GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] การตลาดสไตล์ Epic จะรุ่งหรือร่วง?
ลงวันที่ 01/11/2021

Epic Games Store เริ่มเปิดให้บริการในวันที่ 6 ธันวาคม 2018 แน่นอนว่า ร้านค้าเกมนี้มีผู้พัฒนาเป็น Epic Games ตามชื่อของมันเลย ซึ่งหากพูดถึงความสำเร็จของ Epic Games นั้น คงหนีไม่พ้นเกมสุดฮิตเข้าถึงง่ายทุกเพศทุกวัยอย่าง Fortnite (ที่เพิ่งโดนปิดในจีนไปเร็วๆ นี้) และ Engine ที่นักพัฒนาเกมส่วนใหญ่เลือกใช้กันอย่าง Unreal Engine อีกด้วย ซึ่งเอาเข้าจริงแค่สินค้าสองอย่างนี้ก็เพียงพอจะทำให้ Epic Games กลายเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จได้ไม่น้อยแล้ว


ทว่าแค่นั้นยังไม่พอที่จะทำให้ Epic Games หยุดกอบโกยเงินเข้าบริษัท พวกเขาได้เลือกตัดสินใจเปิดร้านค้าเกมเป็นของตัวเอง โดยโจทย์ใหญ่ที่พวกเขาต้องเจอคือเจ้าตลาดที่แข็งแกร่งที่สุดอย่าง Steam ที่เปิดให้บริการเกมเมอร์มากว่า 18 ปี ซึ่งทาง Epic Games ได้ใช้การตลาดแบบหลุดโลกเข้าสู้ นั่นคือการแจกเกมฟรีเพื่อขยายฐานผู้ใช้งานบนร้านค้าของพวกเขา นอกจากนี้ยังมีการต่อรองกับผู้พัฒนาเกมเพื่อให้เกมขายเฉพาะบน Epic Games Store เป็นแบบ Exclusive Time (เมื่อครบระยะเวลาหนึ่ง เกมที่ขายเฉพาะบน Epic Games Store จะสามารถลงขายบนแพลตฟอร์มอื่นได้) หรือการที่มีอัตราส่วนแบ่งให้กับทางผู้พัฒนามากถึง 88% ต่างจาก Steam ที่ให้ทางผู้พัฒนาเพียง 70% เท่านั้น


หากมองในมุมผู้บริโภค นโยบายแบบนี้ถือว่าไม่เลวเลย ได้ทั้งเกมฟรี แถมยังมีเงินส่วนแบ่งเข้าสู่ผู้พัฒนาเกมที่เราชอบมากขึ้น แต่หากเรามองในมุมของ Epic Games การตลาดแบบนี้มันได้ผลจริง ๆ หรือ? วันนี้จึงอยากชวนทุกคนมาวิเคราะห์ข้อมูลยอดขายของบริษัท Epic Games กันว่าโมเดลธุรกิจ "แจกไปก่อน ค่อยเอาทุนคืนทีหลัง" นี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่?!


(รูป) 


จากข้อมูลอย่างเป็นทางการที่ทาง Epic Games ได้ออกมาเปิดเผยเอง ผลประกอบการในสิ้นปี 2020 ที่ผ่านมาของพวกเขาเสียเงินไปกับการแจกเกมฟรีใน Epic Games Store ทั้งสิ้น 2,407 ล้านดอลลาร์ (ราว 8 หมื่นล้านบาท) แต่กลับได้เงินคืนมาจากผู้ใช้งานจำนวน 965 ล้านดอลลาร์ (ราว 3.2 หมื่นล้านบาท) ซึ่งคิดง่ายๆ ฝั่ง Epic Games Store  ขาดทุนในปีที่ผ่านมาสูงถึง 1,442  ล้านดอลลาร์ (ราว 4.8 หมื่นล้านบาท) เลยทีเดียว




แต่เรามีกรณีศึกษาที่คล้ายกันจากการแข่งขันกันระหว่าง Shopee และ Lazada ที่เป็นแบรนด์ e-commerce สองยักษ์ใหญ่ในเอเชีย โดยมีรายงานจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกมาว่า ในปี 2562 Shopee ขาดทุนกว่า 4,745.7 ล้านบาท

ส่วน Lazada ขาดทุน 3,707.3 ล้านบาท ซึ่งหากนับตั้งแต่ปี 2560 จนถึง 2562 แล้ว Shopee ขาดทุนเป็นเงินรวมถึง 10,263.8 ล้านบาท ด้าน Lazada ขาดทุนรวมกัน 6,920.7 ล้านบาท




ไม่ว่าจะทาง Shopee หรือ Lazada ทั้งสองแพลตฟอร์มต่างใช้เงินลงไปกับการโฆษณาเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ที่ Shopee ทำได้ดีกว่าคือการที่พวกเขาเข้าเป็นพันธมิตรกับผู้ค่าส่งในระดับท้องถิ่น ทำให้มีสินค้าที่หลากหลาย และทางเลือกที่มากกว่า 


นอกจากนี้ทาง Shopee ยังเลือกจ้างดาราหรือศิลปินที่ได้รับความนิยมแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศเพื่อเจาะฐานลูกค้าโดยเฉพาะอีกด้วย นี่จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ Shopee จะมีตัวเลขขาดทุนที่สูงกว่า Lazada


อย่างไรก็ตาม การยอมขาดทุนของ Shopee นั้นได้ผลตอบแทนคืนมาแล้ว ด้วยปริมาณผู้ใช้งานในไทยที่เพิ่มขึ้นในปี 2563 พุ่งสูงถึงไป 50.09 ล้านบัญชี ในขณะที่ Lazada มีเพียง 36.67 ล้านบัญชีเท่านั้น ซึ่งนั่นช่วยให้ Shopee ทำเงินไปได้ถึง 6.2 ล้านดอลลาาร์ (ประมาณ 205,902,000 บาท) ในหลายประเทศทั่วโลก คิดเป็นการเติบโตเพิ่มขึ้น 74.3% จากเมื่อปี 2562


ปริมาณบัญชีผู้ใช้ของ Lazada

ปริมาณบัญชีผู้ใช้ของ Shopee




ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า กลยุทธ์ของทาง Epic Games Store ละม้ายคล้ายคลึงกับ Shopee อย่างมากมาก โดยเฉพาะกลยุทธ์แจกฟรีเพื่อขยายฐานลูกค้า โดย Epic Games Store ใช้เกมแจกฟรี เป็นตัวล่อให้ผู้ใช้งานเข้ามาลองสัมผัสร้านค้าของพวกเขามากขึ้น ด้าน Shopee ก็เป็นการแจกโค้ดส่วนลดหรือโค้ดส่งฟรี เพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ หรือดึงดูดคนมาจากแอปคู่แข่งอย่าง Lazada


หรือจะเป็นกลยุทธ์ เอาใจผู้ผลิต ผู้ขายสินค้าบนแพลตฟอร์มของตัวเอง

ซึ่งทาง Epic Games Store ให้ส่วนแบ่งกับทางผู้พัฒนาเกมมากกว่า Steam และยังทำดีลพิเศษกับผู้พัฒนาบางเจ้า เพื่อให้ได้เกม Timed Exclusive มาขายบนร้านค้าของตัวเองอีกด้วย เราจะเห็นเกมชื่อดังอย่าง  Metro: Exodus, Assassin's Creed: Valhalla, หรือ Kena: Bridge of Spirits ขายอยู่บนเฉพาะ Epic Games Store อยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ปล่อยให้แฟน Steam นั่งดูคนอื่นเล่นไปอย่างเหงาๆ

ส่วน Shopee ก็ได้ใช้วิธีการที่คล้ายกัน นั่นคือการเป็นพันธมิตรกับผู้ค้ารายย่อยในระดับท้องถิ่น เพื่อเพิ่มสินค้า และตัวเลือกให้มากที่สุด ยิ่งมีสินค้าให้เลือกมาก คนซื้อก็จะถูกดึงดูดให้ติดอยู่กับแพลตฟอร์มนั้น ๆ นานยิ่งขึ้น 


ไม่ว่าจะเป็นทาง Epic Games Store หรือ Shopee ต่างยอมขาดทุนในตอนแรก เพื่อซื้อใจคนให้เข้ามาสัมผัสกับแพลตฟอร์มของพวกเขา แน่นอนว่าการท้าชนกับยักษ์ใหญ่ที่อยู่ในวงการมาก่อนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่พวกเขาก็เห็นลู่ทางที่จะพอต่อสู้กลับได้บ้าง ซึ่งผลลัพธ์เริ่มออกมาในทางที่ดีแล้ว ทั้งนี้ทาง Epic Games Store คาดว่า พวกเขาจะยังคงไม่มีกำไรต่อไปจนถึงปี 2027 


อ้างอิง:


https://workpointtoday.com/ecommerce-accumulated-loss/


https://blog.splitdragon.com/lazada-vs-shopee-performance-whos-winning-in-asia/#Lazadas_active_user_base 


https://www.pcgamer.com/epic-has-sunk-dollar500m-into-the-epic-games-store-doesnt-expect-to-make-a-profit-until-2027/


https://www.epicgames.com/store/en-US/news/epic-games-store-2020-year-in-review  


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] การตลาดสไตล์ Epic จะรุ่งหรือร่วง?
01/11/2021

Epic Games Store เริ่มเปิดให้บริการในวันที่ 6 ธันวาคม 2018 แน่นอนว่า ร้านค้าเกมนี้มีผู้พัฒนาเป็น Epic Games ตามชื่อของมันเลย ซึ่งหากพูดถึงความสำเร็จของ Epic Games นั้น คงหนีไม่พ้นเกมสุดฮิตเข้าถึงง่ายทุกเพศทุกวัยอย่าง Fortnite (ที่เพิ่งโดนปิดในจีนไปเร็วๆ นี้) และ Engine ที่นักพัฒนาเกมส่วนใหญ่เลือกใช้กันอย่าง Unreal Engine อีกด้วย ซึ่งเอาเข้าจริงแค่สินค้าสองอย่างนี้ก็เพียงพอจะทำให้ Epic Games กลายเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จได้ไม่น้อยแล้ว


ทว่าแค่นั้นยังไม่พอที่จะทำให้ Epic Games หยุดกอบโกยเงินเข้าบริษัท พวกเขาได้เลือกตัดสินใจเปิดร้านค้าเกมเป็นของตัวเอง โดยโจทย์ใหญ่ที่พวกเขาต้องเจอคือเจ้าตลาดที่แข็งแกร่งที่สุดอย่าง Steam ที่เปิดให้บริการเกมเมอร์มากว่า 18 ปี ซึ่งทาง Epic Games ได้ใช้การตลาดแบบหลุดโลกเข้าสู้ นั่นคือการแจกเกมฟรีเพื่อขยายฐานผู้ใช้งานบนร้านค้าของพวกเขา นอกจากนี้ยังมีการต่อรองกับผู้พัฒนาเกมเพื่อให้เกมขายเฉพาะบน Epic Games Store เป็นแบบ Exclusive Time (เมื่อครบระยะเวลาหนึ่ง เกมที่ขายเฉพาะบน Epic Games Store จะสามารถลงขายบนแพลตฟอร์มอื่นได้) หรือการที่มีอัตราส่วนแบ่งให้กับทางผู้พัฒนามากถึง 88% ต่างจาก Steam ที่ให้ทางผู้พัฒนาเพียง 70% เท่านั้น


หากมองในมุมผู้บริโภค นโยบายแบบนี้ถือว่าไม่เลวเลย ได้ทั้งเกมฟรี แถมยังมีเงินส่วนแบ่งเข้าสู่ผู้พัฒนาเกมที่เราชอบมากขึ้น แต่หากเรามองในมุมของ Epic Games การตลาดแบบนี้มันได้ผลจริง ๆ หรือ? วันนี้จึงอยากชวนทุกคนมาวิเคราะห์ข้อมูลยอดขายของบริษัท Epic Games กันว่าโมเดลธุรกิจ "แจกไปก่อน ค่อยเอาทุนคืนทีหลัง" นี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่?!


(รูป) 


จากข้อมูลอย่างเป็นทางการที่ทาง Epic Games ได้ออกมาเปิดเผยเอง ผลประกอบการในสิ้นปี 2020 ที่ผ่านมาของพวกเขาเสียเงินไปกับการแจกเกมฟรีใน Epic Games Store ทั้งสิ้น 2,407 ล้านดอลลาร์ (ราว 8 หมื่นล้านบาท) แต่กลับได้เงินคืนมาจากผู้ใช้งานจำนวน 965 ล้านดอลลาร์ (ราว 3.2 หมื่นล้านบาท) ซึ่งคิดง่ายๆ ฝั่ง Epic Games Store  ขาดทุนในปีที่ผ่านมาสูงถึง 1,442  ล้านดอลลาร์ (ราว 4.8 หมื่นล้านบาท) เลยทีเดียว




แต่เรามีกรณีศึกษาที่คล้ายกันจากการแข่งขันกันระหว่าง Shopee และ Lazada ที่เป็นแบรนด์ e-commerce สองยักษ์ใหญ่ในเอเชีย โดยมีรายงานจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าออกมาว่า ในปี 2562 Shopee ขาดทุนกว่า 4,745.7 ล้านบาท

ส่วน Lazada ขาดทุน 3,707.3 ล้านบาท ซึ่งหากนับตั้งแต่ปี 2560 จนถึง 2562 แล้ว Shopee ขาดทุนเป็นเงินรวมถึง 10,263.8 ล้านบาท ด้าน Lazada ขาดทุนรวมกัน 6,920.7 ล้านบาท




ไม่ว่าจะทาง Shopee หรือ Lazada ทั้งสองแพลตฟอร์มต่างใช้เงินลงไปกับการโฆษณาเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ที่ Shopee ทำได้ดีกว่าคือการที่พวกเขาเข้าเป็นพันธมิตรกับผู้ค่าส่งในระดับท้องถิ่น ทำให้มีสินค้าที่หลากหลาย และทางเลือกที่มากกว่า 


นอกจากนี้ทาง Shopee ยังเลือกจ้างดาราหรือศิลปินที่ได้รับความนิยมแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศเพื่อเจาะฐานลูกค้าโดยเฉพาะอีกด้วย นี่จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ Shopee จะมีตัวเลขขาดทุนที่สูงกว่า Lazada


อย่างไรก็ตาม การยอมขาดทุนของ Shopee นั้นได้ผลตอบแทนคืนมาแล้ว ด้วยปริมาณผู้ใช้งานในไทยที่เพิ่มขึ้นในปี 2563 พุ่งสูงถึงไป 50.09 ล้านบัญชี ในขณะที่ Lazada มีเพียง 36.67 ล้านบัญชีเท่านั้น ซึ่งนั่นช่วยให้ Shopee ทำเงินไปได้ถึง 6.2 ล้านดอลลาาร์ (ประมาณ 205,902,000 บาท) ในหลายประเทศทั่วโลก คิดเป็นการเติบโตเพิ่มขึ้น 74.3% จากเมื่อปี 2562


ปริมาณบัญชีผู้ใช้ของ Lazada

ปริมาณบัญชีผู้ใช้ของ Shopee




ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่า กลยุทธ์ของทาง Epic Games Store ละม้ายคล้ายคลึงกับ Shopee อย่างมากมาก โดยเฉพาะกลยุทธ์แจกฟรีเพื่อขยายฐานลูกค้า โดย Epic Games Store ใช้เกมแจกฟรี เป็นตัวล่อให้ผู้ใช้งานเข้ามาลองสัมผัสร้านค้าของพวกเขามากขึ้น ด้าน Shopee ก็เป็นการแจกโค้ดส่วนลดหรือโค้ดส่งฟรี เพื่อดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ หรือดึงดูดคนมาจากแอปคู่แข่งอย่าง Lazada


หรือจะเป็นกลยุทธ์ เอาใจผู้ผลิต ผู้ขายสินค้าบนแพลตฟอร์มของตัวเอง

ซึ่งทาง Epic Games Store ให้ส่วนแบ่งกับทางผู้พัฒนาเกมมากกว่า Steam และยังทำดีลพิเศษกับผู้พัฒนาบางเจ้า เพื่อให้ได้เกม Timed Exclusive มาขายบนร้านค้าของตัวเองอีกด้วย เราจะเห็นเกมชื่อดังอย่าง  Metro: Exodus, Assassin's Creed: Valhalla, หรือ Kena: Bridge of Spirits ขายอยู่บนเฉพาะ Epic Games Store อยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ปล่อยให้แฟน Steam นั่งดูคนอื่นเล่นไปอย่างเหงาๆ

ส่วน Shopee ก็ได้ใช้วิธีการที่คล้ายกัน นั่นคือการเป็นพันธมิตรกับผู้ค้ารายย่อยในระดับท้องถิ่น เพื่อเพิ่มสินค้า และตัวเลือกให้มากที่สุด ยิ่งมีสินค้าให้เลือกมาก คนซื้อก็จะถูกดึงดูดให้ติดอยู่กับแพลตฟอร์มนั้น ๆ นานยิ่งขึ้น 


ไม่ว่าจะเป็นทาง Epic Games Store หรือ Shopee ต่างยอมขาดทุนในตอนแรก เพื่อซื้อใจคนให้เข้ามาสัมผัสกับแพลตฟอร์มของพวกเขา แน่นอนว่าการท้าชนกับยักษ์ใหญ่ที่อยู่ในวงการมาก่อนไม่ใช่เรื่องง่าย แต่พวกเขาก็เห็นลู่ทางที่จะพอต่อสู้กลับได้บ้าง ซึ่งผลลัพธ์เริ่มออกมาในทางที่ดีแล้ว ทั้งนี้ทาง Epic Games Store คาดว่า พวกเขาจะยังคงไม่มีกำไรต่อไปจนถึงปี 2027 


อ้างอิง:


https://workpointtoday.com/ecommerce-accumulated-loss/


https://blog.splitdragon.com/lazada-vs-shopee-performance-whos-winning-in-asia/#Lazadas_active_user_base 


https://www.pcgamer.com/epic-has-sunk-dollar500m-into-the-epic-games-store-doesnt-expect-to-make-a-profit-until-2027/


https://www.epicgames.com/store/en-US/news/epic-games-store-2020-year-in-review  


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header