GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] Speedrun 101 ประวัติและประเภทของ Speedrun แถมด้วยการหา Glitch ที่หลายคนสงสัยว่า 'มันไปหาเจอกันได้ยังไงวะ?'
ลงวันที่ 25/03/2022

การ Speedrun เป็นอีกหนึ่งในวิธีการเล่นเกมที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงมาก เพราะนอกจากกฎร่วมกันที่ต้องพยายามจบเกมให้ได้เวลาที่สั้นที่สุดแล้ว ในบางเกมยังมีการแบ่งหมวดหมู่แยกย่อยลงไปอีกด้วย


ซึ่ง ณ ปัจจุบัน สังคมของ Speedrun ก็กำลังแผ่ขยายกว้างออกไปขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขั้นมาการจัดงานรวมตัวกันของ Runner (นักทำสถิติ Speedrun) อย่าง Game Done Quick ออกมาเลยทีเดียว


ทั้งนี้ หลาย ๆ คนคงสงสัยกันว่า พวกประเภทของ Speedrun มันมีอะไรกันบ้าง ทำไมเวลาเท่านี้เขียนว่า World Record ทั้ง ๆ ที่อีกคนเร็วกว่าแท้ ๆ แล้วทำไมคนนี้ไม่ยอมใช้บั๊กแบบนี้ เพื่อร่นระยะเวลากันนะ 

หากคุณสงสัยแล้วล่ะก็ บทความนี้มีคำตอบให้ครับ


จุดเริ่มต้นคือเกมเดินหน้ายิงในตำนาน


เท่าที่หาข้อมูลมาได้ จุดเริ่มต้นของชุมชนชาว Speedrun นั้น เกิดมาจากเกมเดินหน้ายิงเลือดเดือดอย่าง Doom เวอร์ชันปี 1993 นั่นเอง


ในตอนนั้น ทางผู้พัฒนาอย่าง id Software ได้ปิ๊งไอเดียบรรเจิด โดยการสร้างระบบ LMPS (Lan Multi Player Support) ซึ่งเป็นระบบที่ให้ผู้เล่นสามารถอัดเกมเพลย์ของตัวเองส่งไปถึงผู้พัฒนาได้ หากพบบั๊กภายในเกม Doom เข้า


Doom (1993), Doom II (Classic) and Doom 3 now available on Xbox One |  TheXboxHub


และภายหลัง ในปี 1994 ทาง Christina “Strunoph” Norman ได้ทำการก่อตั้งเว็บไซต์ Hall of Fame LMPS ขึ้นมา 

โดยเว็บนี้จะทำหน้าคอยรวบรวม LMPS ของผู้เล่น Doom จากทุกทั่วสารทิศเอาไว้บนเว็บไซต์ 

แน่นอนว่า ในตอนแรกจุดประสงค์มันคือการใช้เป็นชุมชนเพื่อแบ่งปันเทคนิคในการเล่นต่าง ๆ ทว่าในภายหลัง เริ่มมีผู้เล่นอัปโหลดวิดีโอโชว์ความเทพของตัวเองกันมากขึ้น เกิดเป็นการแข่งขันกันว่า ใครจะจบเกม Doom ได้เร็วที่สุด จนในตอนท้ายมันจึงเกิดเป็นชุมชนชาว Speedrun ที่แรกของโลกขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ


ทั้งนี้ ภายหลังตัวเว็บไซต์ยังได้มีการนำระบบ Leaderboard เข้ามาบนหน้าเว็บอีกด้วย ซึ่งมันคือตัวกระตุ้นจิตวิญญาณการแข่งขันชั้นดีของคนในชุมชน ทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างกว้างขวางมากขึ้นไปอีก 

แต่ช่างน่าเสียดายที่ในปัจจุบันเว็บไซต์นี้ได้ปิดตัวลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


ประเภทหลักของการ Speedrun ที่พบในเกมส่วนใหญ่


การ Speedrun ค่อนข้างจะมีประเภท Run ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละเกม เพียงแค่เกม ๆ เดียว รูปแบบของ Run อาจจะแยกย่อยได้เป็นสิบ ไปจนถึงหลายสิบเลยก็มี ซึ่งหากจะให้ยกทุกประเภทมาพูด มันคงจะแทบเป็นไปไม่ได้

เพราะฉะนั้นทางผู้เขียนจะขอยกมาอธิบายแค่ประเภทที่มักพบเจอในเกมส่วนใหญ่ก็แล้วกันนะครับ 


โดยหลัก ๆ แล้ว เกมส่วนใหญ่จะมีประเภท Speedrun ดังนี้


1. Any% จบเกมให้ไวที่สุด ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเคลียร์เกมแบบสมบูรณ์ และไม่ได้จำกัดวิธีการ สิ่งที่ห้ามมีเพียงแค่การใช้โปรแกรมโกง หรือการใช้โหมดที่ตัวเกมช่วยโกงมาให้เพียงเท่านั้น (โหมดที่ตัวเกมช่วยโกงเช่น Creative Mode ใน Minecraft ที่ทำให้ผู้เล่นบินขึ้นฟ้าได้ แถมยังเสกไอเทมได้)




2. 100% จบเกมโดยเก็บความก้าวหน้า (Progress) ให้ครบถ้วน หรืออาจจะแยกย่อยไปจนถึงเก็บไอเทมให้ครบทุกชิ้น (100% Collectible Items) และอาจจะต้องมีการใช้หน่วยวัดแยกย่อยกันลงไปอีกด้วย เช่น การเก็บความลับให้ครบ การเก็บ Achivement ให้ครบ เป็นต้น




3. Low% ด้านตรงข้ามของ 100% จบเกมโดยที่มีจำนวนความคืบหน้าให้น้อยที่สุด และแน่นอนว่า ต้องเร็วที่สุดให้สมกับการอยู่วงการ Speedrun




4. Glitchless เป็นการจบเกมให้เร็วที่สุด โดยห้ามใช้ Glitch หรือ Bug ในการเล่นเลยแม้แต่น้อย แตกต่างจาก Any% คนละขั้ว พูดง่าย ๆ ก็คือการเล่นเกมในแบบที่มันควรจะเป็นนั่นเอง




ที่ยกตัวอย่างไปทั้ง 4 ประเภท เป็นเพียงแค่หัวข้อหลัก ๆ ที่เรามักจะพบเจอได้ในเกมส่วนใหญ่เพียงเท่านั้น ทั้งนี้ในบางเกมเราอาจจะได้เห็นหัวข้อประเภท Speedrun ถูกแบ่งแยกย่อยออกไปอีกด้วย เช่น การทำรันแบบ No Damage ห้ามโดนดาเมจอะไรเลย หากพลาดต้องเริ่มเล่นใหม่ หรือจะเป็นรันแบบ Warpless การที่ไม่ใช้ท่อทางลับในการข้ามด่านภายในเกม Super Mario Brothers ก็มีด้วยเช่นกัน




เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ หลาย ๆ คนที่เคยดูวิดีโอ Speedrun มาบ้าง น่าจะเคยเห็นจุดการใช้ Glitch ที่ต้องเกาหัวพร้อมกับอุทานว่า ‘มันไปหาเจอมาได้ยังไงวะ?’ อยู่ครั้งสองครั้งบ้างแหละ

ซึ่งนั่นจะนำพาเราไปสู่ในหัวข้อต่อไป ที่เรียกว่า Glitch Exploitation


ย้อนกลับเพื่อหาช่องโหว่


ในบาง Speedrun หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า รัน (Run) นั้น เรามักจะได้เห็นถึงมุมการใช้ Glitch แบบแปลก ๆ เช่น การมุดเข้าไปในกำแพง การมุดพื้นดิน ไปจนถึงการส่งตัวละครลอยขึ้นไปฟ้า และในบางรันที่ติดเป็นสถิติโลกนั้น ยังถึงขั้นที่ต้องทำการ Glitch ตัวเกมติดต่อกันหลายครั้ง จนทำให้เกมเกิดอาการเอ๋อ ส่งข้อมูลผิดพลาด เพื่อร่นเวลาในการจบเกมกันแบบสุดลิ่มทิ่มประตูกันเลยทีเดียว


แน่นอนว่า การหา Glicth โดยปกติมันไม่ใช่เรื่องที่ง่ายอยู่แล้ว เพราะมันเป็นข้อผิดพลาดที่ทางผู้พัฒนาเกมพยายามจะซ่อนมันเอาไว้จากผู้เล่น และยิ่งการหา Glitch ติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง ในเชิงปฏิบัติแล้วมันแทบเป็นไปไม่ได้เลย หากไม่ใช้วิธี Reverse Engineer กับตัวเกม


การ Reverse Engineer จะเป็นการไปไล่ย้อนดูโค้ดของเกม ไล่หาว่าการกระทำแต่ละอย่างภายในเกมของคนเล่นนั้น มันส่งผลอะไรกับตัวเกมบ้าง

การทำแบบนี้มันส่งข้อมูลอย่างไร และต้องทำในปริมาณมากขนาดไหน เกมถึงจะเอ๋อจนเกิดกลายเป็น Glitch ที่ผู้เล่นต้องการขึ้นมา


โดยการ Glitch Exploitation จะถูกแบ่งออกเป็น 8 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่


1. Geometry ใช้ประโยชน์จากโลกของเกม ทำการบั๊กตัวเกมให้เข้าถึงในส่วนที่ทางผู้พัฒนาไม่ได้อยากให้ผู้เล่นเข้าไป เช่น การเดินทะลุแผนที่ เหยียบอากาศ ทะลุเข้าไปในกำแพงนั่นเอง


2. Cheeseing ทำบางอย่างที่ตัวเกมไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เป็นแบบนั้น เช่น การอัดศัตรูจนติดมุมแปลก ๆ ทำให้ศัตรูไม่สามารถตอบโต้ได้ อันที่จริงมันไม่นับว่าเป็น Glicth เท่าไร แต่มันคือสิ่งที่ทางผู้พัฒนาไม่อยากให้เกิดขึ้น ดังนั้น มันจึงถูกรวมเข้ามาในหัวข้อนี้ด้วย




3. Movement Speed Bug การเคลื่อนไหวเร็วกว่าที่เกมกำหนด 

คนที่เล่นเกมแนว FPS น่าจะรู้จักการกระทำที่เรียกว่า B-Hop (Bunny Hop) ได้ดี โดยเป็นการที่ตัวละครเราจะทำการกระโดดเหมือนกับกระต่าย พร้อมพุ่งไปด้านหน้าด้วยความรวดเร็วกว่าปกติ

โดยปกติแล้ว เกม FPS ส่วนใหญ่จะทำได้แทบทุกเกม ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงถกเถียงกันว่า การกระทำแบบนี้ นับเป็นการโกงเกมด้วยหรือเปล่า? 


4. Duping การปั๊มไอเทม ปั๊มค่าเงิน ส่วนใหญ่มักจะเห็นการใช้ Glitch นี้ในเกมประเภท MMORPG


5. Lag (Disconnection Exploits) ใช้ประโยชน์จากการแลคเพื่อกระทำการบางอย่าง เช่น อาจจะไม่เสียสถิติ หากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่เสถียรแล้วแพ้ ไปจนถึงการส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้ช้าลง จึงทำให้ผู้เล่นคนอื่นเห็นในสิ่งที่ไม่ตรงกันกับตัวผู้เล่น


6. Twinking ใช้ประโยชน์จากการออกแบบเกม เพื่อทำให้ได้อุปกรณ์ที่สูงเกินกว่าความน่าจะเป็นมาสวมใส่ และการให้ตัวละครใหม่ได้รับค่าเงินภายในเกมจำนวนมหาศาลตั้งแต่ต้นเกม ก็นับอยู่ในหมวดนี้เช่นกัน

พูดง่าย ๆ ก็คือ การที่ตัวละครของผู้เล่นพัฒนาไปไวเกินกว่าที่ทางผู้พัฒนาตั้งใจเอาไว้นั่นเอง


7. Safe zone การใช้พื้นที่ปลอดภัยในการโจมตีศัตรู บางเกมจะมีพื้นที่ปลอดภัยให้ผู้เล่นด้วย ซึ่งศัตรูจะไม่สามารถโจมตีผู้เล่นได้ แต่ผู้เล่นยังสามารถโจมตีศัตรูได้ตามปกติ หากเกมไหนไม่มีพื้นที่ปลอดภัย และผู้สร้างมันขึ้นมาเองก็นับเช่นกัน โดยจะเป็นการกระทำที่อยู่กึ่งกลางระหว่างหัวข้อนี้กับ Geomatry อีกด้วย


8. Game Mechanics ใช้ประโยชน์จากการออกแบบตัวเกมในระบบการเล่น เช่น การ Cancel animation ในเกมต่อสู้ หรือพวก Moba




จะเห็นได้ว่า Glitch Exploitation บางประเภทนั้น ก็ไม่ได้ร้ายแรงมากเท่าไรนัก บางหัวข้อยังคงพบเห็นได้ทั่วไป แถมยังไม่ได้โดนแบนจากทางผู้พัฒนาอีกด้วย ทั้งนี้ในทุกหัวข้อ ต่างถูกผู้เล่นชุมชนชาว Speedrun ดึงมาใช้แทบจะทั้งหมดแล้ว เพราะการรันแบบ Any% นั้นไม่มีข้อจำกัด ตราบใดที่ผู้ทำสถิติไม่ได้ใช้การโกงเกมเข้าช่วย คุณจะใช้วิธีการไหน ก็เป็นเรื่องของคุณได้เลย


โปรแกรมโกงที่เข้ามาช่วยกำหนดความเป็นไปได้


เมื่อพูดการโปรแกรมโกงแล้ว สิ่งที่ชาว Speedrun น่าจะพอรู้จักกันมาบ้างก็คือ Tool Assisted Speedrun หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า TAS


โดยจุดประสงค์ตั้งต้นของโปรแกรมนี้ มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อกำหนดขอบเขตความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะสามารถทำสถิติได้ภายในเกมนั้น

เพราะเจ้า TAS นี้จะมีตั้งแต่ การเปิดบอต ใส่มาโคร หรืออะไรก็ตามที่ใช้โปรแกรมช่วย อันที่จริง TAS เป็นสิ่งที่ต้องห้ามในวงการ Runner แต่หากนำมาใช้โดยที่ไม่ได้อ้างว่า เป็นการทำ Speedrun ด้วยตัวเอง ก็ไม่ได้มีอะไรเสียหายนัก



การทำ Speedrun โดยใช้คน สถิติโลกอยู่ที่ 1:01 นาที



การทำ Speedrun โดยใช้ TAS มีสถิติอยู่ที่ประมาณ 40 วินาที


ซึ่ง TAS นี้ ยังยึดโยงถึงการ Random Number Generate (RNG) หรือการสุ่มในเกมอีกด้วย

เกมใด ๆ ก็ตาม ที่มีองค์ประกอบของการสุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง มักจะเป็นเรื่องยากของบรรดา Runner ที่จะหาขอบเขตไปจนถึงขีดจำกัดในการทำรันในเกมนั้น ๆ 


เพราะการสุ่มในเกมส่วนใหญ่ จะใช้หลักการที่เรียกว่า Pseudo Random มันคือการสุ่มแบบที่สามารถคาดเดาแบบแผนได้ หากมีการป้อนข้อมูลเข้าไปอย่างถูกต้องนั่นเอง 

ส่วนการสุ่มที่แท้จริงนั้น จะไม่สามารถคาดเดาได้เลย เช่น การจับคลื่นรบกวนในอากาศ แล้วแปลงเป็นตัวเลข การจับค่ารังสีของอะตอม เอามาวัด และแปลงเป็นตัวเลข 


ซึ่งเจ้าระบบ Pseudo Random ตรงนี้นี่เองที่ TAS จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยทำให้การสุ่ม มันไม่ใช่การสุ่มอีกต่อไป 

หากยกตัวอย่างให้เห็นภาพโดยทั่วกัน แถมยังเป็นเกมที่ได้รับความนิยมในวงการ Speedrun แล้ว ก็คงหนีไม่พ้น เกมที่มีการสุ่มเข้ามาเข้มข้นอย่าง Pokemon นั่นเอง


โดย Pokemon นั้นจะสุ่มตั้งแต่วินาทีที่ผู้เล่นกำลังโหลดเกมอยู่ด้วยซ้ำ ทั้งการกดปุ่ม การขยับ การเดินใด ๆ ทุกการกระทำจะมีผลต่อการสุ่มภายในเกมทั้งหมด และการกระทำของผู้เล่นนั่นแหละ ที่จะแปลงออกมาเป็นสิ่งที่ผู้เล่นพบเจอในเกมภายหลัง

ซึ่งหากเราอยากจะทำทุกอย่างให้เหมือนเดิมเป๊ะ ๆ มากแค่ไหนก็ตาม แต่ความเป็นสิ่งมีชีวิต มันต้องมีการคลาดเคลื่อนอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว


ดังนั้นชาว Speedrun จึงได้ใช้ TAS มาช่วยในการป้อนข้อมูล ตั้งโค้ดให้ทำทุกอย่างเป็นลำดับ ทุกการกระทำของ TAS จะเหมือนเดิมตั้งแต่ต้นจนจบ จึงทำให้ TAS สามารถควบคุมการสุ่มแบบ Pseudo Random ภายในวิดีโอเกมต่าง ๆ ได้นั่นเอง




แน่นอนว่า เมื่อชาว Speedrun รู้ขีดจำกัดของตัวเกมแล้ว พวกเขาก็จะไม่ต้องพยายามอย่างเปล่าประโยชน์ โดยที่ไม่สามารถไปถึงผลลัพธ์ที่สูงกว่านี้ได้ แถม TAS ยังสามารถช่วยเป็นมาตรฐานในการตรวจจับคนโกงได้อีกด้วย ยิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัวกันไปเลย




วงการ Speedrun เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มีการแข่งขันกันสูง ทุกคนแทบอยากจะไต่อันดับขึ้นบน Leaderboard กันตลอดเวลา และในเกมที่มีการแข่งขันมากันอย่างยาวนานนั้น เขาแข่งกันแบบเสี้ยววินาทีเสียด้วยซ้ำ


ซึ่งการเป็นที่หนึ่งในวงการ Speedrun อาจจะไม่ยากอย่างที่คิด แต่สิ่งที่ยากก็คือการรักษาอันดับเอาไว้มากกว่า เนื่องจากมีชาว Runner คนอื่นมาเห็นวิดีโอการเล่นของคุณ เขาก็จะสามารถนำไปทำตาม และปรับใช้ จนค้นพบวิธีการเล่นที่ร่นระยะเวลาให้สั้นลงได้ และนำมาล้มล้างสถิติเดิมที่ทำเอาไว้นั่นเอง


หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่คนที่สนใจในวงการ Speedrun ได้ไม่มากก็น้อยนะครับ


แหล่งข้อมูล: https://en.wikipedia.org/wiki/Video_game_exploit 

https://www.youtube.com/watch?v=cmD9sv9zPRc&t=621s&ab_channel=GamerInside



GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] Speedrun 101 ประวัติและประเภทของ Speedrun แถมด้วยการหา Glitch ที่หลายคนสงสัยว่า 'มันไปหาเจอกันได้ยังไงวะ?'
25/03/2022

การ Speedrun เป็นอีกหนึ่งในวิธีการเล่นเกมที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงมาก เพราะนอกจากกฎร่วมกันที่ต้องพยายามจบเกมให้ได้เวลาที่สั้นที่สุดแล้ว ในบางเกมยังมีการแบ่งหมวดหมู่แยกย่อยลงไปอีกด้วย


ซึ่ง ณ ปัจจุบัน สังคมของ Speedrun ก็กำลังแผ่ขยายกว้างออกไปขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงขั้นมาการจัดงานรวมตัวกันของ Runner (นักทำสถิติ Speedrun) อย่าง Game Done Quick ออกมาเลยทีเดียว


ทั้งนี้ หลาย ๆ คนคงสงสัยกันว่า พวกประเภทของ Speedrun มันมีอะไรกันบ้าง ทำไมเวลาเท่านี้เขียนว่า World Record ทั้ง ๆ ที่อีกคนเร็วกว่าแท้ ๆ แล้วทำไมคนนี้ไม่ยอมใช้บั๊กแบบนี้ เพื่อร่นระยะเวลากันนะ 

หากคุณสงสัยแล้วล่ะก็ บทความนี้มีคำตอบให้ครับ


จุดเริ่มต้นคือเกมเดินหน้ายิงในตำนาน


เท่าที่หาข้อมูลมาได้ จุดเริ่มต้นของชุมชนชาว Speedrun นั้น เกิดมาจากเกมเดินหน้ายิงเลือดเดือดอย่าง Doom เวอร์ชันปี 1993 นั่นเอง


ในตอนนั้น ทางผู้พัฒนาอย่าง id Software ได้ปิ๊งไอเดียบรรเจิด โดยการสร้างระบบ LMPS (Lan Multi Player Support) ซึ่งเป็นระบบที่ให้ผู้เล่นสามารถอัดเกมเพลย์ของตัวเองส่งไปถึงผู้พัฒนาได้ หากพบบั๊กภายในเกม Doom เข้า


Doom (1993), Doom II (Classic) and Doom 3 now available on Xbox One |  TheXboxHub


และภายหลัง ในปี 1994 ทาง Christina “Strunoph” Norman ได้ทำการก่อตั้งเว็บไซต์ Hall of Fame LMPS ขึ้นมา 

โดยเว็บนี้จะทำหน้าคอยรวบรวม LMPS ของผู้เล่น Doom จากทุกทั่วสารทิศเอาไว้บนเว็บไซต์ 

แน่นอนว่า ในตอนแรกจุดประสงค์มันคือการใช้เป็นชุมชนเพื่อแบ่งปันเทคนิคในการเล่นต่าง ๆ ทว่าในภายหลัง เริ่มมีผู้เล่นอัปโหลดวิดีโอโชว์ความเทพของตัวเองกันมากขึ้น เกิดเป็นการแข่งขันกันว่า ใครจะจบเกม Doom ได้เร็วที่สุด จนในตอนท้ายมันจึงเกิดเป็นชุมชนชาว Speedrun ที่แรกของโลกขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ


ทั้งนี้ ภายหลังตัวเว็บไซต์ยังได้มีการนำระบบ Leaderboard เข้ามาบนหน้าเว็บอีกด้วย ซึ่งมันคือตัวกระตุ้นจิตวิญญาณการแข่งขันชั้นดีของคนในชุมชน ทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างกว้างขวางมากขึ้นไปอีก 

แต่ช่างน่าเสียดายที่ในปัจจุบันเว็บไซต์นี้ได้ปิดตัวลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว


ประเภทหลักของการ Speedrun ที่พบในเกมส่วนใหญ่


การ Speedrun ค่อนข้างจะมีประเภท Run ที่แตกต่างกันไปตามแต่ละเกม เพียงแค่เกม ๆ เดียว รูปแบบของ Run อาจจะแยกย่อยได้เป็นสิบ ไปจนถึงหลายสิบเลยก็มี ซึ่งหากจะให้ยกทุกประเภทมาพูด มันคงจะแทบเป็นไปไม่ได้

เพราะฉะนั้นทางผู้เขียนจะขอยกมาอธิบายแค่ประเภทที่มักพบเจอในเกมส่วนใหญ่ก็แล้วกันนะครับ 


โดยหลัก ๆ แล้ว เกมส่วนใหญ่จะมีประเภท Speedrun ดังนี้


1. Any% จบเกมให้ไวที่สุด ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเคลียร์เกมแบบสมบูรณ์ และไม่ได้จำกัดวิธีการ สิ่งที่ห้ามมีเพียงแค่การใช้โปรแกรมโกง หรือการใช้โหมดที่ตัวเกมช่วยโกงมาให้เพียงเท่านั้น (โหมดที่ตัวเกมช่วยโกงเช่น Creative Mode ใน Minecraft ที่ทำให้ผู้เล่นบินขึ้นฟ้าได้ แถมยังเสกไอเทมได้)




2. 100% จบเกมโดยเก็บความก้าวหน้า (Progress) ให้ครบถ้วน หรืออาจจะแยกย่อยไปจนถึงเก็บไอเทมให้ครบทุกชิ้น (100% Collectible Items) และอาจจะต้องมีการใช้หน่วยวัดแยกย่อยกันลงไปอีกด้วย เช่น การเก็บความลับให้ครบ การเก็บ Achivement ให้ครบ เป็นต้น




3. Low% ด้านตรงข้ามของ 100% จบเกมโดยที่มีจำนวนความคืบหน้าให้น้อยที่สุด และแน่นอนว่า ต้องเร็วที่สุดให้สมกับการอยู่วงการ Speedrun




4. Glitchless เป็นการจบเกมให้เร็วที่สุด โดยห้ามใช้ Glitch หรือ Bug ในการเล่นเลยแม้แต่น้อย แตกต่างจาก Any% คนละขั้ว พูดง่าย ๆ ก็คือการเล่นเกมในแบบที่มันควรจะเป็นนั่นเอง




ที่ยกตัวอย่างไปทั้ง 4 ประเภท เป็นเพียงแค่หัวข้อหลัก ๆ ที่เรามักจะพบเจอได้ในเกมส่วนใหญ่เพียงเท่านั้น ทั้งนี้ในบางเกมเราอาจจะได้เห็นหัวข้อประเภท Speedrun ถูกแบ่งแยกย่อยออกไปอีกด้วย เช่น การทำรันแบบ No Damage ห้ามโดนดาเมจอะไรเลย หากพลาดต้องเริ่มเล่นใหม่ หรือจะเป็นรันแบบ Warpless การที่ไม่ใช้ท่อทางลับในการข้ามด่านภายในเกม Super Mario Brothers ก็มีด้วยเช่นกัน




เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ หลาย ๆ คนที่เคยดูวิดีโอ Speedrun มาบ้าง น่าจะเคยเห็นจุดการใช้ Glitch ที่ต้องเกาหัวพร้อมกับอุทานว่า ‘มันไปหาเจอมาได้ยังไงวะ?’ อยู่ครั้งสองครั้งบ้างแหละ

ซึ่งนั่นจะนำพาเราไปสู่ในหัวข้อต่อไป ที่เรียกว่า Glitch Exploitation


ย้อนกลับเพื่อหาช่องโหว่


ในบาง Speedrun หรือที่เรียกกันสั้น ๆ ว่า รัน (Run) นั้น เรามักจะได้เห็นถึงมุมการใช้ Glitch แบบแปลก ๆ เช่น การมุดเข้าไปในกำแพง การมุดพื้นดิน ไปจนถึงการส่งตัวละครลอยขึ้นไปฟ้า และในบางรันที่ติดเป็นสถิติโลกนั้น ยังถึงขั้นที่ต้องทำการ Glitch ตัวเกมติดต่อกันหลายครั้ง จนทำให้เกมเกิดอาการเอ๋อ ส่งข้อมูลผิดพลาด เพื่อร่นเวลาในการจบเกมกันแบบสุดลิ่มทิ่มประตูกันเลยทีเดียว


แน่นอนว่า การหา Glicth โดยปกติมันไม่ใช่เรื่องที่ง่ายอยู่แล้ว เพราะมันเป็นข้อผิดพลาดที่ทางผู้พัฒนาเกมพยายามจะซ่อนมันเอาไว้จากผู้เล่น และยิ่งการหา Glitch ติดต่อกันหลาย ๆ ครั้ง ในเชิงปฏิบัติแล้วมันแทบเป็นไปไม่ได้เลย หากไม่ใช้วิธี Reverse Engineer กับตัวเกม


การ Reverse Engineer จะเป็นการไปไล่ย้อนดูโค้ดของเกม ไล่หาว่าการกระทำแต่ละอย่างภายในเกมของคนเล่นนั้น มันส่งผลอะไรกับตัวเกมบ้าง

การทำแบบนี้มันส่งข้อมูลอย่างไร และต้องทำในปริมาณมากขนาดไหน เกมถึงจะเอ๋อจนเกิดกลายเป็น Glitch ที่ผู้เล่นต้องการขึ้นมา


โดยการ Glitch Exploitation จะถูกแบ่งออกเป็น 8 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่


1. Geometry ใช้ประโยชน์จากโลกของเกม ทำการบั๊กตัวเกมให้เข้าถึงในส่วนที่ทางผู้พัฒนาไม่ได้อยากให้ผู้เล่นเข้าไป เช่น การเดินทะลุแผนที่ เหยียบอากาศ ทะลุเข้าไปในกำแพงนั่นเอง


2. Cheeseing ทำบางอย่างที่ตัวเกมไม่ได้ถูกออกแบบมาให้เป็นแบบนั้น เช่น การอัดศัตรูจนติดมุมแปลก ๆ ทำให้ศัตรูไม่สามารถตอบโต้ได้ อันที่จริงมันไม่นับว่าเป็น Glicth เท่าไร แต่มันคือสิ่งที่ทางผู้พัฒนาไม่อยากให้เกิดขึ้น ดังนั้น มันจึงถูกรวมเข้ามาในหัวข้อนี้ด้วย




3. Movement Speed Bug การเคลื่อนไหวเร็วกว่าที่เกมกำหนด 

คนที่เล่นเกมแนว FPS น่าจะรู้จักการกระทำที่เรียกว่า B-Hop (Bunny Hop) ได้ดี โดยเป็นการที่ตัวละครเราจะทำการกระโดดเหมือนกับกระต่าย พร้อมพุ่งไปด้านหน้าด้วยความรวดเร็วกว่าปกติ

โดยปกติแล้ว เกม FPS ส่วนใหญ่จะทำได้แทบทุกเกม ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงถกเถียงกันว่า การกระทำแบบนี้ นับเป็นการโกงเกมด้วยหรือเปล่า? 


4. Duping การปั๊มไอเทม ปั๊มค่าเงิน ส่วนใหญ่มักจะเห็นการใช้ Glitch นี้ในเกมประเภท MMORPG


5. Lag (Disconnection Exploits) ใช้ประโยชน์จากการแลคเพื่อกระทำการบางอย่าง เช่น อาจจะไม่เสียสถิติ หากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่เสถียรแล้วแพ้ ไปจนถึงการส่งข้อมูลไปยังเซิร์ฟเวอร์ได้ช้าลง จึงทำให้ผู้เล่นคนอื่นเห็นในสิ่งที่ไม่ตรงกันกับตัวผู้เล่น


6. Twinking ใช้ประโยชน์จากการออกแบบเกม เพื่อทำให้ได้อุปกรณ์ที่สูงเกินกว่าความน่าจะเป็นมาสวมใส่ และการให้ตัวละครใหม่ได้รับค่าเงินภายในเกมจำนวนมหาศาลตั้งแต่ต้นเกม ก็นับอยู่ในหมวดนี้เช่นกัน

พูดง่าย ๆ ก็คือ การที่ตัวละครของผู้เล่นพัฒนาไปไวเกินกว่าที่ทางผู้พัฒนาตั้งใจเอาไว้นั่นเอง


7. Safe zone การใช้พื้นที่ปลอดภัยในการโจมตีศัตรู บางเกมจะมีพื้นที่ปลอดภัยให้ผู้เล่นด้วย ซึ่งศัตรูจะไม่สามารถโจมตีผู้เล่นได้ แต่ผู้เล่นยังสามารถโจมตีศัตรูได้ตามปกติ หากเกมไหนไม่มีพื้นที่ปลอดภัย และผู้สร้างมันขึ้นมาเองก็นับเช่นกัน โดยจะเป็นการกระทำที่อยู่กึ่งกลางระหว่างหัวข้อนี้กับ Geomatry อีกด้วย


8. Game Mechanics ใช้ประโยชน์จากการออกแบบตัวเกมในระบบการเล่น เช่น การ Cancel animation ในเกมต่อสู้ หรือพวก Moba




จะเห็นได้ว่า Glitch Exploitation บางประเภทนั้น ก็ไม่ได้ร้ายแรงมากเท่าไรนัก บางหัวข้อยังคงพบเห็นได้ทั่วไป แถมยังไม่ได้โดนแบนจากทางผู้พัฒนาอีกด้วย ทั้งนี้ในทุกหัวข้อ ต่างถูกผู้เล่นชุมชนชาว Speedrun ดึงมาใช้แทบจะทั้งหมดแล้ว เพราะการรันแบบ Any% นั้นไม่มีข้อจำกัด ตราบใดที่ผู้ทำสถิติไม่ได้ใช้การโกงเกมเข้าช่วย คุณจะใช้วิธีการไหน ก็เป็นเรื่องของคุณได้เลย


โปรแกรมโกงที่เข้ามาช่วยกำหนดความเป็นไปได้


เมื่อพูดการโปรแกรมโกงแล้ว สิ่งที่ชาว Speedrun น่าจะพอรู้จักกันมาบ้างก็คือ Tool Assisted Speedrun หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า TAS


โดยจุดประสงค์ตั้งต้นของโปรแกรมนี้ มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อกำหนดขอบเขตความเป็นไปได้ที่มนุษย์จะสามารถทำสถิติได้ภายในเกมนั้น

เพราะเจ้า TAS นี้จะมีตั้งแต่ การเปิดบอต ใส่มาโคร หรืออะไรก็ตามที่ใช้โปรแกรมช่วย อันที่จริง TAS เป็นสิ่งที่ต้องห้ามในวงการ Runner แต่หากนำมาใช้โดยที่ไม่ได้อ้างว่า เป็นการทำ Speedrun ด้วยตัวเอง ก็ไม่ได้มีอะไรเสียหายนัก



การทำ Speedrun โดยใช้คน สถิติโลกอยู่ที่ 1:01 นาที



การทำ Speedrun โดยใช้ TAS มีสถิติอยู่ที่ประมาณ 40 วินาที


ซึ่ง TAS นี้ ยังยึดโยงถึงการ Random Number Generate (RNG) หรือการสุ่มในเกมอีกด้วย

เกมใด ๆ ก็ตาม ที่มีองค์ประกอบของการสุ่มเข้ามาเกี่ยวข้อง มักจะเป็นเรื่องยากของบรรดา Runner ที่จะหาขอบเขตไปจนถึงขีดจำกัดในการทำรันในเกมนั้น ๆ 


เพราะการสุ่มในเกมส่วนใหญ่ จะใช้หลักการที่เรียกว่า Pseudo Random มันคือการสุ่มแบบที่สามารถคาดเดาแบบแผนได้ หากมีการป้อนข้อมูลเข้าไปอย่างถูกต้องนั่นเอง 

ส่วนการสุ่มที่แท้จริงนั้น จะไม่สามารถคาดเดาได้เลย เช่น การจับคลื่นรบกวนในอากาศ แล้วแปลงเป็นตัวเลข การจับค่ารังสีของอะตอม เอามาวัด และแปลงเป็นตัวเลข 


ซึ่งเจ้าระบบ Pseudo Random ตรงนี้นี่เองที่ TAS จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยทำให้การสุ่ม มันไม่ใช่การสุ่มอีกต่อไป 

หากยกตัวอย่างให้เห็นภาพโดยทั่วกัน แถมยังเป็นเกมที่ได้รับความนิยมในวงการ Speedrun แล้ว ก็คงหนีไม่พ้น เกมที่มีการสุ่มเข้ามาเข้มข้นอย่าง Pokemon นั่นเอง


โดย Pokemon นั้นจะสุ่มตั้งแต่วินาทีที่ผู้เล่นกำลังโหลดเกมอยู่ด้วยซ้ำ ทั้งการกดปุ่ม การขยับ การเดินใด ๆ ทุกการกระทำจะมีผลต่อการสุ่มภายในเกมทั้งหมด และการกระทำของผู้เล่นนั่นแหละ ที่จะแปลงออกมาเป็นสิ่งที่ผู้เล่นพบเจอในเกมภายหลัง

ซึ่งหากเราอยากจะทำทุกอย่างให้เหมือนเดิมเป๊ะ ๆ มากแค่ไหนก็ตาม แต่ความเป็นสิ่งมีชีวิต มันต้องมีการคลาดเคลื่อนอยู่เป็นปกติอยู่แล้ว


ดังนั้นชาว Speedrun จึงได้ใช้ TAS มาช่วยในการป้อนข้อมูล ตั้งโค้ดให้ทำทุกอย่างเป็นลำดับ ทุกการกระทำของ TAS จะเหมือนเดิมตั้งแต่ต้นจนจบ จึงทำให้ TAS สามารถควบคุมการสุ่มแบบ Pseudo Random ภายในวิดีโอเกมต่าง ๆ ได้นั่นเอง




แน่นอนว่า เมื่อชาว Speedrun รู้ขีดจำกัดของตัวเกมแล้ว พวกเขาก็จะไม่ต้องพยายามอย่างเปล่าประโยชน์ โดยที่ไม่สามารถไปถึงผลลัพธ์ที่สูงกว่านี้ได้ แถม TAS ยังสามารถช่วยเป็นมาตรฐานในการตรวจจับคนโกงได้อีกด้วย ยิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัวกันไปเลย




วงการ Speedrun เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มีการแข่งขันกันสูง ทุกคนแทบอยากจะไต่อันดับขึ้นบน Leaderboard กันตลอดเวลา และในเกมที่มีการแข่งขันมากันอย่างยาวนานนั้น เขาแข่งกันแบบเสี้ยววินาทีเสียด้วยซ้ำ


ซึ่งการเป็นที่หนึ่งในวงการ Speedrun อาจจะไม่ยากอย่างที่คิด แต่สิ่งที่ยากก็คือการรักษาอันดับเอาไว้มากกว่า เนื่องจากมีชาว Runner คนอื่นมาเห็นวิดีโอการเล่นของคุณ เขาก็จะสามารถนำไปทำตาม และปรับใช้ จนค้นพบวิธีการเล่นที่ร่นระยะเวลาให้สั้นลงได้ และนำมาล้มล้างสถิติเดิมที่ทำเอาไว้นั่นเอง


หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่คนที่สนใจในวงการ Speedrun ได้ไม่มากก็น้อยนะครับ


แหล่งข้อมูล: https://en.wikipedia.org/wiki/Video_game_exploit 

https://www.youtube.com/watch?v=cmD9sv9zPRc&t=621s&ab_channel=GamerInside



บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header