GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] ทำไมการพอร์ตเกมลง PC ถึงเป็นความท้าทายของผู้พัฒนาเกม
ลงวันที่ 01/11/2021

ในช่วงนี้เราจะได้เห็นเกมที่เคยขึ้นหิ้งติดป้าย Exclusive บนเครื่องเกมคอนโซลหลายๆ เกมเริ่มทยอยมาเสิร์ฟถึงมือเกมเมอร์สาย PC กันมากขึ้น โดยเฉพาะจากค่าย Sony ที่ขนตัวเต็งมาเพียบแล้วไม่ว่าจะ God of War, Marvel's Spider-Man, Horizon Zero Dawn หรือ Death Stranding แต่ก็ยังมีบางเกมอย่าง Gran Turismo 7 ที่ผู้พัฒนาเคยออกมาบอกว่าอาจไม่ได้ลง PC เนื่องจากมีปัญหาทางด้านเทคนิค ทำให้เราอาจต้องรอเกมภาค 8 ที่จะมาในอนาคตนู้นเลย




แม้จะมีกระแสเรียกร้องให้พอร์ตเกมที่เคย Exclusive เฉพาะคอนโซลทั้งหลายมาลง PC มากกว่านี้เพื่อเพิ่มยอดขาย แต่อันที่จริงแล้ว การพอร์ตเกมจากแพลตฟอร์มอื่นมาสู่ PC นั้นมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่เป็นอุปสรรคสำหรับนักพัฒนาเกมอยู่ที่ผู้เล่นอย่างเราอาจไม่เคยคิดถึง ซึ่งก็รวมไปถึงเกม Gran Turismo 7 ที่เราเพิ่งกล่าวไปด้วย วันนี้เราจึงพามาดูกันว่าเพราะอะไร!


ความแตกต่างทางด้านฮาร์ดแวร์


แม้ข้อนี้จะเป็นเรื่องที่พื้นฐานมากที่สุด แต่มันก็เป็นหนึ่งในโจทย์ที่ยากที่สุดเวลาพอร์ตเกมมาลง PC เช่นกัน เครื่องเล่นเกมคอนโซลนั้นจะใช้ Hardware แบบเดียวทุกเครื่อง ดังนั้นเวลานักพัฒนาเกมต้องการทำเกมลงคอนโซลสักแบรนด์หนึ่ง พวกเขาจะเขียนโค้ดของเกมให้รองรับกับ Hardware นั้นๆ ได้อย่างง่ายดาย นักพัฒนาจะรู้ขีดจำกัด และขุมพลังของเครื่องทำให้สามารถรีดเค้นพลังของเครื่องคอนโซลออกมาได้อย่างเต็มที่ เป็นเหตุผลหนึ่งที่เกม Exclusive ที่สร้างมาสำหรับคอนโซลนั้นๆ โดยเฉพาะมักจะมีคุณภาพกราฟฟิกโดดขึ้นจากเกมที่พัฒนาขึ้นสำหรับหลายแพลตฟอร์มพร้อมกันอย่างสังเกติได้ 


ซึ่งการที่คอนโซลใช้ Hardware แบบเดียวกันทั้งหมดนั้นยังช่วยในเรื่องการแก้บั๊กของเกมอีกด้วย เพราะหากมีบั๊กเกิดขึ้นในคอนโซลหนึ่งเครื่อง นั่นหมายความว่าเครื่องที่เหลือจะต้องมีอาการแบบเดียวกัน นี่จึงเป็นเรื่องง่ายที่ในการหาต้นตอของบั๊กและดำเนินการแก้ไข


กลับกัน ใน PC นั้นมี Hardware ที่หลากหลายกว่ามาก คอมพิวเตอร์สองเครื่องที่ราคาเท่ากัน แต่ส่วนประกอบภายในไม่เหมือนกันสักอย่างเลยก็มี ไม่ว่าจะเป็น RAM, VGA, CPU ก็มีแบรดน์ คุณภาพ และขุมพลังที่แตกต่างกันไปตามราคา ซึ่งความแตกต่าง รวมถึงความเป็นไปได้ในการประกอบ PC หนึ่งเครื่องตรงนี้แหละที่สร้างปัญหาให้กับการพอร์ตเกมมาสู่ PC นักพัฒนาเกมต้องแปลงโค้ดให้สามารถปรับตัวได้หลากหลายบนเครื่อง PC ที่เกิดจากการรวมกันของ Hardware หลายรูปแบบ ซึ่งถ้าเกิดมีบั๊กขึ้นมา ปัญหาในการตามแก้บั๊กของฝั่ง PC จะเป็นเรื่องที่ชวนปวดหัวมากกว่าฝั่งคอนโซลมากโขเลยเพราะมีตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้ให้ต้องคาดการณ์เพิ่มขึ้น


เอาแค่สองค่ายใหญ่ก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงแล้ว


ทั้งนี้ ด้วยแนวโน้มของเครื่องคอนโซลที่เริ่มใช้อะไหล่แบบเดียวกับ PC มากขึ้น ทำให้กระบวนการพอร์ตเกมในปัจจุบันง่ายขึ้นพอสมควรสำหรับฝั่งผู้พัฒนา โดยเฉพาะคอนโซลรุ่นล่าสุด และเป็นหนึ่งในเหตุผลที่เราเริ่มเห็นการพอร์ตเกมจากคอนโซลมาสู่ PC มากขึ้นในช่วงนี้ 


Software ก็มีผล


เครื่องเล่นเกมคอนโซล ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เล่นเกมเป็นจุดประสงค์หลัก ดังนั้นโปรแกรมที่เปิดใช้งานจะไม่มีอะไรมากไปกว่าระบบที่ใช้เล่นเกม ซึ่งหากพูดถึง PC นั้น จุดประสงค์ดั้งเดิมของมันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเล่นเกมเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการเปิดโปรแกรมบางตัวทิ้งไว้ อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกมล่มก็เป็นได้ พูดง่ายๆ ว่าแม้เครื่องคอนโซลจะมี "วัตถุประสงค์ในการใช้" และ "ขีดความสามารถ" ที่แคบกว่า แต่ในมุมของผู้พัฒนา พวกเขาสามารถมั่นใจได้ว่าคอนโซลทุกเครื่องจะทำงานเหมือนกัน ต่างกับ PC ที่ร้อยเครื่องก็อาจมีโปรแกรมที่รันอยู่หลังบ้านไม่เหมือนกันเป๊ะๆ ซักเครื่องก็เป็นได้


จะแกะออกมากี่เครื่องก็เหมือนกันแน่นอน 100%


นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของ “ภาษา” ที่ผู้พัฒนาใช้ในการเขียนโปรแกรมเกมขึ้นมา ซึ่งอาจจะแตกต่างกันเป็นคนละเรื่องเลยระหว่างการพัฒนาเกมให้กับคอนโซลและ PC ขึ้นอยู่กับเครื่องมือหรือ Engine ที่ผู้พัฒนาใช้ในการสร้างองค์ประกอบต่างๆ ในเกมนั้น โดย Engine อาจจะเปรียบได้กับ "กล่องเครื่องมือ" ที่รวมโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างองค์ประกอบแต่ละอย่าง เช่นโปรแกรมสำหรับการปั้นโมเดลตัวละคร การทำอนิเมชั่น การปรับแสงสี และองค์ประกอบยิบย่อยอีกนับร้อยๆ ส่วนที่ต้องทำงานร่วมกันอย่างลื่นไหล ซึ่งการใช้ Engine นอกจากจะทำให้ผู้พัฒนามีเครื่องมือทั้งหมดรวมอยู่ในที่เดียวแล้ว ยังเป็นวิธีรับประกันด้วยว่าโปรแกรมทั้งหมดที่ใช้ในการสร้างเกมถูกออกแบบมาให้ทำงานร่วมกันได้อย่างแน่นอน 


เช่นเดียวกับที่โปรแกรมสำหรับ Windows ไม่สามารถโหลดใช้ในระบบปฏิบัติการ Mac OS ได้ เครื่องคอนโซลแต่ละเครื่องก็มีระบบปฏิบัติการของตัวเองเช่นกัน และ Engine บาง Engine ก็ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างเกมสำหรับคอนโซลหรือ PC โดยเฉพาะ (แต่ส่วนใหญ่เป็นคอนโซลมากกว่า) แม้ว่าสุดท้ายผู้พัฒนาจะใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างเกม แต่โค้ดของเกมนั้นอาจจะไม่ได้ถูกเขียนขึ้นสำหรับใช้บน PC เสมอไป และต้องถูก "แปลง" เสียก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้ ซึ่งก็คือกระบวนการพอร์ตเกมนั่นเอง


เกม Red Dead Redemption 2 ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของกรณีนี้ หลายคนอาจจะจำกันได้ว่าเกมประสบปัญหาการทำงานบน PC เยอะมากๆ อย่างน้อยในช่วงแรกที่วางจำหน่าย เหตุผลก็เพราะ Engine ที่ใช้สร้างเกมของค่าย Rockstar Games แทบทุกเกมถูกพัฒนาขึ้นสำหรับแพลตฟอร์มคอนโซลก่อนเป็นหลัก การทำให้เกมเล่นบน PC ได้จึงเปรียบได้กับการ “แปล” ภาษาของหนังสือซักเล่มให้กลายเป็นภาษาที่ PC จะอ่านออก ซึ่งแน่นอนว่าการแปลภาษาหนึ่งแบบตรงตัวคำต่อคำ ย่อมทำให้ความหมายดั้งเดิมผิดเพี้ยนไปได้ นำไปสู่บั๊คหรือปัญหาในการทำงานของเกมเวอร์ชั่นพอร์ตนั่นเอง พูดง่ายๆ ว่าการพอร์ตเกมไม่ใช่อะไรที่แค่ตัดแปะก็จบ แต่เป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและฝีมือเฉพาะทางสูงกว่าที่หลายคนอาจจะคิดเอาไว้ ถึงขนาดที่มีค่ายพัฒนาหลายๆ ค่ายที่เชี่ยวชาญด้านการพอร์ตเกมโดยเฉพาะ และรับจ้างพอร์ตเกมของคนอื่นมากกว่าการพัฒนาเกมของตัวเองเสียอีก



ภาพที่ลื่นตา กับราคาที่ต้องจ่าย


เกมเมอร์รู้กันดีว่า เครื่องคอนโซลมีขีดจำกัดของมันอยู่ ดังนั้นพวกเขาจึงยอมรับได้ที่ภาพในเกมอาจดูไม่คมชัด หรือไหลลื่นสักเท่าไร แต่หากเกมนั้นมาอยู่บน PC แล้ว พวกเขาแทบจะพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว เนื่องจาก PC หนึ่งเครื่องมีความเป็นไปได้ที่แทบจะไร้สิ้นสุด คุณสามารถอัปเกรดมันได้เรื่อยๆ เท่าที่เงินจะเอื้ออำนวย และนั่นจึงนำเรามาสู่ปัญหาเรื่อง Performance ของเกมที่ถูกพอร์ตมา


เกมส่วนใหญ่ที่ถูกพอร์ตมาลง PC มักจะต้องปรับให้ FPS มากขึ้นพร้อมกับความคมชัดของภาพที่มากขึ้นไปตามๆ กัน เนื่องจากทางผู้พัฒนาไม่สามารถอ้างเรื่อง Hardware และขีดจำกัดของตัวเครื่องได้อีกแล้ว ดังนั้นหากเกมไม่สามารถเล่นได้ลื่นทั้งที่ PC มีราคาเหยียบแสน นั่นถือว่าเป็นการ Optimize หรือขัดเกลาเกมที่แย่ ซึ่งนับเป็นความผิดของผู้พัฒนาเต็มประตู


แต่ปัญหามันไม่ได้จบที่แค่นั้น ในบางเกมเมื่อต้องเพิ่ม FPS กลับไปทำให้ตรรกะภายในเกมเพี้ยนไปด้วย ยกตัวอย่างเช่นเกม Vanquish ที่แต่เดิมถูกล็อกให้เล่นเพียง 30 FPS บนคอนโซล แต่เมื่อพอร์ตมาลง PC นั้นตัวเกมต้องอัปเกรดเป็น 60 FPS และนั่นกลับทำให้เกิดบั๊กที่ไม่คาดคิดขึ้น ส่งผลให้ความเสียหายที่ตัวละครหลักของเราโดนทวีคูณขึ้นเป็นสองเท่า การพังของอาวุธก็เร็วขึ้นเป็นสองเท่า เพราะระบบหลายๆ อย่างของเกมดันผูกเข้ากับค่า FPS ดั้งเดิมที่ตั้งเอาไว้ พอเพิ่มขึ้นสองเท่าก็เลยทำให้ระบบเหล่านี้รวนไปหมดเลยพร้อมกัน โดยเรื่องเล่านี้มาจากปากของ Jason Stark ผู้ก่อตั้งบริษัท Disparity Games เองเลยทีเดียว


Vanquish เวอร์ชั่น PC


นอกจากนี้การปรับความคมชัดของภาพ (Resolution) ก็เป็นปัญหาเช่นกัน จินตนาการว่าคุณมีเกมหนึ่งเล่นบนคอนโซลที่ความละเอียด 720 แต่พอคุณพอร์ตมาลง PC คุณต้องทำให้มันชัดขึ้นไปถึง 4k ซึ่งการปรับความละเอียดที่เพิ่มขึ้นหลายเท่า แต่ Engine ที่คุณใช้สร้างเกิมดั้งเดิมอาจจะเก่าไปซะแล้ว และไม่สามารถรอรับไฟล์กราฟฟิกระดับ 4k ได้ ส่งผลให้บางเกมถึงกับต้องรื้อ Engine มาทำใหม่ เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดและลื่นไหลขึ้นสำหรับ PC ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการลงทุนทั้งเวลาและทรัพยากรบุคคลของค่ายไปกับการพัฒนา Engine เพื่อมาใช้พัฒนาหรือพอร์ตเกมอีกที


การ Mapping ปุ่มที่ต้องคิดแล้วคิดอีก


ในเกมคอนโซล จอยเป็นเหมือนภาษาสากลที่ใช้กันทั่วทุกเครื่อง มันถูกออกแบบมาเพื่อรองรับสำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะ โดยให้มือทั้งสองข้างมาอยู่รวมกันในท่าทางที่สบาย และพร้อมที่จะกดในจังหวะออกแอ็กชันต่างๆ แต่ทว่าบน PC นั้น การบังคับพื้นฐานจะเป็นไปตามคีย์บอร์ด และเมาส์ (หากไม่มีการต่อจอย) ซึ่งถ้าเกมไหนจะพอร์ตมาลง PC พวกเขาจะต้องคิดถึงข้อนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้




แน่นอนว่าการปรับปุ่มจากจอยมาสู่คีย์บอร์ดเป็นอีกหนึ่งความท้าทายเช่นกัน เพราะแรกเริ่มเดิมที รูปแบบการวางมือบนจอยกับคีย์บอร์ดก็แตกต่างกันอยู่แล้ว นอกจากนี้เหล่านักพัฒนายังต้องมองเผื่อเรื่องปรับการเคลื่อนไหวจากก้านอนาล็อกมาสู่เมาส์อีกด้วย และหากเกมไหนที่พอร์ตมาได้ไม่ดีพอ เรามักจะได้เห็นอาการเมาส์หน่วงระหว่างการเล่นอยู่เสมอ ซึ่งในบางเกมนั้น ถึงกับไม่สามารถทนใช้เมาส์เล่นได้ จนต้องหาจอยมาต่อเลยทีเดียว


เสียเวลา และเสียสตางค์


เรื่องที่สำคัญที่สุดคงไม่พ้นหัวข้อนี้ การพอร์ตเกมหนึ่งเกมต้องใช้เวลาและเงินไปควบคู่กัน ซึ่งนั่นอาจจะทำให้ไปรบกวนโปรเจกต์เกมใหม่ที่กำลังทำอยู่ด้วย หากจะลองจ้างสตูดิโอภายนอกให้เป็นคนทำ ก็อาจจะไม่ได้ผลงานตามมาตรฐานของตัวเองอีก ทางบริษัทเกมก็ต้องชั่งใจเอาเองว่าจะยอมพอร์ตเกมเก่าที่ระบบอาจจะตกยุคไปสู่ PC ดีไหม หรือจะทุ่มเงินไปกับเกมใหม่ ที่ยังไม่มีอะไรการันตีว่ามันจะขายได้ดีกว่า


Batman: Arkham Knight ตัวอย่างของเกมดีที่ตกม้าตายตอนพอร์ต


นี่เป็นโจทย์ที่ทางบริษัทพัฒนาเกมต้องตีให้แตกก่อนที่พวกเขาจะตัดสินใจพอร์ตเกมเกมหนึ่งมาสู่เกมเมอร์ชาว PC ถ้ายอดขายบนแพลตฟอร์ม PC มากพอที่จะทำให้บริษัทเกมคิดว่ามันคุ้มค่ากับการเสียเวลาและเงินทุนไปกับการพอร์ต แม้ว่าในปัจจุบันนี้เทคโนโลยี PC และคอนโซลจะเริ่มมีความใกล้เคียงกันมากขึ้นก็ตามที


สุดท้ายนี้ แน่นอนว่าการพอร์ตเกมจากแพลตฟอร์มหนึ่งไปสู่แพลตฟอร์มอื่นๆ เพิ่มเติมย่อมเป็นผลดีกับผู้พัฒนาอยู่แล้วในแง่ของการขยายฐานลูกค้า และในฝั่งผู้เล่นเองก็จะสามารถเข้าถึงเกมได้มากขึ้นบนแพลตฟอร์มที่ต้องการ ในอนาคตเราคงได้เห็นเกม Exclusive แบบถาวรจำนวนมาก เริ่มกลายร่างเป็น Timed Exclusive (เกม Exclusive แบบจำกัดเวลา) กันมากขึ้น ทำให้ชาวเกมเมอร์ได้สัมผัสเกมที่ตัวเองชื่นชอบบนแพลตฟอร์มที่พวกเขาสะดวกใจ มีความสุขกันทั้งฝั่งผู้พัฒนาและฝั่งผู้บริโภคอย่างชาวเราในที่สุด



อ้างอิง:


https://www.youtube.com/watch?v=lXmu5ARlzkU&t=1s&ab_channel=Techquickie


https://www.pcgamer.com/why-porting-games-to-pc-is-hard/


https://unsplash.com/photos/I7rXyzBNVQM 



GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] ทำไมการพอร์ตเกมลง PC ถึงเป็นความท้าทายของผู้พัฒนาเกม
01/11/2021

ในช่วงนี้เราจะได้เห็นเกมที่เคยขึ้นหิ้งติดป้าย Exclusive บนเครื่องเกมคอนโซลหลายๆ เกมเริ่มทยอยมาเสิร์ฟถึงมือเกมเมอร์สาย PC กันมากขึ้น โดยเฉพาะจากค่าย Sony ที่ขนตัวเต็งมาเพียบแล้วไม่ว่าจะ God of War, Marvel's Spider-Man, Horizon Zero Dawn หรือ Death Stranding แต่ก็ยังมีบางเกมอย่าง Gran Turismo 7 ที่ผู้พัฒนาเคยออกมาบอกว่าอาจไม่ได้ลง PC เนื่องจากมีปัญหาทางด้านเทคนิค ทำให้เราอาจต้องรอเกมภาค 8 ที่จะมาในอนาคตนู้นเลย




แม้จะมีกระแสเรียกร้องให้พอร์ตเกมที่เคย Exclusive เฉพาะคอนโซลทั้งหลายมาลง PC มากกว่านี้เพื่อเพิ่มยอดขาย แต่อันที่จริงแล้ว การพอร์ตเกมจากแพลตฟอร์มอื่นมาสู่ PC นั้นมีปัจจัยหลายๆ อย่างที่เป็นอุปสรรคสำหรับนักพัฒนาเกมอยู่ที่ผู้เล่นอย่างเราอาจไม่เคยคิดถึง ซึ่งก็รวมไปถึงเกม Gran Turismo 7 ที่เราเพิ่งกล่าวไปด้วย วันนี้เราจึงพามาดูกันว่าเพราะอะไร!


ความแตกต่างทางด้านฮาร์ดแวร์


แม้ข้อนี้จะเป็นเรื่องที่พื้นฐานมากที่สุด แต่มันก็เป็นหนึ่งในโจทย์ที่ยากที่สุดเวลาพอร์ตเกมมาลง PC เช่นกัน เครื่องเล่นเกมคอนโซลนั้นจะใช้ Hardware แบบเดียวทุกเครื่อง ดังนั้นเวลานักพัฒนาเกมต้องการทำเกมลงคอนโซลสักแบรนด์หนึ่ง พวกเขาจะเขียนโค้ดของเกมให้รองรับกับ Hardware นั้นๆ ได้อย่างง่ายดาย นักพัฒนาจะรู้ขีดจำกัด และขุมพลังของเครื่องทำให้สามารถรีดเค้นพลังของเครื่องคอนโซลออกมาได้อย่างเต็มที่ เป็นเหตุผลหนึ่งที่เกม Exclusive ที่สร้างมาสำหรับคอนโซลนั้นๆ โดยเฉพาะมักจะมีคุณภาพกราฟฟิกโดดขึ้นจากเกมที่พัฒนาขึ้นสำหรับหลายแพลตฟอร์มพร้อมกันอย่างสังเกติได้ 


ซึ่งการที่คอนโซลใช้ Hardware แบบเดียวกันทั้งหมดนั้นยังช่วยในเรื่องการแก้บั๊กของเกมอีกด้วย เพราะหากมีบั๊กเกิดขึ้นในคอนโซลหนึ่งเครื่อง นั่นหมายความว่าเครื่องที่เหลือจะต้องมีอาการแบบเดียวกัน นี่จึงเป็นเรื่องง่ายที่ในการหาต้นตอของบั๊กและดำเนินการแก้ไข


กลับกัน ใน PC นั้นมี Hardware ที่หลากหลายกว่ามาก คอมพิวเตอร์สองเครื่องที่ราคาเท่ากัน แต่ส่วนประกอบภายในไม่เหมือนกันสักอย่างเลยก็มี ไม่ว่าจะเป็น RAM, VGA, CPU ก็มีแบรดน์ คุณภาพ และขุมพลังที่แตกต่างกันไปตามราคา ซึ่งความแตกต่าง รวมถึงความเป็นไปได้ในการประกอบ PC หนึ่งเครื่องตรงนี้แหละที่สร้างปัญหาให้กับการพอร์ตเกมมาสู่ PC นักพัฒนาเกมต้องแปลงโค้ดให้สามารถปรับตัวได้หลากหลายบนเครื่อง PC ที่เกิดจากการรวมกันของ Hardware หลายรูปแบบ ซึ่งถ้าเกิดมีบั๊กขึ้นมา ปัญหาในการตามแก้บั๊กของฝั่ง PC จะเป็นเรื่องที่ชวนปวดหัวมากกว่าฝั่งคอนโซลมากโขเลยเพราะมีตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้ให้ต้องคาดการณ์เพิ่มขึ้น


เอาแค่สองค่ายใหญ่ก็แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงแล้ว


ทั้งนี้ ด้วยแนวโน้มของเครื่องคอนโซลที่เริ่มใช้อะไหล่แบบเดียวกับ PC มากขึ้น ทำให้กระบวนการพอร์ตเกมในปัจจุบันง่ายขึ้นพอสมควรสำหรับฝั่งผู้พัฒนา โดยเฉพาะคอนโซลรุ่นล่าสุด และเป็นหนึ่งในเหตุผลที่เราเริ่มเห็นการพอร์ตเกมจากคอนโซลมาสู่ PC มากขึ้นในช่วงนี้ 


Software ก็มีผล


เครื่องเล่นเกมคอนโซล ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เล่นเกมเป็นจุดประสงค์หลัก ดังนั้นโปรแกรมที่เปิดใช้งานจะไม่มีอะไรมากไปกว่าระบบที่ใช้เล่นเกม ซึ่งหากพูดถึง PC นั้น จุดประสงค์ดั้งเดิมของมันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเล่นเกมเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการเปิดโปรแกรมบางตัวทิ้งไว้ อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกมล่มก็เป็นได้ พูดง่ายๆ ว่าแม้เครื่องคอนโซลจะมี "วัตถุประสงค์ในการใช้" และ "ขีดความสามารถ" ที่แคบกว่า แต่ในมุมของผู้พัฒนา พวกเขาสามารถมั่นใจได้ว่าคอนโซลทุกเครื่องจะทำงานเหมือนกัน ต่างกับ PC ที่ร้อยเครื่องก็อาจมีโปรแกรมที่รันอยู่หลังบ้านไม่เหมือนกันเป๊ะๆ ซักเครื่องก็เป็นได้


จะแกะออกมากี่เครื่องก็เหมือนกันแน่นอน 100%


นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของ “ภาษา” ที่ผู้พัฒนาใช้ในการเขียนโปรแกรมเกมขึ้นมา ซึ่งอาจจะแตกต่างกันเป็นคนละเรื่องเลยระหว่างการพัฒนาเกมให้กับคอนโซลและ PC ขึ้นอยู่กับเครื่องมือหรือ Engine ที่ผู้พัฒนาใช้ในการสร้างองค์ประกอบต่างๆ ในเกมนั้น โดย Engine อาจจะเปรียบได้กับ "กล่องเครื่องมือ" ที่รวมโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างองค์ประกอบแต่ละอย่าง เช่นโปรแกรมสำหรับการปั้นโมเดลตัวละคร การทำอนิเมชั่น การปรับแสงสี และองค์ประกอบยิบย่อยอีกนับร้อยๆ ส่วนที่ต้องทำงานร่วมกันอย่างลื่นไหล ซึ่งการใช้ Engine นอกจากจะทำให้ผู้พัฒนามีเครื่องมือทั้งหมดรวมอยู่ในที่เดียวแล้ว ยังเป็นวิธีรับประกันด้วยว่าโปรแกรมทั้งหมดที่ใช้ในการสร้างเกมถูกออกแบบมาให้ทำงานร่วมกันได้อย่างแน่นอน 


เช่นเดียวกับที่โปรแกรมสำหรับ Windows ไม่สามารถโหลดใช้ในระบบปฏิบัติการ Mac OS ได้ เครื่องคอนโซลแต่ละเครื่องก็มีระบบปฏิบัติการของตัวเองเช่นกัน และ Engine บาง Engine ก็ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างเกมสำหรับคอนโซลหรือ PC โดยเฉพาะ (แต่ส่วนใหญ่เป็นคอนโซลมากกว่า) แม้ว่าสุดท้ายผู้พัฒนาจะใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างเกม แต่โค้ดของเกมนั้นอาจจะไม่ได้ถูกเขียนขึ้นสำหรับใช้บน PC เสมอไป และต้องถูก "แปลง" เสียก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้ ซึ่งก็คือกระบวนการพอร์ตเกมนั่นเอง


เกม Red Dead Redemption 2 ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของกรณีนี้ หลายคนอาจจะจำกันได้ว่าเกมประสบปัญหาการทำงานบน PC เยอะมากๆ อย่างน้อยในช่วงแรกที่วางจำหน่าย เหตุผลก็เพราะ Engine ที่ใช้สร้างเกมของค่าย Rockstar Games แทบทุกเกมถูกพัฒนาขึ้นสำหรับแพลตฟอร์มคอนโซลก่อนเป็นหลัก การทำให้เกมเล่นบน PC ได้จึงเปรียบได้กับการ “แปล” ภาษาของหนังสือซักเล่มให้กลายเป็นภาษาที่ PC จะอ่านออก ซึ่งแน่นอนว่าการแปลภาษาหนึ่งแบบตรงตัวคำต่อคำ ย่อมทำให้ความหมายดั้งเดิมผิดเพี้ยนไปได้ นำไปสู่บั๊คหรือปัญหาในการทำงานของเกมเวอร์ชั่นพอร์ตนั่นเอง พูดง่ายๆ ว่าการพอร์ตเกมไม่ใช่อะไรที่แค่ตัดแปะก็จบ แต่เป็นงานที่ต้องใช้ความละเอียดอ่อนและฝีมือเฉพาะทางสูงกว่าที่หลายคนอาจจะคิดเอาไว้ ถึงขนาดที่มีค่ายพัฒนาหลายๆ ค่ายที่เชี่ยวชาญด้านการพอร์ตเกมโดยเฉพาะ และรับจ้างพอร์ตเกมของคนอื่นมากกว่าการพัฒนาเกมของตัวเองเสียอีก



ภาพที่ลื่นตา กับราคาที่ต้องจ่าย


เกมเมอร์รู้กันดีว่า เครื่องคอนโซลมีขีดจำกัดของมันอยู่ ดังนั้นพวกเขาจึงยอมรับได้ที่ภาพในเกมอาจดูไม่คมชัด หรือไหลลื่นสักเท่าไร แต่หากเกมนั้นมาอยู่บน PC แล้ว พวกเขาแทบจะพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว เนื่องจาก PC หนึ่งเครื่องมีความเป็นไปได้ที่แทบจะไร้สิ้นสุด คุณสามารถอัปเกรดมันได้เรื่อยๆ เท่าที่เงินจะเอื้ออำนวย และนั่นจึงนำเรามาสู่ปัญหาเรื่อง Performance ของเกมที่ถูกพอร์ตมา


เกมส่วนใหญ่ที่ถูกพอร์ตมาลง PC มักจะต้องปรับให้ FPS มากขึ้นพร้อมกับความคมชัดของภาพที่มากขึ้นไปตามๆ กัน เนื่องจากทางผู้พัฒนาไม่สามารถอ้างเรื่อง Hardware และขีดจำกัดของตัวเครื่องได้อีกแล้ว ดังนั้นหากเกมไม่สามารถเล่นได้ลื่นทั้งที่ PC มีราคาเหยียบแสน นั่นถือว่าเป็นการ Optimize หรือขัดเกลาเกมที่แย่ ซึ่งนับเป็นความผิดของผู้พัฒนาเต็มประตู


แต่ปัญหามันไม่ได้จบที่แค่นั้น ในบางเกมเมื่อต้องเพิ่ม FPS กลับไปทำให้ตรรกะภายในเกมเพี้ยนไปด้วย ยกตัวอย่างเช่นเกม Vanquish ที่แต่เดิมถูกล็อกให้เล่นเพียง 30 FPS บนคอนโซล แต่เมื่อพอร์ตมาลง PC นั้นตัวเกมต้องอัปเกรดเป็น 60 FPS และนั่นกลับทำให้เกิดบั๊กที่ไม่คาดคิดขึ้น ส่งผลให้ความเสียหายที่ตัวละครหลักของเราโดนทวีคูณขึ้นเป็นสองเท่า การพังของอาวุธก็เร็วขึ้นเป็นสองเท่า เพราะระบบหลายๆ อย่างของเกมดันผูกเข้ากับค่า FPS ดั้งเดิมที่ตั้งเอาไว้ พอเพิ่มขึ้นสองเท่าก็เลยทำให้ระบบเหล่านี้รวนไปหมดเลยพร้อมกัน โดยเรื่องเล่านี้มาจากปากของ Jason Stark ผู้ก่อตั้งบริษัท Disparity Games เองเลยทีเดียว


Vanquish เวอร์ชั่น PC


นอกจากนี้การปรับความคมชัดของภาพ (Resolution) ก็เป็นปัญหาเช่นกัน จินตนาการว่าคุณมีเกมหนึ่งเล่นบนคอนโซลที่ความละเอียด 720 แต่พอคุณพอร์ตมาลง PC คุณต้องทำให้มันชัดขึ้นไปถึง 4k ซึ่งการปรับความละเอียดที่เพิ่มขึ้นหลายเท่า แต่ Engine ที่คุณใช้สร้างเกิมดั้งเดิมอาจจะเก่าไปซะแล้ว และไม่สามารถรอรับไฟล์กราฟฟิกระดับ 4k ได้ ส่งผลให้บางเกมถึงกับต้องรื้อ Engine มาทำใหม่ เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดและลื่นไหลขึ้นสำหรับ PC ซึ่งแน่นอนว่าเป็นการลงทุนทั้งเวลาและทรัพยากรบุคคลของค่ายไปกับการพัฒนา Engine เพื่อมาใช้พัฒนาหรือพอร์ตเกมอีกที


การ Mapping ปุ่มที่ต้องคิดแล้วคิดอีก


ในเกมคอนโซล จอยเป็นเหมือนภาษาสากลที่ใช้กันทั่วทุกเครื่อง มันถูกออกแบบมาเพื่อรองรับสำหรับเล่นเกมโดยเฉพาะ โดยให้มือทั้งสองข้างมาอยู่รวมกันในท่าทางที่สบาย และพร้อมที่จะกดในจังหวะออกแอ็กชันต่างๆ แต่ทว่าบน PC นั้น การบังคับพื้นฐานจะเป็นไปตามคีย์บอร์ด และเมาส์ (หากไม่มีการต่อจอย) ซึ่งถ้าเกมไหนจะพอร์ตมาลง PC พวกเขาจะต้องคิดถึงข้อนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้




แน่นอนว่าการปรับปุ่มจากจอยมาสู่คีย์บอร์ดเป็นอีกหนึ่งความท้าทายเช่นกัน เพราะแรกเริ่มเดิมที รูปแบบการวางมือบนจอยกับคีย์บอร์ดก็แตกต่างกันอยู่แล้ว นอกจากนี้เหล่านักพัฒนายังต้องมองเผื่อเรื่องปรับการเคลื่อนไหวจากก้านอนาล็อกมาสู่เมาส์อีกด้วย และหากเกมไหนที่พอร์ตมาได้ไม่ดีพอ เรามักจะได้เห็นอาการเมาส์หน่วงระหว่างการเล่นอยู่เสมอ ซึ่งในบางเกมนั้น ถึงกับไม่สามารถทนใช้เมาส์เล่นได้ จนต้องหาจอยมาต่อเลยทีเดียว


เสียเวลา และเสียสตางค์


เรื่องที่สำคัญที่สุดคงไม่พ้นหัวข้อนี้ การพอร์ตเกมหนึ่งเกมต้องใช้เวลาและเงินไปควบคู่กัน ซึ่งนั่นอาจจะทำให้ไปรบกวนโปรเจกต์เกมใหม่ที่กำลังทำอยู่ด้วย หากจะลองจ้างสตูดิโอภายนอกให้เป็นคนทำ ก็อาจจะไม่ได้ผลงานตามมาตรฐานของตัวเองอีก ทางบริษัทเกมก็ต้องชั่งใจเอาเองว่าจะยอมพอร์ตเกมเก่าที่ระบบอาจจะตกยุคไปสู่ PC ดีไหม หรือจะทุ่มเงินไปกับเกมใหม่ ที่ยังไม่มีอะไรการันตีว่ามันจะขายได้ดีกว่า


Batman: Arkham Knight ตัวอย่างของเกมดีที่ตกม้าตายตอนพอร์ต


นี่เป็นโจทย์ที่ทางบริษัทพัฒนาเกมต้องตีให้แตกก่อนที่พวกเขาจะตัดสินใจพอร์ตเกมเกมหนึ่งมาสู่เกมเมอร์ชาว PC ถ้ายอดขายบนแพลตฟอร์ม PC มากพอที่จะทำให้บริษัทเกมคิดว่ามันคุ้มค่ากับการเสียเวลาและเงินทุนไปกับการพอร์ต แม้ว่าในปัจจุบันนี้เทคโนโลยี PC และคอนโซลจะเริ่มมีความใกล้เคียงกันมากขึ้นก็ตามที


สุดท้ายนี้ แน่นอนว่าการพอร์ตเกมจากแพลตฟอร์มหนึ่งไปสู่แพลตฟอร์มอื่นๆ เพิ่มเติมย่อมเป็นผลดีกับผู้พัฒนาอยู่แล้วในแง่ของการขยายฐานลูกค้า และในฝั่งผู้เล่นเองก็จะสามารถเข้าถึงเกมได้มากขึ้นบนแพลตฟอร์มที่ต้องการ ในอนาคตเราคงได้เห็นเกม Exclusive แบบถาวรจำนวนมาก เริ่มกลายร่างเป็น Timed Exclusive (เกม Exclusive แบบจำกัดเวลา) กันมากขึ้น ทำให้ชาวเกมเมอร์ได้สัมผัสเกมที่ตัวเองชื่นชอบบนแพลตฟอร์มที่พวกเขาสะดวกใจ มีความสุขกันทั้งฝั่งผู้พัฒนาและฝั่งผู้บริโภคอย่างชาวเราในที่สุด



อ้างอิง:


https://www.youtube.com/watch?v=lXmu5ARlzkU&t=1s&ab_channel=Techquickie


https://www.pcgamer.com/why-porting-games-to-pc-is-hard/


https://unsplash.com/photos/I7rXyzBNVQM 



บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header