GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
ลงวันที่ 22/02/2023

***ขอขอบคุณบริษัท Sony Interactive Entertainment สำหรับอุปกรณ์ PS VR2 และเกมสำหรับรีวิว***


หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2016 ผู้เขียนได้มีโอกาสรีวิวเครื่องอุปกรณ์ PlayStation VR รุ่นแรก ที่แม้จะมีข้อจำกัดในด้านการใช้งานและศักยภาพอยู่มาก แต่ก็เป็นตัวเลือกเดียวสำหรับเกมเมอร์สายคอนโซลที่ต้องการจะสัมผัสกับประสบการณ์เกม VR โดยไม่ต้องลงทุนกับคอมพิวเตอร์ราคาแพง ยังไม่รวมอุปกรณ์ VR สำหรับ PC ในขณะนั้น ที่ล้วนมีราคาสูงกว่าเครื่อง PS VR อย่างมาก

หลังจากที่เวลาล่วงเลยมา 6 ปี ทาง Sony ก็ได้กลับมาอีกครั้งกับอุปกรณ์ PS VR2 ซึ่งแลดูจะเป็นการพลิกบทบาทจากเครื่อง PS VR รุ่นแรกไปอย่างสิ้นเชิง ในฐานะอุปกรณ์ VR คุณภาพสูงที่มีราคาแพงกว่าอุปกรณ์ของคู่แข่งอย่าง Oculus/Meta หรือกระทั่งราคาของเครื่องคอนโซลที่ต้องใช้ร่วมกันอย่าง PlayStation 5 ไปแล้ว ซึ่งก็ยิ่งทำให้คำถามเรื่อง “ความคุ้มค่า” ของอุปกรณ์กลายเป็นประเด็นที่หลีกเลี่ยงได้ยากขึ้นไปด้วย



จากที่มีโอกาสทดลองใช้อุปกรณ์ PlayStation VR2 มาระยะหนึ่ง ต้องยอมรับว่า Sony ได้ปรับปรุงคุณภาพและประสบการณ์การใช้ขึ้นจากรุ่นแรกในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะในแง่ของภาพ เสียง ความละเอียดในการจับการเคลื่อนที่ และความสะดวกสบายในการติดตั้งและใช้งาน จนพูดได้เต็มปากว่าอุปกรณ์ PS VR2 สามารถมอบประสบการณ์เกม VR ระดับสูงได้อย่างแท้จริง แม้คำถามเรื่องความคุ้มค่าของตัวอุปกรณ์จะยังคงตอบยากในขณะนี้ 


ในขณะเดียวกันนั้น เกม Horizon: Call of the Mountain ที่วางจำหน่ายพร้อมอุปกรณ์ ก็เป็นตัวอย่างที่ดีที่จะใช้ในการพูดถึงประเด็นเรื่อง “ความคุ้มค่า” ของอุปกรณ์ด้วย เราจึงจะทำการรีวิวเกมสั้นๆ ไปพร้อมกันในบทความนี้



ฮาร์ดแวร์และการติดตั้ง


สำหรับเจ้า PS VR2 นี้จะมีรูปลักษณ์ภายนอกไม่ต่างจากอุปกรณ์ VR อื่นๆ ในตลาดนัก ซึ่งมีส่วนประกอบหลักๆ สองส่วนคือหน้าจอ/แว่นตา VR ที่ฉายภาพเข้าสู่ตาของผู้ใช้ และสายรัดเพื่อสวมใส่บนหัวนั่นเอง โดยตรงแว่นตา VR จะมีปุ่มที่ให้ผู้ใช้เลื่อนตัวแว่นตาเข้าหาหรือออกห่างจากลูกตาของตัวเองได้ รวมไปถึงหน้าปัดเพื่อใช้ปรับระยะห่างของเลนส์ภายในตัวแว่นให้เข้ากับสายตาของผู้ใช้ ในขณะที่สายรัดหัวเองก็มีจุดที่สามารถหมุนปรับความแน่นของสายรัด และยังมีช่องไว้เชื่อมต่อหูฟัง 3.5mm แบบพิเศษที่แถมมากับอุปกรณ์อยู่บริเวณด้านใต้ ทำให้การสวมและถอดเครื่อง PS VR2 มีความสะดวกสบายและรวดเร็วไม่น้อย



ลูกเล่นใหม่อย่างหนึ่งที่ผู้เขียนชอบมากคือปุ่ม Function บริเวณด้านใต้ส่วนแว่นตา VR ที่จะทำให้อุปกรณ์ฉายภาพสภาพแวดล้อมที่บันทึกโดยกล้อง 4 เลนส์ที่อยู่ด้านหน้าของตัวแว่นเข้าสู่สายตาของผู้ใช้ ทำให้สามารถมองเห็นสิ่งรอบตัวได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องถอดแว่น VR ออก ซึ่งก็ช่วยในเรื่องความสะดวกสบายในการใช้เป็นอย่างมาก


นอกจากนี้ แม้ว่าส่วนแว่นตา VR จะมีขนาดใหญ่พอสมควร แต่สายรัดได้ถูกออกแบบมาให้ถ่ายน้ำหนักส่วนนั้นไปไว้ด้านบนของหัว ตัวแว่น VR จึงไม่ได้หนักไปทางด้านหน้าอย่างที่คิด และสามารถสวมใส่เป็นระยะเวลานานได้โดยไม่รู้สึกถึงน้ำหนักของตัวอุปกรณ์มากนัก ยกเว้นเวลาที่ต้องเงยหน้ามองขึ้นไปด้านบนซึ่งจะทำให้น้ำหนักของส่วนแว่นกดลงมาทับลงมาบนหน้าตรงๆ โดยอาจไม่เป็นปัญหานักสำหรับผู้เล่นส่วนใหญ่ แต่สำหรับคนที่ต้องใส่แว่น VR ครอบแว่นสายตาอีกที (อย่างผู้เขียน) ก็อาจจะโดนแว่น VR กดทับแว่นตาจนเจ็บได้เช่นกัน 



แม้ว่ารูปลักษณ์ภายนอกของ PS VR2 จะไม่ต่างจากรุ่นแรกนัก แต่สิ่งที่พัฒนาขึ้นอย่างมหาศาลก็คือความสะดวกสบายในการใช้อุปกรณ์ โดยผู้ที่เคยใช้เครื่อง PS VR รุ่นแรกมาก่อนจะทราบดีถึงความลำบากในการใช้แต่ละครั้ง ไหนจะต้องเชื่อมตัวอุปกรณ์ VR เข้ากับกล่อง adapter ก่อนต่อเข้าคอนโซล แล้วยังต้องเซ็ตตัวกล้อง PS Camera ที่มีระยะเซ็นเซอร์เพียงแคบๆ จะเล่นแต่ละครั้งจึงมีสายระโยงระยางเต็มไปหมด ยังไม่ต้องพูดถึงตอนที่เล่นเสร็จแล้วต้องเก็บทุกอย่างเข้าที่อีก ซึ่งความไม่สะดวกเหล่านี้ก็ส่งผลให้เกิดรู้สึกเหมือนมี “แรงต้าน” เวลานึกจะหยิบอุปกรณ์ออกมาเล่น แต่สำหรับเครื่อง PS VR2 ต้องใช้เพียงสาย USB-Type C ความยาว 4.5 เมตรจากตัวอุปกรณ์เข้าสู่คอนโซล PS5 เส้นเดียวเท่านั้นก็เล่นได้เลยทันที ทำให้แรงต้านในการหยิบใช้อุปกรณ์ลดน้อยลงจากรุ่นแรกอย่างมาก



หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่าเมื่อไม่มีกล้อง PS Camera มาคอยจับการเคลื่อนไหวแล้ว อุปกรณ์ PS VR2 จะติดตามการเคลื่อนที่ของผู้เล่นอย่างไร? คำตอบคือในขณะที่อุปกรณ์ VR ส่วนใหญ่มักใช้วิธีการวางเซนเซอร์ไว้รอบห้องเพื่อคอยจับการกระทำของผู้เล่น เจ้า PS VR2 กลับใช้เทคโนโลยีจับการเคลื่อนไหวด้วยการใช้กล้องขนาดเล็กด้านหน้าของตัวแว่น VR ในการแสกนสภาพแวดล้อมและจับตำแหน่งของจอยทั้งสองข้างไปด้วยแทน


ข้อดีของการใช้กล้องเซนเซอร์ในลักษณะนี้ ทำให้ผู้เล่นมีอิสระในการกำหนดพื้นที่การเล่นของตัวเองได้อย่างยืดหยุ่นมาก โดยเราสามารถใช้จอยเพื่อลากปรับขนาดหรือรูปทรงของพื้นที่ที่เราต้องการให้เซนเซอร์คอยจับ ซึ่งอุปกรณ์จะคอยเตือนเมื่อผู้เล่นก้าวออกจากพื้นที่ที่ตั้งไว้ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เราไปเดินชนข้าวของขณะเล่นเกมเพลินๆ นั่นเอง ซึ่งความอิสระในการกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่เราต้องการเช่นนี้ก็สามารถช่วยให้ผู้ใช้ PS VR2 สามารถเล่นเกมที่อาจต้องใช้การเคลื่อนไหวร่างกายในพื้นที่จำกัดได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยมากขึ้น 



จอยเกม PS VR2 Controller และการใช้งานโดยรวม


อีกหนึ่งองค์ประกอบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมากก็คือตัวจอย PS VR2 ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ แทนที่จะใช้อุปกรณ์รีโมท PlayStation Move ที่ต้องซื้อแยกกัน โดยนอกจากจอย PS VR2 จะมาพร้อมกับเทคโนโลยี Haptic Feedback และ Adaptive Trigger จากจอย DualSense ของเครื่อง PS5 แล้ว กรอบทรงกลมที่ครอบส่วนด้ามจับของจอยยังทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ที่ช่วยจับตำแหน่งมือของผู้เล่นอย่างแม่นยำตลอดเวลาอีกด้วย





จอย PS VR2 Controller ยังสามารถจับการเคลื่อนไหวของนิ้วผู้เล่นได้ในระดับหนึ่งด้วย ผ่านการตรวจจับว่าผู้เล่นวางนิ้วไว้บนปุ่มหรือแกนอนาล๊อคบนจอยหรือเปล่า ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้มีผลต่อการเล่นเกมหรือการใช้จริงเท่าไหร่ แต่ก็นับเป็นรายละเอียดสนุกๆ ที่ช่วยเสริมความรู้สึกสมจริงของอุปกรณ์มากขึ้นไปด้วย



แน่นอนว่าข้อปรับปรุงที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้ย่อมส่งผลต่อการเล่นเกมด้วย เช่นในระหว่างเล่นเกม Horizon: Call of the Mountain ที่จอยมักจะสั่นเบาๆ ทุกครั้งที่ผู้เขียนเอื้อมไปจับโขดหินเพื่อดึงตัวเองขึ้นในระหว่างที่ปีนเขาเพื่อจำลองความรู้สึกการเกร็งของข้อมือ หรือในจังหวะที่ง้างธนูค้างไว้ ที่จอยจะค่อยๆ สั่นเพื่อจำลองความล้าของแขน แม้แต่สายครอบหัวของ PS VR2 ก็ยังสั่นเพื่อจำลองความรู้สึกเหมือนมีอะไรลอยผ่านหัวไปเมื่อก้มหลบการโจมตีศัตรู ซึ่งเมื่อรวมกับคุณภาพกราฟิกของตัวอุปกรณ์ ก็เพียงพอจะหลอกสมองของผู้เขียนให้ “ลืม” ไปชั่วขณะเหมือนกันว่าเราไม่ได้อยู่ตรงนั้นจริงๆ



ในส่วนของกราฟิก เครื่อง PS VR2 มาพร้อมกับเลนส์ OLED ที่มีความละเอียดสูงถึงข้างละ 2,000 x 2,040 พิกเซลต่อตาหนึ่งข้าง ที่มีความเร็วถึง 120 Hz แถมยังสนับสนุนเทคโนโลยี HDR อีกต่างหาก ซึ่งถือว่าสูงกว่าอุปกรณ์ VR ที่ราคาเทียบเท่ากันยี่ห้ออื่นๆ พอสมควร ส่งผลให้การแสดงผลภาพที่เราเห็นนั้นมีความละเอียดสูงแทบไม่ต่างจากการดูภาพในทีวีจอแบนปกติเลยในบางจังหวะ ที่สำคัญไม่แพ้กันคือเฟรมเรตที่สูงและเสถียรอยู่เสมอ ซึ่งนอกจากจะทำให้เกมเพลย์รู้สึกลื่นไหลเป็นธรรมชาติแล้ว ยังทำให้รายละเอียดเล็กน้อยในฉากอย่างใบหญ้าที่ปลิวไหวไปตามลมรอบๆ ตัวผู้เล่นรู้สึกมีชีวิตชีวาสมจริงขึ้นมาเช่นกัน 


การที่ PS VR2 เชื่อมต่อกับเครื่อง PS5 ยังหมายความว่าผู้เล่นจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเสียง 3D Audio อันยอดเยี่ยมของคอนโซล ซึ่งก็ยิ่งเสริมความรู้สึกสมจริงในขณะเล่นเกมได้ โดยการเล่นเกม VR ที่ให้ผู้เล่นเข้าไปยืนอยู่ในสภาพแวดล้อมเหล่านี้จริงๆ ยิ่งเป็นการดึงเอาศักยภาพของเทคโนโลยีเสียงสามมิตินี้ออกมาได้มากยิ่งกว่าการนั่งเล่นเกมหน้าจอทีวีเฉยๆ อย่างไม่ต้องสงสัย



หากจะต้องมีอะไรให้ตำหนิในจุดนี้ คงเป็นการที่จอย PS VR2 Controller ดูจะแบตหมดค่อนข้างเร็ว โดยการชาร์จจนเต็มแต่ละครั้งจะสามารถใช้งานได้ราว 3-4 ชั่วโมงเท่านั้น แถมการชาร์จจอยก็อาจจะมีความยุ่งยากอยู่บ้าง เพราะภายในชุด PS VR2 ให้สายชาร์จ USB-to-USB-Type C มาแค่เส้นเดียว ผู้ที่ไม่มีสายชาร์จสำรองอีกเส้นและ/หรือไม่มีหัวปลั๊กไว้เสียบ USB ก็มีทางเลือกเพียงเสียบชาร์จจอยกับ PS5 ทีละข้างเท่านั้น โดยคนที่คิดจะลงทุนซื้อเครื่อง PS VR2 อยู่แล้ว ก็อาจจะพิจารณาเพิ่มเงินอีกซักนิดเพื่อซื้อแท่นชาร์จจอยมาซะด้วยเลยเพื่อตัดรำคาญตรงจุดนี้



Horizon: Call of the Mountain และความคุ้มค่าของเครื่อง PS VR2


อ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนคงจะพอเห็นภาพแล้วว่าผู้เขียนประเมิน “คุณภาพ” ของอุปกรณ์ PS VR2 อย่างไรบ้าง แต่นั่นก็เป็นคนละประเด็นกับ “ความคุ้มค่า” ซึ่งเป็นคำถามที่ตอบได้ยากกว่ากันมาก โดยเกมเรือธงของอุปกรณ์ที่วางจำหน่ายพร้อมกันอย่าง Horizon: Call of the Mountain ที่ย่อมได้รับการสนับสนุนในแง่ของงบประมาณและเทคนิคมากเป็นพิเศษ อาจเป็นตัวชี้วัดที่ดีถึงศักยภาพหรือทิศทางของเกม “ระดับพรีเมียม” ที่เราอาจจะได้เห็นในอนาคตสำหรับ PS VR2 


ในแง่หนึ่ง Horizon: Call of the Mountain อาจจะเป็นเกม VR เกมแรกที่ผู้เขียนเล่น ที่ให้ความรู้สึกของ “เกม AAA” ต่างจากเกม VR ส่วนใหญ่ที่คนนึกถึงทุกวันนี้ที่มีลักษณะเป็น “ประสบการณ์” (เช่น Dreams) หรือเป็น “มินิเกม” (เช่น Beat Saber) มากกว่าจะเป็นเกมเต็มรูปแบบในความหมายเดียวกับเกม PC/คอนโซลระดับ AAA ที่เรานึกถึงกัน โดยแม้ว่าระยะเวลาราว 6-7 ชั่วโมงที่ใช้ในการจบเนื้อเรื่องจะไม่ได้ยืดยาวนัก แต่เกมก็มีระบบการพัฒนาตัวละคร มีกลไก (Mechanic) เฉพาะตัวของตัวเองที่ทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืน และมีเนื้อเรื่องที่ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและน่าติดตามจากต้นจนจบ ซึ่งก็เป็นพัฒนาการที่รู้สึกได้จากเกมที่เคยเล่นในเครื่อง PS VR รุ่นแรกอย่างชัดเจน



กราฟิกโคตรจ๊าบ ยกนิ้วให้!



ไม่บอกก็ไม่รู้ว่าเป็นเกม VR


การเล่นเกม Horizon: Call of the Mountain สามารถแบ่งออกเป็น 2 ขาหลักๆ นั่นก็คือการปีนเขาและการต่อสู้ ซึ่งอย่างที่หลายคนพอจะเดาออกในฐานะเกม VR การปีนเขานั้นผู้เล่นจะต้องทำท่าทางปีนเขาจริงๆ ด้วยการเอื้อมมือ (ทั้งในเกมและในชีวิตจริง) ออกไปจับโขดหินและทำท่าดึงตัวเองขึ้นไป ก่อนที่จะเอื้อมมืออีกข้างไปจับโขดหินไปเรื่อยๆ โดยอาจจะมีบางช่วงที่ต้องเล่นพัซเซิล Platforming เล็กๆ มาขั้นบ้างประปราย 


เมื่อถึงเวลาต้องต่อสู้ เกมจะให้ผู้เล่นเผชิญหน้ากับเหล่าเครื่องจักรที่คุ้นเคยจากซีรีส์ Horizon ด้วยการยิงธนู ควบคู่ไปกับการหลบหลีกการโจมตีของเครื่องจักรไปด้วย ซึ่งแน่นอนว่าผู้เล่นเองก็ต้องทำท่าทางตามตั้งแต่การถือคันธนู การเอื้อมไปหยิบลูกศรจากด้านหลัง การง้างและปล่อยคันธนู ไปจนถึงการก้มหลบท่าโจมตีบางท่าของเครื่องจักร โดยผู้เล่นจะสามารถสร้างและใช้ลูกธนูธาตุ รวมไปถึงเล็งยิงชิ้นส่วนของเครื่องจักรให้กระเด็นหลุดออกจากตัวมันได้ เช่นเดียวกับในเกมซีรีส์หลักอีกด้วย






สำหรับผู้อ่านหลายๆ ท่าน (และผู้เขียนด้วย) การจะได้เล่นเกม Horizon ในรูปแบบ VR โดยที่ให้เราต้องปีนเขาเอง และเล็งยิงธนูเอง อาจจะฟังดูเหมือนเรื่องที่น่าสนุกอย่างไม่ต้องสงสัย และผู้เขียนก็ยอมรับว่าเกมยังสามารถมอบช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นอย่างที่เราควรจะคาดหวังได้จากเกม Horizon ฉบับ VR แต่ในภาพรวมแล้วก็พบว่าการต้องยกแขนขึ้นลงเพื่อจำลองการปีนเขาหรือง้างคันธนูซ้ำๆ กันเป็นระยะเวลานาน ก็อาจจะส่งผลให้ล้าหรือปวดไหล่ได้แม้จะไม่ต้องออกแรงเหมือนของจริงก็ตาม ซึ่งก็อาจทำให้บางคนไม่สามารถนั่งเล่นเกมติดต่อกันได้เหมือนเกมปกติทั่วไป ยังไม่ต้องพูดถึงการพยายามก้มหลบการโจมตีของศัตรู ซึ่งคนที่มีพื้นที่ไม่พอจะยืนเล่นอาจจะต้องทุลักทุเลกันซักหน่อย






นอกจากนี้ แม้ว่าผู้เขียนจะไม่ได้มีอาการเวียนหัวจาก “การเคลื่อนที่” ในเกม VR อย่างที่หลายคนอาจจะเป็น แต่ก็พบว่า “การหันกล้อง” ไปมาด้วยแกนอนาล๊อคกลับทำให้ผู้เขียนรู้สึกเวียนหัวขึ้นมาทุกครั้ง ซึ่งก็หมายความว่าคนที่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ที่ไม่สามารถหันร่างกายได้แบบ 360 องศาเพื่อมองไปรอบตัว อาจจะต้องเผชิญกับปัญหาที่ว่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ตลอดระยะเวลาที่เล่น



ข้อจำกัดทางกายภาพของผู้เล่นแต่ละคนย่อมสามารถส่งผลให้ประสบการณ์เล่นเกมของผู้เล่นสองคนแตกต่างกันอย่างมาก โดยผู้เล่นที่มีพื้นที่โล่งๆ มากพอจะเล่นเกมในโหมด Roomscale ที่ทำให้สามารถขยับตัวไปมาได้อย่างอิสระ (ใช้พื้นที่ราว 2x2 เมตร) ก็จะได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างจากคนที่เล่นเกมบนโต๊ะคอมพิวเตอร์ หรือคนที่เล่นเกมบนโซฟาในห้องรับแขก ซึ่งความแตกต่างในประสบการณ์ที่ว่ามานี้ก็ควรถูกคำนึงถึงในการพยายามประเมินความคุ้มค่าของตัวอุปกรณ์ PS VR2 เช่นกัน


แม้ว่าเกม Horizon: Call of the Mountain จะมีช่วงเวลาที่น่าจดจำอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะการได้เห็นเครื่องจักรขนาดยักษ์ล้มกลิ้งลงไปเพราะลูกธนูที่เราเป็นคนง้าง เล็ง และยิงเอง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นทุกครั้ง แต่เกมก็อาจมีข้อจำกัดทางกายภาพทั้งในแง่ของพื้นที่ที่ต้องใช้ในการเล่น ซึ่งอาจส่งผลต่อประสบการณ์เกมอย่างเลี่ยงไม่ได้ รวมไปถึงสภาพร่างกายของผู้เล่นแต่ละคนที่อาจเอื้อต่อการควบคุมเกมด้วยท่าทาง (Motion Control) มากน้อยแตกต่างกัน และเมื่อคำนึงถึงว่าการควบคุมเกมด้วยร่างกายเช่นนี้มีแต่จะถูกพัฒนาให้ซับซ้อนและสมจริงมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อจำกัดเหล่านี้ก็จะยิ่งชัดเจนขึ้นไปด้วยในอนาคต โดยเฉพาะในเกมระดับพรีเมียมที่เป็นจุดดึงดูดสำหรับคนส่วนใหญ่



ประเด็นเรื่อง “เกม” ที่จะมีให้เล่นบนเครื่อง PS VR2 ก็เป็นอีกประเด็นที่ต้องพิจารณา ซึ่งในขณะนี้เครื่อง PS VR2 ยังมีเกมที่เล่นได้จริงๆ ไม่มากขนาดนั้น เพราะเกมสำหรับ PS VR รุ่นแรกมาก่อนจะไม่สามารถนำเกมมาเล่นใน PS VR2 ได้ โดยแม้ว่าทาง Sony จะยืนยันว่าเกมส่วนใหญ่จะได้รับการวางจำหน่ายสำหรับ PS VR2 อย่างแน่นอนในอนาคต แต่เกมเหล่านี้ส่วนใหญ่ๆ ก็เล่นได้ในอุปกรณ์ VR อื่นอยู่แล้ว ในขณะที่เกม AAA ระดับเดียวกับ Horizon: Call of the Mountain ก็ยังไม่รู้ว่าจะออกมาให้เล่นกันอีกเมื่อไหร่ ซึ่งก็อาจทำให้หลายคนไม่กล้าซื้อเครื่องในช่วงนี้ แต่ในทางกลับกัน การที่ยอดขายเครื่องไม่กระดิกก็อาจส่งผลให้ผู้พัฒนาเกมไม่อยากจะลงทุนสร้างเกมสำหรับเครื่องเช่นกัน นี่จึงยังเป็นอีกจุดที่ต้องดูกันต่อไปว่าวงการเกมโดยรวมจะสนับสนุนเจ้า PS VR2 แค่ไหนในอนาคต




ที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งมวลนี้ไม่ได้ต้องการจะตำหนิตัวเครื่อง PS VR2 หรือเกม Horizon: Call of the Mountain แต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการจะชี้ให้เห็นว่า “ความสนุก” หรือ “ความน่าซื้อ” ของอุปกรณ์อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของกราฟิกหรือตัวเกมเพียงอย่างเดียว แต่อาจต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าพื้นที่ที่เรามีอยู่ หรือร่างกายของเรานั้นพร้อมรองรับประสบการณ์ VR เต็มรูปแบบที่เครื่อง PS VR2 พร้อมจะมอบให้หรือไม่ ซึ่งต่อให้มีเงินพร้อมก็อาจยังไม่น่าซื้อถ้าพื้นที่หรือร่างกายไม่เอื้อให้เราสามารถใช้งานมันอย่างเต็มประสิทธิภาพจริงๆ


สุดท้ายนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเครื่องเกม PS VR2 ถือเป็นอุปกรณ์เสริมคุณภาพสูง ที่มีศักยภาพในการมอบประสบการณ์เกม VR ระดับชั้นนำได้อย่างแน่นอน โดยเกม Horizon: Call of the Mountain ก็ถือเป็นเครื่องพิสูจน์ศักยภาพของอุปกรณ์ได้อย่างยอดเยี่ยม หากคุณตัดสินใจแล้วว่าอยากหาอุปกรณ์ VR มาเล่นดูซักเครื่องให้ได้ ตัว PS VR2 ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย แต่สำหรับคนที่ยังสองจิตสองใจอยู่ ก็อาจต้องค่อยๆ หาคำตอบให้ตัวเองกันต่ออีกระยะหนึ่ง



บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
22/02/2023

***ขอขอบคุณบริษัท Sony Interactive Entertainment สำหรับอุปกรณ์ PS VR2 และเกมสำหรับรีวิว***


หากย้อนกลับไปเมื่อปี 2016 ผู้เขียนได้มีโอกาสรีวิวเครื่องอุปกรณ์ PlayStation VR รุ่นแรก ที่แม้จะมีข้อจำกัดในด้านการใช้งานและศักยภาพอยู่มาก แต่ก็เป็นตัวเลือกเดียวสำหรับเกมเมอร์สายคอนโซลที่ต้องการจะสัมผัสกับประสบการณ์เกม VR โดยไม่ต้องลงทุนกับคอมพิวเตอร์ราคาแพง ยังไม่รวมอุปกรณ์ VR สำหรับ PC ในขณะนั้น ที่ล้วนมีราคาสูงกว่าเครื่อง PS VR อย่างมาก

หลังจากที่เวลาล่วงเลยมา 6 ปี ทาง Sony ก็ได้กลับมาอีกครั้งกับอุปกรณ์ PS VR2 ซึ่งแลดูจะเป็นการพลิกบทบาทจากเครื่อง PS VR รุ่นแรกไปอย่างสิ้นเชิง ในฐานะอุปกรณ์ VR คุณภาพสูงที่มีราคาแพงกว่าอุปกรณ์ของคู่แข่งอย่าง Oculus/Meta หรือกระทั่งราคาของเครื่องคอนโซลที่ต้องใช้ร่วมกันอย่าง PlayStation 5 ไปแล้ว ซึ่งก็ยิ่งทำให้คำถามเรื่อง “ความคุ้มค่า” ของอุปกรณ์กลายเป็นประเด็นที่หลีกเลี่ยงได้ยากขึ้นไปด้วย



จากที่มีโอกาสทดลองใช้อุปกรณ์ PlayStation VR2 มาระยะหนึ่ง ต้องยอมรับว่า Sony ได้ปรับปรุงคุณภาพและประสบการณ์การใช้ขึ้นจากรุ่นแรกในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะในแง่ของภาพ เสียง ความละเอียดในการจับการเคลื่อนที่ และความสะดวกสบายในการติดตั้งและใช้งาน จนพูดได้เต็มปากว่าอุปกรณ์ PS VR2 สามารถมอบประสบการณ์เกม VR ระดับสูงได้อย่างแท้จริง แม้คำถามเรื่องความคุ้มค่าของตัวอุปกรณ์จะยังคงตอบยากในขณะนี้ 


ในขณะเดียวกันนั้น เกม Horizon: Call of the Mountain ที่วางจำหน่ายพร้อมอุปกรณ์ ก็เป็นตัวอย่างที่ดีที่จะใช้ในการพูดถึงประเด็นเรื่อง “ความคุ้มค่า” ของอุปกรณ์ด้วย เราจึงจะทำการรีวิวเกมสั้นๆ ไปพร้อมกันในบทความนี้



ฮาร์ดแวร์และการติดตั้ง


สำหรับเจ้า PS VR2 นี้จะมีรูปลักษณ์ภายนอกไม่ต่างจากอุปกรณ์ VR อื่นๆ ในตลาดนัก ซึ่งมีส่วนประกอบหลักๆ สองส่วนคือหน้าจอ/แว่นตา VR ที่ฉายภาพเข้าสู่ตาของผู้ใช้ และสายรัดเพื่อสวมใส่บนหัวนั่นเอง โดยตรงแว่นตา VR จะมีปุ่มที่ให้ผู้ใช้เลื่อนตัวแว่นตาเข้าหาหรือออกห่างจากลูกตาของตัวเองได้ รวมไปถึงหน้าปัดเพื่อใช้ปรับระยะห่างของเลนส์ภายในตัวแว่นให้เข้ากับสายตาของผู้ใช้ ในขณะที่สายรัดหัวเองก็มีจุดที่สามารถหมุนปรับความแน่นของสายรัด และยังมีช่องไว้เชื่อมต่อหูฟัง 3.5mm แบบพิเศษที่แถมมากับอุปกรณ์อยู่บริเวณด้านใต้ ทำให้การสวมและถอดเครื่อง PS VR2 มีความสะดวกสบายและรวดเร็วไม่น้อย



ลูกเล่นใหม่อย่างหนึ่งที่ผู้เขียนชอบมากคือปุ่ม Function บริเวณด้านใต้ส่วนแว่นตา VR ที่จะทำให้อุปกรณ์ฉายภาพสภาพแวดล้อมที่บันทึกโดยกล้อง 4 เลนส์ที่อยู่ด้านหน้าของตัวแว่นเข้าสู่สายตาของผู้ใช้ ทำให้สามารถมองเห็นสิ่งรอบตัวได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องถอดแว่น VR ออก ซึ่งก็ช่วยในเรื่องความสะดวกสบายในการใช้เป็นอย่างมาก


นอกจากนี้ แม้ว่าส่วนแว่นตา VR จะมีขนาดใหญ่พอสมควร แต่สายรัดได้ถูกออกแบบมาให้ถ่ายน้ำหนักส่วนนั้นไปไว้ด้านบนของหัว ตัวแว่น VR จึงไม่ได้หนักไปทางด้านหน้าอย่างที่คิด และสามารถสวมใส่เป็นระยะเวลานานได้โดยไม่รู้สึกถึงน้ำหนักของตัวอุปกรณ์มากนัก ยกเว้นเวลาที่ต้องเงยหน้ามองขึ้นไปด้านบนซึ่งจะทำให้น้ำหนักของส่วนแว่นกดลงมาทับลงมาบนหน้าตรงๆ โดยอาจไม่เป็นปัญหานักสำหรับผู้เล่นส่วนใหญ่ แต่สำหรับคนที่ต้องใส่แว่น VR ครอบแว่นสายตาอีกที (อย่างผู้เขียน) ก็อาจจะโดนแว่น VR กดทับแว่นตาจนเจ็บได้เช่นกัน 



แม้ว่ารูปลักษณ์ภายนอกของ PS VR2 จะไม่ต่างจากรุ่นแรกนัก แต่สิ่งที่พัฒนาขึ้นอย่างมหาศาลก็คือความสะดวกสบายในการใช้อุปกรณ์ โดยผู้ที่เคยใช้เครื่อง PS VR รุ่นแรกมาก่อนจะทราบดีถึงความลำบากในการใช้แต่ละครั้ง ไหนจะต้องเชื่อมตัวอุปกรณ์ VR เข้ากับกล่อง adapter ก่อนต่อเข้าคอนโซล แล้วยังต้องเซ็ตตัวกล้อง PS Camera ที่มีระยะเซ็นเซอร์เพียงแคบๆ จะเล่นแต่ละครั้งจึงมีสายระโยงระยางเต็มไปหมด ยังไม่ต้องพูดถึงตอนที่เล่นเสร็จแล้วต้องเก็บทุกอย่างเข้าที่อีก ซึ่งความไม่สะดวกเหล่านี้ก็ส่งผลให้เกิดรู้สึกเหมือนมี “แรงต้าน” เวลานึกจะหยิบอุปกรณ์ออกมาเล่น แต่สำหรับเครื่อง PS VR2 ต้องใช้เพียงสาย USB-Type C ความยาว 4.5 เมตรจากตัวอุปกรณ์เข้าสู่คอนโซล PS5 เส้นเดียวเท่านั้นก็เล่นได้เลยทันที ทำให้แรงต้านในการหยิบใช้อุปกรณ์ลดน้อยลงจากรุ่นแรกอย่างมาก



หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่าเมื่อไม่มีกล้อง PS Camera มาคอยจับการเคลื่อนไหวแล้ว อุปกรณ์ PS VR2 จะติดตามการเคลื่อนที่ของผู้เล่นอย่างไร? คำตอบคือในขณะที่อุปกรณ์ VR ส่วนใหญ่มักใช้วิธีการวางเซนเซอร์ไว้รอบห้องเพื่อคอยจับการกระทำของผู้เล่น เจ้า PS VR2 กลับใช้เทคโนโลยีจับการเคลื่อนไหวด้วยการใช้กล้องขนาดเล็กด้านหน้าของตัวแว่น VR ในการแสกนสภาพแวดล้อมและจับตำแหน่งของจอยทั้งสองข้างไปด้วยแทน


ข้อดีของการใช้กล้องเซนเซอร์ในลักษณะนี้ ทำให้ผู้เล่นมีอิสระในการกำหนดพื้นที่การเล่นของตัวเองได้อย่างยืดหยุ่นมาก โดยเราสามารถใช้จอยเพื่อลากปรับขนาดหรือรูปทรงของพื้นที่ที่เราต้องการให้เซนเซอร์คอยจับ ซึ่งอุปกรณ์จะคอยเตือนเมื่อผู้เล่นก้าวออกจากพื้นที่ที่ตั้งไว้ เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เราไปเดินชนข้าวของขณะเล่นเกมเพลินๆ นั่นเอง ซึ่งความอิสระในการกำหนดขอบเขตพื้นที่ที่เราต้องการเช่นนี้ก็สามารถช่วยให้ผู้ใช้ PS VR2 สามารถเล่นเกมที่อาจต้องใช้การเคลื่อนไหวร่างกายในพื้นที่จำกัดได้อย่างมั่นใจและปลอดภัยมากขึ้น 



จอยเกม PS VR2 Controller และการใช้งานโดยรวม


อีกหนึ่งองค์ประกอบที่ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมากก็คือตัวจอย PS VR2 ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่โดยเฉพาะ แทนที่จะใช้อุปกรณ์รีโมท PlayStation Move ที่ต้องซื้อแยกกัน โดยนอกจากจอย PS VR2 จะมาพร้อมกับเทคโนโลยี Haptic Feedback และ Adaptive Trigger จากจอย DualSense ของเครื่อง PS5 แล้ว กรอบทรงกลมที่ครอบส่วนด้ามจับของจอยยังทำหน้าที่เป็นเซ็นเซอร์ที่ช่วยจับตำแหน่งมือของผู้เล่นอย่างแม่นยำตลอดเวลาอีกด้วย





จอย PS VR2 Controller ยังสามารถจับการเคลื่อนไหวของนิ้วผู้เล่นได้ในระดับหนึ่งด้วย ผ่านการตรวจจับว่าผู้เล่นวางนิ้วไว้บนปุ่มหรือแกนอนาล๊อคบนจอยหรือเปล่า ซึ่งแม้ว่าจะไม่ได้มีผลต่อการเล่นเกมหรือการใช้จริงเท่าไหร่ แต่ก็นับเป็นรายละเอียดสนุกๆ ที่ช่วยเสริมความรู้สึกสมจริงของอุปกรณ์มากขึ้นไปด้วย



แน่นอนว่าข้อปรับปรุงที่กล่าวถึงทั้งหมดนี้ย่อมส่งผลต่อการเล่นเกมด้วย เช่นในระหว่างเล่นเกม Horizon: Call of the Mountain ที่จอยมักจะสั่นเบาๆ ทุกครั้งที่ผู้เขียนเอื้อมไปจับโขดหินเพื่อดึงตัวเองขึ้นในระหว่างที่ปีนเขาเพื่อจำลองความรู้สึกการเกร็งของข้อมือ หรือในจังหวะที่ง้างธนูค้างไว้ ที่จอยจะค่อยๆ สั่นเพื่อจำลองความล้าของแขน แม้แต่สายครอบหัวของ PS VR2 ก็ยังสั่นเพื่อจำลองความรู้สึกเหมือนมีอะไรลอยผ่านหัวไปเมื่อก้มหลบการโจมตีศัตรู ซึ่งเมื่อรวมกับคุณภาพกราฟิกของตัวอุปกรณ์ ก็เพียงพอจะหลอกสมองของผู้เขียนให้ “ลืม” ไปชั่วขณะเหมือนกันว่าเราไม่ได้อยู่ตรงนั้นจริงๆ



ในส่วนของกราฟิก เครื่อง PS VR2 มาพร้อมกับเลนส์ OLED ที่มีความละเอียดสูงถึงข้างละ 2,000 x 2,040 พิกเซลต่อตาหนึ่งข้าง ที่มีความเร็วถึง 120 Hz แถมยังสนับสนุนเทคโนโลยี HDR อีกต่างหาก ซึ่งถือว่าสูงกว่าอุปกรณ์ VR ที่ราคาเทียบเท่ากันยี่ห้ออื่นๆ พอสมควร ส่งผลให้การแสดงผลภาพที่เราเห็นนั้นมีความละเอียดสูงแทบไม่ต่างจากการดูภาพในทีวีจอแบนปกติเลยในบางจังหวะ ที่สำคัญไม่แพ้กันคือเฟรมเรตที่สูงและเสถียรอยู่เสมอ ซึ่งนอกจากจะทำให้เกมเพลย์รู้สึกลื่นไหลเป็นธรรมชาติแล้ว ยังทำให้รายละเอียดเล็กน้อยในฉากอย่างใบหญ้าที่ปลิวไหวไปตามลมรอบๆ ตัวผู้เล่นรู้สึกมีชีวิตชีวาสมจริงขึ้นมาเช่นกัน 


การที่ PS VR2 เชื่อมต่อกับเครื่อง PS5 ยังหมายความว่าผู้เล่นจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเสียง 3D Audio อันยอดเยี่ยมของคอนโซล ซึ่งก็ยิ่งเสริมความรู้สึกสมจริงในขณะเล่นเกมได้ โดยการเล่นเกม VR ที่ให้ผู้เล่นเข้าไปยืนอยู่ในสภาพแวดล้อมเหล่านี้จริงๆ ยิ่งเป็นการดึงเอาศักยภาพของเทคโนโลยีเสียงสามมิตินี้ออกมาได้มากยิ่งกว่าการนั่งเล่นเกมหน้าจอทีวีเฉยๆ อย่างไม่ต้องสงสัย



หากจะต้องมีอะไรให้ตำหนิในจุดนี้ คงเป็นการที่จอย PS VR2 Controller ดูจะแบตหมดค่อนข้างเร็ว โดยการชาร์จจนเต็มแต่ละครั้งจะสามารถใช้งานได้ราว 3-4 ชั่วโมงเท่านั้น แถมการชาร์จจอยก็อาจจะมีความยุ่งยากอยู่บ้าง เพราะภายในชุด PS VR2 ให้สายชาร์จ USB-to-USB-Type C มาแค่เส้นเดียว ผู้ที่ไม่มีสายชาร์จสำรองอีกเส้นและ/หรือไม่มีหัวปลั๊กไว้เสียบ USB ก็มีทางเลือกเพียงเสียบชาร์จจอยกับ PS5 ทีละข้างเท่านั้น โดยคนที่คิดจะลงทุนซื้อเครื่อง PS VR2 อยู่แล้ว ก็อาจจะพิจารณาเพิ่มเงินอีกซักนิดเพื่อซื้อแท่นชาร์จจอยมาซะด้วยเลยเพื่อตัดรำคาญตรงจุดนี้



Horizon: Call of the Mountain และความคุ้มค่าของเครื่อง PS VR2


อ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนคงจะพอเห็นภาพแล้วว่าผู้เขียนประเมิน “คุณภาพ” ของอุปกรณ์ PS VR2 อย่างไรบ้าง แต่นั่นก็เป็นคนละประเด็นกับ “ความคุ้มค่า” ซึ่งเป็นคำถามที่ตอบได้ยากกว่ากันมาก โดยเกมเรือธงของอุปกรณ์ที่วางจำหน่ายพร้อมกันอย่าง Horizon: Call of the Mountain ที่ย่อมได้รับการสนับสนุนในแง่ของงบประมาณและเทคนิคมากเป็นพิเศษ อาจเป็นตัวชี้วัดที่ดีถึงศักยภาพหรือทิศทางของเกม “ระดับพรีเมียม” ที่เราอาจจะได้เห็นในอนาคตสำหรับ PS VR2 


ในแง่หนึ่ง Horizon: Call of the Mountain อาจจะเป็นเกม VR เกมแรกที่ผู้เขียนเล่น ที่ให้ความรู้สึกของ “เกม AAA” ต่างจากเกม VR ส่วนใหญ่ที่คนนึกถึงทุกวันนี้ที่มีลักษณะเป็น “ประสบการณ์” (เช่น Dreams) หรือเป็น “มินิเกม” (เช่น Beat Saber) มากกว่าจะเป็นเกมเต็มรูปแบบในความหมายเดียวกับเกม PC/คอนโซลระดับ AAA ที่เรานึกถึงกัน โดยแม้ว่าระยะเวลาราว 6-7 ชั่วโมงที่ใช้ในการจบเนื้อเรื่องจะไม่ได้ยืดยาวนัก แต่เกมก็มีระบบการพัฒนาตัวละคร มีกลไก (Mechanic) เฉพาะตัวของตัวเองที่ทำงานร่วมกันอย่างกลมกลืน และมีเนื้อเรื่องที่ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและน่าติดตามจากต้นจนจบ ซึ่งก็เป็นพัฒนาการที่รู้สึกได้จากเกมที่เคยเล่นในเครื่อง PS VR รุ่นแรกอย่างชัดเจน



กราฟิกโคตรจ๊าบ ยกนิ้วให้!



ไม่บอกก็ไม่รู้ว่าเป็นเกม VR


การเล่นเกม Horizon: Call of the Mountain สามารถแบ่งออกเป็น 2 ขาหลักๆ นั่นก็คือการปีนเขาและการต่อสู้ ซึ่งอย่างที่หลายคนพอจะเดาออกในฐานะเกม VR การปีนเขานั้นผู้เล่นจะต้องทำท่าทางปีนเขาจริงๆ ด้วยการเอื้อมมือ (ทั้งในเกมและในชีวิตจริง) ออกไปจับโขดหินและทำท่าดึงตัวเองขึ้นไป ก่อนที่จะเอื้อมมืออีกข้างไปจับโขดหินไปเรื่อยๆ โดยอาจจะมีบางช่วงที่ต้องเล่นพัซเซิล Platforming เล็กๆ มาขั้นบ้างประปราย 


เมื่อถึงเวลาต้องต่อสู้ เกมจะให้ผู้เล่นเผชิญหน้ากับเหล่าเครื่องจักรที่คุ้นเคยจากซีรีส์ Horizon ด้วยการยิงธนู ควบคู่ไปกับการหลบหลีกการโจมตีของเครื่องจักรไปด้วย ซึ่งแน่นอนว่าผู้เล่นเองก็ต้องทำท่าทางตามตั้งแต่การถือคันธนู การเอื้อมไปหยิบลูกศรจากด้านหลัง การง้างและปล่อยคันธนู ไปจนถึงการก้มหลบท่าโจมตีบางท่าของเครื่องจักร โดยผู้เล่นจะสามารถสร้างและใช้ลูกธนูธาตุ รวมไปถึงเล็งยิงชิ้นส่วนของเครื่องจักรให้กระเด็นหลุดออกจากตัวมันได้ เช่นเดียวกับในเกมซีรีส์หลักอีกด้วย






สำหรับผู้อ่านหลายๆ ท่าน (และผู้เขียนด้วย) การจะได้เล่นเกม Horizon ในรูปแบบ VR โดยที่ให้เราต้องปีนเขาเอง และเล็งยิงธนูเอง อาจจะฟังดูเหมือนเรื่องที่น่าสนุกอย่างไม่ต้องสงสัย และผู้เขียนก็ยอมรับว่าเกมยังสามารถมอบช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นอย่างที่เราควรจะคาดหวังได้จากเกม Horizon ฉบับ VR แต่ในภาพรวมแล้วก็พบว่าการต้องยกแขนขึ้นลงเพื่อจำลองการปีนเขาหรือง้างคันธนูซ้ำๆ กันเป็นระยะเวลานาน ก็อาจจะส่งผลให้ล้าหรือปวดไหล่ได้แม้จะไม่ต้องออกแรงเหมือนของจริงก็ตาม ซึ่งก็อาจทำให้บางคนไม่สามารถนั่งเล่นเกมติดต่อกันได้เหมือนเกมปกติทั่วไป ยังไม่ต้องพูดถึงการพยายามก้มหลบการโจมตีของศัตรู ซึ่งคนที่มีพื้นที่ไม่พอจะยืนเล่นอาจจะต้องทุลักทุเลกันซักหน่อย






นอกจากนี้ แม้ว่าผู้เขียนจะไม่ได้มีอาการเวียนหัวจาก “การเคลื่อนที่” ในเกม VR อย่างที่หลายคนอาจจะเป็น แต่ก็พบว่า “การหันกล้อง” ไปมาด้วยแกนอนาล๊อคกลับทำให้ผู้เขียนรู้สึกเวียนหัวขึ้นมาทุกครั้ง ซึ่งก็หมายความว่าคนที่มีข้อจำกัดด้านพื้นที่ที่ไม่สามารถหันร่างกายได้แบบ 360 องศาเพื่อมองไปรอบตัว อาจจะต้องเผชิญกับปัญหาที่ว่านี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ตลอดระยะเวลาที่เล่น



ข้อจำกัดทางกายภาพของผู้เล่นแต่ละคนย่อมสามารถส่งผลให้ประสบการณ์เล่นเกมของผู้เล่นสองคนแตกต่างกันอย่างมาก โดยผู้เล่นที่มีพื้นที่โล่งๆ มากพอจะเล่นเกมในโหมด Roomscale ที่ทำให้สามารถขยับตัวไปมาได้อย่างอิสระ (ใช้พื้นที่ราว 2x2 เมตร) ก็จะได้รับประสบการณ์ที่แตกต่างจากคนที่เล่นเกมบนโต๊ะคอมพิวเตอร์ หรือคนที่เล่นเกมบนโซฟาในห้องรับแขก ซึ่งความแตกต่างในประสบการณ์ที่ว่ามานี้ก็ควรถูกคำนึงถึงในการพยายามประเมินความคุ้มค่าของตัวอุปกรณ์ PS VR2 เช่นกัน


แม้ว่าเกม Horizon: Call of the Mountain จะมีช่วงเวลาที่น่าจดจำอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะการได้เห็นเครื่องจักรขนาดยักษ์ล้มกลิ้งลงไปเพราะลูกธนูที่เราเป็นคนง้าง เล็ง และยิงเอง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้นทุกครั้ง แต่เกมก็อาจมีข้อจำกัดทางกายภาพทั้งในแง่ของพื้นที่ที่ต้องใช้ในการเล่น ซึ่งอาจส่งผลต่อประสบการณ์เกมอย่างเลี่ยงไม่ได้ รวมไปถึงสภาพร่างกายของผู้เล่นแต่ละคนที่อาจเอื้อต่อการควบคุมเกมด้วยท่าทาง (Motion Control) มากน้อยแตกต่างกัน และเมื่อคำนึงถึงว่าการควบคุมเกมด้วยร่างกายเช่นนี้มีแต่จะถูกพัฒนาให้ซับซ้อนและสมจริงมากขึ้นเรื่อยๆ ข้อจำกัดเหล่านี้ก็จะยิ่งชัดเจนขึ้นไปด้วยในอนาคต โดยเฉพาะในเกมระดับพรีเมียมที่เป็นจุดดึงดูดสำหรับคนส่วนใหญ่



ประเด็นเรื่อง “เกม” ที่จะมีให้เล่นบนเครื่อง PS VR2 ก็เป็นอีกประเด็นที่ต้องพิจารณา ซึ่งในขณะนี้เครื่อง PS VR2 ยังมีเกมที่เล่นได้จริงๆ ไม่มากขนาดนั้น เพราะเกมสำหรับ PS VR รุ่นแรกมาก่อนจะไม่สามารถนำเกมมาเล่นใน PS VR2 ได้ โดยแม้ว่าทาง Sony จะยืนยันว่าเกมส่วนใหญ่จะได้รับการวางจำหน่ายสำหรับ PS VR2 อย่างแน่นอนในอนาคต แต่เกมเหล่านี้ส่วนใหญ่ๆ ก็เล่นได้ในอุปกรณ์ VR อื่นอยู่แล้ว ในขณะที่เกม AAA ระดับเดียวกับ Horizon: Call of the Mountain ก็ยังไม่รู้ว่าจะออกมาให้เล่นกันอีกเมื่อไหร่ ซึ่งก็อาจทำให้หลายคนไม่กล้าซื้อเครื่องในช่วงนี้ แต่ในทางกลับกัน การที่ยอดขายเครื่องไม่กระดิกก็อาจส่งผลให้ผู้พัฒนาเกมไม่อยากจะลงทุนสร้างเกมสำหรับเครื่องเช่นกัน นี่จึงยังเป็นอีกจุดที่ต้องดูกันต่อไปว่าวงการเกมโดยรวมจะสนับสนุนเจ้า PS VR2 แค่ไหนในอนาคต




ที่กล่าวมาทั้งหมดทั้งมวลนี้ไม่ได้ต้องการจะตำหนิตัวเครื่อง PS VR2 หรือเกม Horizon: Call of the Mountain แต่อย่างใด เพียงแต่ต้องการจะชี้ให้เห็นว่า “ความสนุก” หรือ “ความน่าซื้อ” ของอุปกรณ์อาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของกราฟิกหรือตัวเกมเพียงอย่างเดียว แต่อาจต้องคำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าพื้นที่ที่เรามีอยู่ หรือร่างกายของเรานั้นพร้อมรองรับประสบการณ์ VR เต็มรูปแบบที่เครื่อง PS VR2 พร้อมจะมอบให้หรือไม่ ซึ่งต่อให้มีเงินพร้อมก็อาจยังไม่น่าซื้อถ้าพื้นที่หรือร่างกายไม่เอื้อให้เราสามารถใช้งานมันอย่างเต็มประสิทธิภาพจริงๆ


สุดท้ายนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเครื่องเกม PS VR2 ถือเป็นอุปกรณ์เสริมคุณภาพสูง ที่มีศักยภาพในการมอบประสบการณ์เกม VR ระดับชั้นนำได้อย่างแน่นอน โดยเกม Horizon: Call of the Mountain ก็ถือเป็นเครื่องพิสูจน์ศักยภาพของอุปกรณ์ได้อย่างยอดเยี่ยม หากคุณตัดสินใจแล้วว่าอยากหาอุปกรณ์ VR มาเล่นดูซักเครื่องให้ได้ ตัว PS VR2 ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อย แต่สำหรับคนที่ยังสองจิตสองใจอยู่ ก็อาจต้องค่อยๆ หาคำตอบให้ตัวเองกันต่ออีกระยะหนึ่ง




บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header