GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
รีวิวเกม The Banner Saga 3 (PC, Steam) - จุดจบแห่งการเดินทาง!
ลงวันที่ 31/07/2018

แนวเกม: Turn-based Tactical RPG

ผู้พัฒนา: Stoic

แพลตฟอร์ม: Nintendo Switch, PlayStation 4, Xbox One, Windows + Mac (Steam)

(รีวิวบน PC - ขอบคุณโค้ดรีวิวจากผู้พัฒนา Stoic ด้วยจ้า)

____________________________________________________________________________

ข้อดี


  • เกมเพลย์สนุก ท้าทาย

  • เนื้อเรื่องแฟนตาซีน่าติดตาม สามารถเปลี่ยนตามทางเลือกผู้เล่น (ถ้าเคยเล่นภาคก่อนๆ ทางเลือกในเกมนั้นๆ จะมีผลด้วย)

  • ภาพวาดมือดูสบายตา ฉากหลังสวย

  • ดนตรีฟังเพลิน


ข้อเสีย

  • U.I. ไม่สวย เหมือนเกมเล่นผ่าน Browser

  • เมนูหลายๆ อย่างอธิบายไม่ละเอียด ข้อมูลอ่านยาก

  • ระบบหลายๆ อย่างค่อนข้างซับซ้อนและเกมอธิบายได้ไม่ค่อยดีนัก

  • เนื้อเรื่องต่อจากภาคก่อนๆ ถ้าไม่เคยเล่นก็ไม่รู้เรื่อง






ดำเนินมาถึงภาค 3 กันแล้วกับซีรี่ย์เกมอินดี้แนว RPG วางแผน The Banner Saga จากค่ายพัฒนา Stoic

สำหรับ The Banner Saga 3 ก็ยังคงเป็นโปรเจ็ค Kickstarter อีกตามเคย โดยคราวนี้ระดมทุนสร้างไปได้ทั้งหมด 4 แสนกว่าเหรียญ (มากกว่าเป้าหมายที่ผู้พัฒนาตั้งไว้ที่ 2 แสนเหรียญไปถึงสองเท่า) แต่แม้จะไม่ใช่เกมที่ทุนสร้างสูง The Banner Saga 3 ก็ยังคงเป็นเกมที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพทั้งในด้านเกมเพลย์ที่ท้ายทาย และภาพกราฟิคที่วาดด้วยมือทั้งหมดตั้งแต่ตัวละครไปถึงฉากหลังที่เหมือนภาพวาดสีน้ำมัน ช่วยสื่ออารมณ์และบรรยากาศของเกมได้เป็นอย่างดีทีเดียว บางองค์ประกอบของเกมอาจจะสะท้อนความทุนต่ำไปบ้าง แต่ถ้าวัดกันที่เกมเพลย์และเนื้อเรื่องแล้ว The Banner Saga 3 ก็ยังถือเป็นเกมที่คุ้มค่าแก่การเล่นมากๆ เกมนึงเลย

แต่ในขณะเดียวกันเกมก็คาดหวังให้ผู้เล่นเคยเล่นภาคก่อนๆ มาแล้ว เพราะเนื้อเรื่องแทบจะเริ่มต่อจากภาคสองทันที แถมเกมยังไม่ค่อยมีตัวช่วยในการเล่นมากนัก ทำให้ผู้เล่นที่ไม่คุ้นเคยกับระบบต่างๆ ต้องลองผิดลองถูกเองบ้างในการต่อสู้และอัพเกรดตัวละคร



สำหรับเนื้อเรื่องโดยคร่าวๆ ของเกม The Banner Saga นั้นเกี่ยวกับการเดินทางของคาราวานชนเผ่าผู้อพยพ ที่ต้องออกเดินทางเพื่อหนีเหล่าปีศาจ Dredge ที่บุกโจมตีดินแดนมนุษย์ โดยเรื่องราวในภาค 3 ซึ่งเป็นภาคสุดท้ายนั้นแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเกี่ยวกับเรื่องราวของคาราวานเมื่อเดินทางมาถึงเมืองหลวงของดินแดนหรือ Aberrang และอีกส่วนติดตามกลุ่มนักรบที่ติดตามเหล่านักเวทย์ Juno และ Eyvind เพื่อยับยั้งการคืบคลานของความมืดก่อนที่โลกจะถูกกลืนกิน

อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะงงว่าอะไรคืออะไร นั่นเพราะเกมแทบจะดำเนินเรื่องต่อจากถาคก่อนๆ ทันทีตั้งแต่เริ่มเกมเลย นอกจากหนัง Recap สั้นๆ ที่เราสามารถกดดูได้จากเมนูหลัก (ซึ่งก็แทบจะไม่ได้เล่าอะไรเลย) เกมไม่มีการเล่าย้อนถึงเหตุการณ์ต่างๆ เลย

แต่ถึงอย่างนั้นคนที่เคยเล่นภาคก่อนๆ มาน่าจะรู้อยู่แล้วว่าเนื้อเรื่องของเกมเขียนมาค่อนข้างดีทีเดียว โดยทีมพัฒนา Stoic เองก็มีดีกรีเป็นถึงอดีตผู้พัฒนามือฉมังจาก Bioware ยุคเก่าทั้งนั้น ทำให้เนื้อเรื่องและการเชื่อมทางเลือกผู้เล่นจากภาคสู่ภาคทำได้อย่างเป็นธรรมชาติมากๆ

องค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้เนื้อเรื่องน่าติดตามคือฉากอันสวยงามของเกมที่วาดด้วยมือทั้งหมด ที่ช่วยเสริมบรรยากาศน่าสิ้นหวังของเกมได้เป็นอย่างดี แม้ว่ากราฟิคในด้าน U.I. และเมนูของเกมอาจจะทำออกมาได้ค่อนข้างน่าเบื่อ แต่ฉากภาพวาดใหญ่ๆ หรือฉากคัตซีนที่เป็นภาพการ์ตูนก็ยังช่วยให้มองข้ามจุดด้อยในด้านการนำเสนอตรงนี้ไปได้พอสมควรเหมือนกัน



สำหรับเกมเพลย์ของ The Banner Saga 3 สามารถแบ่งเป็นสองส่วนหลักๆ ด้วยกัน คือการเดินทางในคาราวานและการต่อสู้ โดยการเดินทางในคาราวานจะเป็นช่วงที่เราดำเนินเนื้อเรื่องต่างๆ และบริหารทรัพยากรเช่นอาหารและจำนวนชาวบ้านหรือนักรบในคาราวาน โดยทรัพยากรเหล่านี้จะสามารถได้มาหรือเสียไปขึ้นอยู่กับทางเลือกของผู้เล่นต่อเหตุการณ์ต่างๆ ในเนื้อเรื่อง การบริหารเสบียงหรือนักรบให้เพียงพอต่อความต้องการของเรานั้นเป็นสิ่งสำคัญเพราะถ้าบริหารไม่ดีอาจจะทำให้ตัวละครในปาร์ตี้ผู้เล่นบางตัวไม่พอใจจนหนีไป หรือกระทั่งก่อจลาจลได้เลยทีเดียว แถมยังมีผลต่อตอนจบของเกมอีกด้วย จึงน่าเสียดายที่บางทีระบบดูจะขึ้นอยู่กับการเสี่ยงดวงบ่อยไปหน่อย จนรู้สึกว่าเราไม่ได้สามารถควบคุมมันได้จริงๆ เวลาได้หรือเสียทรัพยากรไป

การเดินทางในคาราวานจะมีเหตุการณ์ต่างๆ มาขั้นเป็นช่วงๆ ซึ่งบางเหตุการณ์อาจจะนำไปสู่การต่อสู้หรือไม่ขึ้นอยู่กับทางเลือกของผู้เล่นด้วย เลือกผิดก็อาจจะต้องต่อสู้กับศัตรูกลุ่มใหญ่ หรืออาจจะได้ตัวละครใหม่มาใช้ในการต่อสู้ถ้าเลือกถูก

ข้อดีของระบบนี้อยู่ตรงที่ทางเลือกของผู้เล่นจากภาคก่อนๆ จะส่งผลโดยตรงมายังทางเลือกในภาคนี้ ตัวละครที่เราเคยบาดหมางด้วยในภาคก่อนๆ อาจจะกลับมาแก้แค้น หรืออาจจะมีเพื่อนร่วมศึกที่เก็บความรู้สึกไม่พอใจมาตลอดจากทางเลือกของเรา ซึ่งเกมสามารถสร้างความรู้สึกเจ็บใจเวลาเสียเพื่อนที่ร่วมรบกับเรามาตั้งแต่ภาคแรกได้ดีมากๆ ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่เคยเล่นเกมภาคอื่นๆ มาอาจจะไม่อินกับองค์ประกอบนี้ของเกมนัก



สำหรับระบบการต่อสู้ The Banner Saga 3 เป็นเกมแนว Turn-based RPG ที่มีระบบค่อนข้างลึก ผู้เล่นที่คุ้นเคยกับเกมอย่าง Final Fantasy Tactics น่าจะเข้าใจระบบการเดินตัวละครไปตามตารางสีเหลี่ยมเพื่อโจมตีหรือใช้เวทย์มนต์อยู่แล้ว แต่เกมก็มีระบบต่างๆ เพิ่มเข้ามาที่ทำให้ท้าทายความคิดการวางแผนของผู้เล่นตลอดเวลาเช่นกัน เรียกได้ว่าบุกเข้าไปฟันมั่วๆ จะผ่านเกมนี้ยากมากๆ

ระบบเด่นอย่างแรกคือระบบสองหลอดเลือด ประกอบไปด้วย Armor และ Strength โดยเกมจะบังคับให้ผู้เล่นต้องโจมตีหลอด Armor หรือเกราะของศัตรูซะก่อนจึงจะสามารถโจมตีเลือดหรือ Strength ของศัตรูได้ ซึ่งผู้เล่นจะต้องเลือกตัวละครให้เหมาะกับสถานการณ์ บางตัวอาจจะถนัดตี Armor ในขณะที่บางตัวแทบจะทำอะไรไม่ได้เลยเมื่อเจอศัตรูที่มี Armor สูงๆ นอกจากนี้ เกมยังคำนวนดาเมจจากค่า Strength ของตัวละครด้วย หมายความว่ายิ่งตัวละครใกล้ตายก็จะยิ่งตีเบาลงเรื่อยๆ ระบบนี้ทำให้ผู้เล่นต้องบริหารตำแหน่งของตัวละครทั้งของตัวเองและศัตรู เพื่อให้ตัวละครของเราสามารถเข้าถึงศัตรูได้ถูกตัว และกันไม่ให้ศัตรูเข้ามาโจมตีตัวละครเกราะบางของเราเช่นกัน



เช่นเดียวกับในเกม RPG ทั่วๆ ไป ตัวละครต่างๆ ของเราจะได้รับค่าประสบการณ์จากการฆ่าศัตรู ซึ่งพอเก็บถึงจุดนึงจะสามารถใช้ค่าประสบการณ์หรือ Renown ในการอัพเลเวลตัวละครได้ โดนการอัพเลเวลแต่ละครั้งจะได้รับค่า Stat 2 หน่วยเพื่อนำมาอัพเกรด Perk ต่างๆ ขึ้นอยู่กับค่า Stat ที่เราเลือก เช่น Perk ที่ทำให้เรากันความเสียหายต่อ Armor ได้สองหน่วยเป็นต้น

เป็นระบบที่พอเล่นจริงๆ ก็ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งเกมอธิบายระบบได้ไม่ค่อยดีนัก ผู้เล่นที่ไม่เคยเล่นเกมมาก่อน (หรือกระทั่งคนที่เคยเล่นภาคก่อนมาเมื่อนานมากๆ แล้วอย่างผู้เขียน) จึงอาจจะงงได้ง่ายๆ ว่าควรอัพอะไรก่อนบ้าง แถมค่า Perk เหล่านี้ยังมีผลสำคัญมากๆ ในการต่อสู้ ทำให้การเล่นช่วงแรกๆ อาจจะมีความยากกว่าที่ควรถ้าอัพ Perk ไม่ถูก



ตัวละครในเกมนี้จะมีคลาสอาชีพที่แบ่งแบบง่ายๆ ได้จากอาวุธที่ใช้ ตัวละครที่มีอาวุธเหมือนกันก็มักจะมีสกิลเดียวกัน แต่ก็จะมีตัวละครส่วนน้อยที่ดันถืออาวุธแบบนึงแต่กลับมีหน้าที่ไม่เหมือนตัวละครตัวอื่น เช่นไวกิ้งถือขวาน Oli ที่เป็นตัวละครระยะใกล แม้จะถือขวานและโล่ห์เหมือนตัวละครอื่นๆ อีกหลายตัวที่โจมตีระยะประชิด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถรู้ได้จนลองใช้ตัวละครจริงๆ ทำให้การต่อสู้บางครั้งรู้สึกเหมือนถูกขัดขาตั้งแต่ยังไม่เริ่มเลย ซึ่งจุดนี้อาจจะไม่ได้เป็นปัญหาเท่าไหร่สำหรับผู้ที่รู้จักตัวละครอยู่แล้วจากภาคเก่า

นอกจากนี้ เกมยังมีระบบไอเทมแบบง่ายๆ โดยตัวละครแต่ละตัวจะสามารถถือไอเทมได้คนละหนึ่งอย่างเพื่อรับโบนัสต่างๆ เช่นเพิ่มพลังป้องกัน/โจมตี หรือเพิ่มเลเวลของ Perk ต่างๆ เป็นต้น ระบบนี้จริงๆ แล้วก็ส่งผลต่อการต่อสู้เยอะมาก แต่เกมกลับอธิบายค่าพลังโบนัสจากอาวุธได้ไม่ละเอียดตามเคย ทำให้ผู้เล่นต้องลองผิดลองถูกเองซักหน่อยกว่าจะรู้ว่าไอเทมไหนควรให้ตัวไหนถือ



เกม The Banner Saga 3 เป็นเกมที่มีเกมเพลย์และเนื้อเรื่องดีจริงๆ แต่ก็เป็นเกมที่ต้องเล่นภาคก่อนๆ มาก่อนเท่านั้นจึงจะสามารถสนุกกับมันได้ คนที่เคยเล่นเกมภาคก่อนๆ มาไม่ควรพลาดตอนจบของเนื้อเรื่องนี้แน่นอน ส่วนคนที่ไม่เคยเล่นมาก่อนแต่สนใจเกม RPG แนววางแผนก็ยังอาจจะพอหาความสนุกได้บ้างถ้าใจเย็นพอจะศึกษาระบบต่างๆ แต่ทางที่ดีไปหาภาคเก่าๆ มาเล่นก่อนดีกว่าจ้า

สรุปคะแนน: 7.5/10 (สำหรับคนทั่วไป ถ้าเคยเล่นภาคก่อนๆ ให้ 8.5/10)
[penci_review id="2681"]

7
ข้อดี
ข้อเสีย
7
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
รีวิวเกม The Banner Saga 3 (PC, Steam) - จุดจบแห่งการเดินทาง!
31/07/2018

แนวเกม: Turn-based Tactical RPG

ผู้พัฒนา: Stoic

แพลตฟอร์ม: Nintendo Switch, PlayStation 4, Xbox One, Windows + Mac (Steam)

(รีวิวบน PC - ขอบคุณโค้ดรีวิวจากผู้พัฒนา Stoic ด้วยจ้า)

____________________________________________________________________________

ข้อดี


  • เกมเพลย์สนุก ท้าทาย

  • เนื้อเรื่องแฟนตาซีน่าติดตาม สามารถเปลี่ยนตามทางเลือกผู้เล่น (ถ้าเคยเล่นภาคก่อนๆ ทางเลือกในเกมนั้นๆ จะมีผลด้วย)

  • ภาพวาดมือดูสบายตา ฉากหลังสวย

  • ดนตรีฟังเพลิน


ข้อเสีย

  • U.I. ไม่สวย เหมือนเกมเล่นผ่าน Browser

  • เมนูหลายๆ อย่างอธิบายไม่ละเอียด ข้อมูลอ่านยาก

  • ระบบหลายๆ อย่างค่อนข้างซับซ้อนและเกมอธิบายได้ไม่ค่อยดีนัก

  • เนื้อเรื่องต่อจากภาคก่อนๆ ถ้าไม่เคยเล่นก็ไม่รู้เรื่อง






ดำเนินมาถึงภาค 3 กันแล้วกับซีรี่ย์เกมอินดี้แนว RPG วางแผน The Banner Saga จากค่ายพัฒนา Stoic

สำหรับ The Banner Saga 3 ก็ยังคงเป็นโปรเจ็ค Kickstarter อีกตามเคย โดยคราวนี้ระดมทุนสร้างไปได้ทั้งหมด 4 แสนกว่าเหรียญ (มากกว่าเป้าหมายที่ผู้พัฒนาตั้งไว้ที่ 2 แสนเหรียญไปถึงสองเท่า) แต่แม้จะไม่ใช่เกมที่ทุนสร้างสูง The Banner Saga 3 ก็ยังคงเป็นเกมที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพทั้งในด้านเกมเพลย์ที่ท้ายทาย และภาพกราฟิคที่วาดด้วยมือทั้งหมดตั้งแต่ตัวละครไปถึงฉากหลังที่เหมือนภาพวาดสีน้ำมัน ช่วยสื่ออารมณ์และบรรยากาศของเกมได้เป็นอย่างดีทีเดียว บางองค์ประกอบของเกมอาจจะสะท้อนความทุนต่ำไปบ้าง แต่ถ้าวัดกันที่เกมเพลย์และเนื้อเรื่องแล้ว The Banner Saga 3 ก็ยังถือเป็นเกมที่คุ้มค่าแก่การเล่นมากๆ เกมนึงเลย

แต่ในขณะเดียวกันเกมก็คาดหวังให้ผู้เล่นเคยเล่นภาคก่อนๆ มาแล้ว เพราะเนื้อเรื่องแทบจะเริ่มต่อจากภาคสองทันที แถมเกมยังไม่ค่อยมีตัวช่วยในการเล่นมากนัก ทำให้ผู้เล่นที่ไม่คุ้นเคยกับระบบต่างๆ ต้องลองผิดลองถูกเองบ้างในการต่อสู้และอัพเกรดตัวละคร



สำหรับเนื้อเรื่องโดยคร่าวๆ ของเกม The Banner Saga นั้นเกี่ยวกับการเดินทางของคาราวานชนเผ่าผู้อพยพ ที่ต้องออกเดินทางเพื่อหนีเหล่าปีศาจ Dredge ที่บุกโจมตีดินแดนมนุษย์ โดยเรื่องราวในภาค 3 ซึ่งเป็นภาคสุดท้ายนั้นแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกเกี่ยวกับเรื่องราวของคาราวานเมื่อเดินทางมาถึงเมืองหลวงของดินแดนหรือ Aberrang และอีกส่วนติดตามกลุ่มนักรบที่ติดตามเหล่านักเวทย์ Juno และ Eyvind เพื่อยับยั้งการคืบคลานของความมืดก่อนที่โลกจะถูกกลืนกิน

อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะงงว่าอะไรคืออะไร นั่นเพราะเกมแทบจะดำเนินเรื่องต่อจากถาคก่อนๆ ทันทีตั้งแต่เริ่มเกมเลย นอกจากหนัง Recap สั้นๆ ที่เราสามารถกดดูได้จากเมนูหลัก (ซึ่งก็แทบจะไม่ได้เล่าอะไรเลย) เกมไม่มีการเล่าย้อนถึงเหตุการณ์ต่างๆ เลย

แต่ถึงอย่างนั้นคนที่เคยเล่นภาคก่อนๆ มาน่าจะรู้อยู่แล้วว่าเนื้อเรื่องของเกมเขียนมาค่อนข้างดีทีเดียว โดยทีมพัฒนา Stoic เองก็มีดีกรีเป็นถึงอดีตผู้พัฒนามือฉมังจาก Bioware ยุคเก่าทั้งนั้น ทำให้เนื้อเรื่องและการเชื่อมทางเลือกผู้เล่นจากภาคสู่ภาคทำได้อย่างเป็นธรรมชาติมากๆ

องค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้เนื้อเรื่องน่าติดตามคือฉากอันสวยงามของเกมที่วาดด้วยมือทั้งหมด ที่ช่วยเสริมบรรยากาศน่าสิ้นหวังของเกมได้เป็นอย่างดี แม้ว่ากราฟิคในด้าน U.I. และเมนูของเกมอาจจะทำออกมาได้ค่อนข้างน่าเบื่อ แต่ฉากภาพวาดใหญ่ๆ หรือฉากคัตซีนที่เป็นภาพการ์ตูนก็ยังช่วยให้มองข้ามจุดด้อยในด้านการนำเสนอตรงนี้ไปได้พอสมควรเหมือนกัน



สำหรับเกมเพลย์ของ The Banner Saga 3 สามารถแบ่งเป็นสองส่วนหลักๆ ด้วยกัน คือการเดินทางในคาราวานและการต่อสู้ โดยการเดินทางในคาราวานจะเป็นช่วงที่เราดำเนินเนื้อเรื่องต่างๆ และบริหารทรัพยากรเช่นอาหารและจำนวนชาวบ้านหรือนักรบในคาราวาน โดยทรัพยากรเหล่านี้จะสามารถได้มาหรือเสียไปขึ้นอยู่กับทางเลือกของผู้เล่นต่อเหตุการณ์ต่างๆ ในเนื้อเรื่อง การบริหารเสบียงหรือนักรบให้เพียงพอต่อความต้องการของเรานั้นเป็นสิ่งสำคัญเพราะถ้าบริหารไม่ดีอาจจะทำให้ตัวละครในปาร์ตี้ผู้เล่นบางตัวไม่พอใจจนหนีไป หรือกระทั่งก่อจลาจลได้เลยทีเดียว แถมยังมีผลต่อตอนจบของเกมอีกด้วย จึงน่าเสียดายที่บางทีระบบดูจะขึ้นอยู่กับการเสี่ยงดวงบ่อยไปหน่อย จนรู้สึกว่าเราไม่ได้สามารถควบคุมมันได้จริงๆ เวลาได้หรือเสียทรัพยากรไป

การเดินทางในคาราวานจะมีเหตุการณ์ต่างๆ มาขั้นเป็นช่วงๆ ซึ่งบางเหตุการณ์อาจจะนำไปสู่การต่อสู้หรือไม่ขึ้นอยู่กับทางเลือกของผู้เล่นด้วย เลือกผิดก็อาจจะต้องต่อสู้กับศัตรูกลุ่มใหญ่ หรืออาจจะได้ตัวละครใหม่มาใช้ในการต่อสู้ถ้าเลือกถูก

ข้อดีของระบบนี้อยู่ตรงที่ทางเลือกของผู้เล่นจากภาคก่อนๆ จะส่งผลโดยตรงมายังทางเลือกในภาคนี้ ตัวละครที่เราเคยบาดหมางด้วยในภาคก่อนๆ อาจจะกลับมาแก้แค้น หรืออาจจะมีเพื่อนร่วมศึกที่เก็บความรู้สึกไม่พอใจมาตลอดจากทางเลือกของเรา ซึ่งเกมสามารถสร้างความรู้สึกเจ็บใจเวลาเสียเพื่อนที่ร่วมรบกับเรามาตั้งแต่ภาคแรกได้ดีมากๆ ทั้งนี้ ผู้ที่ไม่เคยเล่นเกมภาคอื่นๆ มาอาจจะไม่อินกับองค์ประกอบนี้ของเกมนัก



สำหรับระบบการต่อสู้ The Banner Saga 3 เป็นเกมแนว Turn-based RPG ที่มีระบบค่อนข้างลึก ผู้เล่นที่คุ้นเคยกับเกมอย่าง Final Fantasy Tactics น่าจะเข้าใจระบบการเดินตัวละครไปตามตารางสีเหลี่ยมเพื่อโจมตีหรือใช้เวทย์มนต์อยู่แล้ว แต่เกมก็มีระบบต่างๆ เพิ่มเข้ามาที่ทำให้ท้าทายความคิดการวางแผนของผู้เล่นตลอดเวลาเช่นกัน เรียกได้ว่าบุกเข้าไปฟันมั่วๆ จะผ่านเกมนี้ยากมากๆ

ระบบเด่นอย่างแรกคือระบบสองหลอดเลือด ประกอบไปด้วย Armor และ Strength โดยเกมจะบังคับให้ผู้เล่นต้องโจมตีหลอด Armor หรือเกราะของศัตรูซะก่อนจึงจะสามารถโจมตีเลือดหรือ Strength ของศัตรูได้ ซึ่งผู้เล่นจะต้องเลือกตัวละครให้เหมาะกับสถานการณ์ บางตัวอาจจะถนัดตี Armor ในขณะที่บางตัวแทบจะทำอะไรไม่ได้เลยเมื่อเจอศัตรูที่มี Armor สูงๆ นอกจากนี้ เกมยังคำนวนดาเมจจากค่า Strength ของตัวละครด้วย หมายความว่ายิ่งตัวละครใกล้ตายก็จะยิ่งตีเบาลงเรื่อยๆ ระบบนี้ทำให้ผู้เล่นต้องบริหารตำแหน่งของตัวละครทั้งของตัวเองและศัตรู เพื่อให้ตัวละครของเราสามารถเข้าถึงศัตรูได้ถูกตัว และกันไม่ให้ศัตรูเข้ามาโจมตีตัวละครเกราะบางของเราเช่นกัน



เช่นเดียวกับในเกม RPG ทั่วๆ ไป ตัวละครต่างๆ ของเราจะได้รับค่าประสบการณ์จากการฆ่าศัตรู ซึ่งพอเก็บถึงจุดนึงจะสามารถใช้ค่าประสบการณ์หรือ Renown ในการอัพเลเวลตัวละครได้ โดนการอัพเลเวลแต่ละครั้งจะได้รับค่า Stat 2 หน่วยเพื่อนำมาอัพเกรด Perk ต่างๆ ขึ้นอยู่กับค่า Stat ที่เราเลือก เช่น Perk ที่ทำให้เรากันความเสียหายต่อ Armor ได้สองหน่วยเป็นต้น

เป็นระบบที่พอเล่นจริงๆ ก็ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งเกมอธิบายระบบได้ไม่ค่อยดีนัก ผู้เล่นที่ไม่เคยเล่นเกมมาก่อน (หรือกระทั่งคนที่เคยเล่นภาคก่อนมาเมื่อนานมากๆ แล้วอย่างผู้เขียน) จึงอาจจะงงได้ง่ายๆ ว่าควรอัพอะไรก่อนบ้าง แถมค่า Perk เหล่านี้ยังมีผลสำคัญมากๆ ในการต่อสู้ ทำให้การเล่นช่วงแรกๆ อาจจะมีความยากกว่าที่ควรถ้าอัพ Perk ไม่ถูก



ตัวละครในเกมนี้จะมีคลาสอาชีพที่แบ่งแบบง่ายๆ ได้จากอาวุธที่ใช้ ตัวละครที่มีอาวุธเหมือนกันก็มักจะมีสกิลเดียวกัน แต่ก็จะมีตัวละครส่วนน้อยที่ดันถืออาวุธแบบนึงแต่กลับมีหน้าที่ไม่เหมือนตัวละครตัวอื่น เช่นไวกิ้งถือขวาน Oli ที่เป็นตัวละครระยะใกล แม้จะถือขวานและโล่ห์เหมือนตัวละครอื่นๆ อีกหลายตัวที่โจมตีระยะประชิด ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่สามารถรู้ได้จนลองใช้ตัวละครจริงๆ ทำให้การต่อสู้บางครั้งรู้สึกเหมือนถูกขัดขาตั้งแต่ยังไม่เริ่มเลย ซึ่งจุดนี้อาจจะไม่ได้เป็นปัญหาเท่าไหร่สำหรับผู้ที่รู้จักตัวละครอยู่แล้วจากภาคเก่า

นอกจากนี้ เกมยังมีระบบไอเทมแบบง่ายๆ โดยตัวละครแต่ละตัวจะสามารถถือไอเทมได้คนละหนึ่งอย่างเพื่อรับโบนัสต่างๆ เช่นเพิ่มพลังป้องกัน/โจมตี หรือเพิ่มเลเวลของ Perk ต่างๆ เป็นต้น ระบบนี้จริงๆ แล้วก็ส่งผลต่อการต่อสู้เยอะมาก แต่เกมกลับอธิบายค่าพลังโบนัสจากอาวุธได้ไม่ละเอียดตามเคย ทำให้ผู้เล่นต้องลองผิดลองถูกเองซักหน่อยกว่าจะรู้ว่าไอเทมไหนควรให้ตัวไหนถือ



เกม The Banner Saga 3 เป็นเกมที่มีเกมเพลย์และเนื้อเรื่องดีจริงๆ แต่ก็เป็นเกมที่ต้องเล่นภาคก่อนๆ มาก่อนเท่านั้นจึงจะสามารถสนุกกับมันได้ คนที่เคยเล่นเกมภาคก่อนๆ มาไม่ควรพลาดตอนจบของเนื้อเรื่องนี้แน่นอน ส่วนคนที่ไม่เคยเล่นมาก่อนแต่สนใจเกม RPG แนววางแผนก็ยังอาจจะพอหาความสนุกได้บ้างถ้าใจเย็นพอจะศึกษาระบบต่างๆ แต่ทางที่ดีไปหาภาคเก่าๆ มาเล่นก่อนดีกว่าจ้า

สรุปคะแนน: 7.5/10 (สำหรับคนทั่วไป ถ้าเคยเล่นภาคก่อนๆ ให้ 8.5/10)
[penci_review id="2681"]


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header