GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] Spec Ops: The Line ยอดเกมที่ล้มล้างขนบเกมสงคราม
ลงวันที่ 15/11/2021

หมายเหตุ: บทความนี้มีการสปอยเนื้อหาบางส่วนของเกม Spec Ops: The Line และ The Last of Us Part II

ไม่ว่าตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน อุดมคติในการดำรงอยู่ของวิดีโอเกมล้วนถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อมอบความสนุกสุขใจให้กับผู้เล่น ทั้งความบันเทิงตามครรลอง หรือในอีกแง่มุมหนึ่งอย่างความทรมานบันเทิงที่เรามักประสบกับวิดีโอเกมประเภทเขย่าขวัญสั่นโสตประสาท ไม่ว่ามันบรรจุความทรมานสักเพียงใด มันยังคงอัดแน่นด้วยความบันเทิงอยู่ร่ำไป 

กลับกัน หากประสบการณ์ทุกข์ปนเศร้าเคล้าน้ำตา ไร้ซึ่งความรื่นเริง ไร้ซึ่งการประนีประนอม ไร้ซึ่งแสงสว่างปลายทางอุโมงค์ ทุกสิ่งที่เกมหยิบยื่นล้วนประดังประเดพร้อมกระทืบย้ำซ้ำเติมให้ผู้เล่นทั้งสิ้นหวัง แถมสะกิดใจให้ครุ่นคิดว่าสิ่งที่เราทำไป “มันถูกต้องแล้วหรือ?” เมื่อเทียบกับขนบที่เรามักพบในวิดีโอเกมแนวสงคราม แต่ถูกนำเสนอในมุมมองสมจริงและจับต้องได้ อย่างการนำเสนอเรื่องเข่นฆ่าโดยไร้ความปรานีแบบไม่ถูกเชิดชูความเป็นวีรบุรุษและไม่สร้างความชอบธรรมกับการกระทำดังกล่าว รวมถึงการน้อมรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาแม้โดยเนื้อแท้ของคำสั่งมันน่าขยะแขยงปานใด ทุกสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้น คือนิยามของเกม Spec Ops: The Line

แตกต่างจากหลายปีก่อน ในช่วงเวลาที่ Spec Ops: The Line เป็นเกมถูกประเมินค่าต่ำกว่าควร ปัจจุบันเชื่อว่ากลุ่มผู้เล่นเกมวงกว้างรู้จักเกมนี้มากขึ้นทุกเมื่อเชื่อวัน จากเสียงยกย่องสรรเสริญ Spec Ops: The Line ด้วยการสั่งสมชื่อชั้นในด้านเนื้อเรื่องดำดิ่งดุจหุบเหวลึกไร้จุดสิ้นสุด ยิ่งนานวัน เกมหาได้มีสถานะต่างจากไวน์ชั้นยอดที่ถูกหมักบ่มจนกลมกล่อม พร้อมให้ทุกคนลองลิ้มชิมรสชาติแห่งชีวิตระทมของกัปตันวอคเกอร์ (Captain Martin Walker) ผู้ก้าวล้ำข้ามเขตแดนของศีลธรรมแสนแห้งแล้ง ว่างเปล่า ไร้เข็มทิศชี้นำ ไม่ต่างจากการเดินทางอย่างไม่มีจุดหมายในทะเลทรายแห่งเมืองดูไบ

Spec Ops: The Line จำหน่ายในปี 2012 ในช่วงกระแสนิยมของการ “ทำเกมให้เป็นภาพยนตร์” เมื่อมองอย่างผิวเผิน ตัวเกมหาได้ฉีกออกจากกระแสนิยมของวิดีโอเกมในช่วงนั้น แต่หากพิจารณาโดยโครงสร้างของเกม Spec Ops: The Line อย่างละเอียด กลับเป็นเกมที่มีแนวคิดหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) พอสมควร เนื่องจากเกมมีสิ่งที่เป็นสารัตถะของแนวคิดหลังสมัยใหม่ คือ การ “ล้มล้าง” (Subvert) แนวคิดสมัยใหม่ ซึ่งก็คือครรลองของวิดีโอเกม ณ เวลานั้น ผละตัวจากสูตรเกมสงครามที่มีอยู่ทั่วไป

เกมนำเสนอด้วยระบบเกมการเล่นตามระเบียบปฏิบัติของ Cover-based Third-person Shooter วิ่ง ยิง ซิ่งเข้าที่กำบัง สั่งการลูกทีม และการเล่าเรื่องที่เป็นเส้นตรง ถึงแม้เกมมีตัวเลือก สุดท้ายปลายทางล้วนขึ้นตรงกับการตัดสินในช่วงท้ายเกมอยู่ดี ไม่ต่างจากมาตรฐานวิดีโอเกมตามยุคสมัยนั้นแต่อย่างใด 

เรื่องราวเริ่มต้น กัปตันวอคเกอร์, สิบโทลูโก้ และร้อยโทอดัม สังกัดเดลต้าฟอร์ซ ต่างย่างกรายเข้าไปในดูไบ เพื่อทำภารกิจช่วยเหลือพันโทคอนราดและกองพันทหารราบที่ 33 ซึ่งเป็นหน่วยที่ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือการอพยพในดูไบ เมื่อต้นสังกัดของพวกเขาได้รับข้อความเสียงจากพันโทคอนราด จึงมอบหมายนายทหารทั้งสาม มุ่งตรงเข้าดูไบทันที 

ช่วงแรก เกมใช้การเล่าเนื้อเรื่องตามมาตรฐานของเกมสงครามและระบบเกมการเล่นสุดแสนธรรมดา สร้างจังหวะการเล่นให้แก่ผู้เล่น หลอกล่อว่าคือเกมสงครามทั่วไป ภารกิจดังกล่าวได้พาพวกเขาประสบกับผู้คนมากหน้าหลายตา หลายฝักฝ่าย ต่างมีจุดประสงค์เป็นของตัวเอง ซึ่งในเกมปรากฏอยู่สามกลุ่มหลักคือ 

  • The Damned กลุ่มที่ยังฝักใฝ่ในคำบัญชาของพันโทคอนราด
  • The Exiles กลุ่มที่แยกตัวออกมาจากกองพันทหารราบที่ 33 เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของพันโทคอนราด
  • Grey Fox กลุ่มของ CIA ที่เขามาแทรกแซงปฏิบัติการของกองพันทหารราบที่ 33 โดยควบคุมกลุ่มกองกำลังติดอาวุธซึ่งเป็นผู้ลี้ภัยบางส่วน

เกมไม่มีอะไรมากกว่าการเฝ้ามองกลุ่มกัปตันวอคเกอร์เดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ในระหว่างทาง กัปตันวอคเกอร์และเราได้เรียนรู้พฤติกรรมเบื้องหน้าของแต่ละกลุ่ม กัปตันวอคเกอร์ไล่ตามรอยกองพันทหารราบที่ 33 จากสัญญาณขอความช่วยเหลือ จนพบกลุ่ม Grey Fox ที่กำลังจับตัวและสอบปากคำร้อยโทแมคเพอสัน หนึ่งในทหารของกองพันทหารราบที่ 33 

ไม่ว่าร้อยโทแมคเพอสันจะรอดหรือไม่ เกมพากลุ่มกัปตันวอคเกอร์ไปพบกับฐานที่มั่นของกองพันทหารราบที่ 33 ที่กำลังควบคุมพวกผู้อพยพโดยใช้กำลังอันมิชอบ กลุ่มกัปตันวอคเกอร์เปิดฉากจัดการยิงกวาดล้างกองพันทหารราบที่ 33 ทันที แต่เมื่อจัดการเสร็จ พวกผู้อพยพกลับแสดงความไม่พอใจ กัปตันวอคเกอร์จึงออกเดินทางต่อไป กัปตันวอคเกอร์เริ่มเข้าใจสถานการณ์ในดูไบว่ามีการรบกันเองระหว่างกองพันทหารราบที่ 33 และมี CIA เข้ามาเกี่ยวข้อง

หลังจากนั้น กลุ่มกัปตันวอคเกอร์จับสัญญาณได้ว่ามีการสอบปากคำ CIA นามเดเนียล พวกเขาจึงตามสัญญาณไป แต่เมื่อถึงที่หมาย กลับเป็นเพียงกับดักจากกองพันทหารราบที่ 33 เดเนียลตายไปนานแล้ว และกับดักทำขึ้นเพื่อล่อคนที่ชื่อโกลด์ ไม่ใช่เพื่อล่อกลุ่มกัปตันวอคเกอร์ กองกำลังไม่ทราบฝ่ายเปิดฉากจัดการกลุ่มกัปตันวอคเกอร์ ซึ่งจังหวะนั้น โกลด์ปรากฏตัว พร้อมช่วยกลุ่มกัปตันวอคเกอร์หนีออกจากการปิดล้อมโจมตี

กลุ่มของกัปตันวอคเกอร์สามารถหนีจากการปิดล้อม กัปตันวอคเกอร์เริ่มเปลี่ยนใจหันไปเข้าข้างฝั่ง CIA แทนที่กองพันทหารราบที่ 33 เพราะไม่ชอบใจจากสิ่งที่กองพันทหารราบที่ 33 ทำต่อเขา, คนของ CIA และผู้อพยพ เขาละทิ้งเป้าหมายเริ่มต้นอย่างการช่วยพันโทคอนราด เขาต้องการทำสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น

ตอนนี้ทำให้เราต่างไม่รู้ว่าแต่ละกลุ่มมาดีหรือมาร้าย เราไม่รู้แน่ชัดว่าการตีตราสถานะว่าใครเป็นวายร้ายหรือใครเป็นผู้ก่อการดี ยังสามารถใช้ได้ในกรณีนี้หรือไม่ ในโลกของเกมที่อิงความเป็นจริงกับความ “เทา” แบบพร่ามัวและคลุมเครือ กลุ่มของกัปตันวอคเกอร์เป็นเพียงบุคคลที่สาม เข้าไปพัวพันกับปัญหาระหว่างกลุ่มโดยต่างฝ่ายต่างใช้งานกลุ่มของกัปตันวอคเกอร์ทำตามวาระซ่อนเร้นของตน และที่สำคัญ ทุกการตัดสินใจของกัปตันวอคเกอร์ ล้วนเกิดขึ้นด้วยการตัดสินเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้าเขาเท่านั้น

เกมดำเนินไปตามครรลองเกมแนวสงคราม จนผู้เล่นคิดว่า มันก็แค่เกมสงครามอีกเกมหนึ่งเท่านั้น เพราะไม่ว่าเรื่องสงครามกลางเมือง, การเป็นปรปักษ์ระหว่างฝักฝ่าย และความเทาในจุดยืนของแต่ละฝ่าย มันถูกนำเสนอในเกมสงครามเป็นปกติ จนเราชินชา ซึ่งในจังหวะนี้เอง

การล้มล้างจึงได้เริ่มต้น

เกมเริ่มใส่ความไม่ปกติลงในระบบเกมอย่างแนบเนียน พร้อมหยอดการกระทำอันก้าวล่ำทางศีลธรรมแบบทีเล่นทีจริง หลังจากกลุ่มของกัปตันวอคเกอร์หนีจากการปิดล้อมสำเร็จ พวกเขาตามหาโกลด์และพบโกลด์ว่าถูกจับ เกมบีบให้เราตัดสินใจกับทางแยกแห่งศีลธรรมว่าจะช่วยโกลด์หรือช่วยผู้อพยพ แต่สุดท้ายโกลด์ตายอย่างอนาถแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ พวกเขาเดินทางไปตามแผนที่ของโกลด์จนพบฐานที่มั่นของกองพันทหารราบที่ 33 โดยกัปตันวอคเกอร์สั่งลงระเบิดฟอสฟอรัสขาวใส่ฐานที่มั่นกองพันทหารราบที่ 33 เพราะพวกเขาคิดว่าไม่สามารถต้านทานกับกองกำลังจำนวนมากจากกลุ่มพวกเขาที่มีแค่ทหารสามนายเท่านั้น 

การกระทำดังกล่าวจนนำไปสู่จุดที่เกิดความไม่เสถียรภาพทั้งระบบเกมและจิตใจของกัปตันวอคเกอร์ ฉากระเบิดฟอสฟอรัสขาวไม่ต่างกับการกดเปิดสวิตช์ ติดเครื่องยนต์ กระชากผู้เล่นลงห้วงหุบเหวไร้จุดจบ ลิ้มรสบาดแผลทางจิตใจอันเกินเยียวยาของกัปตันวอคเกอร์จากอาการประสาทหลอน (Hallucination) และ Dissociative Disorder (ภาวะที่ความทรงจำ สติสัมปชัญญะ ความรู้ตัว เอกลักษณ์ และ/หรือการรับรู้สภาพแวดล้อมของผู้ป่วยเสียไปหรือถูกรบกวน)

จุดนี้เกมเริ่มนำทฤษฎีความไม่เข้ากันระหว่างเกมการเล่นและการเล่าเรื่องในรูปแบบหักล้างจากทฤษฎีต้นฉบับ (Subverted Ludonarrative Dissonance) กล่าวถึงแนวคิดต้นฉบับ คือ เป็นปรากฏการณ์ที่ระบบเกมการเล่นเกิดการขัดกันกับการเล่าเรื่อง ทำให้ผู้เล่นผละออกจากการดำดิ่งไปกับเรื่องราวในเกม ยกตัวอย่างเช่น Tomb Raider ภาค 2013 ที่มีช่วงหนึ่ง ลาร่าต้องหาอาหารมาประทังชีวิตด้วยการล่าสัตว์ป่า ในด้านเนื้อเรื่อง ตัวลาร่าเองรู้สึกไม่สะดวกใจกับการล่าสัตว์ แต่ตัดมาที่เกมการเล่น ผู้เล่นควักธนูยิงสาดไปที่หมู่มวลสัตว์จนเหี้ยนเสียฉิบ

แต่ทฤษฎีดังกล่าวในรูปแบบหักล้างจากต้นฉบับ แทนที่เป็นการขัดกันระหว่างเกมการเล่นและการเล่าเรื่อง กลับเป็นการสร้างสภาวะการขัดกันระหว่างความคิดของตัวละครภายในเกมกับความคิดของผู้เล่นที่ทำการควบคุมตัวละครดังกล่าว โดยใช้การสร้างสภาวะความคิดเห็นทางศีลธรรมที่ขัดและมุ่งไปคนละทิศทางระหว่างผู้เล่นกับกัปตันวอคเกอร์ ไม่ว่าผู้เล่นพินิจการกระทำของกัปตันวอคเกอร์มันเลยเถิดและลักลั่นทางศีลธรรมเพียงใด เกมกลับยึดตรึงให้ผู้เล่นต้องเล่นต่อไปโดยไม่มีข้อแม้ ไม่มีการผ่อนปรน ผู้เล่นรู้สึกว่าการควบคุมของตน เริ่มไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของตนอีกต่อไป ทุกสิ่งทุกอย่างต่อจากนี้คือ เส้นทางที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ของทั้งผู้เล่นและกัปตันวอคเกอร์

ฉากระเบิดฟอสฟอรัสขาวซึ่งเป็นฉากสำคัญที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น กัปตันวอคเกอร์สั่งลงระเบิดฟอสฟอรัสขาวใส่ฐานที่มั่นของกองพันทหารราบที่ 33 ทั้งที่ระเบิดฟอสฟอรัสขาวเป็นหนึ่งในอาวุธต้องห้าม เพราะความโหดร้ายป่าเถื่อนของมันที่ส่งผลกับเหยื่อ กล่าวได้ว่าระเบิดฟอสฟอรัสขาวเป็นหนึ่งในตัวแทนของความไร้มนุษยธรรมจากสงครามในยุคหลัง ประกอบกับกัปตันวอคเกอร์หาได้รู้ข้อเท็จจริงถึงรายละเอียดที่แน่ชัดของฐานที่มั่นดังกล่าว กัปตันวอคเกอร์ไม่สนสี่สนแปดอะไรทั้งสิ้น เขาสั่งลงระเบิดทันที แม้ว่าลูกทีมเห็นต่างจากคำสั่งของเขา 

เรามีทางเลือกเสมอ” สิบโทลูโก้กล่าวแย้งถึงการตัดสินใจอันเกินจะทนรับไหว

กัปตันวอคเกอร์ตอบกลับด้วยน้ำเสียงเรียบเฉย “ไม่ เราไม่มีทางเลือก

ผู้เล่นอาจเริ่มเคลือบแคลงใจ แต่ต่อมาในเวลาไม่กี่อึดใจ ความเคลือบแคลงดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นความขัดแย้งระหว่างผู้เล่นกับกัปตันวอคเกอร์จนมิอาจประสานให้เป็นดังเดิม เกมแจ้งให้เรารับทราบถึงข้อเท็จจริงว่าฐานที่มั่นดังกล่าว แท้จริงแล้วคือที่พักชั่วคราวสำหรับผู้ลี้ภัยสงครามที่ถูกจัดการโดยกองพันทหารราบที่ 33 เป็นผลให้นับจากช่วงเวลานี้เป็นต้นไป กัปตันวอคเกอร์ยึดการควบคุมมาจากผู้เล่นจนหมดจด และผู้เล่นก็มิอาจทำอะไรได้มากไปกว่าการนั่งเสพความฉิบหาย พร้อมไตร่ตรองถึงเรื่องราวที่ล้วนเกิดจากการกระทำของกัปตันวอคเกอร์ไปจนจบเกม 

เราพบว่าแท้จริงแล้ว กองพันทหารราบที่ 33 ไม่ได้แย่อย่างที่กัปตันวอคเกอร์ด่วนตัดสิน และกลุ่ม CIA ก็ไม่ได้ดีอย่างที่กัปตันวอคเกอร์ด่วนตัดสินอีกเช่นกัน ท้ายที่สุด เขาพบว่าพันโทคอนราดตายไปนานแล้ว ทุกการกระทำที่กัปตันวอคเกอร์กระทำขึ้นหลังจากเหตุการณ์ฟอสฟอรัสขาว ล้วนเกิดจากกลไกทางจิตซึ่งสร้างขึ้นเพื่อหลีกหนีจากความจริง นั่นก็คือผิดที่ตนก่อไว้ ช่วงท้าย เกมให้ผู้เล่นตัดสินใจทางเลือกที่ส่งผลต่อตอนจบ แน่นอนว่าเป็นทางแยกแห่งศีลธรรมอีกเช่นกัน

การใช้ทฤษฎีความไม่เข้ากันในรูปแบบหักล้าง สร้างความไม่บันเทิงเริงใจในการเล่นเกมอีกต่อไป ซึ่งล้มล้างจากอุดมคติการมีอยู่ของวิดีโอเกมที่เราเคยได้กล่าวไว้ข้างต้น โดยเราเรียกประสบการณ์ที่ได้รับจากเล่นเกม Spec Ops: The Line ว่าเป็น “ประสบการณ์ความไม่สบายใจในเชิงบวก” (positive discomfort) ตามที่ได้มีการวิจัยถึงปรากฏการณ์ทางความคิดดังกล่าวจากการเล่นเกม Spec Ops: The Line โดยคุณ Kristine Jørgensen รองศาสตราจารย์ของ Department of Information Science and Media Studies มหาวิทยาลัย Bergen ประเทศ Norway ได้ทำการวิจัยจากอาสาสมัครที่เล่นเกม Spec Ops: The Line โดยแต่ละคนมีอาการระหว่างการเล่นไม่ต่างกันคือรู้สึกไม่สบายทั้งกายและใจ แต่คิดว่านี้คือประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมซึ่งไม่เคยพบในวิดีโอเกมใดๆ มาก่อน มันได้กระตุ้นความคิดและการไตร่ตรองถึงเรื่องราวที่เกมนำเสนอ 

นอกจาก Spec Ops: The Line ยังมีการนำทฤษฎีความไม่เข้ากันในรูปแบบหักล้างไปใช้ในเกมที่ถือได้ว่าเป็นเกมซึ่งสร้างการโต้เถียงมากที่สุดในสังคมวิดีโอเกมในช่วงปีก่อน อย่าง The Last of Us Part II กับการให้ผู้เล่นควบคุมตัวละครแอ็บบี้ที่เพิ่งก่อการอุกอาจ หักหาญหัวใจของผู้เล่นแบบไร้ความปรานี เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ต่างจากระเบิดฟอสฟอรัสขาวใน Spec Ops: The Line ซึ่งเปิดปุ่ม ดำเนินการกระชากความคิดผู้เล่นให้ออกจากความคิดตัวละครอย่างศิโรราบ

หลังจากเกมพาเราประสบกับชะตากรรมสมองดับขมับแตกของโจเอล ด้วยน้ำมือของแอ็บบี้เอง ความขุ่นหมองข้องใจเกิดขึ้นในตัวผู้เล่นต่อการกระทำดังกล่าวของแอ็บบี้ บังเกิดสภาวะการขัดกันระหว่างผู้เล่นกับตัวละคร รอยแยกแห่งความไม่เห็นพ้องต้องกันปรากฏให้เห็นชัดเจนตามสูตรสำเร็จของทฤษฎีความไม่เข้ากันในรูปแบบหักล้าง ประกอบกับเกมไม่ปรานีเสียยิ่งกว่า Spec Ops: The Line ที่บังคับให้ผู้เล่นต้องควบคุมแอ็บบี้ถึงครึ่งต่อครึ่งของเนื้อหาในเกม 

ความรู้สึกตีตัวออกหากจากเหตุผลความชอบธรรมใดๆ ของแอ็บบี้ที่เกมนำเสนอ นั้นไม่ใช่ความผิดของผู้เล่นที่เกิดความคิดไม่ลงรอยกับแอ็บบี้ และไม่ว่าผู้เล่นรู้สึกอย่างไรกับแอ็บบี้ นี้เป็นเส้นทางชีวิตของแอ็บบี้เอง ไม่ใช่ของผู้เล่น การที่ผู้เล่นควบคุมตัวละคร ไม่ได้หมายถึงต้องควบคุมชะตากรรมของใครในเกมนี้

ความชอบธรรมที่เกมระดมโยนใส่ผู้เล่น หากมันได้กระตุ้นความคิดและการไตร่ตรองถึงเรื่องราวที่เกมนำเสนอ ทั้งชีวิต ความเป็นอยู่ เพื่อนพ้อง ความเป็นมนุษย์เดินดิน การรวมหัวจมท้ายในชะตากรรมแอ็บบี้ แม้ว่าผู้เล่นยังคงไม่เห็นด้วยกับแอ็บบี้ แต่นั่นถือว่าเกมประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ไม่ต่างจากสิ่ง Spec Ops: The Line เคยทำมาก่อน เป็นเหตุผลว่าทำไมทั้งสองเกมถึงได้รับการยกย่องจวบจนปัจจุบัน

เพราะท้ายที่สุด การที่เราไม่รู้สึกถึงความเป็นวีรบุรุษของกัปตันวอคเกอร์ไม่ใช่ทั้งเรื่องถูกหรือผิดฉันใด การที่เราไม่รู้สึกถึงความชอบธรรมของแอ็บบี้ ก็ไม่ใช่ทั้งเรื่องถูกหรือผิดฉันนั้น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] Spec Ops: The Line ยอดเกมที่ล้มล้างขนบเกมสงคราม
15/11/2021

หมายเหตุ: บทความนี้มีการสปอยเนื้อหาบางส่วนของเกม Spec Ops: The Line และ The Last of Us Part II

ไม่ว่าตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน อุดมคติในการดำรงอยู่ของวิดีโอเกมล้วนถูกสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อมอบความสนุกสุขใจให้กับผู้เล่น ทั้งความบันเทิงตามครรลอง หรือในอีกแง่มุมหนึ่งอย่างความทรมานบันเทิงที่เรามักประสบกับวิดีโอเกมประเภทเขย่าขวัญสั่นโสตประสาท ไม่ว่ามันบรรจุความทรมานสักเพียงใด มันยังคงอัดแน่นด้วยความบันเทิงอยู่ร่ำไป 

กลับกัน หากประสบการณ์ทุกข์ปนเศร้าเคล้าน้ำตา ไร้ซึ่งความรื่นเริง ไร้ซึ่งการประนีประนอม ไร้ซึ่งแสงสว่างปลายทางอุโมงค์ ทุกสิ่งที่เกมหยิบยื่นล้วนประดังประเดพร้อมกระทืบย้ำซ้ำเติมให้ผู้เล่นทั้งสิ้นหวัง แถมสะกิดใจให้ครุ่นคิดว่าสิ่งที่เราทำไป “มันถูกต้องแล้วหรือ?” เมื่อเทียบกับขนบที่เรามักพบในวิดีโอเกมแนวสงคราม แต่ถูกนำเสนอในมุมมองสมจริงและจับต้องได้ อย่างการนำเสนอเรื่องเข่นฆ่าโดยไร้ความปรานีแบบไม่ถูกเชิดชูความเป็นวีรบุรุษและไม่สร้างความชอบธรรมกับการกระทำดังกล่าว รวมถึงการน้อมรับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาแม้โดยเนื้อแท้ของคำสั่งมันน่าขยะแขยงปานใด ทุกสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้น คือนิยามของเกม Spec Ops: The Line

แตกต่างจากหลายปีก่อน ในช่วงเวลาที่ Spec Ops: The Line เป็นเกมถูกประเมินค่าต่ำกว่าควร ปัจจุบันเชื่อว่ากลุ่มผู้เล่นเกมวงกว้างรู้จักเกมนี้มากขึ้นทุกเมื่อเชื่อวัน จากเสียงยกย่องสรรเสริญ Spec Ops: The Line ด้วยการสั่งสมชื่อชั้นในด้านเนื้อเรื่องดำดิ่งดุจหุบเหวลึกไร้จุดสิ้นสุด ยิ่งนานวัน เกมหาได้มีสถานะต่างจากไวน์ชั้นยอดที่ถูกหมักบ่มจนกลมกล่อม พร้อมให้ทุกคนลองลิ้มชิมรสชาติแห่งชีวิตระทมของกัปตันวอคเกอร์ (Captain Martin Walker) ผู้ก้าวล้ำข้ามเขตแดนของศีลธรรมแสนแห้งแล้ง ว่างเปล่า ไร้เข็มทิศชี้นำ ไม่ต่างจากการเดินทางอย่างไม่มีจุดหมายในทะเลทรายแห่งเมืองดูไบ

Spec Ops: The Line จำหน่ายในปี 2012 ในช่วงกระแสนิยมของการ “ทำเกมให้เป็นภาพยนตร์” เมื่อมองอย่างผิวเผิน ตัวเกมหาได้ฉีกออกจากกระแสนิยมของวิดีโอเกมในช่วงนั้น แต่หากพิจารณาโดยโครงสร้างของเกม Spec Ops: The Line อย่างละเอียด กลับเป็นเกมที่มีแนวคิดหลังสมัยใหม่ (Postmodernism) พอสมควร เนื่องจากเกมมีสิ่งที่เป็นสารัตถะของแนวคิดหลังสมัยใหม่ คือ การ “ล้มล้าง” (Subvert) แนวคิดสมัยใหม่ ซึ่งก็คือครรลองของวิดีโอเกม ณ เวลานั้น ผละตัวจากสูตรเกมสงครามที่มีอยู่ทั่วไป

เกมนำเสนอด้วยระบบเกมการเล่นตามระเบียบปฏิบัติของ Cover-based Third-person Shooter วิ่ง ยิง ซิ่งเข้าที่กำบัง สั่งการลูกทีม และการเล่าเรื่องที่เป็นเส้นตรง ถึงแม้เกมมีตัวเลือก สุดท้ายปลายทางล้วนขึ้นตรงกับการตัดสินในช่วงท้ายเกมอยู่ดี ไม่ต่างจากมาตรฐานวิดีโอเกมตามยุคสมัยนั้นแต่อย่างใด 

เรื่องราวเริ่มต้น กัปตันวอคเกอร์, สิบโทลูโก้ และร้อยโทอดัม สังกัดเดลต้าฟอร์ซ ต่างย่างกรายเข้าไปในดูไบ เพื่อทำภารกิจช่วยเหลือพันโทคอนราดและกองพันทหารราบที่ 33 ซึ่งเป็นหน่วยที่ตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือการอพยพในดูไบ เมื่อต้นสังกัดของพวกเขาได้รับข้อความเสียงจากพันโทคอนราด จึงมอบหมายนายทหารทั้งสาม มุ่งตรงเข้าดูไบทันที 

ช่วงแรก เกมใช้การเล่าเนื้อเรื่องตามมาตรฐานของเกมสงครามและระบบเกมการเล่นสุดแสนธรรมดา สร้างจังหวะการเล่นให้แก่ผู้เล่น หลอกล่อว่าคือเกมสงครามทั่วไป ภารกิจดังกล่าวได้พาพวกเขาประสบกับผู้คนมากหน้าหลายตา หลายฝักฝ่าย ต่างมีจุดประสงค์เป็นของตัวเอง ซึ่งในเกมปรากฏอยู่สามกลุ่มหลักคือ 

  • The Damned กลุ่มที่ยังฝักใฝ่ในคำบัญชาของพันโทคอนราด
  • The Exiles กลุ่มที่แยกตัวออกมาจากกองพันทหารราบที่ 33 เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับแนวคิดของพันโทคอนราด
  • Grey Fox กลุ่มของ CIA ที่เขามาแทรกแซงปฏิบัติการของกองพันทหารราบที่ 33 โดยควบคุมกลุ่มกองกำลังติดอาวุธซึ่งเป็นผู้ลี้ภัยบางส่วน

เกมไม่มีอะไรมากกว่าการเฝ้ามองกลุ่มกัปตันวอคเกอร์เดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ในระหว่างทาง กัปตันวอคเกอร์และเราได้เรียนรู้พฤติกรรมเบื้องหน้าของแต่ละกลุ่ม กัปตันวอคเกอร์ไล่ตามรอยกองพันทหารราบที่ 33 จากสัญญาณขอความช่วยเหลือ จนพบกลุ่ม Grey Fox ที่กำลังจับตัวและสอบปากคำร้อยโทแมคเพอสัน หนึ่งในทหารของกองพันทหารราบที่ 33 

ไม่ว่าร้อยโทแมคเพอสันจะรอดหรือไม่ เกมพากลุ่มกัปตันวอคเกอร์ไปพบกับฐานที่มั่นของกองพันทหารราบที่ 33 ที่กำลังควบคุมพวกผู้อพยพโดยใช้กำลังอันมิชอบ กลุ่มกัปตันวอคเกอร์เปิดฉากจัดการยิงกวาดล้างกองพันทหารราบที่ 33 ทันที แต่เมื่อจัดการเสร็จ พวกผู้อพยพกลับแสดงความไม่พอใจ กัปตันวอคเกอร์จึงออกเดินทางต่อไป กัปตันวอคเกอร์เริ่มเข้าใจสถานการณ์ในดูไบว่ามีการรบกันเองระหว่างกองพันทหารราบที่ 33 และมี CIA เข้ามาเกี่ยวข้อง

หลังจากนั้น กลุ่มกัปตันวอคเกอร์จับสัญญาณได้ว่ามีการสอบปากคำ CIA นามเดเนียล พวกเขาจึงตามสัญญาณไป แต่เมื่อถึงที่หมาย กลับเป็นเพียงกับดักจากกองพันทหารราบที่ 33 เดเนียลตายไปนานแล้ว และกับดักทำขึ้นเพื่อล่อคนที่ชื่อโกลด์ ไม่ใช่เพื่อล่อกลุ่มกัปตันวอคเกอร์ กองกำลังไม่ทราบฝ่ายเปิดฉากจัดการกลุ่มกัปตันวอคเกอร์ ซึ่งจังหวะนั้น โกลด์ปรากฏตัว พร้อมช่วยกลุ่มกัปตันวอคเกอร์หนีออกจากการปิดล้อมโจมตี

กลุ่มของกัปตันวอคเกอร์สามารถหนีจากการปิดล้อม กัปตันวอคเกอร์เริ่มเปลี่ยนใจหันไปเข้าข้างฝั่ง CIA แทนที่กองพันทหารราบที่ 33 เพราะไม่ชอบใจจากสิ่งที่กองพันทหารราบที่ 33 ทำต่อเขา, คนของ CIA และผู้อพยพ เขาละทิ้งเป้าหมายเริ่มต้นอย่างการช่วยพันโทคอนราด เขาต้องการทำสิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น

ตอนนี้ทำให้เราต่างไม่รู้ว่าแต่ละกลุ่มมาดีหรือมาร้าย เราไม่รู้แน่ชัดว่าการตีตราสถานะว่าใครเป็นวายร้ายหรือใครเป็นผู้ก่อการดี ยังสามารถใช้ได้ในกรณีนี้หรือไม่ ในโลกของเกมที่อิงความเป็นจริงกับความ “เทา” แบบพร่ามัวและคลุมเครือ กลุ่มของกัปตันวอคเกอร์เป็นเพียงบุคคลที่สาม เข้าไปพัวพันกับปัญหาระหว่างกลุ่มโดยต่างฝ่ายต่างใช้งานกลุ่มของกัปตันวอคเกอร์ทำตามวาระซ่อนเร้นของตน และที่สำคัญ ทุกการตัดสินใจของกัปตันวอคเกอร์ ล้วนเกิดขึ้นด้วยการตัดสินเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตรงหน้าเขาเท่านั้น

เกมดำเนินไปตามครรลองเกมแนวสงคราม จนผู้เล่นคิดว่า มันก็แค่เกมสงครามอีกเกมหนึ่งเท่านั้น เพราะไม่ว่าเรื่องสงครามกลางเมือง, การเป็นปรปักษ์ระหว่างฝักฝ่าย และความเทาในจุดยืนของแต่ละฝ่าย มันถูกนำเสนอในเกมสงครามเป็นปกติ จนเราชินชา ซึ่งในจังหวะนี้เอง

การล้มล้างจึงได้เริ่มต้น

เกมเริ่มใส่ความไม่ปกติลงในระบบเกมอย่างแนบเนียน พร้อมหยอดการกระทำอันก้าวล่ำทางศีลธรรมแบบทีเล่นทีจริง หลังจากกลุ่มของกัปตันวอคเกอร์หนีจากการปิดล้อมสำเร็จ พวกเขาตามหาโกลด์และพบโกลด์ว่าถูกจับ เกมบีบให้เราตัดสินใจกับทางแยกแห่งศีลธรรมว่าจะช่วยโกลด์หรือช่วยผู้อพยพ แต่สุดท้ายโกลด์ตายอย่างอนาถแบบหลีกเลี่ยงไม่ได้ พวกเขาเดินทางไปตามแผนที่ของโกลด์จนพบฐานที่มั่นของกองพันทหารราบที่ 33 โดยกัปตันวอคเกอร์สั่งลงระเบิดฟอสฟอรัสขาวใส่ฐานที่มั่นกองพันทหารราบที่ 33 เพราะพวกเขาคิดว่าไม่สามารถต้านทานกับกองกำลังจำนวนมากจากกลุ่มพวกเขาที่มีแค่ทหารสามนายเท่านั้น 

การกระทำดังกล่าวจนนำไปสู่จุดที่เกิดความไม่เสถียรภาพทั้งระบบเกมและจิตใจของกัปตันวอคเกอร์ ฉากระเบิดฟอสฟอรัสขาวไม่ต่างกับการกดเปิดสวิตช์ ติดเครื่องยนต์ กระชากผู้เล่นลงห้วงหุบเหวไร้จุดจบ ลิ้มรสบาดแผลทางจิตใจอันเกินเยียวยาของกัปตันวอคเกอร์จากอาการประสาทหลอน (Hallucination) และ Dissociative Disorder (ภาวะที่ความทรงจำ สติสัมปชัญญะ ความรู้ตัว เอกลักษณ์ และ/หรือการรับรู้สภาพแวดล้อมของผู้ป่วยเสียไปหรือถูกรบกวน)

จุดนี้เกมเริ่มนำทฤษฎีความไม่เข้ากันระหว่างเกมการเล่นและการเล่าเรื่องในรูปแบบหักล้างจากทฤษฎีต้นฉบับ (Subverted Ludonarrative Dissonance) กล่าวถึงแนวคิดต้นฉบับ คือ เป็นปรากฏการณ์ที่ระบบเกมการเล่นเกิดการขัดกันกับการเล่าเรื่อง ทำให้ผู้เล่นผละออกจากการดำดิ่งไปกับเรื่องราวในเกม ยกตัวอย่างเช่น Tomb Raider ภาค 2013 ที่มีช่วงหนึ่ง ลาร่าต้องหาอาหารมาประทังชีวิตด้วยการล่าสัตว์ป่า ในด้านเนื้อเรื่อง ตัวลาร่าเองรู้สึกไม่สะดวกใจกับการล่าสัตว์ แต่ตัดมาที่เกมการเล่น ผู้เล่นควักธนูยิงสาดไปที่หมู่มวลสัตว์จนเหี้ยนเสียฉิบ

แต่ทฤษฎีดังกล่าวในรูปแบบหักล้างจากต้นฉบับ แทนที่เป็นการขัดกันระหว่างเกมการเล่นและการเล่าเรื่อง กลับเป็นการสร้างสภาวะการขัดกันระหว่างความคิดของตัวละครภายในเกมกับความคิดของผู้เล่นที่ทำการควบคุมตัวละครดังกล่าว โดยใช้การสร้างสภาวะความคิดเห็นทางศีลธรรมที่ขัดและมุ่งไปคนละทิศทางระหว่างผู้เล่นกับกัปตันวอคเกอร์ ไม่ว่าผู้เล่นพินิจการกระทำของกัปตันวอคเกอร์มันเลยเถิดและลักลั่นทางศีลธรรมเพียงใด เกมกลับยึดตรึงให้ผู้เล่นต้องเล่นต่อไปโดยไม่มีข้อแม้ ไม่มีการผ่อนปรน ผู้เล่นรู้สึกว่าการควบคุมของตน เริ่มไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของตนอีกต่อไป ทุกสิ่งทุกอย่างต่อจากนี้คือ เส้นทางที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ของทั้งผู้เล่นและกัปตันวอคเกอร์

ฉากระเบิดฟอสฟอรัสขาวซึ่งเป็นฉากสำคัญที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น กัปตันวอคเกอร์สั่งลงระเบิดฟอสฟอรัสขาวใส่ฐานที่มั่นของกองพันทหารราบที่ 33 ทั้งที่ระเบิดฟอสฟอรัสขาวเป็นหนึ่งในอาวุธต้องห้าม เพราะความโหดร้ายป่าเถื่อนของมันที่ส่งผลกับเหยื่อ กล่าวได้ว่าระเบิดฟอสฟอรัสขาวเป็นหนึ่งในตัวแทนของความไร้มนุษยธรรมจากสงครามในยุคหลัง ประกอบกับกัปตันวอคเกอร์หาได้รู้ข้อเท็จจริงถึงรายละเอียดที่แน่ชัดของฐานที่มั่นดังกล่าว กัปตันวอคเกอร์ไม่สนสี่สนแปดอะไรทั้งสิ้น เขาสั่งลงระเบิดทันที แม้ว่าลูกทีมเห็นต่างจากคำสั่งของเขา 

เรามีทางเลือกเสมอ” สิบโทลูโก้กล่าวแย้งถึงการตัดสินใจอันเกินจะทนรับไหว

กัปตันวอคเกอร์ตอบกลับด้วยน้ำเสียงเรียบเฉย “ไม่ เราไม่มีทางเลือก

ผู้เล่นอาจเริ่มเคลือบแคลงใจ แต่ต่อมาในเวลาไม่กี่อึดใจ ความเคลือบแคลงดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นความขัดแย้งระหว่างผู้เล่นกับกัปตันวอคเกอร์จนมิอาจประสานให้เป็นดังเดิม เกมแจ้งให้เรารับทราบถึงข้อเท็จจริงว่าฐานที่มั่นดังกล่าว แท้จริงแล้วคือที่พักชั่วคราวสำหรับผู้ลี้ภัยสงครามที่ถูกจัดการโดยกองพันทหารราบที่ 33 เป็นผลให้นับจากช่วงเวลานี้เป็นต้นไป กัปตันวอคเกอร์ยึดการควบคุมมาจากผู้เล่นจนหมดจด และผู้เล่นก็มิอาจทำอะไรได้มากไปกว่าการนั่งเสพความฉิบหาย พร้อมไตร่ตรองถึงเรื่องราวที่ล้วนเกิดจากการกระทำของกัปตันวอคเกอร์ไปจนจบเกม 

เราพบว่าแท้จริงแล้ว กองพันทหารราบที่ 33 ไม่ได้แย่อย่างที่กัปตันวอคเกอร์ด่วนตัดสิน และกลุ่ม CIA ก็ไม่ได้ดีอย่างที่กัปตันวอคเกอร์ด่วนตัดสินอีกเช่นกัน ท้ายที่สุด เขาพบว่าพันโทคอนราดตายไปนานแล้ว ทุกการกระทำที่กัปตันวอคเกอร์กระทำขึ้นหลังจากเหตุการณ์ฟอสฟอรัสขาว ล้วนเกิดจากกลไกทางจิตซึ่งสร้างขึ้นเพื่อหลีกหนีจากความจริง นั่นก็คือผิดที่ตนก่อไว้ ช่วงท้าย เกมให้ผู้เล่นตัดสินใจทางเลือกที่ส่งผลต่อตอนจบ แน่นอนว่าเป็นทางแยกแห่งศีลธรรมอีกเช่นกัน

การใช้ทฤษฎีความไม่เข้ากันในรูปแบบหักล้าง สร้างความไม่บันเทิงเริงใจในการเล่นเกมอีกต่อไป ซึ่งล้มล้างจากอุดมคติการมีอยู่ของวิดีโอเกมที่เราเคยได้กล่าวไว้ข้างต้น โดยเราเรียกประสบการณ์ที่ได้รับจากเล่นเกม Spec Ops: The Line ว่าเป็น “ประสบการณ์ความไม่สบายใจในเชิงบวก” (positive discomfort) ตามที่ได้มีการวิจัยถึงปรากฏการณ์ทางความคิดดังกล่าวจากการเล่นเกม Spec Ops: The Line โดยคุณ Kristine Jørgensen รองศาสตราจารย์ของ Department of Information Science and Media Studies มหาวิทยาลัย Bergen ประเทศ Norway ได้ทำการวิจัยจากอาสาสมัครที่เล่นเกม Spec Ops: The Line โดยแต่ละคนมีอาการระหว่างการเล่นไม่ต่างกันคือรู้สึกไม่สบายทั้งกายและใจ แต่คิดว่านี้คือประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมซึ่งไม่เคยพบในวิดีโอเกมใดๆ มาก่อน มันได้กระตุ้นความคิดและการไตร่ตรองถึงเรื่องราวที่เกมนำเสนอ 

นอกจาก Spec Ops: The Line ยังมีการนำทฤษฎีความไม่เข้ากันในรูปแบบหักล้างไปใช้ในเกมที่ถือได้ว่าเป็นเกมซึ่งสร้างการโต้เถียงมากที่สุดในสังคมวิดีโอเกมในช่วงปีก่อน อย่าง The Last of Us Part II กับการให้ผู้เล่นควบคุมตัวละครแอ็บบี้ที่เพิ่งก่อการอุกอาจ หักหาญหัวใจของผู้เล่นแบบไร้ความปรานี เหตุการณ์ดังกล่าวไม่ต่างจากระเบิดฟอสฟอรัสขาวใน Spec Ops: The Line ซึ่งเปิดปุ่ม ดำเนินการกระชากความคิดผู้เล่นให้ออกจากความคิดตัวละครอย่างศิโรราบ

หลังจากเกมพาเราประสบกับชะตากรรมสมองดับขมับแตกของโจเอล ด้วยน้ำมือของแอ็บบี้เอง ความขุ่นหมองข้องใจเกิดขึ้นในตัวผู้เล่นต่อการกระทำดังกล่าวของแอ็บบี้ บังเกิดสภาวะการขัดกันระหว่างผู้เล่นกับตัวละคร รอยแยกแห่งความไม่เห็นพ้องต้องกันปรากฏให้เห็นชัดเจนตามสูตรสำเร็จของทฤษฎีความไม่เข้ากันในรูปแบบหักล้าง ประกอบกับเกมไม่ปรานีเสียยิ่งกว่า Spec Ops: The Line ที่บังคับให้ผู้เล่นต้องควบคุมแอ็บบี้ถึงครึ่งต่อครึ่งของเนื้อหาในเกม 

ความรู้สึกตีตัวออกหากจากเหตุผลความชอบธรรมใดๆ ของแอ็บบี้ที่เกมนำเสนอ นั้นไม่ใช่ความผิดของผู้เล่นที่เกิดความคิดไม่ลงรอยกับแอ็บบี้ และไม่ว่าผู้เล่นรู้สึกอย่างไรกับแอ็บบี้ นี้เป็นเส้นทางชีวิตของแอ็บบี้เอง ไม่ใช่ของผู้เล่น การที่ผู้เล่นควบคุมตัวละคร ไม่ได้หมายถึงต้องควบคุมชะตากรรมของใครในเกมนี้

ความชอบธรรมที่เกมระดมโยนใส่ผู้เล่น หากมันได้กระตุ้นความคิดและการไตร่ตรองถึงเรื่องราวที่เกมนำเสนอ ทั้งชีวิต ความเป็นอยู่ เพื่อนพ้อง ความเป็นมนุษย์เดินดิน การรวมหัวจมท้ายในชะตากรรมแอ็บบี้ แม้ว่าผู้เล่นยังคงไม่เห็นด้วยกับแอ็บบี้ แต่นั่นถือว่าเกมประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ไม่ต่างจากสิ่ง Spec Ops: The Line เคยทำมาก่อน เป็นเหตุผลว่าทำไมทั้งสองเกมถึงได้รับการยกย่องจวบจนปัจจุบัน

เพราะท้ายที่สุด การที่เราไม่รู้สึกถึงความเป็นวีรบุรุษของกัปตันวอคเกอร์ไม่ใช่ทั้งเรื่องถูกหรือผิดฉันใด การที่เราไม่รู้สึกถึงความชอบธรรมของแอ็บบี้ ก็ไม่ใช่ทั้งเรื่องถูกหรือผิดฉันนั้น

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header