GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
ผลการค้นหา : "ทำไมทุกวันนี้"
ส่องพัฒนาการของเกมมือถือ และหนทางสู่ตลาดเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
หากย้อนตัวเองไปสักสิบกว่าปีก่อน ช่วงต้นยุค 2000 การมีมือถือสักเครื่องสำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะเป็นอะไรที่เข้าถึงค่อนข้างยาก และสเปคของเครื่องในขณะนั้นก็ไม่ได้แรงอะไรนัก ยกตัวอย่าง Nokia N-gage (บอกอายุได้เลยทีเดียว) พกมานี่มีแต่คนรุมล้อมขอยืมเล่น แม้มันจะไม่ได้มีกราฟิกอะไรให้ชวนว้าวเลยตั้งแต่สมัยนั้น แต่มันก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมเปลี่ยนโลก ที่มีแสนแพงเอาเรื่องอยู่ไม่ใช่น้อยทีเดียว กลับมาในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีมือถือได้พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จนกลายเป็นว่าปัจจุบันโทรศัพท์มือถือแทบจะเป็นปัจจัยที่ห้าในการดำรงชีวิตไปแล้ว ซึ่งมนุษย์อย่างเราๆ อาจจะขาดไปไม่ได้ เพราะมันคือสิ่งที่รวมเกือบทุกอย่างย่อส่วนลงมาในนี้ เช่นเรื่องการอำนวยความสะดวกสะบาย ระบบ GPS ช่วยในการเดินทาง การสั่งซื้อของออนไลน์ หรือแม้กระทั่งการเล่นเกมบนมือถือก็แทบจะเล่นได้ทุกที่ทุกเวลาโดยไม่ต้องใช้มือถือราคาแพง เพียงไม่กี่พันบาทก็สามารถเข้าถึงเกมได้เกือบจะเท่าเทียมกับคนที่ใช้มือถือราคาหลักหมื่นได้แล้ว จนทำให้ตลาดเกมมือถือในปัจจุบันกลายเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในวงการเกมทั่วโลกไปแล้ว จากตลาดที่เคยถูกดูแคลนว่าเป็นเพียง "ของแถม" ในมือถือ สู่สถานะปัจจุบันในฐานะอุตสาหกรรมที่ใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก เรามาลองสำรวจองค์ประกอบหลัก ที่ขับเคลื่อน "เกมมือถือ" ให้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ================================================== ยุคปฎิวัติอุตสาหกรรมเกมมือถือช่วงบุกเบิก จำเรื่องราวของ Nokia N-gage ที่พูดไว้ในข้างต้นได้หรือเปล่า? ต้องขอบอกเลยว่าก่อนที่จะมีเกมมือถือที่เป็นเกมเนื้อเรื่องยาวๆ ส่วนใหญ่ก็มักเป็นเกมที่ดาวน์โหลด เสียค่าบริการหลายสิบบาท และส่วนใหญ่เป็นเกมแนว Puzzle หรือเกมขำๆ ใช้เวลาเล่นไม่นานนัก เนื่องจากมือถือยุคนั้นที่ยังเป็น Feature Phone แบบ 2G ที่เน้นโทรออก รับสาย ส่งข้อความ สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้แต่ไม่ได้รวดเร็ว และสเปคที่ไม่ได้ดีนัก จนกระทั่งมือถือ Nokia N-gage เข้าสู่ตลาดในปี 2003 และนั่นคือจุดเริ่มต้นการปฏิวัติวงการเกมมือถือยุคแรกๆ ที่สมัยนั้นคนเขียนยังเรียนมัธยม วัยที่ยังนัดกับเพื่อนสุดสัปดาห์ไปเล่น Ragnarok ร้านเกมอยู่เลย จากคนที่ไม่ค่อยสนเรื่องมือถือถึงกับร้องว้าวและอยากได้บ้าง (แต่สุดท้ายก็ได้แต่ใช้ Nokia 3310 ไปก่อน) จนกระทั่งเพื่อนคนหนึ่งได้เดินเข้ามาพร้อมกับอวดโทรศัพท์มือถือ Nokia N-gage พร้อมกับเกม Prince of Persia โดยมาในรูปแบบของ Memory Game เสียบปุ๊บเล่นได้เลย ซึ่งเพื่อนก็ใจดีก็ให้ยืมเล่น โดยกราฟิกของมันก็ไม่ได้ดีอะไรไปกว่ามือถือจอสี Nokia รุ่นอื่นๆ แต่ที่ประทับใจเลยก็คือ การออกแบบมาเพื่อคอเกมในยุคนั้นจริงๆ สำหรับคนเขียนแล้ว Nokia N-gage ถือว่าตอบโจทย์คนเล่นเกมยุคนั้นมาก แต่ทว่าคนที่เล่นเกมมือถือนั้นน้อยมากๆ และยังไม่เป็นที่นิยม สุดท้ายซีรีส์ N-gage ก็เลือนหายไปตามกาลเวลาเพราะคนไม่นิยม แม้จะมีเกมชื่อดังหลายเกมที่วางจำหน่าย สำหรับเครื่องนี้โดยเฉพาะก็ตาม เข้าสู่ช่วง 3G กับเทคโนโลยีจอสัมผัส พอช่วงเรียนจบ ประมาณช่วงปี 2000 ปลายๆ ถึง 2010 ต้นๆ นับว่าเป็นยุคการมาของโครงข่าย 3G ที่ได้เข้าถึงประเทศไทย พร้อมกับนวัตกรรมที่เรียกว่า "สมาร์ทโฟน" เต็มรูปแบบ ซึ่งจะมีสมาร์ทโฟน 3 OS หลัก ที่ขับเคี้ยวกันอย่างดุเดือดมากคือ Symbian OS (ของ Nokia), iOS และ Android การขับเคี้ยวครั้งนี้ ก็ทำให้อุตสาหกรรมเกมมือถือเริ่มโตขึ้นอย่างน่าประหลาด มีเกมมากมายให้เลือกดาวน์โหลดได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อตัวเกมอีกต่อไป และเกมต่างๆ ทำออกมาได้สนุกมากขึ้น รวมถึงเริ่มมีการเล่นแบบออนไลน์เกิดขึ้น มีเกมแนวสร้างเมืองแบบ Real-time ซึ่งยุคนั้นเป็นอะไรที่สนุกใช้ได้เลย แม้ว่าภายหลัง Nokia จะกลายเป็นผู้แพ้ในวงการโทรศัพท์มือถือในเวลาต่อมาก็ตาม แต่พูดได้เต็มปากว่าจุดนี้คือยุคที่การปฎิวัติอุตสาหกรรมเกมมือถือได้เริ่มขึ้นแล้ว Fantasica เกมมือถือในตำนานผู้นำเทรน TCG ยุคบุกเบิก คนรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จักเกมนี้ แต่สำหรับคนที่เติบโตมาในยุคสมาร์ทโฟนรุ่นแรก อาจจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า เกมแรกๆ ที่นำความโมเอะลายเส้นอนิเมะหรือการ์ตูน มาให้เล่นในรูปแบบ Online Real-time ที่ดังที่สุดในยุคนั้นแล้วล่ะก็ ไม่มีใครไม่รู้จักเกม Fantasica หากใน PC อาจจะพูดถึง Ragnarok ในมือถือก็ต้องพูดถึง Fantasica เฉกเช่นเดียวกัน เกม Fantasica เป็นเกมแนว Trade Card Game, Defend Tower ของค่าย Mobage เป็นเกมมือถือที่เปิดให้บริการในช่วงปี 2011 สามารถเล่นออนไลน์ร่วมกันแบบ Real-Time และระบบการเล่นที่อาศัยการวางแผนและการวางตัวละครป้องกัน (แบบ Arknights ในปัจจุบัน) สิ่งสำคัญที่ทำให้เกมนี้มีแรงดึงดูดให้ผู้คนมาเล่นเกมมือถือเลยก็คือ "ตลาดการซื้อขายการ์ด" พอมีตลาด ก็เริ่มมีชุมชนผู้เล่นขึ้น และก็ขยายใหญ่ขึ้นมาก ถึงขนาดตั้งกลุ่มคนไทยเล่นด้วยกันที่มีสมาชิกร่วมหมื่นคนได้ แต่ที่ผู้เขียนเล่นเกมนี้ไม่ใช่เพราะตลาดหรือกลุ่มสังคมขนาดใหญ่ แต่เป็นเพราะ... เพราะภาพ Art ตัวละครต่างๆ ที่คนมาวาดให้กับเกมนี้มันดึงดูดมากๆ โดยเฉพาะการ์ดใบนี้ที่ชื่อว่า Werewolf ผู้เขียนได้มาจากอีเวนท์ Halloween และยอมเสียเงินหลายพันบาทซื้อไอเท็มเสริมคะแนนในอีเวนท์เพื่อการ์ดใบนี้ใบเดียว บอกเลยว่าเจ็บปวดแต่สุขใจเพราะเกมนี้เล่นกันทั่วโลก คนที่ครอบครองใบนี้มีแค่ 500 ใบเท่านั้น เคยมีคนซื้อต่อเป็นเงินจำนวนมากก็ไม่ยอมขายเพราะหวง แรร์และรักมาก (ถึงขั้นจ้าง Fanart มาวาดให้ส่วนตัว บ่งบอกถึงความโอตาคุสมัยวัยเยาว์มาก) ด้วยอะไรต่างๆ มากมายที่วงการอุตสาหกรรมเกมมือถือยุคแรกไม่เคยมี ก็กลายเป็นบรรทัดฐานให้เกมอื่นๆ ได้สร้างตามกันมาอย่างเกม Valkyrie Crusader ที่เปิดให้บริการช่วงเวลาไล่ๆ กัน ที่ปัจจุบันก็ยังเปิดให้บริการอยู่ และอีกหลายๆ เกมในเวลาต่อมา ก็ได้แรงบัลดาลใจมาจากเกม Fantasica เสียส่วนใหญ่ ตัวเกม Fantasica ในปัจจุบันก็ปิดให้บริการไปเมื่อช่วง 31 มีนาคม 2019 ปีที่แล้ว ถือว่าเป็นเกมเก่าที่เปิดมาอย่างยาวนานร่วม 8 ปีเลยทีเดียว เข้าสู่ยุคที่เกมมือถือมีเอกลักษณ์และสนุกไม่แพ้ใคร ในช่วงกลางยุคปี 2010 นับได้ว่าเป็นยุคทองของเกมมือถือเลย เพราะการแสดงผลทำได้ลื่นไหล่มากขึ้น แต่ทว่าสเปคยังไม่ได้แรงอะไรขนาดนั้น และนั้นเองก็ทำให้เกมมือถือมักจะมีแนวที่กราฟิกไม่ได้อลังการนัก แต่มีเอกลักษณ์และมีเสน่ห์มากๆ ยกตัวอย่างเช่นเกม Fate Grand/Order ซึ่งเป็นเกมแนว Tactic Turn-based ที่มีสไตล์การเล่นไม่เหมือนกันพร้อมกับเนื้อเรื่องที่เข้มข้นเหมือนซดกาแฟอเมริกาโนเพียวๆ แม้กราฟิกเกมช่วงแรกจะไม่ได้หรูหราอะไรขนาดนั้นเมื่อเทียบกับเวอร์ชั่นปัจจุบัน ที่มีการใส่คัตซีน Noble Phantasm (ท่าไม้ตาย) จนเกิดความอลังการงานสร้าง แต่ถือว่าสมัยนั้นหลายคนยกให้เป็นเกมที่ดีที่สุดเลยก็ว่าได้ และทำให้ทิศทางของอุตสาหกรรมเกมมือถือยุคนั้น เน้นไปที่เอกลักษณ์ ไม่เน้นกราฟิกเสียเท่าไหร่นัก เมื่อทิศทางกระแสของเกมมือถือที่ไม่เน้นความอลังแต่เน้นสไตล์ ทำให้พี่จีนก็ได้เริ่มพัฒนาที่มีเอกลักษณ์และความเข้มข้นของเนื้อเรื่อง เช่น Girls Frontline ออกมาซึ่งเป็นเกมแนว Tactical Turn-based Strategy ปัจจุบันตัวเกมก็เปิดให้บริการมา 4 ปีแล้วโดยทางผู้เขียนเล่นเป็นเกมหลักเลยล่ะ หรือถ้าจะเปลี่ยนแนวหน่อยก็มาเป็นแนว Rhythm กดตามจังหวะดนตรีอย่าง Love Live! School Idol ของทาง Bushiroad ซึ่งก็เป็นเกมกดตามจังหวะโดนตรีทั่วไปไม่มีอะไรมาก แต่สิ่งที่ทำให้เกมนี้เปิดให้บริการมาอย่างยาวนานเพราะมนต์ขลังของตัวละครและเนื้อเรื่องใสๆ ชวนลุ้นชวนติดตามของเหล่านักเรียนที่อยากเป็นไอดอลในแต่ละรุ่น จีนบุกตลาดอุตสาหกรรมเกมมือถือ เกมอลังจึงบังเกิด ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้จนถึงปัจจุบัน ประเทศจีนได้รุกเข้าสู่ตลาดเกมมือถือหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการพัฒนาเกมให้มีกราฟิกอลังการไม่แพ้ PC อีกทั้งการพัฒนา CPU ในตัวสมาร์ทโฟนปัจจุบันก็สามารถรองรับกราฟิกคุณภาพสูงระดับนี้ได้ ยิ่งทำให้เด็กรุ่นใหม่รู้สึกว่าเกมเข้าถึงง่ายมากด้วยมือถือเพียงเครื่องเดียวในราคาไม่กี่พันบาท โดยเฉพาะเกม Dragon Raja ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ตอนนี้ก็แสดงให้เห็นว่า เกมนี้เป็นที่รู้จักได้อย่างรวดเร็วแค่ไหน และผู้คนก็เล่นกันมากมายเพราะไม่จำเป็นต้องลงทุนกับการซื้อเครื่องเล่นเกมหรือ PC ราคาสูงเพื่อเสพกราฟิกและความสนุกของเกม เกมเดียว เพราะใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ แต่กำไรสูง และในแง่ของผู้ผลิตเอง ต้องยอมรับว่าเกมมือถือนั้นใช้ทรัพยากรและการลงทุนในการพัฒนาค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับเกมใน PC หรือคอนโซล แต่กลับสามารถให้กำไรสูงไม่ต่างกัน เพราะเข้าถึงง่ายและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์สายเร่งรีบในปัจจุบัน ผู้ผลิตและผู้พัฒนาสามารถสรรสร้างผลงานออกมาได้ตรงตามคุณภาพที่กำหนดไว้ได้ ทำให้เวลาเปิดให้บริการแล้วผู้เล่นรู้สึกถูกใจ ชื่นชอบก็อยากสนับสนุนเป็นธรรมดา พอให้ผู้พัฒนามีทุนที่จะพัฒนาเนื้อหาเพิ่มเติมต่อไปได้เรื่อยๆ ตราบใดที่มีผู้เล่นสนับสนุนอยู่แม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม การ Live Stream เป็นเทรนด์ของนักเล่นเกมยุคใหม่ หากพูดถึงแล้ว ไม่มีใครที่ไม่เคยไลฟ์สตรีมเกมที่ตัวเองเล่นให้ผู้อื่นดู ด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เร็วมากพอที่จะส่งสัญญาณแบบ Real-Time ได้ อีกทั้งสเปคโทรศัพท์มือถือก็มากพอที่จะทำการไลฟ์สตรีมไปพร้อมกับเล่นเกมได้ ฉะนั้นเพียงแค่กดปุ่ม ปุ่มเดียวก็ทำการเล่นเกมสดๆ ให้เพื่อนๆ หรือคนอื่นๆ ได้ดู และสร้างความ Entertain ไปด้วยกันได้ดี เพราะทางผู้เขียนเองก็เคยไลฟ์เกมมือถือ Girls Frontline กับ Arknights บ้างเป็นครั้งคราว e-Sport ในเกมมือถือ มิติใหม่ของเด็กที่อยากเป็น หัวข้อสำคัญที่สุดที่ไม่พูดไม่ได้เลยก็คือ การเข้าถึงวงการ e-Sport เกมมือถือในปัจจุบันนั้น ง่ายแสนง่าย ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์มากมายหรือราคาแพงขนาดนั้น ทุกคนก็สามารถมาฝึกซ้อมทีมได้ เพียงแค่มีมือถือคนละเครื่อง พอทุกอย่างเข้าถึงง่าย ผู้ชมรวมถึงเงินสนับสนุนก็ถาโถมเข้ามาด้วยเช่นกัน ฉะนั้นจึงไม่แปลกใจว่าทำไม e-Sport ในเกมมือถือสามารถเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ================================================== และนี่คือความเป็นมาและเหตุผลทั้งหมดว่าทำไมเกมมือถือในปัจจุบันเข้าถึงง่ายกว่าเกมบนแพลตฟอร์มอื่นๆ ด้วยความที่เกมทำออกมามีคุณภาพโดยใช้ต้นทุนต่ำ โทรศัพท์มือถือที่เล่นเกมได้ก็ราคาไม่แพง อีกทั้งมีการจัดการแข่งขันบ่อยสุดๆ เป็นว่าเล่น รวมถึง การไลฟ์สตรีมเกมเพื่อความบันเทิงส่วนใหญ่ก็มาจากเกมมือถือ จึงไม่แปลกใจเลยว่าผู้คนสมัยใหม่ถึงชื่นชอบเกมมือถือ แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นประสบการณ์ตรงที่เคยพบเจอเท่านั้น หากมีอะไรอยากแชร์หรือแบ่งปั่น สามารถเข้ามาคอมเมนต์เพื่อแบ่งปันให้ทางทีมงานและผู้คนอื่นๆ ได้รับทราบกันด้วยนะ สุดท้ายแล้วก็อย่าลืมที่จะแบ่งเวลาการเล่นและการพักผ่อนให้เหมาะสมด้วยล่ะ
22 Jun 2020
GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
ผลการค้นหา : "ทำไมทุกวันนี้"
ส่องพัฒนาการของเกมมือถือ และหนทางสู่ตลาดเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลก
หากย้อนตัวเองไปสักสิบกว่าปีก่อน ช่วงต้นยุค 2000 การมีมือถือสักเครื่องสำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะเป็นอะไรที่เข้าถึงค่อนข้างยาก และสเปคของเครื่องในขณะนั้นก็ไม่ได้แรงอะไรนัก ยกตัวอย่าง Nokia N-gage (บอกอายุได้เลยทีเดียว) พกมานี่มีแต่คนรุมล้อมขอยืมเล่น แม้มันจะไม่ได้มีกราฟิกอะไรให้ชวนว้าวเลยตั้งแต่สมัยนั้น แต่มันก็ถือว่าเป็นนวัตกรรมเปลี่ยนโลก ที่มีแสนแพงเอาเรื่องอยู่ไม่ใช่น้อยทีเดียว กลับมาในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีมือถือได้พัฒนาไปอย่างก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่ปีมานี้ จนกลายเป็นว่าปัจจุบันโทรศัพท์มือถือแทบจะเป็นปัจจัยที่ห้าในการดำรงชีวิตไปแล้ว ซึ่งมนุษย์อย่างเราๆ อาจจะขาดไปไม่ได้ เพราะมันคือสิ่งที่รวมเกือบทุกอย่างย่อส่วนลงมาในนี้ เช่นเรื่องการอำนวยความสะดวกสะบาย ระบบ GPS ช่วยในการเดินทาง การสั่งซื้อของออนไลน์ หรือแม้กระทั่งการเล่นเกมบนมือถือก็แทบจะเล่นได้ทุกที่ทุกเวลาโดยไม่ต้องใช้มือถือราคาแพง เพียงไม่กี่พันบาทก็สามารถเข้าถึงเกมได้เกือบจะเท่าเทียมกับคนที่ใช้มือถือราคาหลักหมื่นได้แล้ว จนทำให้ตลาดเกมมือถือในปัจจุบันกลายเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในวงการเกมทั่วโลกไปแล้ว จากตลาดที่เคยถูกดูแคลนว่าเป็นเพียง "ของแถม" ในมือถือ สู่สถานะปัจจุบันในฐานะอุตสาหกรรมที่ใหญ่อันดับต้นๆ ของโลก เรามาลองสำรวจองค์ประกอบหลัก ที่ขับเคลื่อน "เกมมือถือ" ให้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ================================================== ยุคปฎิวัติอุตสาหกรรมเกมมือถือช่วงบุกเบิก จำเรื่องราวของ Nokia N-gage ที่พูดไว้ในข้างต้นได้หรือเปล่า? ต้องขอบอกเลยว่าก่อนที่จะมีเกมมือถือที่เป็นเกมเนื้อเรื่องยาวๆ ส่วนใหญ่ก็มักเป็นเกมที่ดาวน์โหลด เสียค่าบริการหลายสิบบาท และส่วนใหญ่เป็นเกมแนว Puzzle หรือเกมขำๆ ใช้เวลาเล่นไม่นานนัก เนื่องจากมือถือยุคนั้นที่ยังเป็น Feature Phone แบบ 2G ที่เน้นโทรออก รับสาย ส่งข้อความ สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้แต่ไม่ได้รวดเร็ว และสเปคที่ไม่ได้ดีนัก จนกระทั่งมือถือ Nokia N-gage เข้าสู่ตลาดในปี 2003 และนั่นคือจุดเริ่มต้นการปฏิวัติวงการเกมมือถือยุคแรกๆ ที่สมัยนั้นคนเขียนยังเรียนมัธยม วัยที่ยังนัดกับเพื่อนสุดสัปดาห์ไปเล่น Ragnarok ร้านเกมอยู่เลย จากคนที่ไม่ค่อยสนเรื่องมือถือถึงกับร้องว้าวและอยากได้บ้าง (แต่สุดท้ายก็ได้แต่ใช้ Nokia 3310 ไปก่อน) จนกระทั่งเพื่อนคนหนึ่งได้เดินเข้ามาพร้อมกับอวดโทรศัพท์มือถือ Nokia N-gage พร้อมกับเกม Prince of Persia โดยมาในรูปแบบของ Memory Game เสียบปุ๊บเล่นได้เลย ซึ่งเพื่อนก็ใจดีก็ให้ยืมเล่น โดยกราฟิกของมันก็ไม่ได้ดีอะไรไปกว่ามือถือจอสี Nokia รุ่นอื่นๆ แต่ที่ประทับใจเลยก็คือ การออกแบบมาเพื่อคอเกมในยุคนั้นจริงๆ สำหรับคนเขียนแล้ว Nokia N-gage ถือว่าตอบโจทย์คนเล่นเกมยุคนั้นมาก แต่ทว่าคนที่เล่นเกมมือถือนั้นน้อยมากๆ และยังไม่เป็นที่นิยม สุดท้ายซีรีส์ N-gage ก็เลือนหายไปตามกาลเวลาเพราะคนไม่นิยม แม้จะมีเกมชื่อดังหลายเกมที่วางจำหน่าย สำหรับเครื่องนี้โดยเฉพาะก็ตาม เข้าสู่ช่วง 3G กับเทคโนโลยีจอสัมผัส พอช่วงเรียนจบ ประมาณช่วงปี 2000 ปลายๆ ถึง 2010 ต้นๆ นับว่าเป็นยุคการมาของโครงข่าย 3G ที่ได้เข้าถึงประเทศไทย พร้อมกับนวัตกรรมที่เรียกว่า "สมาร์ทโฟน" เต็มรูปแบบ ซึ่งจะมีสมาร์ทโฟน 3 OS หลัก ที่ขับเคี้ยวกันอย่างดุเดือดมากคือ Symbian OS (ของ Nokia), iOS และ Android การขับเคี้ยวครั้งนี้ ก็ทำให้อุตสาหกรรมเกมมือถือเริ่มโตขึ้นอย่างน่าประหลาด มีเกมมากมายให้เลือกดาวน์โหลดได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อตัวเกมอีกต่อไป และเกมต่างๆ ทำออกมาได้สนุกมากขึ้น รวมถึงเริ่มมีการเล่นแบบออนไลน์เกิดขึ้น มีเกมแนวสร้างเมืองแบบ Real-time ซึ่งยุคนั้นเป็นอะไรที่สนุกใช้ได้เลย แม้ว่าภายหลัง Nokia จะกลายเป็นผู้แพ้ในวงการโทรศัพท์มือถือในเวลาต่อมาก็ตาม แต่พูดได้เต็มปากว่าจุดนี้คือยุคที่การปฎิวัติอุตสาหกรรมเกมมือถือได้เริ่มขึ้นแล้ว Fantasica เกมมือถือในตำนานผู้นำเทรน TCG ยุคบุกเบิก คนรุ่นใหม่อาจจะไม่รู้จักเกมนี้ แต่สำหรับคนที่เติบโตมาในยุคสมาร์ทโฟนรุ่นแรก อาจจะตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า เกมแรกๆ ที่นำความโมเอะลายเส้นอนิเมะหรือการ์ตูน มาให้เล่นในรูปแบบ Online Real-time ที่ดังที่สุดในยุคนั้นแล้วล่ะก็ ไม่มีใครไม่รู้จักเกม Fantasica หากใน PC อาจจะพูดถึง Ragnarok ในมือถือก็ต้องพูดถึง Fantasica เฉกเช่นเดียวกัน เกม Fantasica เป็นเกมแนว Trade Card Game, Defend Tower ของค่าย Mobage เป็นเกมมือถือที่เปิดให้บริการในช่วงปี 2011 สามารถเล่นออนไลน์ร่วมกันแบบ Real-Time และระบบการเล่นที่อาศัยการวางแผนและการวางตัวละครป้องกัน (แบบ Arknights ในปัจจุบัน) สิ่งสำคัญที่ทำให้เกมนี้มีแรงดึงดูดให้ผู้คนมาเล่นเกมมือถือเลยก็คือ "ตลาดการซื้อขายการ์ด" พอมีตลาด ก็เริ่มมีชุมชนผู้เล่นขึ้น และก็ขยายใหญ่ขึ้นมาก ถึงขนาดตั้งกลุ่มคนไทยเล่นด้วยกันที่มีสมาชิกร่วมหมื่นคนได้ แต่ที่ผู้เขียนเล่นเกมนี้ไม่ใช่เพราะตลาดหรือกลุ่มสังคมขนาดใหญ่ แต่เป็นเพราะ... เพราะภาพ Art ตัวละครต่างๆ ที่คนมาวาดให้กับเกมนี้มันดึงดูดมากๆ โดยเฉพาะการ์ดใบนี้ที่ชื่อว่า Werewolf ผู้เขียนได้มาจากอีเวนท์ Halloween และยอมเสียเงินหลายพันบาทซื้อไอเท็มเสริมคะแนนในอีเวนท์เพื่อการ์ดใบนี้ใบเดียว บอกเลยว่าเจ็บปวดแต่สุขใจเพราะเกมนี้เล่นกันทั่วโลก คนที่ครอบครองใบนี้มีแค่ 500 ใบเท่านั้น เคยมีคนซื้อต่อเป็นเงินจำนวนมากก็ไม่ยอมขายเพราะหวง แรร์และรักมาก (ถึงขั้นจ้าง Fanart มาวาดให้ส่วนตัว บ่งบอกถึงความโอตาคุสมัยวัยเยาว์มาก) ด้วยอะไรต่างๆ มากมายที่วงการอุตสาหกรรมเกมมือถือยุคแรกไม่เคยมี ก็กลายเป็นบรรทัดฐานให้เกมอื่นๆ ได้สร้างตามกันมาอย่างเกม Valkyrie Crusader ที่เปิดให้บริการช่วงเวลาไล่ๆ กัน ที่ปัจจุบันก็ยังเปิดให้บริการอยู่ และอีกหลายๆ เกมในเวลาต่อมา ก็ได้แรงบัลดาลใจมาจากเกม Fantasica เสียส่วนใหญ่ ตัวเกม Fantasica ในปัจจุบันก็ปิดให้บริการไปเมื่อช่วง 31 มีนาคม 2019 ปีที่แล้ว ถือว่าเป็นเกมเก่าที่เปิดมาอย่างยาวนานร่วม 8 ปีเลยทีเดียว เข้าสู่ยุคที่เกมมือถือมีเอกลักษณ์และสนุกไม่แพ้ใคร ในช่วงกลางยุคปี 2010 นับได้ว่าเป็นยุคทองของเกมมือถือเลย เพราะการแสดงผลทำได้ลื่นไหล่มากขึ้น แต่ทว่าสเปคยังไม่ได้แรงอะไรขนาดนั้น และนั้นเองก็ทำให้เกมมือถือมักจะมีแนวที่กราฟิกไม่ได้อลังการนัก แต่มีเอกลักษณ์และมีเสน่ห์มากๆ ยกตัวอย่างเช่นเกม Fate Grand/Order ซึ่งเป็นเกมแนว Tactic Turn-based ที่มีสไตล์การเล่นไม่เหมือนกันพร้อมกับเนื้อเรื่องที่เข้มข้นเหมือนซดกาแฟอเมริกาโนเพียวๆ แม้กราฟิกเกมช่วงแรกจะไม่ได้หรูหราอะไรขนาดนั้นเมื่อเทียบกับเวอร์ชั่นปัจจุบัน ที่มีการใส่คัตซีน Noble Phantasm (ท่าไม้ตาย) จนเกิดความอลังการงานสร้าง แต่ถือว่าสมัยนั้นหลายคนยกให้เป็นเกมที่ดีที่สุดเลยก็ว่าได้ และทำให้ทิศทางของอุตสาหกรรมเกมมือถือยุคนั้น เน้นไปที่เอกลักษณ์ ไม่เน้นกราฟิกเสียเท่าไหร่นัก เมื่อทิศทางกระแสของเกมมือถือที่ไม่เน้นความอลังแต่เน้นสไตล์ ทำให้พี่จีนก็ได้เริ่มพัฒนาที่มีเอกลักษณ์และความเข้มข้นของเนื้อเรื่อง เช่น Girls Frontline ออกมาซึ่งเป็นเกมแนว Tactical Turn-based Strategy ปัจจุบันตัวเกมก็เปิดให้บริการมา 4 ปีแล้วโดยทางผู้เขียนเล่นเป็นเกมหลักเลยล่ะ หรือถ้าจะเปลี่ยนแนวหน่อยก็มาเป็นแนว Rhythm กดตามจังหวะดนตรีอย่าง Love Live! School Idol ของทาง Bushiroad ซึ่งก็เป็นเกมกดตามจังหวะโดนตรีทั่วไปไม่มีอะไรมาก แต่สิ่งที่ทำให้เกมนี้เปิดให้บริการมาอย่างยาวนานเพราะมนต์ขลังของตัวละครและเนื้อเรื่องใสๆ ชวนลุ้นชวนติดตามของเหล่านักเรียนที่อยากเป็นไอดอลในแต่ละรุ่น จีนบุกตลาดอุตสาหกรรมเกมมือถือ เกมอลังจึงบังเกิด ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้จนถึงปัจจุบัน ประเทศจีนได้รุกเข้าสู่ตลาดเกมมือถือหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการพัฒนาเกมให้มีกราฟิกอลังการไม่แพ้ PC อีกทั้งการพัฒนา CPU ในตัวสมาร์ทโฟนปัจจุบันก็สามารถรองรับกราฟิกคุณภาพสูงระดับนี้ได้ ยิ่งทำให้เด็กรุ่นใหม่รู้สึกว่าเกมเข้าถึงง่ายมากด้วยมือถือเพียงเครื่องเดียวในราคาไม่กี่พันบาท โดยเฉพาะเกม Dragon Raja ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ตอนนี้ก็แสดงให้เห็นว่า เกมนี้เป็นที่รู้จักได้อย่างรวดเร็วแค่ไหน และผู้คนก็เล่นกันมากมายเพราะไม่จำเป็นต้องลงทุนกับการซื้อเครื่องเล่นเกมหรือ PC ราคาสูงเพื่อเสพกราฟิกและความสนุกของเกม เกมเดียว เพราะใช้ต้นทุนการผลิตต่ำ แต่กำไรสูง และในแง่ของผู้ผลิตเอง ต้องยอมรับว่าเกมมือถือนั้นใช้ทรัพยากรและการลงทุนในการพัฒนาค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับเกมใน PC หรือคอนโซล แต่กลับสามารถให้กำไรสูงไม่ต่างกัน เพราะเข้าถึงง่ายและตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์สายเร่งรีบในปัจจุบัน ผู้ผลิตและผู้พัฒนาสามารถสรรสร้างผลงานออกมาได้ตรงตามคุณภาพที่กำหนดไว้ได้ ทำให้เวลาเปิดให้บริการแล้วผู้เล่นรู้สึกถูกใจ ชื่นชอบก็อยากสนับสนุนเป็นธรรมดา พอให้ผู้พัฒนามีทุนที่จะพัฒนาเนื้อหาเพิ่มเติมต่อไปได้เรื่อยๆ ตราบใดที่มีผู้เล่นสนับสนุนอยู่แม้จะเพียงเล็กน้อยก็ตาม การ Live Stream เป็นเทรนด์ของนักเล่นเกมยุคใหม่ หากพูดถึงแล้ว ไม่มีใครที่ไม่เคยไลฟ์สตรีมเกมที่ตัวเองเล่นให้ผู้อื่นดู ด้วยเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่เร็วมากพอที่จะส่งสัญญาณแบบ Real-Time ได้ อีกทั้งสเปคโทรศัพท์มือถือก็มากพอที่จะทำการไลฟ์สตรีมไปพร้อมกับเล่นเกมได้ ฉะนั้นเพียงแค่กดปุ่ม ปุ่มเดียวก็ทำการเล่นเกมสดๆ ให้เพื่อนๆ หรือคนอื่นๆ ได้ดู และสร้างความ Entertain ไปด้วยกันได้ดี เพราะทางผู้เขียนเองก็เคยไลฟ์เกมมือถือ Girls Frontline กับ Arknights บ้างเป็นครั้งคราว e-Sport ในเกมมือถือ มิติใหม่ของเด็กที่อยากเป็น หัวข้อสำคัญที่สุดที่ไม่พูดไม่ได้เลยก็คือ การเข้าถึงวงการ e-Sport เกมมือถือในปัจจุบันนั้น ง่ายแสนง่าย ไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์มากมายหรือราคาแพงขนาดนั้น ทุกคนก็สามารถมาฝึกซ้อมทีมได้ เพียงแค่มีมือถือคนละเครื่อง พอทุกอย่างเข้าถึงง่าย ผู้ชมรวมถึงเงินสนับสนุนก็ถาโถมเข้ามาด้วยเช่นกัน ฉะนั้นจึงไม่แปลกใจว่าทำไม e-Sport ในเกมมือถือสามารถเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ================================================== และนี่คือความเป็นมาและเหตุผลทั้งหมดว่าทำไมเกมมือถือในปัจจุบันเข้าถึงง่ายกว่าเกมบนแพลตฟอร์มอื่นๆ ด้วยความที่เกมทำออกมามีคุณภาพโดยใช้ต้นทุนต่ำ โทรศัพท์มือถือที่เล่นเกมได้ก็ราคาไม่แพง อีกทั้งมีการจัดการแข่งขันบ่อยสุดๆ เป็นว่าเล่น รวมถึง การไลฟ์สตรีมเกมเพื่อความบันเทิงส่วนใหญ่ก็มาจากเกมมือถือ จึงไม่แปลกใจเลยว่าผู้คนสมัยใหม่ถึงชื่นชอบเกมมือถือ แต่ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นประสบการณ์ตรงที่เคยพบเจอเท่านั้น หากมีอะไรอยากแชร์หรือแบ่งปั่น สามารถเข้ามาคอมเมนต์เพื่อแบ่งปันให้ทางทีมงานและผู้คนอื่นๆ ได้รับทราบกันด้วยนะ สุดท้ายแล้วก็อย่าลืมที่จะแบ่งเวลาการเล่นและการพักผ่อนให้เหมาะสมด้วยล่ะ
22 Jun 2020