GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
ผลการค้นหา : "เล่นเยอะ"
'เล่นเยอะๆ เล่นบ่อยๆ เล่นทุกวัน เดี๋ยวก็เก่งเอง' ประโยคนี้ จริงหรือไม่
"เล่นเยอะๆ เล่นบ่อยๆ เล่นทุกวัน เดี๋ยวก็เก่งเอง" ประโยคนี้ จริงหรือไม่        ใครที่เป็นเกมเมอร์ที่ชอบเล่นเกมสไตล์ Competitive (เกมที่เน้นการแข่งขันระหว่างผู้เล่นด้วยกันเอง ทราบผลแพ้-ชนะชัดเจน อาจจะเป็นการแข่งขันตัวต่อตัว หรือแบบทีมก็ได้) น่าจะเคยได้ยิน "วาทกรรม" สุดคลาสสิคคำนึง ที่กล่าวไว้ว่า "นายเล่นบ่อยๆ สิ เดี๋ยวก็เก่งเอง" , "เธอเล่นไปเรื่อยๆ สิ เดี๋ยวก็เก่งเอง" หรือ "อย่าให้ผมได้เล่นทุกวันนะ ผมเก่งแน่" แต่เคยมีใครสงสัยมั้ยครับ ว่าจริงๆ แล้ว วาทกรรมดังกล่าวนั้น มันจริงเท็จแค่ไหน ทฤษฏีที่ว่า เล่นไปเรื่อยๆ เล่นไปบ่อยๆ เล่นไปทุกวัน มันจะทำให้เราเล่นเกมเกมนั้นได้เก่งขึ้นจริงเหรอ หรือจริงๆ แล้วนี่เป็นเพียงวาทกรรมขายฝัน ให้คนตะบี้ตะบันเล่นเข้าไป เพื่อหวังว่า ซักวันฉันจะเก่งขึ้นจริงๆ ดังที่เขาว่ากัน.... ในบทความนี้ ผมจะมาวิเคราะห์และพาทุกคนไปหาคำตอบถึงความจริงของวาทกรรมนี้กันครับ        ในเกมแต่ละเกม จะมีนิยามความเก่งในแบบของตัวเอง และคงจะเป็นเรื่องยากหากจะสื่อความหมายและทำให้ทุกคนเข้าใจหากไม่เจาะจงไปที่เกมใดเกมหนึ่ง ดังนั้นในบทความนี้ผมขอยกกรณีศึกษามาจากเกม PUBG เกม Battle Royale ที่ได้รับความนิยมสูงทั้งในไทยและในต่างประเทศที่มีอัตราการแข่งขันสูงสุดขีด ในประเทศไทยมีการจัดแข่ง League  มีนักกีฬาอาชีพ มีทีมแข่งแบบ Full-time ส่วนในต่างประเทศไม่ต้องพูดถึง ปัจจุบัน PUBG กลายเป็นเกมประจำชาติของประเทศเกาหลีใต้ไปแล้ว(รวมถึงจีนในอนาคตอันใกล้ด้วย) ล่าสุดรายการ (เกือบจะ) ชิงแชมป์โลก PGI-S ก็มีเงินรางวัลรวมเกือบ 200 ลบ. แล้ว (กลายเป็นสถิติใหม่ของเกม FPS ที่มีเงินรางวัลสูงที่สุดตลอดกาลไปแล้วจ้า)        แต่นี้เป็นแค่การยกตัวอย่างโดยอ้างอิงจากเกมเกมหนึ่งเท่านั้น ซึ่งสำหรับชาวเกมเมอร์ ที่เล่นเกมอื่น ๆ ก็ขอให้ทำความเข้าใจแค่แก่นหลักที่ผมอยากสื่อ แล้วนำไปปรับใช้ในเกมของตัวเองกันนะครับ ภาพสนามแข่งขัน รายการ PGI-S 2021 ณ เมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ ความหมายของ วาทกรรมสุดอมตะ        คำพูดที่ว่า “เล่นเยอะๆ เล่นบ่อยๆ เล่นทุกวัน เดี๋ยวก็เก่งเอง” ความหมายง่ายๆ ก็คือ หากเราเล่นเกมเกมนี้ บ่อยๆ ขยันเล่น เราก็จะเก่งขึ้นเอง  ซึ่งหากมองถึงนัยยะของมันจริงๆ  มันก็คือวาทกรรมที่จะสื่อให้ผู้ฟัง “ขยันซ้อม ขยันฝึกฝน” นั่นเอง สำหรับในมุมมองของผม ผมมองว่าการเล่นเกม มันก็เหมือนกับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หรือวิชาภาษาอังกฤษนั่นแหละ สิ่งเหล่านี้เค้าเรียกกันว่า “ทักษะ” ซึ่งหากแค่คุณเข้าใจ คุณรู้ แต่คุณไม่เคยทำ ไม่เคยฝึกซ้อมเลย คุณก็ไม่มีทางที่จะเก่งขึ้น และไม่มีทางจะนำมันไปปรับใช้กับอะไรได้เลย แต่กลับกัน หากคุณฝึกซ้อม ทำแบบฝึกหัดบ่อยๆ ทักษะเหล่านี้ก็จะถูกขัดเกลาขึ้นไปเรื่อยๆ และคุณก็จะเก่งขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถ้าเรามองในมุมมองของเกมบ้างหล่ะ ถ้าคุณรู้ว่าเกมเล่นยังไง รู้ว่าอะไรจะทำให้คุณชนะ รู้ว่าอะไรจะทำให้คุณแพ้ แต่คุณไม่เคยเล่นมัน คุณไม่เคยฝึกฝนมัน คุณก็ไม่มีทางที่จะ “เก่ง” ยกตัวอย่างเกม PUBG  คุณรู้ว่ามันเล่นยังไง กฎกติกามันเป็นแบบไหน คุณรู้ว่าปืนกระบอกนี้ยิงยังไง ต้องคุมปืนแบบไหน ลากเม้าส์แบบไหน รู้ว่าต้องเคลื่อนที่ยังไง ขับรถยังไง หรือแม้แต่คุณรู้ด้วยซ้ำว่าต้องทำยังไงมันถึงจะชนะ ถึงจะได้แชมป์ แต่คุณไม่เคยเล่นมันเลย ไม่เคยคุมปืนจริงๆ ไม่เคยขับรถจริงๆ แล้วแบบนี้คุณจะเก่งขึ้นจริงๆ หรือ ? ฉะนั้นการขยันซ้อม ขยันเล่น ขยันฝึกฝนถือว่าเป็นหัวใจสำคัญจริงๆ สำหรับการพัฒนาฝีมือของเราให้ดีขึ้น แต่ถ้าถามว่าคน 100 คน ตะบี้ตะบันเล่นทุกวัน 100 คนนี้จะเล่นดีขึ้น-เล่นเก่งขึ้นทุกคนหรือไม่ หรือถ้าหากว่าเราขยันซ้อมมากกว่าผู้เล่นมืออาชีพระดับโลก เราจะเก่งกว่าผู้เล่นมืออาชีพเหล่านั้นหรือเปล่า  กุญแจจริงๆ ของการเล่นเกมให้เก่งมันคือการฝึกซ้อมเพียงอย่างเดียวจริงหรือ เราจะมาหาคำตอบกัน"วาทกรรม" ดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่        เราต้องยอมรับกันก่อนว่าการฝึกซ้อม มันทำให้เราเล่นเกมเกมนั้นได้ดีขึ้น ได้ชำนาญขึ้นจริง ซึ่งนั่นก็เพราะว่า การเล่นเกมมันคือทักษะอย่างหนึ่ง (ดังที่ยกมาในย่อหน้าก่อนหน้า) เมื่อเราฝึกฝน และให้เวลากับมันมากพอ ร่างกายเราจะเริ่มเคยชินกับมัน เริ่มจดจำมัน (Muscle Memory) จากเดิมที่เวลายิงเราต้องมีสติ ว่าต้องควบคุมเม้าส์อย่างไร ต้องคอยพูดกับตัวเองเสมอว่าต้องดึงเม้าส์ลงนะ ต้องคอยควบคุมเป้านะ แต่เมื่อเราทำมันไปเรื่อยๆ ข้อมือเรา แขนเรา ปลายนิ้วเรา จะเริ่มคุ้นเคยไปกับมัน เราจะค่อยๆ ควบคุมเป้าได้ดีขึ้น ดึงเม้าส์ได้ไหลลื่นขึ้น คุมแรงถีบได้อย่างใจคิดมากขึ้น โดยที่ร่างกายมันอาจจะเป็นไปเองอัตโนมัติเลยด้วยซ้ำ หรือในกรณีของเกม PUBG ที่จะต้องมีทักษะการ Looting ที่รวดเร็ว  ในช่วงแรกๆ เราไม่เคย Looting ในพื้นที่นี้เลย เราอาจจะหาไอเทมได้ช้ามากๆ แต่เมื่อเรามาหาไอเทมบริเวณนี้บ่อยๆ เราจะเริ่มรู้ว่า ตรงไหนมี Loot Drop บ้าง (Loot Drop หมายถึง พื้นที่หรือบริเวณที่มีอัตราการสุ่มเกิดของไอเทมสูง ถึงแม้ว่าในแต่ละรอบที่เล่น ไอเทมแต่ละชิ้นจะเกิดมาไม่เหมือนกัน แต่จุดเกิดของไอเทมจะยังเป็นบริเวณเดิมเสมอ) ตรงไหนปีนได้ ตรงไหนกระโดดได้  Line การ Loot แบบไหนที่จะได้ของมากที่สุด ไวที่สุด และปลอดภัยที่สุด รวมถึงในช่วงแรก การลากไอเทมเข้ากระเป๋าและการ Manage ช่องเก็บของ อาจจะต้องใช้เวลานาน แต่เมื่อชั่วโมงบินมากขึ้น เราจะลากไอเทมเข้ากระเป๋าได้ไวมาก การ Manage ช่องเก็บของก็จะเร็ว แทบจะเรียกได้ว่าคิดไปพร้อมกับตอนที่เก็บเลยก็ว่าได้         นอกจากหน่วยความจำในกล้ามเนื้อที่จะค่อยๆ ถูกเติมเต็มไปเรื่อยๆ แล้ว การฝึกซ้อมยังจะช่วยเติมเต็ม “หน่วยความจำในสมองของเรา” ด้วย  ในทุก ๆ เกมจะมีสิ่งหนึ่งที่สมองเราจะจดจำเข้ามาในทุกๆ การเล่นนั่นคือ ความรู้ในเกม หรือ Game Knowledge เจ้าสิ่งนี้คือ องค์ความรู้และข้อมูลต่างๆ ภายในเกมที่หากเราสามารถจดจำและเข้าใจ  มันจะเป็นประโยชน์ต่อการเล่นของเรา ยกตัวอย่างจาก PUBG เช่น การรู้แผนที่ (เช่น รู้ว่าเมืองนี้ตรงไหนไอเทมเยอะ ตึกนี้มีประตู หน้าต่างตรงไหนบ้าง ถนนตรงนี้ต้องระวังอะไร ฯ)  การรู้ปืน ( เช่น รู้ว่าปืนกระบอกนี้มีแรงถีบไปทางด้านไหน สามารถปรับแต่งยังไงได้บ้าง ใช้กระสุนอะไร ความเสียหายเท่าไหร่ ยิงหัวกี่นัดตาย ได้เปรียบในระยะไหน ฯ) เป็นต้น ซึ่งหากมองในช่วงแรก อาจจะรู้สึกว่า Game Knowledge เป็นข้อมูลดิบๆ ที่มีจำนวนเยอะมาก จะจำยังไงไหว แต่หากประสบการณ์ของคุณมากพอ คุณจะสามารถจดจำข้อมูลเหล่านี้ได้เองโดยอัตโนมัติ และด้วยความชำนาญ คุณจะสามารถดึงข้อมูลเหล่านี้ออกมาจากสมองเพื่อใช้งานได้ไวมากภาพแนะนำวิธีการยิงและวัดระยะด้วยลำกล้องปืนระยะไกล จาก WackyJacky101 เจ้าพ่อข้อมูลแห่งเกม PUBG        เท่านี้ ทุกคนก็น่าจะเห็นแล้วนะครับ ว่าการขยันหมั่นเพียร คอยเฝ้าฝึกตน มันจะสร้างผลดีให้เรายังไง ทำให้เราแข็งแกร่งขึ้นได้ยังไง การเอาตัวเองไปเข้าห้องแห่งกาลเวลามันทำให้เราเก่งขึ้นได้จริงๆ แต่หากมองย้อนกลับไปยังวาทกรรมของเรา ที่อ้างว่า “เล่นบ่อยๆ จะเก่งเอง” พอมาถึงตรงนี้ ก็คงต้องยอมรับแล้วหล่ะครับว่า “จริง” แต่มันก็ "ไม่ได้จริงทั้งหมด"        การฝึกฝนเล่นบ่อยๆ มันทำให้เราเก่งขึ้นจริง แต่มันก็ “ไม่ได้จริงทั้งหมด” ครับจากความคิดเห็นของผม เพราะการขยันเล่นเพียงอย่างเดียว มันทำให้คุณเก่งขึ้นจริง แต่มันก็แค่ ในช่วงแรกเท่านั้น ในช่วงที่คุณเล่นเกมเกมนั้นไม่เป็นเลยในตอนแรก และค่อยๆ เริ่มฝึกฝน เล่นไปเรื่อยๆ คุณจะเห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นของตัวเองอย่างก้าวกระโดด        แต่เมื่อเล่นไปเรื่อยๆ จนอยู่ในจุดที่เรียกตัวเองได้ว่า “เล่นเป็น” การฝึกซ้อมและขยันเล่นเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ได้ทำให้คุณเก่งขึ้นแล้วอีกต่อไป ถ้าหากผู้เล่นรอบตัวคุณไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือศัตรู บังเอิญอยู่ในระดับใกล้เคียงกับคุณ คุณก็จะเริ่มสังเกตเห็นแล้วว่า ระดับของตัวเองแทบจะไม่ได้พัฒนาขึ้นเลย ทุกคนอยู่ในระนาบเดียวกัน (ใครสงสัยว่าเป็นเพราะอะไร ให้ไปศึกษาเรื่อง เส้นแห่งการเรียนรู้ (Learning Curve) ถ้าอธิบายเดี๋ยวจะยาวเกิน) หลังจากนี้การฝึกซ้อม จะเป็นแค่การคอยประคับประคองให้สมองและกล้ามเนื้อของเรายังคงจำจดสิ่งเหล่านี้ต่อไป ไม่ให้ลืมเลือนหายไป หรือเรียกง่ายๆ ก็คือ เล่นไปเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้อ่อนลง เล่นไปเรื่อยๆ เพื่อยังคงฟอร์มการเล่นไว้        แล้วถ้าหากเราต้องการที่จะพัฒนาตัวเองต่อไปหล่ะ ถ้าหากเราต้องการที่จะโดดขึ้นมาจากระนาบที่น้อยคนจะหลุดพ้นออกมาหละ เราจะต้องทำยังไง ผมจะมาแถลงไขให้ทุกคนที่อยากจะพัฒนาตัวเองขึ้นไปเรื่อยๆ ได้ทราบกันครับ แต่บอกได้เลยว่าไม่ใช่แค่การฝึกซ้อมแน่นอนคำตอบจริงๆ ของ "ความเก่ง" คืออะไร        เมื่อการพยายามฝึกซ้อมอย่างเดียวไม่ใช่ทางออกในการพัฒนาตัวเองของเราแล้ว  เราจะทำอย่างไรหล่ะ คำตอบที่ผมจะมานำเสนอต่อจากนี้ เป็นเพียงความเห็นของผมบวกกับการ Research มาจากแนวคิดของผู้เล่นมืออาชีพหลายเกมทั่วโลก  ตกตะกอนออกมาเป็น 3 ข้อ หลักๆ ดังนี้ครับ        1.“การศึกษา” ผมไม่ได้หมายถึงว่าให้ทุกคนไปโรงเรียนนะครับ (ฮ่าๆ ) แต่ “การศึกษา” ของผมในที่นี้ หมายถึงการพยายามพัฒนาตัวเองจากองค์ความรู้ต่างๆ มากกว่าแค่การพยายามฝึกฝนทางด้านร่างกายเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็น การศึกษาตัวเอง ให้รู้ว่าเราเด่นอะไรและด้อยอะไร (เพื่อให้รู้ว่าควรจะปรับปรุงตัวเองต่อไปอย่างไร หรือจะหาจุดเด่นอะไรมาปิดจุดด้อยนี้ เช่น เรารู้ว่าเรายิงไม่แม่น แต่เราอ่านเกมดี เราก็ต้องเลือกที่จะใช้ชั้นเชิงสู้กับศัตรูแทนที่จะยิงวัดกันหน้าต่อหน้า เป็นต้น) การศึกษาให้รู้ว่าคนที่เก่งกว่าเราเค้าเล่นกันยังไง ให้รู้ว่าคนเก่งๆ เค้ามีเทคนิคอย่างไรบ้าง ถ้าหากเค้าเจอสถานการณ์แบบนี้เค้ารับมือยังไง เพื่อการนำไปปรับใช้กับสไตล์การเล่นของตัวเราเองนั่นเอง (การดูการแข่งขันระดับสูงอยู่เสมอ ถือว่าเป็นตัวช่วยพัฒนาชุดความคิดและความสร้างสรรค์ ในการเล่นของเรามากทีเดียว เพราะเมื่อเราต้องเผชิญกับสถานการณ์แบบนั้นกับตัว  เราจะมีแม่แบบในการตัดสินใจ ว่าถ้าทำแบบทีม A ผลจะออกมาเป็นอย่างไร หรือเคยดูทีมB เล่นแบบนี้แล้วมันเหนือชั้นมาก เราขอลอกมาเลยแล้วกัน เป็นต้น) และสุดท้าย ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเกมเกมนั้นอยู่เสมอ ทุกเกมที่เน้นการแข่งขัน มักจะมีการปรับ Patch เพื่อ Balance เกมของตัวเองเสมอ และเมื่อมีการ Patch ก็มักจะมีสิ่งที่เก่งขึ้น/ดีขึ้น และสิ่งที่อ่อนลง/แย่ลง ควบคู่กัน ฉะนั้น เราก็ต้องพยายามตาม Patch ตามกระแสของเกมให้ทัน (เรียกง่ายๆ ก็คือตาม Meta ให้ทัน หรือถ้าคุณศึกษา Balance ของเกมได้ลึกซึ้งพอ คุณอาจจะไม่ต้อง “ตาม Meta” แล้ว แต่เปลี่ยนมาเป็น “นำ Meta” แทน)Beryl M762 ปืน Meta ที่นิยมใช้กันทั่วโลก โดยกำลังจะถูกปรับให้อ่อนลงใน Patch หน้า         2.“การปรับตัว” (Adaptation)  สำหรับเกมอย่าง PUBG  ที่แต่ในละแมตช์แทบจะไม่ซ้ำกันเลย  การปรับตัวและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ต่างๆ ที่มีให้เกิดประโยชน์ ถือเป็นสิ่งสำคัญมากๆ  เราฝึกซ้อมมาแบบไหน เรียนรู้มาอย่างไร พอถึงหน้างานจริงๆ มันไม่ได้เป็นอย่างที่ซ้อมมาก็ต้องปรับตัวให้ได้ ผู้เล่นเก่งๆ ที่มีความสามารถ มีทักษะเพียบพร้อม แต่พอถึงสถานการณ์จริง ทุกอย่างมันไม่เหมือนกับที่เคยเล่นมา และสุดท้ายปรับตัวไม่ได้ ในที่สุดก็จะกลายเป็นผู้แพ้ ฉะนั้น เราต้องหัดยืดหยุ่น กล้าที่จะปรับเปลี่ยน กล้าที่จะรับอะไรใหม่ๆ  โอกาสดีๆ ที่รออยู่ มีพร้อมสำหรับคนที่กล้าเสี่ยงเท่านั้น ฉะนั้น ถ้าอยากจะพัฒนา อยากจะเก่ง ต้องไม่กลัวที่จะต้องปรับตัวหรือปรับเปลี่ยน อย่ากลัวที่จะก้าวออกมาจากสิ่งเดิมๆ ที่เราคุ้นเคย เช่น  ปืนใหม่ๆ ที่ไม่เคยยิง กลัวว่าจะควบคุมไม่ได้ ก็ต้องกล้าที่จะหยิบมายิง กล้าที่จะลองควบคุม หรือ  เส้นทางการเคลื่นที่เข้าวงใหม่ๆ แบบที่ไม่เคยเล่นมาก่อน แต่สถานกาณ์มันมาแบบนี้ ก็ต้องกล้าที่จะไป  หรือว่าเคยเล่นแบบนี้แล้วพลาด เราก็ต้องกล้าที่จะปรับเปลี่ยนแนวทางการเล่น อย่ากลัวที่จะพลาดอีก  ในครั้งถัดๆไป “Eaddy” ผู้เล่นตำแหน่ง In Game Leader (IGL คือตำแหน่งกัปตันทีม ที่จะต้องคอยสั่งการเพื่อนร่วมทีม ไม่ว่าจะเป็นแผนการเล่น กลยุทธ์ จังหวะเมื่อต้องเข้าปะทะกับทีมตรงข้าม หรือหากเจอกับปัญหาเฉพาะหน้า IGL จะเป็นคนที่มีสิทธิ์มีเสียงในการตัดสินใจสูงกว่าผู้เล่นคนคนอื่นในทีม) ของ Buriram United Esports (PUBG) เคยให้สัมภาษณ์ไว้หลังจากคว้าแชมป์ระดับภูมิภาคในรายการ PCS3:Asia Pacific ไว้ว่า “ Timing ในเกมก็คือ Timing ในเกม… ถ้าเราพลาดไปเกมนึงแล้ว ต่อให้เราจำไว้ก็เถอะ น้อยครั้งมากที่เราจะได้กลับไปเล่นแบบเดิม มันต้องเน้นเล่นหน้างานอยู่แล้ว .... ” สิ่งที่ผู้เล่นไทยที่ก้าวไปสู่เวทีระดับโลกแล้วอย่าง Eaddy จะสื่อความหมายก็คือ การเล่นในเกมเกมไหน จบแล้วก็จบไป พลาดแล้วก็พลาดไป จดจำไว้ แล้วจงกล้าที่จะปรับปรุงและปรับตัวต่อๆ ไป ในเกมถัดๆ ไปทีม Buriram United Esports (PUBG) ที่กำลังแข่งขันในรายการ PGI-S 2021 (Eaddy หรือ “ภู” คือหนุ่มน้อยที่อยู่ด้านขวาบน)         3.“ชุดความคิด” (Mindset) สำหรับการจะก้าวออกมาจากระนาบของเส้นแห่งการเรียนรู้ (Learning Curve) ก้าวออกมาเป็นผู้เล่นที่เก่งกว่าคนอื่นๆ Mindset นับเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ซึ่งแนวความคิดหรือชุดความคิดของคนเรามันละเอียดอ่อนและแตกต่างกันไปมากมาย การจะบอกให้แต่ละคนปรับเปลี่ยนนั้น คงเป็นไปไม่ได้ แต่มีแนวความคิดอยู่สองอย่างที่ผมคิดว่ามันเป็นชุดความคิดที่ดี ที่จะทำให้เราพัฒนาตัวเองต่อไปได้  นั่นคือ 1. อย่าทำให้ตัวเองให้เป็นน้ำเต็มแก้ว อย่าคิดว่าตัวเองเก่งที่สุด อย่าคิดว่าตัวเองเหนือที่สุด ดังสุภาษิตครับ “เหนือฟ้า ยังมีฟ้า” เพราะฉะนั้นอย่าหยุดพัฒนาเด็ดขาด และ 2. อย่าคิดว่าทุกอย่างเป็นเรื่องยาก Mindset นี้เหมาะกับผู้เล่นหน้าใหม่มากๆ เกมที่มีการแข่งขันกันทุกเกม มักจะมีสิ่งที่เรียกว่า ”กำแพงมือใหม่” มันคืออุปสรรคบางอย่างที่ทำให้ผู้เล่นหน้าใหม่ที่ไม่สามารถปรับตัว อาจจะเลิกเล่นเกมเกมนั้นไป ไม่ว่าจะเป็น ปืนที่มีแรงถีบ นรกเหลือเกิน  ผู้เล่นศัตรูที่เก่งอย่างกับปีศาจ ดูต่างชั้นกับเราหลายขุม  หรือข้อมูลในเกมที่เข้าใจยากเหลือเกิน เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวคัดเหล่า “หน้าใหม่” ว่าใครพร้อมสำหรับสังเวียนนี้บ้าง ดังนั้น Mindset ที่ว่า “อย่ามองทุกอย่างว่าเป็นเรื่องยาก” จึงสำคัญมาก จงมองว่าอุปสรรคข้างหน้า เราจะผ่านมันไปได้  ให้คิดซะว่าผู้เล่นศัตรูที่เราเผชิญอยู่ ถึงมันจะเก่ง แต่มันก็คนเหมือนกับเรา มันจะเก่งกว่าเราแค่ไหนกันเชียว (1ต่อ1 ไม่ไหว ก็เอาเพื่อนไปรุม ฮ่า ๆ) แรงถีบปืนที่ว่าโหดๆ คนอื่นยังควบคุมได้ ทำไมเราจะทำไม่ได้  “Simple” Ace ประจำทีม NaVi (CS:GO) ผู้ครองตำแหน่ง ผู้เล่นอันดับ 1 ของโลกในปี 2018 และอันดับ 2 ของโลก สองปีซ้อนในปี 2019-2020 เคยตอบคำถามจากแฟนคลับที่ถามเขาว่า “ทำยังไงถึงจะยิงแม่นแบบคุณ” Simple ตอบกลับไปสั้นๆ ง่ายๆ ดังชื่อของเจ้าตัว ว่า “Just aim at head” หรือ “แค่เล็งที่หัว” ฟังดูเผิน ๆ อาจจะคิดว่าคำตอบของยอดผู้เล่นคนนี้ เป็นคำตอบเกรียนๆ ที่หยอกเย้าแฟนคลับเล่นๆ ตามอุปนิสัยของเจ้าตัว แต่จริงๆ แล้ว คำตอบนี้มันสื่อได้ถึงแนวคิดที่มองว่าทุกสิ่งไม่ใช่เรื่องยาก ตัวเขามองว่าการจะยิงให้แม่นยำ ก็แค่พยายามเล็งที่หัว ก็แค่นั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีวิธีอะไรมากมาย แต่ถ้าใครอ่านบทความนี้แล้วสงสัย อยากรู้ว่าถ้าทำตามที่ผู้เล่นระดับโลกคนนี้บอก  จะยิงแม่นจริงหรือเปล่า ก็ให้ลองไปทำตามดูครับ วิธีก็ง่ายๆ เลยครับ “แค่เล็งที่หัว” (ฮา)Simple กับถ้วยรางวัลชนะเลิศและ MVP ของเขา จากรายการ StarSeries i-League Season ที่ 5        จบไปแล้วนะครับ กับบทความที่พยายามจะตีแผ่ “วาทกรรม” รวมถึงพูดถึง “ความเก่ง” และการพัฒนาฝีมือการเล่นเกมของเรา ใครที่อ่านจนจบอาจจะคิดว่านี่มันจริงจังเกมมิ่งเกินไปรึเปล่า จริงๆ แล้วก็ใช่ครับ นี่มันคือการเล่นเกมเพื่อการแข่งขัน เพื่อการเอาชนะ เพราะฉะนั้นเนื้อหาในบทความนี้ มันจึงดูเข้มข้นและจริงจังเอามากๆ ฉะนั้นเกมเมอร์ที่ไม่ใช่สายนี้ ก็ขอแค่ให้อ่านเอาสนุก เอาความบันเทิง หรือหากสามารถนำเอาเกร็ดความรู้เล็กน้อยๆ หรือแนวคิดต่างๆ ที่ผมตั้งใจจะนำเสนอไปปรับใช้ได้ ก็จะเป็นเกียรติมากๆ  ใครมีความคิดเห็นอย่างไรสามารถพูดคุย แสดงความคิดเห็นกันไว้ได้ ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ ;)
30 Mar 2021
GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
ผลการค้นหา : "เล่นเยอะ"
'เล่นเยอะๆ เล่นบ่อยๆ เล่นทุกวัน เดี๋ยวก็เก่งเอง' ประโยคนี้ จริงหรือไม่
"เล่นเยอะๆ เล่นบ่อยๆ เล่นทุกวัน เดี๋ยวก็เก่งเอง" ประโยคนี้ จริงหรือไม่        ใครที่เป็นเกมเมอร์ที่ชอบเล่นเกมสไตล์ Competitive (เกมที่เน้นการแข่งขันระหว่างผู้เล่นด้วยกันเอง ทราบผลแพ้-ชนะชัดเจน อาจจะเป็นการแข่งขันตัวต่อตัว หรือแบบทีมก็ได้) น่าจะเคยได้ยิน "วาทกรรม" สุดคลาสสิคคำนึง ที่กล่าวไว้ว่า "นายเล่นบ่อยๆ สิ เดี๋ยวก็เก่งเอง" , "เธอเล่นไปเรื่อยๆ สิ เดี๋ยวก็เก่งเอง" หรือ "อย่าให้ผมได้เล่นทุกวันนะ ผมเก่งแน่" แต่เคยมีใครสงสัยมั้ยครับ ว่าจริงๆ แล้ว วาทกรรมดังกล่าวนั้น มันจริงเท็จแค่ไหน ทฤษฏีที่ว่า เล่นไปเรื่อยๆ เล่นไปบ่อยๆ เล่นไปทุกวัน มันจะทำให้เราเล่นเกมเกมนั้นได้เก่งขึ้นจริงเหรอ หรือจริงๆ แล้วนี่เป็นเพียงวาทกรรมขายฝัน ให้คนตะบี้ตะบันเล่นเข้าไป เพื่อหวังว่า ซักวันฉันจะเก่งขึ้นจริงๆ ดังที่เขาว่ากัน.... ในบทความนี้ ผมจะมาวิเคราะห์และพาทุกคนไปหาคำตอบถึงความจริงของวาทกรรมนี้กันครับ        ในเกมแต่ละเกม จะมีนิยามความเก่งในแบบของตัวเอง และคงจะเป็นเรื่องยากหากจะสื่อความหมายและทำให้ทุกคนเข้าใจหากไม่เจาะจงไปที่เกมใดเกมหนึ่ง ดังนั้นในบทความนี้ผมขอยกกรณีศึกษามาจากเกม PUBG เกม Battle Royale ที่ได้รับความนิยมสูงทั้งในไทยและในต่างประเทศที่มีอัตราการแข่งขันสูงสุดขีด ในประเทศไทยมีการจัดแข่ง League  มีนักกีฬาอาชีพ มีทีมแข่งแบบ Full-time ส่วนในต่างประเทศไม่ต้องพูดถึง ปัจจุบัน PUBG กลายเป็นเกมประจำชาติของประเทศเกาหลีใต้ไปแล้ว(รวมถึงจีนในอนาคตอันใกล้ด้วย) ล่าสุดรายการ (เกือบจะ) ชิงแชมป์โลก PGI-S ก็มีเงินรางวัลรวมเกือบ 200 ลบ. แล้ว (กลายเป็นสถิติใหม่ของเกม FPS ที่มีเงินรางวัลสูงที่สุดตลอดกาลไปแล้วจ้า)        แต่นี้เป็นแค่การยกตัวอย่างโดยอ้างอิงจากเกมเกมหนึ่งเท่านั้น ซึ่งสำหรับชาวเกมเมอร์ ที่เล่นเกมอื่น ๆ ก็ขอให้ทำความเข้าใจแค่แก่นหลักที่ผมอยากสื่อ แล้วนำไปปรับใช้ในเกมของตัวเองกันนะครับ ภาพสนามแข่งขัน รายการ PGI-S 2021 ณ เมืองอินชอน ประเทศเกาหลีใต้ ความหมายของ วาทกรรมสุดอมตะ        คำพูดที่ว่า “เล่นเยอะๆ เล่นบ่อยๆ เล่นทุกวัน เดี๋ยวก็เก่งเอง” ความหมายง่ายๆ ก็คือ หากเราเล่นเกมเกมนี้ บ่อยๆ ขยันเล่น เราก็จะเก่งขึ้นเอง  ซึ่งหากมองถึงนัยยะของมันจริงๆ  มันก็คือวาทกรรมที่จะสื่อให้ผู้ฟัง “ขยันซ้อม ขยันฝึกฝน” นั่นเอง สำหรับในมุมมองของผม ผมมองว่าการเล่นเกม มันก็เหมือนกับการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หรือวิชาภาษาอังกฤษนั่นแหละ สิ่งเหล่านี้เค้าเรียกกันว่า “ทักษะ” ซึ่งหากแค่คุณเข้าใจ คุณรู้ แต่คุณไม่เคยทำ ไม่เคยฝึกซ้อมเลย คุณก็ไม่มีทางที่จะเก่งขึ้น และไม่มีทางจะนำมันไปปรับใช้กับอะไรได้เลย แต่กลับกัน หากคุณฝึกซ้อม ทำแบบฝึกหัดบ่อยๆ ทักษะเหล่านี้ก็จะถูกขัดเกลาขึ้นไปเรื่อยๆ และคุณก็จะเก่งขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถ้าเรามองในมุมมองของเกมบ้างหล่ะ ถ้าคุณรู้ว่าเกมเล่นยังไง รู้ว่าอะไรจะทำให้คุณชนะ รู้ว่าอะไรจะทำให้คุณแพ้ แต่คุณไม่เคยเล่นมัน คุณไม่เคยฝึกฝนมัน คุณก็ไม่มีทางที่จะ “เก่ง” ยกตัวอย่างเกม PUBG  คุณรู้ว่ามันเล่นยังไง กฎกติกามันเป็นแบบไหน คุณรู้ว่าปืนกระบอกนี้ยิงยังไง ต้องคุมปืนแบบไหน ลากเม้าส์แบบไหน รู้ว่าต้องเคลื่อนที่ยังไง ขับรถยังไง หรือแม้แต่คุณรู้ด้วยซ้ำว่าต้องทำยังไงมันถึงจะชนะ ถึงจะได้แชมป์ แต่คุณไม่เคยเล่นมันเลย ไม่เคยคุมปืนจริงๆ ไม่เคยขับรถจริงๆ แล้วแบบนี้คุณจะเก่งขึ้นจริงๆ หรือ ? ฉะนั้นการขยันซ้อม ขยันเล่น ขยันฝึกฝนถือว่าเป็นหัวใจสำคัญจริงๆ สำหรับการพัฒนาฝีมือของเราให้ดีขึ้น แต่ถ้าถามว่าคน 100 คน ตะบี้ตะบันเล่นทุกวัน 100 คนนี้จะเล่นดีขึ้น-เล่นเก่งขึ้นทุกคนหรือไม่ หรือถ้าหากว่าเราขยันซ้อมมากกว่าผู้เล่นมืออาชีพระดับโลก เราจะเก่งกว่าผู้เล่นมืออาชีพเหล่านั้นหรือเปล่า  กุญแจจริงๆ ของการเล่นเกมให้เก่งมันคือการฝึกซ้อมเพียงอย่างเดียวจริงหรือ เราจะมาหาคำตอบกัน"วาทกรรม" ดังกล่าวเป็นจริงหรือไม่        เราต้องยอมรับกันก่อนว่าการฝึกซ้อม มันทำให้เราเล่นเกมเกมนั้นได้ดีขึ้น ได้ชำนาญขึ้นจริง ซึ่งนั่นก็เพราะว่า การเล่นเกมมันคือทักษะอย่างหนึ่ง (ดังที่ยกมาในย่อหน้าก่อนหน้า) เมื่อเราฝึกฝน และให้เวลากับมันมากพอ ร่างกายเราจะเริ่มเคยชินกับมัน เริ่มจดจำมัน (Muscle Memory) จากเดิมที่เวลายิงเราต้องมีสติ ว่าต้องควบคุมเม้าส์อย่างไร ต้องคอยพูดกับตัวเองเสมอว่าต้องดึงเม้าส์ลงนะ ต้องคอยควบคุมเป้านะ แต่เมื่อเราทำมันไปเรื่อยๆ ข้อมือเรา แขนเรา ปลายนิ้วเรา จะเริ่มคุ้นเคยไปกับมัน เราจะค่อยๆ ควบคุมเป้าได้ดีขึ้น ดึงเม้าส์ได้ไหลลื่นขึ้น คุมแรงถีบได้อย่างใจคิดมากขึ้น โดยที่ร่างกายมันอาจจะเป็นไปเองอัตโนมัติเลยด้วยซ้ำ หรือในกรณีของเกม PUBG ที่จะต้องมีทักษะการ Looting ที่รวดเร็ว  ในช่วงแรกๆ เราไม่เคย Looting ในพื้นที่นี้เลย เราอาจจะหาไอเทมได้ช้ามากๆ แต่เมื่อเรามาหาไอเทมบริเวณนี้บ่อยๆ เราจะเริ่มรู้ว่า ตรงไหนมี Loot Drop บ้าง (Loot Drop หมายถึง พื้นที่หรือบริเวณที่มีอัตราการสุ่มเกิดของไอเทมสูง ถึงแม้ว่าในแต่ละรอบที่เล่น ไอเทมแต่ละชิ้นจะเกิดมาไม่เหมือนกัน แต่จุดเกิดของไอเทมจะยังเป็นบริเวณเดิมเสมอ) ตรงไหนปีนได้ ตรงไหนกระโดดได้  Line การ Loot แบบไหนที่จะได้ของมากที่สุด ไวที่สุด และปลอดภัยที่สุด รวมถึงในช่วงแรก การลากไอเทมเข้ากระเป๋าและการ Manage ช่องเก็บของ อาจจะต้องใช้เวลานาน แต่เมื่อชั่วโมงบินมากขึ้น เราจะลากไอเทมเข้ากระเป๋าได้ไวมาก การ Manage ช่องเก็บของก็จะเร็ว แทบจะเรียกได้ว่าคิดไปพร้อมกับตอนที่เก็บเลยก็ว่าได้         นอกจากหน่วยความจำในกล้ามเนื้อที่จะค่อยๆ ถูกเติมเต็มไปเรื่อยๆ แล้ว การฝึกซ้อมยังจะช่วยเติมเต็ม “หน่วยความจำในสมองของเรา” ด้วย  ในทุก ๆ เกมจะมีสิ่งหนึ่งที่สมองเราจะจดจำเข้ามาในทุกๆ การเล่นนั่นคือ ความรู้ในเกม หรือ Game Knowledge เจ้าสิ่งนี้คือ องค์ความรู้และข้อมูลต่างๆ ภายในเกมที่หากเราสามารถจดจำและเข้าใจ  มันจะเป็นประโยชน์ต่อการเล่นของเรา ยกตัวอย่างจาก PUBG เช่น การรู้แผนที่ (เช่น รู้ว่าเมืองนี้ตรงไหนไอเทมเยอะ ตึกนี้มีประตู หน้าต่างตรงไหนบ้าง ถนนตรงนี้ต้องระวังอะไร ฯ)  การรู้ปืน ( เช่น รู้ว่าปืนกระบอกนี้มีแรงถีบไปทางด้านไหน สามารถปรับแต่งยังไงได้บ้าง ใช้กระสุนอะไร ความเสียหายเท่าไหร่ ยิงหัวกี่นัดตาย ได้เปรียบในระยะไหน ฯ) เป็นต้น ซึ่งหากมองในช่วงแรก อาจจะรู้สึกว่า Game Knowledge เป็นข้อมูลดิบๆ ที่มีจำนวนเยอะมาก จะจำยังไงไหว แต่หากประสบการณ์ของคุณมากพอ คุณจะสามารถจดจำข้อมูลเหล่านี้ได้เองโดยอัตโนมัติ และด้วยความชำนาญ คุณจะสามารถดึงข้อมูลเหล่านี้ออกมาจากสมองเพื่อใช้งานได้ไวมากภาพแนะนำวิธีการยิงและวัดระยะด้วยลำกล้องปืนระยะไกล จาก WackyJacky101 เจ้าพ่อข้อมูลแห่งเกม PUBG        เท่านี้ ทุกคนก็น่าจะเห็นแล้วนะครับ ว่าการขยันหมั่นเพียร คอยเฝ้าฝึกตน มันจะสร้างผลดีให้เรายังไง ทำให้เราแข็งแกร่งขึ้นได้ยังไง การเอาตัวเองไปเข้าห้องแห่งกาลเวลามันทำให้เราเก่งขึ้นได้จริงๆ แต่หากมองย้อนกลับไปยังวาทกรรมของเรา ที่อ้างว่า “เล่นบ่อยๆ จะเก่งเอง” พอมาถึงตรงนี้ ก็คงต้องยอมรับแล้วหล่ะครับว่า “จริง” แต่มันก็ "ไม่ได้จริงทั้งหมด"        การฝึกฝนเล่นบ่อยๆ มันทำให้เราเก่งขึ้นจริง แต่มันก็ “ไม่ได้จริงทั้งหมด” ครับจากความคิดเห็นของผม เพราะการขยันเล่นเพียงอย่างเดียว มันทำให้คุณเก่งขึ้นจริง แต่มันก็แค่ ในช่วงแรกเท่านั้น ในช่วงที่คุณเล่นเกมเกมนั้นไม่เป็นเลยในตอนแรก และค่อยๆ เริ่มฝึกฝน เล่นไปเรื่อยๆ คุณจะเห็นพัฒนาการที่ดีขึ้นของตัวเองอย่างก้าวกระโดด        แต่เมื่อเล่นไปเรื่อยๆ จนอยู่ในจุดที่เรียกตัวเองได้ว่า “เล่นเป็น” การฝึกซ้อมและขยันเล่นเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ได้ทำให้คุณเก่งขึ้นแล้วอีกต่อไป ถ้าหากผู้เล่นรอบตัวคุณไม่ว่าจะเป็นเพื่อนหรือศัตรู บังเอิญอยู่ในระดับใกล้เคียงกับคุณ คุณก็จะเริ่มสังเกตเห็นแล้วว่า ระดับของตัวเองแทบจะไม่ได้พัฒนาขึ้นเลย ทุกคนอยู่ในระนาบเดียวกัน (ใครสงสัยว่าเป็นเพราะอะไร ให้ไปศึกษาเรื่อง เส้นแห่งการเรียนรู้ (Learning Curve) ถ้าอธิบายเดี๋ยวจะยาวเกิน) หลังจากนี้การฝึกซ้อม จะเป็นแค่การคอยประคับประคองให้สมองและกล้ามเนื้อของเรายังคงจำจดสิ่งเหล่านี้ต่อไป ไม่ให้ลืมเลือนหายไป หรือเรียกง่ายๆ ก็คือ เล่นไปเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้อ่อนลง เล่นไปเรื่อยๆ เพื่อยังคงฟอร์มการเล่นไว้        แล้วถ้าหากเราต้องการที่จะพัฒนาตัวเองต่อไปหล่ะ ถ้าหากเราต้องการที่จะโดดขึ้นมาจากระนาบที่น้อยคนจะหลุดพ้นออกมาหละ เราจะต้องทำยังไง ผมจะมาแถลงไขให้ทุกคนที่อยากจะพัฒนาตัวเองขึ้นไปเรื่อยๆ ได้ทราบกันครับ แต่บอกได้เลยว่าไม่ใช่แค่การฝึกซ้อมแน่นอนคำตอบจริงๆ ของ "ความเก่ง" คืออะไร        เมื่อการพยายามฝึกซ้อมอย่างเดียวไม่ใช่ทางออกในการพัฒนาตัวเองของเราแล้ว  เราจะทำอย่างไรหล่ะ คำตอบที่ผมจะมานำเสนอต่อจากนี้ เป็นเพียงความเห็นของผมบวกกับการ Research มาจากแนวคิดของผู้เล่นมืออาชีพหลายเกมทั่วโลก  ตกตะกอนออกมาเป็น 3 ข้อ หลักๆ ดังนี้ครับ        1.“การศึกษา” ผมไม่ได้หมายถึงว่าให้ทุกคนไปโรงเรียนนะครับ (ฮ่าๆ ) แต่ “การศึกษา” ของผมในที่นี้ หมายถึงการพยายามพัฒนาตัวเองจากองค์ความรู้ต่างๆ มากกว่าแค่การพยายามฝึกฝนทางด้านร่างกายเพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็น การศึกษาตัวเอง ให้รู้ว่าเราเด่นอะไรและด้อยอะไร (เพื่อให้รู้ว่าควรจะปรับปรุงตัวเองต่อไปอย่างไร หรือจะหาจุดเด่นอะไรมาปิดจุดด้อยนี้ เช่น เรารู้ว่าเรายิงไม่แม่น แต่เราอ่านเกมดี เราก็ต้องเลือกที่จะใช้ชั้นเชิงสู้กับศัตรูแทนที่จะยิงวัดกันหน้าต่อหน้า เป็นต้น) การศึกษาให้รู้ว่าคนที่เก่งกว่าเราเค้าเล่นกันยังไง ให้รู้ว่าคนเก่งๆ เค้ามีเทคนิคอย่างไรบ้าง ถ้าหากเค้าเจอสถานการณ์แบบนี้เค้ารับมือยังไง เพื่อการนำไปปรับใช้กับสไตล์การเล่นของตัวเราเองนั่นเอง (การดูการแข่งขันระดับสูงอยู่เสมอ ถือว่าเป็นตัวช่วยพัฒนาชุดความคิดและความสร้างสรรค์ ในการเล่นของเรามากทีเดียว เพราะเมื่อเราต้องเผชิญกับสถานการณ์แบบนั้นกับตัว  เราจะมีแม่แบบในการตัดสินใจ ว่าถ้าทำแบบทีม A ผลจะออกมาเป็นอย่างไร หรือเคยดูทีมB เล่นแบบนี้แล้วมันเหนือชั้นมาก เราขอลอกมาเลยแล้วกัน เป็นต้น) และสุดท้าย ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของเกมเกมนั้นอยู่เสมอ ทุกเกมที่เน้นการแข่งขัน มักจะมีการปรับ Patch เพื่อ Balance เกมของตัวเองเสมอ และเมื่อมีการ Patch ก็มักจะมีสิ่งที่เก่งขึ้น/ดีขึ้น และสิ่งที่อ่อนลง/แย่ลง ควบคู่กัน ฉะนั้น เราก็ต้องพยายามตาม Patch ตามกระแสของเกมให้ทัน (เรียกง่ายๆ ก็คือตาม Meta ให้ทัน หรือถ้าคุณศึกษา Balance ของเกมได้ลึกซึ้งพอ คุณอาจจะไม่ต้อง “ตาม Meta” แล้ว แต่เปลี่ยนมาเป็น “นำ Meta” แทน)Beryl M762 ปืน Meta ที่นิยมใช้กันทั่วโลก โดยกำลังจะถูกปรับให้อ่อนลงใน Patch หน้า         2.“การปรับตัว” (Adaptation)  สำหรับเกมอย่าง PUBG  ที่แต่ในละแมตช์แทบจะไม่ซ้ำกันเลย  การปรับตัวและการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ต่างๆ ที่มีให้เกิดประโยชน์ ถือเป็นสิ่งสำคัญมากๆ  เราฝึกซ้อมมาแบบไหน เรียนรู้มาอย่างไร พอถึงหน้างานจริงๆ มันไม่ได้เป็นอย่างที่ซ้อมมาก็ต้องปรับตัวให้ได้ ผู้เล่นเก่งๆ ที่มีความสามารถ มีทักษะเพียบพร้อม แต่พอถึงสถานการณ์จริง ทุกอย่างมันไม่เหมือนกับที่เคยเล่นมา และสุดท้ายปรับตัวไม่ได้ ในที่สุดก็จะกลายเป็นผู้แพ้ ฉะนั้น เราต้องหัดยืดหยุ่น กล้าที่จะปรับเปลี่ยน กล้าที่จะรับอะไรใหม่ๆ  โอกาสดีๆ ที่รออยู่ มีพร้อมสำหรับคนที่กล้าเสี่ยงเท่านั้น ฉะนั้น ถ้าอยากจะพัฒนา อยากจะเก่ง ต้องไม่กลัวที่จะต้องปรับตัวหรือปรับเปลี่ยน อย่ากลัวที่จะก้าวออกมาจากสิ่งเดิมๆ ที่เราคุ้นเคย เช่น  ปืนใหม่ๆ ที่ไม่เคยยิง กลัวว่าจะควบคุมไม่ได้ ก็ต้องกล้าที่จะหยิบมายิง กล้าที่จะลองควบคุม หรือ  เส้นทางการเคลื่นที่เข้าวงใหม่ๆ แบบที่ไม่เคยเล่นมาก่อน แต่สถานกาณ์มันมาแบบนี้ ก็ต้องกล้าที่จะไป  หรือว่าเคยเล่นแบบนี้แล้วพลาด เราก็ต้องกล้าที่จะปรับเปลี่ยนแนวทางการเล่น อย่ากลัวที่จะพลาดอีก  ในครั้งถัดๆไป “Eaddy” ผู้เล่นตำแหน่ง In Game Leader (IGL คือตำแหน่งกัปตันทีม ที่จะต้องคอยสั่งการเพื่อนร่วมทีม ไม่ว่าจะเป็นแผนการเล่น กลยุทธ์ จังหวะเมื่อต้องเข้าปะทะกับทีมตรงข้าม หรือหากเจอกับปัญหาเฉพาะหน้า IGL จะเป็นคนที่มีสิทธิ์มีเสียงในการตัดสินใจสูงกว่าผู้เล่นคนคนอื่นในทีม) ของ Buriram United Esports (PUBG) เคยให้สัมภาษณ์ไว้หลังจากคว้าแชมป์ระดับภูมิภาคในรายการ PCS3:Asia Pacific ไว้ว่า “ Timing ในเกมก็คือ Timing ในเกม… ถ้าเราพลาดไปเกมนึงแล้ว ต่อให้เราจำไว้ก็เถอะ น้อยครั้งมากที่เราจะได้กลับไปเล่นแบบเดิม มันต้องเน้นเล่นหน้างานอยู่แล้ว .... ” สิ่งที่ผู้เล่นไทยที่ก้าวไปสู่เวทีระดับโลกแล้วอย่าง Eaddy จะสื่อความหมายก็คือ การเล่นในเกมเกมไหน จบแล้วก็จบไป พลาดแล้วก็พลาดไป จดจำไว้ แล้วจงกล้าที่จะปรับปรุงและปรับตัวต่อๆ ไป ในเกมถัดๆ ไปทีม Buriram United Esports (PUBG) ที่กำลังแข่งขันในรายการ PGI-S 2021 (Eaddy หรือ “ภู” คือหนุ่มน้อยที่อยู่ด้านขวาบน)         3.“ชุดความคิด” (Mindset) สำหรับการจะก้าวออกมาจากระนาบของเส้นแห่งการเรียนรู้ (Learning Curve) ก้าวออกมาเป็นผู้เล่นที่เก่งกว่าคนอื่นๆ Mindset นับเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ซึ่งแนวความคิดหรือชุดความคิดของคนเรามันละเอียดอ่อนและแตกต่างกันไปมากมาย การจะบอกให้แต่ละคนปรับเปลี่ยนนั้น คงเป็นไปไม่ได้ แต่มีแนวความคิดอยู่สองอย่างที่ผมคิดว่ามันเป็นชุดความคิดที่ดี ที่จะทำให้เราพัฒนาตัวเองต่อไปได้  นั่นคือ 1. อย่าทำให้ตัวเองให้เป็นน้ำเต็มแก้ว อย่าคิดว่าตัวเองเก่งที่สุด อย่าคิดว่าตัวเองเหนือที่สุด ดังสุภาษิตครับ “เหนือฟ้า ยังมีฟ้า” เพราะฉะนั้นอย่าหยุดพัฒนาเด็ดขาด และ 2. อย่าคิดว่าทุกอย่างเป็นเรื่องยาก Mindset นี้เหมาะกับผู้เล่นหน้าใหม่มากๆ เกมที่มีการแข่งขันกันทุกเกม มักจะมีสิ่งที่เรียกว่า ”กำแพงมือใหม่” มันคืออุปสรรคบางอย่างที่ทำให้ผู้เล่นหน้าใหม่ที่ไม่สามารถปรับตัว อาจจะเลิกเล่นเกมเกมนั้นไป ไม่ว่าจะเป็น ปืนที่มีแรงถีบ นรกเหลือเกิน  ผู้เล่นศัตรูที่เก่งอย่างกับปีศาจ ดูต่างชั้นกับเราหลายขุม  หรือข้อมูลในเกมที่เข้าใจยากเหลือเกิน เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวคัดเหล่า “หน้าใหม่” ว่าใครพร้อมสำหรับสังเวียนนี้บ้าง ดังนั้น Mindset ที่ว่า “อย่ามองทุกอย่างว่าเป็นเรื่องยาก” จึงสำคัญมาก จงมองว่าอุปสรรคข้างหน้า เราจะผ่านมันไปได้  ให้คิดซะว่าผู้เล่นศัตรูที่เราเผชิญอยู่ ถึงมันจะเก่ง แต่มันก็คนเหมือนกับเรา มันจะเก่งกว่าเราแค่ไหนกันเชียว (1ต่อ1 ไม่ไหว ก็เอาเพื่อนไปรุม ฮ่า ๆ) แรงถีบปืนที่ว่าโหดๆ คนอื่นยังควบคุมได้ ทำไมเราจะทำไม่ได้  “Simple” Ace ประจำทีม NaVi (CS:GO) ผู้ครองตำแหน่ง ผู้เล่นอันดับ 1 ของโลกในปี 2018 และอันดับ 2 ของโลก สองปีซ้อนในปี 2019-2020 เคยตอบคำถามจากแฟนคลับที่ถามเขาว่า “ทำยังไงถึงจะยิงแม่นแบบคุณ” Simple ตอบกลับไปสั้นๆ ง่ายๆ ดังชื่อของเจ้าตัว ว่า “Just aim at head” หรือ “แค่เล็งที่หัว” ฟังดูเผิน ๆ อาจจะคิดว่าคำตอบของยอดผู้เล่นคนนี้ เป็นคำตอบเกรียนๆ ที่หยอกเย้าแฟนคลับเล่นๆ ตามอุปนิสัยของเจ้าตัว แต่จริงๆ แล้ว คำตอบนี้มันสื่อได้ถึงแนวคิดที่มองว่าทุกสิ่งไม่ใช่เรื่องยาก ตัวเขามองว่าการจะยิงให้แม่นยำ ก็แค่พยายามเล็งที่หัว ก็แค่นั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีวิธีอะไรมากมาย แต่ถ้าใครอ่านบทความนี้แล้วสงสัย อยากรู้ว่าถ้าทำตามที่ผู้เล่นระดับโลกคนนี้บอก  จะยิงแม่นจริงหรือเปล่า ก็ให้ลองไปทำตามดูครับ วิธีก็ง่ายๆ เลยครับ “แค่เล็งที่หัว” (ฮา)Simple กับถ้วยรางวัลชนะเลิศและ MVP ของเขา จากรายการ StarSeries i-League Season ที่ 5        จบไปแล้วนะครับ กับบทความที่พยายามจะตีแผ่ “วาทกรรม” รวมถึงพูดถึง “ความเก่ง” และการพัฒนาฝีมือการเล่นเกมของเรา ใครที่อ่านจนจบอาจจะคิดว่านี่มันจริงจังเกมมิ่งเกินไปรึเปล่า จริงๆ แล้วก็ใช่ครับ นี่มันคือการเล่นเกมเพื่อการแข่งขัน เพื่อการเอาชนะ เพราะฉะนั้นเนื้อหาในบทความนี้ มันจึงดูเข้มข้นและจริงจังเอามากๆ ฉะนั้นเกมเมอร์ที่ไม่ใช่สายนี้ ก็ขอแค่ให้อ่านเอาสนุก เอาความบันเทิง หรือหากสามารถนำเอาเกร็ดความรู้เล็กน้อยๆ หรือแนวคิดต่างๆ ที่ผมตั้งใจจะนำเสนอไปปรับใช้ได้ ก็จะเป็นเกียรติมากๆ  ใครมีความคิดเห็นอย่างไรสามารถพูดคุย แสดงความคิดเห็นกันไว้ได้ ขอบคุณที่อ่านจนจบครับ ;)
30 Mar 2021