GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] เมื่อกาลเวลาเล่นตลก: ทำไมเกมเก่าในความทรงจำ จึงมักดูดีกว่าความเป็นจริงเสมอ?
ลงวันที่ 25/01/2022

เชื่อว่ามีเกมเมอร์หลายคน คลุกคลีกับวิดีโอเกมมาตั้งแต่อ้อนแต่ออด ไม่ว่าจะเป็นยุคเครื่องเกมอย่าง Nintendo Entertainment System (NES) หรือที่เรียกกันติดปากว่า Famicom ยุคเครื่อง SEGA Genesis, PC Engine, PlayStation ไปจนถึง Game Boy ก็ล้วนเป็นเครื่องเกมคอนโซลที่สร้างความทรงจำอันแสนมีค่าให้กับเหล่าเกมเมอร์รุ่นเก๋ากันทั้งนั้น


ผู้เขียนยังเชื่ออีกว่ามีเกมเมอร์วัยเก๋าจำนวนไม่น้อย น่าจะเคยหวนย้อนนึกถึงอดีตอันแสนหอมหวาน หยิบจับเกมเก่า ๆ สุดรักขึ้นมาปัดฝุ่นกันบ้างอย่างน้อยสักครั้งหรือสองครั้ง พาตัวเองย้อนเวลากลับไปในวัยเด็ก ไม่ว่าจะด้วยเครื่องเกมแบบต้นตำรับที่เก็บรักษาเป็นอย่างดี หรือจะผ่านโปรแกรมจำลองอย่าง Emulator ก็ตาม


แต่ทว่าสิ่งที่ปรากฎตรงหน้านั้น กลับไม่เหมือนในความทรงจำเลยแม้แต่นิดเดียว ทั้งระบบการเล่นที่ดูเก้ ๆ กัง ๆ ตรรกะในเกมที่ไม่สมเหตุสมผล และสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างเด่นชัดคือ ภาพกราฟิกที่ดูตกยุคจนน่าใจหาย ทั้งที่เคยจำได้ว่าภาพของเกมนี้มันสวยมากแท้ ๆ 


อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกมเก่าในความทรงจำของเรามันดูดีขนาดนั้น บทความนี้มีคำตอบ!


มาตรฐานของสิ่งต่าง ๆ ที่สูงขึ้น


Extreme History] “But Can it Run Crysis?” วลีนี้มาจากไหน - Extreme IT


หากใครที่เข้าสู่วงการได้ทันเกมชื่อดังระดับปฏิวัติวงการอย่าง Half-Life, Metal Gear Solid หรือ Crysis ภาพจำของเกมเหล่านี้ในหัวของคุณก็คือ เกมพวกนี้ภาพมันสวยมากกกก สวยเสียจนไม่มีเกมไหนเทียบได้เลย ซึ่งความทรงจำตรงนี้ก็ไม่ได้ผิดไปซะทีเดียว เนื่องจากในสมัยนั้น หากจะหาคู่แข่งที่ออกมาในช่วงเดียวกัน และสามารถพอฟัดพอเหวี่ยงกับ Half-Life หรือ Crysis ได้ ก็คงต้องบอกว่าหาได้ยากเสียเหลือเกิน


การมาของเกมที่มีคุณภาพคับแก้ว จึงได้ช่วยยกระดับมาตรฐานของเกมที่ตามมาทีหลังให้สูงยิ่งขึ้น ซึ่งหากว่ากันตามตรง ในยุคสมัยก่อน เกมพวกนี้ก็คือผู้สร้างมาตรฐานใหม่นั่นแหละ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ความทรงจำของคุณ จะจำภาพพวกมันในทางที่สวยงามจนเกินจริงไปเสมอ


แต่ทว่าในปัจจุบัน เกมอื่น ๆ ได้เริ่มยกระดับมาตรฐานของตัวเองมากขึ้น มีเกมระดับเทพที่ตามหลังออกมาเพิ่มขึ้น จึงทำให้มาตรฐานโดยรวมของวงการวิดีโอเกมสูงขึ้นเช่นกัน และเมื่อเราเคยชินกับมาตรฐานของเกมใหม่ ๆ ในยุคนี้แล้ว หากเราย้อนกลับไปเล่นเกมที่สร้างมาตรฐานเก่า ๆ มันก็ย่อมจะดูย่ำแย่กว่าความทรงจำอยู่แล้วล่ะครับ


สีที่ผิดเพี้ยนไป



ในยุคสมัยก่อน ผู้พัฒนาเกมจะต้องทำงานภายใต้ข้อจำกัดหลายอย่าง และข้อจำกัดข้อใหญ่ที่สุดในยุคนั้นก็คงหนีไม่พ้นตัวฮาร์ดแวร์นั่นเอง ในสมัยที่จอทีวีของคนทั่วไปยังสามารถแสดงสีสันได้แค่ประมาณ 64 สี และใช้รูปแบบจอ CRT 

หากผู้พัฒนาเกมอยากจะให้เกมของพวกเขามีเฉดสีที่มากขึ้น พวกเขาจะใช้เทคนิคที่เรียกว่า 'dithering' เข้ามาช่วย


ซึ่งเทคนิค dithering  นี้ จะเป็นการนำสีสองแบบมาวางในช่อง pixels ติดกัน ผสมสีในอัตรส่วนที่ไม่คงที่ ทำให้สายตาของมนุษย์ถูกหลอกลวงให้มองเห็นเป็นสีอื่น ๆ จากที่หน้าจอแสดงผล ยกตัวอย่างเช่น หากจอทีวีรองรับแค่สีขาวกับดำ แต่ทางผู้พัฒนาเกมกลับอยากได้สีเทา พวกเขาจะนำสีขาวและดำมาวางในช่องติดกัน และผสมสองสีต้นเข้าด้วยกัน เพื่อหลอกสายตาของมนุษย์ให้เห็นเป็นสีเทา


ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะใช้งานแค่บนจอแบบ CRT เพียงเท่านั้น เนื่องจากความคมชัดของจอ CRT จะทำให้มนุษย์สังเกตเทคนิค dithering ยากขึ้น


ส่วนคนที่นำเกมเก่า มาเล่นบนจอในยุคปัจจุบัน ก็ไม่ต้องแปลกใจไป หากเห็นสีของเกมมันเพี้ยน ๆ แตกต่างไปจากภาพในความทรงจำ นั่นก็เพราะเทคนิค dithering  ไม่ได้ถูกทำมารองรับกับจอในยุคใหม่นั่นเอง


สมัยก่อนมันดูดีกว่านี้จริง ๆ



เรายังคงอยู่ในเรื่องของข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีกันต่อ 

อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เวลาคุณหยิบเกมเก่า ๆ มาเล่นบนเครื่องยุคใหม่นั่นก็คือ ความคมชัดของภาพ


โดยในสมัยก่อนนั้น ตัวเกมส่วนใหญ่จะทำมารองรับความละเอียดที่ 240 หรือ 360 ซึ่งนับว่าเป็นความละเอียดที่พอดิบพอดีกับทีวีตามช่วงสมัย

แต่ทว่าถ้าคุณนำเกมที่ภาพชัดแค่ 240 มาเล่นในยุคที่จอ TV แสดงความชัดได้ระดับ 4K มันจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ตัวเกมจะดูย่ำแย่กว่าความเป็นจริง

เพราะโดยหลักการการทำงานของจอทั่ว ๆ ไปนั้น พวกมันจะขยายภาพเพื่อให้แสดงผลเต็มหน้าจอมากที่สุด

และการที่เอาภาพที่มีความชัดต่ำ มาขยายบนจอขนาดยักษ์นั้นคงไม่ใช่เรื่องที่


นี่จึงทำให้ภาพของเกมที่เคยดูสวยสดงดงามในความทรงจำนั้น ออกมาเละตุ้มเป๊ะเมื่อเราหยิบมันกลับมาเล่นในปัจจุบันนั่นเอง


ดังนั้นหากใครอยากจะหยิบจับเกมเก่าขึ้นมารื้อฟื้อความหลัง คุณก็ควรจะหาจอเก่า ๆ ที่เหมาะกับอายุของตัวเกมมาเพื่อเล่นไปควบคู่กันด้วย ถึงจะได้รับประสบการณ์ที่เต็มรูปแบบของจริง


อาการความทรงจำรั่วไหล


สำหรับข้อสุดท้ายนี้จะไม่ได้เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ภายนอก แต่จะเป็นซอร์ฟแวร์ของมนุษย์เสียมากกว่า

โดยอาการนี้จะถูกเรียกว่า 'Leaked Memory' หรือความทรงจำที่รั่วไหล อาการนี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อสมองของมนุษย์ได้รับความทรงจำใหม่ที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวกับความทรงจำเก่า ซึ่งเมื่อมีจุดเชื่อมโยงกันนั้น จะมีโอกาสค่อนข้างสูงเลยทีเดียวที่สมองของเราจะเกิดการรั่วไหลของความทรงจำ และผสมรายละเอียดของความทรงจำเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน


ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น คุณเคยเล่นเกม Mario Bros ที่ออกมาในปี 1983 มาก่อนในช่วงวัยเด็ก

และเมื่อคุณได้กลับมาเล่นเกม Super Mario Odyssey อีกครั้งในวัยผู้ใหญ่ ด้วยจุดเชื่อมโยงระหว่าง Mario ตรงนี้ จะทำให้ความทรงจำใหม่เกี่ยวกับ Super Mario Odyssey ไหลเข้าสู่ความทรงจำเก่าของ Mairo Bros นั่นเอง


คุณจะรู้สึกว่า Mario Bros ภาพมันสวยขึ้นเมื่อได้เล่นเกมภาคใหม่ ทั้ง ๆ ที่ตัวเกมทั้งสองทิ้งช่วงห่างกันถึง 34 ปี เลยก็ตาม

นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เกมเก่าในความทรงจำ มักจะดูดีกว่าความเป็นจริงเสมอ




เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกมเก่า ๆ ดูสวยงามในความจำ แต่กลับระยำในความจริง ทั้งนี้ทางผู้เขียนขอแนะนำว่า หากอยากเล่นเกมเก่ารื้อฟื้อความหลัง รอเวอร์ชัน Remaster, Remake หรือ Reboot จะอะไรก็ว่าไปน่าจะเหมาะสมกว่า เพราะพวกคุณจะได้ไม่ไปทำร้ายความทรงจำอันแสนมีค่าด้วย


แต่ถ้าอยากจะเล่นให้ได้จริง ๆ โดยที่ทางผู้พัฒนายังไม่ได้ทำเวอร์ชันใหม่ออกมา ก็ขอแนะนำให้ไปหาจอประเภท CRT ที่รองรับกับเกมนั้น ๆ เอานะครับ แบบนี้น่าจะช่วยให้ภาพสวยขึ้นระดับหนึ่งเลยทีเดียวเชียว


แหล่งข้อมูล: https://www.gamerevolution.com/features/378895-heres-retro-games-look-awful-compared-remember 

https://nerdytech.org/why-do-old-video-games-look-worse-than-we-remember/ 

https://www.quora.com/Why-do-we-remember-old-video-game-graphics-as-being-better-than-what-they-were#:~:text=It's%20been%20discovered%20that%20CRT,to%20run%20new%20games%20with




GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] เมื่อกาลเวลาเล่นตลก: ทำไมเกมเก่าในความทรงจำ จึงมักดูดีกว่าความเป็นจริงเสมอ?
25/01/2022

เชื่อว่ามีเกมเมอร์หลายคน คลุกคลีกับวิดีโอเกมมาตั้งแต่อ้อนแต่ออด ไม่ว่าจะเป็นยุคเครื่องเกมอย่าง Nintendo Entertainment System (NES) หรือที่เรียกกันติดปากว่า Famicom ยุคเครื่อง SEGA Genesis, PC Engine, PlayStation ไปจนถึง Game Boy ก็ล้วนเป็นเครื่องเกมคอนโซลที่สร้างความทรงจำอันแสนมีค่าให้กับเหล่าเกมเมอร์รุ่นเก๋ากันทั้งนั้น


ผู้เขียนยังเชื่ออีกว่ามีเกมเมอร์วัยเก๋าจำนวนไม่น้อย น่าจะเคยหวนย้อนนึกถึงอดีตอันแสนหอมหวาน หยิบจับเกมเก่า ๆ สุดรักขึ้นมาปัดฝุ่นกันบ้างอย่างน้อยสักครั้งหรือสองครั้ง พาตัวเองย้อนเวลากลับไปในวัยเด็ก ไม่ว่าจะด้วยเครื่องเกมแบบต้นตำรับที่เก็บรักษาเป็นอย่างดี หรือจะผ่านโปรแกรมจำลองอย่าง Emulator ก็ตาม


แต่ทว่าสิ่งที่ปรากฎตรงหน้านั้น กลับไม่เหมือนในความทรงจำเลยแม้แต่นิดเดียว ทั้งระบบการเล่นที่ดูเก้ ๆ กัง ๆ ตรรกะในเกมที่ไม่สมเหตุสมผล และสิ่งที่สำคัญที่สุดอย่างเด่นชัดคือ ภาพกราฟิกที่ดูตกยุคจนน่าใจหาย ทั้งที่เคยจำได้ว่าภาพของเกมนี้มันสวยมากแท้ ๆ 


อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกมเก่าในความทรงจำของเรามันดูดีขนาดนั้น บทความนี้มีคำตอบ!


มาตรฐานของสิ่งต่าง ๆ ที่สูงขึ้น


Extreme History] “But Can it Run Crysis?” วลีนี้มาจากไหน - Extreme IT


หากใครที่เข้าสู่วงการได้ทันเกมชื่อดังระดับปฏิวัติวงการอย่าง Half-Life, Metal Gear Solid หรือ Crysis ภาพจำของเกมเหล่านี้ในหัวของคุณก็คือ เกมพวกนี้ภาพมันสวยมากกกก สวยเสียจนไม่มีเกมไหนเทียบได้เลย ซึ่งความทรงจำตรงนี้ก็ไม่ได้ผิดไปซะทีเดียว เนื่องจากในสมัยนั้น หากจะหาคู่แข่งที่ออกมาในช่วงเดียวกัน และสามารถพอฟัดพอเหวี่ยงกับ Half-Life หรือ Crysis ได้ ก็คงต้องบอกว่าหาได้ยากเสียเหลือเกิน


การมาของเกมที่มีคุณภาพคับแก้ว จึงได้ช่วยยกระดับมาตรฐานของเกมที่ตามมาทีหลังให้สูงยิ่งขึ้น ซึ่งหากว่ากันตามตรง ในยุคสมัยก่อน เกมพวกนี้ก็คือผู้สร้างมาตรฐานใหม่นั่นแหละ จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ความทรงจำของคุณ จะจำภาพพวกมันในทางที่สวยงามจนเกินจริงไปเสมอ


แต่ทว่าในปัจจุบัน เกมอื่น ๆ ได้เริ่มยกระดับมาตรฐานของตัวเองมากขึ้น มีเกมระดับเทพที่ตามหลังออกมาเพิ่มขึ้น จึงทำให้มาตรฐานโดยรวมของวงการวิดีโอเกมสูงขึ้นเช่นกัน และเมื่อเราเคยชินกับมาตรฐานของเกมใหม่ ๆ ในยุคนี้แล้ว หากเราย้อนกลับไปเล่นเกมที่สร้างมาตรฐานเก่า ๆ มันก็ย่อมจะดูย่ำแย่กว่าความทรงจำอยู่แล้วล่ะครับ


สีที่ผิดเพี้ยนไป



ในยุคสมัยก่อน ผู้พัฒนาเกมจะต้องทำงานภายใต้ข้อจำกัดหลายอย่าง และข้อจำกัดข้อใหญ่ที่สุดในยุคนั้นก็คงหนีไม่พ้นตัวฮาร์ดแวร์นั่นเอง ในสมัยที่จอทีวีของคนทั่วไปยังสามารถแสดงสีสันได้แค่ประมาณ 64 สี และใช้รูปแบบจอ CRT 

หากผู้พัฒนาเกมอยากจะให้เกมของพวกเขามีเฉดสีที่มากขึ้น พวกเขาจะใช้เทคนิคที่เรียกว่า 'dithering' เข้ามาช่วย


ซึ่งเทคนิค dithering  นี้ จะเป็นการนำสีสองแบบมาวางในช่อง pixels ติดกัน ผสมสีในอัตรส่วนที่ไม่คงที่ ทำให้สายตาของมนุษย์ถูกหลอกลวงให้มองเห็นเป็นสีอื่น ๆ จากที่หน้าจอแสดงผล ยกตัวอย่างเช่น หากจอทีวีรองรับแค่สีขาวกับดำ แต่ทางผู้พัฒนาเกมกลับอยากได้สีเทา พวกเขาจะนำสีขาวและดำมาวางในช่องติดกัน และผสมสองสีต้นเข้าด้วยกัน เพื่อหลอกสายตาของมนุษย์ให้เห็นเป็นสีเทา


ซึ่งวิธีนี้จะเหมาะใช้งานแค่บนจอแบบ CRT เพียงเท่านั้น เนื่องจากความคมชัดของจอ CRT จะทำให้มนุษย์สังเกตเทคนิค dithering ยากขึ้น


ส่วนคนที่นำเกมเก่า มาเล่นบนจอในยุคปัจจุบัน ก็ไม่ต้องแปลกใจไป หากเห็นสีของเกมมันเพี้ยน ๆ แตกต่างไปจากภาพในความทรงจำ นั่นก็เพราะเทคนิค dithering  ไม่ได้ถูกทำมารองรับกับจอในยุคใหม่นั่นเอง


สมัยก่อนมันดูดีกว่านี้จริง ๆ



เรายังคงอยู่ในเรื่องของข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีกันต่อ 

อีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้เวลาคุณหยิบเกมเก่า ๆ มาเล่นบนเครื่องยุคใหม่นั่นก็คือ ความคมชัดของภาพ


โดยในสมัยก่อนนั้น ตัวเกมส่วนใหญ่จะทำมารองรับความละเอียดที่ 240 หรือ 360 ซึ่งนับว่าเป็นความละเอียดที่พอดิบพอดีกับทีวีตามช่วงสมัย

แต่ทว่าถ้าคุณนำเกมที่ภาพชัดแค่ 240 มาเล่นในยุคที่จอ TV แสดงความชัดได้ระดับ 4K มันจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่ตัวเกมจะดูย่ำแย่กว่าความเป็นจริง

เพราะโดยหลักการการทำงานของจอทั่ว ๆ ไปนั้น พวกมันจะขยายภาพเพื่อให้แสดงผลเต็มหน้าจอมากที่สุด

และการที่เอาภาพที่มีความชัดต่ำ มาขยายบนจอขนาดยักษ์นั้นคงไม่ใช่เรื่องที่


นี่จึงทำให้ภาพของเกมที่เคยดูสวยสดงดงามในความทรงจำนั้น ออกมาเละตุ้มเป๊ะเมื่อเราหยิบมันกลับมาเล่นในปัจจุบันนั่นเอง


ดังนั้นหากใครอยากจะหยิบจับเกมเก่าขึ้นมารื้อฟื้อความหลัง คุณก็ควรจะหาจอเก่า ๆ ที่เหมาะกับอายุของตัวเกมมาเพื่อเล่นไปควบคู่กันด้วย ถึงจะได้รับประสบการณ์ที่เต็มรูปแบบของจริง


อาการความทรงจำรั่วไหล


สำหรับข้อสุดท้ายนี้จะไม่ได้เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ภายนอก แต่จะเป็นซอร์ฟแวร์ของมนุษย์เสียมากกว่า

โดยอาการนี้จะถูกเรียกว่า 'Leaked Memory' หรือความทรงจำที่รั่วไหล อาการนี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อสมองของมนุษย์ได้รับความทรงจำใหม่ที่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวกับความทรงจำเก่า ซึ่งเมื่อมีจุดเชื่อมโยงกันนั้น จะมีโอกาสค่อนข้างสูงเลยทีเดียวที่สมองของเราจะเกิดการรั่วไหลของความทรงจำ และผสมรายละเอียดของความทรงจำเก่าและใหม่เข้าด้วยกัน


ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น คุณเคยเล่นเกม Mario Bros ที่ออกมาในปี 1983 มาก่อนในช่วงวัยเด็ก

และเมื่อคุณได้กลับมาเล่นเกม Super Mario Odyssey อีกครั้งในวัยผู้ใหญ่ ด้วยจุดเชื่อมโยงระหว่าง Mario ตรงนี้ จะทำให้ความทรงจำใหม่เกี่ยวกับ Super Mario Odyssey ไหลเข้าสู่ความทรงจำเก่าของ Mairo Bros นั่นเอง


คุณจะรู้สึกว่า Mario Bros ภาพมันสวยขึ้นเมื่อได้เล่นเกมภาคใหม่ ทั้ง ๆ ที่ตัวเกมทั้งสองทิ้งช่วงห่างกันถึง 34 ปี เลยก็ตาม

นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้เกมเก่าในความทรงจำ มักจะดูดีกว่าความเป็นจริงเสมอ




เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกมเก่า ๆ ดูสวยงามในความจำ แต่กลับระยำในความจริง ทั้งนี้ทางผู้เขียนขอแนะนำว่า หากอยากเล่นเกมเก่ารื้อฟื้อความหลัง รอเวอร์ชัน Remaster, Remake หรือ Reboot จะอะไรก็ว่าไปน่าจะเหมาะสมกว่า เพราะพวกคุณจะได้ไม่ไปทำร้ายความทรงจำอันแสนมีค่าด้วย


แต่ถ้าอยากจะเล่นให้ได้จริง ๆ โดยที่ทางผู้พัฒนายังไม่ได้ทำเวอร์ชันใหม่ออกมา ก็ขอแนะนำให้ไปหาจอประเภท CRT ที่รองรับกับเกมนั้น ๆ เอานะครับ แบบนี้น่าจะช่วยให้ภาพสวยขึ้นระดับหนึ่งเลยทีเดียวเชียว


แหล่งข้อมูล: https://www.gamerevolution.com/features/378895-heres-retro-games-look-awful-compared-remember 

https://nerdytech.org/why-do-old-video-games-look-worse-than-we-remember/ 

https://www.quora.com/Why-do-we-remember-old-video-game-graphics-as-being-better-than-what-they-were#:~:text=It's%20been%20discovered%20that%20CRT,to%20run%20new%20games%20with




บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header