GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
[Review] Death Gambit: Afterlife เกมที่ทำความยากให้ย่อยง่าย จนเหมาะสมทั้งสายชิลและจริงจัง
ลงวันที่ 26/05/2022

หากจะพูดให้เข้าใจง่าย และเห็นภาพโดยทั่วกันแล้ว Death Gambit คือเกม Dark Souls ที่ถูกดัดแปลง พร้อมนำเสนอใหม่ในมุมมอง 2 มิตินั่นเอง

แน่นอนว่า ระบบต่าง ๆ อาจจะมีจุดที่ไม่เหมือนกันอยู่บ้าง แต่แก่นกลางของมันก็ยังคงให้กลิ่นอายของแนว Soulslike อยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นระบบอาชีพ ความยากของศัตรู บทลงโทษเมื่อผู้เล่นตาย ไปจนถึงแผนที่ที่มีความซับซ้อนเหมือนกับเขาวงกต


Death's Gambit: Afterlife | Nintendo Switch download software | Games |  Nintendo


และสำหรับ Death Gambit: Afterlife นั้น มันจะเป็นเหมือนเวอร์ชันอัปเกรดของตัวเกมจากภาคต้นฉบับ เพราะทางผู้พัฒนาได้ปรับปรุงหลายสิ่งหลายยิ่งในส่วนขยายนี้ ทั้งเพิ่มฉากจบใหม่ เพิ่มบอสตัวใหม่ เพิ่มอาวุธใหม่ และยังมีการปรับปรุงระบบเกมเพลย์บางส่วนอีกด้วย


ซึ่งต้องขอสารภาพตามตรงว่า ทางผู้เขียนไม่เคยได้สัมผัสกับตัวเกมต้นฉบับของ Death Gambit มาก่อน ดังนั้นอาจจะหาข้อเปรียบเทียบได้ไม่ชัดเจนมากนัก สำหรับความแตกต่างระหว่างสองเวอร์ชันนี้ อีกทั้งเกมที่ผู้เขียนใช้รีวิว จะเป็นเกมในเวอร์ชันเครื่องพกพาอย่าง Nintendo Switch ซึ่งอาจจะมีปัญหาที่แตกต่างกันบางประการจากเวอร์ชันอื่น ๆ 


เนื้อเรื่องที่ย่อยง่าย แต่ยังคงแฝงไปด้วยปริศนา


เนื้อเรื่องหลักของ Death Gambit จะมีความเป็นเส้นตรงกว่า Dark Souls หรือเกม Metroidvania ในประเภทเดียวกันอย่าง Deadcells หรือ Hollow Knight มากนัก


เกมจะพาเราไปติดตามเรื่องราวของตัวเอกนามว่า Sorun ที่เคยสูญเสียลมหายใจไปแล้วครั้งหนึ่ง ทว่าเขากลับทำสัญญากับยมทูต (Death) ได้ทันท่วงที ก่อนที่วิญญาณสูญสลายไป Sorun ฟื้นขึ้นมายังโลกคนเป็นอีกครั้งในฐานะผู้ที่ฆ่าไม่ตาย (Immortality) โดยมีข้อแลกเปลี่ยนกับยมทูตก็คือ เขาจะต้องจัดการสังหารบุคคลที่เป็นอมตะอื่น ๆ เพื่อให้ยมทูตสามารถเก็บเกี่ยวดวงวิญญาณของผู้ฝืนกฎธรรมชาติได้นั่นเอง




นอกจากนี้ ความทรงจำของ Sorun ระหว่างยังมีชีวิตจะยังเลือนรางอีกด้วย แต่สิ่งเดียวที่ Sorun ยังคงจำได้เด่นชัดก็คือ ภาพแม่ของเขาที่ออกไปทำภารกิจสำรวจดินแดนภายนอกเมื่อครั้งเขายังเยาว์วัย นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่ Sorun จะต้องไขว่คว้าให้ได้ ภายในการเดินทางครั้งนี้นี่เอง


อย่างที่เกริ่นไปตอนต้นว่า Death Gambit: Afterlife นั้น จะมีเนื้อเรื่องที่ค่อนข้างเข้าใจง่ายมากกว่า เพราะทางผู้พัฒนาเลือกที่จะเล่ากันมาแบบตรง ๆ ไม่ต้องให้ผู้เล่นไปสืบเสาะหาเบาะแสกันเอาเอง ซึ่งตรงจุดนี้อาจจะทำให้บางคนที่ชื่นชอบดื่มด่ำไปกับการเดินพูดคุยกับ NPC ต่าง ๆ รู้สึกว่าจืดชืดไปบ้าง กับการที่เกมยัดข้อมูลมาให้เราแบบง่าย ๆ เลย


ทว่าไม่ต้องเป็นห่วงไป เพราะในเมื่อตัวเกมได้นำความตายมาแปรเปลี่ยนเป็นลูกเล่นแล้ว เขาจึงได้ดึงเอาความตายมาใช้เป็นส่วนช่วยบอกเล่าข้อมูลอีกด้วย โดยทุกครั้งที่ผู้เล่นตาย ตัวเกมจะสุ่มปล่อยข้อมูลความทรงจำใหม่ ๆ เข้ามา ทั้งภาพของ Sorun ในวัยเด็กที่พูดคุยกับแม่ของเขา ว่าอยากจะเป็นอัศวิน หรือจะเป็นฉากที่ Sorun เดินทางไปยังผืนน้ำของทะเล ก่อนจะเปลี่ยนไปเป็นทะเลเลือด เพราะไฟสงคราม ทั้งหมดนี้จะช่วยสื่อสารและเล่าเรื่องราวปูมหลังของตัวละครหลักได้อย่างดีเลยทีเดียว


อีกทั้งการที่ตัวเกมเล่าออกมาแบบสุ่มนี้ จึงทำให้ Death Gambit: Afterlife มีคุณค่าในการกลับมาเล่นซ้ำค่อนข้างสูงสำหรับคนที่อยากจะเก็บเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ ยิ่งบวกกับฉากจบหลายแบบด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ผู้เล่นต้องใช้เวลาอยู่กับเกมนี้นานระดับหนึ่งเลยทีเดียวล่ะ


ระบบอาชีพทั้ง 7 มอบอิสระให้กับคนเล่นเต็มที่


หลังจากอารัมภบทเนื้อเรื่องในตอนต้นเกมไปแล้ว ยมทูตจะถามเราถึงความทรงจำเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งตรงจุดนี้จะเป็นการให้ผู้เล่นเลือกอาชีพตอนเริ่มเกมทั้ง 7 อาชีพ โดยมีไปตั้งแต่ อาชีพที่ตัวเกมแนะนำว่าเล่นยากอย่าง Assassin หรือ Sentinel อาชีพที่เน้นการโจมตีระยะไกลอย่าง Wizard อาชีพที่เน้นวางแผนเข้าทำอย่าง Soldier, Noble หรือ Acolyte of Death และอาชีพที่เล่นง่าย บุกโจมตีไวอย่าง Blood Knight




แน่นอนว่าแต่ละอาชีพที่มีข้อดีที่แตกต่างกันไป ซึ่งมันจะมาในรูปแบบของสกิลติดตัวตั้งแต่แรกเลือก ไปจนถึงสกิลกดใช้ที่มีให้เลือกอัปเกรดได้ในภายหลัง


โดยสกิลติดตัวนั้น จะอยู่กับตัวละครของผู้เล่นไปตลอด ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จนกว่าจะเริ่มเล่นใหม่ ส่วนสกิลที่อัปเลเวลได้ มันจะมีระบบของคลาส 2 เข้ามาเกี่ยวข้อง ช่วยให้ผู้เล่นสามารถกระโดดข้ามสาย ไปหยิบยืมสกิลของอาชีพอื่น ๆ ที่ไม่ได้เลือกในต้อนเริ่มเกมได้นั่นเอง


นอกจากนี้ ตัวเกมยังไม่ได้จำกัดอาวุธประเภทต่าง ๆ ให้แค่เพียงอาชีพเดียวถือเท่านั้น ผู้เล่นสามารถเลือกใช้งานอาวุธอะไรก็ได้ ตราบเท่าที่ค่าพลังเอื้ออำนวย ช่วยให้ผู้เล่นสามารถสร้างสรรค์สไตล์การเล่นของตัวเองออกมาได้แทบจะไร้ขีดจำกัดเลยทีเดียว


ระบบที่เอื้ออำนวยให้คนเล่นไม่เก่ง ก็สามารถสนุกไปด้วยกันได้


หากคุณเป็นคนที่คุ้นชินกับเกมแนว Soulslike แบบ 3 มิติมา คุณน่าจะต้องใช้เวลาปรับตัวสักพักเลยทีเดียวกว่าที่จะชินกับ Death Gambit เพราะว่าการออกท่าของศัตรูภายในรูปแบบมุมมอง 2 มิตินั้น ค่อนข้างคาดเดายากกว่ามุมมอง 3 มิติระดับหนึ่งเลย ทว่าเมื่อใดก็ตามที่คุณเริ่มจับทางของตัวเกมได้แล้ว เกมนี้จะง่ายขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว


เกมให้ทางเลือกในการตอบโต้การโจมตีของศัตรูที่หลากหลาย ราวกับถอดแบบมาจาก Dark Souls ทั้งการกลิ้งหลบ การบล็อก การแพรี่ ล้วนมีอยู่ใน Death Gambit อย่างครบถ้วน ซึ่งถ้าหากคุณมีประสบการณ์กับเกมแนว Soulslike มา ก็น่าจะรู้ว่า การกลิ้งหลบ มันก็เพียงพอที่จะทำให้คุณจบเกมได้อยู่แล้ว




และตัวเกมยังจะมีระบบเสริมพลังให้ผู้เล่นเมื่อปราบบอสหลักลงได้อีกด้วย เช่น ผู้เล่นจะสามารถกระโดดสองครั้งได้ หรือกระโดดแล้วพุ่งตัวได้ ช่วยทำให้จังหวะฉากต่อสู้ในเกมนี้มีทางเลือกที่หลากหลายมาก ส่งผลให้ผู้เล่นสามารถเอาชนะบอสหลักภายในเกมได้อย่างไม่ยากเย็น แม้จะเพิ่งเคยปะทะกันเป็นครั้งแรกก็ตามที


อีกทั้งตัวเกมยังมีระบบ Abilities มาเสริมให้ เป็นสกิลประเภทกดใช้ที่ใส่ได้สูงสุดถึง 4 ช่อง ทำให้ผู้เล่นจะมีทั้ง สกิล Passive สกิล Active ความสามารถพิเศษที่ติดตัว อาวุธสองแบบ ไปจนถึง Aura ที่ช่วยเสริมพลัง เรียกว่าบัฟเต็มตัวกันขนาดนี้ เล่นไม่ผ่านก็ให้มันรู้ไป


บทลงโทษที่เป็นมิตรกับผู้เล่นหน้าใหม่


น่าจะเป็นความตั้งใจของทีมพัฒนา ที่ทำให้เกมนี้มีความเข้าถึงง่าย เพราะนอกจากระบบต่อสู้ที่ให้ทางเลือกกับผู้เล่นจำนานมากแล้ว ในส่วนของการลงโทษเมื่อผู้เล่นตายนั้น บทลงโทษก็น้อยเสียเหลือเกิน


ในเกม Soulslike ทั่ว ๆ ไป เมื่อผู้เล่นเสียชีวิตลง ตัวเกมจะทำการดรอปค่าเงินหรือ Souls ออกไปจากตัวผู้เล่นทั้งหมด ซึ่งเจ้า Souls นี้จะถูกใช้ในการทำสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ซื้อไอเทม ไปยันอัปเกรดค่าพลังกันเลยทีเดียว และในการจะได้ Souls คืนนั้น ผู้เล่นจะต้องวิ่งไปเก็บในจุดที่ตัวเองได้ตายลงไป ซึ่งถ้าหากสาเหตุการตายของคุณเป็นบอสแล้วล่ะก็ การจะเก็บ Souls คืนมาได้นี่แทบจะต้องถอดใจไปครึ่งหนึ่งกันเลยทีเดียว




ทว่าภายใน Death Gambit ทางผู้พัฒนากลับเลือกให้สิ่งที่ดรอปทิ้งไว้หลังจากที่ผู้เล่นตายเป็นไอเทมเติมพลังแทน โดยไอเทมเติมพลังนี้จะลดลงไปเรื่อย ๆ ครั้งละ 1 ชิ้นที่ตาย แถมเมื่อตายซ้ำแล้วไม่ได้เก็บ มันก็จะยังไม่หายไปไหน ต่างจาก Souls ในเกม Dark Souls อีกด้วย


เพราะฉะนั้นคุณสามารถตายซ้ำ ตายซาก ตายจนเก่งได้เลย ไม่ต้องกลัวจะไม่มีไอเทมใช้ในภายหลัง อีกทั้งสำหรับคนที่เล่นจนช่ำชองแล้ว ผู้พัฒนาก็ยังได้เพิ่มทางเลือกมาให้ โดยการทำดาเมจเพิ่มขึ้น แลกกับการพกไอเทมเติมพลังได้ลดลง ซึ่งหากผู้เล่นเลือกที่จะไม่พกไอเทมเติมพลังเลยนั้น ก็เท่ากับว่า ในการตายจะไม่มีผลเสียที่กระทบถึงผู้เล่นเลย ช่วยให้เกมง่ายขึ้นเข้าไปอีก


ภาพลื่นไหล แต่แอบโหลดช้าบน Switch


ณ ปัจจุบัน เครื่อง Nintendo Switch จะแบ่งเป็นรุ่นใหญ่ ๆ ราว 3 รุ่น ได้แก่ Switch ธรรมดา (กล่องขาว กล่องแดง) Switch Lite ที่ถอดจอยด้านข้างกับต่อ Dock ไม่ได้ และ Switch OLED ที่เป็นรุ่นอัปเกรดคุณภาพจอขึ้นมา ซึ่งในด้านประสิทธิภาพ ทั้งสามรุ่นล้วนมีความแรงที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างก็เพียงประสิทธิภาพในการใช้งานแบตเตอรี่เพียงเท่านั้น




สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับเลยก็คือ งานภาพของ Death Gambit: Afterlife ทำออกมาได้ลื่นไหลเป็นอย่างมาก ทุกฉากการปะทะจะไม่มีอาการเฟรมตกให้เห็นเลย ต่อให้สกิลจะอลังการแค่ไหนก็ตาม (มีอาการเฟรมตกเล็กน้อยในฉากขนาดใหญ่ ที่ตัวเกมต้องฉายภาพออกมาในมุมกว้าง แต่ไม่ได้มีผลกระทบต่อการเล่นมากนัก) แต่ก็ใช่ว่ามันจะไม่มีข้อเสียเลย เพราะจังหวะการโหลดข้ามฉากของเกมนี้นั้น ค่อนข้างกินระยะเวลาในระดับหนึ่งเมื่อเทียบกับเกมที่มีงานภาพใกล้เคียงกันอย่าง Hollow Knight หรือจะเป็นเกมที่มีภาพสวยกว่าอย่าง The Legend of Zelda: Breath of The Wild ก็ยังรู้สึกว่ามันโหลดไวกว่า Death Gambit: Afterlife อยู่ดี ส่งผลให้ในบางครั้งที่ต้องเดินข้ามฉาก สลับไปมา อาจจะทำให้คนเล่นหงุดหงิดขึ้นมาได้เหมือนกัน


ซ้ำร้าย ตัวเกมยังมีปัญหาแปลก ๆ เล็กน้อย เช่น เกมค้างในบางช่วง กดเปิดหน้าไอเทมแล้วมีอาการหน่วง หรือจะเป็นปัญหาที่เวลาข้ามฉากในแนวตั้ง ผู้เล่นจะต้องคอยดันก้านอนาล็อกทิศทางเอาไว้เสมอ มิฉะนั้นตัวละครของผู้เล่นจะร่วงลงไปในฉากเดิม ซึ่งถ้าหากเกมมันโหลดฉากไว ปัญหาการตกฉากตรงนี้ก็คงไม่น่าวุ่นวายใจมากนัก แต่มันดันโหลดช้านี่สิ จึงทำให้บางครั้ง ผู้เล่นจะต้องรอกันถึง 10-20 วินาทีเลยทีเดียว จากสาเหตุเพียงแค่ลืมดันก้านอนาล็อกทิ้งเอาไว้ เพื่อให้ตัวละครยังคงปีนบันไดขึ้นไปต่อ


ควรค่าแก่การสละเวลาเล่นไหม ?


ถึง Death Gambit: Afterlife จะเป็นเกมที่หยิบยืมแนวเกมที่เล่นยาก ๆ และเข้าถึงเกมเมอร์ในวงแคบอย่าง Soulslike มาผสมผสานกับ Metroidvania ก็จริง แต่ด้วยการปรับระดับความยากที่กำลังพอดี และการเสริมสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย จึงทำให้เกมนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการอยากจะลองสัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ ๆ ด้วยตัวเองอย่างพอเหมาะพอเจาะ


แม้ว่าอาจจะมีจุดที่น่าเสียดายไปบ้าง ทั้งเรื่องประสิทธิภาพบนเครื่อง Switch ไปจนถึงเรื่องความง่ายที่กลายเป็นดาบสองคม ทำให้เสน่ห์ของเกมแนว Soulslike และ Metroidvania หดหายไปเล็กน้อย แต่ก็ต้องยอมรับเลยว่า Death Gambit: Afterlife เป็นอีกหนึ่งเกมอินดี้ ที่มีคุณภาพคับแก้ว และเหมาะสำหรับคนที่อยากจะลองเริ่มเล่นเกมแนวนี้เลยล่ะครับ


7
ข้อดี

ทำให้เกมแนว Soulslike และ Metroidvania เข้าถึงง่าย

ผู้เล่นมีทางเลือกที่ใช้ในการต่อสู้เยอะมาก

ระบบสกิลที่ยืดหยุ่น ปรับได้ดั่งใจ

ข้อเสีย

ปัญหาจุกจิกเล็กน้อย เช่น โหลดฉากช้า

ทำออกมาง่ายเกิน จนเสียเสน่ห์ดั้งเดิมไปบางส่วน

8
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[Review] Death Gambit: Afterlife เกมที่ทำความยากให้ย่อยง่าย จนเหมาะสมทั้งสายชิลและจริงจัง
26/05/2022

หากจะพูดให้เข้าใจง่าย และเห็นภาพโดยทั่วกันแล้ว Death Gambit คือเกม Dark Souls ที่ถูกดัดแปลง พร้อมนำเสนอใหม่ในมุมมอง 2 มิตินั่นเอง

แน่นอนว่า ระบบต่าง ๆ อาจจะมีจุดที่ไม่เหมือนกันอยู่บ้าง แต่แก่นกลางของมันก็ยังคงให้กลิ่นอายของแนว Soulslike อยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นระบบอาชีพ ความยากของศัตรู บทลงโทษเมื่อผู้เล่นตาย ไปจนถึงแผนที่ที่มีความซับซ้อนเหมือนกับเขาวงกต


Death's Gambit: Afterlife | Nintendo Switch download software | Games |  Nintendo


และสำหรับ Death Gambit: Afterlife นั้น มันจะเป็นเหมือนเวอร์ชันอัปเกรดของตัวเกมจากภาคต้นฉบับ เพราะทางผู้พัฒนาได้ปรับปรุงหลายสิ่งหลายยิ่งในส่วนขยายนี้ ทั้งเพิ่มฉากจบใหม่ เพิ่มบอสตัวใหม่ เพิ่มอาวุธใหม่ และยังมีการปรับปรุงระบบเกมเพลย์บางส่วนอีกด้วย


ซึ่งต้องขอสารภาพตามตรงว่า ทางผู้เขียนไม่เคยได้สัมผัสกับตัวเกมต้นฉบับของ Death Gambit มาก่อน ดังนั้นอาจจะหาข้อเปรียบเทียบได้ไม่ชัดเจนมากนัก สำหรับความแตกต่างระหว่างสองเวอร์ชันนี้ อีกทั้งเกมที่ผู้เขียนใช้รีวิว จะเป็นเกมในเวอร์ชันเครื่องพกพาอย่าง Nintendo Switch ซึ่งอาจจะมีปัญหาที่แตกต่างกันบางประการจากเวอร์ชันอื่น ๆ 


เนื้อเรื่องที่ย่อยง่าย แต่ยังคงแฝงไปด้วยปริศนา


เนื้อเรื่องหลักของ Death Gambit จะมีความเป็นเส้นตรงกว่า Dark Souls หรือเกม Metroidvania ในประเภทเดียวกันอย่าง Deadcells หรือ Hollow Knight มากนัก


เกมจะพาเราไปติดตามเรื่องราวของตัวเอกนามว่า Sorun ที่เคยสูญเสียลมหายใจไปแล้วครั้งหนึ่ง ทว่าเขากลับทำสัญญากับยมทูต (Death) ได้ทันท่วงที ก่อนที่วิญญาณสูญสลายไป Sorun ฟื้นขึ้นมายังโลกคนเป็นอีกครั้งในฐานะผู้ที่ฆ่าไม่ตาย (Immortality) โดยมีข้อแลกเปลี่ยนกับยมทูตก็คือ เขาจะต้องจัดการสังหารบุคคลที่เป็นอมตะอื่น ๆ เพื่อให้ยมทูตสามารถเก็บเกี่ยวดวงวิญญาณของผู้ฝืนกฎธรรมชาติได้นั่นเอง




นอกจากนี้ ความทรงจำของ Sorun ระหว่างยังมีชีวิตจะยังเลือนรางอีกด้วย แต่สิ่งเดียวที่ Sorun ยังคงจำได้เด่นชัดก็คือ ภาพแม่ของเขาที่ออกไปทำภารกิจสำรวจดินแดนภายนอกเมื่อครั้งเขายังเยาว์วัย นี่จึงเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่ Sorun จะต้องไขว่คว้าให้ได้ ภายในการเดินทางครั้งนี้นี่เอง


อย่างที่เกริ่นไปตอนต้นว่า Death Gambit: Afterlife นั้น จะมีเนื้อเรื่องที่ค่อนข้างเข้าใจง่ายมากกว่า เพราะทางผู้พัฒนาเลือกที่จะเล่ากันมาแบบตรง ๆ ไม่ต้องให้ผู้เล่นไปสืบเสาะหาเบาะแสกันเอาเอง ซึ่งตรงจุดนี้อาจจะทำให้บางคนที่ชื่นชอบดื่มด่ำไปกับการเดินพูดคุยกับ NPC ต่าง ๆ รู้สึกว่าจืดชืดไปบ้าง กับการที่เกมยัดข้อมูลมาให้เราแบบง่าย ๆ เลย


ทว่าไม่ต้องเป็นห่วงไป เพราะในเมื่อตัวเกมได้นำความตายมาแปรเปลี่ยนเป็นลูกเล่นแล้ว เขาจึงได้ดึงเอาความตายมาใช้เป็นส่วนช่วยบอกเล่าข้อมูลอีกด้วย โดยทุกครั้งที่ผู้เล่นตาย ตัวเกมจะสุ่มปล่อยข้อมูลความทรงจำใหม่ ๆ เข้ามา ทั้งภาพของ Sorun ในวัยเด็กที่พูดคุยกับแม่ของเขา ว่าอยากจะเป็นอัศวิน หรือจะเป็นฉากที่ Sorun เดินทางไปยังผืนน้ำของทะเล ก่อนจะเปลี่ยนไปเป็นทะเลเลือด เพราะไฟสงคราม ทั้งหมดนี้จะช่วยสื่อสารและเล่าเรื่องราวปูมหลังของตัวละครหลักได้อย่างดีเลยทีเดียว


อีกทั้งการที่ตัวเกมเล่าออกมาแบบสุ่มนี้ จึงทำให้ Death Gambit: Afterlife มีคุณค่าในการกลับมาเล่นซ้ำค่อนข้างสูงสำหรับคนที่อยากจะเก็บเนื้อเรื่องให้สมบูรณ์ ยิ่งบวกกับฉากจบหลายแบบด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ผู้เล่นต้องใช้เวลาอยู่กับเกมนี้นานระดับหนึ่งเลยทีเดียวล่ะ


ระบบอาชีพทั้ง 7 มอบอิสระให้กับคนเล่นเต็มที่


หลังจากอารัมภบทเนื้อเรื่องในตอนต้นเกมไปแล้ว ยมทูตจะถามเราถึงความทรงจำเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งตรงจุดนี้จะเป็นการให้ผู้เล่นเลือกอาชีพตอนเริ่มเกมทั้ง 7 อาชีพ โดยมีไปตั้งแต่ อาชีพที่ตัวเกมแนะนำว่าเล่นยากอย่าง Assassin หรือ Sentinel อาชีพที่เน้นการโจมตีระยะไกลอย่าง Wizard อาชีพที่เน้นวางแผนเข้าทำอย่าง Soldier, Noble หรือ Acolyte of Death และอาชีพที่เล่นง่าย บุกโจมตีไวอย่าง Blood Knight




แน่นอนว่าแต่ละอาชีพที่มีข้อดีที่แตกต่างกันไป ซึ่งมันจะมาในรูปแบบของสกิลติดตัวตั้งแต่แรกเลือก ไปจนถึงสกิลกดใช้ที่มีให้เลือกอัปเกรดได้ในภายหลัง


โดยสกิลติดตัวนั้น จะอยู่กับตัวละครของผู้เล่นไปตลอด ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ จนกว่าจะเริ่มเล่นใหม่ ส่วนสกิลที่อัปเลเวลได้ มันจะมีระบบของคลาส 2 เข้ามาเกี่ยวข้อง ช่วยให้ผู้เล่นสามารถกระโดดข้ามสาย ไปหยิบยืมสกิลของอาชีพอื่น ๆ ที่ไม่ได้เลือกในต้อนเริ่มเกมได้นั่นเอง


นอกจากนี้ ตัวเกมยังไม่ได้จำกัดอาวุธประเภทต่าง ๆ ให้แค่เพียงอาชีพเดียวถือเท่านั้น ผู้เล่นสามารถเลือกใช้งานอาวุธอะไรก็ได้ ตราบเท่าที่ค่าพลังเอื้ออำนวย ช่วยให้ผู้เล่นสามารถสร้างสรรค์สไตล์การเล่นของตัวเองออกมาได้แทบจะไร้ขีดจำกัดเลยทีเดียว


ระบบที่เอื้ออำนวยให้คนเล่นไม่เก่ง ก็สามารถสนุกไปด้วยกันได้


หากคุณเป็นคนที่คุ้นชินกับเกมแนว Soulslike แบบ 3 มิติมา คุณน่าจะต้องใช้เวลาปรับตัวสักพักเลยทีเดียวกว่าที่จะชินกับ Death Gambit เพราะว่าการออกท่าของศัตรูภายในรูปแบบมุมมอง 2 มิตินั้น ค่อนข้างคาดเดายากกว่ามุมมอง 3 มิติระดับหนึ่งเลย ทว่าเมื่อใดก็ตามที่คุณเริ่มจับทางของตัวเกมได้แล้ว เกมนี้จะง่ายขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว


เกมให้ทางเลือกในการตอบโต้การโจมตีของศัตรูที่หลากหลาย ราวกับถอดแบบมาจาก Dark Souls ทั้งการกลิ้งหลบ การบล็อก การแพรี่ ล้วนมีอยู่ใน Death Gambit อย่างครบถ้วน ซึ่งถ้าหากคุณมีประสบการณ์กับเกมแนว Soulslike มา ก็น่าจะรู้ว่า การกลิ้งหลบ มันก็เพียงพอที่จะทำให้คุณจบเกมได้อยู่แล้ว




และตัวเกมยังจะมีระบบเสริมพลังให้ผู้เล่นเมื่อปราบบอสหลักลงได้อีกด้วย เช่น ผู้เล่นจะสามารถกระโดดสองครั้งได้ หรือกระโดดแล้วพุ่งตัวได้ ช่วยทำให้จังหวะฉากต่อสู้ในเกมนี้มีทางเลือกที่หลากหลายมาก ส่งผลให้ผู้เล่นสามารถเอาชนะบอสหลักภายในเกมได้อย่างไม่ยากเย็น แม้จะเพิ่งเคยปะทะกันเป็นครั้งแรกก็ตามที


อีกทั้งตัวเกมยังมีระบบ Abilities มาเสริมให้ เป็นสกิลประเภทกดใช้ที่ใส่ได้สูงสุดถึง 4 ช่อง ทำให้ผู้เล่นจะมีทั้ง สกิล Passive สกิล Active ความสามารถพิเศษที่ติดตัว อาวุธสองแบบ ไปจนถึง Aura ที่ช่วยเสริมพลัง เรียกว่าบัฟเต็มตัวกันขนาดนี้ เล่นไม่ผ่านก็ให้มันรู้ไป


บทลงโทษที่เป็นมิตรกับผู้เล่นหน้าใหม่


น่าจะเป็นความตั้งใจของทีมพัฒนา ที่ทำให้เกมนี้มีความเข้าถึงง่าย เพราะนอกจากระบบต่อสู้ที่ให้ทางเลือกกับผู้เล่นจำนานมากแล้ว ในส่วนของการลงโทษเมื่อผู้เล่นตายนั้น บทลงโทษก็น้อยเสียเหลือเกิน


ในเกม Soulslike ทั่ว ๆ ไป เมื่อผู้เล่นเสียชีวิตลง ตัวเกมจะทำการดรอปค่าเงินหรือ Souls ออกไปจากตัวผู้เล่นทั้งหมด ซึ่งเจ้า Souls นี้จะถูกใช้ในการทำสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ซื้อไอเทม ไปยันอัปเกรดค่าพลังกันเลยทีเดียว และในการจะได้ Souls คืนนั้น ผู้เล่นจะต้องวิ่งไปเก็บในจุดที่ตัวเองได้ตายลงไป ซึ่งถ้าหากสาเหตุการตายของคุณเป็นบอสแล้วล่ะก็ การจะเก็บ Souls คืนมาได้นี่แทบจะต้องถอดใจไปครึ่งหนึ่งกันเลยทีเดียว




ทว่าภายใน Death Gambit ทางผู้พัฒนากลับเลือกให้สิ่งที่ดรอปทิ้งไว้หลังจากที่ผู้เล่นตายเป็นไอเทมเติมพลังแทน โดยไอเทมเติมพลังนี้จะลดลงไปเรื่อย ๆ ครั้งละ 1 ชิ้นที่ตาย แถมเมื่อตายซ้ำแล้วไม่ได้เก็บ มันก็จะยังไม่หายไปไหน ต่างจาก Souls ในเกม Dark Souls อีกด้วย


เพราะฉะนั้นคุณสามารถตายซ้ำ ตายซาก ตายจนเก่งได้เลย ไม่ต้องกลัวจะไม่มีไอเทมใช้ในภายหลัง อีกทั้งสำหรับคนที่เล่นจนช่ำชองแล้ว ผู้พัฒนาก็ยังได้เพิ่มทางเลือกมาให้ โดยการทำดาเมจเพิ่มขึ้น แลกกับการพกไอเทมเติมพลังได้ลดลง ซึ่งหากผู้เล่นเลือกที่จะไม่พกไอเทมเติมพลังเลยนั้น ก็เท่ากับว่า ในการตายจะไม่มีผลเสียที่กระทบถึงผู้เล่นเลย ช่วยให้เกมง่ายขึ้นเข้าไปอีก


ภาพลื่นไหล แต่แอบโหลดช้าบน Switch


ณ ปัจจุบัน เครื่อง Nintendo Switch จะแบ่งเป็นรุ่นใหญ่ ๆ ราว 3 รุ่น ได้แก่ Switch ธรรมดา (กล่องขาว กล่องแดง) Switch Lite ที่ถอดจอยด้านข้างกับต่อ Dock ไม่ได้ และ Switch OLED ที่เป็นรุ่นอัปเกรดคุณภาพจอขึ้นมา ซึ่งในด้านประสิทธิภาพ ทั้งสามรุ่นล้วนมีความแรงที่ใกล้เคียงกัน จะแตกต่างก็เพียงประสิทธิภาพในการใช้งานแบตเตอรี่เพียงเท่านั้น




สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับเลยก็คือ งานภาพของ Death Gambit: Afterlife ทำออกมาได้ลื่นไหลเป็นอย่างมาก ทุกฉากการปะทะจะไม่มีอาการเฟรมตกให้เห็นเลย ต่อให้สกิลจะอลังการแค่ไหนก็ตาม (มีอาการเฟรมตกเล็กน้อยในฉากขนาดใหญ่ ที่ตัวเกมต้องฉายภาพออกมาในมุมกว้าง แต่ไม่ได้มีผลกระทบต่อการเล่นมากนัก) แต่ก็ใช่ว่ามันจะไม่มีข้อเสียเลย เพราะจังหวะการโหลดข้ามฉากของเกมนี้นั้น ค่อนข้างกินระยะเวลาในระดับหนึ่งเมื่อเทียบกับเกมที่มีงานภาพใกล้เคียงกันอย่าง Hollow Knight หรือจะเป็นเกมที่มีภาพสวยกว่าอย่าง The Legend of Zelda: Breath of The Wild ก็ยังรู้สึกว่ามันโหลดไวกว่า Death Gambit: Afterlife อยู่ดี ส่งผลให้ในบางครั้งที่ต้องเดินข้ามฉาก สลับไปมา อาจจะทำให้คนเล่นหงุดหงิดขึ้นมาได้เหมือนกัน


ซ้ำร้าย ตัวเกมยังมีปัญหาแปลก ๆ เล็กน้อย เช่น เกมค้างในบางช่วง กดเปิดหน้าไอเทมแล้วมีอาการหน่วง หรือจะเป็นปัญหาที่เวลาข้ามฉากในแนวตั้ง ผู้เล่นจะต้องคอยดันก้านอนาล็อกทิศทางเอาไว้เสมอ มิฉะนั้นตัวละครของผู้เล่นจะร่วงลงไปในฉากเดิม ซึ่งถ้าหากเกมมันโหลดฉากไว ปัญหาการตกฉากตรงนี้ก็คงไม่น่าวุ่นวายใจมากนัก แต่มันดันโหลดช้านี่สิ จึงทำให้บางครั้ง ผู้เล่นจะต้องรอกันถึง 10-20 วินาทีเลยทีเดียว จากสาเหตุเพียงแค่ลืมดันก้านอนาล็อกทิ้งเอาไว้ เพื่อให้ตัวละครยังคงปีนบันไดขึ้นไปต่อ


ควรค่าแก่การสละเวลาเล่นไหม ?


ถึง Death Gambit: Afterlife จะเป็นเกมที่หยิบยืมแนวเกมที่เล่นยาก ๆ และเข้าถึงเกมเมอร์ในวงแคบอย่าง Soulslike มาผสมผสานกับ Metroidvania ก็จริง แต่ด้วยการปรับระดับความยากที่กำลังพอดี และการเสริมสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย จึงทำให้เกมนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการอยากจะลองสัมผัสกับประสบการณ์ใหม่ ๆ ด้วยตัวเองอย่างพอเหมาะพอเจาะ


แม้ว่าอาจจะมีจุดที่น่าเสียดายไปบ้าง ทั้งเรื่องประสิทธิภาพบนเครื่อง Switch ไปจนถึงเรื่องความง่ายที่กลายเป็นดาบสองคม ทำให้เสน่ห์ของเกมแนว Soulslike และ Metroidvania หดหายไปเล็กน้อย แต่ก็ต้องยอมรับเลยว่า Death Gambit: Afterlife เป็นอีกหนึ่งเกมอินดี้ ที่มีคุณภาพคับแก้ว และเหมาะสำหรับคนที่อยากจะลองเริ่มเล่นเกมแนวนี้เลยล่ะครับ



บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header