GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] เกมที่เล่นเป็น 10 เกมที่ดองเป็น 100: ทำไมเราถึงชอบดองเกมกัน?
ลงวันที่ 09/11/2021

เชื่อว่า เกมเมอร์ทุกคนน่าจะเคยผ่านประสบการณ์ซื้อเกมมาแล้วไม่ได้เล่น หรือที่เรียกกันติดปาก “ดองเกม” กันบ้างไม่มากก็น้อย โดยหากพิจารณาอย่างใจเย็น การซื้อเกมมาเพื่อ "ดอง" ในหลายๆ ครั้งก็เป็นการกระทำที่ไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย ทำไมเราต้องซื้อเกมมาทั้งที่รู้ว่าจะไม่ได้เล่นกันนะ?


ในความเป็นจริงแล้ว นิสัยชอบดองเกมสามารถใช้จิตวิทยาช่วยอธิบายได้หลายทางด้วยกัน โดยหลักๆ วันนี้จึงอยากจะชวนเพื่อนๆ มาลองดูกันถึง "สาเหตุ" ทางจิตวิทยามากมายที่นำไปสู่การดองเกม ลองมาดูกันว่ามีข้อไหนตรงกับเพื่อนๆ บ้าง!


Specialness Spiral: สายดองรอโอกาส ไม่หยิบมาเล่นสักที

Specialness Spiral คือปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาเมื่อมนุษย์เห็นของสิ่งหนึ่งพิเศษจนเกินไป ทำให้ไม่กล้านำมาใช้งาน ยกตัวอย่างเช่นคนที่ซื้อรองเท้าลิมิเตดมาแล้วไม่กล้าใส่เป็นต้น ซึ่งลักษณะของ Specialness Spiral เกิดจากปัจจัย 2 อย่างผสมกัน

ส่วนที่หนึ่งคือธรรมชาติของมนุษย์ที่มักจะไม่ชอบตัดสินใจในทันที เพราะไม่มั่นใจว่าช่วงเวลานั้นคือช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่จะตัดสินใจหรือยัง ยกตัวอย่างเช่น คุณซื้อไวน์มาขวดหนึ่ง คุณกะจะเปิดขวดในโอกาสพิเศษเพื่อเป็นการฉลอง แต่กลับยังไม่มีโอกาสไหนดีพอที่จะทำให้คุณเปิดขวดได้เลย หรือในตอนที่คุณกำลังจะเปิดขวดนั้น คุณอาจจะคิดว่า เก็บไว้ก่อนดีกว่าไหม หมักให้รสอร่อยขึ้น หรือจะเก็บเอาไว้ไปขายต่อให้ราคาดีขึ้น ซึ่งอาการลังเลลักษณะนี้จะไปกระตุ้นสมองส่วนที่คิดว่า “เอาไว้ทีหลังก็แล้วกัน”

อาการนี้เกิดได้กับการเล่นเกมเช่นกัน ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ คุณอาจรู้สึกอยากลองเกมที่ซื้อเอาไว้เมื่อนานมาแล้ว แต่พอจะเข้าเกมจริงๆ คุณกลับคิดว่า ‘หรือจะรอให้ถึงช่วงวันหยุดยาวดี จะได้เล่นกันนานๆ เล่นทีเดียวให้จบเลย’ และเมื่อใจของคุณไขว้เขว สมองก็จะพาคุณไปส่วนที่เอาไว้เล่นทีหลัง ทำให้เกมที่ตั้งใจจะเล่นตั้งแต่ทีแรกถูกดองต่อไปทั้งแบบนั้น



และองค์ประกอบที่สองของ Specialness Spiral คือการรับรู้ที่ผิดพลาดหรือ Misattribution of Arousal นั่นเอง ซึ่งถ้าแปลตรงๆ ตัวก็คือ "การจำแนกจุดเร้าอารมณ์ผิดพลาด" หรือก็คือการที่เราเข้าใจว่าเราชอบอะไรซักอย่างด้วยเหตุผลที่ไม่ตรงกับความจริงนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่นเราอาจจะรู้สึกว่าเราชอบเล่นเกมกาชาเกมหนึ่งมากๆ จนเติมเงินแบบไม่ยั้ง แต่เมื่อสำรวจลึกลงไป สิ่งที่เราชอบอาจไม่ใช่เกมนั้นโดยตรง แต่คือ "ประสบการณ์ของการกดกาชา" เป็นต้น

ส่วนนี้จะเกี่ยวโยงมาจากส่วนที่หนึ่ง ในเมื่อเราไม่ได้เล่นเกมที่ซื้อมาสักที นั่นจะทำให้สมองเข้าใจผิดไปว่า เกมนี้มันสำคัญจนไม่ควรจะหยิบมาเล่นในวันธรรมดาๆ ทั่วไป ควรจะต้องรอโอกาสพิเศษถึงคู่ควรแก่การก้าวเข้าสู่โลกใบใหม่ กล่าวคือสมองของคุณดันให้ "ความสำคัญ" กับสิ่งนั้นมากจนเกินไป ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ ก็เหมือนกับคุณซื้อรองเท้าคู่ใหม่มา แต่คุณไม่อยากให้มันเปื้อน คุณเลยเก็บมันเอาไว้ รอใส่ในวันที่สำคัญอย่างไปเดตหรือใส่ในงานมงคลต่าง ๆ แต่จนแล้วจนรอด คุณก็ยังหาโอกาสหยิบรองเท้าคู่ใหม่มาใส่ไม่ได้เลยสักครั้ง

ยิ่งนานวันไป สมองจะเริ่มทำให้คุณเข้าใจผิด คิดไปว่ารองเท้าคู่นี้มันควรต้องใส่ในงานที่พิเศษมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้คุณไม่มีโอกาสได้อวดโฉมมันกับโลกภายนอกเลยสักทีและด้วยสองส่วนผสมนี้เอง จึงพาเราไปสู่อาการ Specialness Spiral ที่เห็นของสิ่งหนึ่งสำคัญเกินไป จนไม่กล้าใช้งาน ทั้งสองส่วนผสมนี้จะทำให้เกิดเป็นวังวนที่ไม่สิ้นสุด จนกว่าคุณจะพยายามฝืนใจเอามันออกมาใช้ครั้งแรกจนได้นั่นแหละ


รู้ตัวอีกที...


The Diderot Effect: สายสะสม นิยมซื้อของใหม่

The Diderot Effect เป็นแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวว่าการได้รับของใหม่จะนำไปสู่การบริโภคที่บานปลายออกไปไม่จบสิ้น อาจนิยมได้ง่ายๆ ว่า "อาการเสพติดของใหม่" นั่นเอง

ลักษณะของ The Diderot Effect จะเป็นเหมือนขั้วตรงข้ามกับคนที่ติดอยู่ในวังวนของ Specialness Spiral เพราะในขณะที่คนในกลุ่มแรกจะยึดติดกับสิ่งของชิ้นหนึ่งเป็นระยะเวลานาน คนกลุ่มนี้จะมีใจที่ใฝ่หาของใหม่ตลอดเวลา

ยกตัวอย่างเช่น คุณได้รองเท้าใหม่มา แต่คุณกลับพบว่า ไม่มีชุดที่ดีพอจะใส่คู่กับรองเท้านี้ได้เลย คุณจึงตัดสินใจช็อปปิ้งเพิ่มอีกหน่อย เพื่อหาชุดให้เข้าคู่กับรองเท้า ทว่าหลังจากที่ได้ชุดแล้วคุณยังไม่หยุดแค่นั้น คุณต้องการเครื่องประดับที่จะช่วยยกระดับการแต่งตัวของคุณขึ้นไปอีก และการเสริมของใหม่เข้าไปเรื่อยๆ จะนำไปสู่สภาวะวิกฤตทางการเงินของคุณได้ง่ายๆ เช่นกัน


ซึ่งหากจะเทียบเป็นการซื้อเกม ก็อาจจะเหมือนกับเวลาที่เราซื้อคอมหรือเครื่องคอนโซลมาใหม่ที่แรงกว่าเดิม ก็อาจจะมีความรู้สึกว่าอยากจะมีเกมแรงๆ ไว้เล่นบนคอมหรือคอนโซลนั้นได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ ก็เลยตะบี้ตะบันซื้อเกมใหม่มาเล่น และเมื่อมีเกมใหม่ที่ภาพสวยกว่าออกมาอีก คุณก็พร้อมจะทิ้งเกมเดิมไปซื้อเกมใหม่ แม้จะยังเล่นเกมที่ซื้อมาตอนแรกไม่หมด เพียงเพื่อให้รู้สึก "คุ้มค่า" กับคอมหรือ PC เครื่องใหม่ที่ได้มา จนกลายเป็นมีเกมที่เล่นไม่จบดองเอาไว้เพียบไปหมดนั่นเอง



พอมีเครื่อง ก็เริ่มมีอย่างอื่นงอกตามมา...


Fear of Missing Out (FOMO): สายตามกระแส กดเกมไม่ยั้งเพราะ "ของมันต้องมี!"

Fear of missing out (ย่อสั้นๆ ว่า FOMO) สามารถแปลเป็นไทยตรงๆ ได้ว่า "กลัวพลาด" หรือ "กลัวไม่ได้มีส่วนร่วม" นั่นเอง โดยแนวคิด FOMO เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้มากในคนยุคใหม่ จากกระแสโซเชี่ยลที่เปลี่ยนไปมาอย่างว่องไวตลอดเวลา จนบางครั้งก็ทำอะไรตามๆ คนอื่นไปเพราะ "กลัวพลาด" หรือ "กลัวคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง" นั่นเอง

อาการ Fear of Missing Out น่าจะเป็นอาการที่หลายคนเคยประสบมาแล้ว คุณอาจจะเคยตัดสินใจดูหนังหรือซีรีส์เกาหลีที่เพื่อนๆ พูดถึงกันไม่หยุด แม้จะไม่เคยนึกอยากดูมาก่อน เพียงเพื่อให้เข้าใจว่าพวกเขาคุยอะไรกันเป็นต้น แน่นอนว่าเราสามารถแทนหนังหรือซีรีส์เก่าหลีเป็นวิดีโอเกมก็ได้ หากคุณนั่งฟังเพื่อนในกลุ่มพูดถึงเกม Final Fantasy XIV ว่าสุดยอดอย่างงั้นอย่างงี้ไปทุกวัน ไม่ช้าก็เร็วคุณก็อาจจะเริ่มมีความคิดว่า "...หรือตูกำลังพลาดอะไรไปล่ะ?" ซึ่งนั่นแหละคือความ FOMO แบบเต็มๆ เลย


อาการ FOMO ไม่จำเป็นต้องเริ่มจากคนใกล้ตัวเสมอไปด้วย ยิ่งในยุคนี้ที่การสตรีมเกมและการสร้างคอนเทนต์ทางช่องทางต่างๆ มีความแพร่หลายมากขึ้น คุณก็ยิ่งมีเหตุให้รู้สึกถึงอาการ FOMO มากขึ้นไปด้วย คุณอาจเห็นพี่เหยกเล่นเกมๆ หนึ่งที่คุณสนใจ ก็เลยไปซื้อมาลองเล่นบ้างจะได้รู้ว่าพี่แกพูดถึงอะไรอยู่ในคลิป ทั้งที่คุณอาจจะมีเกมที่เล่นค้างอยู่ก็ได้


สตรีมเมอร์และยูทูบเบอร์ทั้งหลายเป็นต้นเหตุของอาการ FOMO ได้เช่นกัน


แม้ว่าคงจะไม่ได้ช่วยให้เกมในคลังของท่านผู้อ่านทั้งหลายเบาบางลงไป และก็ไม่ปฏิเสธว่าการฉวยโอกาสซื้อเกมที่อยากเล่นเมื่อมีการลดราคาก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่ก็หวังว่าอย่างน้อยบทความนี้จะช่วยใครก็ตามที่หนักใจกับคลังเกมที่ล้นปรี่ของตัวเองได้มีโอกาสทำความเข้าใจและสำรวจพฤติกรรมในการจับจ่ายใช้สอยกันซักนิด อย่างน้อยก็เพื่อให้เข้าใจตัวเองมากขึ้นนะจ๊ะ


อ้างอิง:

https://www.thexboxhub.com/we-huge-backlog-games/
https://www.inverse.com/mind-body/psychology-of-buying-things-we-dont-need
https://www.wministry.com/th/the-diderot-effect-marie-kondo/
https://www.verywellmind.com/how-to-cope-with-fomo-4174664


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] เกมที่เล่นเป็น 10 เกมที่ดองเป็น 100: ทำไมเราถึงชอบดองเกมกัน?
09/11/2021

เชื่อว่า เกมเมอร์ทุกคนน่าจะเคยผ่านประสบการณ์ซื้อเกมมาแล้วไม่ได้เล่น หรือที่เรียกกันติดปาก “ดองเกม” กันบ้างไม่มากก็น้อย โดยหากพิจารณาอย่างใจเย็น การซื้อเกมมาเพื่อ "ดอง" ในหลายๆ ครั้งก็เป็นการกระทำที่ไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย ทำไมเราต้องซื้อเกมมาทั้งที่รู้ว่าจะไม่ได้เล่นกันนะ?


ในความเป็นจริงแล้ว นิสัยชอบดองเกมสามารถใช้จิตวิทยาช่วยอธิบายได้หลายทางด้วยกัน โดยหลักๆ วันนี้จึงอยากจะชวนเพื่อนๆ มาลองดูกันถึง "สาเหตุ" ทางจิตวิทยามากมายที่นำไปสู่การดองเกม ลองมาดูกันว่ามีข้อไหนตรงกับเพื่อนๆ บ้าง!


Specialness Spiral: สายดองรอโอกาส ไม่หยิบมาเล่นสักที

Specialness Spiral คือปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาเมื่อมนุษย์เห็นของสิ่งหนึ่งพิเศษจนเกินไป ทำให้ไม่กล้านำมาใช้งาน ยกตัวอย่างเช่นคนที่ซื้อรองเท้าลิมิเตดมาแล้วไม่กล้าใส่เป็นต้น ซึ่งลักษณะของ Specialness Spiral เกิดจากปัจจัย 2 อย่างผสมกัน

ส่วนที่หนึ่งคือธรรมชาติของมนุษย์ที่มักจะไม่ชอบตัดสินใจในทันที เพราะไม่มั่นใจว่าช่วงเวลานั้นคือช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่จะตัดสินใจหรือยัง ยกตัวอย่างเช่น คุณซื้อไวน์มาขวดหนึ่ง คุณกะจะเปิดขวดในโอกาสพิเศษเพื่อเป็นการฉลอง แต่กลับยังไม่มีโอกาสไหนดีพอที่จะทำให้คุณเปิดขวดได้เลย หรือในตอนที่คุณกำลังจะเปิดขวดนั้น คุณอาจจะคิดว่า เก็บไว้ก่อนดีกว่าไหม หมักให้รสอร่อยขึ้น หรือจะเก็บเอาไว้ไปขายต่อให้ราคาดีขึ้น ซึ่งอาการลังเลลักษณะนี้จะไปกระตุ้นสมองส่วนที่คิดว่า “เอาไว้ทีหลังก็แล้วกัน”

อาการนี้เกิดได้กับการเล่นเกมเช่นกัน ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ คุณอาจรู้สึกอยากลองเกมที่ซื้อเอาไว้เมื่อนานมาแล้ว แต่พอจะเข้าเกมจริงๆ คุณกลับคิดว่า ‘หรือจะรอให้ถึงช่วงวันหยุดยาวดี จะได้เล่นกันนานๆ เล่นทีเดียวให้จบเลย’ และเมื่อใจของคุณไขว้เขว สมองก็จะพาคุณไปส่วนที่เอาไว้เล่นทีหลัง ทำให้เกมที่ตั้งใจจะเล่นตั้งแต่ทีแรกถูกดองต่อไปทั้งแบบนั้น



และองค์ประกอบที่สองของ Specialness Spiral คือการรับรู้ที่ผิดพลาดหรือ Misattribution of Arousal นั่นเอง ซึ่งถ้าแปลตรงๆ ตัวก็คือ "การจำแนกจุดเร้าอารมณ์ผิดพลาด" หรือก็คือการที่เราเข้าใจว่าเราชอบอะไรซักอย่างด้วยเหตุผลที่ไม่ตรงกับความจริงนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่นเราอาจจะรู้สึกว่าเราชอบเล่นเกมกาชาเกมหนึ่งมากๆ จนเติมเงินแบบไม่ยั้ง แต่เมื่อสำรวจลึกลงไป สิ่งที่เราชอบอาจไม่ใช่เกมนั้นโดยตรง แต่คือ "ประสบการณ์ของการกดกาชา" เป็นต้น

ส่วนนี้จะเกี่ยวโยงมาจากส่วนที่หนึ่ง ในเมื่อเราไม่ได้เล่นเกมที่ซื้อมาสักที นั่นจะทำให้สมองเข้าใจผิดไปว่า เกมนี้มันสำคัญจนไม่ควรจะหยิบมาเล่นในวันธรรมดาๆ ทั่วไป ควรจะต้องรอโอกาสพิเศษถึงคู่ควรแก่การก้าวเข้าสู่โลกใบใหม่ กล่าวคือสมองของคุณดันให้ "ความสำคัญ" กับสิ่งนั้นมากจนเกินไป ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ ก็เหมือนกับคุณซื้อรองเท้าคู่ใหม่มา แต่คุณไม่อยากให้มันเปื้อน คุณเลยเก็บมันเอาไว้ รอใส่ในวันที่สำคัญอย่างไปเดตหรือใส่ในงานมงคลต่าง ๆ แต่จนแล้วจนรอด คุณก็ยังหาโอกาสหยิบรองเท้าคู่ใหม่มาใส่ไม่ได้เลยสักครั้ง

ยิ่งนานวันไป สมองจะเริ่มทำให้คุณเข้าใจผิด คิดไปว่ารองเท้าคู่นี้มันควรต้องใส่ในงานที่พิเศษมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้คุณไม่มีโอกาสได้อวดโฉมมันกับโลกภายนอกเลยสักทีและด้วยสองส่วนผสมนี้เอง จึงพาเราไปสู่อาการ Specialness Spiral ที่เห็นของสิ่งหนึ่งสำคัญเกินไป จนไม่กล้าใช้งาน ทั้งสองส่วนผสมนี้จะทำให้เกิดเป็นวังวนที่ไม่สิ้นสุด จนกว่าคุณจะพยายามฝืนใจเอามันออกมาใช้ครั้งแรกจนได้นั่นแหละ


รู้ตัวอีกที...


The Diderot Effect: สายสะสม นิยมซื้อของใหม่

The Diderot Effect เป็นแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่กล่าวว่าการได้รับของใหม่จะนำไปสู่การบริโภคที่บานปลายออกไปไม่จบสิ้น อาจนิยมได้ง่ายๆ ว่า "อาการเสพติดของใหม่" นั่นเอง

ลักษณะของ The Diderot Effect จะเป็นเหมือนขั้วตรงข้ามกับคนที่ติดอยู่ในวังวนของ Specialness Spiral เพราะในขณะที่คนในกลุ่มแรกจะยึดติดกับสิ่งของชิ้นหนึ่งเป็นระยะเวลานาน คนกลุ่มนี้จะมีใจที่ใฝ่หาของใหม่ตลอดเวลา

ยกตัวอย่างเช่น คุณได้รองเท้าใหม่มา แต่คุณกลับพบว่า ไม่มีชุดที่ดีพอจะใส่คู่กับรองเท้านี้ได้เลย คุณจึงตัดสินใจช็อปปิ้งเพิ่มอีกหน่อย เพื่อหาชุดให้เข้าคู่กับรองเท้า ทว่าหลังจากที่ได้ชุดแล้วคุณยังไม่หยุดแค่นั้น คุณต้องการเครื่องประดับที่จะช่วยยกระดับการแต่งตัวของคุณขึ้นไปอีก และการเสริมของใหม่เข้าไปเรื่อยๆ จะนำไปสู่สภาวะวิกฤตทางการเงินของคุณได้ง่ายๆ เช่นกัน


ซึ่งหากจะเทียบเป็นการซื้อเกม ก็อาจจะเหมือนกับเวลาที่เราซื้อคอมหรือเครื่องคอนโซลมาใหม่ที่แรงกว่าเดิม ก็อาจจะมีความรู้สึกว่าอยากจะมีเกมแรงๆ ไว้เล่นบนคอมหรือคอนโซลนั้นได้อย่างสมน้ำสมเนื้อ ก็เลยตะบี้ตะบันซื้อเกมใหม่มาเล่น และเมื่อมีเกมใหม่ที่ภาพสวยกว่าออกมาอีก คุณก็พร้อมจะทิ้งเกมเดิมไปซื้อเกมใหม่ แม้จะยังเล่นเกมที่ซื้อมาตอนแรกไม่หมด เพียงเพื่อให้รู้สึก "คุ้มค่า" กับคอมหรือ PC เครื่องใหม่ที่ได้มา จนกลายเป็นมีเกมที่เล่นไม่จบดองเอาไว้เพียบไปหมดนั่นเอง



พอมีเครื่อง ก็เริ่มมีอย่างอื่นงอกตามมา...


Fear of Missing Out (FOMO): สายตามกระแส กดเกมไม่ยั้งเพราะ "ของมันต้องมี!"

Fear of missing out (ย่อสั้นๆ ว่า FOMO) สามารถแปลเป็นไทยตรงๆ ได้ว่า "กลัวพลาด" หรือ "กลัวไม่ได้มีส่วนร่วม" นั่นเอง โดยแนวคิด FOMO เป็นหนึ่งในอาการที่พบได้มากในคนยุคใหม่ จากกระแสโซเชี่ยลที่เปลี่ยนไปมาอย่างว่องไวตลอดเวลา จนบางครั้งก็ทำอะไรตามๆ คนอื่นไปเพราะ "กลัวพลาด" หรือ "กลัวคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง" นั่นเอง

อาการ Fear of Missing Out น่าจะเป็นอาการที่หลายคนเคยประสบมาแล้ว คุณอาจจะเคยตัดสินใจดูหนังหรือซีรีส์เกาหลีที่เพื่อนๆ พูดถึงกันไม่หยุด แม้จะไม่เคยนึกอยากดูมาก่อน เพียงเพื่อให้เข้าใจว่าพวกเขาคุยอะไรกันเป็นต้น แน่นอนว่าเราสามารถแทนหนังหรือซีรีส์เก่าหลีเป็นวิดีโอเกมก็ได้ หากคุณนั่งฟังเพื่อนในกลุ่มพูดถึงเกม Final Fantasy XIV ว่าสุดยอดอย่างงั้นอย่างงี้ไปทุกวัน ไม่ช้าก็เร็วคุณก็อาจจะเริ่มมีความคิดว่า "...หรือตูกำลังพลาดอะไรไปล่ะ?" ซึ่งนั่นแหละคือความ FOMO แบบเต็มๆ เลย


อาการ FOMO ไม่จำเป็นต้องเริ่มจากคนใกล้ตัวเสมอไปด้วย ยิ่งในยุคนี้ที่การสตรีมเกมและการสร้างคอนเทนต์ทางช่องทางต่างๆ มีความแพร่หลายมากขึ้น คุณก็ยิ่งมีเหตุให้รู้สึกถึงอาการ FOMO มากขึ้นไปด้วย คุณอาจเห็นพี่เหยกเล่นเกมๆ หนึ่งที่คุณสนใจ ก็เลยไปซื้อมาลองเล่นบ้างจะได้รู้ว่าพี่แกพูดถึงอะไรอยู่ในคลิป ทั้งที่คุณอาจจะมีเกมที่เล่นค้างอยู่ก็ได้


สตรีมเมอร์และยูทูบเบอร์ทั้งหลายเป็นต้นเหตุของอาการ FOMO ได้เช่นกัน


แม้ว่าคงจะไม่ได้ช่วยให้เกมในคลังของท่านผู้อ่านทั้งหลายเบาบางลงไป และก็ไม่ปฏิเสธว่าการฉวยโอกาสซื้อเกมที่อยากเล่นเมื่อมีการลดราคาก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร แต่ก็หวังว่าอย่างน้อยบทความนี้จะช่วยใครก็ตามที่หนักใจกับคลังเกมที่ล้นปรี่ของตัวเองได้มีโอกาสทำความเข้าใจและสำรวจพฤติกรรมในการจับจ่ายใช้สอยกันซักนิด อย่างน้อยก็เพื่อให้เข้าใจตัวเองมากขึ้นนะจ๊ะ


อ้างอิง:

https://www.thexboxhub.com/we-huge-backlog-games/
https://www.inverse.com/mind-body/psychology-of-buying-things-we-dont-need
https://www.wministry.com/th/the-diderot-effect-marie-kondo/
https://www.verywellmind.com/how-to-cope-with-fomo-4174664


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header