holospark แพลตฟอร์ม: PS4, Xbox One, PC (Steam) ____________________________________________________________________________ ข้อดี แนวเกมเข้าใจง่าย สนุกเมื่อเล่นกับเพื่อน ราคาใน PC ถูก ข้อเสีย ด่านน้อยและเล็ก เล่นไม่กี่ครั้งก็เบื่อ ไม่ค่อยมีจุดเด่นเป็นของตัวเอง ไม่มีระบบใหม่ๆ ที่น่าสนใจ เล่นออนไลน์กับคนที่ไม่ใช่เพื่อนแล้วแลค/หลุดบ่อย ระบบการตกแต่งตัวละคร/ปืนไม่น่าสนใจ เกมเมอร์ชาวไทยหลายๆ คนน่าจะมีความทรงจำดีๆ กับเกมซีรี่ย์ Left 4 Dead เกมยอดฮิตประจำร้านเน็ตที่ให้เราร่วมมือกับเพื่อนๆ เพื่อเอาตัวรอดจากฝูงซอมบี้นับร้อยๆ ตัว เพื่อทำภารกิจจากด่านแต่ละด่าน เป็นรูปแบบการเล่นเกมที่ตื่นเต้นและเอื้อต่อการสร้างจังหวะที่น่าจดจำ เช่นจังหวะที่เราช่วยเพื่อนจากการถูก Smoker จับ หรือจังหวะที่เราร่วมมือกันเพืื่อล้ม Tank ลงจนได้ แถมยังสามารถเล่นซ้ำได้เรื่อยๆ เพราะด่านจะสุ่มตำแหน่งของไอเทมและซอมบี้ทุกครั้ง ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทุกครั้งที่เข้าไปเล่น เกม Earthfall เป็นเกมที่สร้างมาเพื่อคนที่โหยหาการเล่นเกมแบบ Left 4 Dead อย่างเต็มรูปแบบ แทบจะเรียกว่ายกเกม Left 4 Dead มาหมดแค่เปลี่ยนซอมบี้เป็นเอเลี่ยนหน้าตาธรรมดาๆ ก็ได้ แต่ด้วยการออกแบบฉากที่ค่อนข้างจำกัด รวมกับความตายตัวในโครงสร้างของด่านแต่ละด่านและองค์ประกอบย่อยอื่นๆ ทำให้เกมขาดความรู้สึกตื่นเต้นของเกม Left 4 Dead ไป Earthfall อาจจะเป็นเกมที่ตอบโจทย์สำหรับคนที่ต้องการหาเกมเล่นเพลินๆ กับกลุ่มเพื่อนเมื่อไม่มีอย่างอื่นจะเล่น โดยเฉพาะใน PC ที่เกมราคาถูกมากๆ (ขณะเขียนรีวิวเกมมีราคาใน Steam เพียง 379 บาทเท่านั้น) แต่ถ้าเลือกได้ก็ขอกลับไปเล่น Left 4 Dead 2 ดีกว่า เกม Earthfall เป็นเกมที่ให้เรารับบทเป็นผู้รอดชีวิต 4 คนในโลกที่ล่มสลายจากการโดนเอเลี่ยนถล่ม ที่ต้องเดินทางไปด้วยกันเพื่อตามหาวิธีเอาตัวรอดจากเหล่าเอเลี่ยน โดยเกมจะตั้งอยู่ในยุคอนาคตอันใกล้ และดำเนินเนื้อเรื่องผ่านบทสนทนาสั้นๆ ระหว่างตัวละครตอนเริ่มฉาก ซึ่งแฟนๆ เกมแนว Left 4 Dead หรือ Call of Duty: Zombies น่าจะคุ้นเคยกันดี เนื้อเรื่องของเกมแนวนี้อาจจะไม่ได้มีความสำคัญอะไรนัก แต่การเล่าเรื่องในเกมแบบนี้ก็สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการออกแบบการเล่นในฉากต่างๆ ให้น่าสนใจได้ อย่างใน Left 4 Dead 2 ที่มีด่านที่ผู้เล่นต้องเติมน้ำมันใส่รถในห้างเพื่อหลบหนี หรือฉากที่ผู้เล่นต้องต่อสู้กับซอมบี้กลางเวทีวงร๊อคเพื่อรอเฮลิคอปเตอร์มาช่วย ซึ่งเนื้อเรื่องใน Earthfall ก็ถือว่าตอบโจทย์ตรงนี้ได้บ้าง แม้ว่าสุดท้ายภารกิตต่างๆ ในด่าน รวมไปถึงตัวด่านเองจะไม่ได้น่าตื่นเต้นเท่าที่ควร จะมีก็เพียงแค่ด่านสุดท้ายของเนื้อเรื่องสองภาคในเกม (ภาคละ 5 ด่าน รวมเป็น 10) ที่พอจะมีความน่าตื่นเต้นอยู่บ้าง เรื่องด่านถือเป็นจุดอ่อนที่สุดของ Earthfall เลยก็ว่าได้ ด่านทุกด่านถูกออกแบบมาค่อนข้างแคบ ทำให้การทำภารกิจในแต่ละด่านต้องวนๆ อยู่ในพื้นที่เล็กๆ แบ่งเป็นห้องๆ ไม่กี่ห้องในแต่ละด่าน เมื่อรวมกับความซ้ำซากในจุดเกิดของอาวุธและไอเทมในด่าน (ศัตรูยังพอมีสุ่มจุดเกิดกันบ้าง) ทำให้การเล่นด่านเดิมซ้ำๆ ขาดความน่าตื่นเต้นไปพอสมควร เพราะรู้หมดแล้วว่าจังหวะไหนที่ศัตรูจะแห่มาเยอะๆ จังหวะไหนกำลังจะมีของเพิ่มเลือดหรืออาวุธให้เก็บเพิ่ม อีกหนึ่งจุดที่เกมทำได้ไม่ค่อยดีคือเรื่องของเหล่าเอเลี่ยนพันธุ์พิเศษ ที่ลอกมาจาก Left 4 Dead เกือบทุกตัว เช่นเอเลี่ยนที่คอยตะปบคนที่อยู่ห่างจากเพื่อนร่วมทีม เอเลี่ยนที่จะวิ่งมาลากเพื่อนร่วมทีมไปจากกลุ่ม เอเลี่ยนที่ระเบิดเป็นควันพิษ เป็นต้น ซึ่งการที่เหล่าเอเลี่ยนพิเศษทุกตัวมีความคุ้นเคยมากๆ ก็ทำให้เกมขาดความน่าตื่นเต้นไปอีกเช่นกัน สำหรับระบบอื่นๆ ของเกมอย่างระบบ FPS หรือไอเทมพิเศษอย่างรั้วกั้นหรือเครื่องพิมพ์ปืนนั้นทำออกมาได้ค่อยข้างธรรมดาๆ ไม่ได้ให้ความรู้สึกแปลกใหม่หรือพิเศษอะไรกับเกม โดยข้อด้อยนี้รวมถึงระบบการแต่งชุดตัวละครและปืนด้วย ที่ทำออกมาได้อย่างจืดชืด ไม่ได้น่าสะสมหรือค้นหาเลย การเล่นออนไลน์กับเพื่อนส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีปัญหา แต่การหาห้องเล่นกับคนแปลกหน้ามักจะมีปัญหาเรื่องการหลุดหรือแลคจนเห็นตัวละครคนอื่นหายตัวไปมาได้เลย ซึ่งจุดนี้อาจจะพออนุโลมได้บ้างถ้าเกมมีกราฟิคสวยงามหรือน่าสนใจ แต่กราฟิคของเกมใน PC (ปรับกราฟิคระดับ High ด้วยการ์ดจอ GTX 1050ti) กลับทำให้นึกถึงเกมยุค PS3 ที่ผ่านการ Remaster มากกว่า ถ้าถามว่าสุดท้ายแล้วเกม Earthfall สนุกหรือไม่ ก็ต้องยอมรับว่าด้วยรูปแบบการเล่นก็สามารถสร้างความเพลิดเพลินได้บ้างเมื่อมีโอกาสได้เล่นเฮฮากับเพื่อน แต่ก็มีเกมรูปแบบเดียวกันมากมายในตลาดอย่าง Warhammer: Vermintide หรือ Call of Duty: Zombies หรือกระทั่ง Left 4 Dead เองที่มีความน่าสนใจกว่ามากทั้งในเรื่องของรูปลักษณ์และระบบการเล่น [penci_review id="1993"]
16 Jul 2018
รีวิว Detroit: Become Human
Detroit ถือเป็นเกมลำดับที่สี่จากค่าย Quantic Dream ที่เป็นแนว Interactive Drama-Action Adventure คือเป็นเกมที่มีจุดเด่นอยู่ที่เนื้อเรื่องและการนำเสนอด้านภาพยนตร์เป็นหลัก โดยเราจะต้องคอยกดปุ่มเพื่อเลือกการกระทำของตัวละคร คล้ายๆ กับเรากำลังดูหนังแล้วเราสามารถมีส่วนร่วมในการกำกับฉากที่เกิดขึ้นต่อไปได้ โดยไม่ว่าเราจะตัดสินใจแบบไหนก็ไม่ใช่คำตอบที่ผิด ทุกๆ การตัดสินใจของเราจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต่างกัน ทำให้เกิดฉากจบได้หลายแบบ และเมื่อรวมกับผลลัพธ์ยิบย่อยตลอดทั้งเกมแล้ว ก็สามารถพูดได้อีกอย่างว่าการเล่นเกมของค่ายนี้เปรียบได้กับการดูหนังที่มีเพียงเรื่องเดียวเท่านั้นในโลก เพราะผู้เล่นคนอื่นๆ ย่อมมีวิธีเล่นที่ไม่เหมือนกับเรา โดยเกมก่อนหน้านี้ของค่ายก็มีเกมที่ทำได้ไม่น่าประทับใจเท่าไหร่นักอย่าง Beyond: Two Souls มีเกมที่ทำได้ดีมากอย่าง Farenheit และเกมที่กลายเป็นหนึ่งในประสบการณ์การเล่นเกมที่ดีที่สุดในชีวิตของใครหลายคนอย่าง Heavy Rain จึงน่าสนใจว่าหลังจากหายไปนานหลายปี Detroit จะกลายเป็นหนึ่งในเกมชั้นเยี่ยมอีกเกมหนึ่งหรือไม่ เนื้อเรื่อง เนื้อเรื่องของเกม Detroit เกิดขึ้นในยุคอนาคต ในโลกที่หุ่นยนต์แอนดรอยด์ได้รับการพัฒนาจนมีลักษณะที่เหมือนกับมนุษย์ทุกประการ แต่มีความสามารถที่เหนือกว่ามนุษย์ในทุกๆ ด้าน แต่ถึงอย่างนั้นแอนดรอยด์เหล่านี้ก็เป็นเพียงหุ่นยนต์ ไม่ได้มีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตัวเอง เป็นได้เพียงทาสรับใช้ของมนุษย์เท่านั้น แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าวันดีคืนดีแอนดรอยด์เหล่านี้เกิดมีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตัวเองขึ้นมา จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหุ่นยนต์เหล่านี้ไม่ต้องการเป็นทาสรับใช้ของมนุษย์อีกต่อไป จะเกิดอะไรขึ้นถ้าทาสรับใช้ที่มนุษย์สร้างขึ้นมานี้ต้องการเรียกร้องอิสรภาพของตัวเอง มนุษย์จะยอมรับให้แอนดรอยด์เหล่านี้เป็นสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับตนหรือไม่ และแอนดรอยด์เหล่านี้จะมีวิธีการเช่นไรในการเรียกร้องอิสรภาพให้ตัวเอง ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์และแอนดรอยด์คือประเด็นหลักของเกมนี้ ในเกมเราจะได้เล่นสลับเป็นตัวละครแอนดรอยด์สามตัว ได้แก่ Connor แอนดรอยด์ฝั่งตำรวจที่มีหน้าที่สืบและจัดการกับเหตุการณ์แอนดรอยด์ที่ผิดปกติ ซึ่งมีปัญหาเข้ากันไม่ได้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เห็น Connor เป็นเพียงเครื่องจักร แต่ในขณะเดียวกันก็มีปัญหากับแอนดรอยด์พวกเดียวกันที่กล่าวโทษว่า Connor ทรยศพวกพ้องตนเอง Markus ผู้นำการปฏิวัติเรียกร้องอิสรภาพของแอนดรอยด์ ซึ่งต้องเลือกระหว่างการเรียกร้องสันติภาพอย่างสันติที่ดูไร้หนทาง กับการใช้กำลังที่ทำให้รู้สึกว่าตนเองไม่ต่างอะไรจากมนุษย์ที่กดขี่และใช้ความรุนแรงกับเหล่าแอนดรอยด์ และ Kara แอนดรอยด์สาวที่พาเด็กสาวหลบหนีจากพ่อผู้มีปมปัญหาในชีวิตและใช้ความรุนแรงกับลูกสาวตนเอง ซึ่งต้องคอยรอนแรมหาที่พักพิงและปกปิดความเป็นแอนดรอยด์เพื่อเอาตัวรอดท่ามกลางเหตุการณ์ความวุ่นวายที่มนุษย์ส่วนใหญ่ดูจะเป็นปฏิปักษ์กับแอนดรอยด์อย่างไม่เลือกหน้า เกมเพลย์ วิธีการเล่นของเกมจากค่ายนี้หลักๆ แล้วคือการกดปุ่มเพื่อตัดสินใจ เป็นการเลือกคำพูดหรือการกระทำของตัวละคร ซึ่งสิ่งที่เราเลือกแน่นอนว่าจะมีผลต่อสิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้น เราอาจเลือกวิธีพูดอย่างนุ่มนวลเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ อาจเลือกโกหก หรือใช้กำลัง แต่ละวิธีก็ให้ผลลัพธ์ที่ต่างออกไป และหลายๆ ครั้งเราจะมีเวลาให้ตัดสินใจไม่นาน ไม่เช่นนั้นตัวละครจะเลือกตัดสินใจโดยอัตโนมัติ เป็นการเพิ่มความลุ้นระทึกและทำให้การตัดสินใจของผู้เล่นมาจากสัญชาตญาณมากกว่าที่จะมาจากการคิดมากเพื่อเลือกตำตอบที่ดีที่สุด นอกจากการกดปุ่มแบบที่เราตัดสินใจแล้วก็ยังมีแบบที่ไม่ต้องตัดสินใจด้วย เช่นให้ตัวละครเดิน หยิบจับสิ่งของ มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งรอบตัว และแบบที่ลุ้นระทึกขึ้นมาหน่อยก็เป็นในฉากต่อสู้ต่างๆ ที่เราต้องกดปุ่มที่ปรากฏให้ทันเพื่อให้ตัวละครหลบการโจมตีให้พ้น นอกจากนั้นวิธีการเล่นที่เป็นเอกลักษณ์อีกอย่างของเกมนี้คือการกดปุ่มให้ตัวละครแอนดรอยด์ที่เราบังคับใช้ความสามารถของแอนดรอยด์เพื่อสำรวจฉาก โดยเราจะเห็นว่ามีสิ่งไหนที่เราสำรวจได้บ้าง นอกจากนี้ตัวละคร Connor ที่ทำงานกับตำรวจจะมีวิธีการเล่นที่เพิ่มขึ้นมาคือการสำรวจเพื่อหาเบาะแส ซึ่งเมื่อเราหาได้ครบเราจะสามารถจำลองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อหาหลักฐานสำคัญเพิ่มขึ้นได้ ในขณะที่ตัวละครนักปฏิวัติอย่าง Marcus จะมีความสามารถในการคำนวณความเป็นไปได้ของการตัดสินใจเพื่อเลือกเส้นทางที่ทำแล้วมีโอกาสสำเร็จแน่นอน วิธีการเล่นของเกมนี้น่าสนใจอยู่ในช่วงแรกๆ แต่เมื่อเกมดำเนินไปเรื่อยๆ การเล่นแบบนี้ก็กลายเป็นอะไรที่ค่อนข้างซ้ำซากจำเจ แม้จะมีช่วงที่ตื่นเต้นหน่อยอย่างเวลาที่ต้องกดปุ่มให้ทันในฉากที่มีแอคชั่นเยอะๆ แต่เอาเข้าจริงๆ แล้วการกดปุ่มของเกมนี้ก็เหมือนเป็นการกดปุ่มดูหนังที่มีความเป็นไปได้หลายอย่างเท่านั้นเอง เพราะแบบนี้ความสนุกของเกมเลยไปขึ้นอยู่กับว่าหนังที่ว่าทำออกมาได้ดีแค่ไหน ซึ่ง Detroit ก็ทำออกมาได้ดีพอใช้แต่ไม่ได้ดีขนาดนั้น  กราฟิก ในด้านของกราฟิกของเกมนี้มีทั้งส่วนที่ทำได้ดีมากและส่วนที่ดูธรรมดา สภาพแวดล้อมในเกมไม่ได้น่าตื่นตาตื่นใจเป็นพิเศษ ฉากต่างๆ และตัวละครทำได้ตามมาตรฐานของเกมในยุคนี้ แต่เกมมีจุดเด่นที่ฉากโคลสอัพของบรรดาตัวละครสำคัญที่ทำออกมาได้ดีจนรู้สึกราวกับว่าภาพที่ปรากฏเป็นคนจริงๆ ไม่ใช่ภาพกราฟิกที่สร้างขึ้นมา การตัดสินใจ จุดขายเลยของเกมนี้ก็คือการที่เกมเคารพการตัดสินใจของผู้เล่น เกมมีผลลัพธ์หลากหลายแบบไว้รองรับการตัดสินใจที่ต่างกันของผู้เล่นแต่ละคน ซึ่งเกมทำออกมาได้ละเอียดอ่อนมาก ถึงขั้นว่าวิธีที่เราปฏิบัติกับตัวละครบางตัวในฉากแรกๆ ไปส่งผลต่อวิธีที่ตัวละครตัวนั้นพูดกับเราในฉากหลังๆ และส่งผลต่อการได้รับความช่วยเหลือจากตัวละครนั้น เงื่อนงำที่เราคลี่คลายได้ในฉากก่อนหน้ามีผลต่อจำนวนตัวเลือกที่เรามีในฉากถัดๆ ไปหลังจากนั้น ถึงแม้ในส่วนนี้เกมจะทำได้ดีตามที่สัญญาไว้แต่จุดอ่อนอย่างหนึ่งก็คือเกมให้เราสลับไปเล่นระหว่างตัวละครสามตัว และตัวละครทั้งสามก็ไม่ได้มีเสน่ห์ให้เราอยากเอาใจช่วยหรือน่าติดตามขนาดนั้น ทำให้เราไม่ค่อยผูกพันกับตัวละครแต่ละตัวเท่าไหร่ ซึ่งจุดนี้ทำให้ความรู้สึกร่วมที่เรามีต่อการตัดสินใจต่างๆ ลดลงไปเยอะ เลยทำให้แม้ว่าเราจะสามารถกลับมาเล่นเกมอีกหลายๆ ครั้งเพื่อดูผลลัพธ์ของการตัดสินใจต่างๆ ให้ครบ ซึ่งอาจใช้เวลาได้ถึง 40 ชั่วโมง ก็กลับกลายเป็นว่าเล่นจบเพียงรอบเดียวก็พอแล้ว ไม่ได้มีแรงจูงใจให้เล่นต่อ แต่ทั่งนี้ก็อาจขึ้นอยู่กับรสนิยมของผู้เล่นด้วย สำหรับผมที่ไม่ได้ชอบเนื้อเรื่องเกมนี้เป็นพิเศษ รู้สึกว่าเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนเรื่องการเหยียดชาติหรือเผ่าพันธ์ุมาปรับใช้กับแอนดรอยด์ เล่นเพียงรอบเดียวก็เพียงพอแล้ว แต่กับคนที่ติดใจเรื่องราวของเกมนี้ก็อาจใช้เวลาไปกับเกมนี้ได้อีกนาน สรุปคะแนน: (7.5/10) Detroit พัฒนารูปแบบการเล่นที่มีเอกลักษณ์ของค่าย Quantic Dream ได้อย่างที่ต้องเรียกได้ว่าทำออกมาได้ดีที่สุดเท่าที่เคยทำมาแล้ว แต่ส่วนสำคัญที่ทำให้เกมก่อนหน้าของค่ายออกมาสนุกมากๆ อย่างเนื้อเรื่องนั้นเกมนี้ทำออกมาได้ไม่น่าประทับใจเท่าไหร่นักสำหรับผม เลยทำให้ต้องหักไปหลายคะแนน โดยเฉพาะเมื่อคุ้นเคยกับการเล่นเกมของค่ายนี้อยู่แล้ว แต่กับคนที่ไม่เคยเล่นเกมของค่ายนี้มาก่อนน่าจะสนุกกับการเล่นเกมรูปแบบนี้เป็นครั้งแรก และเกมยังมีฉากที่น่าประทับใจบางฉากที่ทำได้ดีจริงๆ และหาจากเกมอื่นไม่ได้ด้วย ถ้าไม่ได้ชื่นชอบการเสพเนื้อเรื่องหรือเกมของค่ายนี้เป็นพิเศษก็อาจผ่านๆ ไป แต่กับคนที่ไม่เคยเล่นเกมของค่ายนี้ก็น่าลองหามาเล่นดู เพราะถ้าชอบเนื้อเรื่องของเกมนี้ขึ้นมาด้วยแล้วก็น่าจะชอบเกมนี้ได้ไม่ยาก ดูรีวิวตัวเต็มแบบวิดีโอได้ที่นี่เลย
24 May 2018
รีวิว Stifled (PS4) พวกมันได้ยินเสียงความกลัวของคุณ!
Stifled เป็นเกมสยองขวัญบน Playstation 4 ที่มีระบบการเล่นที่แปลกใหม่ด้วยการใช้เสียงเป็นส่วนสำคัญในเกม โดยมีคำโปรยต่อท้ายชื่อเกมว่า THEY HEAR YOU FEAR (พวกมันได้ยินเสียงความกลัวของคุณ!) เพื่อนๆ สามารถใช้ Playstation VR และไมโครโฟนเพื่อเพิ่มอรรถรสในการเล่น ตัวเกมออกไปตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว แต่เพิ่งจะมาลง PSN โซนเอเชียเมื่อไม่นานมานี้ โดยการกลับมาครั้งนี้ยังมาพร้อมกับเสียงพากย์และคำบรรยายภาษาไทยอีกด้วย ไปดูกันเลยว่าทีมงาน GameFever มีความเห็นอย่างไรหลังจากเล่นเกมที่ได้รับรางวัลด้านความสร้างสรรค์มากมายเกมนี้จนจบ ในเกมนี้เราจะรับบทเป็นชายคนหนึ่งที่ตื่นขึ้นมาในบ้านด้วยเสียงนาฬิกาปลุก เนื้อเรื่องเริ่มต้นของเกมมีแค่นั้นจริงๆ โดยผู้เล่นจะรู้เรื่องราวที่เหลือจากการเล่นเกม ผ่านบันทึก จดหมาย เสียงข้อความที่เพื่อนบ้านฝากไว้กับโทรศัพท์ และสิ่งอื่นๆ ที่เราสามารถสำรวจได้ เกมแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกจะเป็นฉากภายในอาคารซึ่งเป็นส่วนที่เราจะได้เดินสำรวจ ปะติดปะต่อเรื่องราวต่างๆ โดยไม่ได้มีการใช้ฟังก์ชันเสียงของเกมเท่าไหร่นัก ซึ่งเอาเข้าจริงๆ แล้วถ้าผู้เล่นไม่สนใจก็ไม่จำเป็นต้องอ่านหรือฟังอะไรเลยก็ได้ เพราะสิ่งที่ต้องการในการเล่นผ่านส่วนนี้จริงๆ ก็คือการเดินไปถึงจุดที่กำหนด รวมถึงสำรวจอะไรที่เกมกำหนดไว้ ส่วนที่สองของเกมคือส่วนที่เป็นจุดเด่นของเกมนี้ เป็นส่วนที่ผู้เล่นจะได้ใช้ฟังก์ชันเสียงของเกม เป็นส่วนที่ค่อนข้างจะตื่นเต้นลุ้นระทึกกว่า เนื่องจากเป็นส่วนที่เราจะต้องคอยหลบหนีศัตรู รวมทั้งรอบกายเรายังเต็มไปด้วยความมืดมิด โดยภาพในเกมจะเปลี่ยนเป็นฉากสีดำและเราจะเห็นสิ่งรอบกายเป็นเพียงโครงร่างสีขาวในระยะการมองเห็นที่จำกัดมากๆ จุดนี้เราจะต้องใช้เสียงเพื่อสำรวจเส้นทาง (Echolocation) โดยเราสามารถหยิบข้าวของที่อยู่ตามพื้นเพื่อปาให้เกิดเสียง หรือใช้การส่งเสียงของเราเองผ่านไมโครโฟน (หรือใช้ปุ่มบนจอยในกรณีที่ไม่มีไมโครโฟน) ซึ่งเสียงที่เกิดจากการกระทำทั้งสองอย่างจะไปสะท้อนกับสิ่งรอบตัวเรา ปรากฏเป็นโครงร่างสีขาวขึ้นมา ทำให้พื้นที่การมองเห็นของเรามากขึ้นกว่าเดิม เราจะต้องใช้การสำรวจด้วยเสียงภายในฉากแบบนี้อยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะที่เราใช้เสียงเพื่อสำรวจเส้นทางนั้นเราจะต้องคอยระวังว่าเสียงของเราจะไปถึงเหล่าปีศาจภายในเกมด้วย โดยศัตรูจะมองไม่เห็นเรา แต่หากเราส่งเสียงเมื่อไหร่ แม้จะเป็นเพียงเสียงเดิน ศัตรูที่เดินอยู่จะพุ่งเข้าโจมตีเราทันที และเราไม่สามารถที่จะจู่โจมกลับได้ ส่วนนี้เราจะต้องหาทางหลอกล่อศัตรูให้ไปทางอื่นด้วยเสียง แบบเดียวกับที่เราใช้เพื่อสำรวจฉาก รูปแบบการเล่นในส่วนนี้ซึ่งเป็นจุดขายของเกมนี้ซึ่งดูเหมือนจะน่าสนใจ เอาเข้าจริงๆ แล้วกลายเป็นจุดอ่อนของเกมเพราะทำมาได้ไม่ดีพอ ถึงแม้จะบอกว่าเราใช้เสียงเพื่อสำรวจฉากแต่เอาเข้าจริงๆ เรายังต้องใช้การมองเห็นเป็นส่วนหลักของเกมอยู่ดี การส่งเสียงเพื่อสำรวจเส้นทางน่าสนุกอยู่ในช่วงแรกๆ แต่สุดท้ายก็กลายเป็นการพูดหรือตะโกนซ้ำๆ เพื่อทำให้ตัวละครเรามองเห็นฉากเท่านั้นเอง ถึงแม้เสียงเบาหรือดังจะมีผลต่อระยะการมองเห็นแต่ก็ไม่ได้สร้างความแตกต่างเท่าไหร่ การหยิบของตามพื้นเพื่อปาล่อศัตรูไปที่อื่นนั้นมีประโยชน์และได้ผลดีกว่ามาก และการสำรวจฉากส่วนใหญ่ก็ดำเนินไปด้วยการพูดเสียงปกติเนื่องจากเราไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่การมองเห็นที่มากขึ้นด้วยการพูดเสียงดัง เพราะไม่กี่วินาทีต่อมาภาพที่เรามองเห็นก็จะกลับมามืดเหมือนเดิมและต้องส่งเสียงใหม่อยู่ดี และการพูดเสียงเบาก็ให้พื้นที่ในการมองเห็นน้อยเกินไป กลายเป็นว่าการสำรวจฉากด้วยวิธีนี้ให้ความรู้สึกเหมือนการย้ายฟังก์ชันที่อยู่ในปุ่มมาทำให้มีลูกเล่นมากขึ้นหน่อยเท่านั้นเอง เกมนี้เป็นเกมสยองขวัญที่แทบไม่มีความน่ากลัวเลย สาเหตุอย่างแรกก็คือกราฟิกที่มีคุณภาพต่ำ ความประทับใจแรกที่ผู้เล่นจะได้พบเมื่อสวมแว่น VR เพื่อดำดิ่งเข้าสู่โลกของเกมก็คือสิ่งแวดล้อมที่ดูราวกับเป็นของปลอม และเพราะแบบนั้นประสบการณ์ร่วมจากการคิดว่าเราได้เข้าไปอยู่ในโลกของเกมจริงๆ จึงลดลงอย่างมาก ในส่วนที่เราต้องคอยหลบศัตรูซึ่งถึงแม้จะตื่นเต้นกว่าแต่เนื่องด้วยกราฟิกที่เปลี่ยนเป็นสไตล์แบบภาพโครงร่างของสิ่งรอบตัวทำให้เหล่าปีศาจในเกมแทบไม่มีความน่ากลัวเหลืออยู่เลย ความตกใจที่เกิดขึ้นเป็นแบบความตกใจแบบที่เกิดขึ้นเวลามีเพื่อนแอบแกล้งให้เราตกใจแค่นั้นเอง ซึ่งพอผู้เล่นปรับตัวให้เข้ากับความตกใจแบบนั้นได้ การเจอศัตรูแต่ละครั้งก็กลายเป็นความรำคาญมากกว่าความล้นระทึก เหล่าปีศาจกลายเป็นสิ่งน่าเบื่อที่คอยขัดขวางไม่ให้เราไปต่อมากกว่าที่จะเป็นความน่าสะพรึงกลัวที่ทำให้เราขนลุก และเนื่องจากเราไม่ค่อยจะตกใจกลัว ฟีเจอร์ที่น่าสนใจอย่างการที่ศัตรูสัมผัสความกลัวจากเสียงตกใจของเราได้จึงแทบไม่ได้ทำงานเลย เป็นเรื่องน่ายินดีมากๆ ที่ได้เห็นเกมที่มีทั้งเสียงพากย์และคำบรรยายภาษาไทย เมื่อคิดถึงความรู้สึกร่วมที่มากขึ้นและความเข้าใจเนื้อเรื่องที่มากขึ้น โดยเฉพาะกับเกมที่ส่วนหนึ่งของเกมคือการค่อยๆ เผยเนื้อเรื่องจากการอ่าน การฟังสิ่งต่างๆ ในเกม คำบรรยายของเกมทำออกมาได้ดีตามมาตรฐาน แต่สิ่งที่ดีจริงๆ คือพวกเอกสารหรือบันทึกต่างๆ ในเกมที่สามารถกดดูคำแปลได้หมด ช่วยทำให้เข้าใจเรื่องราวในเกมได้ง่ายขึ้นมาก ส่วนเสียงพากย์นั้นถือว่าทำได้น่าผิดหวังพอสมควร นั่นเพราะเสียงของตัวละครหลักมีการเลือกนักพากย์มาได้ไม่เข้ากับตัวละครเลย และน้ำเสียงค่อนข้างขัดกับบรรยากาศอยู่พอสมควร โดยเฉพาะถ้าเราเลือกเล่นแบบไม่ใช้ไมโครโฟน เราจะได้ยินเสียงตัวละครหลักอยู่ตลอดเวลาเมื่อกดปุ่มให้ตัวละครส่งเสียงเพื่อสำรวจเส้นทาง จากบรรยากาศที่ควรจะน่ากลัวก็กลายเป็นว่าตลกไปเลย ซึ่งเราไม่สามารถที่จะเปลี่ยนให้ใช้เฉพาะคำบรรยายภาษาไทยแต่ใช่เสียงพากย์ต้นฉบับได้ หากอยากเข้าใจเนื้อเรื่องได้ง่ายขึ้นก็ต้องแลกมากับเสียงพากย์แบบนี้ สรุปคะแนน: 6.5/10 Stifled เป็นเกมที่มีรูปแบบการเล่นที่น่าสนใจแต่ทำออกมาได้ไม่ดีพอ บวกกับกราฟิกที่ทำให้เราไม่อินไปกับเกมความน่ากลัวที่ปรับตัวให้ชินได้อย่างรวดเร็ว และเนื้อเรื่องที่เราต้องปะติดปะต่อเอาเองก็ไม่ได้น่าติดตามขนาดนั้น ทำให้เกมนี้สนุกน้อยกว่าที่ควรจะเป็นมากๆ ความคุ้มค่าในการเล่นกับ VR: 2/5 การเล่นกับ VR ทำให้เกมนี้สนุกขึ้นกว่าการเล่นแบบปกติ หากใครมี VR อยู่แล้วและสนใจเล่นเกมนี้ แนะนำให้เล่นด้วย VR ไปเลย แต่หากยังไม่มี VR มาก่อน เกมนี้ก็ยังไม่ใช่เหตุผลในการซื้อหามาเล่น เพราะทำออกมาได้ไม่น่าประทับใจเท่าไหร่นัก
11 May 2018
รีวิว God of War ตัวเต็ม
เชื่อว่าเกมเมอร์หลายๆ คนคงรู้จักกันอยู่แล้วไม่มากก็น้อยกับเกม God of War ซีรี่ย์แอคชั่นรุ่นเก๋าที่เพิ่งปล่อยภาคใหม่ไปเมื่อไม่นานมานี้ ถือเป็นการยกเครื่องใหม่กันหมด ตั้งแต่ สถานที่ตั้งของเกม ที่ย้ายจากดินแดนกรีกโบราณมาอยู่ในดินแดนของเหล่าเทพ Norse (เทพไวกิ้งอย่าง ธอร์ หรือ โอดิน นั่นแหละ) ไปจนถึงระบบต่อสู้ ที่เปลี่ยนจากกล้องมุมสูงมาเป็นมุมมองแบบ Third-Person แต่ทีเด็ดจริงๆ ต้องยกให้เนื้อเรื่องและวิธีการเล่า ที่ยกระดับซีรี่ย์นี้ขึ้นไปเทียบเกมในตำนานของเครื่อง PS4 อย่าง The Last of Us หรือ Uncharted ได้สบายๆ ทีมงาน GameFever เองเพิ่งจะเคลียร์โหมดเนื้อเรื่อง จึงอยากจะนำความรู้สึกนึกคิดมาแบ่งปันกับเพื่อนๆ แบบไม่มีการสปอย กับเกมที่แฟนเกมทุกคนไม่ควรพลาด! สำหรับเนื้อเรื่องภาคนี้ดำเนินต่อจาก God of War 3 (ที่ปล่อยตั้งแต่ปี 2010) โดยเริ่มขึ้นที่การจากไปของคนรักใหม่ของ Kratos ทิ้งไว้เพียงคำขอสุดท้ายให้ Kratos และลูกชายหรือ Atreus นำอัฐิของเธอไปโปรยลงจากยอดเขาที่สูงที่สุด แต่การเดินทางของทั้งสองกลับไม่ง่ายอย่างที่คิด เมื่อเหล่าเทพเจ้าถิ่นเริ่มสนใจสองพ่อลูกเทพสงครามผู้บุกรุกในดินแดนของตน โดยความสัมพันธ์ระหว่างสองพ่อลูก Kratos และ Atreus ถือเป็นแกนหลักของเกมเลยก็ว่าได้ เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เน้นไปที่การพัฒนาของสองตัวละครอย่างลึกซึ้ง หลายคนคงรู้จัก Kratos ในฐานะเทพสงครามบ้าเลือด แต่เกมนี้กลับสร้างมิติให้ตัวละครในฐานะพ่อ ที่มีความห่วงใยต่อลูกแต่กลับแสดงออกไม่ถูก ด้วยความกลัวว่าลูกจะกลายเป็นเหมือนตัวเองในอดีต จึงทำได้เพียงแค่ปกป้องลูกอยู่ห่างๆ ทั้งจากภัยยันตรายรอบตัว และจากอดีตอันคาวเลือดของตัวเอง ในขณะเดียวกัน Atreus เองก็มีปมที่รู้สึกว่าไม่ได้รับความรักจากพ่อ จึงพยายามทุกวิถีทางเพื่อพิสูจน์ให้พ่อเห็นว่าสามารถดูแลตัวเองได้ แต่แน่นอนว่ายิ่ง Atreus ดูจะพยายามเป็นเหมือนพ่อเท่าไหร่ ยิ่งทำให้ Kratos ลำบากใจและตีตัวออกห่างมากขึ้นเท่านั้น ทำให้ Atreus ทำได้แค่ผูกใจเจ็บที่ตัวเองดูจะไม่ดีพอเสียที การใช้เรื่องราวของทั้งสองเป็นแกนหลัก ยังเป็นการสร้างคุณค่าให้กับเกม ให้เป็นมากกว่าแค่เกมแอคชั่นฟาดฟันเกมนึงที่เนื้อเรื่องเคยถูกเมินอีกด้วย และยกระดับ Kratos ในฐานะตัวละครแบนๆ มิติเดียว เป็นตัวละครที่ลึกซึ้งน่าติดตาม มีอารมณ์ที่หลากหลายมากขึ้น แม้ว่าเนื้อเรื่องของเกมมีความเกี่ยวข้องกับเทพเจ้าองค์อื่นๆ ด้วย (ไม่งั้นคงไม่ใช่ God of War) แต่เทพเหล่านั้นก็ยังถือเป็นตัวประกอบในเรื่องของสองพ่อลูกอยู่ดี จากการเล่นไปเกือบ 30 ชั่วโมงของทีมงาน GameFever พบว่าเกมแทบจะไม่มีการเฟรมตกหรือติดบัคใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งถือว่าน่าทึ่งมากสำหรับเกมที่ใหญ่และรายละเอียดหนาตาขนาดนี้ แต่ที่สุดยอดที่สุดคงเป็นเรื่องมุมกล้อง ที่ถ่ายต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มจนจบเกมโดยไม่มีการตัดเปลี่ยนฉากหรือเข้าหน้าจอโหลดเกมเลยแม้แต่ครั้งเดียว ทำให้ผู้เล่นสามารถชื่นชมความงดงามของฉากได้อย่างเต็มที่ รวมกระทั่งการตัดเข้า-ออกคัตซีนด้วย โดยการเปลี่ยนมุมกล้องนี้ ที่ติดตาม Kratos และ Atreus ตลอดเวลาตั้งแต่ต้นจนจบแบบไม่ตัดไปไหนเลยยังทำให้ผู้เล่นสามารถติดตามอารมณ์ของสองตัวละครตลอดเวลา ทำให้เราเห็นและรู้สึกร่วมไปกับตัวละครได้อย่างใกล้ชิด แต่ด้วยความที่เนื้อเรื่องภาคนี้ดูจะมีความติดดินกว่าภาคก่อนๆ ทำให้เกมมีโอกาสในการโชว์ฉากแอคชั่นระเบิดระเบ้อเหมือนภาคเก่าๆ น้อยหน่อย โดยจะเน้นไปที่การเดินทางผ่านป่าเขาหรือซากปรักหักพังแทน แต่ทั้งหมดก็ยังถือว่าสวยมากๆ เป็นเกมที่ดูมาแล้วเป็นสิบๆ ชั่วโมงก็ยังไม่เบื่อเลย สำหรับคนที่เคยเล่นเกมแอคชั่นหรือเกม God of War ภาคก่อนๆ มาอาจจะพอคุ้นเคยกับระบบโจมตีหนัก-เบาอยู่บ้าง โดยเกมภาคล่าสุดก็ยังไม่ทิ้งวิญญาณเกมแอคชั่นล้างผลาญที่มีมาแต่เดิม แต่อาจจะทำให้ช้าลงมาหน่อย การต่อสู้ทำโดยการกดปุ่ม R1 กับ R2 เพื่อโจมตีเบาและหนักตามลำดับ ผู้เล่นสามารถกดการโจมตีทั้งสองแบบสลับกันเพื่อสร้างเป็นคอมโบต่างๆ ได้ เป็นระบบที่เข้าใจง่าย แต่ก็ลึกซึ้งเมื่อนำมารวมกับระบบอื่นๆในเกมอย่างการใช้โล่ห์ป้องกัน การหลบ หรือกระทั่งการปาขวานระยะใกลเพื่อโจมตี แช่แข็ง หรือขัดขาศัตรูให้ล้มแล้ววิ่งเข้าไปต่อยศัตรูมือเปล่าแทน ซึ่งการต่อสู้มือเปล่าก็มีหน้าที่ของมันในการเก็บหลอด Stun Meter ของศัตรู ซึ่งเมื่อเต็มแล้วจะเปิดโอกาศให้เราเข้าไปทำท่าปลิดชีพสุดโหดอันโด่งดังของซีรี่ได้อีกด้วย อย่างที่บอกไปก่อนหน้านี้ว่าเรื่องราวของพ่อลูก Kratos และ Atreus ถือเป็นแกนหลักของเกม การต่อสู้ก็เช่นกัน โดยเราจะสามารถสั่งเจ้าลูกชายของเราให้โจมตีศัตรูด้วยธนูได้ ซึ่งนอกจากจะสามารถขัดจังหวะการโจมตีของศัตรูได้แล้ว ยังสามารถเพิ่มหลอด Stun Meter ได้เร็วอีกด้วย โดยเราสามารถอัพสกิลเพื่อเพิ่มความสามารถทั้งของตัวเองและลูกชายได้ ซึ่งระบบผูกเข้ากับเนื้อเรื่องได้อย่างแยบยล ด้วยการปลดล๊อคความสามารถบางอย่างของ Atreus ตามจุดที่เราอยู่ในเควสหลัก ทำให้เรารู้สึกเหมือนตัวเองสามารถร่วมมือกับลูกได้ดีมากขึ้น สะท้อนถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองที่ค่อยๆ พัฒนาไปตามเนื้อเรื่อง โดยแรกๆ อาจจะรู้สึกว่าต้องเลือกอัพสกิลให้ดี เพราะการเก็บ EXP ในช้วงแรกค่อยข้างช้า แต่พอเล่นไปเรื่อยๆ กลับอัพสกิลเต็มหมดแต่เหลือ EXP กระจุย ทำให้ระบบสกิลที่ตั้งใจเล่นอย่างระวังตอนแรกกลายเป็นไม่ค่อยมีความหมายเท่าไหร่ในท้ายเกม ถ้าระบบสกิลมีความหลากหลายกว่านี้ก็คงจะช่วยเพิ่มความหลากหลายให้ระบบต่อสู้ได้อีกมาก ดูเหมือนง่าย แต่เกมนี้ถือเป็นเกมที่มีความยากพอสมควร โดยเฉพาะช่วงต้นๆ ที่เรายังไม่มีชุดเกราะหรือสกิลมารับมือกับศัตรูกลุ่มใหญ่ๆ ที่มักจะเจอตามด่านเป็นระยะ ทำให้ผู้เล่นต้องใช้ทักษะอันยืดหยุ่นของเกมในการเล่นงานจุดอ่อนของศัตรูแต่ละชนิดอีกด้วย การเพิ่มเลือดระหว่างต่อสู้ก็ค่อนข้างลำบากในหลายๆ ครั้ง ทำให้ต้องระมัดระวังการโจมตีของศัตรูมากเป็นพิเศษ เกมจึงรู้สึกช้าๆ กว่าเกมแอคชั่นเลือดเดือดอย่าง Devil May Cry แต่ใกล้เคียงเกมอย่าง Bloodborne มากกว่า (แต่ไม่ยากขนาดนั้นนะเออ) เกมอาจจะบังคับให้ผู้เล่นใช้ความตั้งใจในการเล่นมากขึ้น แต่เมื่อคล่องแล้วก็สามารถกระโดดเข้าไปล้างบางศัตรูให้สมชื่อเทพสงครามได้เหมือนกัน เกมนี้ถือเป็นเกมแรกในซีรี่ที่ใช้ระบบกึ่งๆ open-world ซึ่งเปิดโอกาศให้ผู้เล่นสามารถดำเนินเนื้อเรื่องได้ตามใจของตัวเอง หรือจะเลือกไปทำภารกิจย่อยต่างๆ ที่ตัวละครอื่นๆ ในเกมมอบให้ก็ได้ ในเกมยังมีความลับและปริศนาต่างๆ ซ่อนไว้ให้ผู้เล่นค้นหา ซึ่งปริศนาในเกมนี้บางทีก็ทำให้เกิดความหัวร้อนจากความยากขึ้นมาได้เหมือนกันในบางครั้ง แต่โดยรวมก็ถือเป็นข้อดี เพราะทำให้เรารู้สึกมีแรงจูงใจในการออกเดินทางไปตามที่ต่างๆ ในเกม เพราะบางครั้งการแก้ปริศนาเหล่านี้อาจจะให้รางวัลเราเป็นของเพิ่มหลอดเลือด หรือชิ้นส่วนในการอัพเกรดชุดเกราะหายากที่กำลังต้องการอยู่พอดี การแก้ปัญหาในเกมส่วนใหญ่ทำด้วยการใช้ขวานน้ำแข็งคู่ใจหรือ Leviathan Axe ของเรา ที่นอกจากจะใช้จามศัตรูได้อย่างหนักหน่วงสะใจแล้วยังสามารถนำมาใช้ปาเพื่อตัดเชือกแก้ปริศนาอีก โดยเราสามารถกดปุ่มสามเหลี่ยมเพื่อเรียกขวานให้บินกลับมาเข้ามือ Kratos ได้ตลอดเวลาอีกด้วย (เป็นอะไรที่ทำกี่ทีๆ ก็ไม่เบื่อจริงๆ ) เมื่อเราดำเนินเนื้อเรื่องไปเรื่อยๆ เราจะเริ่มมีความสามารถพิเศษในการใช้แก้ปริศนาเพิ่มขึ้นอีกด้วย ฉะนั้นถ้าเจอปริศนาที่ดูเหมือนไม่มีทางแก้อย่าเพิ่งท้อ เกมอาจจะให้เรากลับมาแก้อีกทีภายหลังก็เป็นได้ แถมการสำรวจที่ต่างๆ ในเกมยังเปิดโอกาสให้ตัวละครพ่อ-ลูกได้คุยกันมากขึ้น ทำให้เราสัมผัสความรู้สึกนึกคิดของตัวละครในมุมใหม่ๆ ได้อีกด้วย สรุปคะแนน: 9.5/10 ทีมงาน GameFever พูดได้เต็มปากจริงๆ ครับว่าเกม God of War ภาคใหม่นี้ถือเป็นเกมที่ดีที่สุดอันดับต้นๆ ของ PS4 เลยทีเดียว เป็นเกมที่แฟนซีรี่ God of War หรือแฟนเกมแอคชั่นไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง ยิ่งคนที่ชอบเสพเนื้อเรื่องดีๆ ด้วยแล้ว ควรซื้อมาประดับเพลย์สี่กัน ข้อดี - เนื้อเรื่องระดับท๊อป - ภาพสวยอันดับต้นๆ แม้ในเครื่อง PS4 ธรรมดา - ระบบต่อสู้เข้าใจง่ายแต่ลึกและท้าทาย - เกมเปิดโอกาสให้สำรวจเยอะ มีปริศนาท้าทายให้แก้ตลอดทาง ข้อเสีย - ระบบสกิลมีความสำคัญแค่ต้นเกม ท้ายเกมอัพได้หมดอยู่ดี - ปริศนาบางอันก็ทำหัวร้อนอยู่เหมือนกัน 555  
24 Apr 2018