GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
เปิดรายได้ Ninja ราชาแห่ง Twitch!
ลงวันที่ 04/01/2019

ถ้าพูดถึงวงการสตรีมเมอร์แล้ว คงไม่มีใครโด่งดังไปกว่า Tyler "Ninja" Blevins ที่ขึ้นหิ้งเป็นราชาแห่ง Twitch ครองอันดับหนึ่งของช่องที่มีผู้ชมสูงสุดแทบทุกอาทิตย์ แถมเมื่อจบปี 2018 ยังได้ตำแหน่งเป็นสุดยอดสตรีมเมอร์ที่มีผู้ชมสูงสุดในช่องสตรีมค่ายม่วงอีกด้วย เรียกได้ว่า Ninja กลายเป็นราชันย์นักสตรีมอย่างเป็นทางการ สตรีมเมอร์ 

[caption id="attachment_16479" align="aligncenter" width="521"] ช่องที่มีผู้ชมสูงสุดใน Twitch ประจำปี 2018 | The Esports Observer[/caption]

 

หลังจากที่ Ninja ผันตัวจากการเป็นโปรเพลเยอร์ซีรีส์เกม Halo ที่เคยสังกัดค่ายดังอย่าง Cloud9 หรือ Team Liquid แล้วกลายมาเป็นสตรีมเมอร์อย่างเต็มตัวกับเกม Fortnite ในปี 2017 แล้ว สตรีมเมอร์หนุ่มก็ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่หลายอย่างด้วยกัน เช่น


  • เป็นผู้เล่นคนแรกของโลกที่ชนะเกม Fortnite ครบ 5,000 ครั้ง

  • เป็นโปรเกมเมอร์คนแรกที่ได้ขึ้นหน้าปกของนิตยสาร ESPN

  • เป็นสตรีมเมอร์ใน Twitch คนแรกที่มี Subscriber มากกว่า 50,000 คน

  • หลังจากนั้นเพียงแค่สัปดาห์กว่าๆ Ninja มี Subscriber มากกว่า 100,000 คน

  • เป็นสตรีมเมอร์ใน Twitch คนแรกที่มียอดผู้ติดตามกว่า 3 ล้านคน

  • ภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังจากที่เริ่มสตรีม มียอดผู้ติดตามกว่า 7 ล้านคน

  • เป็นสตรีมเมอร์ใน Twitch คนแรกที่มีผู้ติดตามมากกว่า 10 ล้านคน

  • ทำลายสถิติ มียอดผู้ชมการไลฟ์สดสูงสุดในประวัติศาสตร์ Twitch ด้วยการสตรีมร่วมกับ Drake (มีผู้ชมไลฟ์พร้อมกัน ในเวลาเดียวกัน ถึง เกิน 600,000 คน)

  • ทำลายสถิติของตัวเองด้วยการมีผู้ชมไลฟ์พร้อมกันกว่า 660,000 คน ในงานการกุศล Esports Arena in Las Vegas

  • ได้อยู่ในรายชื่อ 30 Under 30 ของนิตยสาร Forbes


 

โน้ต: Subscriber และ ผู้ติดตาม (Follower) มีความหมายไม่เหมือนกัน โดย Subscriber คือคนที่จ่ายเงินรายเดือนเพื่อสนับสนุนสตรีมเมอร์ที่ตัวเองชื่นชอบ ส่วน Follower เป็นแค่คนติดตามใน Twitch เท่านั้น

 

นอกเหนือจากความสำเร็จที่กล่าวมาแล้ว Ninja ยังเป็นสตรีมเมอร์หลักที่อยู่คู่กับ Fortnite ทำให้เกม Battle Royale หน้าใหม่ในวงการขึ้นมาเทียบเคียงวัดคู่กับเกมรุ่นเก๋าๆ ได้อย่างไม่น้อยหน้าใคร และด้วยอิทธิพลและการเติบโตแบบก้าวกระโดดนี้ ทำให้หลายคนอาจสงสัยว่าเจ้าพ่อสตรีมเมอร์วัย 27 คนนี้มีรายได้เท่าไหร่กันแน่

......

คำนวณรายได้ของ Ninja




อันที่จริง การวัดจำนวนรายได้ที่แท้จริงของเหล่าสตรีมเมอร์นั้นค่อนข้างทำได้ยากพอสมควร เนื่องจากรายได้มาจากหลายช่องทางด้วยกัน ได้แก่ ยอด Subscriber, การบริจาคเงินระหว่างสตรีม (Donation), การมีสปอนเซอร์สนับสนุน, เงินที่ได้จากการแข่งขัน และโฆษณา ซึ่งการบริจาคเงินหรือเงินที่ได้รับจากสปอนเซอร์เป็นสิ่งที่วัดได้ยากมาก แต่ถ้าคำนวณรายได้คร่าวๆ จากยอด Subscriber ก็พอเป็นไปได้อยู่เหมือนกัน

ก่อนอื่นต้องแยกก่อนว่า Subcriber และ ยอดผู้ติดตาม หรือ Follower ไม่เหมือนกัน เนื่องจาก Subcriber เป็นผู้ชมที่จ่ายเงินรายเดือนเพื่อสนับสนุนสตรีมเมอร์ในดวงใจ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

  • Tier 1: ราคา 4.99 USD - ประมาณ 160 บาท / เดือน

  • Tier 2: ราคา 9.99 USD - ประมาณ 320 บาท / เดือน

  • Tier 3: ราคา 24.99 USD - ประมาณ 800 บาท / เดือน

  • Twitch Prime: นับเหมือน Tier 1 คือ 4.99 USD - ประมาณ 160 บาท / เดือน


ปกติแล้ว Twitch จะแบ่งเงินที่ได้จาก Subcriber กับสตรีมเมอร์กันแบบ 50 - 50 หมายความว่าสตรีมเมอร์จะได้เงินครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ได้ทั้งหมด แต่เพื่อเป็นการดึงตัวเหล่าสตรีมเมอร์คนดังไว้ จะมีบางกรณีที่สตรีมเมอร์จะได้เงินจากยอด Subcriber มากขึ้น โดยอาจได้ส่วนแบ่ง 60 - 100% เลยก็ว่าได้ ซึ่ง Ninja ก็อยู่ในรายชื่อที่ว่านั่นด้วยเหมือนกัน

Ninja ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Forbes ว่า หากมีคนกด Subcribe ในระดับ Tier 1 หรือ 4.99 USD เขาจะได้เงินประมาณ 3.50 USD เท่าที่คำนวณได้คือ Ninja จะได้เงิน 70% จากยอด Subcriber นั่นเอง เราจะใช้ยอด Subscriber มาคำนวณ โดยจะคำนวณแบบขั้นต่ำ โดยคิดยอด Subscriber แบบ Tier 1 คือ 3.50 USD - 112 บาท

 































































เดือน Subscribers เงินที่ได้ขั้นต่ำ (USD) เงินบาท
เม.ย. 2018 148,192 518.6 k 16 ล้านบาท
พ.ค. 2018 188,807 660.8 k 21 ล้านบาท
มิ.ย. 2018 92,717 324.5 k 10 ล้านบาท
ก.ค. 2018 71,966 251.8 k 8 ล้านบาท
ส.ค. 2018 81,401 284.9 k 9 ล้านบาท
ก.ย. 2018 62,583 219 k 7 ล้านบาท
ต.ค. 2018 47,780 167.2 k 5.3 ล้านบาท
พ.ย. 2018 55,630 194.7 k 6.2 ล้านบาท
ธ.ค. 2018 42,192 147.7 k 4.7 ล้านบาท

 

ดูตัวเลขเผินๆ แล้วอาจจะไม่ได้ Wow ขนาดนั้น ทว่าตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียงขั้นต่ำ ที่ Ninja จะได้แน่ๆ และคำนวณจากเรทคนซับที่ราคาน้อยที่สุด คือ 4.99 USD ซึ่งจริงๆ แล้วในตัวเลขคนซับมีทั้ง Tier 2 ที่จ่ายเงิน 9.99 USD และ Tier 3 ที่จ่ายเงิน 29.99 USD ต่อเดือน นอกจากนี้ยังไม่รวมเงินที่ได้จากการโดเนท สปอนเซอร์ เงินจากการแข่งขันทัวร์นาเมนต์ เงินจากการออกรายการ Talk Show อย่าง The Ellen Show และ The Tonight Show Starring Jimmy Fallon เงินค่าตัวที่ไปถ่ายโฆษณา และเงินที่ได้ส่วนแบ่งจากการโฆษณาใน Twitch อีก

แม้เงินของ Ninja ดูเหมือนลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากยอดมียอด Subscriber น้อยลง ทว่านั่นก็เป็นผลมาจากที่สตรีมเมอร์หนุ่มสตรีมน้อยลงเพราะไปออกอีเวนท์ต่างๆ อย่าง งานประกาศรางวัลเกม เป็นต้น

 

รายได้ของ Ninja มีความหมายว่าอย่างไรในวงการเกม


[caption id="attachment_16483" align="alignnone" width="920"] KuroKy กัปตัน Team Liquid เกม DOTA 2 - แชมป์ TI 7[/caption]

แน่นอนว่าลึกๆ เราก็คงเดากันได้อยู่แล้วว่าราชาแห่ง Twitch คนนี้ต้องมีรายได้อย่างงามอย่างแน่นอน แต่รายได้ของ Ninja หมายความว่ายังไงในวงการเกมสากลกันแน่?

ถ้าเทียบกับ Kuro "KuroKy" Takhasomi โปรเพลยเยอร์ DOTA 2 ที่ทำเงินตั้งแต่เข้าสู่วงการได้ทั้งหมด $4,128,926.95 หรือราวๆ 132 ล้านบาท จนขึ้นแท่นเจ้าพ่ออีสปอร์ตที่ครองตำแหน่งผู้มีรายได้สูงสุด ณ ตอนนี้ แล้ว หาก Ninja ทำเงินได้เหมือนในเดือนพ.ค. 2018 ที่พีคที่สุด คือ 21 ล้านบาท ภายในแค่ 6 เดือน Ninja ก็จะได้เงินมากพอกับที่ KuroKy เล่นมาทั้งหมด 9 ปี รวม 92 ทัวร์นาเมนต์เลยทีเดียว 

ยิ่งถ้าเทียบกับกัปตันทีมแชมป์ TI8 หรือ N0tail แค่เงินที่ Ninja ทำได้พีคที่สุดเดือนเดียวก็สามารถเทียบเท่ากับรายได้ที่ N0tail ได้มาจากการแข่งขันทั้งปีเลย ถ้าไม่นับปี 2018 ที่ชนะการแข่งขัน TI8 และต้องจำเอาไว้ว่านี่เป็นแค่เงินขั้นต่ำ คำนวณจากเรทที่ต่ำที่สุด และคำนวณจากรายได้ทางเดียวของราชา Twitch -  Tyler "Ninja" Blevins เท่านั้น

รายได้เปรียบเทียบระหว่างสตรีมเมอร์และนักกีฬาอีสปอร์ต ยังแสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มสูงที่นักกีฬาอีสปอร์ตหลายๆ คน อาจผันตัวมาเป็นสตรีมเมอร์อย่างเต็มตัว เพราะสามารถจับต้องเงินได้มากกว่า ในขณะที่ทุ่มเทเวลาเท่าๆ กัน แถมหากถ้าเป็นนักกีฬาก็มีสิทธิที่จะไม่ชนะการแข่งขันทัวร์นาเมนต์ทั้งๆ ที่เล่นได้ดีแบบ Top Form และทำให้ไม่ได้ส่วนแบ่งจากเงินรางวัลด้วย

[caption id="attachment_16489" align="alignnone" width="1200"] Shroud สตรีมเมอร์มากฝีมือ ครองตำแหน่งเจ้าพ่อ FPS[/caption]

แม้แต่เทพ FPS ฝีมือฉกาจ Michael "Shroud" Grzesiek อดีตโปรเพลยเยอร์ฝีมือแม่นเหมือนจับวางประจำเกม CS:GO ที่สังกัดทีมใหญ่อย่าง Cloud9 ก็เคยประกาศถอนตัวจากการเป็นนักกีฬาอีสปอร์ต แล้วมาเป็นสตรีมเมอร์แบบเต็มตัวแทนเหมือนกัน

ทั้งนี้การที่นักกีฬาอีสปอร์ตประกาศแขวนคีย์บอร์ดและเมาส์ หมุนเก้าอี้มาเป็นสตรีมเมอร์ก็ไม่ได้แปลว่าจะทำเพราะเงินเสมอไป อย่าง Ninja เองก็เคยบอก Forbes ว่า กว่าที่จะมาถึงจุดนี้ได้ก็ใช้เวลาสตรีมมาถึง 7 ปี ถ้าทำเพื่อเงินจริงๆ ก็คงเลิกทำไปนานแล้ว ด้าน Shroud ก็ให้เหตุผลในการเลิกแข่งแล้วมาเป็นสตรีมเมอร์ "อยากผ่อนคลาย นั่งที่บ้าน เล่นเกม และเอนเตอร์เทนผู้คน"

ในที่สุดแล้ว Ninja อาจจะไม่ได้ครองตำแหน่งอันดับหนึ่งของ Twitch ตลอดไป ในปีหน้าอาจมีผู้เข้าชิงหน้าใหม่มาท้าดวล แต่อย่างไรก็ต้องยอมรับว่าเขาได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการสตรีมเกมเอาไว้ได้อย่างเป็นที่น่าจดจำ เป็นคนที่ประสบความสำเร็จ น่าจับตามอง และยังไงก็ยังสมกับคำกล่าวขานว่าเป็น "ราชา" อยู่ดี

 

ที่มา:

ติดตามข่าวสารเกม รีวิว และไกด์ แบบครบเครื่องทั้งเกมคอนโซล มือถือ และ PC รวมถึงวงการอีสปอร์ตได้ที่ GameFever 

 


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
เปิดรายได้ Ninja ราชาแห่ง Twitch!
04/01/2019

ถ้าพูดถึงวงการสตรีมเมอร์แล้ว คงไม่มีใครโด่งดังไปกว่า Tyler "Ninja" Blevins ที่ขึ้นหิ้งเป็นราชาแห่ง Twitch ครองอันดับหนึ่งของช่องที่มีผู้ชมสูงสุดแทบทุกอาทิตย์ แถมเมื่อจบปี 2018 ยังได้ตำแหน่งเป็นสุดยอดสตรีมเมอร์ที่มีผู้ชมสูงสุดในช่องสตรีมค่ายม่วงอีกด้วย เรียกได้ว่า Ninja กลายเป็นราชันย์นักสตรีมอย่างเป็นทางการ สตรีมเมอร์ 

[caption id="attachment_16479" align="aligncenter" width="521"] ช่องที่มีผู้ชมสูงสุดใน Twitch ประจำปี 2018 | The Esports Observer[/caption]

 

หลังจากที่ Ninja ผันตัวจากการเป็นโปรเพลเยอร์ซีรีส์เกม Halo ที่เคยสังกัดค่ายดังอย่าง Cloud9 หรือ Team Liquid แล้วกลายมาเป็นสตรีมเมอร์อย่างเต็มตัวกับเกม Fortnite ในปี 2017 แล้ว สตรีมเมอร์หนุ่มก็ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่หลายอย่างด้วยกัน เช่น


  • เป็นผู้เล่นคนแรกของโลกที่ชนะเกม Fortnite ครบ 5,000 ครั้ง

  • เป็นโปรเกมเมอร์คนแรกที่ได้ขึ้นหน้าปกของนิตยสาร ESPN

  • เป็นสตรีมเมอร์ใน Twitch คนแรกที่มี Subscriber มากกว่า 50,000 คน

  • หลังจากนั้นเพียงแค่สัปดาห์กว่าๆ Ninja มี Subscriber มากกว่า 100,000 คน

  • เป็นสตรีมเมอร์ใน Twitch คนแรกที่มียอดผู้ติดตามกว่า 3 ล้านคน

  • ภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังจากที่เริ่มสตรีม มียอดผู้ติดตามกว่า 7 ล้านคน

  • เป็นสตรีมเมอร์ใน Twitch คนแรกที่มีผู้ติดตามมากกว่า 10 ล้านคน

  • ทำลายสถิติ มียอดผู้ชมการไลฟ์สดสูงสุดในประวัติศาสตร์ Twitch ด้วยการสตรีมร่วมกับ Drake (มีผู้ชมไลฟ์พร้อมกัน ในเวลาเดียวกัน ถึง เกิน 600,000 คน)

  • ทำลายสถิติของตัวเองด้วยการมีผู้ชมไลฟ์พร้อมกันกว่า 660,000 คน ในงานการกุศล Esports Arena in Las Vegas

  • ได้อยู่ในรายชื่อ 30 Under 30 ของนิตยสาร Forbes


 

โน้ต: Subscriber และ ผู้ติดตาม (Follower) มีความหมายไม่เหมือนกัน โดย Subscriber คือคนที่จ่ายเงินรายเดือนเพื่อสนับสนุนสตรีมเมอร์ที่ตัวเองชื่นชอบ ส่วน Follower เป็นแค่คนติดตามใน Twitch เท่านั้น

 

นอกเหนือจากความสำเร็จที่กล่าวมาแล้ว Ninja ยังเป็นสตรีมเมอร์หลักที่อยู่คู่กับ Fortnite ทำให้เกม Battle Royale หน้าใหม่ในวงการขึ้นมาเทียบเคียงวัดคู่กับเกมรุ่นเก๋าๆ ได้อย่างไม่น้อยหน้าใคร และด้วยอิทธิพลและการเติบโตแบบก้าวกระโดดนี้ ทำให้หลายคนอาจสงสัยว่าเจ้าพ่อสตรีมเมอร์วัย 27 คนนี้มีรายได้เท่าไหร่กันแน่

......

คำนวณรายได้ของ Ninja




อันที่จริง การวัดจำนวนรายได้ที่แท้จริงของเหล่าสตรีมเมอร์นั้นค่อนข้างทำได้ยากพอสมควร เนื่องจากรายได้มาจากหลายช่องทางด้วยกัน ได้แก่ ยอด Subscriber, การบริจาคเงินระหว่างสตรีม (Donation), การมีสปอนเซอร์สนับสนุน, เงินที่ได้จากการแข่งขัน และโฆษณา ซึ่งการบริจาคเงินหรือเงินที่ได้รับจากสปอนเซอร์เป็นสิ่งที่วัดได้ยากมาก แต่ถ้าคำนวณรายได้คร่าวๆ จากยอด Subscriber ก็พอเป็นไปได้อยู่เหมือนกัน

ก่อนอื่นต้องแยกก่อนว่า Subcriber และ ยอดผู้ติดตาม หรือ Follower ไม่เหมือนกัน เนื่องจาก Subcriber เป็นผู้ชมที่จ่ายเงินรายเดือนเพื่อสนับสนุนสตรีมเมอร์ในดวงใจ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

  • Tier 1: ราคา 4.99 USD - ประมาณ 160 บาท / เดือน

  • Tier 2: ราคา 9.99 USD - ประมาณ 320 บาท / เดือน

  • Tier 3: ราคา 24.99 USD - ประมาณ 800 บาท / เดือน

  • Twitch Prime: นับเหมือน Tier 1 คือ 4.99 USD - ประมาณ 160 บาท / เดือน


ปกติแล้ว Twitch จะแบ่งเงินที่ได้จาก Subcriber กับสตรีมเมอร์กันแบบ 50 - 50 หมายความว่าสตรีมเมอร์จะได้เงินครึ่งหนึ่งของจำนวนเงินที่ได้ทั้งหมด แต่เพื่อเป็นการดึงตัวเหล่าสตรีมเมอร์คนดังไว้ จะมีบางกรณีที่สตรีมเมอร์จะได้เงินจากยอด Subcriber มากขึ้น โดยอาจได้ส่วนแบ่ง 60 - 100% เลยก็ว่าได้ ซึ่ง Ninja ก็อยู่ในรายชื่อที่ว่านั่นด้วยเหมือนกัน

Ninja ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร Forbes ว่า หากมีคนกด Subcribe ในระดับ Tier 1 หรือ 4.99 USD เขาจะได้เงินประมาณ 3.50 USD เท่าที่คำนวณได้คือ Ninja จะได้เงิน 70% จากยอด Subcriber นั่นเอง เราจะใช้ยอด Subscriber มาคำนวณ โดยจะคำนวณแบบขั้นต่ำ โดยคิดยอด Subscriber แบบ Tier 1 คือ 3.50 USD - 112 บาท

 































































เดือน Subscribers เงินที่ได้ขั้นต่ำ (USD) เงินบาท
เม.ย. 2018 148,192 518.6 k 16 ล้านบาท
พ.ค. 2018 188,807 660.8 k 21 ล้านบาท
มิ.ย. 2018 92,717 324.5 k 10 ล้านบาท
ก.ค. 2018 71,966 251.8 k 8 ล้านบาท
ส.ค. 2018 81,401 284.9 k 9 ล้านบาท
ก.ย. 2018 62,583 219 k 7 ล้านบาท
ต.ค. 2018 47,780 167.2 k 5.3 ล้านบาท
พ.ย. 2018 55,630 194.7 k 6.2 ล้านบาท
ธ.ค. 2018 42,192 147.7 k 4.7 ล้านบาท

 

ดูตัวเลขเผินๆ แล้วอาจจะไม่ได้ Wow ขนาดนั้น ทว่าตัวเลขเหล่านี้เป็นเพียงขั้นต่ำ ที่ Ninja จะได้แน่ๆ และคำนวณจากเรทคนซับที่ราคาน้อยที่สุด คือ 4.99 USD ซึ่งจริงๆ แล้วในตัวเลขคนซับมีทั้ง Tier 2 ที่จ่ายเงิน 9.99 USD และ Tier 3 ที่จ่ายเงิน 29.99 USD ต่อเดือน นอกจากนี้ยังไม่รวมเงินที่ได้จากการโดเนท สปอนเซอร์ เงินจากการแข่งขันทัวร์นาเมนต์ เงินจากการออกรายการ Talk Show อย่าง The Ellen Show และ The Tonight Show Starring Jimmy Fallon เงินค่าตัวที่ไปถ่ายโฆษณา และเงินที่ได้ส่วนแบ่งจากการโฆษณาใน Twitch อีก

แม้เงินของ Ninja ดูเหมือนลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากยอดมียอด Subscriber น้อยลง ทว่านั่นก็เป็นผลมาจากที่สตรีมเมอร์หนุ่มสตรีมน้อยลงเพราะไปออกอีเวนท์ต่างๆ อย่าง งานประกาศรางวัลเกม เป็นต้น

 

รายได้ของ Ninja มีความหมายว่าอย่างไรในวงการเกม


[caption id="attachment_16483" align="alignnone" width="920"] KuroKy กัปตัน Team Liquid เกม DOTA 2 - แชมป์ TI 7[/caption]

แน่นอนว่าลึกๆ เราก็คงเดากันได้อยู่แล้วว่าราชาแห่ง Twitch คนนี้ต้องมีรายได้อย่างงามอย่างแน่นอน แต่รายได้ของ Ninja หมายความว่ายังไงในวงการเกมสากลกันแน่?

ถ้าเทียบกับ Kuro "KuroKy" Takhasomi โปรเพลยเยอร์ DOTA 2 ที่ทำเงินตั้งแต่เข้าสู่วงการได้ทั้งหมด $4,128,926.95 หรือราวๆ 132 ล้านบาท จนขึ้นแท่นเจ้าพ่ออีสปอร์ตที่ครองตำแหน่งผู้มีรายได้สูงสุด ณ ตอนนี้ แล้ว หาก Ninja ทำเงินได้เหมือนในเดือนพ.ค. 2018 ที่พีคที่สุด คือ 21 ล้านบาท ภายในแค่ 6 เดือน Ninja ก็จะได้เงินมากพอกับที่ KuroKy เล่นมาทั้งหมด 9 ปี รวม 92 ทัวร์นาเมนต์เลยทีเดียว 

ยิ่งถ้าเทียบกับกัปตันทีมแชมป์ TI8 หรือ N0tail แค่เงินที่ Ninja ทำได้พีคที่สุดเดือนเดียวก็สามารถเทียบเท่ากับรายได้ที่ N0tail ได้มาจากการแข่งขันทั้งปีเลย ถ้าไม่นับปี 2018 ที่ชนะการแข่งขัน TI8 และต้องจำเอาไว้ว่านี่เป็นแค่เงินขั้นต่ำ คำนวณจากเรทที่ต่ำที่สุด และคำนวณจากรายได้ทางเดียวของราชา Twitch -  Tyler "Ninja" Blevins เท่านั้น

รายได้เปรียบเทียบระหว่างสตรีมเมอร์และนักกีฬาอีสปอร์ต ยังแสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มสูงที่นักกีฬาอีสปอร์ตหลายๆ คน อาจผันตัวมาเป็นสตรีมเมอร์อย่างเต็มตัว เพราะสามารถจับต้องเงินได้มากกว่า ในขณะที่ทุ่มเทเวลาเท่าๆ กัน แถมหากถ้าเป็นนักกีฬาก็มีสิทธิที่จะไม่ชนะการแข่งขันทัวร์นาเมนต์ทั้งๆ ที่เล่นได้ดีแบบ Top Form และทำให้ไม่ได้ส่วนแบ่งจากเงินรางวัลด้วย

[caption id="attachment_16489" align="alignnone" width="1200"] Shroud สตรีมเมอร์มากฝีมือ ครองตำแหน่งเจ้าพ่อ FPS[/caption]

แม้แต่เทพ FPS ฝีมือฉกาจ Michael "Shroud" Grzesiek อดีตโปรเพลยเยอร์ฝีมือแม่นเหมือนจับวางประจำเกม CS:GO ที่สังกัดทีมใหญ่อย่าง Cloud9 ก็เคยประกาศถอนตัวจากการเป็นนักกีฬาอีสปอร์ต แล้วมาเป็นสตรีมเมอร์แบบเต็มตัวแทนเหมือนกัน

ทั้งนี้การที่นักกีฬาอีสปอร์ตประกาศแขวนคีย์บอร์ดและเมาส์ หมุนเก้าอี้มาเป็นสตรีมเมอร์ก็ไม่ได้แปลว่าจะทำเพราะเงินเสมอไป อย่าง Ninja เองก็เคยบอก Forbes ว่า กว่าที่จะมาถึงจุดนี้ได้ก็ใช้เวลาสตรีมมาถึง 7 ปี ถ้าทำเพื่อเงินจริงๆ ก็คงเลิกทำไปนานแล้ว ด้าน Shroud ก็ให้เหตุผลในการเลิกแข่งแล้วมาเป็นสตรีมเมอร์ "อยากผ่อนคลาย นั่งที่บ้าน เล่นเกม และเอนเตอร์เทนผู้คน"

ในที่สุดแล้ว Ninja อาจจะไม่ได้ครองตำแหน่งอันดับหนึ่งของ Twitch ตลอดไป ในปีหน้าอาจมีผู้เข้าชิงหน้าใหม่มาท้าดวล แต่อย่างไรก็ต้องยอมรับว่าเขาได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของวงการสตรีมเกมเอาไว้ได้อย่างเป็นที่น่าจดจำ เป็นคนที่ประสบความสำเร็จ น่าจับตามอง และยังไงก็ยังสมกับคำกล่าวขานว่าเป็น "ราชา" อยู่ดี

 

ที่มา:

ติดตามข่าวสารเกม รีวิว และไกด์ แบบครบเครื่องทั้งเกมคอนโซล มือถือ และ PC รวมถึงวงการอีสปอร์ตได้ที่ GameFever 

 


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header