GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
ข่าวนอกเรื่อง
Cyberpunk : โลก พังๆ กับความเป็น มนุษย์ ที่ยังฝังใจ
ลงวันที่ 24/06/2020

ถ้าหากนับย้อนจากปัจจุบันกลับไปเมื่อสิบกว่าปีก่อน มันคงเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อ ว่าความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี สังคม การเมือง และอุดมคติต่างๆ จะสามารถรุดหน้าไปได้อย่างก้าวกระโดด เรามีสิ่งอำนวยความสะดวกระดับ Smart ที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายในทุกที่ เรามีพื้นที่เปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็น เรามีสิ่งสร้างความบันเทิงที่ยอดเยี่ยมสมจริง และชีวิตของเราก็ดูจะสะดวกสบาย ทำอะไรก็ง่ายไปเสียหมด จนแทบจะเหมือนว่าเรากำลังอยู่ใน ‘อนาคต’ ที่เคยถูกวาดหวังเฝ้าฝันเอาไว้จากครั้งอดีตกาลเนิ่นนานมา



แต่… ถ้าสิ่งต่างๆ ที่กล่าวไปข้างต้น มันนำมาซึ่งการฉีกถ่างของชนชั้น การแทรกแซงของระบบการเมืองที่ไม่เป็นธรรม การขึ้นสู่อำนาจชี้เป็นชี้ตายของระบบบรรษัท ปราศจากความเป็นส่วนตัว ที่ที่เทคโนโลยีนั้นมีความฉลาด แต่ภายในใจของมนุษย์กลับกลวงเปล่า หิวโหยต่อความหมายในการดำรงอยู่ของตนเอง ที่ที่เสียงของคนหมู่มากถูกกดทับกำราบด้วยกฏที่บัญญัติโดยคนหมู่น้อยเพียงหยิบมือ ถ้า ‘อนาคต’ ที่ว่ามันกลายเป็น ‘ฝันร้าย’ ไปเสียแล้ว มันจะเป็นเช่นใด?



ถ้าคุณผู้อ่านเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกถึงอนาคตที่ไม่สู้จะสดใสเหล่านี้แล้วล่ะก็ ผู้เขียนก็อยากจะบอกว่า คุณไม่ใช่คนเดียว เพราะในแวดวงนิยายวิทยาศาสตร์นั้น อนาคตที่เป็นดั่งฝันร้ายเหล่านี้ได้ถูกนำเสนอและเติบโตขึ้นจนกลายเป็นประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงทศวรรษที่ 90 ภายใต้ชื่อ ‘ไซเบอร์พังค์ (Cyberpunk)’



แต่ความเป็น Cyberpunk นั้นมีข้อจุดเริ่มต้นอย่างไร? มีหมุดหมายใดที่กำหนดความเป็นตัวมัน? และมันกำลังจะบอกอะไรเกี่ยวกับอนาคตในภายภาคหน้า? นี่คือสิ่งที่เราจะมาทำความเข้าใจ ไม่ใช่แค่ในแง่ของความงาม (Aesthetic) แต่รวมถึงแนวคิด และปรัชญาที่ซ่อนอยู่ในโลกที่เทคโนโลยีสูงล้ำ แต่ความเป็นมนุษย์นั้นถูกกดให้ต่ำตม เป็นความย้อนแย้งที่งดงามและยังคงมีเสน่ห์ แม้เวลาจะล่วงเลยผ่านไปหลายสิบปีแล้วก็ตาม

จุดเริ่มต้นแห่ง Cyberpunk


จุดเริ่มต้นของ Cyberpunk นั้นค่อนข้างจะเป็นสิ่งที่คลุมเครือและไม่แน่นอนที่จะชี้ชัดว่ามีกำเนิดเริ่มต้นของมันเมื่อใด เพราะแน่นอนว่า โลกทัศน์แห่ง Cyberpunk คือสิ่งที่เกี่ยวพันกับอนาคต และเมื่อการรับรู้อนาคตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย นิยามและปริทรรศน์ของ Cyberpunk ก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย



กระนั้นแล้ว มันอาจจะพอสืบย้อนกลับไปได้ว่า เริ่มต้นจากเรื่องสั้น ‘Do Androids Dream of Electric Sheep?’ ของ Phillip K.Dick ในปี 1968 (เป็นเรื่องที่ถูกดัดแปลงมาเป็นภาพยนตร์วิทยาศาสตร์สุดอมตะ Blade Runner ในปี 1982) และ ‘Cyberpunk ‘ ของ Bruce Bethke ในปี 1983 ก่อนที่จะต่อยอดมาสู่งานเขียนของ William Gibson ในไตรภาค Sprawl ทั้งสามเล่ม (Neuromancer, Count Zero และ Mona Lisa Overdrive) ที่ชัดเจนในแนวทางและรับรางวัลอันทรงเกียรติทั้ง Nebula Award และ Hugo Award จน Gibson ถูกขนานนามว่าเป็น ‘บิดาแห่ง Cyberpunk’ ในภายหลัง

[caption id="attachment_57632" align="aligncenter" width="1024"] William Gibson บิดาแห่ง Cyberpunk ผู้เขียนนวนิยายไตรภาค Sprawl Trilogy (Neuromancer, Count Zero, Mona Lisa Overdrive)[/caption]

อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวของแนวทาง Cyberpunk ในโลกนวนิยายวิทยาศาสตร์ในช่วงเริ่มต้นก็ไม่สู้จะดีนัก ด้วยค่าที่ว่ามันสามารถถูกตีความได้อย่างอิสระ ยังให้เกิดข้อถกเถียงระหว่างนักเขียนเสาหลักของแวดวงอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับ Bethke  ละ Bruce Sterling อีกหนึ่งนักเขียนคนสำคัญ ที่มองว่าแนวทางของ Cyberpunk นั้น ออกจะเพ้อฝัน และไม่อิงกับหลักวิทยาศาสตร์ที่จับต้องได้จริง Bethke ถึงกับเรียกแนวงานเขียนของ Gibson ว่าเป็น ‘Neuromantic’ เพื่อให้พ้องกับคำว่า ‘New Romantics’ เข้าข่ายนิยายพาฝันเสียด้วยซ้ำ (ซึ่งมันน่าตลกตรงที่ เขาเองก็เป็นคนเริ่มต้นแนวทางของ Cyberpunk โดยไม่รู้ตัวมาตั้งแต่แรกๆ)



แต่ไม่ว่าจะอย่างไร กระแสของ Cyberpunk นั้นก็ไปได้ไกลและเคลื่อนไหวไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากยุคอุตสาหกรรมหนักไปสู่ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร (Information Era) ไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย และได้การยอมรับอย่างมากในช่วงเวลาถัดมา




เพราะโลกมัน ‘พัง’ มันจึงถูกต่อต้านด้วย ‘พังค์’


ด้วยค่าที่ว่าไซเบอร์พังค์นั้นผูกโยงกับโลกแห่งเทคโนโลยีและยุคสมัยแห่งข้อมูลข่าวสารที่มาแทนที่ยุคอุตสาหกรรม มันจึงส่งอิทธิพลอย่างมากต่อสไตล์และรูปแบบการดำเนินเนื้อหาของนวนิยายแนว Cyberpunk โดยภาพรวม ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเด็นหลักอย่างคร่าวๆ ได้ดังต่อไปนี้



  • พื้นหลังเรื่องราวยุคเทคโนโลยีเบ่งบาน โลกแห่งข้อมูลข่าวสารอย่างไร้ขีดจำกัด

  • โลกที่บรรษัทขนาดใหญ่มีอิทธิพลเหนือกฎหมาย เส้นแบ่งแห่งรัฐชาติถูกทำให้เลือนหาย และพนักงานเป็น ‘ประชากร’ ของบรรษัทนั้นๆ

  • ตัวเอกที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นพวกนับถือแนวคิดสุญนิยม (Nihilism) ที่ตั้งคำถามกับสิ่งที่อยู่รอบตัวด้วยสายตาหวาดระแวง หรืออาจจะเป็นฟันเฟืองหนึ่งภายใต้ระบบที่มีความไม่พอใจหนุนหลัง เป็นคนนอก (Outcasts) จากระบบที่ไม่ได้รับการเหลียวแล

  • ระดับจิตวิญญาณของมนุษย์ภายในเรื่องถูกลดทอนให้ต่ำลง แทนที่ด้วยเทคโนโลยี และผู้คนต่างแสวงหาสิ่งเร้า (สิ่งบันเทิง, เซ็กส์, ยาเสพติด, การดัดแปลงร่างกาย) กระตุ้นผัสสะถึงขีดสุดเพื่อให้ยังคงความเป็น ‘มนุษย์’ ที่มีความคิดและจิตใจ




ถ้าวัดจากเกณฑ์ทั้งสี่ข้อที่กล่าวมานั้น เราจะเห็นได้ว่ามีหลายชิ้นงานที่ดำเนินมาตามแนวทางของ Cyberpunk ไม่ว่าจะด้วยไตรภาค The Matrix, Ghost in the Shell, Akira ไปจนถึงผลงานเกม Pen and Paper RPG ชื่อดังอย่าง Shadowrun และ Cyberpunk 2020 (อันเป็นต้นสายธารของเกม Cyberpunk 2077 ที่จะวางจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ หลังเลื่อนการวางจำหน่ายเป็นหนที่สอง…) หรือแม้แต่วิดีโอเกมหลากหลายชิ้นงานอาทิ Syndicate, Hard Reset, Observer และ Deus Ex (ทั้งภาคต้นตำรับ จนถึง Human Revolution และ Mankind Divided)



อนึ่ง แนวทางของ Cyberpunk นั้น มีอยู่หลายครั้งที่ถูกตั้งคำถามให้กับการดำรงอยู่ของชนกลุ่มย่อยอย่างเช่นคนเชื้อสายแอฟริกัน และบทบาทของสตรีเพศ เพราะต้องยอมรับว่า Cyberpunk นั้นค่อนข้างที่จะมีความ Masculinity ที่ค่อนข้างสูง และอิงกับแฟนตาซีในโลกที่ชายเป็นใหญ่ (ทั้งในแง่ของบุรุษเพศจริงๆ หรือในแง่ตัวแทนอย่างบรรษัทขนาดยักษ์…) อีกทั้งยังถูกตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการมองโลกอนาคตที่หม่นมืด มีความเป็น Dystopia ที่เป็น Subtext แฝงอยู่ภายใน ว่าเป็นการมองในแง่ร้ายเกินไปหรือไม่



แต่ทั้งนี้ มันก็เป็นเพียง Aesthetic หนึ่งของความเป็น Cyberpunk และในปัจจุบัน ภาพจำของความโสมม โลกที่หม่นหมองหดหู่ ก็สามารถเปลี่ยนเป็นอนาคตที่ดูสะอาดสะอ้าน แต่ไม่ร้างหรือปราศจากซึ่งการกดขี่ของระบบ และตัวเอกที่พร้อมจะขบถต่อระบบนั้น เป็นสายย่อย Post-Cyberpunk อีกทอดหนึ่ง เช่น Mirror’s Edge: Catalyst ของทีม DICE ที่ให้ภาพของอนาคตที่เรียบร้อย เป็นระเบียบ แต่กดขี่ และมีเหล่า Runner หรือคนส่งสารที่เป็นตัวแทนของการต่อต้านระบบนั้นๆ




ปรัชญา ‘3 ห’ แห่ง Cyberpunk และความเป็น ‘มนุษย์’


แม้ว่า Cyberpunk จะเป็นแนวทางที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่สูงล้ำ แต่เราต้องไม่ลืมความจริงว่ามันกำลังพูดถึงความเป็น ‘มนุษย์’ ที่ถูกลดทอนลงไป ซึ่งนอกเหนือจากการจัดจำแนกองค์ประกอบทั้งสี่อย่างในหัวข้อที่แล้ว ผู้เขียนขออนุญาตเพิ่มเติมแนวทางการจำแนกเรื่องราวของ Cyberpunk ออกเป็น ‘ปรัชญา 3 ห’ ที่มักจะพบเห็นได้บ่อยครั้งในแนวทางดังกล่าวดังต่อไปนี้



  • หักห้าม : ความเป็นมนุษย์ถูกหักห้าม ลดทอน และให้ค่าอย่างต่ำที่สุดในโลกที่เทคโนโลยีเดินหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง ช่องว่างความเหลื่อมล้ำมีอยู่อย่างมากมาย ไปจนถึงมนุษย์อาจจะไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนจักรกลแห่งระบบ (ตัวอย่างเช่น ซีรีส์ The Matrix ที่มนุษย์เป็นเพียงเชื้อเพลิงให้กับเหล่าเครื่องจักร และอาศัยอยู่ในโลกเสมือน)

  • โหยหา : ตัวเอกของเรื่อง เริ่มรับรู้ถึงสิ่งที่ไม่ชอบมาพากลในสภาพแวดล้อมและสิ่งที่อยู่รอบตัว ก่อเกิดเป็นการตั้งคำถามถึงการคงอยู่ของตนเอง และเริ่มโหยหาความเป็น ‘มนุษย์’ หรือสงสัยในความเป็นมนุษย์ของตน (เช่น Deus Ex : Human Revolution ที่ตัวเอกเป็นจารชนจักรกลโดยสภาพจำยอม และตั้งคำถามว่าตนเองยังเป็นมนุษย์อยู่หรือไม่)

  • หวงแหน : ตัวเอกหรือตัวละครหลักในเรื่องเดินทางมาถึงข้อสรุปแห่งความเป็น ‘มนุษย์’ และหวงแหนความรู้สึกเหล่านั้น พร้อมทำทุกวิถีทางเพื่อรักษามันไว้ ภายใต้อุปสรรคและการกดทับของระบบโดยองค์รวม (ตัวอย่างเช่น Blade Runner 2049 ที่ K จารชน Replicant ได้ค้นพบด้านที่เป็นมนุษย์ของตนเองผ่านการผจญภัยและการตื่นรู้ได้ในบั้นปลาย)




ในหลักปรัชญา 3 ห ที่กล่าวไปนี้ สามารถดำเนินไปในเชิงย้อนกลับได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ซีรีส์ Ghost in the Shell ที่ตัวเอกอย่าง Motoko Kusanagi เริ่มต้นด้วยความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์แบบ ผ่านภารกิจและการผจญภัยจนในท้ายที่สุด เพื่อจบภารกิจที่ยากจะจัดการได้ ตัวตนของเธอก็ได้กลายเป็นหนึ่ง Entity ในระบบเครือข่ายที่ถูกหักห้ามซึ่งความเป็นมนุษย์ (ในแบบปกติ) ไปโดยสิ้นเชิง



อย่างไรก็ดี ปรัชญา 3 ห ที่กล่าวไปนี้ เป็นเพียงการคาดคะเนและการวิเคราะห์ของผู้เขียนแต่เพียงเท่านั้น ไม่ใช่หลักยึดที่ได้การยอมรับอย่างเป็นทางการ แต่เพื่อให้ง่ายสำหรับผู้ที่สนใจที่จะเสพสื่อแนว Cyberpunk เป็นสำคัญ เพราะอย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านั้น Cyberpunk สามารถถูกตีความได้อย่างอิสระ ตราบเท่าที่โลกกำลังเคลื่อนตัวไปอย่างไม่หยุดยั้ง






It’s not the end of the world, but you can see it from here…


ท้ายที่สุดนี้ ไม่ว่าโลกแห่ง Cyberpunk จะถูกนำไปดัดแปลงและใช้ในสื่อบันเทิงต่างๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อวิดีโอเกม…) มากมายเพียงใด หัวใจและข้อความหลักที่เกี่ยวข้องกับความเป็น ‘มนุษย์’ นั้นก็ยังคงชัดเจน และถูกให้คุณค่าไม่แพ้ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เพราะในทุกครั้ง ตัวเอกก็ยังคงเฝ้าฝันและไขว่คว้าความเป็นมนุษย์ไม่ให้หลุดลอยหายไปกับกระแสธารอันเชี่ยวกรากของโลกที่อยู่รอบตัว

[caption id="attachment_57645" align="aligncenter" width="1024"] Mike Pondsmith ผู้สร้างซีรีส์เกม Pen and Paper Cyberpunk 2020 (และโปรดิวเซอร์ร่วมของเกม Cyberpunk 2077)[/caption]

‘Cyberpunk ไม่ใช่โลกทัศน์ แต่มันเป็นคำเตือน’ Mike Pondsmith ผู้สร้างซีรีส์ Cyberpunk 2020 (และเป็นโปรดิวเซอร์ร่วมของ Cyberpunk 2077) กล่าว ‘มันเป็นคำเตือนถึงโลกในทางร้าย และมันไม่ได้น่าสนุกเมื่อคุณสร้างโลกอนาคตอันโสมม เพื่อที่จะมองออกไปนอกหน้าต่างแล้วพบว่า โลกปัจจุบันกำลังเดินหน้าไปในหนทางนั้น’

และไม่ว่าคุณจะกำลังเพลิดเพลินกับชิ้นงานเกม (โดยเฉพาะกับการผจญภัยใน Night City ของ Cyberpunk 2077 ที่กำลังจะมาถึง...) สนุกกับนวนิยาย หรือบันเทิงกับสื่อภาพยนตร์สาย Cyberpunk เราก็หวังเป็นอย่างยิ่ง ว่าคุณจะไม่ลืมหัวใจที่แท้จริงของมัน ….


“ที่ที่ความเป็น ‘มนุษย์’ นั้นมีคุณค่า เป็นที่โหยหา หวงแหน และมีชัยเหนือกว่าความโสมมและการกดทับใดๆ จะกระทำได้ ในบั้นปลายนั้นเอง”

บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
Cyberpunk : โลก พังๆ กับความเป็น มนุษย์ ที่ยังฝังใจ
24/06/2020

ถ้าหากนับย้อนจากปัจจุบันกลับไปเมื่อสิบกว่าปีก่อน มันคงเป็นเรื่องที่ไม่น่าเชื่อ ว่าความเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยี สังคม การเมือง และอุดมคติต่างๆ จะสามารถรุดหน้าไปได้อย่างก้าวกระโดด เรามีสิ่งอำนวยความสะดวกระดับ Smart ที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายในทุกที่ เรามีพื้นที่เปิดกว้างในการแสดงความคิดเห็น เรามีสิ่งสร้างความบันเทิงที่ยอดเยี่ยมสมจริง และชีวิตของเราก็ดูจะสะดวกสบาย ทำอะไรก็ง่ายไปเสียหมด จนแทบจะเหมือนว่าเรากำลังอยู่ใน ‘อนาคต’ ที่เคยถูกวาดหวังเฝ้าฝันเอาไว้จากครั้งอดีตกาลเนิ่นนานมา



แต่… ถ้าสิ่งต่างๆ ที่กล่าวไปข้างต้น มันนำมาซึ่งการฉีกถ่างของชนชั้น การแทรกแซงของระบบการเมืองที่ไม่เป็นธรรม การขึ้นสู่อำนาจชี้เป็นชี้ตายของระบบบรรษัท ปราศจากความเป็นส่วนตัว ที่ที่เทคโนโลยีนั้นมีความฉลาด แต่ภายในใจของมนุษย์กลับกลวงเปล่า หิวโหยต่อความหมายในการดำรงอยู่ของตนเอง ที่ที่เสียงของคนหมู่มากถูกกดทับกำราบด้วยกฏที่บัญญัติโดยคนหมู่น้อยเพียงหยิบมือ ถ้า ‘อนาคต’ ที่ว่ามันกลายเป็น ‘ฝันร้าย’ ไปเสียแล้ว มันจะเป็นเช่นใด?



ถ้าคุณผู้อ่านเป็นคนหนึ่งที่รู้สึกถึงอนาคตที่ไม่สู้จะสดใสเหล่านี้แล้วล่ะก็ ผู้เขียนก็อยากจะบอกว่า คุณไม่ใช่คนเดียว เพราะในแวดวงนิยายวิทยาศาสตร์นั้น อนาคตที่เป็นดั่งฝันร้ายเหล่านี้ได้ถูกนำเสนอและเติบโตขึ้นจนกลายเป็นประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วงทศวรรษที่ 90 ภายใต้ชื่อ ‘ไซเบอร์พังค์ (Cyberpunk)’



แต่ความเป็น Cyberpunk นั้นมีข้อจุดเริ่มต้นอย่างไร? มีหมุดหมายใดที่กำหนดความเป็นตัวมัน? และมันกำลังจะบอกอะไรเกี่ยวกับอนาคตในภายภาคหน้า? นี่คือสิ่งที่เราจะมาทำความเข้าใจ ไม่ใช่แค่ในแง่ของความงาม (Aesthetic) แต่รวมถึงแนวคิด และปรัชญาที่ซ่อนอยู่ในโลกที่เทคโนโลยีสูงล้ำ แต่ความเป็นมนุษย์นั้นถูกกดให้ต่ำตม เป็นความย้อนแย้งที่งดงามและยังคงมีเสน่ห์ แม้เวลาจะล่วงเลยผ่านไปหลายสิบปีแล้วก็ตาม

จุดเริ่มต้นแห่ง Cyberpunk


จุดเริ่มต้นของ Cyberpunk นั้นค่อนข้างจะเป็นสิ่งที่คลุมเครือและไม่แน่นอนที่จะชี้ชัดว่ามีกำเนิดเริ่มต้นของมันเมื่อใด เพราะแน่นอนว่า โลกทัศน์แห่ง Cyberpunk คือสิ่งที่เกี่ยวพันกับอนาคต และเมื่อการรับรู้อนาคตของผู้คนที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย นิยามและปริทรรศน์ของ Cyberpunk ก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย



กระนั้นแล้ว มันอาจจะพอสืบย้อนกลับไปได้ว่า เริ่มต้นจากเรื่องสั้น ‘Do Androids Dream of Electric Sheep?’ ของ Phillip K.Dick ในปี 1968 (เป็นเรื่องที่ถูกดัดแปลงมาเป็นภาพยนตร์วิทยาศาสตร์สุดอมตะ Blade Runner ในปี 1982) และ ‘Cyberpunk ‘ ของ Bruce Bethke ในปี 1983 ก่อนที่จะต่อยอดมาสู่งานเขียนของ William Gibson ในไตรภาค Sprawl ทั้งสามเล่ม (Neuromancer, Count Zero และ Mona Lisa Overdrive) ที่ชัดเจนในแนวทางและรับรางวัลอันทรงเกียรติทั้ง Nebula Award และ Hugo Award จน Gibson ถูกขนานนามว่าเป็น ‘บิดาแห่ง Cyberpunk’ ในภายหลัง

[caption id="attachment_57632" align="aligncenter" width="1024"] William Gibson บิดาแห่ง Cyberpunk ผู้เขียนนวนิยายไตรภาค Sprawl Trilogy (Neuromancer, Count Zero, Mona Lisa Overdrive)[/caption]

อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวของแนวทาง Cyberpunk ในโลกนวนิยายวิทยาศาสตร์ในช่วงเริ่มต้นก็ไม่สู้จะดีนัก ด้วยค่าที่ว่ามันสามารถถูกตีความได้อย่างอิสระ ยังให้เกิดข้อถกเถียงระหว่างนักเขียนเสาหลักของแวดวงอยู่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกับ Bethke  ละ Bruce Sterling อีกหนึ่งนักเขียนคนสำคัญ ที่มองว่าแนวทางของ Cyberpunk นั้น ออกจะเพ้อฝัน และไม่อิงกับหลักวิทยาศาสตร์ที่จับต้องได้จริง Bethke ถึงกับเรียกแนวงานเขียนของ Gibson ว่าเป็น ‘Neuromantic’ เพื่อให้พ้องกับคำว่า ‘New Romantics’ เข้าข่ายนิยายพาฝันเสียด้วยซ้ำ (ซึ่งมันน่าตลกตรงที่ เขาเองก็เป็นคนเริ่มต้นแนวทางของ Cyberpunk โดยไม่รู้ตัวมาตั้งแต่แรกๆ)



แต่ไม่ว่าจะอย่างไร กระแสของ Cyberpunk นั้นก็ไปได้ไกลและเคลื่อนไหวไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากยุคอุตสาหกรรมหนักไปสู่ยุคแห่งข้อมูลข่าวสาร (Information Era) ไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย และได้การยอมรับอย่างมากในช่วงเวลาถัดมา




เพราะโลกมัน ‘พัง’ มันจึงถูกต่อต้านด้วย ‘พังค์’


ด้วยค่าที่ว่าไซเบอร์พังค์นั้นผูกโยงกับโลกแห่งเทคโนโลยีและยุคสมัยแห่งข้อมูลข่าวสารที่มาแทนที่ยุคอุตสาหกรรม มันจึงส่งอิทธิพลอย่างมากต่อสไตล์และรูปแบบการดำเนินเนื้อหาของนวนิยายแนว Cyberpunk โดยภาพรวม ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเด็นหลักอย่างคร่าวๆ ได้ดังต่อไปนี้



  • พื้นหลังเรื่องราวยุคเทคโนโลยีเบ่งบาน โลกแห่งข้อมูลข่าวสารอย่างไร้ขีดจำกัด

  • โลกที่บรรษัทขนาดใหญ่มีอิทธิพลเหนือกฎหมาย เส้นแบ่งแห่งรัฐชาติถูกทำให้เลือนหาย และพนักงานเป็น ‘ประชากร’ ของบรรษัทนั้นๆ

  • ตัวเอกที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทั้งทางตรงและทางอ้อม เป็นพวกนับถือแนวคิดสุญนิยม (Nihilism) ที่ตั้งคำถามกับสิ่งที่อยู่รอบตัวด้วยสายตาหวาดระแวง หรืออาจจะเป็นฟันเฟืองหนึ่งภายใต้ระบบที่มีความไม่พอใจหนุนหลัง เป็นคนนอก (Outcasts) จากระบบที่ไม่ได้รับการเหลียวแล

  • ระดับจิตวิญญาณของมนุษย์ภายในเรื่องถูกลดทอนให้ต่ำลง แทนที่ด้วยเทคโนโลยี และผู้คนต่างแสวงหาสิ่งเร้า (สิ่งบันเทิง, เซ็กส์, ยาเสพติด, การดัดแปลงร่างกาย) กระตุ้นผัสสะถึงขีดสุดเพื่อให้ยังคงความเป็น ‘มนุษย์’ ที่มีความคิดและจิตใจ




ถ้าวัดจากเกณฑ์ทั้งสี่ข้อที่กล่าวมานั้น เราจะเห็นได้ว่ามีหลายชิ้นงานที่ดำเนินมาตามแนวทางของ Cyberpunk ไม่ว่าจะด้วยไตรภาค The Matrix, Ghost in the Shell, Akira ไปจนถึงผลงานเกม Pen and Paper RPG ชื่อดังอย่าง Shadowrun และ Cyberpunk 2020 (อันเป็นต้นสายธารของเกม Cyberpunk 2077 ที่จะวางจำหน่ายในเดือนพฤศจิกายนที่จะถึงนี้ หลังเลื่อนการวางจำหน่ายเป็นหนที่สอง…) หรือแม้แต่วิดีโอเกมหลากหลายชิ้นงานอาทิ Syndicate, Hard Reset, Observer และ Deus Ex (ทั้งภาคต้นตำรับ จนถึง Human Revolution และ Mankind Divided)



อนึ่ง แนวทางของ Cyberpunk นั้น มีอยู่หลายครั้งที่ถูกตั้งคำถามให้กับการดำรงอยู่ของชนกลุ่มย่อยอย่างเช่นคนเชื้อสายแอฟริกัน และบทบาทของสตรีเพศ เพราะต้องยอมรับว่า Cyberpunk นั้นค่อนข้างที่จะมีความ Masculinity ที่ค่อนข้างสูง และอิงกับแฟนตาซีในโลกที่ชายเป็นใหญ่ (ทั้งในแง่ของบุรุษเพศจริงๆ หรือในแง่ตัวแทนอย่างบรรษัทขนาดยักษ์…) อีกทั้งยังถูกตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการมองโลกอนาคตที่หม่นมืด มีความเป็น Dystopia ที่เป็น Subtext แฝงอยู่ภายใน ว่าเป็นการมองในแง่ร้ายเกินไปหรือไม่



แต่ทั้งนี้ มันก็เป็นเพียง Aesthetic หนึ่งของความเป็น Cyberpunk และในปัจจุบัน ภาพจำของความโสมม โลกที่หม่นหมองหดหู่ ก็สามารถเปลี่ยนเป็นอนาคตที่ดูสะอาดสะอ้าน แต่ไม่ร้างหรือปราศจากซึ่งการกดขี่ของระบบ และตัวเอกที่พร้อมจะขบถต่อระบบนั้น เป็นสายย่อย Post-Cyberpunk อีกทอดหนึ่ง เช่น Mirror’s Edge: Catalyst ของทีม DICE ที่ให้ภาพของอนาคตที่เรียบร้อย เป็นระเบียบ แต่กดขี่ และมีเหล่า Runner หรือคนส่งสารที่เป็นตัวแทนของการต่อต้านระบบนั้นๆ




ปรัชญา ‘3 ห’ แห่ง Cyberpunk และความเป็น ‘มนุษย์’


แม้ว่า Cyberpunk จะเป็นแนวทางที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่สูงล้ำ แต่เราต้องไม่ลืมความจริงว่ามันกำลังพูดถึงความเป็น ‘มนุษย์’ ที่ถูกลดทอนลงไป ซึ่งนอกเหนือจากการจัดจำแนกองค์ประกอบทั้งสี่อย่างในหัวข้อที่แล้ว ผู้เขียนขออนุญาตเพิ่มเติมแนวทางการจำแนกเรื่องราวของ Cyberpunk ออกเป็น ‘ปรัชญา 3 ห’ ที่มักจะพบเห็นได้บ่อยครั้งในแนวทางดังกล่าวดังต่อไปนี้



  • หักห้าม : ความเป็นมนุษย์ถูกหักห้าม ลดทอน และให้ค่าอย่างต่ำที่สุดในโลกที่เทคโนโลยีเดินหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง ช่องว่างความเหลื่อมล้ำมีอยู่อย่างมากมาย ไปจนถึงมนุษย์อาจจะไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าฟันเฟืองที่ขับเคลื่อนจักรกลแห่งระบบ (ตัวอย่างเช่น ซีรีส์ The Matrix ที่มนุษย์เป็นเพียงเชื้อเพลิงให้กับเหล่าเครื่องจักร และอาศัยอยู่ในโลกเสมือน)

  • โหยหา : ตัวเอกของเรื่อง เริ่มรับรู้ถึงสิ่งที่ไม่ชอบมาพากลในสภาพแวดล้อมและสิ่งที่อยู่รอบตัว ก่อเกิดเป็นการตั้งคำถามถึงการคงอยู่ของตนเอง และเริ่มโหยหาความเป็น ‘มนุษย์’ หรือสงสัยในความเป็นมนุษย์ของตน (เช่น Deus Ex : Human Revolution ที่ตัวเอกเป็นจารชนจักรกลโดยสภาพจำยอม และตั้งคำถามว่าตนเองยังเป็นมนุษย์อยู่หรือไม่)

  • หวงแหน : ตัวเอกหรือตัวละครหลักในเรื่องเดินทางมาถึงข้อสรุปแห่งความเป็น ‘มนุษย์’ และหวงแหนความรู้สึกเหล่านั้น พร้อมทำทุกวิถีทางเพื่อรักษามันไว้ ภายใต้อุปสรรคและการกดทับของระบบโดยองค์รวม (ตัวอย่างเช่น Blade Runner 2049 ที่ K จารชน Replicant ได้ค้นพบด้านที่เป็นมนุษย์ของตนเองผ่านการผจญภัยและการตื่นรู้ได้ในบั้นปลาย)




ในหลักปรัชญา 3 ห ที่กล่าวไปนี้ สามารถดำเนินไปในเชิงย้อนกลับได้ด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ซีรีส์ Ghost in the Shell ที่ตัวเอกอย่าง Motoko Kusanagi เริ่มต้นด้วยความเป็นมนุษย์อย่างสมบูรณ์แบบ ผ่านภารกิจและการผจญภัยจนในท้ายที่สุด เพื่อจบภารกิจที่ยากจะจัดการได้ ตัวตนของเธอก็ได้กลายเป็นหนึ่ง Entity ในระบบเครือข่ายที่ถูกหักห้ามซึ่งความเป็นมนุษย์ (ในแบบปกติ) ไปโดยสิ้นเชิง



อย่างไรก็ดี ปรัชญา 3 ห ที่กล่าวไปนี้ เป็นเพียงการคาดคะเนและการวิเคราะห์ของผู้เขียนแต่เพียงเท่านั้น ไม่ใช่หลักยึดที่ได้การยอมรับอย่างเป็นทางการ แต่เพื่อให้ง่ายสำหรับผู้ที่สนใจที่จะเสพสื่อแนว Cyberpunk เป็นสำคัญ เพราะอย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านั้น Cyberpunk สามารถถูกตีความได้อย่างอิสระ ตราบเท่าที่โลกกำลังเคลื่อนตัวไปอย่างไม่หยุดยั้ง






It’s not the end of the world, but you can see it from here…


ท้ายที่สุดนี้ ไม่ว่าโลกแห่ง Cyberpunk จะถูกนำไปดัดแปลงและใช้ในสื่อบันเทิงต่างๆ (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สื่อวิดีโอเกม…) มากมายเพียงใด หัวใจและข้อความหลักที่เกี่ยวข้องกับความเป็น ‘มนุษย์’ นั้นก็ยังคงชัดเจน และถูกให้คุณค่าไม่แพ้ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เพราะในทุกครั้ง ตัวเอกก็ยังคงเฝ้าฝันและไขว่คว้าความเป็นมนุษย์ไม่ให้หลุดลอยหายไปกับกระแสธารอันเชี่ยวกรากของโลกที่อยู่รอบตัว

[caption id="attachment_57645" align="aligncenter" width="1024"] Mike Pondsmith ผู้สร้างซีรีส์เกม Pen and Paper Cyberpunk 2020 (และโปรดิวเซอร์ร่วมของเกม Cyberpunk 2077)[/caption]

‘Cyberpunk ไม่ใช่โลกทัศน์ แต่มันเป็นคำเตือน’ Mike Pondsmith ผู้สร้างซีรีส์ Cyberpunk 2020 (และเป็นโปรดิวเซอร์ร่วมของ Cyberpunk 2077) กล่าว ‘มันเป็นคำเตือนถึงโลกในทางร้าย และมันไม่ได้น่าสนุกเมื่อคุณสร้างโลกอนาคตอันโสมม เพื่อที่จะมองออกไปนอกหน้าต่างแล้วพบว่า โลกปัจจุบันกำลังเดินหน้าไปในหนทางนั้น’

และไม่ว่าคุณจะกำลังเพลิดเพลินกับชิ้นงานเกม (โดยเฉพาะกับการผจญภัยใน Night City ของ Cyberpunk 2077 ที่กำลังจะมาถึง...) สนุกกับนวนิยาย หรือบันเทิงกับสื่อภาพยนตร์สาย Cyberpunk เราก็หวังเป็นอย่างยิ่ง ว่าคุณจะไม่ลืมหัวใจที่แท้จริงของมัน ….


“ที่ที่ความเป็น ‘มนุษย์’ นั้นมีคุณค่า เป็นที่โหยหา หวงแหน และมีชัยเหนือกว่าความโสมมและการกดทับใดๆ จะกระทำได้ ในบั้นปลายนั้นเอง”


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header