GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
ข่าวเกม
เกาหลีใต้เสนอร่างให้การคุกคามทางเพศผ่านเกมผิดกฎหมาย เน้นสร้างพื้นที่ให้เกมเมอร์หญิง
ลงวันที่ 17/09/2018

ฝ่ายนิติบัญญัติของเกาหลีใต้กำลังพิจารณาร่างกฎหมายเกี่ยวกับการทำให้การคุกคามทางเพศในเกมออนไลน์เป็นเรื่องผิดกฎหมาย โดย คิม ซูมิน เลขานุการสมัชชาสตรีฯ เสนอร่างกฎหมายนี้เพื่อลดช่องว่างทางกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งครอบคลุมเฉพาะแค่การหมิ่นประมาททางออนไลน์เท่านั้น

[caption id="attachment_5832" align="alignnone" width="647"] คิม ซูมิน[/caption]

ฟังดูเหมือนอาจเป็นเรื่องไกลตัว ทว่าการคุกคามทางเพศนั้นมีนิยามที่กว้างขวางมาก ซึ่งรวมถึงการใช้คำพูด อย่าง การวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา การแต่งกาย การเล่าเรื่องตลกลามก การพูดจาแทะโลม การตามจีบ ตามตื๊อ ทั้งที่รู้ว่าอีกฝ่ายไม่ชอบเป็นต้น

เว็บไซต์ Naver เปิดเผยว่า คิม ซูมิน ต้องการที่จะทำให้ประเด็นการคุกคามทางเพศผ่านเกมออนไลน์เป็นเรื่องที่คนในสังคมให้ความสนใจมากขึ้น "ตอนนี้ยังไม่มีบทลงโทษที่ชัดเจนสำหรับการคุกคามทางเพศออนไลน์ หรือในสถานที่ที่ไม่ใช่สถานที่ทำงาน ในขณะที่จำนวนของผู้เสียหายก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง"

หากร่างกฎหมายนี้ผ่านการรับรองจากฝ่ายนิติบัญญัติจริง น่าจะมีการเชื่อม Battle.net และหมายเลขประกันสังคมเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถระบุตัวตนและดำเนินคดีได้หากมีการกระทำผิดเกิดขึ้น

ผู้ใช้ทวิตเตอร์ Gatamchun ระบุว่า คิม ซู มิน ยกเกมโอเวอร์วอช (Overwatch) ขึ้นมาเป็นตัวอย่างด้วย เพราะเกม Overwatch เป็นเกมออนไลน์ที่คนเกาหลีนิยมเล่นกันมาก นอกจากนี้ยังต้องการสื่อสารแบบเรียลไทม์ทำให้เกมเมอร์หญิงถูกคุกคามได้ง่าย

https://twitter.com/gatamchun/status/1040706648271147013

ในปี 2017 มีสมาชิกกลุ่มสตรีนิยมชาวเกาหลีใต้ได้ใช้ D.Va ในการเป็นมาสค็อตรณรงค์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว โดยยังพูดเพิ่มเติมว่า "ในประเทศที่เป็นแบบเรา แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีคนแบบ D.Va อยู่" ทั้งนี้ก็เพราะ D.Va ตัวละครเกมโอเวอร์วอช เป็นนักแข่งเกมมืออาชีพ ซึ่งอาจถูกกีดกันในประเทศที่มีค่านิยมชายเป็นใหญ่
GameFever TH

หลายคนอาจมองว่า หากถูกคุกคามจากคนในเกมที่เปิดไมค์พูดแล้ว ก็แค่ปิดไมค์ไปเรื่องก็อาจจะจบ ทว่าการปิดไมค์ก็ทำให้การเล่นเป็นทีมทำได้ยาก มีผลต่อการแพ้ชนะในเกม ที่สำคัญคือไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง โดยผู้เล่น Overwatch หญิงชาวเกาหลีใต้ Geguri ซึ่งเป็นผู้หญิงคนเดียวในวงการเกม Overwatch ที่ได้เซ็นสัญญากับ Overwatch League เปิดเผยว่าเธอเคยถึงขั้นคิดจะใช้โปรแกรมดัดเสียงเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา

แน่นอนว่าไม่ใช่แค่เกาหลีใต้ที่ประสบปัญหานี้ ปัญหาการคุกคามทางเพศเกิดขึ้นในทุกประเภท และในทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือแม้กระทั่งแวดวงเกมเองก็ตาม หากร่างกฎหมายนี้ได้รับการรับรองจริง ก็จะเป็นการยกระดับและสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับวงการเกมสากล เพราะเกาหลีถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ทรงอิทธิพลด้านเกม และเป็นการแสดงจุดยืนให้โลกเห็นว่าเราควรจะให้ที่ยืนแก่เกมเมอร์หญิงที่อาจมีฝีมือแต่ทนสังคม Toxic ไม่ไหว

 


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
เกาหลีใต้เสนอร่างให้การคุกคามทางเพศผ่านเกมผิดกฎหมาย เน้นสร้างพื้นที่ให้เกมเมอร์หญิง
17/09/2018

ฝ่ายนิติบัญญัติของเกาหลีใต้กำลังพิจารณาร่างกฎหมายเกี่ยวกับการทำให้การคุกคามทางเพศในเกมออนไลน์เป็นเรื่องผิดกฎหมาย โดย คิม ซูมิน เลขานุการสมัชชาสตรีฯ เสนอร่างกฎหมายนี้เพื่อลดช่องว่างทางกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งครอบคลุมเฉพาะแค่การหมิ่นประมาททางออนไลน์เท่านั้น

[caption id="attachment_5832" align="alignnone" width="647"] คิม ซูมิน[/caption]

ฟังดูเหมือนอาจเป็นเรื่องไกลตัว ทว่าการคุกคามทางเพศนั้นมีนิยามที่กว้างขวางมาก ซึ่งรวมถึงการใช้คำพูด อย่าง การวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา การแต่งกาย การเล่าเรื่องตลกลามก การพูดจาแทะโลม การตามจีบ ตามตื๊อ ทั้งที่รู้ว่าอีกฝ่ายไม่ชอบเป็นต้น

เว็บไซต์ Naver เปิดเผยว่า คิม ซูมิน ต้องการที่จะทำให้ประเด็นการคุกคามทางเพศผ่านเกมออนไลน์เป็นเรื่องที่คนในสังคมให้ความสนใจมากขึ้น "ตอนนี้ยังไม่มีบทลงโทษที่ชัดเจนสำหรับการคุกคามทางเพศออนไลน์ หรือในสถานที่ที่ไม่ใช่สถานที่ทำงาน ในขณะที่จำนวนของผู้เสียหายก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง"

หากร่างกฎหมายนี้ผ่านการรับรองจากฝ่ายนิติบัญญัติจริง น่าจะมีการเชื่อม Battle.net และหมายเลขประกันสังคมเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถระบุตัวตนและดำเนินคดีได้หากมีการกระทำผิดเกิดขึ้น

ผู้ใช้ทวิตเตอร์ Gatamchun ระบุว่า คิม ซู มิน ยกเกมโอเวอร์วอช (Overwatch) ขึ้นมาเป็นตัวอย่างด้วย เพราะเกม Overwatch เป็นเกมออนไลน์ที่คนเกาหลีนิยมเล่นกันมาก นอกจากนี้ยังต้องการสื่อสารแบบเรียลไทม์ทำให้เกมเมอร์หญิงถูกคุกคามได้ง่าย

https://twitter.com/gatamchun/status/1040706648271147013

ในปี 2017 มีสมาชิกกลุ่มสตรีนิยมชาวเกาหลีใต้ได้ใช้ D.Va ในการเป็นมาสค็อตรณรงค์เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว โดยยังพูดเพิ่มเติมว่า "ในประเทศที่เป็นแบบเรา แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมีคนแบบ D.Va อยู่" ทั้งนี้ก็เพราะ D.Va ตัวละครเกมโอเวอร์วอช เป็นนักแข่งเกมมืออาชีพ ซึ่งอาจถูกกีดกันในประเทศที่มีค่านิยมชายเป็นใหญ่
GameFever TH

หลายคนอาจมองว่า หากถูกคุกคามจากคนในเกมที่เปิดไมค์พูดแล้ว ก็แค่ปิดไมค์ไปเรื่องก็อาจจะจบ ทว่าการปิดไมค์ก็ทำให้การเล่นเป็นทีมทำได้ยาก มีผลต่อการแพ้ชนะในเกม ที่สำคัญคือไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง โดยผู้เล่น Overwatch หญิงชาวเกาหลีใต้ Geguri ซึ่งเป็นผู้หญิงคนเดียวในวงการเกม Overwatch ที่ได้เซ็นสัญญากับ Overwatch League เปิดเผยว่าเธอเคยถึงขั้นคิดจะใช้โปรแกรมดัดเสียงเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหา

แน่นอนว่าไม่ใช่แค่เกาหลีใต้ที่ประสบปัญหานี้ ปัญหาการคุกคามทางเพศเกิดขึ้นในทุกประเภท และในทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหรือแม้กระทั่งแวดวงเกมเองก็ตาม หากร่างกฎหมายนี้ได้รับการรับรองจริง ก็จะเป็นการยกระดับและสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับวงการเกมสากล เพราะเกาหลีถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ทรงอิทธิพลด้านเกม และเป็นการแสดงจุดยืนให้โลกเห็นว่าเราควรจะให้ที่ยืนแก่เกมเมอร์หญิงที่อาจมีฝีมือแต่ทนสังคม Toxic ไม่ไหว

 


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header