GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
The Pathless Review: สู่โลกกว้างเพื่อค้นหา ‘ทาง’ แห่งชีวิต
ลงวันที่ 11/01/2021

หมายเหตุ : บทความรีวิวนี้ เขียนขึ้นจากการเล่นบนระบบ Playstation 4 เป็นเวลา 12 ชั่วโมง เก็บรายละเอียดพอประมาณแต่ไม่ทั้งหมด

หมายเหตุ 2 : The Pathless วางจำหน่ายทั้งในระบบ PC บน Epic Games Store, macOS, iOS, Apple Arcade, Playstation 4 และ Playstation 5

อันที่จริง มันอาจจะไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจมากนัก ถ้าหากเราจะพบว่าในบรรดาเกมยุคสมัยปัจจุบัน มันจะทำให้เรารู้สึก ‘สะกิดใจ’ ขึ้นมา ว่ามีความคล้ายคลึงกันโดยบังเอิญ นั่นเพราะในผลงานที่มีอยู่มากมายในท้องตลาด มันไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าหากไอเดียจะถูกหยิบมาปรับ ประยุกต์ และเสริมแต่งให้เกิดเป็นชิ้นงานใหม่



แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกเกมที่สามารถทำได้ แต่ก็มีอยู่มากมายที่อยู่ในระดับที่ประสบความสำเร็จ ดังเช่นที่ The Pathless ผลงานชิ้นที่สองของ Giant Squid ทีมพัฒนาสายเลือดอินดี้จาก Santa Monica ผู้เคยฝากผลงานที่น่าประทับใจอย่าง Abzu ที่มาในครั้งนี้ แม้จะมีความขลุกขลักและส่วนที่ยังไม่ลงตัวไปบ้าง แต่ก็นับได้ว่าเป็น ‘ย่างก้าว’ ที่สำคัญอย่างมากสำหรับพวกเขา และบ่งบอกถึงฝีมือในการพัฒนาเกมที่ไม่ธรรมดาที่ทำให้นักเล่นเกมต้องจับตามอง และควรหาเกมนี้มาลองดูสักครั้ง

โลกกว้างที่ถูกย้อมด้วยความมืด


The Pathless เปิดเกมมาอย่างไม่ต้องมากพิธีรีตองอะไรนัก คุณในฐานะผู้เล่นรับบทเป็น ‘นักล่าหญิง (Huntress)’ ผู้มีภารกิจสำคัญในการนำแสงสว่างกลับมาสู่ดินแดนที่ถูกปกคลุมด้วยความมืด โดยมี ‘เหยี่ยว’ ปริศนาเป็นเพื่อนคู่ใจที่จะร่วมเดินทางไปในเส้นทางแห่งการผจญภัยครั้งนี้



แน่นอนว่าตัวเกมโดยภาพกว้างนั้น งดงามด้วยกราฟิกแบบ Cel-Shade และเป็น Open World ที่ติดความเป็น Minimal ไว้อย่างถึงที่สุด ไม่มีแผนที่ Mini-Map หรือจุด Checkpoint ไม่มีแม้กระทั่งระบบ Fast Travel และโลกของเกมนั้นก็ ‘กว้าง’ เอามากๆ การเดินด้วยเท้าเปล่าปกติจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งสามารถกินเวลาได้หลายนาทีจนน่าเหนื่อยใจ



แต่นั่นก็เป็นจุดที่ทีม Giant Squid ได้ใส่ระบบการ ‘Dashing’ เข้ามา มันคือระบบที่เราทำการวิ่ง และจะ ‘เล็ง’ เครื่องรางหรือเป้าหมายบางจุดเอาไว้โดยอัตโนมัติ หน้าที่ของเราคือการกดยิงให้ตรงจังหวะ เพื่อสร้าง Momentum ของการเคลื่อนไหวให้ต่อเนื่อง ที่จะรวดเร็วขึ้นอีกหลายๆ เท่า มันเป็นระบบที่ค่อนข้างเข้าใจคิด และประยุกต์ออกมาอย่างได้ผล การ Dash จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง ให้ความรู้สึกราวกับวิ่งฝ่าสายลม และสร้างภูมิทัศน์ที่แปลกตาออกไปจากเดิม และแน่นอน นี่เป็นระบบหลักที่ผู้เล่นจะใช้ในการเคลื่อนที่ไปเกือบจะเรียกได้ว่าแทบจะทั้งเกม มันอาจจะดูเข้าใจได้ยากในช่วงเริ่มต้น แต่เมื่อใช้จนอยู่มือแล้ว มันก็เป็นสิ่งที่เล่นได้สนุกและเพลินตาอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

คืนแสงสู่แผ่นดิน


แต่การเดินทางในแผ่นดินอันกว้างใหญ่เหล่านี้ หน้าที่ของผู้เล่นในฐานะนักล่าหญิงคือการ ‘คืนแสงสว่าง’ และกำจัดความมืดที่กลืนกินพื้นที่ นั่นคือการเดินทางไป ‘จุดไฟประภาคาร’ ทั้งหมดสามจุด ก่อนที่จะตรงดิ่งไปที่ Boss ประจำโซนนั้นๆ และเข้าสู่ Sequence ของการต่อสู้ ซึ่งแน่นอนว่า การจุดไฟประภาคาร มันตามมาด้วยลูกเล่นของการแก้ปริศนาและ Puzzle อย่างง่ายๆ เช่นการยิงลูกธนูเข้าเครื่องรางให้ถูกลำดับ หรือการใช้นกเหยี่ยวเพื่อเอื้อมไปถ่วงน้ำหนัก ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากหรือซับซ้อน ราวกับว่าผู้พัฒนาต้องการให้ส่วนนี้สร้างความปวดหัวให้น้อยที่สุด และไม่ทำลาย Flow ของการเล่นโดยภาพรวม



แต่ในโลกกว้างแห่งนี้ คุณสามารถที่จะเถลไถลออกนอกเส้นทางได้ และตัวเกมก็เชื้อเชิญให้คุณทำเช่นนั้น ไม่ว่าจะด้วยระบบ Eagle Vision ที่เปลี่ยนมุมมองส่องให้เห็นจุดที่น่าสนใจ, Puzzle นอกเส้นทางที่จะตอบแทนเป็นค่าประสบการณ์หรือความสามารถใหม่ของเหยี่ยวคู่หู หรือไม่ก็เป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่จะเปิดเผยเรื่องราวความเป็นมาของดินแดนแห่งนี้ ที่จะขยายความเข้าใจ และประติดประต่อเรื่องราวให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่บังคับว่าจำเป็นต้องทำ ผู้เล่นสามารถจบเกมได้ด้วยการทำภารกิจหลักและตรงดิ่งไปสู้กับ Boss แต่ความน่าสนใจของสิ่งที่ผู้พัฒนาใส่เข้าไป ก็บ่งบอกถึงความใส่ใจ เป็นสมดุลที่เหมาะสมระหว่างการเล่นตามเส้นทางหลักและการสำรวจปลีกย่อย พวกเขาไม่จูงมือลากไป แต่ก็ไม่ปล่อยให้ผู้เล่นลอยคว้างอย่างไร้จุดหมาย เรียกได้ว่าเส้นทางหลักนั้นมีอยู่แล้ว แต่ ‘ทางปลีกย่อย’ นั้นต่างหาก ที่คุณในฐานะผู้เล่นจะเป็นคนเลือก ว่าจะเดินออกไปดูหรือไม่


สิ่งกั้นขวางในหนทางสู่แสงสว่าง


อย่างไรก็ดี ถ้าจะให้สรุปสิ่งที่ The Pathless เป็นนั้น มันก็อาจจะจบได้ในสองคำนั่นคือ … ‘Boss Rush’ นี่คือเกมในสไตล์แบบ Shadow of the Colossus, The Last Guardian, Furi หรือแม้กระทั่ง Prince of Persia เวอร์ชันปี 2008 นั่นเพราะมันไม่มีการต่อสู้ระหว่างทาง ไม่มีศัตรูเป็นสิ่งกีดขวาง หน้าที่ของผู้เล่นคือแก้ปริศนา สู้กับบอส วนไปจนถึงปลายทาง สำหรับคนที่เป็นสายเล่นจบเร็วและโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเกมไม่ได้บังคับให้คุณออกนอกเส้นทาง นั่นทำให้เกมสามารถจบได้ในเวลาเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมง และคุณค่าในการกลับมาเล่นซ้ำนั้นก็ลืมไปได้เลย นอกไปเสียจากคุณอยากจะเก็บความลับบางอย่างหรือเป็นสาย Completionist ที่ส่งผลกับฉากจบเพียงเล็กน้อย ไม่ได้เป็นอะไรที่สลักสำคัญมากนัก



Sequences การต่อสู้กับบอสเองก็เป็นจุดที่มีปัญหา เพราะมันจะเปลี่ยนรูปแบบการเล่นไปชั่วขณะ เพราะในจังหวะที่คุณก้าวเข้าสู่อาณาเขตของบอสนั้นๆ คุณจะสูญเสียการควบคุมเหยี่ยวไป และตัวเกมจะกลายเป็นสาย Stealth ที่คุณต้องหาทางหลบหลีกและเอาเหยี่ยวกลับมา เพื่อเริ่มการต่อสู้ ที่จะเป็นการยิงเข้าจุดตายที่เห็นได้อย่างชัดเจนพร้อมหลบหลีกสิ่งกีดขวางหรือการโจมตีของบอสนั้นๆ



อนึ่ง การต่อสู้กับบอส ‘สุดท้าย’ ดูจะน่าสนใจที่สุด เพราะมีลูกเล่นและการวาง Sequences ที่โดดเด่นกว่าทุกตัว และเป็นจุด Climax ที่สำคัญที่สุดที่ทีมสร้างวางโครงเรื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่นอกเหนือจากนั้น มันแทบไม่มีอะไรต่าง และเมื่อเจอมันเข้าเป็นครั้งที่สาม สี่ และห้า ความน่าสนใจจะกลายเป็นความน่าเบื่อขึ้นมาในทันที และที่สำคัญ มันทำลาย Flow อันพลิ้วไหวที่เป็นหัวใจหลักของตัวเกมแบบหักดิบหมุนกลับจากหน้ามือเป็นหลังมือ ต้องปรับอารมณ์กันพอสมควรกว่าจะเคยชิน (และชินชา…) กับมันได้



และสุดท้าย การแก้ปริศนาในจุดต่างๆ ของตัวเกม แม้จะไม่ได้ยากจนถึงขั้นต้องทึ้งผมออกจากหัว แต่หลายครั้งมุมกล้องและการควบคุมเหยี่ยว ก็กลายเป็นอุปสรรคสำคัญ ติดในจุดนั้นบ้าง จุดนี้บ้าง มุมกล้องบังทำให้ไม่สามารถยิงธนูเข้าจุดได้บ้าง เป็นความน่ารำคาญเล็กๆ น้อยๆ ในเชิงเทคนิคที่อาจจะทำให้เสียอารมณ์ได้นิดหน่อย แต่ไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญอะไรนัก


ทางชีวิต ลิขิตเอง


โดยสรุป แม้ตัวเกมจะมีร่องรอยของการ ‘หยิบยืม’ รูปแบบจากเกมรุ่นพี่ที่ออกมาก่อนหน้านั้น และติดกลิ่นของมันจนเป็นที่สังเกตได้ (เอาแค่เปิดเกมมา สิ่งแรกที่ผู้เขียนนึกถึงก็คือเกม Zelda และเล่นไปเล่นมา ก็ระลึกถึง Shadow of the Colossus...)

แต่สิ่งที่ The Pathless ทำได้สำเร็จอย่างงดงามนั่นคือ พวกเขาไม่ใช่การหยิบมายัดอย่างขอไปที หากแต่เป็นการ ‘Inspired’ หรือเอาแรงบันดาลใจ มาสร้างหนทางใหม่ให้กับตัวเองได้อย่างชาญฉลาด และเกมนี้ คือผลสำเร็จที่ว่านั้น มันเล่นได้สนุก มันงดงาม มันลื่นไหล และมันตั้งคำถามที่น่าสนใจ ว่าท้ายที่สุดแล้ว หนทางสู่ความจริงแท้และยั่งยืน มันสมควรจะต้องเดินตามทางที่แผ้วถางเอาไว้ หรือ ‘สร้าง’ หนทางใหม่ด้วยตนเอง
“และทีม Giant Squid ก็ให้คำตอบที่ชัดเจน ว่ามันไม่ผิด ถ้าจะเดินตามทางมา แต่ถึงที่สุดแล้ว มันก็ต้องเป็นพวกเขา ที่ต้องมุ่งหน้าต่อไป ในโลกกว้างแห่งวงการเกม ที่พวกเขาประสบความสำเร็จในก้าวแรกของการสร้างทางของตนเองจากเกมนี้แล้วจริงๆ…”



[penci_review id="76343"]

7
ข้อดี
ข้อเสีย
8
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
The Pathless Review: สู่โลกกว้างเพื่อค้นหา ‘ทาง’ แห่งชีวิต
11/01/2021

หมายเหตุ : บทความรีวิวนี้ เขียนขึ้นจากการเล่นบนระบบ Playstation 4 เป็นเวลา 12 ชั่วโมง เก็บรายละเอียดพอประมาณแต่ไม่ทั้งหมด

หมายเหตุ 2 : The Pathless วางจำหน่ายทั้งในระบบ PC บน Epic Games Store, macOS, iOS, Apple Arcade, Playstation 4 และ Playstation 5

อันที่จริง มันอาจจะไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจมากนัก ถ้าหากเราจะพบว่าในบรรดาเกมยุคสมัยปัจจุบัน มันจะทำให้เรารู้สึก ‘สะกิดใจ’ ขึ้นมา ว่ามีความคล้ายคลึงกันโดยบังเอิญ นั่นเพราะในผลงานที่มีอยู่มากมายในท้องตลาด มันไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าหากไอเดียจะถูกหยิบมาปรับ ประยุกต์ และเสริมแต่งให้เกิดเป็นชิ้นงานใหม่



แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกเกมที่สามารถทำได้ แต่ก็มีอยู่มากมายที่อยู่ในระดับที่ประสบความสำเร็จ ดังเช่นที่ The Pathless ผลงานชิ้นที่สองของ Giant Squid ทีมพัฒนาสายเลือดอินดี้จาก Santa Monica ผู้เคยฝากผลงานที่น่าประทับใจอย่าง Abzu ที่มาในครั้งนี้ แม้จะมีความขลุกขลักและส่วนที่ยังไม่ลงตัวไปบ้าง แต่ก็นับได้ว่าเป็น ‘ย่างก้าว’ ที่สำคัญอย่างมากสำหรับพวกเขา และบ่งบอกถึงฝีมือในการพัฒนาเกมที่ไม่ธรรมดาที่ทำให้นักเล่นเกมต้องจับตามอง และควรหาเกมนี้มาลองดูสักครั้ง

โลกกว้างที่ถูกย้อมด้วยความมืด


The Pathless เปิดเกมมาอย่างไม่ต้องมากพิธีรีตองอะไรนัก คุณในฐานะผู้เล่นรับบทเป็น ‘นักล่าหญิง (Huntress)’ ผู้มีภารกิจสำคัญในการนำแสงสว่างกลับมาสู่ดินแดนที่ถูกปกคลุมด้วยความมืด โดยมี ‘เหยี่ยว’ ปริศนาเป็นเพื่อนคู่ใจที่จะร่วมเดินทางไปในเส้นทางแห่งการผจญภัยครั้งนี้



แน่นอนว่าตัวเกมโดยภาพกว้างนั้น งดงามด้วยกราฟิกแบบ Cel-Shade และเป็น Open World ที่ติดความเป็น Minimal ไว้อย่างถึงที่สุด ไม่มีแผนที่ Mini-Map หรือจุด Checkpoint ไม่มีแม้กระทั่งระบบ Fast Travel และโลกของเกมนั้นก็ ‘กว้าง’ เอามากๆ การเดินด้วยเท้าเปล่าปกติจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งสามารถกินเวลาได้หลายนาทีจนน่าเหนื่อยใจ



แต่นั่นก็เป็นจุดที่ทีม Giant Squid ได้ใส่ระบบการ ‘Dashing’ เข้ามา มันคือระบบที่เราทำการวิ่ง และจะ ‘เล็ง’ เครื่องรางหรือเป้าหมายบางจุดเอาไว้โดยอัตโนมัติ หน้าที่ของเราคือการกดยิงให้ตรงจังหวะ เพื่อสร้าง Momentum ของการเคลื่อนไหวให้ต่อเนื่อง ที่จะรวดเร็วขึ้นอีกหลายๆ เท่า มันเป็นระบบที่ค่อนข้างเข้าใจคิด และประยุกต์ออกมาอย่างได้ผล การ Dash จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง ให้ความรู้สึกราวกับวิ่งฝ่าสายลม และสร้างภูมิทัศน์ที่แปลกตาออกไปจากเดิม และแน่นอน นี่เป็นระบบหลักที่ผู้เล่นจะใช้ในการเคลื่อนที่ไปเกือบจะเรียกได้ว่าแทบจะทั้งเกม มันอาจจะดูเข้าใจได้ยากในช่วงเริ่มต้น แต่เมื่อใช้จนอยู่มือแล้ว มันก็เป็นสิ่งที่เล่นได้สนุกและเพลินตาอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว

คืนแสงสู่แผ่นดิน


แต่การเดินทางในแผ่นดินอันกว้างใหญ่เหล่านี้ หน้าที่ของผู้เล่นในฐานะนักล่าหญิงคือการ ‘คืนแสงสว่าง’ และกำจัดความมืดที่กลืนกินพื้นที่ นั่นคือการเดินทางไป ‘จุดไฟประภาคาร’ ทั้งหมดสามจุด ก่อนที่จะตรงดิ่งไปที่ Boss ประจำโซนนั้นๆ และเข้าสู่ Sequence ของการต่อสู้ ซึ่งแน่นอนว่า การจุดไฟประภาคาร มันตามมาด้วยลูกเล่นของการแก้ปริศนาและ Puzzle อย่างง่ายๆ เช่นการยิงลูกธนูเข้าเครื่องรางให้ถูกลำดับ หรือการใช้นกเหยี่ยวเพื่อเอื้อมไปถ่วงน้ำหนัก ไม่มีอะไรที่ยุ่งยากหรือซับซ้อน ราวกับว่าผู้พัฒนาต้องการให้ส่วนนี้สร้างความปวดหัวให้น้อยที่สุด และไม่ทำลาย Flow ของการเล่นโดยภาพรวม



แต่ในโลกกว้างแห่งนี้ คุณสามารถที่จะเถลไถลออกนอกเส้นทางได้ และตัวเกมก็เชื้อเชิญให้คุณทำเช่นนั้น ไม่ว่าจะด้วยระบบ Eagle Vision ที่เปลี่ยนมุมมองส่องให้เห็นจุดที่น่าสนใจ, Puzzle นอกเส้นทางที่จะตอบแทนเป็นค่าประสบการณ์หรือความสามารถใหม่ของเหยี่ยวคู่หู หรือไม่ก็เป็นรายละเอียดปลีกย่อยที่จะเปิดเผยเรื่องราวความเป็นมาของดินแดนแห่งนี้ ที่จะขยายความเข้าใจ และประติดประต่อเรื่องราวให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น แน่นอนว่านี่ไม่ใช่สิ่งที่บังคับว่าจำเป็นต้องทำ ผู้เล่นสามารถจบเกมได้ด้วยการทำภารกิจหลักและตรงดิ่งไปสู้กับ Boss แต่ความน่าสนใจของสิ่งที่ผู้พัฒนาใส่เข้าไป ก็บ่งบอกถึงความใส่ใจ เป็นสมดุลที่เหมาะสมระหว่างการเล่นตามเส้นทางหลักและการสำรวจปลีกย่อย พวกเขาไม่จูงมือลากไป แต่ก็ไม่ปล่อยให้ผู้เล่นลอยคว้างอย่างไร้จุดหมาย เรียกได้ว่าเส้นทางหลักนั้นมีอยู่แล้ว แต่ ‘ทางปลีกย่อย’ นั้นต่างหาก ที่คุณในฐานะผู้เล่นจะเป็นคนเลือก ว่าจะเดินออกไปดูหรือไม่


สิ่งกั้นขวางในหนทางสู่แสงสว่าง


อย่างไรก็ดี ถ้าจะให้สรุปสิ่งที่ The Pathless เป็นนั้น มันก็อาจจะจบได้ในสองคำนั่นคือ … ‘Boss Rush’ นี่คือเกมในสไตล์แบบ Shadow of the Colossus, The Last Guardian, Furi หรือแม้กระทั่ง Prince of Persia เวอร์ชันปี 2008 นั่นเพราะมันไม่มีการต่อสู้ระหว่างทาง ไม่มีศัตรูเป็นสิ่งกีดขวาง หน้าที่ของผู้เล่นคือแก้ปริศนา สู้กับบอส วนไปจนถึงปลายทาง สำหรับคนที่เป็นสายเล่นจบเร็วและโดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวเกมไม่ได้บังคับให้คุณออกนอกเส้นทาง นั่นทำให้เกมสามารถจบได้ในเวลาเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมง และคุณค่าในการกลับมาเล่นซ้ำนั้นก็ลืมไปได้เลย นอกไปเสียจากคุณอยากจะเก็บความลับบางอย่างหรือเป็นสาย Completionist ที่ส่งผลกับฉากจบเพียงเล็กน้อย ไม่ได้เป็นอะไรที่สลักสำคัญมากนัก



Sequences การต่อสู้กับบอสเองก็เป็นจุดที่มีปัญหา เพราะมันจะเปลี่ยนรูปแบบการเล่นไปชั่วขณะ เพราะในจังหวะที่คุณก้าวเข้าสู่อาณาเขตของบอสนั้นๆ คุณจะสูญเสียการควบคุมเหยี่ยวไป และตัวเกมจะกลายเป็นสาย Stealth ที่คุณต้องหาทางหลบหลีกและเอาเหยี่ยวกลับมา เพื่อเริ่มการต่อสู้ ที่จะเป็นการยิงเข้าจุดตายที่เห็นได้อย่างชัดเจนพร้อมหลบหลีกสิ่งกีดขวางหรือการโจมตีของบอสนั้นๆ



อนึ่ง การต่อสู้กับบอส ‘สุดท้าย’ ดูจะน่าสนใจที่สุด เพราะมีลูกเล่นและการวาง Sequences ที่โดดเด่นกว่าทุกตัว และเป็นจุด Climax ที่สำคัญที่สุดที่ทีมสร้างวางโครงเรื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่นอกเหนือจากนั้น มันแทบไม่มีอะไรต่าง และเมื่อเจอมันเข้าเป็นครั้งที่สาม สี่ และห้า ความน่าสนใจจะกลายเป็นความน่าเบื่อขึ้นมาในทันที และที่สำคัญ มันทำลาย Flow อันพลิ้วไหวที่เป็นหัวใจหลักของตัวเกมแบบหักดิบหมุนกลับจากหน้ามือเป็นหลังมือ ต้องปรับอารมณ์กันพอสมควรกว่าจะเคยชิน (และชินชา…) กับมันได้



และสุดท้าย การแก้ปริศนาในจุดต่างๆ ของตัวเกม แม้จะไม่ได้ยากจนถึงขั้นต้องทึ้งผมออกจากหัว แต่หลายครั้งมุมกล้องและการควบคุมเหยี่ยว ก็กลายเป็นอุปสรรคสำคัญ ติดในจุดนั้นบ้าง จุดนี้บ้าง มุมกล้องบังทำให้ไม่สามารถยิงธนูเข้าจุดได้บ้าง เป็นความน่ารำคาญเล็กๆ น้อยๆ ในเชิงเทคนิคที่อาจจะทำให้เสียอารมณ์ได้นิดหน่อย แต่ไม่ใช่เรื่องสลักสำคัญอะไรนัก


ทางชีวิต ลิขิตเอง


โดยสรุป แม้ตัวเกมจะมีร่องรอยของการ ‘หยิบยืม’ รูปแบบจากเกมรุ่นพี่ที่ออกมาก่อนหน้านั้น และติดกลิ่นของมันจนเป็นที่สังเกตได้ (เอาแค่เปิดเกมมา สิ่งแรกที่ผู้เขียนนึกถึงก็คือเกม Zelda และเล่นไปเล่นมา ก็ระลึกถึง Shadow of the Colossus...)

แต่สิ่งที่ The Pathless ทำได้สำเร็จอย่างงดงามนั่นคือ พวกเขาไม่ใช่การหยิบมายัดอย่างขอไปที หากแต่เป็นการ ‘Inspired’ หรือเอาแรงบันดาลใจ มาสร้างหนทางใหม่ให้กับตัวเองได้อย่างชาญฉลาด และเกมนี้ คือผลสำเร็จที่ว่านั้น มันเล่นได้สนุก มันงดงาม มันลื่นไหล และมันตั้งคำถามที่น่าสนใจ ว่าท้ายที่สุดแล้ว หนทางสู่ความจริงแท้และยั่งยืน มันสมควรจะต้องเดินตามทางที่แผ้วถางเอาไว้ หรือ ‘สร้าง’ หนทางใหม่ด้วยตนเอง
“และทีม Giant Squid ก็ให้คำตอบที่ชัดเจน ว่ามันไม่ผิด ถ้าจะเดินตามทางมา แต่ถึงที่สุดแล้ว มันก็ต้องเป็นพวกเขา ที่ต้องมุ่งหน้าต่อไป ในโลกกว้างแห่งวงการเกม ที่พวกเขาประสบความสำเร็จในก้าวแรกของการสร้างทางของตนเองจากเกมนี้แล้วจริงๆ…”



[penci_review id="76343"]


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header