GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
เกิดอะไรขึ้นกับ Intel ผู้นำกว่า 10 ปีในตลาด CPU ที่แพ้ให้กับ AMD ในปี 2021
ลงวันที่ 08/07/2021

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 10 - 15 ปีก่อน ผู้นำการผลิต CPU สำหรับ Personal Computer ที่เป็นอันดับ 1 ของโลก คือบริษัท intel อย่างไม่ต้องสงสัย โดยต้องยอมรับเลยว่าในช่วงยุคนั้น CPU ของ AMD ไม่เคยสามารถแสดงประสิทธิภาพได้เทียบเท่ากับ intel เลยแม้แต่รุ่นเดียว ยิ่งในยุคของ Haswell หรือ intel Core I Gen 4 เรียกได้ว่าเป็นยุตที่เห็นความแตกต่างมากที่สุด จนหลายคนคิดว่า intel จะยืนหนึ่งในตลาดนี้ตลอดไป และคงไม่มีวันที่ AMD จะสามารถเอาชนะได้ จนกระทั่งโลกได้รู้จักกับสถาปัตยกรรมใหม่ที่ชื่อว่า AMD Ryzen

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในช่วง 5 - 6 ปีที่ผ่านมา ซีพียู AMD Ryzen ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในตลาด จนในปัจจุบันทางบริษัทสามารถผลิต CPU ที่แรงกว่าดีกว่า intel ออกมาได้แล้ว แต่อะไรคือจุดเปลี่ยน? ทำไมบริษัทที่เป็นผู้นำในการผลิต CPU มาตลอดอย่าง intel ถึงแพ้ให้กับ AMD ที่ตามหลังมาโดยตลอดได้? คำตอบนั้นมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้อง และวันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องนี้ให้เพื่อนๆ ได้ฟังกัน แต่ก่อนอื่นผมขอเริ่มจาก แนวคิดในการออกแบบ CPU ที่ต่างกันของทั้งสองก่อนละกันครับ


แนวคิดเรื่อง CPU ที่แตกต่าง Intel กับ AMD

เรื่องนี้มันเริ่มต้นจากเทคโนโลยีในการสร้าง CPU ของทั้งสองบริษัทครับ โดยปกติแล้วความแรงของ CPU หนึ่งตัวจะมาจากสองอย่างคือ

  1. จำนวน Core ที่ CPU ตัวนั้นมี
  2. ความสามารถในการประมวลผลของ Core แต่ละตัว


โดยถ้าหากพูดถึงเรื่องความแรงของ Core เพียงอย่างเดียว intel สามารถทำได้ดีกว่า AMD มากๆ ในยุกแรก ซึ่งเพื่อให้ CPU ของตัวเองแรงพอจะสู้กับคู่แข่งได้ AMD จึงตัดสินใจผลิต CPU ที่มี Core เยอะๆ เพื่อทดแทนประสิทธิภาพที่ต่างกันแทน กล่าวให้เข้าใจง่ายๆ คือ สู้ด้วยคุณภาพไม่ได้ ก็สู้ด้วยปริมาณนั้นเอง แต่ก็ยังไม่สามารถสู้ประสิทธิภาพโดยรวมกับทาง intel ได้อยู่ดี

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แรกมาถึงในยุคของ Haswell ของทาง intel เมื่อสถาปัตยกรรม CPU ของ AMD ในยุคนั้น ดันทำให้เกิดการทำงานแบบแชร์ Floating Point Unit กัน ซึ่งทำให้เกิดอาการคอขวดระหว่างการประมวลผลของ แต่ละ Core และทำให้ไม่สามารถแสดงประสิทธิภาพแบบที่ควรจะเป็นได้ ส่งผลให้ทาง AMD ต้องกลับไปรื้อวิธีการสร้าง CPU ใหม่ทั้งหมด ซึ่งในช่วงที่ AMD กำลังรื้อวิธีสร้าง CPU ใหม่อยู่นี้ ทาง intel เรียกได้ว่าแทบจะเป็นเจ้าของตลาด CPU แต่เพียงผู้เดียวเลย แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นกับ intel เช่นกันในยุคคือ Kaby Lake หรือ Core I Gen 7 โดยก่อนจะเล่าถึงส่วนนี้ผมต้องขอพูดถึง Moore's Law ก่อนเล็กน้อยครับ


Moore's Law คืออะไร

Moore's Law เป็นกฎในการพัฒนาชิปของ Gordon Moore หนึ่งในวิศวกรผู้ก่อตั้ง intel ซึ่งกฎนี้มีอยู่ 2 ข้อด้วยกันคือ

  1. จำนวน Transistors ของ CPU จะมีขนาดเล็กลง และมีจำนวนเพิ่มขึ้น 2 เท่า ทุกๆ 2 ปี
  2. การจะลดขนาด Transistors กับเพิ่มจำนวน Transistors 2 เท่า จะใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นหลายเท่า


ด้วย Moore's Law นี้จึงทำให้ intel ใช้นโยบายการผลิต CPU แบบ Tick - Tock โดยผมจะขอจำกัดความให้เข้าใจง่ายที่สุดดังนี้

Tick : คือการสร้างสถาปัตยกรรม CPU ใหม่เพื่อลดขนาดของ Transistors และเพิ่มจำนวนของ Transistors

Tock : คือการพัฒนาสถาปัตยกรรม CPU เดิมให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 


จากภาพข้างบน จะสังเกตได้ว่าขนาดของ Transistors ใน CPU ทุกๆ 2 เจน จะมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ซึ่งถ้าหากว่าการพัฒนา CPU ยังคงเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ในช่วงปี 2021 ที่เราอยู่นี้ขนาดของ Transistors ใน CPU ควรจะอยู่ที่ประมาณ 5 - 3nm แล้ว แต่ความเป็นจริง CPU เจนล่าสุดของคือ intel ยังคงผลิตแบบ 14nm อยู่ 

คำถามคือแล้วทำไม intel ถึงไม่ลดขนาดของ Transistors ลงในยุคของ Kaby Lake? คำตอบอยู่ในกฏข้อ 2 ของ Moore's Law นั้นก็คือมันจำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนมากในการลดขนาดของ Transistors นั้นเอง และพอดีกันในปี 2017 ยุคของ Coffee Lake ที่ intel ไปไม่ออก AMD ก็ได้เปิดตัว AMD Ryzen ที่เป็น CPU ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาเรื่อง Floating Point Unit ได้พอดีได้แล้วด้วยเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Infinity Fabric ซึ่ง AMD Ryzen เจนแรกก็เป็น CPU แบบ 14nm แบบเดียวกับ intel แต่ทุกอย่างก็เริ่มเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดในปี 2019 เมื่อ AMD สามารถลงไป 7nm ได้ในขณะที่ intel ยังคงอยู่ที 14nm เช่นเดิม

คำถามคือทำไม AMD ที่น่าจะตามหลังมาตลอด ถึงสามารถแซงหน้า intel ในเรื่องเทคโนโลยีการผลิตชิปได้? คำตอบคือเพราะนโยบายการผลิตที่แตกต่างกันของ intel และ AMD ครับ


นโยบายที่แตกต่างของ Intel กับ AMD

อย่างที่ Moore ได้เคยกล่าวไปว่า "การลงทุนเพื่อลดขนาด Transistors กับเพิ่มจำนวน Transistors 2 เท่า จะใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นหลายเท่า" ซึ่งการลงทุนในที่นี้ของ Moore ไม่ได้หมายถึงการจ้างวิศวกรเพิ่มมากขึ้น หรือการใช้ทรัพยากรที่มากขึ้น แต่หมายถึงการสร้างโรงงานสำหรับผลิตชิป Transistors ครับ ยกตัวอย่างย้อนกลับไปในตอนที่ intel ลงทุนสร้างโรงงานสำหรับผลิตชิป 14nm ครั้งแรก บริษัทจำเป็นต้องลงทุนถึง $2,000 ล้าน เพื่อสร้างโรงงานสำหรับผลิตชิปขึ้นมา แต่ในการที่จะสร้างโรงงานสำหรับผลิตชิป 10nm จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนถึง $7,000 ล้าน โดยโรงงานของ intel จะผลิตชิปให้กับบริษัทของตัวเองเท่านั้น ไม่รับจ้างผลิตชิปให้กับที่ไหน จึงส่งผลให้ตัวโรงงานไม่สามารถทำเงินให้กับตัวเองได้ และกลายเป็นหนึ่งในภาระที่ intel จำเป็นต้องดูแล 

ในขณะที่ AMD เองก็มีโรงงานผลิตชิปของตัวเองเช่นกันชื่อว่า GlobalFoundries แต่โรงงานของ AMD นอกจากผลิตชิปให้กับบริษัทของตัวเองแล้ว ยังรับจ้างผลิตชิปให้กับบริษัทอื่นที่มาจ้างด้วย GlobalFoundries จึงเป็นเหมือนบริษัทแยก ที่อยู่ภายใต้ของ AMD มากกว่าเป็นแค่โรงงานผลิตชิป ด้วยนโยบายแบบนี้จึงทำให้ โรงงานสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง และไม่จำเป็นต้องใช้เงินจาก AMD ในการลงทุนเรื่องเครื่องจักร หรือการซ่อมแซมปรับปรุง อย่างไรก็ตามการลงทุนเครื่องจักรสร้างชิป 10nm ยังคงเป็นเรื่องที่ยากเกินไปสำหรับ GlobalFoundries อยู่ดีเนื่องจากจำเป็นต้องใช้เงินสูงมาก งั้นคำถามคือ "แล้ว AMD สร้าง CPU ขนาด 10nm ออกมาได้ยังไง?" คำตอบคือการจ้าง Outsource ครับ


เมื่อ GlobalFoundries ยืนยันแล้วว่าไม่สามารถลงทุนเครื่องจักรผลิตเองได้จริงๆ AMD จึงได้ติดต่อไปหา TSMC ซึ่งเป็นโรงงานผลิตชิปขนาดใหญ่ของ ไต้หวัน โดย TSMC เป็นโรงงานรับจ้างเต็มตัว พวกเขาไม่ได้ผลิตชิปให้กับบริษัทของตัวเอง แต่รับจ้างเพียงอย่างเดียว โรงงานแบบนี้จึงมีความยืดหยุ่น รวมถึงพัฒนาการได้สูงกว่า เนื่องจากสามารถเอาเงินทั้งหมดลงทุนเครื่องจักรสำหรับการผลิตได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ลูกค้าสำคัญของ TSMC ยังเป็นบริษัทเจ้าใหญ่ที่มีกำลังซื้อสูงอย่าง Apple, Nvidia ซึ่งตรงนี้หลายคนอาจยังไม่ทราบ Nvidia ไม่ได้มีโรงงานเป็นของตัวเองนะครับ เขาจ้าง TSMC ผลิตให้ทั้งหมด ดังนั้นยิ่ง Nvidia เติบโตมากขึ้นขนาดไหน TSMC ก็ยิ่งมีเงินไหลเข้ามาในบริษัทมากขึ้นเท่านั้น นี้จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ TSMC เป็นโรงงานที่มีทุนสูงมากๆ

ในขณะที่ intel ลงทุนให้กับตัวเองเท่านั้น ผลิตชิปให้กับตัวเองเท่านั้น เมื่อไหร่ก็ตามที่มีกำลังทรัพย์หรือลูกค้าไม่มากพอ การจะลงทุนเครื่องจักรใหม่ๆ สำหรับการผลิตชิปรุ่นใหม่ๆ ก็ทำได้ยาก แต่เป็นไปได้จริงๆ หรือที่บริษัทผลิต CPU อันดับ 1 ของโลกตั้งแต่ปี 2010 - 2017 ในช่วง 7 ปีนี้ AMD ไม่ถูกมองเป็นคู่แข่งของ intel เสียด้วยซ้ำ งั้นทำไมบริษัทถึงไม่เลือกที่จะลงทุนเครื่องจักรใหม่ๆ เสียที? ประเด็นนี้ผมไม่มีคำตอบให้ครับ แต่จากการคาดเดาของผู้เขียนคิดว่าน่าจะมาจากมุมมองจของ CEO ในช่วงปี 2013 - 2020 ครับ

CEO ของ intel  ช่วงปี 2013 - 2020

intel เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นในปี 1968 และเปลี่ยน CEO มาแล้ว 8 ครั้งด้วยกัน โดยสามารถดูรายละเอียดได้ในรูปข้างล่างนี้ 

ใน 8 คนนี้มี 2 คน ที่ไม่ได้เป็นวิศวกรคือคุณ Brian Krzanich และ Bob Swan เพียงสองคนเท่านั้น โดยทั้งสองคนมาจากสาย Marketing ของบริษัท ซึ่งคุณ Bob Swan ก็ไม่ได้อยากขึ้นเป็น CEO ของบริษัทเท่าไหร่นักในปี 2018 แต่จำเป็นต้องขึ้น เนื่องจากคุณ Brian Krzanich ได้ลาออกอย่างกะทันหันหลัง ถูกจับได้ว่ามีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับพนักงานทั้งที่เจ้าตัวแต่งงานแล้ว ซึ่งขอออกตัวก่อนเลยว่าหลังจากนี้จะเป็นการ คาดเดา ของผู้เขียนเองครับ

หากยังจำกันได้ดีก่อนหน้านี้ผมได้กล่าวไปแล้วว่า AMD จำเป็นต้องออกจากการแข่งขันไปในช่วงปี 2013 พอดี เนื่องจากติดปัญหาเรื่อง Floating Point Unit และหลังจากนั้นประมาณ 3 ปีในยุคของ Kabylake หรือปี 2016 ทาง intel ก็เริ่มมาถึงทางตันเพราะ ไม่สามารถย่อการผลิตเหลือ 10nm ได้ เนื่องจากจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง $7,000 ล้าน ซึ่งผู้เขียนคาดเดาว่า ในมุมมองของ CEO จากฝั่ง Marketing เป็นไปได้ว่าคุณ Brian Krzanich อาจมองว่ามันเป็นเงินลงทุนที่ไม่คุ้มค่าเสียเท่าไหร่ เนื่องจากในตอนนั้นทาง intel ก็ยังไม่มีคู่แข่งตัวฉกาจที่จำเป็นต้องรีบเร่งผลิต CPU รุ่นใหม่ๆ ออกมาขายสู้ บวกกับทางบริษัท ตัดสินใจลงไปตีตลาด InterConnect (Omni-Path ตัว Network ของ Supercomputer เริ่มขายครั้งแรกปี 2016) ด้วยการซื้อเทคโนโลยีการผลิตมาจาก Cray ด้วย จึงเป็นไปได้ที่ในตอนนั้นทางบริษัทเลยไม่ได้ตัดสินใจลงทุน เครื่องจักรสำหรับผลิต CPU ที่มีขนาด Transistors เล็กลง


แต่อะไรๆ มันเริ่มไม่เป็นไปตามที่คิดเมื่อช่วงต้นปี 2017 ทางฝั่ง AMD ได้เปิดตัว CPU รุ่นใหม่หรือก็คือ AMD Ryzen ที่ดันมีประสิทธิภาพเกือบเทียบเท่ากัน แถมยังขายในราคาที่ถูกกว่า พร้อมกับให้จำนวน Core มาเยอะกว่า การประกาศเปิดตัว Ryzen จึงทำให้ intel จำเป็นต้องเพิ่มจำนวน Core เข้าไปใน CPU รุ่นเลขหลักเดียวกัน (3, 5, 7) และเอาออกมาขายในราคาที่เท่าๆ กับ AMD กล่าวคือโดนบังคับให้ได้กำไรน้อยลงจาก CPU หนึ่งตัวที่ขายได้ แถมยังเริ่มโดนแย่งลูกค้าในตลาดไปอีก 

ต่อมาในปี 2018 คุณ Brian Krzanich ได้ประกาศลาออก และคุณ Bob Swan ถูกแต่งตั้งขึ้นมาเป็น CEO แทน อย่างที่ผมบอกไปว่าจริงๆ แล้ว เขาเองก็ไม่ได้อยากขึ้นมาเป็น CEO เท่าไหร่ แต่ในเมื่อได้เป็นแล้วก็ต้องพยายามทำหน้าทีให้ดีที่สุดคุณ Bob Swan ได้ตัดสินใจออกนโยบายที่จะเน้นสร้างกำไรให้กับบริษัทมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และน่าจะเป็นเหตุผลเดียวกันที่ intel ยังคงผลิต CPU ขนาด 14nm แม้ว่าคู่แข่งอย่าง AMD สามารถลงไปถึง 12nm แล้วในปีเดียวกัน


ที่นี้แผลใหญ่ที่สองของ intel เริ่มในปี 2019 เมื่อบริษัทประมูล Supercomputer รุ่นต่อไปแพ้ให้กับ Cray จนส่งผลให้จำเป็นต้องยกเลิกการผลิต Omni-Path รุ่นที่ 2 ในปี 2019 ซึ่งในจุดนี้ส่งผลให้ intel จำเป็นต้องออกจากตลาด InterConnect และสูญเสียรายได้ในส่วนนี้ไป ที่นี้ intel ยังเหลือขาสุดท้ายที่ทางบริษัทหวังจะทำกำไรอยู่ ซึ่งก็คือทางฝั่งของ GPU โดย GPU ในที่นี้ไม่ใช่สำหรับเสียบเล่นเกม แต่เป็น GPU สำหรับเครื่อง Supercomputer ชื่อว่า Ponte Vecchio 

Ponte Vecchio เป็นสิ่งที่ intel ลงเงินไว้เยอะมาก โดยที่ยังไม่รู้เหมือนกันว่าเมื่อออกมาแล้วจะสามารถสู้กับทาง Nvidia และ AMD ได้รึเปล่า เนื่องจากมีข้อมูลน้อยมากในตอนนี้ (หลายคนอาจไม่รู้แต่จริงๆ แล้ว Nvidia กับ AMD ทำมากกว่าสิ้นค้าตลาด Personal Computer เยอะมากๆ ครับ) แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ผมต้องการจะสื่อว่า ในช่วงปี 2016 มาจนถึงปัจจุบัน intel มีการลงทุนในด้านอื่นๆ มากมาย พอรวมกับนโยบายของ CEO ที่มาจากฝั่ง Marketing แล้ว จึงทำให้บริษัทไม่ตัดสินใจลงทุนผลิต CPU ขนาดที่เล็กกว่า 14nm เสียที


ผลกระทบอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในช่วง 2016 - 2021

อีกหนึ่งผลกระทบสำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปีที่แล้ว คือการที่ Nvidia ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการของ Arm ซึ่งเป็นบริษัทผลิตออกแบบสถาปัตยกรรม CPU โดยหลายคนเชื่อว่าการเข้าซื้อกิจการของ Nvidia ในครั้งนี้ มีความหมายว่าทางบริษัทสีเขียวจะลงมาแข่งในตลาดของ CPU ด้วยเช่นเดียวกับ AMD ที่ผลิคทั้ง GPU และ CPU 

การที่ผู้ใช้งานใช้ทั้ง GPU และ CPU ที่มาจากผู้ผลิตเดียวกัน ย่อมแสดงศักยภาพได้ดีกว่าแน่นอน ระบบ Smart Access Memory ตัวใหม่ของ AMD ที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องได้เมื่อใช้งาน CPU และ GPU ของ AMD เป็นหลักฐานชั้นดีของเรื่องนี้ จากข่าวนี้จึงทำให้ผู้บริหารเบื้องบนของ intel หลายคนได้ตัดสินใจลาออกไปอยู่กับบริษัทที่ดูมีอนาคตมากกว่าอย่าง Google กับ Amazon หลายคน และได้ทำให้ขวัญกำลังใจของทีมวิศวกรภายในแย่ลงไปอีก Roadmap อะไรที่เคยวางไว้ก็จำเป็นต้องเลื่อนออกไป (และเป็นเหตุผลเดียวกันที่ Ponte Vecchio ยังไม่ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการด้วย) เมื่อแผนอะไรต่างๆ ที่เคยวางไว้ถูกเลื่อนออกไป ก็ส่งผลให้ความน่าเชื่อถือของบริษัทลดลง หุ้นก็ตกอีก คือทุกอย่างมันล้มเป็นโดมิโน่ไปหมด


intel ที่เหมือนจะจับทางได้แล้ว และความหวังใหม่ Alder Lake

มาจนถึงตอนนี้หลายคนอาจกำลังคิดว่านี้อาจเป็นจุดจบของ intel แล้วหลังจากที่ยิ่งใหญ่มาอย่างยาวนาน แต่ยุคสมัยใหม่ของ intel ภายใต้การนำของคุณ Pat Gelsinger เป็นอะไรที่น่าคาดหวังเมื่อ CEO ของบริษัทกลับมาเป็นคนจากสายวิศวกรอีกครั้งในรอบ 10 ปี เขาได้ให้สัญญาไว้ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาว่าจะทำให้บริษัทกลับมาเป็นผู้นำในการผลิตชิปให้ได้ โดยสิ่งแรกที่เขาทำคือการสร้างโรงงานใหม่ และไปขอแย่งซื้อเครื่องผลิตชิปขนาด 10nm และ 7nm จากทาง ASML ให้ได้ภายในปี 2022 โดยโรงงานใหม่ของ intel นี้จะเริ่มรับจ้างผลิตชิปให้กับบริษัทอื่นด้วย (เปลี่ยนนโยบายโรงงานเป็นแบบเดียวกับ GlobalFoundries ของ AMD) จากประกาศครั้งนี้ทำให้หุ้นของ intel ขึ้นเลยทีเดียว

ล่าสุดยังได้มีการนำคุณ Shlomit Weiss อดีตวิศวกรมากความสามารถ หนึ่งในเบื้องหลังความสำเร็จของ Sandy Bridge และ Skylake ยุครุ่งเรืองของ intel กลับมาเป็นผู้นำในการผลิตชิปรุ่นใหม่ Alder Lake ที่จะวางขายในปีหน้า โอเคครับนี้ไม่ได้เป็นการยืนยันว่า CPU รุ่นใหม่ของ intel จะลงไปถึง 10 หรือ 7nm ได้หรือไม่ ยิ่งล่าสุดข่าวลือใหม่เกี่ยวกับ CPU Zen 4 ของทาง AMD จะลงไปถึง 5nm ได้แล้วด้วย แบบนี้ intel จะสู้ได้หรือเปล่า? และนี้คือสิ่งที่ผมอยากฝากไว้ให้กับเพื่อนๆ เป็นอย่างสุดท้ายครับ


คุณไม่ต้องไปสนใจครับว่า ค่ายไหนจะผลิตเทคโนโลยีผลิตชิปกี่ nm หรือมี Transistors มากน้อยขนาดไหนใน CPU หนึ่งตัว สิ่งที่เพื่อนๆ ควรจะให้ความสนใจคือ CPU ตัวนั้นแรงมากขนาดไหนเมื่อเอามาใช้งานจริง! จะผลิตออกมา 28nm ก็ได้ครับ ถ้าหากว่ามันแรงกว่าของเจ้าไหนในโลก เพราะสุดท้ายแล้วประสิทธิภาพของ CPU คือปัจจัยหลักที่ผู้ใช้งานจะเลือกซื้ออยู่ดี 

โดยเชื่อว่าในปีหน้าการแข่งขันในตลาด CPU จะต้องร้อนแรงขึ้นไปอีกแน่นอน เมื่อล่าสุดทาง Qualcomm เอง ก็ได้ประกาศว่าจะลงมาแข่งขันในตลาด CPU ของ Notebook ด้วยเช่นกัน ไหนจะมี Nvidia ที่เพิ่งซื้อ ARM ไปอีก สำหรับใครที่สนใจอยากตามติด intel ภายใต้การนำของคุณ Pat Gelsinger วัน 27 กรกฎาคม นี้จะมีไลฟ์สตรีมเปิดเผย Roadmap ใหม่ของ intel ในไลฟ์สตรีม intel accelerated รอดูกันได้เวลา 4.00 บ้านเรา รอดูกันได้ครับ

Credit : Blognone, ExtremeIT, 9Arm และ TechOffside


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
เกิดอะไรขึ้นกับ Intel ผู้นำกว่า 10 ปีในตลาด CPU ที่แพ้ให้กับ AMD ในปี 2021
08/07/2021

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 10 - 15 ปีก่อน ผู้นำการผลิต CPU สำหรับ Personal Computer ที่เป็นอันดับ 1 ของโลก คือบริษัท intel อย่างไม่ต้องสงสัย โดยต้องยอมรับเลยว่าในช่วงยุคนั้น CPU ของ AMD ไม่เคยสามารถแสดงประสิทธิภาพได้เทียบเท่ากับ intel เลยแม้แต่รุ่นเดียว ยิ่งในยุคของ Haswell หรือ intel Core I Gen 4 เรียกได้ว่าเป็นยุตที่เห็นความแตกต่างมากที่สุด จนหลายคนคิดว่า intel จะยืนหนึ่งในตลาดนี้ตลอดไป และคงไม่มีวันที่ AMD จะสามารถเอาชนะได้ จนกระทั่งโลกได้รู้จักกับสถาปัตยกรรมใหม่ที่ชื่อว่า AMD Ryzen

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในช่วง 5 - 6 ปีที่ผ่านมา ซีพียู AMD Ryzen ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในตลาด จนในปัจจุบันทางบริษัทสามารถผลิต CPU ที่แรงกว่าดีกว่า intel ออกมาได้แล้ว แต่อะไรคือจุดเปลี่ยน? ทำไมบริษัทที่เป็นผู้นำในการผลิต CPU มาตลอดอย่าง intel ถึงแพ้ให้กับ AMD ที่ตามหลังมาโดยตลอดได้? คำตอบนั้นมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้อง และวันนี้ผมจะมาเล่าเรื่องนี้ให้เพื่อนๆ ได้ฟังกัน แต่ก่อนอื่นผมขอเริ่มจาก แนวคิดในการออกแบบ CPU ที่ต่างกันของทั้งสองก่อนละกันครับ


แนวคิดเรื่อง CPU ที่แตกต่าง Intel กับ AMD

เรื่องนี้มันเริ่มต้นจากเทคโนโลยีในการสร้าง CPU ของทั้งสองบริษัทครับ โดยปกติแล้วความแรงของ CPU หนึ่งตัวจะมาจากสองอย่างคือ

  1. จำนวน Core ที่ CPU ตัวนั้นมี
  2. ความสามารถในการประมวลผลของ Core แต่ละตัว


โดยถ้าหากพูดถึงเรื่องความแรงของ Core เพียงอย่างเดียว intel สามารถทำได้ดีกว่า AMD มากๆ ในยุกแรก ซึ่งเพื่อให้ CPU ของตัวเองแรงพอจะสู้กับคู่แข่งได้ AMD จึงตัดสินใจผลิต CPU ที่มี Core เยอะๆ เพื่อทดแทนประสิทธิภาพที่ต่างกันแทน กล่าวให้เข้าใจง่ายๆ คือ สู้ด้วยคุณภาพไม่ได้ ก็สู้ด้วยปริมาณนั้นเอง แต่ก็ยังไม่สามารถสู้ประสิทธิภาพโดยรวมกับทาง intel ได้อยู่ดี

การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่แรกมาถึงในยุคของ Haswell ของทาง intel เมื่อสถาปัตยกรรม CPU ของ AMD ในยุคนั้น ดันทำให้เกิดการทำงานแบบแชร์ Floating Point Unit กัน ซึ่งทำให้เกิดอาการคอขวดระหว่างการประมวลผลของ แต่ละ Core และทำให้ไม่สามารถแสดงประสิทธิภาพแบบที่ควรจะเป็นได้ ส่งผลให้ทาง AMD ต้องกลับไปรื้อวิธีการสร้าง CPU ใหม่ทั้งหมด ซึ่งในช่วงที่ AMD กำลังรื้อวิธีสร้าง CPU ใหม่อยู่นี้ ทาง intel เรียกได้ว่าแทบจะเป็นเจ้าของตลาด CPU แต่เพียงผู้เดียวเลย แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นกับ intel เช่นกันในยุคคือ Kaby Lake หรือ Core I Gen 7 โดยก่อนจะเล่าถึงส่วนนี้ผมต้องขอพูดถึง Moore's Law ก่อนเล็กน้อยครับ


Moore's Law คืออะไร

Moore's Law เป็นกฎในการพัฒนาชิปของ Gordon Moore หนึ่งในวิศวกรผู้ก่อตั้ง intel ซึ่งกฎนี้มีอยู่ 2 ข้อด้วยกันคือ

  1. จำนวน Transistors ของ CPU จะมีขนาดเล็กลง และมีจำนวนเพิ่มขึ้น 2 เท่า ทุกๆ 2 ปี
  2. การจะลดขนาด Transistors กับเพิ่มจำนวน Transistors 2 เท่า จะใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นหลายเท่า


ด้วย Moore's Law นี้จึงทำให้ intel ใช้นโยบายการผลิต CPU แบบ Tick - Tock โดยผมจะขอจำกัดความให้เข้าใจง่ายที่สุดดังนี้

Tick : คือการสร้างสถาปัตยกรรม CPU ใหม่เพื่อลดขนาดของ Transistors และเพิ่มจำนวนของ Transistors

Tock : คือการพัฒนาสถาปัตยกรรม CPU เดิมให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 


จากภาพข้างบน จะสังเกตได้ว่าขนาดของ Transistors ใน CPU ทุกๆ 2 เจน จะมีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ซึ่งถ้าหากว่าการพัฒนา CPU ยังคงเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ในช่วงปี 2021 ที่เราอยู่นี้ขนาดของ Transistors ใน CPU ควรจะอยู่ที่ประมาณ 5 - 3nm แล้ว แต่ความเป็นจริง CPU เจนล่าสุดของคือ intel ยังคงผลิตแบบ 14nm อยู่ 

คำถามคือแล้วทำไม intel ถึงไม่ลดขนาดของ Transistors ลงในยุคของ Kaby Lake? คำตอบอยู่ในกฏข้อ 2 ของ Moore's Law นั้นก็คือมันจำเป็นต้องใช้เงินทุนจำนวนมากในการลดขนาดของ Transistors นั้นเอง และพอดีกันในปี 2017 ยุคของ Coffee Lake ที่ intel ไปไม่ออก AMD ก็ได้เปิดตัว AMD Ryzen ที่เป็น CPU ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาเรื่อง Floating Point Unit ได้พอดีได้แล้วด้วยเทคโนโลยีที่ชื่อว่า Infinity Fabric ซึ่ง AMD Ryzen เจนแรกก็เป็น CPU แบบ 14nm แบบเดียวกับ intel แต่ทุกอย่างก็เริ่มเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัดในปี 2019 เมื่อ AMD สามารถลงไป 7nm ได้ในขณะที่ intel ยังคงอยู่ที 14nm เช่นเดิม

คำถามคือทำไม AMD ที่น่าจะตามหลังมาตลอด ถึงสามารถแซงหน้า intel ในเรื่องเทคโนโลยีการผลิตชิปได้? คำตอบคือเพราะนโยบายการผลิตที่แตกต่างกันของ intel และ AMD ครับ


นโยบายที่แตกต่างของ Intel กับ AMD

อย่างที่ Moore ได้เคยกล่าวไปว่า "การลงทุนเพื่อลดขนาด Transistors กับเพิ่มจำนวน Transistors 2 เท่า จะใช้เงินลงทุนเพิ่มขึ้นหลายเท่า" ซึ่งการลงทุนในที่นี้ของ Moore ไม่ได้หมายถึงการจ้างวิศวกรเพิ่มมากขึ้น หรือการใช้ทรัพยากรที่มากขึ้น แต่หมายถึงการสร้างโรงงานสำหรับผลิตชิป Transistors ครับ ยกตัวอย่างย้อนกลับไปในตอนที่ intel ลงทุนสร้างโรงงานสำหรับผลิตชิป 14nm ครั้งแรก บริษัทจำเป็นต้องลงทุนถึง $2,000 ล้าน เพื่อสร้างโรงงานสำหรับผลิตชิปขึ้นมา แต่ในการที่จะสร้างโรงงานสำหรับผลิตชิป 10nm จำเป็นต้องใช้เงินลงทุนถึง $7,000 ล้าน โดยโรงงานของ intel จะผลิตชิปให้กับบริษัทของตัวเองเท่านั้น ไม่รับจ้างผลิตชิปให้กับที่ไหน จึงส่งผลให้ตัวโรงงานไม่สามารถทำเงินให้กับตัวเองได้ และกลายเป็นหนึ่งในภาระที่ intel จำเป็นต้องดูแล 

ในขณะที่ AMD เองก็มีโรงงานผลิตชิปของตัวเองเช่นกันชื่อว่า GlobalFoundries แต่โรงงานของ AMD นอกจากผลิตชิปให้กับบริษัทของตัวเองแล้ว ยังรับจ้างผลิตชิปให้กับบริษัทอื่นที่มาจ้างด้วย GlobalFoundries จึงเป็นเหมือนบริษัทแยก ที่อยู่ภายใต้ของ AMD มากกว่าเป็นแค่โรงงานผลิตชิป ด้วยนโยบายแบบนี้จึงทำให้ โรงงานสามารถอยู่ได้ด้วยตัวเอง และไม่จำเป็นต้องใช้เงินจาก AMD ในการลงทุนเรื่องเครื่องจักร หรือการซ่อมแซมปรับปรุง อย่างไรก็ตามการลงทุนเครื่องจักรสร้างชิป 10nm ยังคงเป็นเรื่องที่ยากเกินไปสำหรับ GlobalFoundries อยู่ดีเนื่องจากจำเป็นต้องใช้เงินสูงมาก งั้นคำถามคือ "แล้ว AMD สร้าง CPU ขนาด 10nm ออกมาได้ยังไง?" คำตอบคือการจ้าง Outsource ครับ


เมื่อ GlobalFoundries ยืนยันแล้วว่าไม่สามารถลงทุนเครื่องจักรผลิตเองได้จริงๆ AMD จึงได้ติดต่อไปหา TSMC ซึ่งเป็นโรงงานผลิตชิปขนาดใหญ่ของ ไต้หวัน โดย TSMC เป็นโรงงานรับจ้างเต็มตัว พวกเขาไม่ได้ผลิตชิปให้กับบริษัทของตัวเอง แต่รับจ้างเพียงอย่างเดียว โรงงานแบบนี้จึงมีความยืดหยุ่น รวมถึงพัฒนาการได้สูงกว่า เนื่องจากสามารถเอาเงินทั้งหมดลงทุนเครื่องจักรสำหรับการผลิตได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ลูกค้าสำคัญของ TSMC ยังเป็นบริษัทเจ้าใหญ่ที่มีกำลังซื้อสูงอย่าง Apple, Nvidia ซึ่งตรงนี้หลายคนอาจยังไม่ทราบ Nvidia ไม่ได้มีโรงงานเป็นของตัวเองนะครับ เขาจ้าง TSMC ผลิตให้ทั้งหมด ดังนั้นยิ่ง Nvidia เติบโตมากขึ้นขนาดไหน TSMC ก็ยิ่งมีเงินไหลเข้ามาในบริษัทมากขึ้นเท่านั้น นี้จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลสำคัญที่ TSMC เป็นโรงงานที่มีทุนสูงมากๆ

ในขณะที่ intel ลงทุนให้กับตัวเองเท่านั้น ผลิตชิปให้กับตัวเองเท่านั้น เมื่อไหร่ก็ตามที่มีกำลังทรัพย์หรือลูกค้าไม่มากพอ การจะลงทุนเครื่องจักรใหม่ๆ สำหรับการผลิตชิปรุ่นใหม่ๆ ก็ทำได้ยาก แต่เป็นไปได้จริงๆ หรือที่บริษัทผลิต CPU อันดับ 1 ของโลกตั้งแต่ปี 2010 - 2017 ในช่วง 7 ปีนี้ AMD ไม่ถูกมองเป็นคู่แข่งของ intel เสียด้วยซ้ำ งั้นทำไมบริษัทถึงไม่เลือกที่จะลงทุนเครื่องจักรใหม่ๆ เสียที? ประเด็นนี้ผมไม่มีคำตอบให้ครับ แต่จากการคาดเดาของผู้เขียนคิดว่าน่าจะมาจากมุมมองจของ CEO ในช่วงปี 2013 - 2020 ครับ

CEO ของ intel  ช่วงปี 2013 - 2020

intel เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นในปี 1968 และเปลี่ยน CEO มาแล้ว 8 ครั้งด้วยกัน โดยสามารถดูรายละเอียดได้ในรูปข้างล่างนี้ 

ใน 8 คนนี้มี 2 คน ที่ไม่ได้เป็นวิศวกรคือคุณ Brian Krzanich และ Bob Swan เพียงสองคนเท่านั้น โดยทั้งสองคนมาจากสาย Marketing ของบริษัท ซึ่งคุณ Bob Swan ก็ไม่ได้อยากขึ้นเป็น CEO ของบริษัทเท่าไหร่นักในปี 2018 แต่จำเป็นต้องขึ้น เนื่องจากคุณ Brian Krzanich ได้ลาออกอย่างกะทันหันหลัง ถูกจับได้ว่ามีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับพนักงานทั้งที่เจ้าตัวแต่งงานแล้ว ซึ่งขอออกตัวก่อนเลยว่าหลังจากนี้จะเป็นการ คาดเดา ของผู้เขียนเองครับ

หากยังจำกันได้ดีก่อนหน้านี้ผมได้กล่าวไปแล้วว่า AMD จำเป็นต้องออกจากการแข่งขันไปในช่วงปี 2013 พอดี เนื่องจากติดปัญหาเรื่อง Floating Point Unit และหลังจากนั้นประมาณ 3 ปีในยุคของ Kabylake หรือปี 2016 ทาง intel ก็เริ่มมาถึงทางตันเพราะ ไม่สามารถย่อการผลิตเหลือ 10nm ได้ เนื่องจากจำเป็นต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง $7,000 ล้าน ซึ่งผู้เขียนคาดเดาว่า ในมุมมองของ CEO จากฝั่ง Marketing เป็นไปได้ว่าคุณ Brian Krzanich อาจมองว่ามันเป็นเงินลงทุนที่ไม่คุ้มค่าเสียเท่าไหร่ เนื่องจากในตอนนั้นทาง intel ก็ยังไม่มีคู่แข่งตัวฉกาจที่จำเป็นต้องรีบเร่งผลิต CPU รุ่นใหม่ๆ ออกมาขายสู้ บวกกับทางบริษัท ตัดสินใจลงไปตีตลาด InterConnect (Omni-Path ตัว Network ของ Supercomputer เริ่มขายครั้งแรกปี 2016) ด้วยการซื้อเทคโนโลยีการผลิตมาจาก Cray ด้วย จึงเป็นไปได้ที่ในตอนนั้นทางบริษัทเลยไม่ได้ตัดสินใจลงทุน เครื่องจักรสำหรับผลิต CPU ที่มีขนาด Transistors เล็กลง


แต่อะไรๆ มันเริ่มไม่เป็นไปตามที่คิดเมื่อช่วงต้นปี 2017 ทางฝั่ง AMD ได้เปิดตัว CPU รุ่นใหม่หรือก็คือ AMD Ryzen ที่ดันมีประสิทธิภาพเกือบเทียบเท่ากัน แถมยังขายในราคาที่ถูกกว่า พร้อมกับให้จำนวน Core มาเยอะกว่า การประกาศเปิดตัว Ryzen จึงทำให้ intel จำเป็นต้องเพิ่มจำนวน Core เข้าไปใน CPU รุ่นเลขหลักเดียวกัน (3, 5, 7) และเอาออกมาขายในราคาที่เท่าๆ กับ AMD กล่าวคือโดนบังคับให้ได้กำไรน้อยลงจาก CPU หนึ่งตัวที่ขายได้ แถมยังเริ่มโดนแย่งลูกค้าในตลาดไปอีก 

ต่อมาในปี 2018 คุณ Brian Krzanich ได้ประกาศลาออก และคุณ Bob Swan ถูกแต่งตั้งขึ้นมาเป็น CEO แทน อย่างที่ผมบอกไปว่าจริงๆ แล้ว เขาเองก็ไม่ได้อยากขึ้นมาเป็น CEO เท่าไหร่ แต่ในเมื่อได้เป็นแล้วก็ต้องพยายามทำหน้าทีให้ดีที่สุดคุณ Bob Swan ได้ตัดสินใจออกนโยบายที่จะเน้นสร้างกำไรให้กับบริษัทมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และน่าจะเป็นเหตุผลเดียวกันที่ intel ยังคงผลิต CPU ขนาด 14nm แม้ว่าคู่แข่งอย่าง AMD สามารถลงไปถึง 12nm แล้วในปีเดียวกัน


ที่นี้แผลใหญ่ที่สองของ intel เริ่มในปี 2019 เมื่อบริษัทประมูล Supercomputer รุ่นต่อไปแพ้ให้กับ Cray จนส่งผลให้จำเป็นต้องยกเลิกการผลิต Omni-Path รุ่นที่ 2 ในปี 2019 ซึ่งในจุดนี้ส่งผลให้ intel จำเป็นต้องออกจากตลาด InterConnect และสูญเสียรายได้ในส่วนนี้ไป ที่นี้ intel ยังเหลือขาสุดท้ายที่ทางบริษัทหวังจะทำกำไรอยู่ ซึ่งก็คือทางฝั่งของ GPU โดย GPU ในที่นี้ไม่ใช่สำหรับเสียบเล่นเกม แต่เป็น GPU สำหรับเครื่อง Supercomputer ชื่อว่า Ponte Vecchio 

Ponte Vecchio เป็นสิ่งที่ intel ลงเงินไว้เยอะมาก โดยที่ยังไม่รู้เหมือนกันว่าเมื่อออกมาแล้วจะสามารถสู้กับทาง Nvidia และ AMD ได้รึเปล่า เนื่องจากมีข้อมูลน้อยมากในตอนนี้ (หลายคนอาจไม่รู้แต่จริงๆ แล้ว Nvidia กับ AMD ทำมากกว่าสิ้นค้าตลาด Personal Computer เยอะมากๆ ครับ) แต่ทั้งหมดทั้งมวลนี้ผมต้องการจะสื่อว่า ในช่วงปี 2016 มาจนถึงปัจจุบัน intel มีการลงทุนในด้านอื่นๆ มากมาย พอรวมกับนโยบายของ CEO ที่มาจากฝั่ง Marketing แล้ว จึงทำให้บริษัทไม่ตัดสินใจลงทุนผลิต CPU ขนาดที่เล็กกว่า 14nm เสียที


ผลกระทบอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในช่วง 2016 - 2021

อีกหนึ่งผลกระทบสำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงปลายปีที่แล้ว คือการที่ Nvidia ได้ประกาศเข้าซื้อกิจการของ Arm ซึ่งเป็นบริษัทผลิตออกแบบสถาปัตยกรรม CPU โดยหลายคนเชื่อว่าการเข้าซื้อกิจการของ Nvidia ในครั้งนี้ มีความหมายว่าทางบริษัทสีเขียวจะลงมาแข่งในตลาดของ CPU ด้วยเช่นเดียวกับ AMD ที่ผลิคทั้ง GPU และ CPU 

การที่ผู้ใช้งานใช้ทั้ง GPU และ CPU ที่มาจากผู้ผลิตเดียวกัน ย่อมแสดงศักยภาพได้ดีกว่าแน่นอน ระบบ Smart Access Memory ตัวใหม่ของ AMD ที่เพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องได้เมื่อใช้งาน CPU และ GPU ของ AMD เป็นหลักฐานชั้นดีของเรื่องนี้ จากข่าวนี้จึงทำให้ผู้บริหารเบื้องบนของ intel หลายคนได้ตัดสินใจลาออกไปอยู่กับบริษัทที่ดูมีอนาคตมากกว่าอย่าง Google กับ Amazon หลายคน และได้ทำให้ขวัญกำลังใจของทีมวิศวกรภายในแย่ลงไปอีก Roadmap อะไรที่เคยวางไว้ก็จำเป็นต้องเลื่อนออกไป (และเป็นเหตุผลเดียวกันที่ Ponte Vecchio ยังไม่ถูกเปิดตัวอย่างเป็นทางการด้วย) เมื่อแผนอะไรต่างๆ ที่เคยวางไว้ถูกเลื่อนออกไป ก็ส่งผลให้ความน่าเชื่อถือของบริษัทลดลง หุ้นก็ตกอีก คือทุกอย่างมันล้มเป็นโดมิโน่ไปหมด


intel ที่เหมือนจะจับทางได้แล้ว และความหวังใหม่ Alder Lake

มาจนถึงตอนนี้หลายคนอาจกำลังคิดว่านี้อาจเป็นจุดจบของ intel แล้วหลังจากที่ยิ่งใหญ่มาอย่างยาวนาน แต่ยุคสมัยใหม่ของ intel ภายใต้การนำของคุณ Pat Gelsinger เป็นอะไรที่น่าคาดหวังเมื่อ CEO ของบริษัทกลับมาเป็นคนจากสายวิศวกรอีกครั้งในรอบ 10 ปี เขาได้ให้สัญญาไว้ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาว่าจะทำให้บริษัทกลับมาเป็นผู้นำในการผลิตชิปให้ได้ โดยสิ่งแรกที่เขาทำคือการสร้างโรงงานใหม่ และไปขอแย่งซื้อเครื่องผลิตชิปขนาด 10nm และ 7nm จากทาง ASML ให้ได้ภายในปี 2022 โดยโรงงานใหม่ของ intel นี้จะเริ่มรับจ้างผลิตชิปให้กับบริษัทอื่นด้วย (เปลี่ยนนโยบายโรงงานเป็นแบบเดียวกับ GlobalFoundries ของ AMD) จากประกาศครั้งนี้ทำให้หุ้นของ intel ขึ้นเลยทีเดียว

ล่าสุดยังได้มีการนำคุณ Shlomit Weiss อดีตวิศวกรมากความสามารถ หนึ่งในเบื้องหลังความสำเร็จของ Sandy Bridge และ Skylake ยุครุ่งเรืองของ intel กลับมาเป็นผู้นำในการผลิตชิปรุ่นใหม่ Alder Lake ที่จะวางขายในปีหน้า โอเคครับนี้ไม่ได้เป็นการยืนยันว่า CPU รุ่นใหม่ของ intel จะลงไปถึง 10 หรือ 7nm ได้หรือไม่ ยิ่งล่าสุดข่าวลือใหม่เกี่ยวกับ CPU Zen 4 ของทาง AMD จะลงไปถึง 5nm ได้แล้วด้วย แบบนี้ intel จะสู้ได้หรือเปล่า? และนี้คือสิ่งที่ผมอยากฝากไว้ให้กับเพื่อนๆ เป็นอย่างสุดท้ายครับ


คุณไม่ต้องไปสนใจครับว่า ค่ายไหนจะผลิตเทคโนโลยีผลิตชิปกี่ nm หรือมี Transistors มากน้อยขนาดไหนใน CPU หนึ่งตัว สิ่งที่เพื่อนๆ ควรจะให้ความสนใจคือ CPU ตัวนั้นแรงมากขนาดไหนเมื่อเอามาใช้งานจริง! จะผลิตออกมา 28nm ก็ได้ครับ ถ้าหากว่ามันแรงกว่าของเจ้าไหนในโลก เพราะสุดท้ายแล้วประสิทธิภาพของ CPU คือปัจจัยหลักที่ผู้ใช้งานจะเลือกซื้ออยู่ดี 

โดยเชื่อว่าในปีหน้าการแข่งขันในตลาด CPU จะต้องร้อนแรงขึ้นไปอีกแน่นอน เมื่อล่าสุดทาง Qualcomm เอง ก็ได้ประกาศว่าจะลงมาแข่งขันในตลาด CPU ของ Notebook ด้วยเช่นกัน ไหนจะมี Nvidia ที่เพิ่งซื้อ ARM ไปอีก สำหรับใครที่สนใจอยากตามติด intel ภายใต้การนำของคุณ Pat Gelsinger วัน 27 กรกฎาคม นี้จะมีไลฟ์สตรีมเปิดเผย Roadmap ใหม่ของ intel ในไลฟ์สตรีม intel accelerated รอดูกันได้เวลา 4.00 บ้านเรา รอดูกันได้ครับ

Credit : Blognone, ExtremeIT, 9Arm และ TechOffside


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header