GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
รีวิว XCOM : Chimera Squad ย่นขนาด ย่อส่วนความสนุก
ลงวันที่ 30/04/2020

หมายเหตุ : งานเขียนรีวิวชิ้นนี้ เขียนขึ้นหลังจากใช้เวลาเล่น XCOM: Chimera Squad เป็นเวลา 20 ชั่วโมงที่ระดับความยาก Normal ซึ่งประสบการณ์การเล่น อาจจะแตกต่างออกไปในความยากระดับอื่นๆ

หมายเหตุ 2 : ในขณะที่ผู้เขียนลงบทความชิ้นนี้ มีอีกหนึ่งชิ้นงาน Turn-Based Strategy อย่าง Gears Tactics ที่ออกวางจำหน่ายแล้ว ซึ่งยังไม่มีโอกาสได้ลอง แต่มีเสียงตอบรับที่ค่อนข้างดี ใครที่สนใจสามารถซื้อได้ที่ระบบ Steam ในราคา 699 บาท

***********************************************************************************************************

ออกตัวกันก่อนว่า สำหรับผู้เขียน ถ้าลงว่าเป็นเกมแนว Turn-Based Strategy หรือเกมวางแผนแบบผลัดตากันเดินแล้วนั้น เรียกได้ว่าเป็นของโปรดอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับซีรีส์ ‘XCOM’ จากทีม Firaxis ที่ผู้เขียนเล่นมาตั้งแต่ภาคดั้งเดิมปี 1994 และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ผูกใจเล่นเป็นเวลานับร้อยชั่วโมง และนำกลับมาเล่นซ้ำได้อย่างไม่รู้เบื่อ (เฉพาะแค่ภาคสองกับส่วนเสริม War of the Chosen ก็สะสมเวลาเล่นไปแล้วถึงระดับ 200 ชั่วโมงกว่าๆ ในการเล่นสี่รอบ พร้อมลง Mod เติมคุณสมบัติต่างๆ ไปอีกมากมาย…)



แต่ในขณะที่ผู้สร้างซีรีส์ดั้งเดิมอย่าง Julian Gollop ได้ออกเดินทางในผลงานใหม่อย่าง Phoenix Point เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทีม Firaxis ก็กลับมาพร้อมประกาศการมาของ ‘Chimera Squad’ ที่ไม่มีวี่แววใดๆ และโผล่มาในแบบปุบปับปัจจุบันทันด่วน สร้างความตกตะลึงในระดับเบาะๆ เพราะหลังจากการวางจำหน่ายภาคสองและส่วนเสริมไปเกือบสามปี มันไม่มีสัญญาณถึงภาคต่อที่จะมาถึงเลยแม้แต่น้อย (เรียกว่าประกาศเปิดตัว นับไปอีกหนึ่งอาทิตย์ก็วางจำหน่ายเลย)



กล่าวโดยสรุป Chimera Squad นั้นมาด้วยสเกลที่เล็กกว่า XCOM สองภาคที่ผ่านมาค่อนข้างมาก และมาในแนวทางการเล่นที่แตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง มันถูกย่อขนาดให้กระชับขึ้น เน้นการบอกเล่าเนื้อหา และใส่ใจกับการเล่นในระดับจุลภาคที่สามารถจบหนึ่ง Session การปะทะได้อย่างรวดเร็ว เป็นงานเกมขนาดย่อมที่สมน้ำสมเนื้อกับสนนราคาค่าตัว ซึ่งทีมสร้างมีความตั้งใจเพื่อใช้สำหรับทดลองแนวทางใหม่ ที่อาจจะถูกนำมาผนวกสำหรับภาคต่อขนาดใหญ่ที่รอคอยอยู่ภายภาคหน้าก็เป็นได้



Chimera Squad เปิดฉากเรื่องราวห้าปีหลังเหตุการณ์จากเกมภาคสอง เมื่อกองทัพต่างดาว Advent ปราชัยให้แก่กองกำลังต่อต้าน XCOM โลกกลับเข้าสู่สันติภาพ ที่ที่มนุษย์ เหล่าลูกผสม และเผ่าพันธุ์ต่างดาว ต้องใช้ชีวิตร่วมกันในความสัมพันธ์แบบใหม่ โดยเฉพาะกับ City 31 เมืองแห่งความหลากหลายทางสายพันธุ์ แต่แล้วเมื่อการลอบสังหารนายกเทศมนตรีเกิดขึ้น สั่นคลอนความมั่นคงและการดำรงอยู่ของความสัมพันธ์ดังกล่าวจนอาจนำไปสู่ความโกลาหลในบั้นปลาย จึงเป็นหน้าที่ของกองกำลัง Chimera Squad หน่วยลูกผสมพิเศษพิทักษ์เมือง ที่จะต้องรักษาความสงบ และสืบสาวไปให้ถึงต้นตอว่าใครที่กำลังประสงค์ร้ายต่อความมั่นคงและสันติภาพของเมืองในครั้งนี้ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป



ความเปลี่ยนแปลงอย่างแรกที่สัมผัสได้จาก Chimera Squad ทีค่อนข้างชัดเจนเป็นอย่างมากคือ ตัวเกมมีสนามการเล่นที่เล็กลงจากเกมสองภาคก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด เพราะในขณะที่ XCOM ที่ผ่านมานั้นเน้นสเกลการเล่นแบบใหญ่ วางแผนกันในระดับโลก เกมนี้ถูกย่อส่วนลงมาให้เหลือเพียงแค่ระดับเมือง ที่ถูกแบ่งออกเป็น 9 พื้นที่หลัก ที่จะตามมาด้วยเหตุการณ์ที่เราจะต้องส่งกองกำลังลงสู่พื้นที่เพื่อเคลียร์สถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยตัวประกัน กวาดล้างกองกำลัง ไปจนถึงการค้นหาหลักฐานสำคัญก่อนถอนตัวออกจากพื้นที่ เป็นต้น



แน่นอนว่าด้วยขนาดของกองกำลังที่เล็กลง ตัวเกมจึงเน้นเป็นพิเศษในส่วนของการปะทะในแต่ละครั้งที่แบ่งออกเป็น ‘Phase’ ที่จะเริ่มต้นด้วยการเลือกจุดที่จะเข้าปะทะ (Breaching Point) ที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงบางจุดที่อาจจะต้องใช้อุปกรณ์พิเศษที่เป็นเฉพาะ เช่น การทลายกำแพงด้วยระเบิด หรือการแฮ็คประตูด้วยบัตรผ่าน เหล่านี้ สร้างความหลากหลายในมิติของการวางแผนได้ดีในระดับหนึ่ง เพราะในแต่ละจุด ก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป บางจุดสามารถให้โบนัสด้านการโจมตี บางพื้นที่เป็นเส้นทางตรงแต่มีข้อเสียที่ตามมา เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ผู้เล่นจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้การบุกทะลวงในแต่ละ Phase นั้น เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด



อีกจุดหนึ่งที่เปลี่ยนไปจากรูปแบบของ XCOM ดั้งเดิมที่สังเกตได้ คือรูปแบบการสลับตาเล่นของแต่ละยูนิตในสนามรบ เพราะใช้ระบบแบบ ‘ผลัดกันเดิน (Interleved)’ ที่ตาเดินของผู้เล่น จะผสานเข้ากับตาเดินของศัตรูในพื้นที่ แทนที่จะแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่สลับกัน เหล่านี้ ขยายขอบเขตความเป็นไปได้ในการวางแผนให้มากยิ่งขึ้น เพราะไม่มีอีกแล้วกับการเลือกใช้กองกำลังที่ทรงพลังที่สุด เพื่อกวาดล้างทุกสิ่งให้จบสิ้นลงไปในหนึ่งตาเดิน แต่ต้องพิจารณาและเลือกใช้คุณสมบัติของหน่วยรบที่มีอยู่ในมือโดยดูจากลำดับเป็นสำคัญ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเกมแนว Turn-Based Strategy ยุคโมเดิร์นในช่วงหลัง ที่ถูกนำมาประยุกต์ได้อย่างเข้ากันดีกับ Chimera Squad ที่ช่วยให้เกมมีความฉับไวและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น



และด้วยรูปแบบของเกมที่เล็กลง ทีมสร้างได้เลือกใช้การกำหนดยูนิตของกองกำลัง Chimera Squad ที่เป็นตัวละครกึ่งสำเร็จรูป ที่มีพื้นหลังเรื่องราว คุณสมบัติ ไปจนถึงทักษะและความสามารถที่แตกต่างกัน ที่ผู้เล่นจะได้เลือก 8 จาก 11 คนที่มีให้พร้อมสรรพ ไม่ว่าจะเป็นเผ่าพันธุ์เอเลียนยอดนักพลังจิตที่สามารถคุมความคิดของยูนิต, หน่วยรบพุ่งทะลวงฟันจอมถึก, สายลับนักเทคโนโลยี ไปจนถึงพลแม่นปืนและเอเลียนสายพันธุ์งูที่สามารถซอกซอนเข้าสู่จุด Breaching Point ในแบบที่ยูนิตอื่นไม่สามารถทำได้ ทั้งหมด ถูกกำหนดเอาไว้อย่างพร้อมสรรพ มีความชัดเจน และให้ผู้เล่นได้เลือกผสมผสานจนเกิดเป็นรูปแบบการเล่นที่เป็นเฉพาะได้ตามที่ใจต้องการ



กระนั้นแล้ว ภายใต้ข้อคุณสมบัติที่กล่าวไปในข้างต้น เราอาจจะไม่สามารถละเลยความจริงข้อหนึ่งของ Chimera Squad ว่า นี่เป็นเกมระดับ ‘ทุนต่ำ’ ของ Firaxis ที่สะท้อนออกมาในทุกช่วงของตัวเกม ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ Asset เก่าจากเอนจิ้นของเกมภาคสองที่ยังคงมีบั๊กส์ทางเทคนิคประปราย การลดสเกลการเล่นลงให้เหลือเพียงแค่การปะทะอย่างเพียวๆ จำกัดการปรับแต่งคุณสมบัติยูนิตที่ถูกกำหนดเอาไว้อย่างตายตัว ไปจนถึงการปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่ทั้งเก้า ที่แทบไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าส่วนเสริมให้รู้สึกถึงภาพกว้างอย่างจำกัด ไม่ได้ส่งผลใดๆ กับการเล่นอย่างมีนัยสำคัญมากนัก (นอกเสียจากการเป็นพื้นที่เพื่อให้ทรัพยากรในการพัฒนากองกำลัง ไม่มากไม่น้อยไปกว่านั้น)



การกำหนดคุณสมบัติอย่างตายตัวของยูนิตกองกำลัง Chimera Squad ทั้งสิบเอ็ดคนก็ถือได้ว่าเป็นข้อจำกัดที่น่าขัดใจ เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้น พวกเขาเหล่านี้มาพร้อมกับทักษะและความสามารถอันเป็นเฉพาะ นั่นทำให้การปรับแต่งต่างๆ ที่เคยมีมาในภาคก่อนหน้านั้นถูกลดทอนลงไป อีกทั้งการที่ผู้พัฒนาเลือกที่จะ Focus ในส่วนของเนื้อหาให้ Streamlined เป็นเส้นตรง ก็นำมาซึ่งการถอด ‘Permadeath’ หรือการสูญเสียยูนิตแบบถาวรที่เคยเป็นเสน่ห์หลักของซีรีส์ XCOM ไป (ในเกมนี้ ถ้าคุณสูญเสียยูนิต สิ่งเดียวที่เกมอนุญาตให้ทำคือการเริ่มต้นการปะทะใหม่จนกว่าจะผ่าน….)



และนั่น นำมาซึ่งข้อเสียที่ร้ายแรงที่สุดของ Chimera Squad เพราะเมื่อคุณไม่สามารถสูญเสียยูนิตไปอย่างถาวร และการกำหนดยูนิตอย่างตายตัว มันทำให้เกมนั้น ‘ง่าย’ กว่าทุกภาคที่ผ่านๆ มา ไม่มีอีกแล้วกับความตื่นระทึกจากการวางแผน หรือการระแวดระวังไม่ให้ยูนิตที่ปั้นมาอย่างดีต้องล้มตายในสนามรบ เพราะเมื่อไม่มีระบบ Permadeath ยูนิตของคุณมีแต่จะแข็งแกร่งขึ้นตามจำนวนภารกิจที่ผ่านไป และทุกการอัพเกรดที่เพิ่มเข้ามา



และนั่น ทำให้ตัวเกมเลือกที่จะใช้เทคนิคโยนศัตรูจำนวนมหาศาลในหนึ่งการปะทะ แทนที่จะสร้างความหลากหลายให้เกิดขึ้น จนท้ายที่สุดแล้ว กลยุทธ์สำคัญที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนคือ บุกทะลวง แล้วทำลายทุกสิ่งที่อยู่ในห้อง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนทำให้การเล่นช่วงท้ายแผ่วปลายลงไปอย่างน่าใจหาย ไม่นับรวมสเกลความยากในช่วงท้ายที่ถูกถีบขึ้นอย่างน่างุนงง (แม้จะไม่ได้มากจนถึงขั้นเล่นต่อไม่ได้ แต่ออกจะน่ารำคาญใจเสียมากกว่า…)



นอกเหนือจากนั้นแล้ว การบ่งบอกข้อมูลและรายละเอียดที่สำคัญผ่านหน้าจอของผู้เล่นหรือ User Interface ก็ยังคงมีส่วนขาดตกบกพร่องและไม่ได้บอกในสิ่งที่ผู้เล่นควรทราบเอาไว้อย่างชัดเจนและเพียงพอ (จนถึงในขณะที่เขียน ทักษะบางอย่างของบางยูนิตก็ยังคงเป็นที่ต้องสงสัยแม้จะเล่นจบไปแล้วก็ตาม) และแน่นอน เมื่อเป็นซีรีส์ XCOM โอกาสที่คุณจะได้เห็นการจ่อยิงแต่พลาดแม้เปอร์เซ็นต์การเข้าเป้าสูง (ที่ถูกเอาไปยำทำ Meme ให้ตลกขำขื่นกันมานักต่อนัก…) ก็จะยังกลับมาหลอกหลอนได้อย่างครบถ้วนไม่ขาดตกอีกเช่นเคย



แต่ทั้งนี้ แม้ว่ามันจะเป็นเพียงโปรเจ็กต์ Spin-Off ต้นทุนต่ำที่ถูกย่นขนาดและย่อส่วนความสนุกลงไป แต่ Chimera Squad ก็อาจจะเป็นการตอบโจทย์ที่สำคัญของทีมสร้างและทิศทางของซีรีส์ XCOM ที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต ว่าเกมแนว Turn-Based Strategy นั้น มีคุณสมบัติที่จะ ‘เร็วขึ้น’ ได้มากน้อยเพียงใด และสามารถใส่และสร้างจุดร่วมทางเนื้อหาได้มากน้อยแค่ไหน ดังที่ผู้สร้างได้กล่าวเอาไว้ตั้งแต่ช่วงต้นว่า นี่เป็นงานที่ทำขึ้นเพื่อทดสอบคุณสมบัติต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในเกมภาคถัดไป (ที่ผู้เขียนค่อนข้างมั่นใจ ว่ามันจะมีต่อแน่ๆ แต่เมื่อใดนั้น ก็ยากที่จะบอกได้)



เพราะโลกแห่งแวดวงวิดีโอเกมนั้นเดินหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง และซีรีส์ XCOM ก็ถือได้ว่าเป็นหนึ่งหมุดหมายสำคัญของเกมแนว Turn-Based Strategy ของยุคโมเดิร์น ที่มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง และการมาถึงของ Chimera Squad ที่แม้จะขาดตกบกพร่องไปบ้าง แต่มันก็ยังทำให้เราได้รู้สึกมั่นใจ ว่าผู้สร้างนั้นไม่ได้ละทิ้ง หรือยึดติดกับความสำเร็จแบบเดิมๆ ที่เคยเป็นมา หากแต่หาหนทางใหม่เพื่อขยายขอบเขตความเป็นไปได้อันไม่สิ้นสุด เพื่อผลงานที่จะตามมาในภายภาคหน้า ที่จะดีขึ้น มากขึ้น และหลากหลายยิ่งขึ้น

และผลสำเร็จของเกมนี้ ก็ตอกย้ำว่า สิ่งที่ดีๆ ดังที่ว่า จะเกิดขึ้นตามมา และชื่อของ XCOM ก็จะยังคงอยู่ต่อไป ไม่ล้มหายตายไปจากสารบบในเวลาที่กำลังจะมาถึงอย่างแน่นอน

[penci_review id="52466"]

7
ข้อดี
ข้อเสีย
7
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
รีวิว XCOM : Chimera Squad ย่นขนาด ย่อส่วนความสนุก
30/04/2020

หมายเหตุ : งานเขียนรีวิวชิ้นนี้ เขียนขึ้นหลังจากใช้เวลาเล่น XCOM: Chimera Squad เป็นเวลา 20 ชั่วโมงที่ระดับความยาก Normal ซึ่งประสบการณ์การเล่น อาจจะแตกต่างออกไปในความยากระดับอื่นๆ

หมายเหตุ 2 : ในขณะที่ผู้เขียนลงบทความชิ้นนี้ มีอีกหนึ่งชิ้นงาน Turn-Based Strategy อย่าง Gears Tactics ที่ออกวางจำหน่ายแล้ว ซึ่งยังไม่มีโอกาสได้ลอง แต่มีเสียงตอบรับที่ค่อนข้างดี ใครที่สนใจสามารถซื้อได้ที่ระบบ Steam ในราคา 699 บาท

***********************************************************************************************************

ออกตัวกันก่อนว่า สำหรับผู้เขียน ถ้าลงว่าเป็นเกมแนว Turn-Based Strategy หรือเกมวางแผนแบบผลัดตากันเดินแล้วนั้น เรียกได้ว่าเป็นของโปรดอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับซีรีส์ ‘XCOM’ จากทีม Firaxis ที่ผู้เขียนเล่นมาตั้งแต่ภาคดั้งเดิมปี 1994 และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ผูกใจเล่นเป็นเวลานับร้อยชั่วโมง และนำกลับมาเล่นซ้ำได้อย่างไม่รู้เบื่อ (เฉพาะแค่ภาคสองกับส่วนเสริม War of the Chosen ก็สะสมเวลาเล่นไปแล้วถึงระดับ 200 ชั่วโมงกว่าๆ ในการเล่นสี่รอบ พร้อมลง Mod เติมคุณสมบัติต่างๆ ไปอีกมากมาย…)



แต่ในขณะที่ผู้สร้างซีรีส์ดั้งเดิมอย่าง Julian Gollop ได้ออกเดินทางในผลงานใหม่อย่าง Phoenix Point เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ทีม Firaxis ก็กลับมาพร้อมประกาศการมาของ ‘Chimera Squad’ ที่ไม่มีวี่แววใดๆ และโผล่มาในแบบปุบปับปัจจุบันทันด่วน สร้างความตกตะลึงในระดับเบาะๆ เพราะหลังจากการวางจำหน่ายภาคสองและส่วนเสริมไปเกือบสามปี มันไม่มีสัญญาณถึงภาคต่อที่จะมาถึงเลยแม้แต่น้อย (เรียกว่าประกาศเปิดตัว นับไปอีกหนึ่งอาทิตย์ก็วางจำหน่ายเลย)



กล่าวโดยสรุป Chimera Squad นั้นมาด้วยสเกลที่เล็กกว่า XCOM สองภาคที่ผ่านมาค่อนข้างมาก และมาในแนวทางการเล่นที่แตกต่างกันออกไปอย่างสิ้นเชิง มันถูกย่อขนาดให้กระชับขึ้น เน้นการบอกเล่าเนื้อหา และใส่ใจกับการเล่นในระดับจุลภาคที่สามารถจบหนึ่ง Session การปะทะได้อย่างรวดเร็ว เป็นงานเกมขนาดย่อมที่สมน้ำสมเนื้อกับสนนราคาค่าตัว ซึ่งทีมสร้างมีความตั้งใจเพื่อใช้สำหรับทดลองแนวทางใหม่ ที่อาจจะถูกนำมาผนวกสำหรับภาคต่อขนาดใหญ่ที่รอคอยอยู่ภายภาคหน้าก็เป็นได้



Chimera Squad เปิดฉากเรื่องราวห้าปีหลังเหตุการณ์จากเกมภาคสอง เมื่อกองทัพต่างดาว Advent ปราชัยให้แก่กองกำลังต่อต้าน XCOM โลกกลับเข้าสู่สันติภาพ ที่ที่มนุษย์ เหล่าลูกผสม และเผ่าพันธุ์ต่างดาว ต้องใช้ชีวิตร่วมกันในความสัมพันธ์แบบใหม่ โดยเฉพาะกับ City 31 เมืองแห่งความหลากหลายทางสายพันธุ์ แต่แล้วเมื่อการลอบสังหารนายกเทศมนตรีเกิดขึ้น สั่นคลอนความมั่นคงและการดำรงอยู่ของความสัมพันธ์ดังกล่าวจนอาจนำไปสู่ความโกลาหลในบั้นปลาย จึงเป็นหน้าที่ของกองกำลัง Chimera Squad หน่วยลูกผสมพิเศษพิทักษ์เมือง ที่จะต้องรักษาความสงบ และสืบสาวไปให้ถึงต้นตอว่าใครที่กำลังประสงค์ร้ายต่อความมั่นคงและสันติภาพของเมืองในครั้งนี้ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป



ความเปลี่ยนแปลงอย่างแรกที่สัมผัสได้จาก Chimera Squad ทีค่อนข้างชัดเจนเป็นอย่างมากคือ ตัวเกมมีสนามการเล่นที่เล็กลงจากเกมสองภาคก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด เพราะในขณะที่ XCOM ที่ผ่านมานั้นเน้นสเกลการเล่นแบบใหญ่ วางแผนกันในระดับโลก เกมนี้ถูกย่อส่วนลงมาให้เหลือเพียงแค่ระดับเมือง ที่ถูกแบ่งออกเป็น 9 พื้นที่หลัก ที่จะตามมาด้วยเหตุการณ์ที่เราจะต้องส่งกองกำลังลงสู่พื้นที่เพื่อเคลียร์สถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการช่วยตัวประกัน กวาดล้างกองกำลัง ไปจนถึงการค้นหาหลักฐานสำคัญก่อนถอนตัวออกจากพื้นที่ เป็นต้น



แน่นอนว่าด้วยขนาดของกองกำลังที่เล็กลง ตัวเกมจึงเน้นเป็นพิเศษในส่วนของการปะทะในแต่ละครั้งที่แบ่งออกเป็น ‘Phase’ ที่จะเริ่มต้นด้วยการเลือกจุดที่จะเข้าปะทะ (Breaching Point) ที่มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงบางจุดที่อาจจะต้องใช้อุปกรณ์พิเศษที่เป็นเฉพาะ เช่น การทลายกำแพงด้วยระเบิด หรือการแฮ็คประตูด้วยบัตรผ่าน เหล่านี้ สร้างความหลากหลายในมิติของการวางแผนได้ดีในระดับหนึ่ง เพราะในแต่ละจุด ก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป บางจุดสามารถให้โบนัสด้านการโจมตี บางพื้นที่เป็นเส้นทางตรงแต่มีข้อเสียที่ตามมา เหล่านี้ เป็นสิ่งที่ผู้เล่นจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้การบุกทะลวงในแต่ละ Phase นั้น เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด



อีกจุดหนึ่งที่เปลี่ยนไปจากรูปแบบของ XCOM ดั้งเดิมที่สังเกตได้ คือรูปแบบการสลับตาเล่นของแต่ละยูนิตในสนามรบ เพราะใช้ระบบแบบ ‘ผลัดกันเดิน (Interleved)’ ที่ตาเดินของผู้เล่น จะผสานเข้ากับตาเดินของศัตรูในพื้นที่ แทนที่จะแบ่งออกเป็นส่วนใหญ่สลับกัน เหล่านี้ ขยายขอบเขตความเป็นไปได้ในการวางแผนให้มากยิ่งขึ้น เพราะไม่มีอีกแล้วกับการเลือกใช้กองกำลังที่ทรงพลังที่สุด เพื่อกวาดล้างทุกสิ่งให้จบสิ้นลงไปในหนึ่งตาเดิน แต่ต้องพิจารณาและเลือกใช้คุณสมบัติของหน่วยรบที่มีอยู่ในมือโดยดูจากลำดับเป็นสำคัญ เหล่านี้ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเกมแนว Turn-Based Strategy ยุคโมเดิร์นในช่วงหลัง ที่ถูกนำมาประยุกต์ได้อย่างเข้ากันดีกับ Chimera Squad ที่ช่วยให้เกมมีความฉับไวและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น



และด้วยรูปแบบของเกมที่เล็กลง ทีมสร้างได้เลือกใช้การกำหนดยูนิตของกองกำลัง Chimera Squad ที่เป็นตัวละครกึ่งสำเร็จรูป ที่มีพื้นหลังเรื่องราว คุณสมบัติ ไปจนถึงทักษะและความสามารถที่แตกต่างกัน ที่ผู้เล่นจะได้เลือก 8 จาก 11 คนที่มีให้พร้อมสรรพ ไม่ว่าจะเป็นเผ่าพันธุ์เอเลียนยอดนักพลังจิตที่สามารถคุมความคิดของยูนิต, หน่วยรบพุ่งทะลวงฟันจอมถึก, สายลับนักเทคโนโลยี ไปจนถึงพลแม่นปืนและเอเลียนสายพันธุ์งูที่สามารถซอกซอนเข้าสู่จุด Breaching Point ในแบบที่ยูนิตอื่นไม่สามารถทำได้ ทั้งหมด ถูกกำหนดเอาไว้อย่างพร้อมสรรพ มีความชัดเจน และให้ผู้เล่นได้เลือกผสมผสานจนเกิดเป็นรูปแบบการเล่นที่เป็นเฉพาะได้ตามที่ใจต้องการ



กระนั้นแล้ว ภายใต้ข้อคุณสมบัติที่กล่าวไปในข้างต้น เราอาจจะไม่สามารถละเลยความจริงข้อหนึ่งของ Chimera Squad ว่า นี่เป็นเกมระดับ ‘ทุนต่ำ’ ของ Firaxis ที่สะท้อนออกมาในทุกช่วงของตัวเกม ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้ Asset เก่าจากเอนจิ้นของเกมภาคสองที่ยังคงมีบั๊กส์ทางเทคนิคประปราย การลดสเกลการเล่นลงให้เหลือเพียงแค่การปะทะอย่างเพียวๆ จำกัดการปรับแต่งคุณสมบัติยูนิตที่ถูกกำหนดเอาไว้อย่างตายตัว ไปจนถึงการปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่ทั้งเก้า ที่แทบไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าส่วนเสริมให้รู้สึกถึงภาพกว้างอย่างจำกัด ไม่ได้ส่งผลใดๆ กับการเล่นอย่างมีนัยสำคัญมากนัก (นอกเสียจากการเป็นพื้นที่เพื่อให้ทรัพยากรในการพัฒนากองกำลัง ไม่มากไม่น้อยไปกว่านั้น)



การกำหนดคุณสมบัติอย่างตายตัวของยูนิตกองกำลัง Chimera Squad ทั้งสิบเอ็ดคนก็ถือได้ว่าเป็นข้อจำกัดที่น่าขัดใจ เพราะอย่างที่กล่าวไปข้างต้น พวกเขาเหล่านี้มาพร้อมกับทักษะและความสามารถอันเป็นเฉพาะ นั่นทำให้การปรับแต่งต่างๆ ที่เคยมีมาในภาคก่อนหน้านั้นถูกลดทอนลงไป อีกทั้งการที่ผู้พัฒนาเลือกที่จะ Focus ในส่วนของเนื้อหาให้ Streamlined เป็นเส้นตรง ก็นำมาซึ่งการถอด ‘Permadeath’ หรือการสูญเสียยูนิตแบบถาวรที่เคยเป็นเสน่ห์หลักของซีรีส์ XCOM ไป (ในเกมนี้ ถ้าคุณสูญเสียยูนิต สิ่งเดียวที่เกมอนุญาตให้ทำคือการเริ่มต้นการปะทะใหม่จนกว่าจะผ่าน….)



และนั่น นำมาซึ่งข้อเสียที่ร้ายแรงที่สุดของ Chimera Squad เพราะเมื่อคุณไม่สามารถสูญเสียยูนิตไปอย่างถาวร และการกำหนดยูนิตอย่างตายตัว มันทำให้เกมนั้น ‘ง่าย’ กว่าทุกภาคที่ผ่านๆ มา ไม่มีอีกแล้วกับความตื่นระทึกจากการวางแผน หรือการระแวดระวังไม่ให้ยูนิตที่ปั้นมาอย่างดีต้องล้มตายในสนามรบ เพราะเมื่อไม่มีระบบ Permadeath ยูนิตของคุณมีแต่จะแข็งแกร่งขึ้นตามจำนวนภารกิจที่ผ่านไป และทุกการอัพเกรดที่เพิ่มเข้ามา



และนั่น ทำให้ตัวเกมเลือกที่จะใช้เทคนิคโยนศัตรูจำนวนมหาศาลในหนึ่งการปะทะ แทนที่จะสร้างความหลากหลายให้เกิดขึ้น จนท้ายที่สุดแล้ว กลยุทธ์สำคัญที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนคือ บุกทะลวง แล้วทำลายทุกสิ่งที่อยู่ในห้อง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนทำให้การเล่นช่วงท้ายแผ่วปลายลงไปอย่างน่าใจหาย ไม่นับรวมสเกลความยากในช่วงท้ายที่ถูกถีบขึ้นอย่างน่างุนงง (แม้จะไม่ได้มากจนถึงขั้นเล่นต่อไม่ได้ แต่ออกจะน่ารำคาญใจเสียมากกว่า…)



นอกเหนือจากนั้นแล้ว การบ่งบอกข้อมูลและรายละเอียดที่สำคัญผ่านหน้าจอของผู้เล่นหรือ User Interface ก็ยังคงมีส่วนขาดตกบกพร่องและไม่ได้บอกในสิ่งที่ผู้เล่นควรทราบเอาไว้อย่างชัดเจนและเพียงพอ (จนถึงในขณะที่เขียน ทักษะบางอย่างของบางยูนิตก็ยังคงเป็นที่ต้องสงสัยแม้จะเล่นจบไปแล้วก็ตาม) และแน่นอน เมื่อเป็นซีรีส์ XCOM โอกาสที่คุณจะได้เห็นการจ่อยิงแต่พลาดแม้เปอร์เซ็นต์การเข้าเป้าสูง (ที่ถูกเอาไปยำทำ Meme ให้ตลกขำขื่นกันมานักต่อนัก…) ก็จะยังกลับมาหลอกหลอนได้อย่างครบถ้วนไม่ขาดตกอีกเช่นเคย



แต่ทั้งนี้ แม้ว่ามันจะเป็นเพียงโปรเจ็กต์ Spin-Off ต้นทุนต่ำที่ถูกย่นขนาดและย่อส่วนความสนุกลงไป แต่ Chimera Squad ก็อาจจะเป็นการตอบโจทย์ที่สำคัญของทีมสร้างและทิศทางของซีรีส์ XCOM ที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต ว่าเกมแนว Turn-Based Strategy นั้น มีคุณสมบัติที่จะ ‘เร็วขึ้น’ ได้มากน้อยเพียงใด และสามารถใส่และสร้างจุดร่วมทางเนื้อหาได้มากน้อยแค่ไหน ดังที่ผู้สร้างได้กล่าวเอาไว้ตั้งแต่ช่วงต้นว่า นี่เป็นงานที่ทำขึ้นเพื่อทดสอบคุณสมบัติต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในเกมภาคถัดไป (ที่ผู้เขียนค่อนข้างมั่นใจ ว่ามันจะมีต่อแน่ๆ แต่เมื่อใดนั้น ก็ยากที่จะบอกได้)



เพราะโลกแห่งแวดวงวิดีโอเกมนั้นเดินหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง และซีรีส์ XCOM ก็ถือได้ว่าเป็นหนึ่งหมุดหมายสำคัญของเกมแนว Turn-Based Strategy ของยุคโมเดิร์น ที่มีการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง และการมาถึงของ Chimera Squad ที่แม้จะขาดตกบกพร่องไปบ้าง แต่มันก็ยังทำให้เราได้รู้สึกมั่นใจ ว่าผู้สร้างนั้นไม่ได้ละทิ้ง หรือยึดติดกับความสำเร็จแบบเดิมๆ ที่เคยเป็นมา หากแต่หาหนทางใหม่เพื่อขยายขอบเขตความเป็นไปได้อันไม่สิ้นสุด เพื่อผลงานที่จะตามมาในภายภาคหน้า ที่จะดีขึ้น มากขึ้น และหลากหลายยิ่งขึ้น

และผลสำเร็จของเกมนี้ ก็ตอกย้ำว่า สิ่งที่ดีๆ ดังที่ว่า จะเกิดขึ้นตามมา และชื่อของ XCOM ก็จะยังคงอยู่ต่อไป ไม่ล้มหายตายไปจากสารบบในเวลาที่กำลังจะมาถึงอย่างแน่นอน

[penci_review id="52466"]


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header