GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
Review: Persona 5 Royal สุดยอด JRPG ที่กลับมาขโมยใจคุณอีกครั้ง
ลงวันที่ 08/05/2020

แม้จะไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายเท่าซีรี่ส์รุ่นพี่จากแดนปลาดิบด้วยกันอย่าง Final Fantasy หรือ Dragon Quest แต่เกมซีรี่ส์ Persona ก็ถือเป็นอีกหนึ่งซีรี่ส์เก่าแก่ ที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัย PS1 แล้ว โดยเฉพาะในช่วง 5-10 ปีหลังมานี้ ที่เกม Persona เริ่มกลายเป็นเกม JRPG อันดับหนึ่งในดวงใจของใครหลายๆ คน

สำหรับผู้เขียนเอง ออกตัวก่อนเลยว่าเป็นแฟนตัวยงของเกม Persona มาตั้งแต่ที่เล่นภาค 4 ในเครื่อง PS2 เมื่อหลายปีมาแล้ว (ถ้ารวมกับภาค Persona 4 Golden ที่วางจำหน่ายในเครื่อง PSVita ผู้เขียนเล่นเกมนี้จบรวมกัน 4 รอบแล้ว) ทำให้เวลา 150 ชั่วโมงที่ใช้ในการผ่านเนื้อเรื่องเกม Persona 5 ฉบับดั้งเดิมเป็นเวลาที่แสนสุขสำหรับผู้เขียน แม้ว่าสุดท้ายแล้วจะไม่ได้ชอบเท่ากับเกม Persona 4 Golden แต่ก็ยังถือเป็นประสบการณ์ JRPG อันดับต้นๆ ในใจ ที่มอบทั้งเกมเพลย์ กราฟฟิค เนื้อเรื่อง และตัวละครที่ยอดเยี่ยม ตามมาตรฐานที่เป็นมาทุกภาคของเกม



ความหวังที่ผู้เขียนมีในใจเมื่อเริ่มเล่นเกม Persona 5 Royal คือเกมอาจจะสามารถยกระดับ Persona 5 ให้กลายเป็นเกมในดวงใจของผู้เขียนได้อีกเกม แบบเดียวกับที่ Persona 4 Golden พัฒนาประสบการณ์ของเกม Persona 4 ขึ้นไปอย่างมหาศาล โดยผลลัพธ์ที่ออกมา แม้ว่า Persona 5 Royal จะยังไม่ได้ทำให้ประสบการณ์โดยรวมของเกมต้นฉบับพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดดมากนัก แต่ก็ถือว่าเป็นฉบับปรับปรุงของเกมที่ดีเลิศอยู่แล้ว ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นไปอีกในทุกๆ ด้านเลยทีเดียว

ข้อติเดียวที่พอจะนึกออก คือการทีเกมเพิ่มตัวละครใหม่ที่มีความสำคัญมากๆ เข้ามา แต่แทบไม่แตะต้องตัวละครเหล่านั้นเลย จนถึงเนื้อเรื่องใหม่ ที่เกิดขึ้นหลังตอนจบของเกมภาคดั้งเดิมไปอีก หมายความว่าผู้ที่เคยเล่นภาคดั้งเดิมมาแล้ว และอยากสัมผัสกับเนื้อเรื่องใหม่ จำเป็นต้องเล่นเนื้อเรื่องดั้งเดิมใหม่อีกรอบซะก่อน ซึ่งแม้ว่าจะมีการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงเกมเพลย์บ้างระหว่างทาง แต่ก็ยังใช้เวลาเฉียดร้อยชั่วโมงอยู่ดี ต่อให้เนื้อเรื่องส่วนที่เพิ่มเข้ามาจะเขียนออกมาได้อย่างดี และสามารถเสริมธีมและสาส์นที่เกมพยายามจะสื่อให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นก็ตาม



แต่แม้ว่าตัวผู้เขียนเองจะชอบเกมขนาดไหน สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือเกมคงไม่ได้เหมาะกับผู้เล่นทุกคนอย่างแน่นอน หากคุณไม่ใช่คนที่สามารถนั่งอ่านเนื้อเรื่องติดๆ กันได้เป็นชั่วโมงโดยที่ไม่มีการต่อสู้เลย หรือไม่ใช่คนที่ใจเย็นพอจะศึกษารายละเอียดยิบย่อยมากมาย ที่ทำให้เกม Persona มีเอกลักษณ์แตกต่างจากเกม JRPG ทั่วไปในตลาดทุกวันนี้ เพราะสิ่งที่ทำให้เกมพิเศษสำหรับแฟนๆ อาจจะน่าหงุดหงิดรำคาญใจสำหรับหลายคนเช่นกัน

สำหรับคนที่ยังไม่เคยเล่นเกม Persona 5 มาก่อน และมั่นใจว่าอยากลอง เกมภาค Royal ถือเป็นโอกาสทองที่จะได้สัมผัสกับ JRPG ที่ดีที่สุดเกมหนึ่งในยุคคอนโซลปัจจุบัน ในสภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุด ส่วนผู้เล่นที่เคยเล่นภาคดั้งเดิมมาแล้ว อาจจะต้องถามตัวเองว่าคุณพร้อมจะเล่นเนื้อเรื่องทั้งหมดนั้นอีกรอบไหม


◊ กราฟิก / การนำเสนอ ◊


ด้วยความที่เกม Persona 5 เดิมทีแล้วถูกพัฒนาขึ้นสำหรับเครื่อง PS3 ด้วย และวางจำหน่ายพร้อมกันกับเวอร์ชั่น PS4 ทำให้เกมมีขีดจำกัดในแง่ของกราฟฟิคอยู่พอสมควร แม้ว่าเกมจะไม่ได้น่าเกลียดแต่อย่างใด แถมยังมีสไตล์การออกแบบศิลป์ที่จัดจ้าน ซึ่งช่วยยกระดับกราฟฟิคโดยรวมของเกมขึ้นมาได้มากเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาด แต่ก็มีจุดเล็กๆ หลายจุด เช่นการที่ภาพแตกเป็นพิกเซล ที่ถ้ากำจัดไปได้ ก็จะทำให้เกมรู้สึกใกล้เคียงกับมาตรฐานปัจจุบันมากขึ้น



สำหรับเกม Persona 5 Royal ถือว่ากลบจุดอ่อนทั้งหมดที่ผู้เขียนเคยรู้สึกติดจากเกมฉบับดั้งเดิมได้ และยังพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นอีกด้วย (โดยเฉพาะใน PS4 Pro) โดยนอกจากจะอัพกราฟฟิคทั้งหมดในเกมให้คมชัดยิ่งขึ้น ยังเพิ่มรายละเอียดยิบย่อยในฉาก และเพิ่ม NPC ให้หนาตามากขึ้นด้วย กราฟฟิคที่ปรับให้คมชัดยิ่งขึ้น ยังช่วยทำให้การออกแบบศิลป์ที่ยอดเยี่ยมของเกม เช่นหน้าเมนู หน้า U.I. หรือฟอนต์ เด่นขึ้นอีกด้วย ซึ่งแม้ว่าทั้งหมดจะเป็นเพียงข้อพัฒนาเล็กน้อย แต่ก็ทำให้เกมรู้สึกมีชีวิตชีวามากขึ้นกว่าเก่าอย่างรู้สึกได้เลยทีเดียว



นอกจากเรื่องสไตล์การออกแบบศิลป์แล้ว เกมซีรี่ส์ Persona ยังโด่งดังในเรื่องของเพลงประกอบ และ Persona 5 ต้นฉบับก็มีเซ็ตเพลงประกอบแนว Acid-Jazz ที่ยอดเยี่ยมอยู่แล้ว โดยในภาค Royal จะเพิ่มเพลงประกอบใหม่เข้าไปอีก 20 เพลง แม้ผู้เขียนจะยอมรับว่าจำเพลงที่เพิ่มมาได้อยู่ไม่กี่เพลง แต่ทุกเพลงก็ช่วยเสริมอรรถรสของเกมได้เช่นกัน โดยเฉพาะเพลงฉากต่อสู้ใหม่ (เพลงชื่อ Take Over) ที่ช่างเร้าอารมณ์ในฉากต่อสู้ได้ดีเหลือเกิน รับประกันว่าถ้าคุณได้ลองเล่นซักครั้ง จะต้องหาเปิดเพลง Soundtrack ฟังทั้งวันเหมือนผู้เขียนแน่นอน


◊ เนื้อเรื่อง ◊


เนื้อเรื่องในเกม Persona 5 Royal ประมาณ 80-90% จะยกมาจากเกมต้นฉบับตรงๆ โดยเกมจะติดตามตัวเอกใบ้ (ซึ่งผู้เล่นตั้งชื่อเอง) ผู้ซึ่งโดนส่งเข้ามาใช้ชีวิตในเมืองโตเกี่ยวคนเดียวเป็นระยะเวลา 1 ปี หลังจากที่โดนตำรวจยัดข้อหาทำร้ายร่างกายให้ แต่เมื่อมาถึงไม่ทันไร ตัวเอกก็ได้ค้นพบการมีอยู่ของมิติปริศนา ที่เกิดขึ้นจากจิตใจอันบิดเบี้ยวชั่วร้ายของเหล่าผู้ใหญ่ ตัวเอกและเพื่อนๆ จึงใช้พลังพิเศษที่เรียกว่า Persona ในการบุกเข้าไปยังมิติคู่ขนานเหล่านี้ เพื่อ "ขโมยหัวใจอันบิดเบี้ยว" ของผู้ใหญ่อันชั่วร้าย ให้พวกเขาสามารถกลับใจมายอมรับผิดได้อีกครั้ง



ถ้าให้มองแบบกว้างๆ นั้น เนื้อเรื่องของเกม Persona 5 ิอาจจะไม่ได้พิเศษอะไรนัก เผลอๆ อาจจะดูเหมือนพล๊อตการ์ตูนอนิเมะทั่วไปด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่ทำให้เนื้อเรื่องของเกม Persona ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางคือรายละเอียดภายในเนื้อเรื่อง ที่มักจะสะท้อนภาพเหตุการณ์หนักๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการล่วงละเมิดทางเพศ การฆ่าตัวตาย หรือกระทั่งการเมือง ซึ่งใกล้เคียงกับสิ่งที่เราพบเห็นในข่าวในชีวิตจริงอยู่เป็นประจำ ทำให้เหตุการณ์เหล่านี้ รวมไปถึงสาส์นที่เกมต้องการจะสื่อผ่านเนื้อเรื่อง รู้สึกมีน้ำหนักต่อความคิดและจิตใจเราจริงๆ

ยิ่งไปกว่านั้น เกม Persona 5 ยังแฝงไปด้วยแนวคิดของความ "ขบถ" ของคนรุ่นใหม่ ที่ลุกขึ้นมาปฏิเสธโลกอันบิดเบี้ยว ที่เหล่าผู้ใหญ่สร้างขึ้นมาเพื่อบำเรอตนเอง รวมไปถึง "บทบาท" ที่สังคมยัดเยียดให้พวกเขา ซึ่งผู้เขียนรู้สึกว่าน่าจะเหมาะกับสถานการณ์บ้านเมืองทั่วโลกในปัจจุบันมากๆ  และน่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับหลายคน ที่อาจจะรู้สึกสิ้นหวังกับทิศทางของโลกในปัจจุบัน



เนื้อเรื่องส่วนที่เพิ่มมาในเกมภาค Royal จะเกี่ยวข้องกับตัวละครใหม่ที่เกมเพิ่มเข้ามา คือนักจิตวิทยา Maruki และเพื่อนร่วมปาร์ตี้คนใหม่อย่าง Kasumi นั่นเอง โดยเกมจะเน้นปูเนื้อเรื่องของทั้งสองผ่านฉากคัตซีนที่สอดแทรกเข้าไปเพิ่มในเหตุการณ์ของเนื้อเรื่องหลัก และจะเริ่มเข้าสู้เนื้อเรื่องใหม่ของทั้งสองจริงๆ หลังตอนจบของเนื้อเรื่องหลักไปแล้ว

แม้ว่าสุดท้ายแล้ว เนื้อเรื่องส่วนที่เสริมมาจะเขียนมาค่อนข้างดี และมีเนื้อหาและข้อคิดที่หนักอึ้งให้นั่งขบคิดกันไม่ต่างจากเนื้อเรื่องหลัก (ไม่อยากพูดมาก เดี๋ยวสปอย) แต่ด้วยรูปแบบการนำเสนอ ที่นำเนื้อเรื่องของทั้งสองมาเล่าในช่วงท้ายเกมทั้งหมดทีเดียว ทำให้บางทีก็รู้สึกเร่งๆ เหมือนกัน เพราะต้องทำให้ตัวร้ายตัวใหม่รู้สึกน่าเกรงขามมากพอที่จะท้าทายเหล่าตัวเอกและผองเพื่อน ที่กำจัดบอสใหญ่ไปแล้วได้ แถมยังต้องมาพัฒนาตัวละครของ Kasumi ผู้ซึ่งเป็นตัวเอกอีกตัวของเนื้อเรื่องเสริมนี้อีก ทำให้อดเสียดายไม่ได้ว่าถ้าเกมปูเรื่องมาให้เป็นธรรมชาติกว่านี้ และหาวิธีสอดเรื่องราวของ Kasumi เข้าไปก่อนสู้บอสใหญ่ อาจจะทำให้ทุกอย่างรู้สึกลงตัวมากกว่านี้



 

คนที่เล่นแล้วอาจจะเถียงว่า "ด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นในเนื้อเรื่องเสริม มันก็ต้องเล่าประมาณนี้แหละ" ซึ่งผู้เขียนก็ไม่เถียง แต่ก็ยังอดเสียดายไม่ได้อยู่ดีที่เกมไม่ได้ทำให้ Kasumi รู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของทีมจริงๆ จนกระทั่งถึงตอนจบ ซึ่งก็ทำให้ตัวละครของเธอขาดน้ำหนักไปพอสมควรเมื่อเทียบกับตัวละครดั้งเดิม

นอกจากเนื้อเรื่องหลักแล้ว อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของเกม Persona คือเนื้อเรื่องส่วนตัวของแต่ละตัวละครเอง ซึ่งจะปลดล๊อคผ่านระบบ Confidant ของเกมนั่นเอง โดยเนื้อเรื่องเหล่านี้ แม้ส่วนใหญ่จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องหลักโดยตรง แต่ก็ช่วยทำให้เราได้รู้จักกับตัวละครหลายๆ ตัวมากขึ้น เพราะมักจะเกี่ยวข้องกับการแก้ปมในใจ หรือปัญหาในชีวิตประจำวันของตัวละคร ที่แม้จะไม่ได้ตื่นเต้นเป็นพิเศษ แต่เนื้อเรื่องเหล่านี้ยังมีเนื้อหาที่กินใจ และให้แง่คิดดีๆ ในการใช้ชีวิตเสมอ ทำให้ผู้เล่นรู้สึกเหมือนกับได้ร่วมต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับผองเพื่อนที่ผ่านอะไรต่อมิอะไรมาด้วยกันจริงๆ ซึ่งก็กลับมาช่วยเสริมเนื้อเรื่องของเกมอีกที



สำหรับคนที่เคยเล่นเกมมาแล้ว เนื้อเรื่องของ Persona 5 Royal อาจจะไม่ใช่จุดดึงดูดหลัก เพราะเอาจริงๆ ก็เหมือนเดิมไปซะเกือบทั้งหมดอยู่เหมือนกัน และถ้าอยากเข้าถึงเนื้อเรื่องใหม่ ก็ต้องผ่านเนื้อเรื่องเก่าที่กินความยาวได้เป็นร้อยชั่วโมงไปซะก่อน แต่สำหรับคนที่ไม่เคยเล่นมาก่อน และชื่นชอบการเสพเนื้อเรื่องเกมเยอะๆ ยาวๆ บอกเลยว่าเกมนี้มีให้คุณเสพจนอิ่มแน่นอน

◊ เกมเพลย์ ◊


เกมเพลย์ของ Persona 5 (ทั้ง Royal และปกติ) น่าจะเป็นทั้งจุดแข็งที่สุดและจุดอ่อนที่สุด ขึ้นอยู่กับความชอบของคนที่เล่น การเล่นเกมจะสามารถแบ่งออกเป็นสองช่วงหลักๆ คือช่วงต่อสู้ตะลุยดันเจี้ยน (ที่เกมเรียกว่า Palace หรือวัง) และช่วงใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมีความสำคัญพอๆ กัน

โดยปกติแล้ว เวลาส่วนใหญ่ในเกม P5R จะถูกใช้ไปกับการดำเนินชีวิตประจำวันของตัวเอก โดยมีจุดประสงค์สองอย่าง คือเพื่อพัฒนาค่าความสามารถทางสังคม (Social Stat) เช่นความหล่อ ความฉลาด หรือความใจดี และเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์กับตัวละครเสริมอื่นๆ ในระบบ Confidant ของเกมนั้นเอง ซึ่งการพัฒนาความสัมพันธ์กับตัวละคร บางครั้งก็จำเป็นต้องใช้ค่าสถานะทางสังคมถึงระดับหนึ่งก่อน โดยเกมจะดำเนินไปตามระบบปฏิทิน และเนื้อเรื่องจะมีจำนวน "วัน" ในเกมที่ตายตัว หมายความว่าผู้เล่นจะต้องบริหารเวลาให้ดี เพื่อให้สามารถเก็บค่าสถานะให้ได้มากที่สุด เพื่อปลดล๊อคเนื้อเรื่องเสริมเหล่านี้ให้ได้มากที่สุดเช่นกัน การปลดล๊อคเนื้อเรื่องเสริมเหล่านี้ ยังช่วยเพิ่มความสามารถพิเศษให้เราใช้ในการสำรวจดันเจี้ยนอีกด้วย ผู้เล่นจึงควรพัฒนาระดับ Confidant ของตัวละครให้มากที่สุดที่จะทำได้



จุดนี้น่าจะเป็นจุดที่ทำให้หลายคนขยาดจากเกม Persona ไปได้ง่ายๆ เพราะเวลากว่า 60-70% ของการเล่นเกมมักจะถูกใช้ไปกับการนั่งอ่านเนื้อเรื่องเสียมากกว่า ในบางครั้งอาจต้องนั่งอ่านเนื้อเรื่องอย่างเดียวเป็นชั่วโมงเลยก็ได้ แน่นอนว่าคนที่ไม่ชอบอ่านเนื้อเรื่องเยอะๆ หรือมีปัญหาด้านภาษาอังกฤษ อาจจะทำให้เกมน่าเบื่อไปเลยได้เช่นกัน แต่ในขณะเดียวกัน เนื้อเรื่องที่เกมนำเสนอก็เป็นเสน่ห์สำคัญอย่างหนึ่งของเกมด้วย จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเกมคงไม่ถูกใจผู้เล่นกลุ่มใหญ่ๆ แน่นอน แม้ว่าจะได้รับคะแนนจากสื่อที่รีวิวดีแค่ไหนก็ตาม



นอกจากการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ในแต่ละเดือน (ตามเวลาเกม) จะมีดันเจี้ยนที่ผู้เล่นจะต้องผ่านให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งผู้เล่นจะเลือกได้อย่างอิสระว่าในหนึ่งเดือนนั้น จะใช้เวลาลงดันเจี้ยนกี่วัน หรือจะใช้เวลาในการเตรียมตัวในโลกแห่งความจริงกี่วัน ซึ่งถ้าเคลียร์ดันเจี้ยนไม่ได้ในเวลาที่กำหนด ก็จะทำให้ Game Over ทันที



การต่อสู้ของเกม Persona จะมีส่วนคล้ายคลึงกับเกมอย่างโปเกม่อนอยู่บ้าง ตรงที่เกมจะเปิดให้ผู้เล่นสามารถเก็บสะสมเหล่า Persona ต่างๆ ไว้กับตัวได้ ซึ่ง Persona แต่ละตัวก็จะมีความสามารถและจุดแข็ง/จุดอ่อนต่างกัน โดยการเลือกใช้การโจมตีให้ตรงกับจุดอ่อนของศัตรูถือเป็นหัวใจหลักของการต่อสู้ในเกม เพราะเมื่อโจมตีถูกจุดอ่อนของศัตรู (หรือโจมตีติด Critical) จะทำให้ศัตรูตัวนั้นล้มลง และทำให้ตัวละครที่โจมตีได้รับเทิร์นเพิ่มอีกด้วย ซึ่งเมื่อเราทำให้ศัตรูทั้งหมดล้มลงได้ เราจะสามารถปิดฉากด้วยการโจมตี All-out Attack ทันที หรือจะขู่กรรโชกศัตรู (ไม่ได้พูดเล่น) เพื่อแย่งไอเทมหรือเงิน หรือกระทั่งเปลี่ยนศัตรูให้กลายเป็น Persona ของเราเลยก็ยังได้ การหาจุดอ่อนของศัตรูแต่ละชนิดให้เจอจึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆ



ความท้าทายของเกม Persona อยู่ตรงที่ว่าศัตรูเองก็สามารถโจมตีถูกจุดอ่อนของเราได้ ซึ่งเมื่อโดนแต่ละครั้งนี่แทบจะโดนสวนม้วนเดียวนอนทั้งตี้ได้เลย โดยตัวละครเพื่อนร่วมปาร์ตี้ทุกคนจะมี Persona และจุดอ่อน/จุดแข็งตายตัว (ในขณะที่ตัวเอก/ผู้เล่นจะสามารถสับเปลี่ยน Persona ไปมาได้) ทำให้การเล่นเกมบางครั้งก็พึ่งโชคประมาณหนึ่ง ว่าศัตรูตัวนี้จะเลือกโจมตีตัวละครตัวไหน และจะใช้ท่าที่ตัวละครตัวนั้นแพ้ทางไหม เพราะถ้าโดนเข้าซักทีก็เตรียมปาดเหงื่อได้เลย (โดยเฉพาะในระดับความยากสูงๆ)



นอกจากนี้ เกมยังมีไอเทมที่ใช้ฟื้นฟู SP (ค่าพลังที่เอาไว้ใช้ร่ายสกิลเวทย์) ให้ใช้น้อยมาก ซึ่งนี่จะเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งในการตะลุยดันเจี้ยน เพราะเมื่อไม่มี SP ก็จะไม่สามารถใช้เวทย์เพื่อเล่นงานจุดอ่อนศัตรู หรือเพื่อเพิ่มเลือดได้ ทำให้แม้แต่การต่อสู้กับศัตรูกีกี้ธรรมดา กลายเป็นเรื่องที่เสี่ยงมากๆ ผู้เล่นจึงต้องบริหาร SP ให้ดี ไม่เช่นนั้นก็อาจจะถูกบังคับให้ต้องหนีออกจากดันเจี้ยนกลางทาง ทำให้เสียเวลาในเกมไปกับการผ่านดันเจี้ยนมากขึ้น และมีเวลาไปใช้ชีวิตน้อยลง ซึ่งก็ทำให้การเตรียมตัวสำหรับดันเจี้ยนต่อไปยากขึ้น ส่งผลต่อกันเป็นทอดๆ ไป

ในส่วนของเกม Persona 5 Royal ไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบไปเท่าไหร่นัก แต่เช่นเดียวกับในเรื่องกราฟฟิค เกมภาค Royal ได้เพิ่มข้อปรับปรุงเล็กๆ เข้าไปมากมาย ที่ทำให้ประสบการณ์การเล่นเกม Persona 5 ง่ายขึ้นกว่าเดิมพอสมควร อย่างแรกที่สุดที่ถูกปรับคือเกมเปิดช่องเวลาให้ผู้เล่นมากขึ้น จากเดิมที่จะมีช่องเวลาที่ถูกจำกัดตามเนื้อเรื่องเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้เล่นมีเวลาในการเก็บ Social Stat และ Confidant มากขึ้นไปด้วย ซึ่งในฐานะผู้เล่นที่ผ่านภาคดั้งเดิมมาก่อน ถือเป็นข้อปรับปรุงที่ดีที่สุด เพราะทำให้ผู้เขียนสามารถเก็บ Social Stat ได้เร็วกว่าเดิมมากๆ จนผู้เขียนสามารถเก็บระดับ Confidant สำหรับตัวละครเสริมครบหมดทุกตัว (กระทั่ง Confidant ที่เพิ่มมาใหม่อย่าง Faith และ Councillor) ซึ่งเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในภาคดั้งเดิม



อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่เปลี่ยนไป คือระบบ Technical Damage ของเกม ซึ่งจะทำให้ศัตรูที่ติดสถานะผิดปกติ (เช่นติดพิษ ติดใบ้ เป็นต้น) ได้รับความเสียหายจากการโจมตีบางชนิดเพิ่มขึ้น โดยในเกมภาคดั้งเดิม ระบบนี้มักจะถูกมองข้าม เพราะการโจมตีจุดอ่อนของศัตรูไปเลยมักจะเป็นทางเลือกที่ง่ายและดีกว่า แต่ในเกมภาค Royal มี Persona หลายตัวที่ถูกปรับให้ไม่มีจุดอ่อน ทำให้จำเป็นต้องใช้การโจมตีแบบ Technical Damage ในการเอาชนะแทน ซึ่งก็ช่วยทำให้เกมท้าทายขึ้นมาบ้างสำหรับคนที่เคยเล่นมาก่อน



เกมยังเปลี่ยนโครงสร้างและปริศนาภายในดันเจี้ยนทุกแห่ง และยังปรับปรุงการต่อสู้กับบอสในเกมให้แตกต่างจากภาคเก่าประมาณหนึ่ง โดยแม้ว่าอาจจะไม่ได้เยอะจนรู้สึกว่าทุกอย่างใหม่ไปหมด แต่ก็เพียงพอให้การเล่นเนื้อเรื่องซ้ำ (สำหรับคนที่เคยเล่นแล้ว)ไม่น่าเบื่อเท่าที่คิด

องค์ประกอบสุดท้ายที่อยากพูดถึงคือดันเจี้ยนกลาง Mementos ที่เปิดให้ผู้เล่นเข้าไปสำรวจเมื่อไหร่ก็ได้ (ต่างจากดันเจี้ยนประจำเดือนที่เปิดให้สำรวจได้เฉพาะในเดือนนั้นๆ) ซึ่งถูกทำให้กลายเป็นแหล่งเก็บเลเวลและเงินชั้นดีด้วยระบบ Stamps ใหม่ ที่ให้ผู้เล่นเก็บสติ๊กเกอร์รูปดาวไปให้ NPC ใหม่ที่ชื่อว่า Jose เพื่อปรับผลตอบแทนที่ผู้เล่นจะได้รับในดันเจี้ยน (มีให้เลือกว่าจะรับเงิน EXP หรือไอเทมเพิ่มขึ้น) ทำให้ Mementos กลายเป็นแหล่งฟาร์มชั้นดี แต่ในขณะเดียวกันก็แอบทำให้การตะลุยดันเจี้ยนเนื้อเรื่องง่ายขึ้นเยอะ เพราะมีเงินซื้อไอเทมใช้ไม่ขาดมือ


◊ สรุป ◊


กล่าวโดยสรุปแล้ว Persona 5 Royal ถือเป็นภาคที่สมบูรณ์ที่สุด ของเกมที่ดีที่สุดเกมหนึ่งในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา ตราบใดที่คุณสามารถปรับความคาดหวังให้ถูกว่าเกมเป็นเกมแบบไหน เพราะถ้ากะซื้อมาเล่นส่วนการต่อสู้อย่างเดียว ก็คงจะไม่คุ้มเท่าไหร่ แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบติดตามเนื้อเรื่องของเกมแบบยาวๆ หรือชอบเกมที่มีเนื้อหาลึกซึ้งกินใจ บอกเลยว่าไม่มีเกมไหนเหมาะกับคุณเท่า Persona 5 Royal แน่นอน



สำหรับข่าวสารเกมที่น่าสนใจ คลิ๊ก!





 

 

 

[penci_review id="52265"]

7
ข้อดี
ข้อเสีย
10
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
Review: Persona 5 Royal สุดยอด JRPG ที่กลับมาขโมยใจคุณอีกครั้ง
08/05/2020

แม้จะไม่ได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายเท่าซีรี่ส์รุ่นพี่จากแดนปลาดิบด้วยกันอย่าง Final Fantasy หรือ Dragon Quest แต่เกมซีรี่ส์ Persona ก็ถือเป็นอีกหนึ่งซีรี่ส์เก่าแก่ ที่มีประวัติยาวนานมาตั้งแต่สมัย PS1 แล้ว โดยเฉพาะในช่วง 5-10 ปีหลังมานี้ ที่เกม Persona เริ่มกลายเป็นเกม JRPG อันดับหนึ่งในดวงใจของใครหลายๆ คน

สำหรับผู้เขียนเอง ออกตัวก่อนเลยว่าเป็นแฟนตัวยงของเกม Persona มาตั้งแต่ที่เล่นภาค 4 ในเครื่อง PS2 เมื่อหลายปีมาแล้ว (ถ้ารวมกับภาค Persona 4 Golden ที่วางจำหน่ายในเครื่อง PSVita ผู้เขียนเล่นเกมนี้จบรวมกัน 4 รอบแล้ว) ทำให้เวลา 150 ชั่วโมงที่ใช้ในการผ่านเนื้อเรื่องเกม Persona 5 ฉบับดั้งเดิมเป็นเวลาที่แสนสุขสำหรับผู้เขียน แม้ว่าสุดท้ายแล้วจะไม่ได้ชอบเท่ากับเกม Persona 4 Golden แต่ก็ยังถือเป็นประสบการณ์ JRPG อันดับต้นๆ ในใจ ที่มอบทั้งเกมเพลย์ กราฟฟิค เนื้อเรื่อง และตัวละครที่ยอดเยี่ยม ตามมาตรฐานที่เป็นมาทุกภาคของเกม



ความหวังที่ผู้เขียนมีในใจเมื่อเริ่มเล่นเกม Persona 5 Royal คือเกมอาจจะสามารถยกระดับ Persona 5 ให้กลายเป็นเกมในดวงใจของผู้เขียนได้อีกเกม แบบเดียวกับที่ Persona 4 Golden พัฒนาประสบการณ์ของเกม Persona 4 ขึ้นไปอย่างมหาศาล โดยผลลัพธ์ที่ออกมา แม้ว่า Persona 5 Royal จะยังไม่ได้ทำให้ประสบการณ์โดยรวมของเกมต้นฉบับพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดดมากนัก แต่ก็ถือว่าเป็นฉบับปรับปรุงของเกมที่ดีเลิศอยู่แล้ว ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นไปอีกในทุกๆ ด้านเลยทีเดียว

ข้อติเดียวที่พอจะนึกออก คือการทีเกมเพิ่มตัวละครใหม่ที่มีความสำคัญมากๆ เข้ามา แต่แทบไม่แตะต้องตัวละครเหล่านั้นเลย จนถึงเนื้อเรื่องใหม่ ที่เกิดขึ้นหลังตอนจบของเกมภาคดั้งเดิมไปอีก หมายความว่าผู้ที่เคยเล่นภาคดั้งเดิมมาแล้ว และอยากสัมผัสกับเนื้อเรื่องใหม่ จำเป็นต้องเล่นเนื้อเรื่องดั้งเดิมใหม่อีกรอบซะก่อน ซึ่งแม้ว่าจะมีการปรับปรุง/เปลี่ยนแปลงเกมเพลย์บ้างระหว่างทาง แต่ก็ยังใช้เวลาเฉียดร้อยชั่วโมงอยู่ดี ต่อให้เนื้อเรื่องส่วนที่เพิ่มเข้ามาจะเขียนออกมาได้อย่างดี และสามารถเสริมธีมและสาส์นที่เกมพยายามจะสื่อให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นก็ตาม



แต่แม้ว่าตัวผู้เขียนเองจะชอบเกมขนาดไหน สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือเกมคงไม่ได้เหมาะกับผู้เล่นทุกคนอย่างแน่นอน หากคุณไม่ใช่คนที่สามารถนั่งอ่านเนื้อเรื่องติดๆ กันได้เป็นชั่วโมงโดยที่ไม่มีการต่อสู้เลย หรือไม่ใช่คนที่ใจเย็นพอจะศึกษารายละเอียดยิบย่อยมากมาย ที่ทำให้เกม Persona มีเอกลักษณ์แตกต่างจากเกม JRPG ทั่วไปในตลาดทุกวันนี้ เพราะสิ่งที่ทำให้เกมพิเศษสำหรับแฟนๆ อาจจะน่าหงุดหงิดรำคาญใจสำหรับหลายคนเช่นกัน

สำหรับคนที่ยังไม่เคยเล่นเกม Persona 5 มาก่อน และมั่นใจว่าอยากลอง เกมภาค Royal ถือเป็นโอกาสทองที่จะได้สัมผัสกับ JRPG ที่ดีที่สุดเกมหนึ่งในยุคคอนโซลปัจจุบัน ในสภาพที่สมบูรณ์แบบที่สุด ส่วนผู้เล่นที่เคยเล่นภาคดั้งเดิมมาแล้ว อาจจะต้องถามตัวเองว่าคุณพร้อมจะเล่นเนื้อเรื่องทั้งหมดนั้นอีกรอบไหม


◊ กราฟิก / การนำเสนอ ◊


ด้วยความที่เกม Persona 5 เดิมทีแล้วถูกพัฒนาขึ้นสำหรับเครื่อง PS3 ด้วย และวางจำหน่ายพร้อมกันกับเวอร์ชั่น PS4 ทำให้เกมมีขีดจำกัดในแง่ของกราฟฟิคอยู่พอสมควร แม้ว่าเกมจะไม่ได้น่าเกลียดแต่อย่างใด แถมยังมีสไตล์การออกแบบศิลป์ที่จัดจ้าน ซึ่งช่วยยกระดับกราฟฟิคโดยรวมของเกมขึ้นมาได้มากเมื่อเทียบกับคู่แข่งในตลาด แต่ก็มีจุดเล็กๆ หลายจุด เช่นการที่ภาพแตกเป็นพิกเซล ที่ถ้ากำจัดไปได้ ก็จะทำให้เกมรู้สึกใกล้เคียงกับมาตรฐานปัจจุบันมากขึ้น



สำหรับเกม Persona 5 Royal ถือว่ากลบจุดอ่อนทั้งหมดที่ผู้เขียนเคยรู้สึกติดจากเกมฉบับดั้งเดิมได้ และยังพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นอีกด้วย (โดยเฉพาะใน PS4 Pro) โดยนอกจากจะอัพกราฟฟิคทั้งหมดในเกมให้คมชัดยิ่งขึ้น ยังเพิ่มรายละเอียดยิบย่อยในฉาก และเพิ่ม NPC ให้หนาตามากขึ้นด้วย กราฟฟิคที่ปรับให้คมชัดยิ่งขึ้น ยังช่วยทำให้การออกแบบศิลป์ที่ยอดเยี่ยมของเกม เช่นหน้าเมนู หน้า U.I. หรือฟอนต์ เด่นขึ้นอีกด้วย ซึ่งแม้ว่าทั้งหมดจะเป็นเพียงข้อพัฒนาเล็กน้อย แต่ก็ทำให้เกมรู้สึกมีชีวิตชีวามากขึ้นกว่าเก่าอย่างรู้สึกได้เลยทีเดียว



นอกจากเรื่องสไตล์การออกแบบศิลป์แล้ว เกมซีรี่ส์ Persona ยังโด่งดังในเรื่องของเพลงประกอบ และ Persona 5 ต้นฉบับก็มีเซ็ตเพลงประกอบแนว Acid-Jazz ที่ยอดเยี่ยมอยู่แล้ว โดยในภาค Royal จะเพิ่มเพลงประกอบใหม่เข้าไปอีก 20 เพลง แม้ผู้เขียนจะยอมรับว่าจำเพลงที่เพิ่มมาได้อยู่ไม่กี่เพลง แต่ทุกเพลงก็ช่วยเสริมอรรถรสของเกมได้เช่นกัน โดยเฉพาะเพลงฉากต่อสู้ใหม่ (เพลงชื่อ Take Over) ที่ช่างเร้าอารมณ์ในฉากต่อสู้ได้ดีเหลือเกิน รับประกันว่าถ้าคุณได้ลองเล่นซักครั้ง จะต้องหาเปิดเพลง Soundtrack ฟังทั้งวันเหมือนผู้เขียนแน่นอน


◊ เนื้อเรื่อง ◊


เนื้อเรื่องในเกม Persona 5 Royal ประมาณ 80-90% จะยกมาจากเกมต้นฉบับตรงๆ โดยเกมจะติดตามตัวเอกใบ้ (ซึ่งผู้เล่นตั้งชื่อเอง) ผู้ซึ่งโดนส่งเข้ามาใช้ชีวิตในเมืองโตเกี่ยวคนเดียวเป็นระยะเวลา 1 ปี หลังจากที่โดนตำรวจยัดข้อหาทำร้ายร่างกายให้ แต่เมื่อมาถึงไม่ทันไร ตัวเอกก็ได้ค้นพบการมีอยู่ของมิติปริศนา ที่เกิดขึ้นจากจิตใจอันบิดเบี้ยวชั่วร้ายของเหล่าผู้ใหญ่ ตัวเอกและเพื่อนๆ จึงใช้พลังพิเศษที่เรียกว่า Persona ในการบุกเข้าไปยังมิติคู่ขนานเหล่านี้ เพื่อ "ขโมยหัวใจอันบิดเบี้ยว" ของผู้ใหญ่อันชั่วร้าย ให้พวกเขาสามารถกลับใจมายอมรับผิดได้อีกครั้ง



ถ้าให้มองแบบกว้างๆ นั้น เนื้อเรื่องของเกม Persona 5 ิอาจจะไม่ได้พิเศษอะไรนัก เผลอๆ อาจจะดูเหมือนพล๊อตการ์ตูนอนิเมะทั่วไปด้วยซ้ำ แต่สิ่งที่ทำให้เนื้อเรื่องของเกม Persona ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางคือรายละเอียดภายในเนื้อเรื่อง ที่มักจะสะท้อนภาพเหตุการณ์หนักๆ ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการล่วงละเมิดทางเพศ การฆ่าตัวตาย หรือกระทั่งการเมือง ซึ่งใกล้เคียงกับสิ่งที่เราพบเห็นในข่าวในชีวิตจริงอยู่เป็นประจำ ทำให้เหตุการณ์เหล่านี้ รวมไปถึงสาส์นที่เกมต้องการจะสื่อผ่านเนื้อเรื่อง รู้สึกมีน้ำหนักต่อความคิดและจิตใจเราจริงๆ

ยิ่งไปกว่านั้น เกม Persona 5 ยังแฝงไปด้วยแนวคิดของความ "ขบถ" ของคนรุ่นใหม่ ที่ลุกขึ้นมาปฏิเสธโลกอันบิดเบี้ยว ที่เหล่าผู้ใหญ่สร้างขึ้นมาเพื่อบำเรอตนเอง รวมไปถึง "บทบาท" ที่สังคมยัดเยียดให้พวกเขา ซึ่งผู้เขียนรู้สึกว่าน่าจะเหมาะกับสถานการณ์บ้านเมืองทั่วโลกในปัจจุบันมากๆ  และน่าจะสร้างแรงบันดาลใจให้กับหลายคน ที่อาจจะรู้สึกสิ้นหวังกับทิศทางของโลกในปัจจุบัน



เนื้อเรื่องส่วนที่เพิ่มมาในเกมภาค Royal จะเกี่ยวข้องกับตัวละครใหม่ที่เกมเพิ่มเข้ามา คือนักจิตวิทยา Maruki และเพื่อนร่วมปาร์ตี้คนใหม่อย่าง Kasumi นั่นเอง โดยเกมจะเน้นปูเนื้อเรื่องของทั้งสองผ่านฉากคัตซีนที่สอดแทรกเข้าไปเพิ่มในเหตุการณ์ของเนื้อเรื่องหลัก และจะเริ่มเข้าสู้เนื้อเรื่องใหม่ของทั้งสองจริงๆ หลังตอนจบของเนื้อเรื่องหลักไปแล้ว

แม้ว่าสุดท้ายแล้ว เนื้อเรื่องส่วนที่เสริมมาจะเขียนมาค่อนข้างดี และมีเนื้อหาและข้อคิดที่หนักอึ้งให้นั่งขบคิดกันไม่ต่างจากเนื้อเรื่องหลัก (ไม่อยากพูดมาก เดี๋ยวสปอย) แต่ด้วยรูปแบบการนำเสนอ ที่นำเนื้อเรื่องของทั้งสองมาเล่าในช่วงท้ายเกมทั้งหมดทีเดียว ทำให้บางทีก็รู้สึกเร่งๆ เหมือนกัน เพราะต้องทำให้ตัวร้ายตัวใหม่รู้สึกน่าเกรงขามมากพอที่จะท้าทายเหล่าตัวเอกและผองเพื่อน ที่กำจัดบอสใหญ่ไปแล้วได้ แถมยังต้องมาพัฒนาตัวละครของ Kasumi ผู้ซึ่งเป็นตัวเอกอีกตัวของเนื้อเรื่องเสริมนี้อีก ทำให้อดเสียดายไม่ได้ว่าถ้าเกมปูเรื่องมาให้เป็นธรรมชาติกว่านี้ และหาวิธีสอดเรื่องราวของ Kasumi เข้าไปก่อนสู้บอสใหญ่ อาจจะทำให้ทุกอย่างรู้สึกลงตัวมากกว่านี้



 

คนที่เล่นแล้วอาจจะเถียงว่า "ด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นในเนื้อเรื่องเสริม มันก็ต้องเล่าประมาณนี้แหละ" ซึ่งผู้เขียนก็ไม่เถียง แต่ก็ยังอดเสียดายไม่ได้อยู่ดีที่เกมไม่ได้ทำให้ Kasumi รู้สึกเหมือนเป็นส่วนหนึ่งของทีมจริงๆ จนกระทั่งถึงตอนจบ ซึ่งก็ทำให้ตัวละครของเธอขาดน้ำหนักไปพอสมควรเมื่อเทียบกับตัวละครดั้งเดิม

นอกจากเนื้อเรื่องหลักแล้ว อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญของเกม Persona คือเนื้อเรื่องส่วนตัวของแต่ละตัวละครเอง ซึ่งจะปลดล๊อคผ่านระบบ Confidant ของเกมนั่นเอง โดยเนื้อเรื่องเหล่านี้ แม้ส่วนใหญ่จะไม่ได้เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องหลักโดยตรง แต่ก็ช่วยทำให้เราได้รู้จักกับตัวละครหลายๆ ตัวมากขึ้น เพราะมักจะเกี่ยวข้องกับการแก้ปมในใจ หรือปัญหาในชีวิตประจำวันของตัวละคร ที่แม้จะไม่ได้ตื่นเต้นเป็นพิเศษ แต่เนื้อเรื่องเหล่านี้ยังมีเนื้อหาที่กินใจ และให้แง่คิดดีๆ ในการใช้ชีวิตเสมอ ทำให้ผู้เล่นรู้สึกเหมือนกับได้ร่วมต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับผองเพื่อนที่ผ่านอะไรต่อมิอะไรมาด้วยกันจริงๆ ซึ่งก็กลับมาช่วยเสริมเนื้อเรื่องของเกมอีกที



สำหรับคนที่เคยเล่นเกมมาแล้ว เนื้อเรื่องของ Persona 5 Royal อาจจะไม่ใช่จุดดึงดูดหลัก เพราะเอาจริงๆ ก็เหมือนเดิมไปซะเกือบทั้งหมดอยู่เหมือนกัน และถ้าอยากเข้าถึงเนื้อเรื่องใหม่ ก็ต้องผ่านเนื้อเรื่องเก่าที่กินความยาวได้เป็นร้อยชั่วโมงไปซะก่อน แต่สำหรับคนที่ไม่เคยเล่นมาก่อน และชื่นชอบการเสพเนื้อเรื่องเกมเยอะๆ ยาวๆ บอกเลยว่าเกมนี้มีให้คุณเสพจนอิ่มแน่นอน

◊ เกมเพลย์ ◊


เกมเพลย์ของ Persona 5 (ทั้ง Royal และปกติ) น่าจะเป็นทั้งจุดแข็งที่สุดและจุดอ่อนที่สุด ขึ้นอยู่กับความชอบของคนที่เล่น การเล่นเกมจะสามารถแบ่งออกเป็นสองช่วงหลักๆ คือช่วงต่อสู้ตะลุยดันเจี้ยน (ที่เกมเรียกว่า Palace หรือวัง) และช่วงใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งมีความสำคัญพอๆ กัน

โดยปกติแล้ว เวลาส่วนใหญ่ในเกม P5R จะถูกใช้ไปกับการดำเนินชีวิตประจำวันของตัวเอก โดยมีจุดประสงค์สองอย่าง คือเพื่อพัฒนาค่าความสามารถทางสังคม (Social Stat) เช่นความหล่อ ความฉลาด หรือความใจดี และเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์กับตัวละครเสริมอื่นๆ ในระบบ Confidant ของเกมนั้นเอง ซึ่งการพัฒนาความสัมพันธ์กับตัวละคร บางครั้งก็จำเป็นต้องใช้ค่าสถานะทางสังคมถึงระดับหนึ่งก่อน โดยเกมจะดำเนินไปตามระบบปฏิทิน และเนื้อเรื่องจะมีจำนวน "วัน" ในเกมที่ตายตัว หมายความว่าผู้เล่นจะต้องบริหารเวลาให้ดี เพื่อให้สามารถเก็บค่าสถานะให้ได้มากที่สุด เพื่อปลดล๊อคเนื้อเรื่องเสริมเหล่านี้ให้ได้มากที่สุดเช่นกัน การปลดล๊อคเนื้อเรื่องเสริมเหล่านี้ ยังช่วยเพิ่มความสามารถพิเศษให้เราใช้ในการสำรวจดันเจี้ยนอีกด้วย ผู้เล่นจึงควรพัฒนาระดับ Confidant ของตัวละครให้มากที่สุดที่จะทำได้



จุดนี้น่าจะเป็นจุดที่ทำให้หลายคนขยาดจากเกม Persona ไปได้ง่ายๆ เพราะเวลากว่า 60-70% ของการเล่นเกมมักจะถูกใช้ไปกับการนั่งอ่านเนื้อเรื่องเสียมากกว่า ในบางครั้งอาจต้องนั่งอ่านเนื้อเรื่องอย่างเดียวเป็นชั่วโมงเลยก็ได้ แน่นอนว่าคนที่ไม่ชอบอ่านเนื้อเรื่องเยอะๆ หรือมีปัญหาด้านภาษาอังกฤษ อาจจะทำให้เกมน่าเบื่อไปเลยได้เช่นกัน แต่ในขณะเดียวกัน เนื้อเรื่องที่เกมนำเสนอก็เป็นเสน่ห์สำคัญอย่างหนึ่งของเกมด้วย จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าเกมคงไม่ถูกใจผู้เล่นกลุ่มใหญ่ๆ แน่นอน แม้ว่าจะได้รับคะแนนจากสื่อที่รีวิวดีแค่ไหนก็ตาม



นอกจากการใช้ชีวิตประจำวันแล้ว ในแต่ละเดือน (ตามเวลาเกม) จะมีดันเจี้ยนที่ผู้เล่นจะต้องผ่านให้ได้ภายในเวลาที่กำหนด ซึ่งผู้เล่นจะเลือกได้อย่างอิสระว่าในหนึ่งเดือนนั้น จะใช้เวลาลงดันเจี้ยนกี่วัน หรือจะใช้เวลาในการเตรียมตัวในโลกแห่งความจริงกี่วัน ซึ่งถ้าเคลียร์ดันเจี้ยนไม่ได้ในเวลาที่กำหนด ก็จะทำให้ Game Over ทันที



การต่อสู้ของเกม Persona จะมีส่วนคล้ายคลึงกับเกมอย่างโปเกม่อนอยู่บ้าง ตรงที่เกมจะเปิดให้ผู้เล่นสามารถเก็บสะสมเหล่า Persona ต่างๆ ไว้กับตัวได้ ซึ่ง Persona แต่ละตัวก็จะมีความสามารถและจุดแข็ง/จุดอ่อนต่างกัน โดยการเลือกใช้การโจมตีให้ตรงกับจุดอ่อนของศัตรูถือเป็นหัวใจหลักของการต่อสู้ในเกม เพราะเมื่อโจมตีถูกจุดอ่อนของศัตรู (หรือโจมตีติด Critical) จะทำให้ศัตรูตัวนั้นล้มลง และทำให้ตัวละครที่โจมตีได้รับเทิร์นเพิ่มอีกด้วย ซึ่งเมื่อเราทำให้ศัตรูทั้งหมดล้มลงได้ เราจะสามารถปิดฉากด้วยการโจมตี All-out Attack ทันที หรือจะขู่กรรโชกศัตรู (ไม่ได้พูดเล่น) เพื่อแย่งไอเทมหรือเงิน หรือกระทั่งเปลี่ยนศัตรูให้กลายเป็น Persona ของเราเลยก็ยังได้ การหาจุดอ่อนของศัตรูแต่ละชนิดให้เจอจึงเป็นเรื่องสำคัญมากๆ



ความท้าทายของเกม Persona อยู่ตรงที่ว่าศัตรูเองก็สามารถโจมตีถูกจุดอ่อนของเราได้ ซึ่งเมื่อโดนแต่ละครั้งนี่แทบจะโดนสวนม้วนเดียวนอนทั้งตี้ได้เลย โดยตัวละครเพื่อนร่วมปาร์ตี้ทุกคนจะมี Persona และจุดอ่อน/จุดแข็งตายตัว (ในขณะที่ตัวเอก/ผู้เล่นจะสามารถสับเปลี่ยน Persona ไปมาได้) ทำให้การเล่นเกมบางครั้งก็พึ่งโชคประมาณหนึ่ง ว่าศัตรูตัวนี้จะเลือกโจมตีตัวละครตัวไหน และจะใช้ท่าที่ตัวละครตัวนั้นแพ้ทางไหม เพราะถ้าโดนเข้าซักทีก็เตรียมปาดเหงื่อได้เลย (โดยเฉพาะในระดับความยากสูงๆ)



นอกจากนี้ เกมยังมีไอเทมที่ใช้ฟื้นฟู SP (ค่าพลังที่เอาไว้ใช้ร่ายสกิลเวทย์) ให้ใช้น้อยมาก ซึ่งนี่จะเป็นอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งในการตะลุยดันเจี้ยน เพราะเมื่อไม่มี SP ก็จะไม่สามารถใช้เวทย์เพื่อเล่นงานจุดอ่อนศัตรู หรือเพื่อเพิ่มเลือดได้ ทำให้แม้แต่การต่อสู้กับศัตรูกีกี้ธรรมดา กลายเป็นเรื่องที่เสี่ยงมากๆ ผู้เล่นจึงต้องบริหาร SP ให้ดี ไม่เช่นนั้นก็อาจจะถูกบังคับให้ต้องหนีออกจากดันเจี้ยนกลางทาง ทำให้เสียเวลาในเกมไปกับการผ่านดันเจี้ยนมากขึ้น และมีเวลาไปใช้ชีวิตน้อยลง ซึ่งก็ทำให้การเตรียมตัวสำหรับดันเจี้ยนต่อไปยากขึ้น ส่งผลต่อกันเป็นทอดๆ ไป

ในส่วนของเกม Persona 5 Royal ไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบไปเท่าไหร่นัก แต่เช่นเดียวกับในเรื่องกราฟฟิค เกมภาค Royal ได้เพิ่มข้อปรับปรุงเล็กๆ เข้าไปมากมาย ที่ทำให้ประสบการณ์การเล่นเกม Persona 5 ง่ายขึ้นกว่าเดิมพอสมควร อย่างแรกที่สุดที่ถูกปรับคือเกมเปิดช่องเวลาให้ผู้เล่นมากขึ้น จากเดิมที่จะมีช่องเวลาที่ถูกจำกัดตามเนื้อเรื่องเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้เล่นมีเวลาในการเก็บ Social Stat และ Confidant มากขึ้นไปด้วย ซึ่งในฐานะผู้เล่นที่ผ่านภาคดั้งเดิมมาก่อน ถือเป็นข้อปรับปรุงที่ดีที่สุด เพราะทำให้ผู้เขียนสามารถเก็บ Social Stat ได้เร็วกว่าเดิมมากๆ จนผู้เขียนสามารถเก็บระดับ Confidant สำหรับตัวละครเสริมครบหมดทุกตัว (กระทั่ง Confidant ที่เพิ่มมาใหม่อย่าง Faith และ Councillor) ซึ่งเป็นสิ่งที่แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในภาคดั้งเดิม



อีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่เปลี่ยนไป คือระบบ Technical Damage ของเกม ซึ่งจะทำให้ศัตรูที่ติดสถานะผิดปกติ (เช่นติดพิษ ติดใบ้ เป็นต้น) ได้รับความเสียหายจากการโจมตีบางชนิดเพิ่มขึ้น โดยในเกมภาคดั้งเดิม ระบบนี้มักจะถูกมองข้าม เพราะการโจมตีจุดอ่อนของศัตรูไปเลยมักจะเป็นทางเลือกที่ง่ายและดีกว่า แต่ในเกมภาค Royal มี Persona หลายตัวที่ถูกปรับให้ไม่มีจุดอ่อน ทำให้จำเป็นต้องใช้การโจมตีแบบ Technical Damage ในการเอาชนะแทน ซึ่งก็ช่วยทำให้เกมท้าทายขึ้นมาบ้างสำหรับคนที่เคยเล่นมาก่อน



เกมยังเปลี่ยนโครงสร้างและปริศนาภายในดันเจี้ยนทุกแห่ง และยังปรับปรุงการต่อสู้กับบอสในเกมให้แตกต่างจากภาคเก่าประมาณหนึ่ง โดยแม้ว่าอาจจะไม่ได้เยอะจนรู้สึกว่าทุกอย่างใหม่ไปหมด แต่ก็เพียงพอให้การเล่นเนื้อเรื่องซ้ำ (สำหรับคนที่เคยเล่นแล้ว)ไม่น่าเบื่อเท่าที่คิด

องค์ประกอบสุดท้ายที่อยากพูดถึงคือดันเจี้ยนกลาง Mementos ที่เปิดให้ผู้เล่นเข้าไปสำรวจเมื่อไหร่ก็ได้ (ต่างจากดันเจี้ยนประจำเดือนที่เปิดให้สำรวจได้เฉพาะในเดือนนั้นๆ) ซึ่งถูกทำให้กลายเป็นแหล่งเก็บเลเวลและเงินชั้นดีด้วยระบบ Stamps ใหม่ ที่ให้ผู้เล่นเก็บสติ๊กเกอร์รูปดาวไปให้ NPC ใหม่ที่ชื่อว่า Jose เพื่อปรับผลตอบแทนที่ผู้เล่นจะได้รับในดันเจี้ยน (มีให้เลือกว่าจะรับเงิน EXP หรือไอเทมเพิ่มขึ้น) ทำให้ Mementos กลายเป็นแหล่งฟาร์มชั้นดี แต่ในขณะเดียวกันก็แอบทำให้การตะลุยดันเจี้ยนเนื้อเรื่องง่ายขึ้นเยอะ เพราะมีเงินซื้อไอเทมใช้ไม่ขาดมือ


◊ สรุป ◊


กล่าวโดยสรุปแล้ว Persona 5 Royal ถือเป็นภาคที่สมบูรณ์ที่สุด ของเกมที่ดีที่สุดเกมหนึ่งในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา ตราบใดที่คุณสามารถปรับความคาดหวังให้ถูกว่าเกมเป็นเกมแบบไหน เพราะถ้ากะซื้อมาเล่นส่วนการต่อสู้อย่างเดียว ก็คงจะไม่คุ้มเท่าไหร่ แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบติดตามเนื้อเรื่องของเกมแบบยาวๆ หรือชอบเกมที่มีเนื้อหาลึกซึ้งกินใจ บอกเลยว่าไม่มีเกมไหนเหมาะกับคุณเท่า Persona 5 Royal แน่นอน



สำหรับข่าวสารเกมที่น่าสนใจ คลิ๊ก!





 

 

 

[penci_review id="52265"]


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header