GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
ผลการค้นหา : "พนมเทียน"
Hero’s Journey : ‘ตัวเอก’ ของชิ้นงานสร้างสรรค์ที่ดี ที่เราอยากเชียร์
เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวที่ค่อนข้างชวนช็อคในแวดวงนักอ่านและนักเขียนพอสมควร เมื่อ คุณฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ หรือที่รู้จักกันในนามปากกา พนมเทียน’ เจ้าของผลงานนิยายผจญภัยอมตะของไทยอย่าง ‘เพชรพระอุมา’ และศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ปี 2540 ได้ถึงแก่กรรมในวัย 89 ปีด้วยโรคหัวใจ ถือได้ว่าเป็นความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงแก่แวดวงอย่างที่ไม่อาจประเมินค่าได้ [caption id="attachment_51861" align="aligncenter" width="1024"] คุณฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ หรือ ครูพนมเทียน เจ้าของผลงานนวนิยาย เพชรพระอุมา ผู้ล่วงลับ[/caption] สำหรับผู้เขียน เพชรพระอุมา จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในผลงานที่ช่วย Shape เส้นทางงานตัวอักษรอยู่ไม่น้อย เพราะได้พาตัวเองไปร่วมท่องป่าล่องไพรไปกับจอมพรานอย่างรพินทร์ ไพรวัลย์และคณะ ก่อนที่จะเริ่มจับปากกาเขียนเรื่องราวของตัวเองอย่างจริงจัง แน่นอนว่าในความสมบูรณ์แบบของนวนิยายเรื่องนี้ตลอดทั้ง 48 เล่ม มันมีรูปแบบการดำเนินเนื้อหาในทฤษฎีหนึ่งอันเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในทางวรรณกรรมวิจารณ์อย่าง ‘ทฤษฎีการเดินทางของวีรบุรุษ’ หรือ ‘Hero’s Journey’ ที่ถูกนำมาศึกษา และปรับใช้ในการบอกเล่าเรื่องราวผ่านสื่อแขนงต่างๆ และแน่นอน รวมถึงชิ้นงานอย่างวิดีโอเกมก็ไม่มีข้อยกเว้นด้วยเช่นกัน ทฤษฎีการเดินทางของวีรบุรุษนั้น ถ้ากล่าวโดยสั้นๆ มันคือการศึกษารูปแบบและลักษณะของเรื่องราวปรัมปรา ว่าแม้จะมีรายละเอียดปลีกย่อยบางส่วนที่แตกต่างกัน แต่ก็มีจุดร่วมและโครงสร้างบางอย่างที่เหมือนกันที่สามารถจัดจำแนกเป็นหมวดหมู่ได้อย่างสรุปเป็นหัวข้อได้ทั้งหมด 8 หลักใหญ่ร่วมกัน (หรือซอยย่อยออกเป็น 17 หัวข้อหลัก) ตามแผนภาพที่นำเสนอด้านล่างนี้ การศึกษาทฤษฎีการเดินทางของวีรบุรุษนั้น เริ่มต้นขึ้นในปี 1871 โดย เอดเวิร์ด เบอร์เนตต์ ไทเลอร์ ที่ทำการสังเกตว่า เรื่องราวและตำนานต่างๆ ของโลกนั้น มีจุดร่วมกันบางอย่างที่มีแบบแผนและรูปแบบที่ตายตัว ก่อนที่นักวิชาการท่านอื่นๆ จะนำเอาทฤษฎีทางจิตวิเคราะห์ของทั้ง ซิกมันด์ ฟรอยด์ และคาร์ล ยุง เข้ามาใช้ร่วมกัน แต่คนที่นำเอาทฤษฎีการเดินทางของวีรบุรุษมาใช้อย่างจริงจังนั้น กลับเป็น โจเซฟ แคมป์เบิล ที่นำเอาแนวคิดดังกล่าวมาใช้อย่างจริงจังในหนังสือ ‘วีรบุรุษพันหน้า (The Hero with a Thousand Faces) และสรุปเป็นหลักใหญ่ใจความสำคัญได้ดังต่อไปนี้ วีรบุรุษออกจากโลกธรรมดาไปสู่ดินแดนที่มีสิ่งเหนือธรรมชาติ ที่นี้เขาจะได้พบกับสิ่งชักจูงที่ยิ่งใหญ่ต่าง ๆ และจะได้รับชัยชนะ จากนั้นเขาจะกลับมาจากการผจญภัยอันลึกลับนี้พร้อมกับพลังที่สามารถช่วยผู้ชายคนอื่นได้ แน่นอนว่าทฤษฎีดังกล่าวนี้ แม้จะมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็ไม่พ้นข้อครหาและเสียงวิพากษ์ว่า มันเป็นแนวคิดที่กว้างเกินกว่าที่จะใช้ประโยชน์ได้ในหลักการศึกษาปรัมปราวิทยาเปรียบเทียบ แต่เราคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า มันเป็นเสาหลักหรือ Foundation ที่ดีเพียงพอสำหรับการบอกเล่าเรื่องราวในสื่อชนิดต่างๆ ตั้งแต่ตำนานการเดินทางของพระพุทธเจ้า เรื่องราวของพระเยซูคริสต์ บัญญัติสิบประการของโมเสส การเดินทางไปทำลายแหวนหนึ่งเดียวของโฟรโด้ใน The Lord of the Rings และรวมถึงการเขียนเรื่องราวในสื่อแขนงใหม่อย่างเช่นภาพยนตร์ และวิดีโอเกม สำหรับสื่อวิดีโอเกมที่เติบโตและต่อยอดมาอย่างยาวนานจนกลายเป็นอีกหนึ่งสื่อบันเทิงแขนงหลักในรอบสี่ทศวรรษนั้น การพัฒนาการบอกเล่าเนื้อหาก็เป็นส่วนสำคัญที่ถูกให้ความใส่ใจ และการใช้ทฤษฎีการเดินทางของวีรบุรุษนั้น ก็เป็นอุปกรณ์สำคัญในการสร้างความลื่นไหลในจังหวะการเล่น เพราะไม่ว่าจะเป็นการตามหาเจ้าหญิงพีชใน Super Mario Brothers, การผจญภัยข้ามยุคของภาคีมือสังหารในซีรีส์ Assassin’s Creed, การลุยฝ่าขุมนรกของ Doom Slayer ใน Doom Eternal, การผจญภัยของ Cloud Strife และผองเพื่อนใน Final Fantasy 7 Remake ไปจนถึงการเดินทางกอบกู้โลกหลังหายนะของ Aloy ใน Horizon Zero Dawn แต่สื่อวิดีโอเกมนั้นมีความพิเศษบางอย่างที่ทำให้ผู้สร้างต้องมีความใส่ใจกับการใช้งานทฤษฎีของวีรบุรุษที่มากกว่าสื่อบันเทิงชนิดอื่นๆ กล่าวคือ มันเป็นสื่อที่ ‘มีการตอบสนอง’ และ ‘ปฏิสัมพันธ์’ กับผู้เสพรับอย่างตรงไปตรงมา มันคือการนำพาผู้เล่นไปสวมรับกับบทบาทและควบคุมทุกสิ่งที่เป็นไปผ่านหน้าจอในตลอดระยะเวลาหลักสิบจนถึงหลักร้อยชั่วโมง แน่นอนว่านี่ไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อเทียบกับสื่อที่มีธรรมชาติในการปฏิสัมพันธ์กับผู้เสพรับในทางเดียวอย่างเช่นภาพยนตร์ เพราะหน้าที่หลักของผู้สร้าง ไม่เพียงแต่จะต้องรังสรรค์โลกพื้นหลังของเกมให้มีความน่าเชื่อถือเป็น Context สำคัญ (ดังเช่นบทความชิ้นก่อนหน้านั้นที่ผู้เขียนได้ยกอ้างกล่าวถึงไปแล้ว) หากแต่ลำดับเรื่องราวและการเดินทางของตัวละครเอง ก็ต้องสมเหตุสมผลภายใต้ขอบเขตและเงื่อนไขที่กำหนด ไม่นับรวมกับ Content ที่จะต้องให้ความสนุกอย่างเพียงพอ ที่จะทำให้ผู้เล่นนั้นมีส่วนร่วม และเชื่ออย่างสนิทใจว่า ตัวละครที่เขาจะได้ใช้เวลาร่วมกันนั้น เป็นเวลาคุณภาพที่คุ้มค่ามากพอจนกว่าจะถึงปลายทาง อนึ่ง การใช้ทฤษฎีการเดินทางของวีรบุรุษในชิ้นงานวิดีโอเกม แม้จะเป็นเสาหลักสำคัญที่ผู้สร้างใช้ยึดโยงเอาไว้เป็นแก่นสำคัญ แต่ด้วยธรรมชาติของสื่อชนิดนี้เองนั้น เปิดทางให้กับการดัดแปลงและตีความได้อย่างหลากหลายสำหรับการบอกเล่าเนื้อหาและการใช้ทฤษฎีดังกล่าว เพราะมัน ‘อาจจะ’ ไม่จำเป็นว่าจะต้องจบลงด้วยความผาสุกแบบ Happy Ending เสมอไป การเรียนรู้และเหตุการณ์ของตัวละครอาจจะนำมาซึ่งความเจ็บปวด การแตกสลาย และการ ‘กลายสภาพ’ ไปสู่ตัวตนใหม่ (ซึ่งก็ตรงกับหลักข้อสุดท้ายของทฤษฎี…) ดังเช่นผลงานเกมเดินหน้ายิงอย่าง Spec Ops: The Line ได้เลือกใช้ (เป็นหนึ่งในผลงานเกมเดินหน้ายิงที่แม้จะไม่โด่งดังมากนัก แต่ก็มีเนื้อหาที่ยอดเยี่ยมที่ผู้เขียนขอแนะนำ…) และในทางหนึ่ง ในอนาคตข้างหน้า มันกำลังจะมีผลงานที่ท้าทายทฤษฎีการเดินทางของวีรบุรุษอย่าง Watch Dogs : Legion ที่ผู้เล่นจะได้สวมบทบาทตัวละครที่ ‘หลากหลาย’ ทั้งพื้นหลัง ความเป็นมา และคุณสมบัติ มันก็น่าลุ้นอยู่ไม่น้อย ว่าทีมสร้างจะสามารถผูกเรื่องราวและใช้ทฤษฎีดังกล่าวอย่างไร ภายใต้สภาพแวดล้อมเปิด และการมีจุดร่วมอย่างกว้างๆ ไม่เจาะจงตายตัว ถือได้ว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งยวดสำหรับผลงานชิ้นนี้ (ที่เราอาจจะต้องรอนานกว่าที่คิด จากแผนการเลื่อนการวางจำหน่ายเกมของ Ubisoft ที่ถูกผลักออกไปอย่างไม่มีกำหนด…) แต่ในท้ายที่สุดนี้ หากมองในโครงสร้างของทฤษฏีการเดินทางของวีรบุรุษที่ถูกใช้งานมาในตลอดระยะเวลาหลายสิบปีนั้น มันก็สะท้อนถึงความต้องการบางอย่างที่อยู่ในส่วนลึกของจิตใจมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ในความปรารถนาที่จะเป็น ‘ใครสักคน’ ที่มีความสำคัญ ออกเดินทางในการผจญภัยอันไม่ธรรมดา และกลับมาพร้อมชัยชนะอันยิ่งใหญ่ และสื่อวิดีโอเกม ก็ยิ่งตอกย้ำแนวคิดหลักนี้ให้เด่นชัดมากขึ้นโดยธรรมชาติของการปฏิสัมพันธ์และการตอบสนองของผู้เล่นที่มีต่อชิ้นงาน ที่สามารถควบคุม กระทำ และกำหนดทิศทางได้ด้วยตนเอง เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น มันอาจจะเป็นวงจรอันน่าเบื่อหน่ายของการใช้ชีวิตตามกำหนดและรูปแบบที่คุ้นเคยและชินชา โดยเฉพาะกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ที่วิกฤติโรคร้าย COVID-19 ทำให้ทุกอย่างถูกแช่แข็งและหยุดนิ่งไปโดยไม่รู้ว่าปลายทางจะไปจบลงที่ใด และเปลี่ยนโฉมหน้าของการเล่นเกมไปในทิศทางที่ไม่เคยมีมาก่อน… และการได้สวมบทบาทเป็นใครสักคน ไม่ว่าจะในรอยเท้าของรพินทร์ ไพรวัลย์กับคณะแห่งเพชรพระอุมา หรือวีรกรรมของ Big Boss (Punished Snake) ในซีรีส์ Metal Gear Solid ก็ตอบรับกับเสียงเรียกที่อยู่ภายในใจของเรา ที่ถูกปลูกฝังผ่านสื่อ เรื่องราว การบอกเล่า มาอย่างยาวนานตลอดช่วงระยะเวลาการเติบโตมาเป็นตัวตนในทุกวันนี้ และ ตัวเอกที่ดี ที่เรามีใจอยากเชียร์ ก็ถูกสะท้อนผ่านแนวคิดของทฤษฎีดังกล่าว ไม่ว่าจะทางใดทางหนึ่ง เสมอมา... ติดตามข่าวสารเกมต่างๆ ได้ที่
27 Apr 2020
GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
ผลการค้นหา : "พนมเทียน"
Hero’s Journey : ‘ตัวเอก’ ของชิ้นงานสร้างสรรค์ที่ดี ที่เราอยากเชียร์
เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวที่ค่อนข้างชวนช็อคในแวดวงนักอ่านและนักเขียนพอสมควร เมื่อ คุณฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ หรือที่รู้จักกันในนามปากกา พนมเทียน’ เจ้าของผลงานนิยายผจญภัยอมตะของไทยอย่าง ‘เพชรพระอุมา’ และศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ปี 2540 ได้ถึงแก่กรรมในวัย 89 ปีด้วยโรคหัวใจ ถือได้ว่าเป็นความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงแก่แวดวงอย่างที่ไม่อาจประเมินค่าได้ [caption id="attachment_51861" align="aligncenter" width="1024"] คุณฉัตรชัย วิเศษสุวรรณภูมิ หรือ ครูพนมเทียน เจ้าของผลงานนวนิยาย เพชรพระอุมา ผู้ล่วงลับ[/caption] สำหรับผู้เขียน เพชรพระอุมา จัดได้ว่าเป็นหนึ่งในผลงานที่ช่วย Shape เส้นทางงานตัวอักษรอยู่ไม่น้อย เพราะได้พาตัวเองไปร่วมท่องป่าล่องไพรไปกับจอมพรานอย่างรพินทร์ ไพรวัลย์และคณะ ก่อนที่จะเริ่มจับปากกาเขียนเรื่องราวของตัวเองอย่างจริงจัง แน่นอนว่าในความสมบูรณ์แบบของนวนิยายเรื่องนี้ตลอดทั้ง 48 เล่ม มันมีรูปแบบการดำเนินเนื้อหาในทฤษฎีหนึ่งอันเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในทางวรรณกรรมวิจารณ์อย่าง ‘ทฤษฎีการเดินทางของวีรบุรุษ’ หรือ ‘Hero’s Journey’ ที่ถูกนำมาศึกษา และปรับใช้ในการบอกเล่าเรื่องราวผ่านสื่อแขนงต่างๆ และแน่นอน รวมถึงชิ้นงานอย่างวิดีโอเกมก็ไม่มีข้อยกเว้นด้วยเช่นกัน ทฤษฎีการเดินทางของวีรบุรุษนั้น ถ้ากล่าวโดยสั้นๆ มันคือการศึกษารูปแบบและลักษณะของเรื่องราวปรัมปรา ว่าแม้จะมีรายละเอียดปลีกย่อยบางส่วนที่แตกต่างกัน แต่ก็มีจุดร่วมและโครงสร้างบางอย่างที่เหมือนกันที่สามารถจัดจำแนกเป็นหมวดหมู่ได้อย่างสรุปเป็นหัวข้อได้ทั้งหมด 8 หลักใหญ่ร่วมกัน (หรือซอยย่อยออกเป็น 17 หัวข้อหลัก) ตามแผนภาพที่นำเสนอด้านล่างนี้ การศึกษาทฤษฎีการเดินทางของวีรบุรุษนั้น เริ่มต้นขึ้นในปี 1871 โดย เอดเวิร์ด เบอร์เนตต์ ไทเลอร์ ที่ทำการสังเกตว่า เรื่องราวและตำนานต่างๆ ของโลกนั้น มีจุดร่วมกันบางอย่างที่มีแบบแผนและรูปแบบที่ตายตัว ก่อนที่นักวิชาการท่านอื่นๆ จะนำเอาทฤษฎีทางจิตวิเคราะห์ของทั้ง ซิกมันด์ ฟรอยด์ และคาร์ล ยุง เข้ามาใช้ร่วมกัน แต่คนที่นำเอาทฤษฎีการเดินทางของวีรบุรุษมาใช้อย่างจริงจังนั้น กลับเป็น โจเซฟ แคมป์เบิล ที่นำเอาแนวคิดดังกล่าวมาใช้อย่างจริงจังในหนังสือ ‘วีรบุรุษพันหน้า (The Hero with a Thousand Faces) และสรุปเป็นหลักใหญ่ใจความสำคัญได้ดังต่อไปนี้ วีรบุรุษออกจากโลกธรรมดาไปสู่ดินแดนที่มีสิ่งเหนือธรรมชาติ ที่นี้เขาจะได้พบกับสิ่งชักจูงที่ยิ่งใหญ่ต่าง ๆ และจะได้รับชัยชนะ จากนั้นเขาจะกลับมาจากการผจญภัยอันลึกลับนี้พร้อมกับพลังที่สามารถช่วยผู้ชายคนอื่นได้ แน่นอนว่าทฤษฎีดังกล่าวนี้ แม้จะมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย แต่ก็ไม่พ้นข้อครหาและเสียงวิพากษ์ว่า มันเป็นแนวคิดที่กว้างเกินกว่าที่จะใช้ประโยชน์ได้ในหลักการศึกษาปรัมปราวิทยาเปรียบเทียบ แต่เราคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า มันเป็นเสาหลักหรือ Foundation ที่ดีเพียงพอสำหรับการบอกเล่าเรื่องราวในสื่อชนิดต่างๆ ตั้งแต่ตำนานการเดินทางของพระพุทธเจ้า เรื่องราวของพระเยซูคริสต์ บัญญัติสิบประการของโมเสส การเดินทางไปทำลายแหวนหนึ่งเดียวของโฟรโด้ใน The Lord of the Rings และรวมถึงการเขียนเรื่องราวในสื่อแขนงใหม่อย่างเช่นภาพยนตร์ และวิดีโอเกม สำหรับสื่อวิดีโอเกมที่เติบโตและต่อยอดมาอย่างยาวนานจนกลายเป็นอีกหนึ่งสื่อบันเทิงแขนงหลักในรอบสี่ทศวรรษนั้น การพัฒนาการบอกเล่าเนื้อหาก็เป็นส่วนสำคัญที่ถูกให้ความใส่ใจ และการใช้ทฤษฎีการเดินทางของวีรบุรุษนั้น ก็เป็นอุปกรณ์สำคัญในการสร้างความลื่นไหลในจังหวะการเล่น เพราะไม่ว่าจะเป็นการตามหาเจ้าหญิงพีชใน Super Mario Brothers, การผจญภัยข้ามยุคของภาคีมือสังหารในซีรีส์ Assassin’s Creed, การลุยฝ่าขุมนรกของ Doom Slayer ใน Doom Eternal, การผจญภัยของ Cloud Strife และผองเพื่อนใน Final Fantasy 7 Remake ไปจนถึงการเดินทางกอบกู้โลกหลังหายนะของ Aloy ใน Horizon Zero Dawn แต่สื่อวิดีโอเกมนั้นมีความพิเศษบางอย่างที่ทำให้ผู้สร้างต้องมีความใส่ใจกับการใช้งานทฤษฎีของวีรบุรุษที่มากกว่าสื่อบันเทิงชนิดอื่นๆ กล่าวคือ มันเป็นสื่อที่ ‘มีการตอบสนอง’ และ ‘ปฏิสัมพันธ์’ กับผู้เสพรับอย่างตรงไปตรงมา มันคือการนำพาผู้เล่นไปสวมรับกับบทบาทและควบคุมทุกสิ่งที่เป็นไปผ่านหน้าจอในตลอดระยะเวลาหลักสิบจนถึงหลักร้อยชั่วโมง แน่นอนว่านี่ไม่ใช่เรื่องง่าย เมื่อเทียบกับสื่อที่มีธรรมชาติในการปฏิสัมพันธ์กับผู้เสพรับในทางเดียวอย่างเช่นภาพยนตร์ เพราะหน้าที่หลักของผู้สร้าง ไม่เพียงแต่จะต้องรังสรรค์โลกพื้นหลังของเกมให้มีความน่าเชื่อถือเป็น Context สำคัญ (ดังเช่นบทความชิ้นก่อนหน้านั้นที่ผู้เขียนได้ยกอ้างกล่าวถึงไปแล้ว) หากแต่ลำดับเรื่องราวและการเดินทางของตัวละครเอง ก็ต้องสมเหตุสมผลภายใต้ขอบเขตและเงื่อนไขที่กำหนด ไม่นับรวมกับ Content ที่จะต้องให้ความสนุกอย่างเพียงพอ ที่จะทำให้ผู้เล่นนั้นมีส่วนร่วม และเชื่ออย่างสนิทใจว่า ตัวละครที่เขาจะได้ใช้เวลาร่วมกันนั้น เป็นเวลาคุณภาพที่คุ้มค่ามากพอจนกว่าจะถึงปลายทาง อนึ่ง การใช้ทฤษฎีการเดินทางของวีรบุรุษในชิ้นงานวิดีโอเกม แม้จะเป็นเสาหลักสำคัญที่ผู้สร้างใช้ยึดโยงเอาไว้เป็นแก่นสำคัญ แต่ด้วยธรรมชาติของสื่อชนิดนี้เองนั้น เปิดทางให้กับการดัดแปลงและตีความได้อย่างหลากหลายสำหรับการบอกเล่าเนื้อหาและการใช้ทฤษฎีดังกล่าว เพราะมัน ‘อาจจะ’ ไม่จำเป็นว่าจะต้องจบลงด้วยความผาสุกแบบ Happy Ending เสมอไป การเรียนรู้และเหตุการณ์ของตัวละครอาจจะนำมาซึ่งความเจ็บปวด การแตกสลาย และการ ‘กลายสภาพ’ ไปสู่ตัวตนใหม่ (ซึ่งก็ตรงกับหลักข้อสุดท้ายของทฤษฎี…) ดังเช่นผลงานเกมเดินหน้ายิงอย่าง Spec Ops: The Line ได้เลือกใช้ (เป็นหนึ่งในผลงานเกมเดินหน้ายิงที่แม้จะไม่โด่งดังมากนัก แต่ก็มีเนื้อหาที่ยอดเยี่ยมที่ผู้เขียนขอแนะนำ…) และในทางหนึ่ง ในอนาคตข้างหน้า มันกำลังจะมีผลงานที่ท้าทายทฤษฎีการเดินทางของวีรบุรุษอย่าง Watch Dogs : Legion ที่ผู้เล่นจะได้สวมบทบาทตัวละครที่ ‘หลากหลาย’ ทั้งพื้นหลัง ความเป็นมา และคุณสมบัติ มันก็น่าลุ้นอยู่ไม่น้อย ว่าทีมสร้างจะสามารถผูกเรื่องราวและใช้ทฤษฎีดังกล่าวอย่างไร ภายใต้สภาพแวดล้อมเปิด และการมีจุดร่วมอย่างกว้างๆ ไม่เจาะจงตายตัว ถือได้ว่าเป็นความท้าทายอย่างยิ่งยวดสำหรับผลงานชิ้นนี้ (ที่เราอาจจะต้องรอนานกว่าที่คิด จากแผนการเลื่อนการวางจำหน่ายเกมของ Ubisoft ที่ถูกผลักออกไปอย่างไม่มีกำหนด…) แต่ในท้ายที่สุดนี้ หากมองในโครงสร้างของทฤษฏีการเดินทางของวีรบุรุษที่ถูกใช้งานมาในตลอดระยะเวลาหลายสิบปีนั้น มันก็สะท้อนถึงความต้องการบางอย่างที่อยู่ในส่วนลึกของจิตใจมนุษย์ได้เป็นอย่างดี ในความปรารถนาที่จะเป็น ‘ใครสักคน’ ที่มีความสำคัญ ออกเดินทางในการผจญภัยอันไม่ธรรมดา และกลับมาพร้อมชัยชนะอันยิ่งใหญ่ และสื่อวิดีโอเกม ก็ยิ่งตอกย้ำแนวคิดหลักนี้ให้เด่นชัดมากขึ้นโดยธรรมชาติของการปฏิสัมพันธ์และการตอบสนองของผู้เล่นที่มีต่อชิ้นงาน ที่สามารถควบคุม กระทำ และกำหนดทิศทางได้ด้วยตนเอง เพราะในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น มันอาจจะเป็นวงจรอันน่าเบื่อหน่ายของการใช้ชีวิตตามกำหนดและรูปแบบที่คุ้นเคยและชินชา โดยเฉพาะกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ที่วิกฤติโรคร้าย COVID-19 ทำให้ทุกอย่างถูกแช่แข็งและหยุดนิ่งไปโดยไม่รู้ว่าปลายทางจะไปจบลงที่ใด และเปลี่ยนโฉมหน้าของการเล่นเกมไปในทิศทางที่ไม่เคยมีมาก่อน… และการได้สวมบทบาทเป็นใครสักคน ไม่ว่าจะในรอยเท้าของรพินทร์ ไพรวัลย์กับคณะแห่งเพชรพระอุมา หรือวีรกรรมของ Big Boss (Punished Snake) ในซีรีส์ Metal Gear Solid ก็ตอบรับกับเสียงเรียกที่อยู่ภายในใจของเรา ที่ถูกปลูกฝังผ่านสื่อ เรื่องราว การบอกเล่า มาอย่างยาวนานตลอดช่วงระยะเวลาการเติบโตมาเป็นตัวตนในทุกวันนี้ และ ตัวเอกที่ดี ที่เรามีใจอยากเชียร์ ก็ถูกสะท้อนผ่านแนวคิดของทฤษฎีดังกล่าว ไม่ว่าจะทางใดทางหนึ่ง เสมอมา... ติดตามข่าวสารเกมต่างๆ ได้ที่
27 Apr 2020