GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] หลากหลายวิธีทำเงินจากการ "เล่นเกม" ในแต่ละยุคสมัย
ลงวันที่ 12/10/2021

แม้ว่า 'เกม' จะเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งที่สร้างมาเพื่อให้ความบันเทิงแก่ผู้ใช้บริการ จนทำให้เกิดทัศนคติที่ว่า "การเล่นเกมคือเรื่องที่ไร้สาระและเสียเวลา" แต่สำหรับคนที่ชื่นชอบการเล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจ คงไม่ค่อยมีใครคิดเช่นนั้น เพราะรู้ตัวอีกทีก็เกิดตลาดเก็งกำไรจากไอเท็มในเกมจนเกมเมอร์บางส่วนมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ บวกกับเวลาที่ผ่านไป ทำให้การเล่นเกมถูกยอมรับมากขึ้นและเริ่มมีหนทางในการสร้างรายได้มากขึ้น บางคนอาจถึงขั้นสร้างเนื้อสร้างตัวกันได้เลยทีเดียว

ในบทความนี้เาจะมาพูดถึงวิธีที่เกมเมอร์หลายๆ คนใช้ในการทำเงินจากเกมในแต่ละยุคสมัยกัน เพื่อให้เ็นถึงวิวัฒนาการของการ "เล่นเกมเป็นอาชีพ"



1. ซื้อ-ขาย ไอเทม, ไอดีเกม และเงินเอ็ม


ยุคบุกเบิกของการทำธุรกิจในเกม ก็ต้องยกให้วงการ MMORPG เขาล่ะ! โดยความหัวใสก็บังเกิดมาจากการที่ไอเทมบางชนิดในเกมนั้นหายากมาก จนบางคนที่ต้องการจริงๆ ยอมจ่ายด้วยเงินสดแทนเงินในเกมกันเลยทีเดียว อาจจะเป็นการเอาเงินจริงไปแลกเงินในเกมเพื่อดึงไอเทมชิ้นนั้น หรือไปเจรจากับคนที่มีไอเทมโดยตรงและโอนกันตรงนั้นเลย ซึ่งบางกรณีก็ซื้อขายกันถึงหลักล้านบาทเลยทีเดียว อย่างเช่น การ์ดซาร่าจากเกม Ragnarok ที่ต้องไปหาใน instance dungeon เท่านั้น แถมโอกาสดรอปก็ยากสุดๆ ซึ่งก็แลกมากับคุณสมบัติที่จะทำให้ผู้เล่นไม่ตายแม้จะโดนดาเมจที่สูงกว่าค่า HP ของตัวเอง ซึ่งมีมูลค่าที่ 2 ล้านบาทเลยล่ะ โห~ ราคาโหดสุดๆ

กลับกันผู้เล่นบางคนไม่ได้มีดวงในการหาของแรร์แต่มีความขยันอันล้นเหลือ ทำให้เขาถือเงินในเกมอยู่หลายล้านและนำเงินเหล่านี้มาขายแลกกับเงินบาท หรือที่เรารู้จักในรูปแบบ การซื้อขายเอ็ม (เอ็ม มาจากคำว่า Million หรือหลักล้านนั่นเอง) ส่วนจะเอ็มละกี่บาทก็ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและความเฟ้อของค่าเงินในเซิฟเวอร์ ซึ่งใครที่มาเริ่มเล่นช้าแต่อยากเก่งเร็วก็ยินยอมควักเงินบาทแลกเงินเอ็มมาจับจ่ายซื้อไอเทมขั้นสูงๆมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องรอให้เก่งก่อนค่อยไปฟาร์มของทีหลัง

และอีกกรณีคือคนที่คิดจะเลิกเล่นแต่ตัวละครเก่งและมีของแรร์อยู่เยอะ ก็ใช้วิธีการขายยกไอดีกันไปเลย โดยราคาจะแรงแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความสามารถและของในตัวเลย ซึ่งวิธีนี้ไม่จำกัดแค่ในวงการ MMORPG นะคะ เป็นได้ทุกเกม! ยิ่งในยุคนี้ เกมมือถือที่มีกาชาใหม่ๆอัปเดตถี่ทุกสัปดาห์ ทำให้มีของบางชิ้นที่หมดช่วงกิจกรรมไปแล้วแต่ยังมีคนอยากได้อยู่ แต่มันซื้อขายระหว่างผู้เล่นหรือลง Marketplace (ตลาดกลาง) แบบพวก MMORPG ไม่ได้นี่สิ ถ้าอย่างนั้นก็ขายไปทั้งไอดีเลยแล้วกัน อย่างเช่นไอดีเกม PUBG Mobile ที่มีของระดับสีแดงครบทุกชิ้นตั้งแต่เปิดเซิฟเวอร์ ก็ถูกส่งต่อที่ราคา 7 หลักเลยทีเดียว นับว่าสูงคุ้มค่ากาชา (ละมั้ง)

อย่างไรก็ดี การซื้อขายด้วยเงินจริงนั้นเป็นสิ่งที่ทางผู้พัฒนา 'ไม่สนับสนุน' ให้ทำนะคะ เพราะมีโอกาสเกิดการโกงกันได้ง่าย และทางผู้พัฒนาจะไม่รับผิดชอบด้วยถ้าเกิดกรณีเหล่านั้นขึ้น ถ้าจะให้ปลอดภัยก็เลือกเกมที่มีตลาดกลางอย่างเช่น CS:GO ที่เราสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนสกินอาวุธผ่านระบบ Steam ได้เลย ซึ่งก็เคยมีคนไทยเปิดกล่องสุ่มสกินมีสีรุ้งที่มีมูลค่าสูง 120,000 บาทและลงขายด้วยราคานี้ใน Marketplace กันมาแล้ว ปลอดภัยหายห่วงได้รับเงินชัวร์ๆ

 

2. รับจ้างช่วยเล่นเกม


คอนเทนต์บางส่วนของเกม เราอาจจะไม่มีความสามารถพอจะผ่านเองได้ เช่น Guild war, Party Mission, Dungeon ที่ต้องลงเป็นปาร์ตี้ ไปจนถึงภารกิจสุดหินที่ต้องอาศัยเทคนิคพิเศษ เหล่านี้ก็เป็นช่องทางให้คนที่ทำภารกิจเป็นหรือเป็นสมาชิกทีมในส่วนที่ขาดได้ยื่นมือเข้ามาช่วย... แบบไม่ฟรี! โดยอาจจะแลกเป็นเงินเอ็มหรือไอเทมในเกม แต่ในหลายๆครั้งก็จ้างกันด้วยเงินจริงไปเลยตามแต่ละ mission แล้วแต่จะตกลงกัน เช่น มาช่วยลง Guild war ครั้งละ 10m หรือจ่ายเงินจริง 150 บาทต่อครั้ง เป็นต้น

ซึ่งพูดถึงการช่วยเล่น มีอีกงานรับจ้างหนึ่งที่เรียกได้ว่ากลายเป็นอาชีพไปเลยนั่นก็คือ "นักบิน" หรือ "นักรับปั้นตัวละคร" นั่นเอง โดยจะคิดเหมาๆกันไปเลยว่าจะให้ปั้นกี่เลเวล เลเวลเท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ รวมค่ายาหรือไอเทมอะไรบ้าง เป็นเงินกี่บาท โดยจุดกำเนิดก็มาจากเกม MMORPG นี่แหละ โดยเฉพาะเกมยุคเก่าที่กว่าจะเก่งหรือเลเวลตันได้ต้องใช้เวลานานมาก และใช่ว่าทุกคนจะมีเวลาอยู่หน้าจอเกมตลอดเวลา ถ้าอย่างนั้นก็ยกหน้าที่ให้กับคนที่พร้อมจะเล่นเกม Full-Time พร้อมจ่ายค่าตอบแทนเพื่อเป็นค่าข้าวค่าน้ำให้เขายังไงล่ะ!  เช่น รับปั้นตัวละคร เลเวล 1-40 พร้อมทำเควสหลัก ราคา 400 บาท ภายในเวลา 3 วัน เป็นไง! ใช้เงินแก้ปัญหาสะดวกมากเลยใช่ไหมล่ะ?


3. E-sport


เมื่อเกมสักเกมหนึ่งเติบโตมาในระดับที่ได้รับการยอมรับ สิ่งที่ตามมาคือการจัด Tournament แข่งขัน ซึ่งเป็นทั้งการโปรโมตตัวเกมและสนับสนุนผู้เล่นที่มีฝีมือด้วย ทำให้เหล่า "จริงจังเกมเมอร์" ได้งัดความสามารถทั้งหมดที่มีเพื่อเอาชนะในรายการแข่งขันเหล่านี้และยกฐานะตัวเองขึ้นเป็น "นักกีฬา E-Sport" และสร้างรายได้จากเงินรางวัลในการแข่งขัน ซึ่งแต่ละ Tournament ก็ไม่ใช่น้อยๆนะ อย่างล่าสุดในการแข่ง Dota2 ชิงแชมป์โลก TI10 ถ้าได้แชมป์ก็รับไปเลย 18.2 ล้านเหรียญ เทียบเป็นเงินไทยก็มากกว่า 600 ล้านบาทเลยทีเดียว

ต่อมา เมื่อการจัดแข่งเกมเริ่มมีมากขึ้นจนถูกบรรจุเป็นกีฬาประเภทหนึ่งไปแล้ว สิ่งที่ตามมาคือการรวมตัวก่อตั้งของสมาคม E-Sport รวมถึงสังกัดทีมนักกีฬามืออาชีพ ที่จะคอยช่วยประสานงานในการจัดงาน หานักแข่งหรือส่งนักกีฬาลงแข่ง และเดินหน้าจัดระเบียบการแข่งขันให้มีมาตรฐานสากลทัดเทียมกับกีฬาประเภทอื่น นับเป็นสัญญาณที่ดีของอุตสาหกรรมวงการเกม ที่สร้างรายได้ให้ทั้งฝั่ง Developer และ Gamer ที่ไม่จำกัดเพียงแค่นักกีฬา แต่ในสายงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องก็ได้รับอานิสงค์ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นงานด้าน Organizer, Manager, Marketing, IT แม้แต่สายแพทย์อย่าง Trainer หรือนักโภชนาการ ก็เข้ามามีบทบาทในการดูแลนักกีฬา E-Sport ไม่ต่างจากสโมสรกีฬาชนิดอื่นเลย


4. Game Caster / Streamer/ Influencer


กับผู้เล่นบางส่วนที่ไม่ได้เก่งถึงขั้นนักแข่ง แต่รักในการเล่นเกมและมี Skill ด้าน Entertain คนรอบข้าง ก็ต้องมาสายเล่นเกมโชว์เลย ซึ่งวิธีหาเงินในส่วนนี้ก็ทำได้หลากหลายเลย โดยที่คนที่ชอบบันทึกเทคนิคการเล่นไปจนถึงชอตเด็ดมันๆจากในเกมมาแชร์ให้ชาวโลกได้ดู ก็จะไปทาง Game Caster หรือจะเรียกว่า Content Creater ก็ได้ ส่วนใหญ่ก็เน้นไปที่การแนะนำเกมกับขายวิธีการเล่าเรื่องของตัวเองเสียเป็นส่วนใหญ่ กับอีกขั้วตรงข้ามที่ไม่ชอบตัดคลิป ไม่ชอบคิดวางสคริปต์อะไรมากมาย ก็ Live สดกันไปเลย สำหรับ Streamer จะเน้นปล่อยเล่นเกมไปเรื่อยๆผสมกับการพูดคุยกับคนดูแบบ real time แทน

อย่างไรก็ดี เราสามารถเรียกรวมพวกเขาเหล่านี้ว่า Influencer ก็ได้ และเมื่อสังคม Influencer โตขึ้นก็ได้เกิดการรวมตัวกันและสร้างสังกัดขึ้นมาไม่ต่างจากนักกีฬา E-sport เลย โดยนอกจากจะรับรายได้จากแพลตฟอร์มอย่าง Youtube Twitch หรือ Facebook Gaming แล้ว ยังมีโอกาสได้รับค่าตอบแทนจาก Sponsor ในการเป็น Presenter ให้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆด้วย อย่าง Influencer ในไทยหลายคนที่คลิปมาตั้งแต่ยุคบุกเบิก เราจะเห็นได้ว่าพวกเขาสร้างตัว ซื้อบ้าน ซื้อรถ ไปเที่ยวต่างประเทศกันได้หมดแล้ว นับเป็นอาชีพที่ทั้งสนุกและมีรายได้หลายทางด้วยล่ะ


5. NFTs Game


และระบบการหาเงินใหม่ล่าสุดที่กำลังเติบโต ณ ขณะนี้ อย่าง NFTs Game นับเป็นอีกช่องทางสำหรับคนที่เล่นเกมจริงจังแต่ พูดไม่เก่ง, ฝีมือไม่สูงเวอร์, มีเวลาพอประมาณ และไม่อยากเสี่ยงขายของอย่างผิดกฎกติกาของเกม วิธีนี้คือทางออกที่น่าสนใจแถมปลอดภัยหายห่วงด้วยนะ

โดยตัวเกมสไตล์นี้ถูพัฒนาและให้รันบน Blockchain ซึ่งเป็นระบบเดียวกับสกุลเงินดิจิตอล (Cryptocurrency) ทำให้สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นเงินดิจิตอลก่อนจะแลกออกมาเป็นเงินจริงอีกทีได้ ส่วนการได้เงินมาก็มีหลากหลายวิธีเช่นการสร้างเหรียญจากทรัพยากรภายในเกม การนำไอเทมไปขาย ไปจนถึงการขายตัวละครในเกมก็ทำได้เช่นกัน อ้าว! มันเหมือนการทำเงินในยุคแรกๆเลยนี่ แต่เป็นการค้าขายที่ตัวเกมเปิดโอกาสให้เราทำได้อย่างถูกต้องและมีระบบที่สามารถตรวจสอบได้รองรับอยู่นั่นเอง

แต่อย่างไรก็ดี ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง เราไม่แนะนำให้คุณหาเงินด้วยวิธีนี้หากยังไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับคริปโต, NFT และเกมที่ให้บริการดีพอ ไม่เช่นนั้นอาจมีแต่เสียกับเสียแทนได้นะจ๊ะ



ส่งท้าย

จะว่าไปทีมงาน GameFever เองก็นับเป็นหนึ่งในอาชีพที่เล่นเกมจนได้ตังเหมือนกันนี่เนอะ ในฐานะของสื่อเกี่ยวกับเกม ทำให้เห็นว่าการเล่นเกมหรือทำกิจกรรมใดๆก็ตาม หากเรารู้จักนำประโยชน์ของสิ่งเหล่านั้นมาต่อยอดก็อาจกลายเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้เราได้อีกทางเช่นกัน


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] หลากหลายวิธีทำเงินจากการ "เล่นเกม" ในแต่ละยุคสมัย
12/10/2021

แม้ว่า 'เกม' จะเป็นผลิตภัณฑ์ชิ้นหนึ่งที่สร้างมาเพื่อให้ความบันเทิงแก่ผู้ใช้บริการ จนทำให้เกิดทัศนคติที่ว่า "การเล่นเกมคือเรื่องที่ไร้สาระและเสียเวลา" แต่สำหรับคนที่ชื่นชอบการเล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจ คงไม่ค่อยมีใครคิดเช่นนั้น เพราะรู้ตัวอีกทีก็เกิดตลาดเก็งกำไรจากไอเท็มในเกมจนเกมเมอร์บางส่วนมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ บวกกับเวลาที่ผ่านไป ทำให้การเล่นเกมถูกยอมรับมากขึ้นและเริ่มมีหนทางในการสร้างรายได้มากขึ้น บางคนอาจถึงขั้นสร้างเนื้อสร้างตัวกันได้เลยทีเดียว

ในบทความนี้เาจะมาพูดถึงวิธีที่เกมเมอร์หลายๆ คนใช้ในการทำเงินจากเกมในแต่ละยุคสมัยกัน เพื่อให้เ็นถึงวิวัฒนาการของการ "เล่นเกมเป็นอาชีพ"



1. ซื้อ-ขาย ไอเทม, ไอดีเกม และเงินเอ็ม


ยุคบุกเบิกของการทำธุรกิจในเกม ก็ต้องยกให้วงการ MMORPG เขาล่ะ! โดยความหัวใสก็บังเกิดมาจากการที่ไอเทมบางชนิดในเกมนั้นหายากมาก จนบางคนที่ต้องการจริงๆ ยอมจ่ายด้วยเงินสดแทนเงินในเกมกันเลยทีเดียว อาจจะเป็นการเอาเงินจริงไปแลกเงินในเกมเพื่อดึงไอเทมชิ้นนั้น หรือไปเจรจากับคนที่มีไอเทมโดยตรงและโอนกันตรงนั้นเลย ซึ่งบางกรณีก็ซื้อขายกันถึงหลักล้านบาทเลยทีเดียว อย่างเช่น การ์ดซาร่าจากเกม Ragnarok ที่ต้องไปหาใน instance dungeon เท่านั้น แถมโอกาสดรอปก็ยากสุดๆ ซึ่งก็แลกมากับคุณสมบัติที่จะทำให้ผู้เล่นไม่ตายแม้จะโดนดาเมจที่สูงกว่าค่า HP ของตัวเอง ซึ่งมีมูลค่าที่ 2 ล้านบาทเลยล่ะ โห~ ราคาโหดสุดๆ

กลับกันผู้เล่นบางคนไม่ได้มีดวงในการหาของแรร์แต่มีความขยันอันล้นเหลือ ทำให้เขาถือเงินในเกมอยู่หลายล้านและนำเงินเหล่านี้มาขายแลกกับเงินบาท หรือที่เรารู้จักในรูปแบบ การซื้อขายเอ็ม (เอ็ม มาจากคำว่า Million หรือหลักล้านนั่นเอง) ส่วนจะเอ็มละกี่บาทก็ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและความเฟ้อของค่าเงินในเซิฟเวอร์ ซึ่งใครที่มาเริ่มเล่นช้าแต่อยากเก่งเร็วก็ยินยอมควักเงินบาทแลกเงินเอ็มมาจับจ่ายซื้อไอเทมขั้นสูงๆมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องรอให้เก่งก่อนค่อยไปฟาร์มของทีหลัง

และอีกกรณีคือคนที่คิดจะเลิกเล่นแต่ตัวละครเก่งและมีของแรร์อยู่เยอะ ก็ใช้วิธีการขายยกไอดีกันไปเลย โดยราคาจะแรงแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับความสามารถและของในตัวเลย ซึ่งวิธีนี้ไม่จำกัดแค่ในวงการ MMORPG นะคะ เป็นได้ทุกเกม! ยิ่งในยุคนี้ เกมมือถือที่มีกาชาใหม่ๆอัปเดตถี่ทุกสัปดาห์ ทำให้มีของบางชิ้นที่หมดช่วงกิจกรรมไปแล้วแต่ยังมีคนอยากได้อยู่ แต่มันซื้อขายระหว่างผู้เล่นหรือลง Marketplace (ตลาดกลาง) แบบพวก MMORPG ไม่ได้นี่สิ ถ้าอย่างนั้นก็ขายไปทั้งไอดีเลยแล้วกัน อย่างเช่นไอดีเกม PUBG Mobile ที่มีของระดับสีแดงครบทุกชิ้นตั้งแต่เปิดเซิฟเวอร์ ก็ถูกส่งต่อที่ราคา 7 หลักเลยทีเดียว นับว่าสูงคุ้มค่ากาชา (ละมั้ง)

อย่างไรก็ดี การซื้อขายด้วยเงินจริงนั้นเป็นสิ่งที่ทางผู้พัฒนา 'ไม่สนับสนุน' ให้ทำนะคะ เพราะมีโอกาสเกิดการโกงกันได้ง่าย และทางผู้พัฒนาจะไม่รับผิดชอบด้วยถ้าเกิดกรณีเหล่านั้นขึ้น ถ้าจะให้ปลอดภัยก็เลือกเกมที่มีตลาดกลางอย่างเช่น CS:GO ที่เราสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนสกินอาวุธผ่านระบบ Steam ได้เลย ซึ่งก็เคยมีคนไทยเปิดกล่องสุ่มสกินมีสีรุ้งที่มีมูลค่าสูง 120,000 บาทและลงขายด้วยราคานี้ใน Marketplace กันมาแล้ว ปลอดภัยหายห่วงได้รับเงินชัวร์ๆ

 

2. รับจ้างช่วยเล่นเกม


คอนเทนต์บางส่วนของเกม เราอาจจะไม่มีความสามารถพอจะผ่านเองได้ เช่น Guild war, Party Mission, Dungeon ที่ต้องลงเป็นปาร์ตี้ ไปจนถึงภารกิจสุดหินที่ต้องอาศัยเทคนิคพิเศษ เหล่านี้ก็เป็นช่องทางให้คนที่ทำภารกิจเป็นหรือเป็นสมาชิกทีมในส่วนที่ขาดได้ยื่นมือเข้ามาช่วย... แบบไม่ฟรี! โดยอาจจะแลกเป็นเงินเอ็มหรือไอเทมในเกม แต่ในหลายๆครั้งก็จ้างกันด้วยเงินจริงไปเลยตามแต่ละ mission แล้วแต่จะตกลงกัน เช่น มาช่วยลง Guild war ครั้งละ 10m หรือจ่ายเงินจริง 150 บาทต่อครั้ง เป็นต้น

ซึ่งพูดถึงการช่วยเล่น มีอีกงานรับจ้างหนึ่งที่เรียกได้ว่ากลายเป็นอาชีพไปเลยนั่นก็คือ "นักบิน" หรือ "นักรับปั้นตัวละคร" นั่นเอง โดยจะคิดเหมาๆกันไปเลยว่าจะให้ปั้นกี่เลเวล เลเวลเท่าไหร่ถึงเท่าไหร่ รวมค่ายาหรือไอเทมอะไรบ้าง เป็นเงินกี่บาท โดยจุดกำเนิดก็มาจากเกม MMORPG นี่แหละ โดยเฉพาะเกมยุคเก่าที่กว่าจะเก่งหรือเลเวลตันได้ต้องใช้เวลานานมาก และใช่ว่าทุกคนจะมีเวลาอยู่หน้าจอเกมตลอดเวลา ถ้าอย่างนั้นก็ยกหน้าที่ให้กับคนที่พร้อมจะเล่นเกม Full-Time พร้อมจ่ายค่าตอบแทนเพื่อเป็นค่าข้าวค่าน้ำให้เขายังไงล่ะ!  เช่น รับปั้นตัวละคร เลเวล 1-40 พร้อมทำเควสหลัก ราคา 400 บาท ภายในเวลา 3 วัน เป็นไง! ใช้เงินแก้ปัญหาสะดวกมากเลยใช่ไหมล่ะ?


3. E-sport


เมื่อเกมสักเกมหนึ่งเติบโตมาในระดับที่ได้รับการยอมรับ สิ่งที่ตามมาคือการจัด Tournament แข่งขัน ซึ่งเป็นทั้งการโปรโมตตัวเกมและสนับสนุนผู้เล่นที่มีฝีมือด้วย ทำให้เหล่า "จริงจังเกมเมอร์" ได้งัดความสามารถทั้งหมดที่มีเพื่อเอาชนะในรายการแข่งขันเหล่านี้และยกฐานะตัวเองขึ้นเป็น "นักกีฬา E-Sport" และสร้างรายได้จากเงินรางวัลในการแข่งขัน ซึ่งแต่ละ Tournament ก็ไม่ใช่น้อยๆนะ อย่างล่าสุดในการแข่ง Dota2 ชิงแชมป์โลก TI10 ถ้าได้แชมป์ก็รับไปเลย 18.2 ล้านเหรียญ เทียบเป็นเงินไทยก็มากกว่า 600 ล้านบาทเลยทีเดียว

ต่อมา เมื่อการจัดแข่งเกมเริ่มมีมากขึ้นจนถูกบรรจุเป็นกีฬาประเภทหนึ่งไปแล้ว สิ่งที่ตามมาคือการรวมตัวก่อตั้งของสมาคม E-Sport รวมถึงสังกัดทีมนักกีฬามืออาชีพ ที่จะคอยช่วยประสานงานในการจัดงาน หานักแข่งหรือส่งนักกีฬาลงแข่ง และเดินหน้าจัดระเบียบการแข่งขันให้มีมาตรฐานสากลทัดเทียมกับกีฬาประเภทอื่น นับเป็นสัญญาณที่ดีของอุตสาหกรรมวงการเกม ที่สร้างรายได้ให้ทั้งฝั่ง Developer และ Gamer ที่ไม่จำกัดเพียงแค่นักกีฬา แต่ในสายงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องก็ได้รับอานิสงค์ไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นงานด้าน Organizer, Manager, Marketing, IT แม้แต่สายแพทย์อย่าง Trainer หรือนักโภชนาการ ก็เข้ามามีบทบาทในการดูแลนักกีฬา E-Sport ไม่ต่างจากสโมสรกีฬาชนิดอื่นเลย


4. Game Caster / Streamer/ Influencer


กับผู้เล่นบางส่วนที่ไม่ได้เก่งถึงขั้นนักแข่ง แต่รักในการเล่นเกมและมี Skill ด้าน Entertain คนรอบข้าง ก็ต้องมาสายเล่นเกมโชว์เลย ซึ่งวิธีหาเงินในส่วนนี้ก็ทำได้หลากหลายเลย โดยที่คนที่ชอบบันทึกเทคนิคการเล่นไปจนถึงชอตเด็ดมันๆจากในเกมมาแชร์ให้ชาวโลกได้ดู ก็จะไปทาง Game Caster หรือจะเรียกว่า Content Creater ก็ได้ ส่วนใหญ่ก็เน้นไปที่การแนะนำเกมกับขายวิธีการเล่าเรื่องของตัวเองเสียเป็นส่วนใหญ่ กับอีกขั้วตรงข้ามที่ไม่ชอบตัดคลิป ไม่ชอบคิดวางสคริปต์อะไรมากมาย ก็ Live สดกันไปเลย สำหรับ Streamer จะเน้นปล่อยเล่นเกมไปเรื่อยๆผสมกับการพูดคุยกับคนดูแบบ real time แทน

อย่างไรก็ดี เราสามารถเรียกรวมพวกเขาเหล่านี้ว่า Influencer ก็ได้ และเมื่อสังคม Influencer โตขึ้นก็ได้เกิดการรวมตัวกันและสร้างสังกัดขึ้นมาไม่ต่างจากนักกีฬา E-sport เลย โดยนอกจากจะรับรายได้จากแพลตฟอร์มอย่าง Youtube Twitch หรือ Facebook Gaming แล้ว ยังมีโอกาสได้รับค่าตอบแทนจาก Sponsor ในการเป็น Presenter ให้กับผลิตภัณฑ์ต่างๆด้วย อย่าง Influencer ในไทยหลายคนที่คลิปมาตั้งแต่ยุคบุกเบิก เราจะเห็นได้ว่าพวกเขาสร้างตัว ซื้อบ้าน ซื้อรถ ไปเที่ยวต่างประเทศกันได้หมดแล้ว นับเป็นอาชีพที่ทั้งสนุกและมีรายได้หลายทางด้วยล่ะ


5. NFTs Game


และระบบการหาเงินใหม่ล่าสุดที่กำลังเติบโต ณ ขณะนี้ อย่าง NFTs Game นับเป็นอีกช่องทางสำหรับคนที่เล่นเกมจริงจังแต่ พูดไม่เก่ง, ฝีมือไม่สูงเวอร์, มีเวลาพอประมาณ และไม่อยากเสี่ยงขายของอย่างผิดกฎกติกาของเกม วิธีนี้คือทางออกที่น่าสนใจแถมปลอดภัยหายห่วงด้วยนะ

โดยตัวเกมสไตล์นี้ถูพัฒนาและให้รันบน Blockchain ซึ่งเป็นระบบเดียวกับสกุลเงินดิจิตอล (Cryptocurrency) ทำให้สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นเงินดิจิตอลก่อนจะแลกออกมาเป็นเงินจริงอีกทีได้ ส่วนการได้เงินมาก็มีหลากหลายวิธีเช่นการสร้างเหรียญจากทรัพยากรภายในเกม การนำไอเทมไปขาย ไปจนถึงการขายตัวละครในเกมก็ทำได้เช่นกัน อ้าว! มันเหมือนการทำเงินในยุคแรกๆเลยนี่ แต่เป็นการค้าขายที่ตัวเกมเปิดโอกาสให้เราทำได้อย่างถูกต้องและมีระบบที่สามารถตรวจสอบได้รองรับอยู่นั่นเอง

แต่อย่างไรก็ดี ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง เราไม่แนะนำให้คุณหาเงินด้วยวิธีนี้หากยังไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับคริปโต, NFT และเกมที่ให้บริการดีพอ ไม่เช่นนั้นอาจมีแต่เสียกับเสียแทนได้นะจ๊ะ



ส่งท้าย

จะว่าไปทีมงาน GameFever เองก็นับเป็นหนึ่งในอาชีพที่เล่นเกมจนได้ตังเหมือนกันนี่เนอะ ในฐานะของสื่อเกี่ยวกับเกม ทำให้เห็นว่าการเล่นเกมหรือทำกิจกรรมใดๆก็ตาม หากเรารู้จักนำประโยชน์ของสิ่งเหล่านั้นมาต่อยอดก็อาจกลายเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้เราได้อีกทางเช่นกัน


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header