GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] ทำความรู้จักกับเกม Early Access กับแนวทางการ "เล่นไปพัฒนาไป" ของผู้พัฒนายุคใหม่
ลงวันที่ 17/06/2022

แม้ว่าปัจจุบัน โลกและเทคโนโลยีของวงการเกมจะนำพาเราเข้าสู่ความ Next-Gen และให้แฟนเกม ได้สัมผัสประสบการณ์การเล่นเกมอันยอดเยี่ยม แต่ก็ไม่ใช่ทุกคน ทุกสตูดิโอพัฒนาเกม หรือทุกค่ายเกม ที่จะมีทุนทรัพย์หนาถึงขั้นพัฒนาและวางจำหน่ายเกมได้อย่างราบรื่น ทำให้เกิดวิธีการระดมทุน หาเงินทุนในการพัฒนาเกมแบบใหม่ เพื่อหารายได้มาเป็นทุนในการพัฒนาวิดีโอเกมต่าง ๆ ตามความฝันของทีมงานและเหล่านักพัฒนาทุกคน ในยุคนี้ เวลาจะซื้อเกม หลายคนก็น่าจะเคยเห็นกันบ้าง กับคำว่า Early Access หรือภาษาไทยก็คือ เล่นระหว่างการพัฒนา มันคือระบบอะไร มีความหมายอย่างไร และมีที่มาที่ไปและการทำงานแบบไหน วันนี้เราจะพาคุณมาเจาะลึกกันกับระบบ Early Access

ทำความรู้จัก Early Access เบื้องต้น


Early Access แปลกันแบบตรงตัวก็คือ "การเข้าถึงก่อนกำหนด" แต่ถ้าเป็นในวงการเกมจะเป็นการที่เราสามารถเข้าถึงเกมนั้นได้ก่อนที่มันจะกลายเป็นเกมเต็ม หากอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นไปอีกขั้น มันคือการเสียเงินเพื่อเล่นเกมนั้น ๆ ในระหว่างที่มันกำลังพัฒนา เป็นเวอร์ชั่น Alpha หรือเวอร์ชั่น Beta ก่อนที่เกมจะพัฒนาเสร็จสมบูรณ์ และทางผู้พัฒนาหรือสตูดิโอเกมที่วางจำหน่ายเกมนี้ในรูปแบบ Early Access ก็จะนำเงินหรือรายได้ที่ได้มาพัฒนาเกมต่อไป และปล่อยอัปเดทเพื่อปรับปรุงตัวเกมเป็นระยะจนกระทั่งเกมนั้น "สมบูรณ์" นั่นเอง

ระบบ Early Access นี้ ยังมีอีกหลากหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็นการ Early Funding หรือ Alpha Founding แต่จุดประสงค์หลักของวิธีนี้ คือการเปิดให้ผู้เล่นที่ยอมเสียเงินก่อน เพื่อเข้ามาเล่นเกมนั้น ๆ จากนั้นทีมพัฒนานำเงินไปเป็นทุนพัฒนาเกมต่อไป และผู้ที่จ่ายเงินสนับสนุนการพัฒนาเกม หรือยอมซื้อเกมก่อน อาจจะได้สิทธิ์พิเศษบางอย่าง เช่น เข้าถึงคอนเทนต์พิเศษก่อนใคร หรือบางเกมก็จะใส่ชื่อของผู้สนับสนุนลงไปในเครดิตเกมเลยก็มี ขึ้นอยู่กับแนวทางของทีมพัฒนา ว่าจะตอบแทนผู้เล่นอย่างไร แต่สิ่งที่ทุกคนต้องไม่ลืมก็คือ เวอร์ชั่นเกมที่มีคนยอมเสียเงิน หรือเล่นแบบ Early Access นี้ จะเป็นเกมที่ยังทำไม่เสร็จ และมีปัญหาอยู่ในตัวแน่นอน และบางค่ายเกม จะเปิดขอเงินทุนก่อน แต่ยังไม่มีเกมให้เล่น หรือที่เรียกว่า "Kickstarter" ก็มีเช่นกัน


กล่าวสรุปคือ Early Access จะคล้ายกับระบบ Kickstarter หรือ Crowdfunding ที่เป็นการระดมเงินทุนจากผู้สนับสนุนกลุ่มใหญ่ เพื่อไปทำเกมกันต่อ อาจจะมีทั้งเกมที่พร้อมเล่นแล้วในระดับหนึ่ง หรือยังไม่มีตัวเกมให้เล่นเลยก็ย่อมได้ แต่เมื่อใช้คำว่า Early Access ส่วนใหญ่จะเป็นเกมที่พร้อมเล่นในระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่สมบูรณ์ และไม่ได้รับการขัดเกลา

ระบบนี้มีที่มาจากไหน ใครเป็นผู้ริเริ่ม ?


แม้จะไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด ว่าระบบหรือโครงการนี้ ใครกันแน่ที่เป็นผู้ริเริ่ม แต่ถ้าเอาเกมฟอร์มใหญ่ที่ทุกคนน่าจะต้องรู้จัก และเป็นเกมที่ใช้ระบบ Early Access ในการวางจำหน่ายและอัปเดตตัวเกมนี้ด้วย ก็คือเกมชื่อดังอย่าง Minecraft ที่ในตอนแรกนั้น ผู้สร้างอย่าง Markus Persson เริ่มต้นทำเกมในปี 2009 หลังเปิดตัวเกม ปรากฎว่าเกมได้รับกระแสตอบรับที่ดีมาก Markus จึงใช้วิธีขายตัวเกมในราคาประมาณ 15 ดอลลาร์ เพื่อให้คนจ่ายเงินสามารถนำตัวเกมไปเล่นต่อได้ และตัวเขาเองก็ได้เงินทุนมาพัฒนาเกมต่อด้วย และเมื่อยอดขายของเกมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในตอนนั้นเขาจึงลาออกจากงานประจำที่ทำอยู่ เพื่อมาทำเกมเต็มเวลา และเริ่มก่อตั้ง Mojang Studio ขึ้นมา พร้อมกับยื่นข้อเสนอว่า คนที่จ่ายเงินไปก่อนแล้ว จะได้รับเกมเวอร์ชันเต็มไปฟรี ๆ เมื่อพัฒนาเสร็จ โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

ด้วยวิธีนี้ Markus สามารถทำเงินได้มากกว่า 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเมื่อ Minecraft ประสบความสำเร็จจากการขายด้วยวิธีนี้ และกลายเป็นกรากฏการณ์ทั้งในและนอกวงการเกมทั่วโลก ทำให้แนวทางของ Minecraft เริ่มกลายเป็นวิธียอดนิยมในการวางจำหน่ายตัวเกม โดยเฉพาะกับเกมอินดี้ทั้งหลาย นอกจากนั้น เกมดัง ๆ อย่างโหมด Multiplayer ของ Halo 3 หรือ Crackdown เองก็เคยใช้วิธีนี้เช่นกัน

ข้อดีหลักของการใช้ระบบ Early Access คือการที่ผู้พัฒนาจะสามารถเก็บข้อมูลการทดสอบเกมจาก "ผู้เล่นจริง" ได้ โดยที่ไม่ต้องลงทุนจ้างนักทดสอบมืออาชีพ (Game Tester) มาทั้งทีมอย่างที่ค่ายใหญ่ ๆ มักจะทำกัน อีกอย่างคือการที่ผู้พัฒนาจะไม่ต้องพึ่งพาเงินทุนจากผู้จัดจำหน่ายเกมหรือ Publisher ซึ่งก็จะต้องมีการหักรายได้จากการขายเกม หรือกระทั่งอาจต้องยอมยกลิขสิทธิ์เกมให้ Publisher ไปเลยก็ได้ แต่ปริมาณเงินที่สามารถระดมจากผู้เล่นก็อาจไม่สูงเท่าเงินทุนจากผู้จัดจำหน่ายด้วยเช่นกัน ถือเป็นทางเลือกที่มีข้อดีข้อเสียคนละแบบ

Early Access ในอีกความหมายหนึ่ง


อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า Early Access มีความหมายที่ตรงตัวตามภาษาไทยคือ การเข้าถึงก่อนคนอื่น ซึ่งไม่ใช่แค่เกมอินดี้หรือเกมค่ายเล็ก ๆ เท่านั้นที่ใช้วิธีนี้ เพราะค่ายเกมค่ายใหญ๋ หรือเกมระดับ AAA เอง ก็สามารถใช้วิธีการ Early Access นี้ได้ แต่จุดประสงค์ที่ใช้งานจะแตกต่างกันไป โดยมากแล้ว หากค่ายเกมใหญ่ ๆ จะใช้วิธี Early Access นี้ จะเป็นการให้เรายอมจ่ายเงินแพงขึ้น เพื่อเข้าเล่นเกมได้ก่อนคนอื่นเป็นเวลาหลายวัน

ยกตัวอย่างเช่น Battlefield ที่นับตั้งแต่ภาค V เป็นต้นการ การยอมจ่ายเงินซื้อเกมในราคาที่แพงขึ้น หรือยอมสมัครสมาชิก EA Play Pro เพิ่ม จะให้สิทธิ์ผู้เล่นได้เข้าถึงตัวเกมก่อนคนที่จ่ายเงินซื้อเกมแบบ Standard Edition และเข้าเล่นก่อนได้ 2-4 วัน ฟังดูเหมือนไม่มีอะไรมาก แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบการได้สิทธิ์ก่อนคนอื่น หรือเป็น Content Creator ที่ต้องการข้อมูลก่อนใคร ระบบนี้ถือว่าเป็นการบังคับจ่ายในระดับหนึ่ง และไม่ใช่แค่ค่าย EA เท่านั้น เพราะเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาค่ายเกมอย่าง Sloclap ก็ใช้วิธีนี้กับ SIFU ที่ใครจ่ายเงินซื้อเกมแบบ Deluxe Edition จะได้เล่นก่อน 2 วันนั่นเอง และคาดว่าในอนาคต จะมีการใช้การตลาดแบบนี้ในเกมฟอร์มยักษ์อีกมากมายเลยทีเดียว

สิง่ที่เกมเมอร์ต้องเข้าใจ เมื่อจะซื้อเกมแบบ Early Access


เมื่อเราจะเลือกซื้อเกมสักเกมมาเล่น สิ่งที่ต้องดูก่อนเลยก็คือ มันเป็นเกม Early Access อยู่หรือเปล่า ปกติแล้ว เกมที่ยังอยู่ในขั้นตอนนี้ จะถูกระบุไว้ชัดเจนว่า ยังไม่ใช่เกมที่เสร็จสมบูรณ์ ดังนั้นผู้เล่นที่ซื้อไปเล่นจะต้องเจอกับบั๊กและปัญหาภายในเกมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมไปถึงคอนเทนต์ของตัวเกมที่ไม่สมบูรณ์ด้วย โดยจะมีการอัปเดตตามมาในภายหลัง โดยปัญหาภายในเกมก็จะมีตั้งแต่การ Optimize ไม่ดี ที่อาจจะทำให้คอมพิวเตอร์ หรือฮาร์ดแวร์บางตัว ไม่สามารถรันเกมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะผ่านสเปคขั้นต่ำ หรือขั้นแนะนำของตัวเกม หรือแม้แต่อาการเกมเด้ง เกมแครชก็มักจะเป็นสิ่งที่เจออยู่เป็นประจำในเกมประเภทนี้

นอกจากนี้ ด้วยความที่เกม Early Access ส่วนใหญ่ ๆ มักเป็นผลงานจากค่ายอินดี้ขนาดเล็ก หมายความว่าค่ายก็อาจไม่ได้มีพนักงานเอาไว้รับเรื่องร้องเรียนหรือแก้ปัญหาให้ผู้เล่นได้ตลอดเวลา โดยในบางกรณีผู้พัฒนาอาจง่วนกับการแก้ปัญหาตามข้อเรียกร้องของผู้เล่นมากจนไม่มีเวลาพัฒนาเกมให้เสร็จ หรือในทางกลับกันก็อาจจะเลือกมุ่งพัฒนาเกมให้เสร็จ ปล่อยให้ผู้เล่นรอไปก่อน แล้วค่อยย้อนมาเก็บปัญหาในภายหลัง ซึ่งก็เคยมีให้เห็นกันมาแล้วทั้งสองกรณี

ดังนั้นผู้เล่นหากคิดจะซื้อเกมที่ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็น Early Access ก็ต้องระวังให้ดี หากคุณเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบเล่นเกมที่ยังไม่สมบูรณ์พร้อม และเสี่ยงที่จะต้องเจอปัญหาตลอดเวลา เกมแนวนี้ก็ไม่เหมาะสมกับคุณสักเท่าไร แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบ Early Access ก็ถือว่าเป็นระบบที่ช่วยต่อลมหายใจให้กับเหล่าเกมอินดี้ และทีมพัฒนาเกมขนาดเล็กได้อย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่น Raft, My Time at Sandrock หรือเกมอินดี้อื่น ๆ ที่ใช้ระบบนี้ และเดินหน้าพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์ จนกลายเป็นที่รักใคร่ของผู้เล่นในที่สุด


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] ทำความรู้จักกับเกม Early Access กับแนวทางการ "เล่นไปพัฒนาไป" ของผู้พัฒนายุคใหม่
17/06/2022

แม้ว่าปัจจุบัน โลกและเทคโนโลยีของวงการเกมจะนำพาเราเข้าสู่ความ Next-Gen และให้แฟนเกม ได้สัมผัสประสบการณ์การเล่นเกมอันยอดเยี่ยม แต่ก็ไม่ใช่ทุกคน ทุกสตูดิโอพัฒนาเกม หรือทุกค่ายเกม ที่จะมีทุนทรัพย์หนาถึงขั้นพัฒนาและวางจำหน่ายเกมได้อย่างราบรื่น ทำให้เกิดวิธีการระดมทุน หาเงินทุนในการพัฒนาเกมแบบใหม่ เพื่อหารายได้มาเป็นทุนในการพัฒนาวิดีโอเกมต่าง ๆ ตามความฝันของทีมงานและเหล่านักพัฒนาทุกคน ในยุคนี้ เวลาจะซื้อเกม หลายคนก็น่าจะเคยเห็นกันบ้าง กับคำว่า Early Access หรือภาษาไทยก็คือ เล่นระหว่างการพัฒนา มันคือระบบอะไร มีความหมายอย่างไร และมีที่มาที่ไปและการทำงานแบบไหน วันนี้เราจะพาคุณมาเจาะลึกกันกับระบบ Early Access

ทำความรู้จัก Early Access เบื้องต้น


Early Access แปลกันแบบตรงตัวก็คือ "การเข้าถึงก่อนกำหนด" แต่ถ้าเป็นในวงการเกมจะเป็นการที่เราสามารถเข้าถึงเกมนั้นได้ก่อนที่มันจะกลายเป็นเกมเต็ม หากอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นไปอีกขั้น มันคือการเสียเงินเพื่อเล่นเกมนั้น ๆ ในระหว่างที่มันกำลังพัฒนา เป็นเวอร์ชั่น Alpha หรือเวอร์ชั่น Beta ก่อนที่เกมจะพัฒนาเสร็จสมบูรณ์ และทางผู้พัฒนาหรือสตูดิโอเกมที่วางจำหน่ายเกมนี้ในรูปแบบ Early Access ก็จะนำเงินหรือรายได้ที่ได้มาพัฒนาเกมต่อไป และปล่อยอัปเดทเพื่อปรับปรุงตัวเกมเป็นระยะจนกระทั่งเกมนั้น "สมบูรณ์" นั่นเอง

ระบบ Early Access นี้ ยังมีอีกหลากหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็นการ Early Funding หรือ Alpha Founding แต่จุดประสงค์หลักของวิธีนี้ คือการเปิดให้ผู้เล่นที่ยอมเสียเงินก่อน เพื่อเข้ามาเล่นเกมนั้น ๆ จากนั้นทีมพัฒนานำเงินไปเป็นทุนพัฒนาเกมต่อไป และผู้ที่จ่ายเงินสนับสนุนการพัฒนาเกม หรือยอมซื้อเกมก่อน อาจจะได้สิทธิ์พิเศษบางอย่าง เช่น เข้าถึงคอนเทนต์พิเศษก่อนใคร หรือบางเกมก็จะใส่ชื่อของผู้สนับสนุนลงไปในเครดิตเกมเลยก็มี ขึ้นอยู่กับแนวทางของทีมพัฒนา ว่าจะตอบแทนผู้เล่นอย่างไร แต่สิ่งที่ทุกคนต้องไม่ลืมก็คือ เวอร์ชั่นเกมที่มีคนยอมเสียเงิน หรือเล่นแบบ Early Access นี้ จะเป็นเกมที่ยังทำไม่เสร็จ และมีปัญหาอยู่ในตัวแน่นอน และบางค่ายเกม จะเปิดขอเงินทุนก่อน แต่ยังไม่มีเกมให้เล่น หรือที่เรียกว่า "Kickstarter" ก็มีเช่นกัน


กล่าวสรุปคือ Early Access จะคล้ายกับระบบ Kickstarter หรือ Crowdfunding ที่เป็นการระดมเงินทุนจากผู้สนับสนุนกลุ่มใหญ่ เพื่อไปทำเกมกันต่อ อาจจะมีทั้งเกมที่พร้อมเล่นแล้วในระดับหนึ่ง หรือยังไม่มีตัวเกมให้เล่นเลยก็ย่อมได้ แต่เมื่อใช้คำว่า Early Access ส่วนใหญ่จะเป็นเกมที่พร้อมเล่นในระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่สมบูรณ์ และไม่ได้รับการขัดเกลา

ระบบนี้มีที่มาจากไหน ใครเป็นผู้ริเริ่ม ?


แม้จะไม่มีข้อมูลที่แน่ชัด ว่าระบบหรือโครงการนี้ ใครกันแน่ที่เป็นผู้ริเริ่ม แต่ถ้าเอาเกมฟอร์มใหญ่ที่ทุกคนน่าจะต้องรู้จัก และเป็นเกมที่ใช้ระบบ Early Access ในการวางจำหน่ายและอัปเดตตัวเกมนี้ด้วย ก็คือเกมชื่อดังอย่าง Minecraft ที่ในตอนแรกนั้น ผู้สร้างอย่าง Markus Persson เริ่มต้นทำเกมในปี 2009 หลังเปิดตัวเกม ปรากฎว่าเกมได้รับกระแสตอบรับที่ดีมาก Markus จึงใช้วิธีขายตัวเกมในราคาประมาณ 15 ดอลลาร์ เพื่อให้คนจ่ายเงินสามารถนำตัวเกมไปเล่นต่อได้ และตัวเขาเองก็ได้เงินทุนมาพัฒนาเกมต่อด้วย และเมื่อยอดขายของเกมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในตอนนั้นเขาจึงลาออกจากงานประจำที่ทำอยู่ เพื่อมาทำเกมเต็มเวลา และเริ่มก่อตั้ง Mojang Studio ขึ้นมา พร้อมกับยื่นข้อเสนอว่า คนที่จ่ายเงินไปก่อนแล้ว จะได้รับเกมเวอร์ชันเต็มไปฟรี ๆ เมื่อพัฒนาเสร็จ โดยไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม

ด้วยวิธีนี้ Markus สามารถทำเงินได้มากกว่า 33 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเมื่อ Minecraft ประสบความสำเร็จจากการขายด้วยวิธีนี้ และกลายเป็นกรากฏการณ์ทั้งในและนอกวงการเกมทั่วโลก ทำให้แนวทางของ Minecraft เริ่มกลายเป็นวิธียอดนิยมในการวางจำหน่ายตัวเกม โดยเฉพาะกับเกมอินดี้ทั้งหลาย นอกจากนั้น เกมดัง ๆ อย่างโหมด Multiplayer ของ Halo 3 หรือ Crackdown เองก็เคยใช้วิธีนี้เช่นกัน

ข้อดีหลักของการใช้ระบบ Early Access คือการที่ผู้พัฒนาจะสามารถเก็บข้อมูลการทดสอบเกมจาก "ผู้เล่นจริง" ได้ โดยที่ไม่ต้องลงทุนจ้างนักทดสอบมืออาชีพ (Game Tester) มาทั้งทีมอย่างที่ค่ายใหญ่ ๆ มักจะทำกัน อีกอย่างคือการที่ผู้พัฒนาจะไม่ต้องพึ่งพาเงินทุนจากผู้จัดจำหน่ายเกมหรือ Publisher ซึ่งก็จะต้องมีการหักรายได้จากการขายเกม หรือกระทั่งอาจต้องยอมยกลิขสิทธิ์เกมให้ Publisher ไปเลยก็ได้ แต่ปริมาณเงินที่สามารถระดมจากผู้เล่นก็อาจไม่สูงเท่าเงินทุนจากผู้จัดจำหน่ายด้วยเช่นกัน ถือเป็นทางเลือกที่มีข้อดีข้อเสียคนละแบบ

Early Access ในอีกความหมายหนึ่ง


อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า Early Access มีความหมายที่ตรงตัวตามภาษาไทยคือ การเข้าถึงก่อนคนอื่น ซึ่งไม่ใช่แค่เกมอินดี้หรือเกมค่ายเล็ก ๆ เท่านั้นที่ใช้วิธีนี้ เพราะค่ายเกมค่ายใหญ๋ หรือเกมระดับ AAA เอง ก็สามารถใช้วิธีการ Early Access นี้ได้ แต่จุดประสงค์ที่ใช้งานจะแตกต่างกันไป โดยมากแล้ว หากค่ายเกมใหญ่ ๆ จะใช้วิธี Early Access นี้ จะเป็นการให้เรายอมจ่ายเงินแพงขึ้น เพื่อเข้าเล่นเกมได้ก่อนคนอื่นเป็นเวลาหลายวัน

ยกตัวอย่างเช่น Battlefield ที่นับตั้งแต่ภาค V เป็นต้นการ การยอมจ่ายเงินซื้อเกมในราคาที่แพงขึ้น หรือยอมสมัครสมาชิก EA Play Pro เพิ่ม จะให้สิทธิ์ผู้เล่นได้เข้าถึงตัวเกมก่อนคนที่จ่ายเงินซื้อเกมแบบ Standard Edition และเข้าเล่นก่อนได้ 2-4 วัน ฟังดูเหมือนไม่มีอะไรมาก แต่ถ้าคุณเป็นคนที่ชอบการได้สิทธิ์ก่อนคนอื่น หรือเป็น Content Creator ที่ต้องการข้อมูลก่อนใคร ระบบนี้ถือว่าเป็นการบังคับจ่ายในระดับหนึ่ง และไม่ใช่แค่ค่าย EA เท่านั้น เพราะเมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมาค่ายเกมอย่าง Sloclap ก็ใช้วิธีนี้กับ SIFU ที่ใครจ่ายเงินซื้อเกมแบบ Deluxe Edition จะได้เล่นก่อน 2 วันนั่นเอง และคาดว่าในอนาคต จะมีการใช้การตลาดแบบนี้ในเกมฟอร์มยักษ์อีกมากมายเลยทีเดียว

สิง่ที่เกมเมอร์ต้องเข้าใจ เมื่อจะซื้อเกมแบบ Early Access


เมื่อเราจะเลือกซื้อเกมสักเกมมาเล่น สิ่งที่ต้องดูก่อนเลยก็คือ มันเป็นเกม Early Access อยู่หรือเปล่า ปกติแล้ว เกมที่ยังอยู่ในขั้นตอนนี้ จะถูกระบุไว้ชัดเจนว่า ยังไม่ใช่เกมที่เสร็จสมบูรณ์ ดังนั้นผู้เล่นที่ซื้อไปเล่นจะต้องเจอกับบั๊กและปัญหาภายในเกมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมไปถึงคอนเทนต์ของตัวเกมที่ไม่สมบูรณ์ด้วย โดยจะมีการอัปเดตตามมาในภายหลัง โดยปัญหาภายในเกมก็จะมีตั้งแต่การ Optimize ไม่ดี ที่อาจจะทำให้คอมพิวเตอร์ หรือฮาร์ดแวร์บางตัว ไม่สามารถรันเกมได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้จะผ่านสเปคขั้นต่ำ หรือขั้นแนะนำของตัวเกม หรือแม้แต่อาการเกมเด้ง เกมแครชก็มักจะเป็นสิ่งที่เจออยู่เป็นประจำในเกมประเภทนี้

นอกจากนี้ ด้วยความที่เกม Early Access ส่วนใหญ่ ๆ มักเป็นผลงานจากค่ายอินดี้ขนาดเล็ก หมายความว่าค่ายก็อาจไม่ได้มีพนักงานเอาไว้รับเรื่องร้องเรียนหรือแก้ปัญหาให้ผู้เล่นได้ตลอดเวลา โดยในบางกรณีผู้พัฒนาอาจง่วนกับการแก้ปัญหาตามข้อเรียกร้องของผู้เล่นมากจนไม่มีเวลาพัฒนาเกมให้เสร็จ หรือในทางกลับกันก็อาจจะเลือกมุ่งพัฒนาเกมให้เสร็จ ปล่อยให้ผู้เล่นรอไปก่อน แล้วค่อยย้อนมาเก็บปัญหาในภายหลัง ซึ่งก็เคยมีให้เห็นกันมาแล้วทั้งสองกรณี

ดังนั้นผู้เล่นหากคิดจะซื้อเกมที่ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็น Early Access ก็ต้องระวังให้ดี หากคุณเป็นคนที่ไม่ค่อยชอบเล่นเกมที่ยังไม่สมบูรณ์พร้อม และเสี่ยงที่จะต้องเจอปัญหาตลอดเวลา เกมแนวนี้ก็ไม่เหมาะสมกับคุณสักเท่าไร แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบ Early Access ก็ถือว่าเป็นระบบที่ช่วยต่อลมหายใจให้กับเหล่าเกมอินดี้ และทีมพัฒนาเกมขนาดเล็กได้อย่างมากมาย ยกตัวอย่างเช่น Raft, My Time at Sandrock หรือเกมอินดี้อื่น ๆ ที่ใช้ระบบนี้ และเดินหน้าพัฒนาจนเสร็จสมบูรณ์ จนกลายเป็นที่รักใคร่ของผู้เล่นในที่สุด


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header