GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
Review: รีวิว Hitman 3 การจากลาอย่างสมศักดิ์ศรี ของมือปืนโล้นซ่าเลขที่ 47
ลงวันที่ 25/01/2021

เมื่อพูดถึงวลีภาษาอังกฤษที่ว่า If it aint broke, dont fix it (ถ้ามันไม่พังก็ไม่ต้องพยายามซ่อมมัน) ผ่านหูมาบ้าง คงไม่มีเกมไหนที่จะเป็นตัวแทนของวลีนี้ได้ดีไปกว่าเกมลอบเร้นซีรี่ส์ดัง Hitman 3 ของผู้พัฒนา IO Interactive ด้วยเกมเพลย์ กราฟฟิค และองค์ประกอบการนำเสนอที่คงรูปแบบเดิมแทบจะเป๊ะๆ มาตั้งแต่ที่ภาคแรกวางจำหน่ายไปในปี 2016 แต่ถึงอย่างนั้น เกม Hitman 3 ก็ยังถือเป็นเกมลอบเร้นที่สนุก ท้าทาย และน่าสนใจในแบบที่แตกต่างกับเกมลอบเร้นในตลาดส่วนใหญ่ ด้วยเกมเพลย์ที่เน้นการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และใจเย็นมากกว่าการต่อสู้แบบแอคชั่นอย่างที่เห็นในหลายๆ เกมทุกวันนี้



แน่นอนว่าในความจำเจของระบบต่างๆ อาจจะทำให้เกมรู้สึกเหมือนเป็นส่วนเสริมของเกมภาคที่ผ่านๆ มามากกว่าจะเป็นภาคต่อเต็มตัวซะทีเดียว แต่สำหรับแฟนเกมที่อยากได้ประสบการณ์เกมลอบเร้นแบบดั้งเดิมที่หาได้ยากในปัจจุบัน (หรือแค่อยากหาเกมดีๆ เล่นในช่วงต้นปีที่ยังมีเกมออกน้อย) เชื่อว่าเกม Hitman 3 จะไม่ทำให้คุณผิดหวังอย่างแน่นอน

เนื้อเรื่อง


เนื้อเรื่องของเกม Hitman 3 จะดำเนินต่อจากเนื้อเรื่องของภาคก่อนหน้าโดยตรง และจะติดตามพระเอก Agent 47 และเพื่อนเก่าของเขา Lucas Grey ในการตามล่า The Constant ผู้ซึ่งเป็นตัวบงการหลักขององค์กร Providence ที่เป็นศัตรูคู่ปรับของตัวเอกมาช้านาน และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังอดีตอันน่าเศร้าของเขาอีกด้วย โดยเช่นเดียวกับเกมภาคก่อนหน้า เนื้อเรื่องของเกม Hitman 3 จะติดตามตัวเอกและผองเพื่อนในการตามล่าสมาชิกที่หลงเหลืออยู่ขององค์กร Providence ไปทั่วทุกมุมโลก พร้อมกับตั้งคำถามถึง "ตัวตน" ของ Agent 47 ในวันที่เขาไม่มีเป้าหมายหรือภารกิจให้ไล่ตามอีกต่อไป



อย่างที่เคยกล่าวไปในรีวิวเกม Hitman 2 เมื่อปี 2018 เนื้อเรื่องของเกมซีรี่ส์ Hitman น่าจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อเกมน้อยที่สุดแล้ว ซึ่งในเกมภาค 3 นี้ก็ไม่ได้ทำให้ความคิดเห็นนั้นเปลี่ยนไปแต่อย่างใด โดยเกมยังคงเลือกที่จะเล่าเนื้อเรื่องผ่านฉากคัตซีนสั้นๆ ก่อนและหลังภารกิจเป็นหลัก และสอดแทรกบทสนทนาหรือเหตุการณ์เล็กๆ น้อยๆ เข้ามาระหว่างการปฏิบัติภารกิจในแต่ละด่าน ซึ่งมีความพัฒนาขึ้นจากภาค 2 เล็กน้อยในแง่ของการเล่าเรื่องที่เน้นให้เห็นตัวละครและเหตุการณ์มากขึ้น ช่วยให้มีความเชื่อมโยงกันของฉากคัตซีนและเหตุการณ์ในภารกิจ ที่ให้ความรู้สึก "ต่อเนื่อง" กว่าในเกมภาค 2 แต่โดยรวมๆ แล้วก็ไม่ได้ทำให้เนื้อเรื่องชวนติดตามขึ้นเท่าไหร่ และเพราะการเล่าเรื่องที่ขาดตอนของภาคผ่านๆ มา ทำให้การปะติดปะต่อเรื่องราวทั้งหมดยังคงเป็นปัญหาสำหรับผู้เขียนในภาคนี้

แต่เช่นเดียวกับในเกม Hitman 2 การที่เนื้อเรื่องของเกมในภาพกว้างจะยังคงติดตามได้ยาก แต่เนื้อเรื่องเล็กๆ ที่มีอยู่ในแต่ละด่านก็ยังคงมีความน่าสนใจอยู่บ้าง เช่นเนื้อเรื่องของด่าน Thornbridge Manor ที่มีลักษณะเป็นปริศนาฆาตกรรมห้องปิดตายเป็นต้น ซึ่งก็ทำให้เกมยังคงมีเส้นเรื่องให้ติดตามอยู่ และทำให้การทำภารกิจรู้สึกมี "มิติ" ในแง่ของเนื้อเรื่องและให้เหตุผลในการกระทำของผู้เล่นในระดับที่แตกต่างกันไปในแต่ละด่าน ทำให้มองข้ามเนื้อเรื่องในภาพใหญ่ที่ไม่ค่อยน่าสนใจไปได้ไม่มากก็น้อย


เกมเพลย์


อย่างที่กล่าวไปข้างต้น เกม Hitman 3 มีพัฒนาการในด้านเกมเพลย์อยู่ค่อนข้างน้อยมากๆ จากเกมภาคก่อนหน้า พูดได้ว่านอกจากอุปกรณ์กล้องพกพาที่เอาไว้ใช้แฮ๊คอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่างๆ ในด่านแล้ว ทุกองค์ประกอบของเกมเพลย์แทบจะยกมาจากเกมภาค 2 (และภาคแรก) โดยตรงเลยทีเดียว



อาจจะฟังดูน่าเบื่อสำหรับบางคน แต่ในความเห็นของผู้เขียน จุดเด่นของซีรี่ส์ Hitman ไม่ใช่ระบบเกมเพลย์ที่ล้ำลึกอะไรนัก แต่เป็นการออกแบบด่านแต่ละด่านในเกม ที่บังคับให้ผู้เล่นจำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองในการสังหารเป้าหมายหรือทำภารกิจที่เกมกำหนดให้สำเร็จได้อย่างอิสระ เช่นการเลือกปลอมตัวเป็นตัวละครชนิดต่างๆ เพื่อเข้าถึงพื้นที่ต้องห้ามโดยไม่มีใครสังเกติ หรือการหาสิ่งของในฉากมาใช้ประโยชน์ โดยเกมยังมีความ "ตลกร้าย" อันเป็นเสน่ห์ของซีรี่ส์ ที่ทำให้ผู้เล่นสามารถสังหารศัตรูในวิธีพิศดารต่างๆ ได้มากมาย เช่นในด่าน Dubai ผู้เขียนสังเกติว่าเป้าหมายมักจะชอบเดินไปยืนชมวิวตรงขอบตึกในจุดเดิมเสมอ จังลองเอาเปลือกกล้วยไปวางเอาไว้ในจุดที่เป้าหมายจะเดินมา ผลคือเป้าหมายลื่นเปลือกกล้วยจนตกตึกตายไปเองอย่าน่าอนาถ ซึ่งความอิสระนี้ทำให้การเล่นเกม Hitman ทุกภาคมีความลึกกว่าที่ตาเห็น และสามารถเล่นซ้ำๆ เพื่อหาวิธีกำจัดเป้าหมายที่แปลกใหม่หรือรวดเร็วขึ้นได้

แต่สำหรับคนที่โหยหาการเล่นแบบตามภารกิจเหมือนในเกมลอบเร้นอื่นๆ ก็ยังมีระบบ Mission Stories จากภาคก่อนๆ ให้คุณทำภารกิจที่เกมมอบให้ไปเรื่อยๆ ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างในด่าน Thornbridge Manor ที่กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ ภายในภารกิจจะมอบหมายให้เราต้องกำจัดเป้าหมายที่เป็นคุณนายหัวหน้าตระกูลผู้ดีอันเก่าแก่ แต่เมื่อเดินทางไปถึงเรากลับพบว่าได้เกิดการฆาตกรรมขึ้นในบ้านหลังนี้  และมีนักสืบคนหนึ่งถูกจ้างมาเพื่อสิบหาตัวคนร้าย โดยในการเล่นครั้งแรก ผู้เขียนเลือกที่จะปลอมตัวเป็นนักสืบคนดังกล่าวและแสร้งทำเป็นสืบหาตัวคนร้ายจนทำให้พบกับขวดยาพิษที่ใช้เป็นอาวุธสังหารในคดีฆาตกรรมนั้น ซึ่งผู้เขียนก็ใช้เพื่อสังหารเป้าหมายของเราอีกที ในขณะที่การเล่นรอบสอง ผู้เขียนเลือกปลอมตัวเป็นช่างภาพที่ถูกจ้างมาถ่ายภาพรวมญาติของเป้าหมายและแอบวางกับดักไฟฟ้าเอาไว้ในจุดถ่ายภาพ ก่อนที่จะเรียกรวมเป้าหมายและครอบครัวมาถ่ายภาพ (และโดนไฟช๊อตตาย) เป็นต้น



แน่นอนว่ายังมีวิธีสังหารเป้าหมายอีกมากมายที่ผู้เขียนยังไม่ได้ลอง ทั้งที่เกมกำหนดมาและที่สามารถพลิกแพลงเอาเอง แถมเมื่อเล่นจบด่านครั้งหนึ่งแล้ว เราจะสามารถเริ่มเล่นใหม่โดยพกอุปกรณ์พิเศษหลายชนิดเข้าไปใช้ได้เพิ่มอีก เพื่อเปิดช่องทางในการสำเร็จภารกิจได้หลากหลายยิ่งขึ้นด้วย หากไม่มีตัวเลือกเหล่านี้ ผู้เล่นอาจจะสามารถเล่น Hitman 3 ได้จบภายใน 6-8 ชั่วโมง ซึ่งความหลากหลายทั้งหมดที่กล่าวไปก็ช่วยยืดเวลาการเล่นออกไปได้อีกมาก พูดง่ายๆ ว่ายิ่งคุณใส่ใจและให้เวลากับเกมมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีอะไรให้คุณค้นพบได้มากขึ้นเท่านั้น


กราฟฟิก/การนำเสนอ


เช่นเดียวกับองค์ประกอบอื่นๆ ในเกม กราฟฟิกและการนำเสนอของ Hitman 3 ไม่ได้แตกต่างไปจากที่เห็นใน Hitman 2 มากมายนัก โดยเฉพาะในส่วนของโมเดลตัวละครและอนิเมชั่นท่าทางการขยับตัวที่ยังคงเหมือนกันเปี๊ยบ อาจจะมีการพัฒนาขึ้นบ้างในแง่ของแสงเงา โดยเฉพาะในบางด่านของเกมเช่นด่าน Berlin ที่มีลักษณะเป็นไนท์คลับที่เปิดไฟสปอตไลท์สีสันต่างๆ ตามจังหวะเพลง หรือด่าน Chongqing ที่ชโลมไปด้วยแสงไฟนีออนท่ามกลางสายฝน รวมไปถึงหน้าตาท่าทางของตัวละครในฉากคัตซีนก่อน/หลังภารกิจที่แลดูมีความลึกซึ้งกว่าที่ผ่านมาอย่างที่กล่าวไปข้างต้น แต่นอกเหนือจากนั้นแล้วก็แทบไม่มีอะไรแตกต่างกันในภาพรวม เกมยังคงมีปัญหาเรื่อง NPC หน้าซ้ำที่โผล่มาให้เห็นจนรำคาญตา และเรื่องของ U.I. / อินเตอร์เฟซหน้าเมนูต่างๆ ที่ยังมีลักษณะเป็นช่องๆ กล่องๆ แบบ Minimal ที่แม้จะสะอาดตา แต่ก็ไร้ชีวิตชีวาไม่ต่างจากภาค 2 เลย


สรุป


แม้ว่าจะยังคงมีข้อตำหนิใหญ่ๆ อยู่มาก แต่ Hitman 3 ก็ยังคงรักษามาตรฐานเกมเพลย์การลอบเร้นอันมีเสน่ห์ในแบบของตัวเองเอาไว้ได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าคุณจะกำลังมองหาเกมแบบสั้นๆ เล่นแปบเดียวจบ หรือเกมที่มีความลึกล้ำที่สามารถเล่นได้ยาวๆ เชื่อว่าเกม Hitman 3 น่าจะตอบโจทย์คุณได้อย่างน่าพอใจไม่แพ้กัน



[penci_review id="77549"]

7
ข้อดี
ข้อเสีย
8
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
Review: รีวิว Hitman 3 การจากลาอย่างสมศักดิ์ศรี ของมือปืนโล้นซ่าเลขที่ 47
25/01/2021

เมื่อพูดถึงวลีภาษาอังกฤษที่ว่า If it aint broke, dont fix it (ถ้ามันไม่พังก็ไม่ต้องพยายามซ่อมมัน) ผ่านหูมาบ้าง คงไม่มีเกมไหนที่จะเป็นตัวแทนของวลีนี้ได้ดีไปกว่าเกมลอบเร้นซีรี่ส์ดัง Hitman 3 ของผู้พัฒนา IO Interactive ด้วยเกมเพลย์ กราฟฟิค และองค์ประกอบการนำเสนอที่คงรูปแบบเดิมแทบจะเป๊ะๆ มาตั้งแต่ที่ภาคแรกวางจำหน่ายไปในปี 2016 แต่ถึงอย่างนั้น เกม Hitman 3 ก็ยังถือเป็นเกมลอบเร้นที่สนุก ท้าทาย และน่าสนใจในแบบที่แตกต่างกับเกมลอบเร้นในตลาดส่วนใหญ่ ด้วยเกมเพลย์ที่เน้นการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และใจเย็นมากกว่าการต่อสู้แบบแอคชั่นอย่างที่เห็นในหลายๆ เกมทุกวันนี้



แน่นอนว่าในความจำเจของระบบต่างๆ อาจจะทำให้เกมรู้สึกเหมือนเป็นส่วนเสริมของเกมภาคที่ผ่านๆ มามากกว่าจะเป็นภาคต่อเต็มตัวซะทีเดียว แต่สำหรับแฟนเกมที่อยากได้ประสบการณ์เกมลอบเร้นแบบดั้งเดิมที่หาได้ยากในปัจจุบัน (หรือแค่อยากหาเกมดีๆ เล่นในช่วงต้นปีที่ยังมีเกมออกน้อย) เชื่อว่าเกม Hitman 3 จะไม่ทำให้คุณผิดหวังอย่างแน่นอน

เนื้อเรื่อง


เนื้อเรื่องของเกม Hitman 3 จะดำเนินต่อจากเนื้อเรื่องของภาคก่อนหน้าโดยตรง และจะติดตามพระเอก Agent 47 และเพื่อนเก่าของเขา Lucas Grey ในการตามล่า The Constant ผู้ซึ่งเป็นตัวบงการหลักขององค์กร Providence ที่เป็นศัตรูคู่ปรับของตัวเอกมาช้านาน และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังอดีตอันน่าเศร้าของเขาอีกด้วย โดยเช่นเดียวกับเกมภาคก่อนหน้า เนื้อเรื่องของเกม Hitman 3 จะติดตามตัวเอกและผองเพื่อนในการตามล่าสมาชิกที่หลงเหลืออยู่ขององค์กร Providence ไปทั่วทุกมุมโลก พร้อมกับตั้งคำถามถึง "ตัวตน" ของ Agent 47 ในวันที่เขาไม่มีเป้าหมายหรือภารกิจให้ไล่ตามอีกต่อไป



อย่างที่เคยกล่าวไปในรีวิวเกม Hitman 2 เมื่อปี 2018 เนื้อเรื่องของเกมซีรี่ส์ Hitman น่าจะเป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อเกมน้อยที่สุดแล้ว ซึ่งในเกมภาค 3 นี้ก็ไม่ได้ทำให้ความคิดเห็นนั้นเปลี่ยนไปแต่อย่างใด โดยเกมยังคงเลือกที่จะเล่าเนื้อเรื่องผ่านฉากคัตซีนสั้นๆ ก่อนและหลังภารกิจเป็นหลัก และสอดแทรกบทสนทนาหรือเหตุการณ์เล็กๆ น้อยๆ เข้ามาระหว่างการปฏิบัติภารกิจในแต่ละด่าน ซึ่งมีความพัฒนาขึ้นจากภาค 2 เล็กน้อยในแง่ของการเล่าเรื่องที่เน้นให้เห็นตัวละครและเหตุการณ์มากขึ้น ช่วยให้มีความเชื่อมโยงกันของฉากคัตซีนและเหตุการณ์ในภารกิจ ที่ให้ความรู้สึก "ต่อเนื่อง" กว่าในเกมภาค 2 แต่โดยรวมๆ แล้วก็ไม่ได้ทำให้เนื้อเรื่องชวนติดตามขึ้นเท่าไหร่ และเพราะการเล่าเรื่องที่ขาดตอนของภาคผ่านๆ มา ทำให้การปะติดปะต่อเรื่องราวทั้งหมดยังคงเป็นปัญหาสำหรับผู้เขียนในภาคนี้

แต่เช่นเดียวกับในเกม Hitman 2 การที่เนื้อเรื่องของเกมในภาพกว้างจะยังคงติดตามได้ยาก แต่เนื้อเรื่องเล็กๆ ที่มีอยู่ในแต่ละด่านก็ยังคงมีความน่าสนใจอยู่บ้าง เช่นเนื้อเรื่องของด่าน Thornbridge Manor ที่มีลักษณะเป็นปริศนาฆาตกรรมห้องปิดตายเป็นต้น ซึ่งก็ทำให้เกมยังคงมีเส้นเรื่องให้ติดตามอยู่ และทำให้การทำภารกิจรู้สึกมี "มิติ" ในแง่ของเนื้อเรื่องและให้เหตุผลในการกระทำของผู้เล่นในระดับที่แตกต่างกันไปในแต่ละด่าน ทำให้มองข้ามเนื้อเรื่องในภาพใหญ่ที่ไม่ค่อยน่าสนใจไปได้ไม่มากก็น้อย


เกมเพลย์


อย่างที่กล่าวไปข้างต้น เกม Hitman 3 มีพัฒนาการในด้านเกมเพลย์อยู่ค่อนข้างน้อยมากๆ จากเกมภาคก่อนหน้า พูดได้ว่านอกจากอุปกรณ์กล้องพกพาที่เอาไว้ใช้แฮ๊คอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดต่างๆ ในด่านแล้ว ทุกองค์ประกอบของเกมเพลย์แทบจะยกมาจากเกมภาค 2 (และภาคแรก) โดยตรงเลยทีเดียว



อาจจะฟังดูน่าเบื่อสำหรับบางคน แต่ในความเห็นของผู้เขียน จุดเด่นของซีรี่ส์ Hitman ไม่ใช่ระบบเกมเพลย์ที่ล้ำลึกอะไรนัก แต่เป็นการออกแบบด่านแต่ละด่านในเกม ที่บังคับให้ผู้เล่นจำเป็นต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองในการสังหารเป้าหมายหรือทำภารกิจที่เกมกำหนดให้สำเร็จได้อย่างอิสระ เช่นการเลือกปลอมตัวเป็นตัวละครชนิดต่างๆ เพื่อเข้าถึงพื้นที่ต้องห้ามโดยไม่มีใครสังเกติ หรือการหาสิ่งของในฉากมาใช้ประโยชน์ โดยเกมยังมีความ "ตลกร้าย" อันเป็นเสน่ห์ของซีรี่ส์ ที่ทำให้ผู้เล่นสามารถสังหารศัตรูในวิธีพิศดารต่างๆ ได้มากมาย เช่นในด่าน Dubai ผู้เขียนสังเกติว่าเป้าหมายมักจะชอบเดินไปยืนชมวิวตรงขอบตึกในจุดเดิมเสมอ จังลองเอาเปลือกกล้วยไปวางเอาไว้ในจุดที่เป้าหมายจะเดินมา ผลคือเป้าหมายลื่นเปลือกกล้วยจนตกตึกตายไปเองอย่าน่าอนาถ ซึ่งความอิสระนี้ทำให้การเล่นเกม Hitman ทุกภาคมีความลึกกว่าที่ตาเห็น และสามารถเล่นซ้ำๆ เพื่อหาวิธีกำจัดเป้าหมายที่แปลกใหม่หรือรวดเร็วขึ้นได้

แต่สำหรับคนที่โหยหาการเล่นแบบตามภารกิจเหมือนในเกมลอบเร้นอื่นๆ ก็ยังมีระบบ Mission Stories จากภาคก่อนๆ ให้คุณทำภารกิจที่เกมมอบให้ไปเรื่อยๆ ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างในด่าน Thornbridge Manor ที่กล่าวถึงไปก่อนหน้านี้ ภายในภารกิจจะมอบหมายให้เราต้องกำจัดเป้าหมายที่เป็นคุณนายหัวหน้าตระกูลผู้ดีอันเก่าแก่ แต่เมื่อเดินทางไปถึงเรากลับพบว่าได้เกิดการฆาตกรรมขึ้นในบ้านหลังนี้  และมีนักสืบคนหนึ่งถูกจ้างมาเพื่อสิบหาตัวคนร้าย โดยในการเล่นครั้งแรก ผู้เขียนเลือกที่จะปลอมตัวเป็นนักสืบคนดังกล่าวและแสร้งทำเป็นสืบหาตัวคนร้ายจนทำให้พบกับขวดยาพิษที่ใช้เป็นอาวุธสังหารในคดีฆาตกรรมนั้น ซึ่งผู้เขียนก็ใช้เพื่อสังหารเป้าหมายของเราอีกที ในขณะที่การเล่นรอบสอง ผู้เขียนเลือกปลอมตัวเป็นช่างภาพที่ถูกจ้างมาถ่ายภาพรวมญาติของเป้าหมายและแอบวางกับดักไฟฟ้าเอาไว้ในจุดถ่ายภาพ ก่อนที่จะเรียกรวมเป้าหมายและครอบครัวมาถ่ายภาพ (และโดนไฟช๊อตตาย) เป็นต้น



แน่นอนว่ายังมีวิธีสังหารเป้าหมายอีกมากมายที่ผู้เขียนยังไม่ได้ลอง ทั้งที่เกมกำหนดมาและที่สามารถพลิกแพลงเอาเอง แถมเมื่อเล่นจบด่านครั้งหนึ่งแล้ว เราจะสามารถเริ่มเล่นใหม่โดยพกอุปกรณ์พิเศษหลายชนิดเข้าไปใช้ได้เพิ่มอีก เพื่อเปิดช่องทางในการสำเร็จภารกิจได้หลากหลายยิ่งขึ้นด้วย หากไม่มีตัวเลือกเหล่านี้ ผู้เล่นอาจจะสามารถเล่น Hitman 3 ได้จบภายใน 6-8 ชั่วโมง ซึ่งความหลากหลายทั้งหมดที่กล่าวไปก็ช่วยยืดเวลาการเล่นออกไปได้อีกมาก พูดง่ายๆ ว่ายิ่งคุณใส่ใจและให้เวลากับเกมมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีอะไรให้คุณค้นพบได้มากขึ้นเท่านั้น


กราฟฟิก/การนำเสนอ


เช่นเดียวกับองค์ประกอบอื่นๆ ในเกม กราฟฟิกและการนำเสนอของ Hitman 3 ไม่ได้แตกต่างไปจากที่เห็นใน Hitman 2 มากมายนัก โดยเฉพาะในส่วนของโมเดลตัวละครและอนิเมชั่นท่าทางการขยับตัวที่ยังคงเหมือนกันเปี๊ยบ อาจจะมีการพัฒนาขึ้นบ้างในแง่ของแสงเงา โดยเฉพาะในบางด่านของเกมเช่นด่าน Berlin ที่มีลักษณะเป็นไนท์คลับที่เปิดไฟสปอตไลท์สีสันต่างๆ ตามจังหวะเพลง หรือด่าน Chongqing ที่ชโลมไปด้วยแสงไฟนีออนท่ามกลางสายฝน รวมไปถึงหน้าตาท่าทางของตัวละครในฉากคัตซีนก่อน/หลังภารกิจที่แลดูมีความลึกซึ้งกว่าที่ผ่านมาอย่างที่กล่าวไปข้างต้น แต่นอกเหนือจากนั้นแล้วก็แทบไม่มีอะไรแตกต่างกันในภาพรวม เกมยังคงมีปัญหาเรื่อง NPC หน้าซ้ำที่โผล่มาให้เห็นจนรำคาญตา และเรื่องของ U.I. / อินเตอร์เฟซหน้าเมนูต่างๆ ที่ยังมีลักษณะเป็นช่องๆ กล่องๆ แบบ Minimal ที่แม้จะสะอาดตา แต่ก็ไร้ชีวิตชีวาไม่ต่างจากภาค 2 เลย


สรุป


แม้ว่าจะยังคงมีข้อตำหนิใหญ่ๆ อยู่มาก แต่ Hitman 3 ก็ยังคงรักษามาตรฐานเกมเพลย์การลอบเร้นอันมีเสน่ห์ในแบบของตัวเองเอาไว้ได้อย่างครบถ้วน ไม่ว่าคุณจะกำลังมองหาเกมแบบสั้นๆ เล่นแปบเดียวจบ หรือเกมที่มีความลึกล้ำที่สามารถเล่นได้ยาวๆ เชื่อว่าเกม Hitman 3 น่าจะตอบโจทย์คุณได้อย่างน่าพอใจไม่แพ้กัน



[penci_review id="77549"]


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header