GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
[Review] รีวิวเกม Thunder Tier One "คืนสู่เหย้า รากเหง้าเกม Tactical Shooter"
ลงวันที่ 14/12/2021

เกมยิงเชิงกลยุทธ์หรือ Tactical Shooter เป็นหนึ่งในแนวเกมที่ปัจจุบัน บรรดาผู้พัฒนาเกมซึ่งเคยทำเกมแนวนี้จนเป็นกลายเป็นแม่แบบให้กับวงการ กลับหลงทาง ออกทะเล จนกู่ไม่กลับ แค่เรากล่าวประโยคเดียว เชื่อว่าทุกคนจะนึกถึง Ubisoft เป็นรายชื่อต้นๆ กับ Ghost Recon และ Rainbow Six 

ยิ่งพูดก็ยิ่งเหนื่อยใจ กับสถานะของเกมทั้งสอง อีกเกมก็จะโดดร่ม อีกเกมก็จะยิงเอเลี่ยน (ถอนหายใจเฮือกใหญ่) จึงเป็นช่วงเวลาที่เราได้เห็นทีมพัฒนาทั้งค่ายเล็กหรือค่ายกลาง พยายามพัฒนาเกม tactical shooter ให้ย้อนกลับไปสู่จุดที่ทำให้เกมแนวดังกล่าว รุ่งเรืองและเป็นที่จดจำ ทั้ง Insurgency, Zero Hour, GROUND BRANCH, Ready Or Not และเกมที่เรากำลังจะกล่าวถึงอย่าง Thunder Tier One

Thunder Tier One เป็นเกมแนว Realistic Top-down Shooter แตกต่างจากเกมอื่นที่กล่าวข้างต้น ซึ่งล้วนเป็นเกมแนว First-Person Shooter ความแตกต่างดังกล่าวจึงทำให้กลายเป็นจุดสนใจ เพราะเกม Top-down Shooter (มุมมองตาสวรรค์จากด้านบน) แบบกึ่งสมจริงมีจำนวนไม่มากสักเท่าไรเมื่อเทียบกับ First-Person Shooter ยกตัวอย่างเช่นเกม Police Stories, Foxhole และ Intravenous เป็นต้น นอกจากนั้น ชื่อเสียงของทีมพัฒนาก็เป็นอีกจุดสนใจ สำหรับทีม KRAFTON, Inc. ผู้พัฒนาเกมซึ่งสร้างกระแสนิยมในแนว battle royale อย่าง PUBG: BATTLEGROUNDS

เรื่องราวเบื้องต้น

เรื่องราวในเกม Thunder Tier One อาจไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ เป็นเรื่องของหน่วยกองกำลังต่อต้านการก่อการร้าย Thunder ต้องลงพื้นที่ทำภารกิจเด็ดหัวผู้นำองค์กรก่อการร้ายที่ผันตัวมาจากกองกำลังกึ่งทหาร SBR ซึ่งกำลังก่อการอุกอาจในประเทศ Salobia เนื้อเรื่องในเกมเป็นเพียงเป็นเหตุผลสนับสนุนให้เราออกไปเด็ดหัวผู้ก่อการร้าย ไม่ใช่จุดขายและจุดมุ่งหมายสำคัญของเกม ฉะนั้น หัวใจหลักของ Thunder Tier One จริงๆ คือระบบการเล่นที่ทำมาเพื่อสร้างความประทับใจและตอบแทนคอเกมยิงเชิงกลยุทธ์จนสาแก่ใจ

ระบบการเล่น

ระบบการเล่นของ Thunder Tier One นำผู้เล่นย้อนไปสู่จุดสูงสุดของเกมแนวดังกล่าว หากเปรียบเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน Thunder Tier One คือ Ghost Recon และ Rainbow Six ในยุคแรก ทั้งระบบเตรียมตัวก่อนเข้าสู่ช่วงปฏิบัติภารกิจ (off-battle) และระบบการเล่นตอนปฏิบัติภารกิจ

ช่วงเตรียมตัวก่อนเข้าสู่ช่วงปฏิบัติภารกิจ (off-battle)

ช่วงเตรียมตัว เกมมีระบบการปรับแต่งเจ้าหน้าที่แบบละเอียดในระดับหนึ่ง ตั้งแต่หัวจรดเท้า เกมแบ่งเป็นสองหมวดคือ 1. เครื่องแต่งกาย 2. อาวุธและอุปกรณ์ 

ในด้านเครื่องแต่งกาย แบ่งเป็นเครื่องแต่งกายหลัก กับเครื่องแต่งกายรอง จำพวกไม่ส่งผลต่อค่าสถานะอย่างมีนัย การสวมใส่จะส่งผลต่อค่าสถิติของเจ้าหน้าที่ทั้งหมด มากน้อยขึ้นอยู่กับประเภทข้างต้น โดยค่าสถานะประกอบด้วย

  • Head Protection ส่งผลกับการป้องกันศีรษะ
  • Body Protection ส่งผลกับการป้องกันลำตัว
  • Mobility ส่งผลกับความเร็วเคลื่อนที่, การฟื้นตัวจากอาการเหนื่อยหอบ และการปีนป่ายสิ่งกีดขวาง
  • Dexterity ส่งผลกับการสลับอาวุธและรีโหลด, ความนิ่งการเล็งเป้า, หยิบของจากพื้น และปีนบันได
  • Encumbrance ส่งผลกับค่าความเหนื่อยโดยรวมและการส่งเสียงจากตัวเจ้าหน้าที่

ส่วนอาวุธแต่ละชิ้นก็มีค่าสถานะเฉพาะตัวตามเอกลักษณ์ของปืนแต่ละกระบอก เกมไม่มีจำกัดการเข้าถึงปืน ปืนทุกกระบอกเราสามารถหยิบใช้ได้โดยไม่มีเงื่อนไขตั้งแต่เริ่มเล่นเกมครั้งแรก รวมถึงอุปกรณ์เสริมก็เช่นกัน ทั้งอาวุธและอุปกรณ์จะมีแต้มกำหนดไว้แต่ละชิ้น (ในเกมเรียกว่า budget) การเลือกใช้อาวุธและอุปกรณ์ดังกล่าวจะบริโภคแต้มตามที่เกมกำหนดไว้ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละชิ้น โดยปกติเกมกำหนดให้ผู้เล่นสามารถใส่ได้สูงสุดที่ 24 แต้ม (แต่ผู้เล่นสามารถปรับแต่งกฎเรื่องแต้มเองได้ตามต้องการ)

ปัจจุบันเกมมีอาวุธรวม 30 กระบอก ตั้งแต่ปืนพกจนถึงสไนเปอร์ ปืนแต่ละกระบอกสามารถใส่อุปกรณ์เสริมเพิ่มความแม่น (และเท่) ได้เช่นกัน แต่ของแต่งบางชิ้นก็บริโภคแต้มตามที่กล่าวไปข้างต้น ปืนบางกระบอกมีกระสุนให้เลือกใช้มากกว่าหนึ่งชนิด เลือกใช้ได้ตามสถานการณ์และความถนัด และเกมมีระบบเลเวลผู้เล่น แต่อย่าตื่นตระหนก ระบบดังกล่าวมีไว้เพื่อปลดล็อกสีปืน, สีเครื่องแต่งกาย และพวกเครื่องแต่งกายทั้งหลักและรอง

โดยก่อนลงปฏิบัติภารกิจ เกมมีการสรุปข้อมูลสำคัญในภารกิจให้ผู้เล่นได้เรียนรู้ จะไม่อ่านก็ได้ตามสะดวก แต่หากได้อ่านแล้ว ข้อมูลทุกอย่างที่เกมบอกเป็นข้อมูลสำคัญทั้งหมด อย่างการบอกว่าพื้นที่ดังกล่าวมีการเวรยามหรือไม่ พื้นที่บางจุดสามารถเข้าถึงได้โดยใช้อุปกรณ์พิเศษผ่านทางเข้าไป

ผลจากระบบการปรับแต่งที่ละเอียด ทำให้ผู้เล่นสามารถสร้างแนวทางการเล่นที่ตนต้องการได้ตามใจนึก ไม่ว่าจะเล่นแนวหน้าสายฝ่ากระสุน แนวหลังสายสนับสนุน แนวซุ่มยิงเด็ดหัวทรชน หรืออื่นๆ ตามที่จะสรรหา เมื่อลงสนาม ปฏิบัติภารกิจ แนวทางการเล่นของผู้เล่นแต่ละคนจะส่งผลชัดเจนต่อรูปแบบการเล่นในทุกๆ รอบ อย่างเช่น เรากับเพื่อนร่วมทีมเน้นปรับแต่งอุปกรณ์มาเพื่อลอบเร้นเข้าปฏิบัติการ หากเราไม่พลาดทำให้ศัตรูตื่นตระหนก เราก็จะได้เกมการเล่นแบบแนวลอบเร้นไปจนจบตา หรือหากต้องการสาดกระสุนไม่สนสี่สนแปด เราก็จะได้เกมการเล่นแนวยิงแ*งเลย (shoot 'em up) สะใจไปจนจบตาอีกเช่นกัน

ช่วงปฏิบัติภารกิจ

รากฐานของระบบเกมการเล่น Thunder Tier One คือความกึ่งสมจริง ซึ่งเป็นหัวใจของแนวเกม tactical shooter ในยุคก่อน ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบเรื่อง

นาทีสังหาร (time-to-kill) อันไวว่อง กระสุนเพียงนัดเดียวสามารถสังหารหรือถูกสังหารได้ การยิงหรือถูกยิงแต่ละนัดจะถูกคำนวณและส่งผลจากการแต่งกายของผู้เล่น

ความเปิดกว้างในการเข้าทำ (open-ended map) เกมใช้การออกแบบแผนที่แบบกึ่งเปิดกว้าง ไม่ถึงขั้นโลกเปิด (open world) ความแตกต่างจากแผนที่แบบโลกเปิดคือ เมื่อออกแบบโดยใช้ปรัชญาของเกมกึ่งเปิดกว้าง ผู้พัฒนาจะใส่รายละเอียดในแผนที่แบบยิบย่อยได้ลงลึกมากกว่า ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับ Ghost Recon และ Rainbow Six ในยุคแรก เกม Thunder Tier One จึงมักโยนผู้เล่นลงไปในแต่ละพื้นที่ แล้วให้ผู้เล่น “ออกแบบการเล่น” อย่างที่ตนต้องการ การเล่นแต่ละรอบจะไม่เหมือนกัน หากผู้เล่นเลือกใช้เส้นทางใหม่ๆ ในการเข้าทำ

การเล่นเป็นทีม เมื่อพิเคราะห์ เกมถูกออกแบบให้เล่นกับเพื่อนมากกว่าเล่นคนเดียว นอกจากความไม่สมบูรณ์ของ AI ร่วมทีม การเล่นกับผู้เล่นจริงๆ ดึงประสิทธิภาพ ความสนุก และความสะดวกของเกมได้มากกว่า เนื่องด้วยเกมมีความยากในระดับหนึ่ง ประกอบกับต้องการความร่วมมือจากเพื่อนร่วมทีม ทั้งการสนับสนุนการยิง การใช้อุปกรณ์ การตรวจสอบตำแหน่งศัตรู การสำรวจพื้นที่ และการบุกเข้าทำโดยอาศัยความเป็นทีม หากได้เล่นแบบสื่อสารกันอย่างจริงจัง เราอาจเล่นแบบสวมบทบาทอย่างเกม milsim (จำลองการปฏิบัติการทหาร) ได้เลยทีเดียว

เมื่อทุกองค์ประกอบล่อหลอมเข้าด้วยกัน ทั้งระบบช่วงก่อนปฏิบัติภารกิจและช่วงปฏิบัติภารกิจ ส่งผลให้เกม Thunder Tier One มีเกมการเล่นที่ย้อนกลับไปสู่รากเหง้าของเกมยิงเชิงกลยุทธ์แบบดั้งเดิม ทั้งต้องอาศัยความใจเย็นในการเข้าทำ ต้องวางแผนเลือกเส้นทางที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน ต้องใช้ความแม่นยำในการสังหารศัตรู เพราะทุกย่างก้าวของความผิดพลาดนำไปสู่ความตายและความล้มเหลวของภารกิจ 

ถึงแม้เกมอาศัยมุมมอง top-down แต่มันไม่ได้บั่นทอนความเป็นเกมยิงเชิงกลยุทธ์แม้แต่น้อย ยิ่งไปกว่านั้น การใช้มุมมองดังกล่าวมันทำให้ผู้เล่นมองภาพรวมชัดกว่าเดิม เพราะเราเห็นทุกการกระทำของตัวเองและเพื่อนร่วมทีม ทำให้การร่วมมือระหว่างผู้ในทีมมีความลื่นไหลมากกว่าเกมที่ใช้มุมมองบุคคลที่หนึ่งพอสมควร (และลดอาการคลื่นเหียนอาเจียนไส้ ผลพวงจากการแพ้ภาพเคลื่อนไหวในเกมมุมมองบุคคลที่หนึ่ง)

แต่ยังมีสิ่งที่น่ากังวล

โดยรวม Thunder Tier One เป็นเกมที่มีรากฐานมั่นคงและพร้อมนำไปต่อยอดให้ไปไกลกว่าตอนนี้ แต่ปัญหากลับอยู่ที่ประเด็นปริมาณเนื้อหาเกมที่มีน้อยจนน่าใจหาย เกมมีภารกิจหลักให้เล่นเพียง 9 ด่าน ส่วนโหมดผู้เล่นหลายคนก็นำด่านดังกล่าวมาใช้ซ้ำ ไม่ได้มีเนื้อหาแยกย่อยไปเป็นของตัวเอง ประกอบกับยังไม่มีแผนการอัปเดตเนื้อหาเกมจากผู้พัฒนาแต่อย่างใด

ปัจจุบันคงต้องฝากความหวังไว้กับนักม็อด เนื่องจากเกมมีระบบ Steam Workshop หากคิดในอีกมุมก็มีความเป็นไปได้ เหตุที่มีระบบ Steam Workshop เพราะผู้พัฒนาก็อาจฝากความหวังไว้กับนักม็อดเช่นกัน ...

7
ข้อดี

ระบบเกมมีรากฐานที่ดีมาก พร้อมต่อยอด

ระบบการปรับแต่งที่หลากหลาย

ระบบการยิงที่สนุกและอาศัยความเป็นทีม

ออกแบบพื้นที่ภารกิจได้ละเอียด

ข้อเสีย

เนื้อหาเกมน้อยมาก

ไม่มีแผนการอัปเดตเนื้อหาเกมที่ชัดเจน

7
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[Review] รีวิวเกม Thunder Tier One "คืนสู่เหย้า รากเหง้าเกม Tactical Shooter"
14/12/2021

เกมยิงเชิงกลยุทธ์หรือ Tactical Shooter เป็นหนึ่งในแนวเกมที่ปัจจุบัน บรรดาผู้พัฒนาเกมซึ่งเคยทำเกมแนวนี้จนเป็นกลายเป็นแม่แบบให้กับวงการ กลับหลงทาง ออกทะเล จนกู่ไม่กลับ แค่เรากล่าวประโยคเดียว เชื่อว่าทุกคนจะนึกถึง Ubisoft เป็นรายชื่อต้นๆ กับ Ghost Recon และ Rainbow Six 

ยิ่งพูดก็ยิ่งเหนื่อยใจ กับสถานะของเกมทั้งสอง อีกเกมก็จะโดดร่ม อีกเกมก็จะยิงเอเลี่ยน (ถอนหายใจเฮือกใหญ่) จึงเป็นช่วงเวลาที่เราได้เห็นทีมพัฒนาทั้งค่ายเล็กหรือค่ายกลาง พยายามพัฒนาเกม tactical shooter ให้ย้อนกลับไปสู่จุดที่ทำให้เกมแนวดังกล่าว รุ่งเรืองและเป็นที่จดจำ ทั้ง Insurgency, Zero Hour, GROUND BRANCH, Ready Or Not และเกมที่เรากำลังจะกล่าวถึงอย่าง Thunder Tier One

Thunder Tier One เป็นเกมแนว Realistic Top-down Shooter แตกต่างจากเกมอื่นที่กล่าวข้างต้น ซึ่งล้วนเป็นเกมแนว First-Person Shooter ความแตกต่างดังกล่าวจึงทำให้กลายเป็นจุดสนใจ เพราะเกม Top-down Shooter (มุมมองตาสวรรค์จากด้านบน) แบบกึ่งสมจริงมีจำนวนไม่มากสักเท่าไรเมื่อเทียบกับ First-Person Shooter ยกตัวอย่างเช่นเกม Police Stories, Foxhole และ Intravenous เป็นต้น นอกจากนั้น ชื่อเสียงของทีมพัฒนาก็เป็นอีกจุดสนใจ สำหรับทีม KRAFTON, Inc. ผู้พัฒนาเกมซึ่งสร้างกระแสนิยมในแนว battle royale อย่าง PUBG: BATTLEGROUNDS

เรื่องราวเบื้องต้น

เรื่องราวในเกม Thunder Tier One อาจไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่ เป็นเรื่องของหน่วยกองกำลังต่อต้านการก่อการร้าย Thunder ต้องลงพื้นที่ทำภารกิจเด็ดหัวผู้นำองค์กรก่อการร้ายที่ผันตัวมาจากกองกำลังกึ่งทหาร SBR ซึ่งกำลังก่อการอุกอาจในประเทศ Salobia เนื้อเรื่องในเกมเป็นเพียงเป็นเหตุผลสนับสนุนให้เราออกไปเด็ดหัวผู้ก่อการร้าย ไม่ใช่จุดขายและจุดมุ่งหมายสำคัญของเกม ฉะนั้น หัวใจหลักของ Thunder Tier One จริงๆ คือระบบการเล่นที่ทำมาเพื่อสร้างความประทับใจและตอบแทนคอเกมยิงเชิงกลยุทธ์จนสาแก่ใจ

ระบบการเล่น

ระบบการเล่นของ Thunder Tier One นำผู้เล่นย้อนไปสู่จุดสูงสุดของเกมแนวดังกล่าว หากเปรียบเพื่อให้เห็นภาพชัดเจน Thunder Tier One คือ Ghost Recon และ Rainbow Six ในยุคแรก ทั้งระบบเตรียมตัวก่อนเข้าสู่ช่วงปฏิบัติภารกิจ (off-battle) และระบบการเล่นตอนปฏิบัติภารกิจ

ช่วงเตรียมตัวก่อนเข้าสู่ช่วงปฏิบัติภารกิจ (off-battle)

ช่วงเตรียมตัว เกมมีระบบการปรับแต่งเจ้าหน้าที่แบบละเอียดในระดับหนึ่ง ตั้งแต่หัวจรดเท้า เกมแบ่งเป็นสองหมวดคือ 1. เครื่องแต่งกาย 2. อาวุธและอุปกรณ์ 

ในด้านเครื่องแต่งกาย แบ่งเป็นเครื่องแต่งกายหลัก กับเครื่องแต่งกายรอง จำพวกไม่ส่งผลต่อค่าสถานะอย่างมีนัย การสวมใส่จะส่งผลต่อค่าสถิติของเจ้าหน้าที่ทั้งหมด มากน้อยขึ้นอยู่กับประเภทข้างต้น โดยค่าสถานะประกอบด้วย

  • Head Protection ส่งผลกับการป้องกันศีรษะ
  • Body Protection ส่งผลกับการป้องกันลำตัว
  • Mobility ส่งผลกับความเร็วเคลื่อนที่, การฟื้นตัวจากอาการเหนื่อยหอบ และการปีนป่ายสิ่งกีดขวาง
  • Dexterity ส่งผลกับการสลับอาวุธและรีโหลด, ความนิ่งการเล็งเป้า, หยิบของจากพื้น และปีนบันได
  • Encumbrance ส่งผลกับค่าความเหนื่อยโดยรวมและการส่งเสียงจากตัวเจ้าหน้าที่

ส่วนอาวุธแต่ละชิ้นก็มีค่าสถานะเฉพาะตัวตามเอกลักษณ์ของปืนแต่ละกระบอก เกมไม่มีจำกัดการเข้าถึงปืน ปืนทุกกระบอกเราสามารถหยิบใช้ได้โดยไม่มีเงื่อนไขตั้งแต่เริ่มเล่นเกมครั้งแรก รวมถึงอุปกรณ์เสริมก็เช่นกัน ทั้งอาวุธและอุปกรณ์จะมีแต้มกำหนดไว้แต่ละชิ้น (ในเกมเรียกว่า budget) การเลือกใช้อาวุธและอุปกรณ์ดังกล่าวจะบริโภคแต้มตามที่เกมกำหนดไว้ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละชิ้น โดยปกติเกมกำหนดให้ผู้เล่นสามารถใส่ได้สูงสุดที่ 24 แต้ม (แต่ผู้เล่นสามารถปรับแต่งกฎเรื่องแต้มเองได้ตามต้องการ)

ปัจจุบันเกมมีอาวุธรวม 30 กระบอก ตั้งแต่ปืนพกจนถึงสไนเปอร์ ปืนแต่ละกระบอกสามารถใส่อุปกรณ์เสริมเพิ่มความแม่น (และเท่) ได้เช่นกัน แต่ของแต่งบางชิ้นก็บริโภคแต้มตามที่กล่าวไปข้างต้น ปืนบางกระบอกมีกระสุนให้เลือกใช้มากกว่าหนึ่งชนิด เลือกใช้ได้ตามสถานการณ์และความถนัด และเกมมีระบบเลเวลผู้เล่น แต่อย่าตื่นตระหนก ระบบดังกล่าวมีไว้เพื่อปลดล็อกสีปืน, สีเครื่องแต่งกาย และพวกเครื่องแต่งกายทั้งหลักและรอง

โดยก่อนลงปฏิบัติภารกิจ เกมมีการสรุปข้อมูลสำคัญในภารกิจให้ผู้เล่นได้เรียนรู้ จะไม่อ่านก็ได้ตามสะดวก แต่หากได้อ่านแล้ว ข้อมูลทุกอย่างที่เกมบอกเป็นข้อมูลสำคัญทั้งหมด อย่างการบอกว่าพื้นที่ดังกล่าวมีการเวรยามหรือไม่ พื้นที่บางจุดสามารถเข้าถึงได้โดยใช้อุปกรณ์พิเศษผ่านทางเข้าไป

ผลจากระบบการปรับแต่งที่ละเอียด ทำให้ผู้เล่นสามารถสร้างแนวทางการเล่นที่ตนต้องการได้ตามใจนึก ไม่ว่าจะเล่นแนวหน้าสายฝ่ากระสุน แนวหลังสายสนับสนุน แนวซุ่มยิงเด็ดหัวทรชน หรืออื่นๆ ตามที่จะสรรหา เมื่อลงสนาม ปฏิบัติภารกิจ แนวทางการเล่นของผู้เล่นแต่ละคนจะส่งผลชัดเจนต่อรูปแบบการเล่นในทุกๆ รอบ อย่างเช่น เรากับเพื่อนร่วมทีมเน้นปรับแต่งอุปกรณ์มาเพื่อลอบเร้นเข้าปฏิบัติการ หากเราไม่พลาดทำให้ศัตรูตื่นตระหนก เราก็จะได้เกมการเล่นแบบแนวลอบเร้นไปจนจบตา หรือหากต้องการสาดกระสุนไม่สนสี่สนแปด เราก็จะได้เกมการเล่นแนวยิงแ*งเลย (shoot 'em up) สะใจไปจนจบตาอีกเช่นกัน

ช่วงปฏิบัติภารกิจ

รากฐานของระบบเกมการเล่น Thunder Tier One คือความกึ่งสมจริง ซึ่งเป็นหัวใจของแนวเกม tactical shooter ในยุคก่อน ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบเรื่อง

นาทีสังหาร (time-to-kill) อันไวว่อง กระสุนเพียงนัดเดียวสามารถสังหารหรือถูกสังหารได้ การยิงหรือถูกยิงแต่ละนัดจะถูกคำนวณและส่งผลจากการแต่งกายของผู้เล่น

ความเปิดกว้างในการเข้าทำ (open-ended map) เกมใช้การออกแบบแผนที่แบบกึ่งเปิดกว้าง ไม่ถึงขั้นโลกเปิด (open world) ความแตกต่างจากแผนที่แบบโลกเปิดคือ เมื่อออกแบบโดยใช้ปรัชญาของเกมกึ่งเปิดกว้าง ผู้พัฒนาจะใส่รายละเอียดในแผนที่แบบยิบย่อยได้ลงลึกมากกว่า ซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับ Ghost Recon และ Rainbow Six ในยุคแรก เกม Thunder Tier One จึงมักโยนผู้เล่นลงไปในแต่ละพื้นที่ แล้วให้ผู้เล่น “ออกแบบการเล่น” อย่างที่ตนต้องการ การเล่นแต่ละรอบจะไม่เหมือนกัน หากผู้เล่นเลือกใช้เส้นทางใหม่ๆ ในการเข้าทำ

การเล่นเป็นทีม เมื่อพิเคราะห์ เกมถูกออกแบบให้เล่นกับเพื่อนมากกว่าเล่นคนเดียว นอกจากความไม่สมบูรณ์ของ AI ร่วมทีม การเล่นกับผู้เล่นจริงๆ ดึงประสิทธิภาพ ความสนุก และความสะดวกของเกมได้มากกว่า เนื่องด้วยเกมมีความยากในระดับหนึ่ง ประกอบกับต้องการความร่วมมือจากเพื่อนร่วมทีม ทั้งการสนับสนุนการยิง การใช้อุปกรณ์ การตรวจสอบตำแหน่งศัตรู การสำรวจพื้นที่ และการบุกเข้าทำโดยอาศัยความเป็นทีม หากได้เล่นแบบสื่อสารกันอย่างจริงจัง เราอาจเล่นแบบสวมบทบาทอย่างเกม milsim (จำลองการปฏิบัติการทหาร) ได้เลยทีเดียว

เมื่อทุกองค์ประกอบล่อหลอมเข้าด้วยกัน ทั้งระบบช่วงก่อนปฏิบัติภารกิจและช่วงปฏิบัติภารกิจ ส่งผลให้เกม Thunder Tier One มีเกมการเล่นที่ย้อนกลับไปสู่รากเหง้าของเกมยิงเชิงกลยุทธ์แบบดั้งเดิม ทั้งต้องอาศัยความใจเย็นในการเข้าทำ ต้องวางแผนเลือกเส้นทางที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่เรามีอยู่ในปัจจุบัน ต้องใช้ความแม่นยำในการสังหารศัตรู เพราะทุกย่างก้าวของความผิดพลาดนำไปสู่ความตายและความล้มเหลวของภารกิจ 

ถึงแม้เกมอาศัยมุมมอง top-down แต่มันไม่ได้บั่นทอนความเป็นเกมยิงเชิงกลยุทธ์แม้แต่น้อย ยิ่งไปกว่านั้น การใช้มุมมองดังกล่าวมันทำให้ผู้เล่นมองภาพรวมชัดกว่าเดิม เพราะเราเห็นทุกการกระทำของตัวเองและเพื่อนร่วมทีม ทำให้การร่วมมือระหว่างผู้ในทีมมีความลื่นไหลมากกว่าเกมที่ใช้มุมมองบุคคลที่หนึ่งพอสมควร (และลดอาการคลื่นเหียนอาเจียนไส้ ผลพวงจากการแพ้ภาพเคลื่อนไหวในเกมมุมมองบุคคลที่หนึ่ง)

แต่ยังมีสิ่งที่น่ากังวล

โดยรวม Thunder Tier One เป็นเกมที่มีรากฐานมั่นคงและพร้อมนำไปต่อยอดให้ไปไกลกว่าตอนนี้ แต่ปัญหากลับอยู่ที่ประเด็นปริมาณเนื้อหาเกมที่มีน้อยจนน่าใจหาย เกมมีภารกิจหลักให้เล่นเพียง 9 ด่าน ส่วนโหมดผู้เล่นหลายคนก็นำด่านดังกล่าวมาใช้ซ้ำ ไม่ได้มีเนื้อหาแยกย่อยไปเป็นของตัวเอง ประกอบกับยังไม่มีแผนการอัปเดตเนื้อหาเกมจากผู้พัฒนาแต่อย่างใด

ปัจจุบันคงต้องฝากความหวังไว้กับนักม็อด เนื่องจากเกมมีระบบ Steam Workshop หากคิดในอีกมุมก็มีความเป็นไปได้ เหตุที่มีระบบ Steam Workshop เพราะผู้พัฒนาก็อาจฝากความหวังไว้กับนักม็อดเช่นกัน ...


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header