GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] แว่นกรองแสงสีน้ำเงินช่วยถนอมดวงตาจริงไหม? (พร้อมทิปถนอมสายตาที่ทำได้จริง)
ลงวันที่ 04/01/2022

แว่นกรองแสงสีน้ำเงิน เป็นอีกหนึ่งไอเทมที่หลาย ๆ คนต้องมีติดตัวเอาไว้ เพราะไม่ว่าคุณจะทำอาชีพอะไรก็ตาม แต่การจ้องจอดิจิทัลได้กลายเป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ในยุคนี้ไปเสียแล้ว ทั้งจอคอมพิวเตอร์ จอโทรศัพท์มือถือ จนแท็ปเล็ต ไปจนถึงจอทีวี ซึ่งจอเหล่านี้ล้วนมีองค์ประกอบหนึ่งสิ่งที่เหมือนกัน นั่นคือการปล่อยแสงสีน้ำเงินออกมานั่นเอง


โดยการใส่แว่นกรองแสงสีน้ำเงินนั้น จะช่วยลดแสงสีน้ำเงินที่เข้าสู่ดวงตาของผู้สวมใส่ มีทั้งเลนส์สายตาสำหรับผู้ที่มีสายตาสั้นหรือยาว และมีเลนส์ธรรมดาสำหรับคนที่สายตาปกติเช่นกัน ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า แว่นกรองแสงสีน้ำเงินนี้จะช่วยลดอาการปวดตา ตาล้า และปกป้องดวงตาในระยะยาวได้


แต่ในผลการศึกษาชิ้นล่าสุดปรากฎว่า แสงสีน้ำเงินจากหน้าจอดิจิทัลนั้น ไม่ได้ส่งผลต่ออาการปวดตาของมนุษย์แต่อย่างใด สาเหตุของปัญหาทางดวงตาหลาย ๆ อย่างมาจากหน้าจอดิจิทัลต่างหาก


โดย Nicole Bajic ผู้ที่เป็นจักษุแพทย์กล่าวว่า อาการเจ็บป่วยทางดวงตานั้น ส่วนใหญ่จะถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่โรคที่เรียกว่า Computer Vision Syndrome ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นอาการปวดตาด้วย ซึ่งโรคนี้นำไปสู่สาเหตุของอาการทางดวงตาทั้งหลาย เช่น


  • ตาแฉะ (Watery eyes)

  • ตาแห้ง (Dry eyes)

  • ตาเบลอ (Blurred vision)

  • อ่อนไหวต่อแสง (Sensitivity to light)

  • ปวดหัว (Headache)

  • ปวดคอและไหล่ (Neck and shoulder pain)

  • สมาธิสั้น (Difficulty concentrating)

  • แสบตา (Burning eyes)

  • เคืองตา (Itchy eyes)

  • ลืมตาไม่ขึ้น (Hard time keeping your eyes open)


โดยอาการทั้งหมดนี้ มันมีต้นเรื่องมาจากการที่ดวงตาของมนุษย์จะจับจ้องโฟกัสสิ่งต่าง ๆ ตลอดเวลาเมื่อจ้องบนจอดิจิทัล ทำให้ไม่มีช่วงพักสายตา ส่งผลให้คนเรากระพริบตาไม่ปกติ นั่นจึงกลายเป็นสาเหตุของอาการตาล้าหรือปวดตาหลังจากที่จ้องหน้าจอเป็นเวลานาน ๆ นั่นเอง ซึ่งแสงสีน้ำเงินไม่ได้เข้ามามีส่วนทำให้คนเราปวดตาโดยตรงตั้งแต่แรก พูดอีกอย่างหนึ่งว่าอาการปวดตาหรือตาล้าที่เรารู้สึก อาจไม่ได้เกี่ยวกับแสงสีน้ำเงิน แต่เป็นอาการทั่วไปที่เกิดจากการจ้องอะไรก็แล้วแต่ในระยะใกล้ ๆ เป็นเวลานาน ๆ นั่นเอง


ทั้งนี้ ใช่ว่าแสงสีฟ้าจากจอคอมพิวเตอร์จะไม่ส่งผลเสียต่อเราเลย โดยแพทย์สายตาหลายคนได้บอกว่าการรับแสงสีฟ้ามากเกินไปอาจส่งผลต่อคุณภาพในการนอนหลับได้ โดยเฉพาะผู้ที่ชอบใช้อุปกรณ์ดิจิทัลในเวลากลางคืน เพราะแสงสีฟ้าจะส่งผลให้นาฬิกาชีวภาพของเราปรับตัวไม่ถูก และทำให้รู้สึกว่าเป็นเวลากลางวันอยู่ แว่นกันแสงสีฟ้าจึงยังมีผลช่วยสำหรับผู้ที่ประสบอาการนอนไม่หลับจากการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลในเวลากลางคืน


9 of the best blue light-blocking glasses

ขอบคุณภาพจาก Tero Vesalainen/GettyImages


วิธีรับมือเมื่อต้องจ้องหน้าจอดิจิทัลเป็นเวลานาน

นอกจากนี้ทางคุณหมอ Bajic ยังได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องทำงานอยู่กับหน้าจอเป็นเวลานาน ๆ อีกด้วย โดยสำหรับใครที่มีอาการดวงต่ออ่อนไหวต่อแสง หรือมีอาการไมเกรนเมื่อจ้องหน้าจอดิจิทัลเป็นเวลานาน คุณหมอได้แนะนำให้ใส่แว่น FL-41 ที่จะช่วยลดแสงสว่างที่เข้าสู่ดวงตาของผู้สวมใส่ โดยแว่น FL-41 จะเป็นแว่นที่ใช้เลนส์พิเศษช่วยลดความยาวคลื่นที่ถูกปล่อยออกมาจากแสงไฟต่าง ๆ โดยเฉพาะแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่มักจะทำให้กระตุ้นปวดไมเกรนได้


ส่วนคนทั่วไป ทางคุณหมอได้สอนถึงกฎ 20-20-20 นั่นคือ “ทุกการจ้องจอดิจิทัล 20 นาที หันไปมองอะไรก็ได้ที่อยู่ไกลออกไป 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที” การกระทำนี้จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อของดวงตา และยังช่วยทำให้การกระพริบตากลับมาเป็นปกติอีกด้วย


การใช้น้ำตาเทียม ก็ได้ผลดีเช่นกัน เพราะจะช่วยทำให้ตาชุ่มชื้นตลอดทั้งวัน ไม่สุ่มเสี่ยงอาการตาแห้งจากการจ้องหน้าจอดิจิทัลเป็นเวลานาน แต่ทั้งนี้คุณหมอได้เตือนว่า ไม่ควรใช้เกิน 4 ครั้งต่อวัน ส่วนใครที่มีอาการตาแห้งและต้องใช้งานเป็นจำนวนมาก ควรใช้แบบที่ไม่มีสารกันบูดจะดีกว่า


และข้อสุดท้ายคือ การนั่งให้ห่างจากหน้าจอในระยะช่วงแขน (ประมาณ 63 ซม.) เพราะคนส่วนใหญ่มักนั่งใกล้หน้าจอจนเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดตาเช่นกัน สำหรับคนที่นั่งห่างแล้วรู้สึกว่า ตัวหนังสือเล็ก อ่านไม่ถนัด ก็ให้ขยายขนาดของภาพเอา ไม่ใช่การเขยิบตัวเข้าไปใกล้หน้าจอแทน


ยังมีแสงอื่น ๆ อีกไหมที่ส่งผลกับดวงตาของมนุษย์?

หากใครจำเรื่องที่เรียนในคาบวิทยาศาสตร์ได้ คงพอจะทราบกันว่า สเปกตรัมของแสงมีทั้งหมด 7 สี ได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แสง ซึ่งเป็นสีของรุ้งนั่นเอง


โดยแสงที่มีผลกระทบต่อดวงตานั้นได้แก่ น้ำเงิน เขียว และเหลือง ทั้งแสงน้ำเงิน (Blue Light) กับแสงเขียว (Green Light) จะให้ผลต่อดวงตาที่คล้ายกัน นั่นคือ กระตุ้นความสนใจของมนุษย์ ส่งผลต่อจังหวะการใช้ชีวิต หรือที่เรียกกันภาษาบ้าน ๆ ว่า “นาฬิกาชีวิต” แสงทั้งสองจะทำให้ร่างกายรับรู้ถึงช่วงเวลากลางวันและกลางคืน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่คล้ายกับยากล่อมประสาท โดยประยุกต์ใช้ในการแพทย์สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า เนื่องจากขาดแสงอาทิตย์ได้อีกด้วย


ทั้งนี้ แสงสีน้ำเงินกับแสงสีเขียว หากรับในปริมาณที่มากเกินไปก็จะส่งผลร้ายได้เช่นกัน เพราะทั้งสองแสงนี้จะลดการหลั่งสาร Melatonin ซึ่งเป็นสารในสมองที่จะถูกหลั่งออกมาเฉพาะในเวลากลางคืนหรือตอนที่มีแสงน้อย ช่วยทำให้คนเรารู้สึกง่วง  แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้น แสงสีน้ำเงินกับสีเขียวจะส่งผลต่อนาฬิกาชีวิต ดังนั้นหากรับมากไปในเวลากลางคืน จะทำให้ร่างกายของเราเข้าใจผิด ส่งผลให้สมองชะลอการหลั่งสาร Melatonin และทำให้เราไม่รู้สึกง่วงในตอนกลางคืนนั่นเอง ซึ่งการที่สาร Melatonin หลั่งน้อยลง จะนำไปสู่โรคร้ายหลายโรค ได้แก่ ความดัน เบาหวาน และไมเกรน เป็นต้น (โดยปกติแล้วมนุษย์จะเจอแสงสีน้ำเงินมากกว่า เพราะเป็นแสงที่มีจาหน้าจอดิจิทัล และแสงที่มาจากหลอดฟลูออเรสเซนส์)


และสำหรับแสงสีเหลือง (Yellow Light) จะเป็นแสงที่อยู่คู่ตรงข้ามกับแสงสีน้ำเงิน เจ้าแสงสีเหลืองนี้จะช่วยในการป้องกันแสงสีน้ำเงินได้ดี นี่จึงเป็นสาเหตุว่าแว่นกรองแสงสีน้ำเงินจึงมักมีเลนส์สีเหลือง ซึ่งหลักการนี้ก็ใช้กับแว่นกันแดดที่มีสีเหลืองเช่นกัน เพราะนอกจากจะป้องกันแสง UV ได้แล้ว ยังสามารถกรองแสงสีน้ำเงินจากดวงอาทิตย์ได้เช่นกัน นอกจากนี้ เลนส์ดวงตาของมนุษย์จะมีสีเหลืองโดยธรรชาติเมื่ออายุเพิ่มขึ้น นั่นจึงช่วยทำให้มนุษย์สามารถรับแสงสีฟ้าได้มากขึ้น เมื่ออายุเพิ่มขึ้นอีกด้วย


person with pink manicure and gold bracelet

ขอบคุณภาพจาก Unspalsh


สุดท้ายนี้ ถึงแสงสีน้ำเงินจะไม่ได้ส่งผลต่ออาการปวดตาโดยตรง แต่แสงสีน้ำเงินก็สามารถเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ ได้ ดังนั้นหากใครมีอาการที่นอนไม่หลับในช่วงกลางคืน อันเนื่องมาจากการต้องทำงานกับหน้าจอดิจิทัลนาน ๆ หรือจะเป็นการเล่นเกมก็แล้วแต่ คุณควรลองหาแว่นกรองแสงสีน้ำเงินมาใส่ ไม่ก็ลองทำตามวิธีรับมือกับอาการ Computer Vision Syndrome ที่เรานำเสนอไปนะครับ


แหล่งข้อมูล: https://eastwesteye.com/different-colored-light-affects-eyes/ 

https://health.clevelandclinic.org/do-blue-light-blocking-glasses-actually-work/ 

https://health.clevelandclinic.org/computers-and-blurry-vision-5-fixes-for-your-tech-induced-eyestrain/

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] แว่นกรองแสงสีน้ำเงินช่วยถนอมดวงตาจริงไหม? (พร้อมทิปถนอมสายตาที่ทำได้จริง)
04/01/2022

แว่นกรองแสงสีน้ำเงิน เป็นอีกหนึ่งไอเทมที่หลาย ๆ คนต้องมีติดตัวเอาไว้ เพราะไม่ว่าคุณจะทำอาชีพอะไรก็ตาม แต่การจ้องจอดิจิทัลได้กลายเป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของมนุษย์ในยุคนี้ไปเสียแล้ว ทั้งจอคอมพิวเตอร์ จอโทรศัพท์มือถือ จนแท็ปเล็ต ไปจนถึงจอทีวี ซึ่งจอเหล่านี้ล้วนมีองค์ประกอบหนึ่งสิ่งที่เหมือนกัน นั่นคือการปล่อยแสงสีน้ำเงินออกมานั่นเอง


โดยการใส่แว่นกรองแสงสีน้ำเงินนั้น จะช่วยลดแสงสีน้ำเงินที่เข้าสู่ดวงตาของผู้สวมใส่ มีทั้งเลนส์สายตาสำหรับผู้ที่มีสายตาสั้นหรือยาว และมีเลนส์ธรรมดาสำหรับคนที่สายตาปกติเช่นกัน ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่มีความเชื่อว่า แว่นกรองแสงสีน้ำเงินนี้จะช่วยลดอาการปวดตา ตาล้า และปกป้องดวงตาในระยะยาวได้


แต่ในผลการศึกษาชิ้นล่าสุดปรากฎว่า แสงสีน้ำเงินจากหน้าจอดิจิทัลนั้น ไม่ได้ส่งผลต่ออาการปวดตาของมนุษย์แต่อย่างใด สาเหตุของปัญหาทางดวงตาหลาย ๆ อย่างมาจากหน้าจอดิจิทัลต่างหาก


โดย Nicole Bajic ผู้ที่เป็นจักษุแพทย์กล่าวว่า อาการเจ็บป่วยทางดวงตานั้น ส่วนใหญ่จะถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่โรคที่เรียกว่า Computer Vision Syndrome ซึ่งมักแสดงออกมาเป็นอาการปวดตาด้วย ซึ่งโรคนี้นำไปสู่สาเหตุของอาการทางดวงตาทั้งหลาย เช่น


  • ตาแฉะ (Watery eyes)

  • ตาแห้ง (Dry eyes)

  • ตาเบลอ (Blurred vision)

  • อ่อนไหวต่อแสง (Sensitivity to light)

  • ปวดหัว (Headache)

  • ปวดคอและไหล่ (Neck and shoulder pain)

  • สมาธิสั้น (Difficulty concentrating)

  • แสบตา (Burning eyes)

  • เคืองตา (Itchy eyes)

  • ลืมตาไม่ขึ้น (Hard time keeping your eyes open)


โดยอาการทั้งหมดนี้ มันมีต้นเรื่องมาจากการที่ดวงตาของมนุษย์จะจับจ้องโฟกัสสิ่งต่าง ๆ ตลอดเวลาเมื่อจ้องบนจอดิจิทัล ทำให้ไม่มีช่วงพักสายตา ส่งผลให้คนเรากระพริบตาไม่ปกติ นั่นจึงกลายเป็นสาเหตุของอาการตาล้าหรือปวดตาหลังจากที่จ้องหน้าจอเป็นเวลานาน ๆ นั่นเอง ซึ่งแสงสีน้ำเงินไม่ได้เข้ามามีส่วนทำให้คนเราปวดตาโดยตรงตั้งแต่แรก พูดอีกอย่างหนึ่งว่าอาการปวดตาหรือตาล้าที่เรารู้สึก อาจไม่ได้เกี่ยวกับแสงสีน้ำเงิน แต่เป็นอาการทั่วไปที่เกิดจากการจ้องอะไรก็แล้วแต่ในระยะใกล้ ๆ เป็นเวลานาน ๆ นั่นเอง


ทั้งนี้ ใช่ว่าแสงสีฟ้าจากจอคอมพิวเตอร์จะไม่ส่งผลเสียต่อเราเลย โดยแพทย์สายตาหลายคนได้บอกว่าการรับแสงสีฟ้ามากเกินไปอาจส่งผลต่อคุณภาพในการนอนหลับได้ โดยเฉพาะผู้ที่ชอบใช้อุปกรณ์ดิจิทัลในเวลากลางคืน เพราะแสงสีฟ้าจะส่งผลให้นาฬิกาชีวภาพของเราปรับตัวไม่ถูก และทำให้รู้สึกว่าเป็นเวลากลางวันอยู่ แว่นกันแสงสีฟ้าจึงยังมีผลช่วยสำหรับผู้ที่ประสบอาการนอนไม่หลับจากการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลในเวลากลางคืน


9 of the best blue light-blocking glasses

ขอบคุณภาพจาก Tero Vesalainen/GettyImages


วิธีรับมือเมื่อต้องจ้องหน้าจอดิจิทัลเป็นเวลานาน

นอกจากนี้ทางคุณหมอ Bajic ยังได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องทำงานอยู่กับหน้าจอเป็นเวลานาน ๆ อีกด้วย โดยสำหรับใครที่มีอาการดวงต่ออ่อนไหวต่อแสง หรือมีอาการไมเกรนเมื่อจ้องหน้าจอดิจิทัลเป็นเวลานาน คุณหมอได้แนะนำให้ใส่แว่น FL-41 ที่จะช่วยลดแสงสว่างที่เข้าสู่ดวงตาของผู้สวมใส่ โดยแว่น FL-41 จะเป็นแว่นที่ใช้เลนส์พิเศษช่วยลดความยาวคลื่นที่ถูกปล่อยออกมาจากแสงไฟต่าง ๆ โดยเฉพาะแสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่มักจะทำให้กระตุ้นปวดไมเกรนได้


ส่วนคนทั่วไป ทางคุณหมอได้สอนถึงกฎ 20-20-20 นั่นคือ “ทุกการจ้องจอดิจิทัล 20 นาที หันไปมองอะไรก็ได้ที่อยู่ไกลออกไป 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที” การกระทำนี้จะช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อของดวงตา และยังช่วยทำให้การกระพริบตากลับมาเป็นปกติอีกด้วย


การใช้น้ำตาเทียม ก็ได้ผลดีเช่นกัน เพราะจะช่วยทำให้ตาชุ่มชื้นตลอดทั้งวัน ไม่สุ่มเสี่ยงอาการตาแห้งจากการจ้องหน้าจอดิจิทัลเป็นเวลานาน แต่ทั้งนี้คุณหมอได้เตือนว่า ไม่ควรใช้เกิน 4 ครั้งต่อวัน ส่วนใครที่มีอาการตาแห้งและต้องใช้งานเป็นจำนวนมาก ควรใช้แบบที่ไม่มีสารกันบูดจะดีกว่า


และข้อสุดท้ายคือ การนั่งให้ห่างจากหน้าจอในระยะช่วงแขน (ประมาณ 63 ซม.) เพราะคนส่วนใหญ่มักนั่งใกล้หน้าจอจนเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดตาเช่นกัน สำหรับคนที่นั่งห่างแล้วรู้สึกว่า ตัวหนังสือเล็ก อ่านไม่ถนัด ก็ให้ขยายขนาดของภาพเอา ไม่ใช่การเขยิบตัวเข้าไปใกล้หน้าจอแทน


ยังมีแสงอื่น ๆ อีกไหมที่ส่งผลกับดวงตาของมนุษย์?

หากใครจำเรื่องที่เรียนในคาบวิทยาศาสตร์ได้ คงพอจะทราบกันว่า สเปกตรัมของแสงมีทั้งหมด 7 สี ได้แก่ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แสง ซึ่งเป็นสีของรุ้งนั่นเอง


โดยแสงที่มีผลกระทบต่อดวงตานั้นได้แก่ น้ำเงิน เขียว และเหลือง ทั้งแสงน้ำเงิน (Blue Light) กับแสงเขียว (Green Light) จะให้ผลต่อดวงตาที่คล้ายกัน นั่นคือ กระตุ้นความสนใจของมนุษย์ ส่งผลต่อจังหวะการใช้ชีวิต หรือที่เรียกกันภาษาบ้าน ๆ ว่า “นาฬิกาชีวิต” แสงทั้งสองจะทำให้ร่างกายรับรู้ถึงช่วงเวลากลางวันและกลางคืน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่คล้ายกับยากล่อมประสาท โดยประยุกต์ใช้ในการแพทย์สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการซึมเศร้า เนื่องจากขาดแสงอาทิตย์ได้อีกด้วย


ทั้งนี้ แสงสีน้ำเงินกับแสงสีเขียว หากรับในปริมาณที่มากเกินไปก็จะส่งผลร้ายได้เช่นกัน เพราะทั้งสองแสงนี้จะลดการหลั่งสาร Melatonin ซึ่งเป็นสารในสมองที่จะถูกหลั่งออกมาเฉพาะในเวลากลางคืนหรือตอนที่มีแสงน้อย ช่วยทำให้คนเรารู้สึกง่วง  แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้น แสงสีน้ำเงินกับสีเขียวจะส่งผลต่อนาฬิกาชีวิต ดังนั้นหากรับมากไปในเวลากลางคืน จะทำให้ร่างกายของเราเข้าใจผิด ส่งผลให้สมองชะลอการหลั่งสาร Melatonin และทำให้เราไม่รู้สึกง่วงในตอนกลางคืนนั่นเอง ซึ่งการที่สาร Melatonin หลั่งน้อยลง จะนำไปสู่โรคร้ายหลายโรค ได้แก่ ความดัน เบาหวาน และไมเกรน เป็นต้น (โดยปกติแล้วมนุษย์จะเจอแสงสีน้ำเงินมากกว่า เพราะเป็นแสงที่มีจาหน้าจอดิจิทัล และแสงที่มาจากหลอดฟลูออเรสเซนส์)


และสำหรับแสงสีเหลือง (Yellow Light) จะเป็นแสงที่อยู่คู่ตรงข้ามกับแสงสีน้ำเงิน เจ้าแสงสีเหลืองนี้จะช่วยในการป้องกันแสงสีน้ำเงินได้ดี นี่จึงเป็นสาเหตุว่าแว่นกรองแสงสีน้ำเงินจึงมักมีเลนส์สีเหลือง ซึ่งหลักการนี้ก็ใช้กับแว่นกันแดดที่มีสีเหลืองเช่นกัน เพราะนอกจากจะป้องกันแสง UV ได้แล้ว ยังสามารถกรองแสงสีน้ำเงินจากดวงอาทิตย์ได้เช่นกัน นอกจากนี้ เลนส์ดวงตาของมนุษย์จะมีสีเหลืองโดยธรรชาติเมื่ออายุเพิ่มขึ้น นั่นจึงช่วยทำให้มนุษย์สามารถรับแสงสีฟ้าได้มากขึ้น เมื่ออายุเพิ่มขึ้นอีกด้วย


person with pink manicure and gold bracelet

ขอบคุณภาพจาก Unspalsh


สุดท้ายนี้ ถึงแสงสีน้ำเงินจะไม่ได้ส่งผลต่ออาการปวดตาโดยตรง แต่แสงสีน้ำเงินก็สามารถเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ ได้ ดังนั้นหากใครมีอาการที่นอนไม่หลับในช่วงกลางคืน อันเนื่องมาจากการต้องทำงานกับหน้าจอดิจิทัลนาน ๆ หรือจะเป็นการเล่นเกมก็แล้วแต่ คุณควรลองหาแว่นกรองแสงสีน้ำเงินมาใส่ ไม่ก็ลองทำตามวิธีรับมือกับอาการ Computer Vision Syndrome ที่เรานำเสนอไปนะครับ


แหล่งข้อมูล: https://eastwesteye.com/different-colored-light-affects-eyes/ 

https://health.clevelandclinic.org/do-blue-light-blocking-glasses-actually-work/ 

https://health.clevelandclinic.org/computers-and-blurry-vision-5-fixes-for-your-tech-induced-eyestrain/

บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header