GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
รีวิวเกม Necrobarista กาแฟแก้วสุดท้ายแด่ผู้วายชนม์
ลงวันที่ 24/08/2020

-หมายเหตุ : ผู้เขียนใช้เวลาในการ เล่น และ อ่าน เนื้อหาของเกมนี้ทั้ง 10 Episodes เป็นเวลา 6 ชั่วโมง และยังคงพยายามเก็บเนื้อหา Side-Story ที่ยังเหลืออยู่อีกครึ่งหนึ่ง ระยะเวลาในการเล่นขึ้นกับผู้เล่นแต่ละคนเป็นสำคัญ...

-หมายเหตุ 2 : Necrobarista มีอยู่บนระบบ Mac iOS ผ่าน Apple Arcade ที่ผู้ใช้ Mac สามารถหามาเล่นได้จาก ที่นี่ และมีกำหนดจะพอร์ทลงสู่ระบบ Playstation 4 และ Nintendo Switch ในปี 2021 ที่จะถึงนี้

ถ้าหากจะพูดกันถึง ‘ร้านกาแฟ’ แล้วนั้น ไม่ว่าจะเป็นร้านที่มีเชนสาขาขนาดใหญ่ หรือร้านแผงเล็กๆ ในปากซอยหมู่บ้าน ต่างก็มีเสน่ห์และบรรยากาศที่แตกต่างกันออกไป มันเป็นทั้งที่ดื่มด่ำในรสชาติของกาแฟอย่างเข้มขรึม เป็นที่รวมพลถกเรื่องราวในสังคม เป็นที่พักใจเล็กๆ สำหรับนักเขียน และอาจจะเป็นสถานที่สุดพิเศษที่อยู่ในความทรงจำของผู้คนที่หลากหลาย และแน่นอนว่า ร้านกาแฟ ก็ปรากฏในสื่อบันเทิงอยู่มากมาย อาจจะเรียกได้ว่าเป็น Settings ที่พบเห็นได้บ่อยเป็นลำดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ (เช่น นวนิยายญี่ปุ่น ‘เพียงชั่วเวลากาแฟยังอุ่น (Café Funiculi Funicula)’ ของโทชิคาซึ คาวางุจิ ที่อบอวลไปด้วยความรู้สึกที่สุดแสนจะพิเศษ จนได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ในปี 2018)

[caption id="attachment_63988" align="aligncenter" width="555"] เพียงชั่วเวลากาแฟยังอุ่น ของโทชิคาซึ คาวางุจิ แปลโดยคุณฉัตรขวัญ อดิศัย แพรวสำนักพิมพ์ เป็นนวนิยายแสนอบอุ่นขนาดกะทัดรัดที่ผู้เขียนขอแนะนำ[/caption]

แต่สำหรับแวดวงวิดีโอเกม ร้านกาแฟ กลับเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ค่อนข้างยาก ท่ามกลางความสุดสวิงของเนื้อหาที่หลากหลาย ความเรียบง่ายและง่ายงามของร้านกาแฟกลับเป็นสิ่งที่ยากจะพบ และนั่นทำให้ ‘Necrobarista’ จากทีมพัฒนาสายอินดี้สัญชาติออสเตรเลีย Route 59 นั้น ดูมีความพิเศษขึ้นมา ไม่ใช่แค่ในส่วนของเนื้อหา หากแต่เป็นองค์ประกอบศิลป์โดยภาพรวม ที่ขับเน้นให้เกม ‘Visual Novel’ ชิ้นนี้ โดดเด่นจับตาและมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน


-The Terminal : ร้านกาแฟแห่งนี้ขอต้อนรับ ทั้งคนเป็นและคนตาย (แต่ไม่มี WiFi โปรดเข้าใจ...)

Necrobarista บอกเล่าเรื่องราวของร้านกาแฟ ‘The Terminal’ กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ที่เป็น ‘จุดเปลี่ยนผ่าน’ ระหว่างคนเป็นและคนตาย กับวิถีชีวิตของ Maddy ‘บาริสต้าหมอผี (Necrobarista)’ ผู้ทำหน้าที่ชงกาแฟแก้วสุดท้ายให้กับผู้วายชนม์ที่แวะเวียนเข้ามา และให้ใช้เวลา 24 ชั่วโมงสุดท้ายร่วมกับคนเป็นก่อนจะเดินทางไปสู่โลกหน้า และในเกมนี้ ก็คือเรื่องราว 24 ชั่วโมงอันสุดพิเศษ ที่เต็มไปด้วยความผูกพัน ความโกลาหล การเล่นแร่แปรมนต์ และผู้คนที่ผ่านทางเข้ามา ไม่ว่าจะทั้งคนเป็นหรือคนตาย

[caption id="attachment_63973" align="aligncenter" width="1024"] Maddy บาริสต้าหมอผี (Necrobarista) แห่งร้าน The Terminal กับชีวิตอันไม่สามัญระหว่างคนเป็นและคนตายที่เธอต้องพบเจอ[/caption]

ในเบื้องต้น สิ่งที่โดดเด่นเป็นอย่างมากสำหรับ Necrobarista นั้น คือการที่มันเป็นเกม Visual Novel ที่เลือกใช้การนำเสนอกราฟิกแบบ 3d สไตล์ Cel-Shaded โทนสีอบอุ่นสบายตา คลอไปกับดนตรีประกอบแบบ Lo-Fi ที่ฟังแล้วสบายใจ ในขณะที่เรื่องราวของ Maddy ดำเนินไป ผ่าน Episode ทั้ง 10 ในรอบระยะเวลา 24 ชั่วโมง อันเป็นกิจวัตรอันแสนจะเป็นปกติสำหรับเธอ (ที่ก็ยุ่งเหยิงจนเราเผลอลืมไปว่าที่แห่งนี้ คือจุดพักกึ่งกลางระหว่างคนเป็นและคนตาย)

[caption id="attachment_63974" align="aligncenter" width="1024"] การใช้งานศิลป์แบบ 3d Cel-Shaded โทนสีอบอุ่น คลอไปด้วยเพลงแบบ Lo-Fi ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ประหนึ่งอยู่ในร้านกาแฟจริงๆ อย่างไงอย่างงั้น[/caption]

แน่นอนว่าองค์ประกอบศิลป์ที่โดดเด่น ถูกนำมาขับเน้นด้วยบรรดาตัวละครเสริมที่เข้ามาช่วยสร้างสีสันให้กับเรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะทั้งตัวของ Maddy, Chay เชฟและผู้ช่วยจิปาถะ อดีต บาริสต้าหมอผี อมตะอายุ 200 ปี, Ashley เด็กสาวอัจฉริยะนักประดิษฐ์ผู้เสพติดคาเฟอีนเข้าเส้น จนถึง Kishan วิญญาณเร่ร่อนที่เข้ามาใช้เวลาร่วมกับพลพรรคแห่งร้าน The Terminal ใน 24 ชั่วโมงสุดท้าย ยังไม่นับรวมเหล่าตัวละครอื่นๆ ที่มีทั้งฮิปสเตอร์, มาเฟีย, คนจร และสมาชิกสภาผู้วายชนม์ (Council of Death) ผู้คุมกฎแห่งร้าน (และเป็นผู้ออกกฎ 24 ชั่วโมงที่ไม่อาจละเมิดได้…) ที่ทำให้เรื่องราวนั้น น่าติดตาม เพราะมันไม่ได้เพียงแค่บอกเล่าเนื้อหาที่เหนือธรรมชาติ แต่มันยังพูดถึงความรักความผูกพัน ความลำบากใจ ปัญหาชีวิต การรักษาสมดุลระหว่างโลกคนเป็นและคนตาย การทำสิ่งตกค้างที่เหลืออยู่ ไปจนถึงการปล่อยวางในวาระสุดท้าย เรียกได้ว่ามันเป็นนวนิยายภาพที่ครบรส และอ่านได้สนุก ด้วยรูปแบบการนำเสนอที่ชวนให้ติดตามเป็นอย่างมาก

[caption id="attachment_64281" align="alignnone" width="1024"] แม้จะเป็นวิญญาณจร แต่ Kishan ก็เป็นตัวละครที่ชวนให้เราตั้งคำถามกับ ชีวิต ได้อย่างลึกซึ้ง ภายใต้การบอกเล่านำเสนออย่างลื่นไหล และชวนให้กระตุกความคิดไว้อย่างมาก[/caption]

แน่นอนว่าในประเด็นเนื้อหาหลักใหญ่นั้น มองดูเผินๆ แล้วจะดำเนินผ่านสายตาของ Maddy กับ Chay แต่การพูดถึง ชีวิตและความตาย กับ การรับมือในห้วงวาระสุดท้าย ก็ต้องยกให้ตัวละครอย่าง Kishan ที่ในตลอดทั้ง 10 Episodes นี้ คือคนที่แบกรับความรู้สึกไว้หนักหน่วงที่สุด ความสงสัยในสาเหตุการตาย การหลงเหลือสิ่งที่ตกค้างที่ยังไม่ได้ทำ การผูกความสัมพันธ์กับผู้คน (ที่มันอาจจะสั้นเพียงแค่ 24 ชั่วโมง) และการทำความเข้าใจกับสภาวะปัจจุบันของตัวเองและการต้อง เลือก ที่จะก้าวข้ามไปโลกหน้าโดยไม่เหลือสิ่งใดค้างคา หากแต่เต็มไปด้วยความกลัวและไม่แน่ใจ เหล่านี้ ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถนำเสนอออกมาได้อย่างง่ายๆ (เพราะเรื่องหลังความตาย ตกอยู่ในขอบเขตที่เป็นนามธรรม เปิดกว้างต่อการตีความอย่างสูง...) แต่บรรดาตัวละครที่ผ่านทางเข้ามา ก็ช่วยให้มันมีความ ลื่นไหล และ ติดดิน ภายใต้ Settings ที่ผสมผสานความเหนือจริงเข้ากับวิถีชีวิตในแบบปกติธรรมดา ที่ทีมงาน Route 59 ทำออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม กลมกล่อม และหลายครั้งก็ชวนให้กระตุกคิดถึงชีวิตในฐานะ คนเป็น อย่างเราๆ อยู่ไม่น้อย


-ชีวิตหลากสีสัน ในแต่ละวันของ The Terminal

นอกเหนือจากเนื้อหาหลักทั้ง 10 Episodes แล้วนั้น ตัวเกมยังพ่วงด้วยระบบ ‘เนื้อหาเสริม (Side-Story)’ ที่จะปลดล็อคด้วย Token ที่จะมีให้เลือกในระหว่าง Episode เอาไว้สำหรับปลดล็อคเนื้อหาในช่วง Intercourse ซึ่งก็มีตั้งแต่เรื่องราวชวนหัวเบาสมอง เรื่องราวที่ซีเรียสจริงจัง แม้จะไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อไปให้ถึงปลายทางตอนจบของเกม แต่การได้รับรู้เรื่องราวเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชายชราขาจรที่ชื่อพ้องกับเหล้า Jack Daniels ผู้ชอบร่ำดื่มในโอกาสพิเศษ, ความขัดแย้งของ Maddy กับ Ned สมาชิกสภาผู้วายชนม์ คู่กัดไม้เบื่อไม้เมาเกี่ยวกับการ อนุโลม ให้วิญญาณจรอยู่เกิน 24 ชั่วโมง (ที่กลายเป็นปัญหา หนี้เวลา ที่เธอยังหาทางชดใช้ไม่ได้...) ไปจนถึงเรื่องเบาสมองของการประดิษฐ์หุ่นยนต์ของ Ashley ที่น่ารักหยิกแกมหยอก ก็ช่วยขยายโลกของเกม และเรื่องราวของร้าน The Terminal แห่งนี้ให้ชัดเจน จับต้องได้มากยิ่งขึ้น

[caption id="attachment_63976" align="aligncenter" width="1024"] เนื้อหาเสริมหรือ Side-Story ที่มีให้ปลดล็อคและ อ่าน คั่นจังหวะระหว่างแต่ละ Episode ที่เปี่ยมไปด้วยความหลากหลาย น่าติดตาม[/caption]
-เน้น เล่า ไม่เน้น เล่น...

อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นเนื้อหาที่อ่านได้สนุก งานภาพสวยงาม ดนตรีไพเราะ และตัวละครที่มีสีสันและบุคลิกเฉพาะตัว แต่ Necrobarista นั้นก็ทำหน้าที่เป็น ‘Visual Novel’ หรือนวนิยายภาพชนิดตั้งแต่หัวจรดท้าย นั่นเพราะสิ่งที่ผู้เล่นสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ ก็คือการเดินสำรวจ ดูเรื่องราว และปลดล็อคเนื้อหาเสริม ไม่มาก ไม่น้อยไปกว่านั้น และเรียกร้องการมีส่วนร่วมกับเนื้อหาด้วยการ ‘อ่าน’ ที่มากอย่างมีนัยสำคัญ

[caption id="attachment_63977" align="aligncenter" width="1024"] การเลือก คำ เพื่อปลดล็อค Token สำหรับเนื้อหาเสริม ดูจะไม่ใช่วิธีที่ดีเท่าไหร่ในการดึงผู้เล่นให้เข้าสู่โลกอีกด้านของตัวเกม...[/caption]

ซึ่งในจุดนี้ ถ้าเทียบกับเกมแนวที่ใกล้เคียงกันอย่าง VA-11 Hall-A: Cyberpunk Bartender Action ของ Sukeban Games ทีมอินดี้จากเวเนซุเอลา หรือ Coffee Talk ของ Toge Productions (ที่คุณสามารถอ่านรีวิวโดยคุณ ll7777ll ได้จาก ที่นี่) แล้วนั้น จะพบว่าสองเกมที่กล่าวถึง จะมีการปฏิสัมพันธ์และการใส่ Mini-Games ที่ผู้เล่นสามารถ ‘เล่น’ ได้มากกว่า ซึ่งทำให้ Necrobarista นั้น อาจจะกลายเป็นยาขมหรือยานอนหลับชวนง่วงไปเสียก่อนถ้าหากคุณไม่ใช่สายอ่านอย่างจริงจัง (แม้ว่าไดอะล็อกจะถูกเขียนขึ้นอย่างคมคาย ทั้งเนื้อหาและจังหวะการหยอดมุกก็ตาม) ไปจนถึงปัญหาทางเทคนิคประปราย จากการที่เกมถูกสร้างด้วยเอนจิ้น Unity (ที่ผู้เขียนแม้จะใช้การ์ดจอ RTX 2070 Super แต่ก็ยังมีแอบพบอาการกระตุกให้เห็นบ้างเป็นครั้งคราว)



แต่ถ้าจะนับสิ่งที่น่าเสียดายมากๆ สำหรับ Necrobarista นั้น คือระบบการปลดล็อค Side-Story หรือเนื้อหาเสริม ที่การเลือก Keyword ในระหว่าง Episode เพื่อสะสม Token นั้น แทบจะไม่มีอะไรบ่งบอกเลยว่าผู้เล่นจะได้รับ Token แบบไหนมาอยู่ในมือ ซึ่งในขณะที่พิมพ์บทความชิ้นนี้ ผู้เขียนก็ปลดล็อคไปได้แค่ครึ่งเดียว และวัดจากจำนวนแล้วก็อาจจะน้อยไปสักนิด แม้ว่าทาง Route 59 สัญญาว่าจะเพิ่มเติมในส่วนนี้เข้ามาให้ฟรีๆ ในอัพเดทภายหลังก็ตาม


-แก้วสุดท้ายแด่ผู้วายชนม์

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร Necrobarista ก็ถือได้ว่าเป็นผลงานที่ชัดเจนในแนวทางของตัวเอง ไม่ประนีประนอมต่อรูปแบบการนำเสนอ และผ่านการคิดและเขียนขึ้นอย่างละเมียดละไม มันใช้ฉากหลังที่ผสมเรื่องราวเหนือธรรมชาติ  (บาริสต้าหมอผีกับเหล่าวิญญาณจรที่ผ่านทางเข้ามา…) แต่ในแต่ละเรื่องราว มันกำลังพูดถึงความเป็น ‘มนุษย์’ ที่ชัดถ้อยในจุดประสงค์ มีแง่มุมให้ขบคิด และชวนให้เราย้อนระลึกว่าความรักความผูกพัน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และการ ‘ปล่อยวาง’ ในช่วงเวลาสุดท้ายที่เหลืออยู่ มีคุณค่าและความสำคัญมากเพียงใด



กล่าวโดยสรุป มันอาจจะไม่ใช่เกมที่เหมาะสมสำหรับทุกคน (อย่างที่กล่าวไปข้างต้น มันไม่ประนีประนอมในการนำเสนอเลยแม้แต่นิดเดียว) และเรียกร้องการมีส่วนร่วมอย่างสูง แต่ Pace และเนื้อหาที่มันนำเสนอ ก็น่าเอนกายผ่อนใจให้เราชะลอจังหวะชีวิต ค่อยๆ จิบและดื่มด่ำกับเรื่องราวที่จะคลี่ห่มอย่างอบอุ่น เช่นเดียวกับการห่อหุ้มความรู้สึกด้วยรสชาติแห่งกาแฟ



มันคือเกมขนาดเล็ก แต่บอกเล่าเรื่องราวที่ไม่เล็ก และมีคุณสมบัติที่ครบพร้อม แม้ว่ามันจะใช้เวลาถึงสามปีกว่าที่จะวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ แต่มันก็ฉายให้เห็นว่า เส้นทางของทีม Route 59 นั้น มีรสนิยม เข้าใจคิด ไม่ติดในเรื่องการนำเสนอ และยังทอดยาวออกไปได้ไกลแค่ไหน …
“ซึ่งถ้าเปรียบพวกเขาเป็นบาริสต้าแล้วนั้น เรื่องราวที่หลากหลายผสมผสานกันในครั้งนี้ ก็ยอดเยี่ยม เฉกเช่นกาแฟที่คั่วจากเมล็ดชั้นดีที่ชวนให้เราร่ำดื่ม และย้อนกลับมาหามัน ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่านั้นเอง…”

[penci_review id="63970"]

7
ข้อดี
ข้อเสีย
7
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
รีวิวเกม Necrobarista กาแฟแก้วสุดท้ายแด่ผู้วายชนม์
24/08/2020

-หมายเหตุ : ผู้เขียนใช้เวลาในการ เล่น และ อ่าน เนื้อหาของเกมนี้ทั้ง 10 Episodes เป็นเวลา 6 ชั่วโมง และยังคงพยายามเก็บเนื้อหา Side-Story ที่ยังเหลืออยู่อีกครึ่งหนึ่ง ระยะเวลาในการเล่นขึ้นกับผู้เล่นแต่ละคนเป็นสำคัญ...

-หมายเหตุ 2 : Necrobarista มีอยู่บนระบบ Mac iOS ผ่าน Apple Arcade ที่ผู้ใช้ Mac สามารถหามาเล่นได้จาก ที่นี่ และมีกำหนดจะพอร์ทลงสู่ระบบ Playstation 4 และ Nintendo Switch ในปี 2021 ที่จะถึงนี้

ถ้าหากจะพูดกันถึง ‘ร้านกาแฟ’ แล้วนั้น ไม่ว่าจะเป็นร้านที่มีเชนสาขาขนาดใหญ่ หรือร้านแผงเล็กๆ ในปากซอยหมู่บ้าน ต่างก็มีเสน่ห์และบรรยากาศที่แตกต่างกันออกไป มันเป็นทั้งที่ดื่มด่ำในรสชาติของกาแฟอย่างเข้มขรึม เป็นที่รวมพลถกเรื่องราวในสังคม เป็นที่พักใจเล็กๆ สำหรับนักเขียน และอาจจะเป็นสถานที่สุดพิเศษที่อยู่ในความทรงจำของผู้คนที่หลากหลาย และแน่นอนว่า ร้านกาแฟ ก็ปรากฏในสื่อบันเทิงอยู่มากมาย อาจจะเรียกได้ว่าเป็น Settings ที่พบเห็นได้บ่อยเป็นลำดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ (เช่น นวนิยายญี่ปุ่น ‘เพียงชั่วเวลากาแฟยังอุ่น (Café Funiculi Funicula)’ ของโทชิคาซึ คาวางุจิ ที่อบอวลไปด้วยความรู้สึกที่สุดแสนจะพิเศษ จนได้รับการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ในปี 2018)

[caption id="attachment_63988" align="aligncenter" width="555"] เพียงชั่วเวลากาแฟยังอุ่น ของโทชิคาซึ คาวางุจิ แปลโดยคุณฉัตรขวัญ อดิศัย แพรวสำนักพิมพ์ เป็นนวนิยายแสนอบอุ่นขนาดกะทัดรัดที่ผู้เขียนขอแนะนำ[/caption]

แต่สำหรับแวดวงวิดีโอเกม ร้านกาแฟ กลับเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ค่อนข้างยาก ท่ามกลางความสุดสวิงของเนื้อหาที่หลากหลาย ความเรียบง่ายและง่ายงามของร้านกาแฟกลับเป็นสิ่งที่ยากจะพบ และนั่นทำให้ ‘Necrobarista’ จากทีมพัฒนาสายอินดี้สัญชาติออสเตรเลีย Route 59 นั้น ดูมีความพิเศษขึ้นมา ไม่ใช่แค่ในส่วนของเนื้อหา หากแต่เป็นองค์ประกอบศิลป์โดยภาพรวม ที่ขับเน้นให้เกม ‘Visual Novel’ ชิ้นนี้ โดดเด่นจับตาและมีเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือน


-The Terminal : ร้านกาแฟแห่งนี้ขอต้อนรับ ทั้งคนเป็นและคนตาย (แต่ไม่มี WiFi โปรดเข้าใจ...)

Necrobarista บอกเล่าเรื่องราวของร้านกาแฟ ‘The Terminal’ กรุงเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ที่เป็น ‘จุดเปลี่ยนผ่าน’ ระหว่างคนเป็นและคนตาย กับวิถีชีวิตของ Maddy ‘บาริสต้าหมอผี (Necrobarista)’ ผู้ทำหน้าที่ชงกาแฟแก้วสุดท้ายให้กับผู้วายชนม์ที่แวะเวียนเข้ามา และให้ใช้เวลา 24 ชั่วโมงสุดท้ายร่วมกับคนเป็นก่อนจะเดินทางไปสู่โลกหน้า และในเกมนี้ ก็คือเรื่องราว 24 ชั่วโมงอันสุดพิเศษ ที่เต็มไปด้วยความผูกพัน ความโกลาหล การเล่นแร่แปรมนต์ และผู้คนที่ผ่านทางเข้ามา ไม่ว่าจะทั้งคนเป็นหรือคนตาย

[caption id="attachment_63973" align="aligncenter" width="1024"] Maddy บาริสต้าหมอผี (Necrobarista) แห่งร้าน The Terminal กับชีวิตอันไม่สามัญระหว่างคนเป็นและคนตายที่เธอต้องพบเจอ[/caption]

ในเบื้องต้น สิ่งที่โดดเด่นเป็นอย่างมากสำหรับ Necrobarista นั้น คือการที่มันเป็นเกม Visual Novel ที่เลือกใช้การนำเสนอกราฟิกแบบ 3d สไตล์ Cel-Shaded โทนสีอบอุ่นสบายตา คลอไปกับดนตรีประกอบแบบ Lo-Fi ที่ฟังแล้วสบายใจ ในขณะที่เรื่องราวของ Maddy ดำเนินไป ผ่าน Episode ทั้ง 10 ในรอบระยะเวลา 24 ชั่วโมง อันเป็นกิจวัตรอันแสนจะเป็นปกติสำหรับเธอ (ที่ก็ยุ่งเหยิงจนเราเผลอลืมไปว่าที่แห่งนี้ คือจุดพักกึ่งกลางระหว่างคนเป็นและคนตาย)

[caption id="attachment_63974" align="aligncenter" width="1024"] การใช้งานศิลป์แบบ 3d Cel-Shaded โทนสีอบอุ่น คลอไปด้วยเพลงแบบ Lo-Fi ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ประหนึ่งอยู่ในร้านกาแฟจริงๆ อย่างไงอย่างงั้น[/caption]

แน่นอนว่าองค์ประกอบศิลป์ที่โดดเด่น ถูกนำมาขับเน้นด้วยบรรดาตัวละครเสริมที่เข้ามาช่วยสร้างสีสันให้กับเรื่องราวที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะทั้งตัวของ Maddy, Chay เชฟและผู้ช่วยจิปาถะ อดีต บาริสต้าหมอผี อมตะอายุ 200 ปี, Ashley เด็กสาวอัจฉริยะนักประดิษฐ์ผู้เสพติดคาเฟอีนเข้าเส้น จนถึง Kishan วิญญาณเร่ร่อนที่เข้ามาใช้เวลาร่วมกับพลพรรคแห่งร้าน The Terminal ใน 24 ชั่วโมงสุดท้าย ยังไม่นับรวมเหล่าตัวละครอื่นๆ ที่มีทั้งฮิปสเตอร์, มาเฟีย, คนจร และสมาชิกสภาผู้วายชนม์ (Council of Death) ผู้คุมกฎแห่งร้าน (และเป็นผู้ออกกฎ 24 ชั่วโมงที่ไม่อาจละเมิดได้…) ที่ทำให้เรื่องราวนั้น น่าติดตาม เพราะมันไม่ได้เพียงแค่บอกเล่าเนื้อหาที่เหนือธรรมชาติ แต่มันยังพูดถึงความรักความผูกพัน ความลำบากใจ ปัญหาชีวิต การรักษาสมดุลระหว่างโลกคนเป็นและคนตาย การทำสิ่งตกค้างที่เหลืออยู่ ไปจนถึงการปล่อยวางในวาระสุดท้าย เรียกได้ว่ามันเป็นนวนิยายภาพที่ครบรส และอ่านได้สนุก ด้วยรูปแบบการนำเสนอที่ชวนให้ติดตามเป็นอย่างมาก

[caption id="attachment_64281" align="alignnone" width="1024"] แม้จะเป็นวิญญาณจร แต่ Kishan ก็เป็นตัวละครที่ชวนให้เราตั้งคำถามกับ ชีวิต ได้อย่างลึกซึ้ง ภายใต้การบอกเล่านำเสนออย่างลื่นไหล และชวนให้กระตุกความคิดไว้อย่างมาก[/caption]

แน่นอนว่าในประเด็นเนื้อหาหลักใหญ่นั้น มองดูเผินๆ แล้วจะดำเนินผ่านสายตาของ Maddy กับ Chay แต่การพูดถึง ชีวิตและความตาย กับ การรับมือในห้วงวาระสุดท้าย ก็ต้องยกให้ตัวละครอย่าง Kishan ที่ในตลอดทั้ง 10 Episodes นี้ คือคนที่แบกรับความรู้สึกไว้หนักหน่วงที่สุด ความสงสัยในสาเหตุการตาย การหลงเหลือสิ่งที่ตกค้างที่ยังไม่ได้ทำ การผูกความสัมพันธ์กับผู้คน (ที่มันอาจจะสั้นเพียงแค่ 24 ชั่วโมง) และการทำความเข้าใจกับสภาวะปัจจุบันของตัวเองและการต้อง เลือก ที่จะก้าวข้ามไปโลกหน้าโดยไม่เหลือสิ่งใดค้างคา หากแต่เต็มไปด้วยความกลัวและไม่แน่ใจ เหล่านี้ ไม่ใช่สิ่งที่จะสามารถนำเสนอออกมาได้อย่างง่ายๆ (เพราะเรื่องหลังความตาย ตกอยู่ในขอบเขตที่เป็นนามธรรม เปิดกว้างต่อการตีความอย่างสูง...) แต่บรรดาตัวละครที่ผ่านทางเข้ามา ก็ช่วยให้มันมีความ ลื่นไหล และ ติดดิน ภายใต้ Settings ที่ผสมผสานความเหนือจริงเข้ากับวิถีชีวิตในแบบปกติธรรมดา ที่ทีมงาน Route 59 ทำออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม กลมกล่อม และหลายครั้งก็ชวนให้กระตุกคิดถึงชีวิตในฐานะ คนเป็น อย่างเราๆ อยู่ไม่น้อย


-ชีวิตหลากสีสัน ในแต่ละวันของ The Terminal

นอกเหนือจากเนื้อหาหลักทั้ง 10 Episodes แล้วนั้น ตัวเกมยังพ่วงด้วยระบบ ‘เนื้อหาเสริม (Side-Story)’ ที่จะปลดล็อคด้วย Token ที่จะมีให้เลือกในระหว่าง Episode เอาไว้สำหรับปลดล็อคเนื้อหาในช่วง Intercourse ซึ่งก็มีตั้งแต่เรื่องราวชวนหัวเบาสมอง เรื่องราวที่ซีเรียสจริงจัง แม้จะไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องทำเพื่อไปให้ถึงปลายทางตอนจบของเกม แต่การได้รับรู้เรื่องราวเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของชายชราขาจรที่ชื่อพ้องกับเหล้า Jack Daniels ผู้ชอบร่ำดื่มในโอกาสพิเศษ, ความขัดแย้งของ Maddy กับ Ned สมาชิกสภาผู้วายชนม์ คู่กัดไม้เบื่อไม้เมาเกี่ยวกับการ อนุโลม ให้วิญญาณจรอยู่เกิน 24 ชั่วโมง (ที่กลายเป็นปัญหา หนี้เวลา ที่เธอยังหาทางชดใช้ไม่ได้...) ไปจนถึงเรื่องเบาสมองของการประดิษฐ์หุ่นยนต์ของ Ashley ที่น่ารักหยิกแกมหยอก ก็ช่วยขยายโลกของเกม และเรื่องราวของร้าน The Terminal แห่งนี้ให้ชัดเจน จับต้องได้มากยิ่งขึ้น

[caption id="attachment_63976" align="aligncenter" width="1024"] เนื้อหาเสริมหรือ Side-Story ที่มีให้ปลดล็อคและ อ่าน คั่นจังหวะระหว่างแต่ละ Episode ที่เปี่ยมไปด้วยความหลากหลาย น่าติดตาม[/caption]
-เน้น เล่า ไม่เน้น เล่น...

อย่างไรก็ตาม แม้จะเป็นเนื้อหาที่อ่านได้สนุก งานภาพสวยงาม ดนตรีไพเราะ และตัวละครที่มีสีสันและบุคลิกเฉพาะตัว แต่ Necrobarista นั้นก็ทำหน้าที่เป็น ‘Visual Novel’ หรือนวนิยายภาพชนิดตั้งแต่หัวจรดท้าย นั่นเพราะสิ่งที่ผู้เล่นสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้ ก็คือการเดินสำรวจ ดูเรื่องราว และปลดล็อคเนื้อหาเสริม ไม่มาก ไม่น้อยไปกว่านั้น และเรียกร้องการมีส่วนร่วมกับเนื้อหาด้วยการ ‘อ่าน’ ที่มากอย่างมีนัยสำคัญ

[caption id="attachment_63977" align="aligncenter" width="1024"] การเลือก คำ เพื่อปลดล็อค Token สำหรับเนื้อหาเสริม ดูจะไม่ใช่วิธีที่ดีเท่าไหร่ในการดึงผู้เล่นให้เข้าสู่โลกอีกด้านของตัวเกม...[/caption]

ซึ่งในจุดนี้ ถ้าเทียบกับเกมแนวที่ใกล้เคียงกันอย่าง VA-11 Hall-A: Cyberpunk Bartender Action ของ Sukeban Games ทีมอินดี้จากเวเนซุเอลา หรือ Coffee Talk ของ Toge Productions (ที่คุณสามารถอ่านรีวิวโดยคุณ ll7777ll ได้จาก ที่นี่) แล้วนั้น จะพบว่าสองเกมที่กล่าวถึง จะมีการปฏิสัมพันธ์และการใส่ Mini-Games ที่ผู้เล่นสามารถ ‘เล่น’ ได้มากกว่า ซึ่งทำให้ Necrobarista นั้น อาจจะกลายเป็นยาขมหรือยานอนหลับชวนง่วงไปเสียก่อนถ้าหากคุณไม่ใช่สายอ่านอย่างจริงจัง (แม้ว่าไดอะล็อกจะถูกเขียนขึ้นอย่างคมคาย ทั้งเนื้อหาและจังหวะการหยอดมุกก็ตาม) ไปจนถึงปัญหาทางเทคนิคประปราย จากการที่เกมถูกสร้างด้วยเอนจิ้น Unity (ที่ผู้เขียนแม้จะใช้การ์ดจอ RTX 2070 Super แต่ก็ยังมีแอบพบอาการกระตุกให้เห็นบ้างเป็นครั้งคราว)



แต่ถ้าจะนับสิ่งที่น่าเสียดายมากๆ สำหรับ Necrobarista นั้น คือระบบการปลดล็อค Side-Story หรือเนื้อหาเสริม ที่การเลือก Keyword ในระหว่าง Episode เพื่อสะสม Token นั้น แทบจะไม่มีอะไรบ่งบอกเลยว่าผู้เล่นจะได้รับ Token แบบไหนมาอยู่ในมือ ซึ่งในขณะที่พิมพ์บทความชิ้นนี้ ผู้เขียนก็ปลดล็อคไปได้แค่ครึ่งเดียว และวัดจากจำนวนแล้วก็อาจจะน้อยไปสักนิด แม้ว่าทาง Route 59 สัญญาว่าจะเพิ่มเติมในส่วนนี้เข้ามาให้ฟรีๆ ในอัพเดทภายหลังก็ตาม


-แก้วสุดท้ายแด่ผู้วายชนม์

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร Necrobarista ก็ถือได้ว่าเป็นผลงานที่ชัดเจนในแนวทางของตัวเอง ไม่ประนีประนอมต่อรูปแบบการนำเสนอ และผ่านการคิดและเขียนขึ้นอย่างละเมียดละไม มันใช้ฉากหลังที่ผสมเรื่องราวเหนือธรรมชาติ  (บาริสต้าหมอผีกับเหล่าวิญญาณจรที่ผ่านทางเข้ามา…) แต่ในแต่ละเรื่องราว มันกำลังพูดถึงความเป็น ‘มนุษย์’ ที่ชัดถ้อยในจุดประสงค์ มีแง่มุมให้ขบคิด และชวนให้เราย้อนระลึกว่าความรักความผูกพัน การปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน และการ ‘ปล่อยวาง’ ในช่วงเวลาสุดท้ายที่เหลืออยู่ มีคุณค่าและความสำคัญมากเพียงใด



กล่าวโดยสรุป มันอาจจะไม่ใช่เกมที่เหมาะสมสำหรับทุกคน (อย่างที่กล่าวไปข้างต้น มันไม่ประนีประนอมในการนำเสนอเลยแม้แต่นิดเดียว) และเรียกร้องการมีส่วนร่วมอย่างสูง แต่ Pace และเนื้อหาที่มันนำเสนอ ก็น่าเอนกายผ่อนใจให้เราชะลอจังหวะชีวิต ค่อยๆ จิบและดื่มด่ำกับเรื่องราวที่จะคลี่ห่มอย่างอบอุ่น เช่นเดียวกับการห่อหุ้มความรู้สึกด้วยรสชาติแห่งกาแฟ



มันคือเกมขนาดเล็ก แต่บอกเล่าเรื่องราวที่ไม่เล็ก และมีคุณสมบัติที่ครบพร้อม แม้ว่ามันจะใช้เวลาถึงสามปีกว่าที่จะวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการ แต่มันก็ฉายให้เห็นว่า เส้นทางของทีม Route 59 นั้น มีรสนิยม เข้าใจคิด ไม่ติดในเรื่องการนำเสนอ และยังทอดยาวออกไปได้ไกลแค่ไหน …
“ซึ่งถ้าเปรียบพวกเขาเป็นบาริสต้าแล้วนั้น เรื่องราวที่หลากหลายผสมผสานกันในครั้งนี้ ก็ยอดเยี่ยม เฉกเช่นกาแฟที่คั่วจากเมล็ดชั้นดีที่ชวนให้เราร่ำดื่ม และย้อนกลับมาหามัน ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่านั้นเอง…”

[penci_review id="63970"]


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header