GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] รวมเรื่องเบื้องหลังของสุดยอดอนิเมะแห่งปี Cyberpunk Edgerunners
ลงวันที่ 17/10/2022

Cyberpunk: Edgerunners ได้ขึ้นแท่นกลายเป็นอนิเมะจากเกมที่ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลาย ด้วยการออกอากาศฉายบน Netflix ด้วยจำนวนเพียง 10 ตอน พร้อมกับทำให้กระแสของเกมต้นฉบับอย่าง Cyberpunk 2077 กลับมาคืนชีพได้รับความนิยมเป็นอย่างมากอีกครั้ง โดยผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จครั้งใหญ่นี้ก็คือสตูดิโอ TRIGGER สตูดิโออนิเมะจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีผลงานชื่อดังมากมายอาทิเช่น Kill la Kill, SSSS.GRIDMAN, Promare


สตูดิโออนิเมะจากญี่ปุ่น TRIGGER และสตูดิโอเกมจากโปแลนด์ CD Projekt Red ล้วนเป็นสตูดิโอที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนทั้งการทำงานและวัฒนธรรม แต่พวกเขามีแนวคิดอย่างไรจึงทำให้ผลงานชิ้นนี้ออกมาประสบความสำเร็จ จนกลายเป็นอนิเมะแห่งปีที่ถูกกล่าวขานมากที่สุด นี่คือข้อมูลเบื้องหลังที่จะมีการเปิดเผยเนื้อหาสำคัญภายในอนิเมะ ที่จะทำให้คุณได้พบกับเรื่องราวที่ไม่เคยรู้มาก่อน ในการกำเกิดเรื่องราวอันเป็นตำนานของอนิเมะที่มีชื่อว่า Cyberpunk: Edgerunners



  • จุดเริ่มต้นของอนิเมะ Cyberpunk: Edgerunners มาจากการที่ CD Projekt Red ได้เกิดความคิดอยากจะทำอนิเมะที่มีเรื่องราวอยู่ในโลกของเกม Cyberpunk 2077 และได้มีตัวเลือกของสตูดิโออนิเมะญี่ปุ่นระหว่าง Production I.G กับ TRIGGER แต่ในตอนนั้น Production I.G กำลังมีงานล้นมือถึง 5-6 โปรเจ็กต์ด้วยกัน ทำให้ความหวังเดียวจึงได้ตกมาอยู่ที่สตูดิโอ TRIGGER

  • CD Projekt Red ไม่มีประสบการณ์ในการผลิตแอนิเมชั่นมาก่อนเลยสักนิดเดียว พวกเขาจึงมีเพียงความคิดที่เรียบง่ายว่า “ถ้าหากมีเนื้อเรื่องที่สนุก ก็สามารถสร้างอนิเมะที่สนุกได้” จากนั้นจึงได้เริ่มคิดคอนเซ็ปต์เนื้อเรื่องทั้งหมดเอง ก่อนที่จะติดต่อไปหาสตูดิโอ TRIGGER เพื่อขอให้ช่วยทำเป็นอนิเมะให้

    ทว่า สตูดิโอ TRIGGER ได้ตอบกลับมาว่าคอนเซ็ปต์เรื่องที่ทาง CD Projekt Red เสนอมาให้นั้นสามารถทำเป็นเกมได้สนุกแน่นอน แต่ไม่สามารถทำให้เป็นอนิเมะที่สนุกได้ ทำให้ CDPR ได้แก้สคริปต์บทใหม่ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกว่า 4 สคริปต์ด้วยกัน แต่ก็ยังไม่ผ่านตากรรมการจนต้องยอมยกให้ทาง TRIGGER เป็นผู้จัดการเองทั้งหมด ในขณะที่พวกเขาจะเป็นผู้เสนอข้อเรียกร้องที่ ๆ ที่อยากให้มีเพิ่มเติม การสร้างอนิเมะจึงเสียเวลาอยู่นานกว่า 2 ปี เพื่อทำการเปลี่ยนสคริปต์เรื่องใหม่ทั้งหมด พร้อมกับคิดว่าจะนำเสนออนิเมะไปในทิศทางไหน

  • ด้วยความที่ไม่มีความรู้เรื่องการทำอนิเมะมาก่อน CD Projekt Red จึงมักจะขอให้สตูดิโอ TRIGGER ทำในสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ในอนิเมะ และทำให้ทาง TRIGGER ต้องอธิบายออกมาตรง ๆ ว่าอะไนที่ทำไม่ได้ และเพราะอะไรถึงทำไม่ได้ เนื่องจากการทำอนิเมะนั้นมีความแตกต่างกับการทำเกมแบบตรงข้ามกันมาก แต่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างรุนแรงของทั้งสองฝ่ายในระหว่างการทำงานนั้น ก็ล้วนมาจากความตั้งใจที่ต่างฝ่ายต่างต้องการจะสร้าง “อนิเมะที่ดี” ออกมาให้ได้

  • สตูดิโอ TRIGGER มีความมั่นใจในเรื่องงานภาพที่มีผลงานมานานกว่า 10 ปี และมีฝีมือความสามารถของทีมงานที่ยังคงพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ไม่หยุดมาตลอด สิ่งที่พวกเขาต้องทำในอนิเมะ Cyberpunk: Edgerunners คือการถ่ายทอดภาพของเมือง Night City จากในภาพ 3DCG ของเกมมาสู่อนิเมะ และท้าทายกับการสร้างความสมดุลในสิ่งที่จะถ่ายทอดออกมาด้วยการดัดแปลงเนื้อหาของเกมให้มาเป็นอนิเมะ ที่มีการตอบโต้ของผู้ชมแตกต่างกับการเล่นเกม

  • CD Projekt Red ได้ทำการรวบรวมวัตถุดิบจำนวนมหาศาลมากจากในเกม ส่งไปให้ทาง TRIGGER ได้นำมาใช้ประกอบการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเส้นทางคมนาคม, หน้าจอเมนู Interface ต่าง ๆ, อาวุธที่ใช้, เสียงเรียกเข้าของโทรศัพท์หรือเครื่องยนตร์, หรือข้อมูล 3DCG ของเมือง Night City ทำให้ทาง TRIGGER มีไอเดียที่เปิดกว้างในการหยิบสิ่งต่าง ๆ มาใช้



  • คุณ Imaishi Hiroyuki ได้รับหน้าที่เป็นผู้กำกับของอนิเมะ โดยที่ทางสตูดิโอ TRIGGER ต้องการผู้กำกับที่มีแนวคิดในการนำเสนอที่ชัดเจน และมีวิสัยทัศน์ที่จะสามารถถ่ายทอดเรื่องราวได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ทำให้ผลงานที่มาของเขาอย่าง Gurren Lagann, Kill la Kill, Promare ล้วนเป็นผลงานที่มีการนำเสนอที่ชัดเจนให้เห็นตามที่ต้องการ แต่นอกจากสิ่งที่เคยทำมาแล้ว ผู้กำกับ Imaishi ก็ต้องการนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ ในผลงานเรื่องนี้ด้วย

  • ในการวาดสตอรี่บอร์ด ผู้กำกับ Imaishi ต้องการแสดงให้เห็นการแสดงความรู้สึกของตัวละคร ทำให้ผู้ชมจะได้เห็นฉากที่เน้นการแสดงออกถึงสีหน้าของตัวละครในแต่ละเหตุการณ์ ได้อย่างชัดเจนอยู่หลายฉาก

  • การแสดงสีของแสงเงาสะท้อนในแต่ละฉาก ก็เป็นอีกหนึ่งความแปลกใหม่และเป็นความท้าทายใหม่ของผู้กำกับ Imaishi เป็นอย่างมาก ผู้ชมจะเห็นได้ว่าในบางฉากนั้นจะมีการใช้แสงสะท้อนสีชมพู สีแดง หรือสีเขียว แตกต่างกันไปตามสถานที่ภายในเมืองที่เต็มไปด้วยแสงไฟนีออนนี้ เพื่อการแสดงการสะท้อนของสีออกมาได้อย่างถูกต้อง จึงทำให้ต้องมีการทดลองด้วยการเซ็ตฉากเปิดแสงสะท้อนของไฟสีต่าง ๆ ใส่คนจริง ๆ ก่อนที่จะนำมาเป็นแบบอ้างอิงในอนิเมะ และยังมีขั้นตอนการแก้ไขอย่างละเอียดเพื่อให้แสงเงาสะท้อนออกมาได้อย่างเหมาะสมที่สุด นี่จึงเป็นการนำเสนอของเทคนิคงานภาพ ที่แทบจะไม่เคยมีในอนิเมะของญี่ปุ่นมาก่อน

  • ภายในอนิเมะ จะมีฉากต่อสู้ที่ใช้เอฟเฟ็กต์ระเบิดหรือเอฟเฟ็กต์ควันอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งระเบิดเหล่านั้นผู้กำกับ Imaishi ได้เป็นคนวาดมือขึ้นมาด้วยตัวเอง จากการที่เขามักจะใช้เวลาว่างในการวาดแอนิเมชั่นของเอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ เก็บเอาไว้มาตลอดหลายปี ในบางฉากนั้นอาจจะมีภาพของการระเบิดเกิดขึ้นเพียง 3 วินาที แต่ก็ต้องใช้การวาดภาพต่อเนื่องถึง 24 ภาพ เพื่อทำให้สามารถเห็นการเคลื่อนไหวของการระเบิดออกมาได้อย่างลื่นไหลไม่มีสะดุด

  • ผู้กำกับ Imaishi รู้สึกชื่นชมในความพยายามที่ทาง CD Projekt Red สามารถออกแบบโครงสร้างของเมือง Night City อันเป็นเมืองในอนาคตได้โดยมีความละเอียดสูงมาก ตั้งแต่สัญญาณจราจร ถนน ป้ายไฟ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาคิดว่าถ้าถูกขอให้วาดด้วยมือก็คงทำไม่ได้แน่ ๆ



  • การออกแบบตัวละครของ David ได้เปลี่ยนแปลงไปจากตอนแรกเล็กน้อย ในขณะที่ Lucy มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเยอะมาก

  • ในการออกแบบตัวละคร คุณ Yoh Yoshinari ผู้เป็น Character Design ต้องคำนึงถึงว่า David เป็นตัวละครแบบไหน เขาเติบโตมาอย่างไร ใช้ชีวิตอยู่อย่างไร เป้าหมายของเขาคืออะไร และเขาจะเปลี่ยนแปลงไปในเรื่องได้อย่างไร ทำให้ David ออกมาเป็นเด็กหนุ่มที่มีอายุน้อยกว่าตัวละครคนอื่น ๆ และได้เข้าไปพัวพันกับความรุนแรงในสังคม ซึ่งเป็นการออกแบบที่ทำได้ยากในตอนแรก

  • คุณ Yoh ยอมรับว่า Lucy เป็นตัวละครที่ออกแบบได้ยากกว่า David มาก เธอเป็นตัวละครที่มีความแตกต่างหลาย ๆ อย่างตรงข้ามกับ David โดยเฉพาะเรื่องของความลึกลับที่มีเสน่ห์ แต่ก็ยังต้องการให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงได้ในแบบตัวละครของอนิเมะญี่ปุ่น โดยที่ระวังไม่ทำให้เธอดูเป็นตัวละครที่มีความชั่วร้ายมากเกินไป

  • Lucy มีชื่อจริงว่า Lucy Kushinada เธอเป็นลูกครึ่งโปแลนด์กับญี่ปุ่น และถูกกำหนดเอาไว้ให้เป็นตัวละครสำคัญที่จะพา David และผู้ชม ไปสู่จุดเริ่มต้นของเรื่องราวต่าง ๆ เธอจึงเป็นเหมือนกับคนที่สอนให้รู้ว่าการทำเรื่องที่ไม่ดีคืออะไร ในขณะเดียวกันก็ยังมีความลับบางอย่างที่เธอปิดบังเอาไว้

  • สีผมของ Lucy ในตอนแรก ได้ถูกออกแบบโดยใช้สีที่มีความสดใส ซึ่งอ้างอิงมาจากนกฟินส์ และได้ลองปรับเปลี่ยนเป็นสีอื่น ๆ มาเรื่อย ๆ จนสุดท้ายแล้วก็มาจบที่สีผมที่ดูเรียบง่าย แต่ก็ดูมีความสง่างามเข้ากันมากที่สุด

  • ระหว่างการออกแบบตัวละคร คุณ Yoh ได้กลัวว่าภาพลักษณ์ของตัวละครที่เขานึกภาพเอาไว้ จะออกมาเหมือนกับไอเดียของตัวละครอนิเมะในยุค 90 มากเกินไป ซึ่ง Lucy ก็เกือบจะมีความคล้ายกับตัวละคร Motoko Kusanagi จากเรื่อง Ghost in the Shell ที่ถือเป็นหนึ่งในอนิเมะ Sci-fi ในตำนาน นี่จึงเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของคุณ Yoh Yoshinari ในฐานะ Character Design ที่ต้องออกแบบตัวละครให้มีความแตกต่างกันกับผลงานที่เคยมีชื่อเสียงอยู่แล้ว



  • คุณ Kaneko Yuto เป็นผู้ช่วยผู้ออกแบบตัวละครคนอื่น ๆ อย่าง Rebecca และสมาชิกในกลุ่มของ David ซึ่งเขาเป็นอีกคนหนึ่งที่ได้ร่วมทำงานกับผู้กำกับ Imaishi Hiroyuki และคุณ Yoh Yoshinari มาตั้งแต่ปี 2012 นี่จึงเป็นอีกหนึ่งผลงานที่เขาได้มีส่วนร่วมหลังจากที่สั่งสมพัฒนาความสามารถมาแล้วมากมาย จนเป็นที่ไว้วางใจของทีมงานทุกคนมากพอแล้ว

  • Rebecca เป็นอีกหนึ่งตัวละครที่ได้รับความนิยมมาก จากความแตกต่างของเธอกับตัวละครอื่น รูปร่างของเธอดูเหมือนเด็กผู้หญิงที่น่ารัก แต่กลับมีความก้าวร้าว และมีการใช้คำพูดที่รุนแรง รวมถึงชอบถือปืนอยู่เสมอ ซึ่งนี่เป็นตัวละครที่คุณ Kaneko Yuto ตั้งใจออกแบบมาเพื่อแสดงให้เห็นความสนุกในตัวละครของอนิเมะแบบญี่ปุ่น

    ทว่า ทาง CD Projekt Red ไม่ค่อยพอใจกับตัวละครที่ทาง TRIGGER ออกแบบมาให้ และขอให้ทำการเปลี่ยนแปลงดีไซน์ตัวละครใหม่เพราะคิดว่า “หากมีตัวละครที่น่ารัก จะทำให้โลกของ Cyberpunk 2077 พังไปด้วย” แต่สตูดิโอ TRIGGER ผู้มากประสบการณ์ในการทำอนิเมะ ก็ได้พิสูจน์แล้วว่าตัวละครเหล่านี้ได้กลายเป็นที่นิยมขึ้นมาได้จริง ๆ ความเห็นตรงกันข้ามในตอนแรกนั้นจึงเป็นเพียงแค่เรื่องความแตกต่างของวัฒนธรรมเท่านั้น

  • สาเหตุที่ Rebecca เป็นตัวละครเด็กผู้หญิงตัวเล็ก เป็นเพราะแนวคิดในการนำเสนอที่สามารถเข้าใจได้ไม่ยาก นั่นก็คือการที่ทาง TRIGGER ต้องการให้ผู้ชมอนิเมะสามารถแยกตัวละครออกได้โดยง่าย ถ้าหากมีตัวละครที่มีส่วนสูงในระดับใกล้เคียงกันหมด ต่อให้มีหน้าตาหรือสีที่แตกต่างกัน แต่ก็จะดูเหมือนกันหมดมากเกินไป

  • บทของ Rebecca ได้จบลงอย่างรวดเร็วโดยที่ผู้ชมไม่ทันตั้งตัว นั่นก็เป็นสิ่งที่ทีมงานตั้งใจให้มีความเชื่อมโยงกับพี่ชายของเธอที่ตายโดยไม่คาดคิดเช่นกัน ซึ่งถ้าหากตัวละครนั้นไม่มีความน่าจดจำ ผู้ชมก็จะไม่มีความประทับใจอะไรในฉากนี้เลย


  • แนวคิดเริ่มต้นในการทำอนิเมะของ CD Projekt Red ได้เกิดขึ้นในปี 2017 ก่อนที่ทางสตูดิโอ TRIGGER จะได้เริ่มต้นงานในปี 2018 ซึ่งในตอนนั้นพวกเขาอยากจะสัมผัสกับตัวเกมจริง ๆ เพื่อให้เข้าถึงเนื้อหาได้อย่างถ่องแท้ แต่ในตอนนั้นทาง CDPR ยังทำเกมออกมาไม่เสร็จสมบูรณ์ ทำให้พวกเขาต้องปะติดปะต่อสิ่งต่าง ๆ จากข้อมูลเท่าที่มีในช่วงแรกเอาเอง และทำให้มีไอเดียที่ถูกตัดออกเนื่องจากแนวคิดที่ไม่เข้ากันอย่างช่วยไม่ได้อยู่เยอะ

  • ทางทีมงานของ TRIGGER ได้พูดคุยกับ CD Projekt Red โดยตรงเสมอ อย่างเช่นการที่พวกเขาบอกว่าชอบอะไรในเกม และได้กลายมาเป็นวัตถุดิบที่ถูกนำมาใส่ในอนิเมะ หรือการที่พวกเขาต้องการจะทำอะไร ก็จะทำการเสนอไอเดียไปก่อนที่จะได้รับการตอบตกลงกลับมา การที่นำฉากสถานที่ในเกมให้มาอยู่ในอนิเมะ ก็เป็นแนวคิดของการตามรอยสถานที่เหมือนที่แฟน ๆ ของอนิเมะชอบทำกันด้วยเช่นกัน

  • ถึงแม้ว่า CD Projekt Red จะไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอหลาย ๆ อย่างในตอนแรก เพราะพวกเขาไม่เข้าใจเรื่องการทำอนิเมะมาก่อน แต่หลังจากที่ภาพของ Cyberpunk: Edgerunners เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น พวกเขาก็เริ่มตื่นเต้นมากขึ้นกับสิ่งที่สตูดิโอ TRIGGER ทำขึ้นมาแบบเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด

  • ภายในอนิเมะ ได้มีฉากที่เต็มไปด้วยความดิบเถื่อนของเลือด และชิ้นส่วนที่ขาดกระเด็นอยู่มากมาย ซึ่งผู้กำกับ Imaishi ไม่ได้ชื่นชอบความดิบเถื่อนอะไรแบบนั้น เพียงแต่เขาต้องยอมรับที่จะถ่ายทอดให้เห็นความเป็นจริงอันโหดร้ายภายในโลกของ Cyberpunk ออกมา

  • ทาง CDPR ต้องการให้ตัวเอกใช้อุปกรณ์ไซเบอร์แวร์ที่ช่วยเพิ่มความเร็วได้ Sandevistan จึงเป็นตัวเลือกของอุปกรณ์ที่ถูกเลือกมา แต่ก็สร้างความลำบากให้กับการวาดเป็นแอนิเมชั่น เมื่อทาง TRIGGER ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากเพื่อทำให้ภาพออกมาเป็นการเคลื่อนไหวแบบบสโลว์โมชั่น และทำให้ฉากต่อสู้ที่เคยต้องวาดภาพเพียงแค่ 3 แผ่น กลับต้องวาดเพิ่มขึ้นถึง 40 แผ่น เลยทีเดียว



  • ทาง CD Projekt Red ได้ทำการเรียกร้องข้อเสนอเอาไว้ตั้งแต่แรก ว่าพวกเขาอยากได้อนิเมะแนว Film Noir หรือภาพยนตร์แนว Gangster แบบสมัยก่อน ทำให้ตัวละครเอก David ที่ยังเป็นเพียงแค่เด็กหนุ่มคนหนึ่ง เป็นตัวเอกที่หาได้ยากมากในภาพยนตร์แนว Gangster

  • เช่นเดียวกัน การกลายเป็นหนึ่งเดียวกับเครื่องจักร, ฉากจบอันน่าเศร้า, และความพ่ายแพ้ของเหล่าตัวเอกในอนิเมะ ก็เป็นสิ่งที่ CD Projekt Red ได้กำหนดเอาไว้ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว แต่ความประทับใจส่วนใหญ่ของเรื่องนั้นมาจากความคิดของทาง TRIGGER ที่ได้เป็นผู้เขียนบทส่วนใหญ่เอง

  • ความพ่ายแพ้ของเหล่าตัวเอกในตอนจบ เป็นสิ่งที่ทาง TRIGGER ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ทำให้พวกเขาได้เป็นคนขอให้ใส่ตัวร้ายอย่าง Adam Smasher ลงไปในอนิเมะเอง และมันก็ได้ผลเป็นอย่างมากเมื่อผู้ชมที่ได้ดูอนิเมะจบแล้ว ต่างพากันตามไปเล่นเกมต่อเพื่อไปตามหา Adam Smasher กันเป็นจำนวนมาก


  • ฉากการมองเห็นอดีตของ Maine เป็นแนวคิดที่ทีมงาน TRIGGER ได้เสนอไอเดียเอาไว้ และได้ถูกนำมาใช้เพราะผู้กำกับ Imaishi เห็นว่าน่าสนใจมาก ถนนที่มองเห็นคืออะไร? สถานที่รกร้างนั้นคือที่ที่เขาเคยอยู่รึเปล่า? นั่นเป็นแนวคิดของความทรงจำที่ผสมปนเปกันในช่วงสุดท้ายของชีวิต ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ตีความหมายกันเอง

  • แท้ที่จริงแล้ว Lucy ได้ล้มเลิกความคิดที่จะไปดวงจันทร์กลางทางแล้ว แต่ David กลับเป็นคนที่ตั้งเป้าหมายจะทำให้ความฝันของเธอเป็นจริงขึ้นมาอีกครั้ง

  • ตามที่ผู้กำกับ Imaishi วางบทเอาไว้ ฉากที่ทำให้ David เริ่มตกหลุมรัก Lucy คือฉากตอนที่ Lucy ทำการควบคุมเตียงพยาบาลที่เขากำลังนอนอยู่ และทำการหลบหลีกรถบนถนนที่วิ่งสวนไปมา ซึ่งนี่เป็นฉากที่แสดงความโดดเด่นของ Lucy ออกมาอย่างเด่นชัดเป็นครั้งแรก และยังมีอารมณ์ความแฟนตาซีที่โลดแล่นออกมาต่างกับฉากอื่น ๆ ภายในเรื่อง

  • ฉากจบที่ทาง CD Projekt Red เสนอเอาไว้ มีความโหดร้ายรุนแรงกว่าที่คาดคิดเอาไว้มาก เรียกได้ว่าฉากจบของทาง TRIGGER นั้นลดความรุนแรงลงมาแล้ว แต่เพิ่มเติมคือมีความประทับใจและมีความเป็นอนิเมะมากที่สุด

  • ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า Braindance ทำให้ผู้คนสามารถแลกเปลี่ยนความทรงจำร่วมกันได้ แนวคิดนี้จึงทำให้เกิดฉากที่ David ได้ไปดวงจันทร์ในความฝันของ Lucy จนกลายเป็นฉากรักโรแมนติกที่ไม่มีใครเคยคาดคิดมาก่อนว่าจะมีได้ในโลกของ Cyberpunk 2077 นี่ถือเป็นฉากที่สำคัญมากที่สุด ที่ได้ช่วยขยายโลกของ Cyberpunk ให้กว้างไกลออกไปมากขึ้นกว่าเดิม และกลายเป็นที่จดจำของผู้ชมไปตลอดกาล



    ที่มา: NHK, Famitsu, GameWatch, Skill Up


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] รวมเรื่องเบื้องหลังของสุดยอดอนิเมะแห่งปี Cyberpunk Edgerunners
17/10/2022

Cyberpunk: Edgerunners ได้ขึ้นแท่นกลายเป็นอนิเมะจากเกมที่ประสบความสำเร็จอย่างถล่มทลาย ด้วยการออกอากาศฉายบน Netflix ด้วยจำนวนเพียง 10 ตอน พร้อมกับทำให้กระแสของเกมต้นฉบับอย่าง Cyberpunk 2077 กลับมาคืนชีพได้รับความนิยมเป็นอย่างมากอีกครั้ง โดยผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จครั้งใหญ่นี้ก็คือสตูดิโอ TRIGGER สตูดิโออนิเมะจากประเทศญี่ปุ่น ที่มีผลงานชื่อดังมากมายอาทิเช่น Kill la Kill, SSSS.GRIDMAN, Promare


สตูดิโออนิเมะจากญี่ปุ่น TRIGGER และสตูดิโอเกมจากโปแลนด์ CD Projekt Red ล้วนเป็นสตูดิโอที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนทั้งการทำงานและวัฒนธรรม แต่พวกเขามีแนวคิดอย่างไรจึงทำให้ผลงานชิ้นนี้ออกมาประสบความสำเร็จ จนกลายเป็นอนิเมะแห่งปีที่ถูกกล่าวขานมากที่สุด นี่คือข้อมูลเบื้องหลังที่จะมีการเปิดเผยเนื้อหาสำคัญภายในอนิเมะ ที่จะทำให้คุณได้พบกับเรื่องราวที่ไม่เคยรู้มาก่อน ในการกำเกิดเรื่องราวอันเป็นตำนานของอนิเมะที่มีชื่อว่า Cyberpunk: Edgerunners



  • จุดเริ่มต้นของอนิเมะ Cyberpunk: Edgerunners มาจากการที่ CD Projekt Red ได้เกิดความคิดอยากจะทำอนิเมะที่มีเรื่องราวอยู่ในโลกของเกม Cyberpunk 2077 และได้มีตัวเลือกของสตูดิโออนิเมะญี่ปุ่นระหว่าง Production I.G กับ TRIGGER แต่ในตอนนั้น Production I.G กำลังมีงานล้นมือถึง 5-6 โปรเจ็กต์ด้วยกัน ทำให้ความหวังเดียวจึงได้ตกมาอยู่ที่สตูดิโอ TRIGGER

  • CD Projekt Red ไม่มีประสบการณ์ในการผลิตแอนิเมชั่นมาก่อนเลยสักนิดเดียว พวกเขาจึงมีเพียงความคิดที่เรียบง่ายว่า “ถ้าหากมีเนื้อเรื่องที่สนุก ก็สามารถสร้างอนิเมะที่สนุกได้” จากนั้นจึงได้เริ่มคิดคอนเซ็ปต์เนื้อเรื่องทั้งหมดเอง ก่อนที่จะติดต่อไปหาสตูดิโอ TRIGGER เพื่อขอให้ช่วยทำเป็นอนิเมะให้

    ทว่า สตูดิโอ TRIGGER ได้ตอบกลับมาว่าคอนเซ็ปต์เรื่องที่ทาง CD Projekt Red เสนอมาให้นั้นสามารถทำเป็นเกมได้สนุกแน่นอน แต่ไม่สามารถทำให้เป็นอนิเมะที่สนุกได้ ทำให้ CDPR ได้แก้สคริปต์บทใหม่ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงกว่า 4 สคริปต์ด้วยกัน แต่ก็ยังไม่ผ่านตากรรมการจนต้องยอมยกให้ทาง TRIGGER เป็นผู้จัดการเองทั้งหมด ในขณะที่พวกเขาจะเป็นผู้เสนอข้อเรียกร้องที่ ๆ ที่อยากให้มีเพิ่มเติม การสร้างอนิเมะจึงเสียเวลาอยู่นานกว่า 2 ปี เพื่อทำการเปลี่ยนสคริปต์เรื่องใหม่ทั้งหมด พร้อมกับคิดว่าจะนำเสนออนิเมะไปในทิศทางไหน

  • ด้วยความที่ไม่มีความรู้เรื่องการทำอนิเมะมาก่อน CD Projekt Red จึงมักจะขอให้สตูดิโอ TRIGGER ทำในสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ในอนิเมะ และทำให้ทาง TRIGGER ต้องอธิบายออกมาตรง ๆ ว่าอะไนที่ทำไม่ได้ และเพราะอะไรถึงทำไม่ได้ เนื่องจากการทำอนิเมะนั้นมีความแตกต่างกับการทำเกมแบบตรงข้ามกันมาก แต่การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างรุนแรงของทั้งสองฝ่ายในระหว่างการทำงานนั้น ก็ล้วนมาจากความตั้งใจที่ต่างฝ่ายต่างต้องการจะสร้าง “อนิเมะที่ดี” ออกมาให้ได้

  • สตูดิโอ TRIGGER มีความมั่นใจในเรื่องงานภาพที่มีผลงานมานานกว่า 10 ปี และมีฝีมือความสามารถของทีมงานที่ยังคงพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ไม่หยุดมาตลอด สิ่งที่พวกเขาต้องทำในอนิเมะ Cyberpunk: Edgerunners คือการถ่ายทอดภาพของเมือง Night City จากในภาพ 3DCG ของเกมมาสู่อนิเมะ และท้าทายกับการสร้างความสมดุลในสิ่งที่จะถ่ายทอดออกมาด้วยการดัดแปลงเนื้อหาของเกมให้มาเป็นอนิเมะ ที่มีการตอบโต้ของผู้ชมแตกต่างกับการเล่นเกม

  • CD Projekt Red ได้ทำการรวบรวมวัตถุดิบจำนวนมหาศาลมากจากในเกม ส่งไปให้ทาง TRIGGER ได้นำมาใช้ประกอบการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบเส้นทางคมนาคม, หน้าจอเมนู Interface ต่าง ๆ, อาวุธที่ใช้, เสียงเรียกเข้าของโทรศัพท์หรือเครื่องยนตร์, หรือข้อมูล 3DCG ของเมือง Night City ทำให้ทาง TRIGGER มีไอเดียที่เปิดกว้างในการหยิบสิ่งต่าง ๆ มาใช้



  • คุณ Imaishi Hiroyuki ได้รับหน้าที่เป็นผู้กำกับของอนิเมะ โดยที่ทางสตูดิโอ TRIGGER ต้องการผู้กำกับที่มีแนวคิดในการนำเสนอที่ชัดเจน และมีวิสัยทัศน์ที่จะสามารถถ่ายทอดเรื่องราวได้ตั้งแต่ต้นจนจบ ทำให้ผลงานที่มาของเขาอย่าง Gurren Lagann, Kill la Kill, Promare ล้วนเป็นผลงานที่มีการนำเสนอที่ชัดเจนให้เห็นตามที่ต้องการ แต่นอกจากสิ่งที่เคยทำมาแล้ว ผู้กำกับ Imaishi ก็ต้องการนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ ในผลงานเรื่องนี้ด้วย

  • ในการวาดสตอรี่บอร์ด ผู้กำกับ Imaishi ต้องการแสดงให้เห็นการแสดงความรู้สึกของตัวละคร ทำให้ผู้ชมจะได้เห็นฉากที่เน้นการแสดงออกถึงสีหน้าของตัวละครในแต่ละเหตุการณ์ ได้อย่างชัดเจนอยู่หลายฉาก

  • การแสดงสีของแสงเงาสะท้อนในแต่ละฉาก ก็เป็นอีกหนึ่งความแปลกใหม่และเป็นความท้าทายใหม่ของผู้กำกับ Imaishi เป็นอย่างมาก ผู้ชมจะเห็นได้ว่าในบางฉากนั้นจะมีการใช้แสงสะท้อนสีชมพู สีแดง หรือสีเขียว แตกต่างกันไปตามสถานที่ภายในเมืองที่เต็มไปด้วยแสงไฟนีออนนี้ เพื่อการแสดงการสะท้อนของสีออกมาได้อย่างถูกต้อง จึงทำให้ต้องมีการทดลองด้วยการเซ็ตฉากเปิดแสงสะท้อนของไฟสีต่าง ๆ ใส่คนจริง ๆ ก่อนที่จะนำมาเป็นแบบอ้างอิงในอนิเมะ และยังมีขั้นตอนการแก้ไขอย่างละเอียดเพื่อให้แสงเงาสะท้อนออกมาได้อย่างเหมาะสมที่สุด นี่จึงเป็นการนำเสนอของเทคนิคงานภาพ ที่แทบจะไม่เคยมีในอนิเมะของญี่ปุ่นมาก่อน

  • ภายในอนิเมะ จะมีฉากต่อสู้ที่ใช้เอฟเฟ็กต์ระเบิดหรือเอฟเฟ็กต์ควันอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งระเบิดเหล่านั้นผู้กำกับ Imaishi ได้เป็นคนวาดมือขึ้นมาด้วยตัวเอง จากการที่เขามักจะใช้เวลาว่างในการวาดแอนิเมชั่นของเอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ เก็บเอาไว้มาตลอดหลายปี ในบางฉากนั้นอาจจะมีภาพของการระเบิดเกิดขึ้นเพียง 3 วินาที แต่ก็ต้องใช้การวาดภาพต่อเนื่องถึง 24 ภาพ เพื่อทำให้สามารถเห็นการเคลื่อนไหวของการระเบิดออกมาได้อย่างลื่นไหลไม่มีสะดุด

  • ผู้กำกับ Imaishi รู้สึกชื่นชมในความพยายามที่ทาง CD Projekt Red สามารถออกแบบโครงสร้างของเมือง Night City อันเป็นเมืองในอนาคตได้โดยมีความละเอียดสูงมาก ตั้งแต่สัญญาณจราจร ถนน ป้ายไฟ สัญลักษณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาคิดว่าถ้าถูกขอให้วาดด้วยมือก็คงทำไม่ได้แน่ ๆ



  • การออกแบบตัวละครของ David ได้เปลี่ยนแปลงไปจากตอนแรกเล็กน้อย ในขณะที่ Lucy มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเยอะมาก

  • ในการออกแบบตัวละคร คุณ Yoh Yoshinari ผู้เป็น Character Design ต้องคำนึงถึงว่า David เป็นตัวละครแบบไหน เขาเติบโตมาอย่างไร ใช้ชีวิตอยู่อย่างไร เป้าหมายของเขาคืออะไร และเขาจะเปลี่ยนแปลงไปในเรื่องได้อย่างไร ทำให้ David ออกมาเป็นเด็กหนุ่มที่มีอายุน้อยกว่าตัวละครคนอื่น ๆ และได้เข้าไปพัวพันกับความรุนแรงในสังคม ซึ่งเป็นการออกแบบที่ทำได้ยากในตอนแรก

  • คุณ Yoh ยอมรับว่า Lucy เป็นตัวละครที่ออกแบบได้ยากกว่า David มาก เธอเป็นตัวละครที่มีความแตกต่างหลาย ๆ อย่างตรงข้ามกับ David โดยเฉพาะเรื่องของความลึกลับที่มีเสน่ห์ แต่ก็ยังต้องการให้ผู้ชมสามารถเข้าถึงได้ในแบบตัวละครของอนิเมะญี่ปุ่น โดยที่ระวังไม่ทำให้เธอดูเป็นตัวละครที่มีความชั่วร้ายมากเกินไป

  • Lucy มีชื่อจริงว่า Lucy Kushinada เธอเป็นลูกครึ่งโปแลนด์กับญี่ปุ่น และถูกกำหนดเอาไว้ให้เป็นตัวละครสำคัญที่จะพา David และผู้ชม ไปสู่จุดเริ่มต้นของเรื่องราวต่าง ๆ เธอจึงเป็นเหมือนกับคนที่สอนให้รู้ว่าการทำเรื่องที่ไม่ดีคืออะไร ในขณะเดียวกันก็ยังมีความลับบางอย่างที่เธอปิดบังเอาไว้

  • สีผมของ Lucy ในตอนแรก ได้ถูกออกแบบโดยใช้สีที่มีความสดใส ซึ่งอ้างอิงมาจากนกฟินส์ และได้ลองปรับเปลี่ยนเป็นสีอื่น ๆ มาเรื่อย ๆ จนสุดท้ายแล้วก็มาจบที่สีผมที่ดูเรียบง่าย แต่ก็ดูมีความสง่างามเข้ากันมากที่สุด

  • ระหว่างการออกแบบตัวละคร คุณ Yoh ได้กลัวว่าภาพลักษณ์ของตัวละครที่เขานึกภาพเอาไว้ จะออกมาเหมือนกับไอเดียของตัวละครอนิเมะในยุค 90 มากเกินไป ซึ่ง Lucy ก็เกือบจะมีความคล้ายกับตัวละคร Motoko Kusanagi จากเรื่อง Ghost in the Shell ที่ถือเป็นหนึ่งในอนิเมะ Sci-fi ในตำนาน นี่จึงเป็นอีกหนึ่งความท้าทายของคุณ Yoh Yoshinari ในฐานะ Character Design ที่ต้องออกแบบตัวละครให้มีความแตกต่างกันกับผลงานที่เคยมีชื่อเสียงอยู่แล้ว



  • คุณ Kaneko Yuto เป็นผู้ช่วยผู้ออกแบบตัวละครคนอื่น ๆ อย่าง Rebecca และสมาชิกในกลุ่มของ David ซึ่งเขาเป็นอีกคนหนึ่งที่ได้ร่วมทำงานกับผู้กำกับ Imaishi Hiroyuki และคุณ Yoh Yoshinari มาตั้งแต่ปี 2012 นี่จึงเป็นอีกหนึ่งผลงานที่เขาได้มีส่วนร่วมหลังจากที่สั่งสมพัฒนาความสามารถมาแล้วมากมาย จนเป็นที่ไว้วางใจของทีมงานทุกคนมากพอแล้ว

  • Rebecca เป็นอีกหนึ่งตัวละครที่ได้รับความนิยมมาก จากความแตกต่างของเธอกับตัวละครอื่น รูปร่างของเธอดูเหมือนเด็กผู้หญิงที่น่ารัก แต่กลับมีความก้าวร้าว และมีการใช้คำพูดที่รุนแรง รวมถึงชอบถือปืนอยู่เสมอ ซึ่งนี่เป็นตัวละครที่คุณ Kaneko Yuto ตั้งใจออกแบบมาเพื่อแสดงให้เห็นความสนุกในตัวละครของอนิเมะแบบญี่ปุ่น

    ทว่า ทาง CD Projekt Red ไม่ค่อยพอใจกับตัวละครที่ทาง TRIGGER ออกแบบมาให้ และขอให้ทำการเปลี่ยนแปลงดีไซน์ตัวละครใหม่เพราะคิดว่า “หากมีตัวละครที่น่ารัก จะทำให้โลกของ Cyberpunk 2077 พังไปด้วย” แต่สตูดิโอ TRIGGER ผู้มากประสบการณ์ในการทำอนิเมะ ก็ได้พิสูจน์แล้วว่าตัวละครเหล่านี้ได้กลายเป็นที่นิยมขึ้นมาได้จริง ๆ ความเห็นตรงกันข้ามในตอนแรกนั้นจึงเป็นเพียงแค่เรื่องความแตกต่างของวัฒนธรรมเท่านั้น

  • สาเหตุที่ Rebecca เป็นตัวละครเด็กผู้หญิงตัวเล็ก เป็นเพราะแนวคิดในการนำเสนอที่สามารถเข้าใจได้ไม่ยาก นั่นก็คือการที่ทาง TRIGGER ต้องการให้ผู้ชมอนิเมะสามารถแยกตัวละครออกได้โดยง่าย ถ้าหากมีตัวละครที่มีส่วนสูงในระดับใกล้เคียงกันหมด ต่อให้มีหน้าตาหรือสีที่แตกต่างกัน แต่ก็จะดูเหมือนกันหมดมากเกินไป

  • บทของ Rebecca ได้จบลงอย่างรวดเร็วโดยที่ผู้ชมไม่ทันตั้งตัว นั่นก็เป็นสิ่งที่ทีมงานตั้งใจให้มีความเชื่อมโยงกับพี่ชายของเธอที่ตายโดยไม่คาดคิดเช่นกัน ซึ่งถ้าหากตัวละครนั้นไม่มีความน่าจดจำ ผู้ชมก็จะไม่มีความประทับใจอะไรในฉากนี้เลย


  • แนวคิดเริ่มต้นในการทำอนิเมะของ CD Projekt Red ได้เกิดขึ้นในปี 2017 ก่อนที่ทางสตูดิโอ TRIGGER จะได้เริ่มต้นงานในปี 2018 ซึ่งในตอนนั้นพวกเขาอยากจะสัมผัสกับตัวเกมจริง ๆ เพื่อให้เข้าถึงเนื้อหาได้อย่างถ่องแท้ แต่ในตอนนั้นทาง CDPR ยังทำเกมออกมาไม่เสร็จสมบูรณ์ ทำให้พวกเขาต้องปะติดปะต่อสิ่งต่าง ๆ จากข้อมูลเท่าที่มีในช่วงแรกเอาเอง และทำให้มีไอเดียที่ถูกตัดออกเนื่องจากแนวคิดที่ไม่เข้ากันอย่างช่วยไม่ได้อยู่เยอะ

  • ทางทีมงานของ TRIGGER ได้พูดคุยกับ CD Projekt Red โดยตรงเสมอ อย่างเช่นการที่พวกเขาบอกว่าชอบอะไรในเกม และได้กลายมาเป็นวัตถุดิบที่ถูกนำมาใส่ในอนิเมะ หรือการที่พวกเขาต้องการจะทำอะไร ก็จะทำการเสนอไอเดียไปก่อนที่จะได้รับการตอบตกลงกลับมา การที่นำฉากสถานที่ในเกมให้มาอยู่ในอนิเมะ ก็เป็นแนวคิดของการตามรอยสถานที่เหมือนที่แฟน ๆ ของอนิเมะชอบทำกันด้วยเช่นกัน

  • ถึงแม้ว่า CD Projekt Red จะไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอหลาย ๆ อย่างในตอนแรก เพราะพวกเขาไม่เข้าใจเรื่องการทำอนิเมะมาก่อน แต่หลังจากที่ภาพของ Cyberpunk: Edgerunners เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น พวกเขาก็เริ่มตื่นเต้นมากขึ้นกับสิ่งที่สตูดิโอ TRIGGER ทำขึ้นมาแบบเปลี่ยนไปอย่างเห็นได้ชัด

  • ภายในอนิเมะ ได้มีฉากที่เต็มไปด้วยความดิบเถื่อนของเลือด และชิ้นส่วนที่ขาดกระเด็นอยู่มากมาย ซึ่งผู้กำกับ Imaishi ไม่ได้ชื่นชอบความดิบเถื่อนอะไรแบบนั้น เพียงแต่เขาต้องยอมรับที่จะถ่ายทอดให้เห็นความเป็นจริงอันโหดร้ายภายในโลกของ Cyberpunk ออกมา

  • ทาง CDPR ต้องการให้ตัวเอกใช้อุปกรณ์ไซเบอร์แวร์ที่ช่วยเพิ่มความเร็วได้ Sandevistan จึงเป็นตัวเลือกของอุปกรณ์ที่ถูกเลือกมา แต่ก็สร้างความลำบากให้กับการวาดเป็นแอนิเมชั่น เมื่อทาง TRIGGER ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากเพื่อทำให้ภาพออกมาเป็นการเคลื่อนไหวแบบบสโลว์โมชั่น และทำให้ฉากต่อสู้ที่เคยต้องวาดภาพเพียงแค่ 3 แผ่น กลับต้องวาดเพิ่มขึ้นถึง 40 แผ่น เลยทีเดียว



  • ทาง CD Projekt Red ได้ทำการเรียกร้องข้อเสนอเอาไว้ตั้งแต่แรก ว่าพวกเขาอยากได้อนิเมะแนว Film Noir หรือภาพยนตร์แนว Gangster แบบสมัยก่อน ทำให้ตัวละครเอก David ที่ยังเป็นเพียงแค่เด็กหนุ่มคนหนึ่ง เป็นตัวเอกที่หาได้ยากมากในภาพยนตร์แนว Gangster

  • เช่นเดียวกัน การกลายเป็นหนึ่งเดียวกับเครื่องจักร, ฉากจบอันน่าเศร้า, และความพ่ายแพ้ของเหล่าตัวเอกในอนิเมะ ก็เป็นสิ่งที่ CD Projekt Red ได้กำหนดเอาไว้ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว แต่ความประทับใจส่วนใหญ่ของเรื่องนั้นมาจากความคิดของทาง TRIGGER ที่ได้เป็นผู้เขียนบทส่วนใหญ่เอง

  • ความพ่ายแพ้ของเหล่าตัวเอกในตอนจบ เป็นสิ่งที่ทาง TRIGGER ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ทำให้พวกเขาได้เป็นคนขอให้ใส่ตัวร้ายอย่าง Adam Smasher ลงไปในอนิเมะเอง และมันก็ได้ผลเป็นอย่างมากเมื่อผู้ชมที่ได้ดูอนิเมะจบแล้ว ต่างพากันตามไปเล่นเกมต่อเพื่อไปตามหา Adam Smasher กันเป็นจำนวนมาก


  • ฉากการมองเห็นอดีตของ Maine เป็นแนวคิดที่ทีมงาน TRIGGER ได้เสนอไอเดียเอาไว้ และได้ถูกนำมาใช้เพราะผู้กำกับ Imaishi เห็นว่าน่าสนใจมาก ถนนที่มองเห็นคืออะไร? สถานที่รกร้างนั้นคือที่ที่เขาเคยอยู่รึเปล่า? นั่นเป็นแนวคิดของความทรงจำที่ผสมปนเปกันในช่วงสุดท้ายของชีวิต ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ตีความหมายกันเอง

  • แท้ที่จริงแล้ว Lucy ได้ล้มเลิกความคิดที่จะไปดวงจันทร์กลางทางแล้ว แต่ David กลับเป็นคนที่ตั้งเป้าหมายจะทำให้ความฝันของเธอเป็นจริงขึ้นมาอีกครั้ง

  • ตามที่ผู้กำกับ Imaishi วางบทเอาไว้ ฉากที่ทำให้ David เริ่มตกหลุมรัก Lucy คือฉากตอนที่ Lucy ทำการควบคุมเตียงพยาบาลที่เขากำลังนอนอยู่ และทำการหลบหลีกรถบนถนนที่วิ่งสวนไปมา ซึ่งนี่เป็นฉากที่แสดงความโดดเด่นของ Lucy ออกมาอย่างเด่นชัดเป็นครั้งแรก และยังมีอารมณ์ความแฟนตาซีที่โลดแล่นออกมาต่างกับฉากอื่น ๆ ภายในเรื่อง

  • ฉากจบที่ทาง CD Projekt Red เสนอเอาไว้ มีความโหดร้ายรุนแรงกว่าที่คาดคิดเอาไว้มาก เรียกได้ว่าฉากจบของทาง TRIGGER นั้นลดความรุนแรงลงมาแล้ว แต่เพิ่มเติมคือมีความประทับใจและมีความเป็นอนิเมะมากที่สุด

  • ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่า Braindance ทำให้ผู้คนสามารถแลกเปลี่ยนความทรงจำร่วมกันได้ แนวคิดนี้จึงทำให้เกิดฉากที่ David ได้ไปดวงจันทร์ในความฝันของ Lucy จนกลายเป็นฉากรักโรแมนติกที่ไม่มีใครเคยคาดคิดมาก่อนว่าจะมีได้ในโลกของ Cyberpunk 2077 นี่ถือเป็นฉากที่สำคัญมากที่สุด ที่ได้ช่วยขยายโลกของ Cyberpunk ให้กว้างไกลออกไปมากขึ้นกว่าเดิม และกลายเป็นที่จดจำของผู้ชมไปตลอดกาล



    ที่มา: NHK, Famitsu, GameWatch, Skill Up


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header