GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
Ratchet & Clank: Rift Apart PS5 Review "เจ้าของฉายา Pixar แห่งเกมที่แท้จริง"
ลงวันที่ 08/06/2021

แม้จะไม่ได้เป็นแฟรนไชส์เกมที่โดดเด่นมากในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับยุค 2000 ต้นๆ ที่เกมถือกำเนิดขึ้น แต่แฟรนไชส์ Ratchet & Clank ก็เป็นหนึ่งในแฟรนไชส์เกม PlayStation Exclusive ที่มีประวัตืศาสตร์ยาวนาน และยังคงได้มีแฟนๆ หลายชีวิตที่เติบโตมาพร้อมกับแฟรนไชส์นี้ที่ยังคงติดตามเกมภาคใหม่ๆ อย่างเหนียวแน่นตลอดมา ด้วยเสน่ห์ของแนวคิดเบื้องหลังการพัฒนาเกมของผู้พัฒนา Insomniac Games ที่ตั้งเป้าไว้ให้ Ratchet & Clank เป็นดั่ง “หนัง Pixar แห่งวงการเกม” ทั้งในแง่ของอนิเมชั่น กราฟิก และเนื้อเรื่องที่แม้จะมุ่งเน้นให้กับเด็ก แต่ก็มีเนื้อหากินใจและมุขตลกที่ผู้ใหญ่สามารถเพลิดเพลินไปด้วยได้ในเวลาเดียวกัน


นับเป็นเวลากว่า 5 ปีแล้วตั้งแต่ที่เกมภาคก่อนหน้านี้อย่าง Ratchet & Clank (PS4) วางจำหน่ายไป โดยเกมภาคล่าสุด Ratchet & Clank: Rift Apart ก็กำลังจะวางจำหน่ายให้กับเครื่อง PlayStation 5 ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ (วันที่ 11 มิถุนายน) ในฐานะเกม PlayStation 5 Exclusive ฟอร์มใหญ่เกมแรกๆ ที่ไม่ใช่เกม Remake เหมือน Dark Souls (หรือถูกพัฒนาโดยค่ายอินดี้อย่าง Returnal) ซึ่งแน่นอนว่านั่นทำให้เกมต้องแบกรับความคาดหวังจากแฟนๆ ไม่มากก็น้อยในการแสดงออกถึงศักยภาพของเครื่อง PS5 ทั้งในแง่ของกราฟิก เกมเพลย์ และความเปลี่ยนแปลงหรือข้อปรับปรุงที่ลูกเล่นทั้งหลายของเครื่อง PS5 อย่างจอย DualSense หรือระบบเสียง 3D มีต่อประสบการณ์การเล่นโดยรวม




หลังจากที่เล่นเกมจนจบเนื้อเรื่อง (ขอบคุณบริษัท Sony Interactive Entertainment และผู้พัฒนา Insomniac Games สำหรับโค้ดรีวิวเกมล่วงหน้า) ผู้เขียนยืนยันได้ว่า Ratchet & Clank: Rift Apart สามารถมอบประสบการณ์ “หนัง Pixar แห่งวงการเกม” ที่ผู้พัฒนาตั้งมั่นไว้ได้อย่างไร้ที่ติในแง่ของกราฟิกและอนิเมชั่นที่สวยงามและมีเสน่ห์ในระดับที่ก้าวกระโดดขึ้นจากเกมในยุค PlayStation 4 อย่างชัดเจน ยิ่งไปกว่านั้น ภายในฉากหลังหลายๆ ฉากยังมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ซึ่งทำให้โลกของเกมรู้สึกมีชีวิตชีวาและรู้สึกกว้างใหญ่มากขึ้นไปด้วย ราวกับว่าผู้เล่นเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของโลกที่มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้นพร้อมกันอยู่ตลอดเวลา


แต่เมื่อหันกลับมามองดูทางเกมเพลย์ แม้ผู้เขียนจะยังยืนยันว่าเกมเล่นสนุกมากๆ ตลอดระยะเวลาราว 25 ชั่วโมงที่ผู้เขียนใช้ในการเล่นเนื้อเรื่องจนจบ แต่ก็ต้องยอมรับว่าลูกเล่นทั้งหลายของเครื่อง PlayStation 5 ยังไม่สามารถยกระดับเกมเพลย์ของ Rift Apart ให้แตกต่างจากเกมภาคก่อนหน้าได้มากเท่าที่คาดหวังเอาไว้ และทำให้ประสบการณ์การเล่นโดยรวมไม่ได้ต่างจากเกม Ratchet & Clank (PS4) มากขนาดนั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เกม Ratchet & Clank: Rift Apart ก็ยังถือเป็นผลงานที่คุ้มค่าในการเล่นอย่างแน่นอนสำหรับคนที่มีเครื่อง PlayStation 5 อย่างน้อยก็เพื่อให้ได้สัมผัส “น้ำจิ้ม” ของความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่จะตามมาในอนาคต



เรื่องราวของ Ratchet & Clank: Rift Apart เริ่มขึ้นในงานเฉลิมฉลองอันใหญ่โตที่ถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติ์แก่คู่หูตัวเอก Ratchet และ Clank และเพื่อขอบคุณที่ทั้งสองได้ร่วมกันกอบกู้จักรวาลมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วนในเกมภาคที่ผ่านๆ มา แต่งานยังไม่ทันได้เริ่มดีก็กลับโดนจู่โจมโดยกลุ่มวายร้ายที่ถูกว่างจ้างมาโดยหุ่นยนตร์สติเฟื่อง Dr. Nefarious ผู้ซึ่งต้องการขโมยปืนข้ามมิติ Dimensionator ที่ Clank ตั้งใจมอบให้ Ratchet ใช้เพื่อตามหาเหล่าสมาชิกเผ่าพันธุ์ Lombax ที่กระจัดกระจายอยู่ในมิติต่างๆ โดยในระหว่างการต่อสู้ Dr. Nefarious ผู้ซึ่งกำลังจะพ่ายแพ้อีกครั้งก็ตัดสินใจเปิดประตูมิติไปยังจักรวาลที่ “เขาคือผู้ชนะเสมอ” และดูดเอาคู่หูตัวเอกทั้งสองเข้าไปด้วย


ในระหว่างที่เดินทางข้ามมิติ Ratchet กลับพลัดกับ Clank โดยเขาตื่นมาเพื่อพบว่าตัวเองอยู่ในเมือง “Nefarious City” ที่ถูกปกครองโดย “จักรพรรดิ Nefarious” หรือร่างคู่ขนานของ Dr. Nefarious ในจักรวาลนี้นั่นเอง ยิ่งไปกว่านั้น Ratchet ยังพบว่าในจักรวาลนี้ยังมีเผ่าพันธุ์ Lombax อีกคนอยู่ด้วย โดย Lombax สาวที่ชื่อว่า Rivet นี้ยังบังเอิญพบกับ Clank เข้า และตัดสินใจนำตัวเขาไปด้วยเพราะคิดว่าเขาเป็นหุ่นยนตร์สมุนของ จักรพรรดิ์ Nefarious ทำให้ Ratchet จำเป็นต้องออกเดินทางเพื่อตามหาเพื่อนรักของเขา ในขณะที่ Clank ก็ต้องร่วมมือกับ Rivet ในการต่อสู้กับจักรพรรดิ์ Nefarious พร้อมกับหาวิธีสร้างปืนข้ามมิติขึ้นมาใหม่อีกครั้ง




ด้วยความที่เกมถูกพัฒนามาเพื่อกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กซะมากกว่า ทำให้เนื้อเรื่องของ Ratchet & Clank: Rift Apart มีความเรียบง่ายอยู่พอสมควร แต่ก็ยังแฝงไปด้วยแง่คิดที่กินใจและมุขตลกแบบสองแง่สองง่ามเพื่อเอาใจผู้ใหญ่ ตรงตามสูตรของหนัง Pixar ที่เป็นแรงบันดาลใจของแฟรนไชส์นี้ ซึ่งก็ทำหน้าที่มันได้ดี แม้ว่าสุดท้ายจะไม่ได้มีอะไรพิเศษให้จดจำมากมายนัก


ความรู้สึก “Pixar” ของเกมเห็นได้ชัดเจนมากที่สุดจากกราฟิกและการนำเสนอโดยรวม ที่ทำให้บรรยากาศของเกมมีชีวิตชีวามากๆ เพราะมีอะไรเคลื่อนไหวอยู่ในฉากหลังตลอดเวลา ตั้งแต่ NPC หุ่นยนตร์ที่จับกลุ่มแซวหัวหน้าที่ทำงาน หรือเหล่ารถบินได้ที่แล่นผ่านตึกสูงเสียดฟ้าจำนวนมากในเมือง Nefarious City ซึ่งสิ่งของเหล่านี้ทั้งหมดสามารถแสดงอยู่บนจอได้ในระดับความละเอียดเต็ม 100% โดยไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของเกม



หลายคนที่เคยเล่น (หรือเคยติดตามข่าว) ผลงานที่ผ่านมาของผู้พัฒนา Insomniac Games อย่าง Marvel’s Spider-man อาจจะพอจำเหล่า NPC ความละเอียดต่ำรูปร่างบิดเบี้ยวที่อยู่บนเรือในเกมได้ ที่ดูออกว่าถูกออกแบบมาให้มองจากไกลๆ เท่านั้น ผู้พัฒนาจึงสามารถลดทอนความละเอียดของโมเดลตัวละครลงเพื่อให้เกมไม่ต้องทำงานหนักเกินจำเป็น ซึ่งเกม Rift Apart ไม่จำเป็นต้องแลกความละเอียดของโมเดลสิ่งของเพื่อรักษามรรถภาพของเกมเลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นก้อนหินทุกก้อน ต้นไม้ใบหญ้า ไปจนถึงรถบินได้ที่อยู่ไกลออกไปสุดระยะสายตา ล้วนมีรายละเอียดแบบจัดเต็มในระดับที่เกม PlayStation 4 ไม่มีทางทำได้แน่นอน แถมเกมยังสามารถรักษาเฟรมเรตของตัวเองเอาไว้ได้อย่างน่าชื่นชม แต่ทั้งนี้ผู้เขียนเล่นเนื้อเรื่องทั้งหมดไปในโหมด Fidelity ที่ทำให้เกมแสดงผลที่ 4K, 30FPS พร้อมเอฟเฟกต์พิเศษอย่าง Ray Tracing แบบเต็มสูบ เพราะโหมด Performance ที่รองรับเฟรมเรต 60FPS และโหมด Performance + Ray Tracing ได้ถูกเพิ่มเข้ามาหลังจากที่เล่นจบไปแล้ว จึงไม่ได้ใช้ในการพิจารณาสำหรับรีวิวนี้ (จะพูดถึงความเปลี่ยนแปลงในโหมดเหล่านี้ในช่วงท้ายของบทความ)


แน่นอนว่ารายละเอียดด้านกราฟิกเหล่านี้ยังครอบคลุมไปถึงในระหว่างการต่อสู้ด้วย โดยรายละเอียดของศัตรูทุกชนิดในเกมรวมไปถึงอาวุธหลากหลายชนิดของผู้เล่นเองอยู่ในมาตรฐานเดียวกับในฉากเมืองเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นปืนลูกซองที่ปล่อยพลังงานไฟฟ้าออกมาในระยะสั้น หรือปืนลำแสงขนาดใหญ่ที่ต้องชาร์จก่อนยิง ที่ล้วนปล่อยเอฟเฟกต์แสงสีเสียงจัดเต็มทุกครั้งที่ลั่นไก ซึ่งทำให้การต่อสู้ในเกมรู้สึกดุเดือดขึ้นมาเสมอจากเอฟเฟกต์พิเศษที่อุบัติขึ้นทั่วจอตลอดเวลา นอกจากนี้ ศัตรูหลายชนิดในเกมยังมักจะมี “ชิ้นส่วน” อย่างชุดเกราะที่กระเด็นออกจากตัวทุกครั้งที่โดนยิง แถมเมื่อตายแล้วยังมักจะปล่อย “น๊อต” ที่เกมใช้แทนเงินเพื่อซื้ออาวุธออกมาเป็นเศษเล็กน้อยเต็มพื้น พูดง่ายๆ ว่าเกมจะมีเอฟเฟกต์ชิ้นเล็กชิ้นน้อยลอยไปมาแทบจะตลอดเวลาที่ต่อสู้ในระดับที่ไม่สามารถทำได้แน่นอนในคอนโซลรุ่นเก่า โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเฟรมเรตของเกมเลยแม้แต่น้อย เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่แสดงออกถึงความก้าวหน้าจากเครื่อง PS4 มายังเครื่อง PS5 อย่างชัดเจน



แต่ดังที่กล่าวไปข้างต้น ในขณะที่กราฟิกของเกมแสดงให้เห็นถึงการก้าวกระโดดในศักยภาพของคอนโซลสองรุ่น ประสบการณ์การเล่นเกมเพลย์โดยรวมกลับไม่ได้พัฒนาไปมากนักเมื่อเทียบกัน โดยลูกเล่นที่รู้สึกว่าจะเพิ่มสัมผัสใหม่ให้กับการเล่นน่าจะเป็นปุ่ม Adaptive Trigger หรือปุ่ม L2/R2 ที่เกมสามารถปรับให้มีแรงต้านในระดับต่างๆ กันไปตามแต่ชนิดของอาวุธ และสามารถใช้ในการยิง Alternate Fire หรือโหมดพิเศษของปืนแต่ละชนิดได้ด้วย ยกตัวอย่างปืน The Executor ที่มีลักษณะคล้ายลูกซองแฝดซึ่งจะยิงกระบอกแรกเมื่อลั่นไกลงครึ่งทาง และกระบอกที่สองเมื่อลั่นไกลงจนสุด ซึ่งจะมีแรงต้านในปุ่มอนาล๊อคให้รู้ว่าตรงไหนคือครึ่งทาง ตรงไหนคือสุดทางด้วย หรืออย่างปืน Negatron Collider ที่สามารถชาร์จและยิงลำแสงขนาดใหญ่ใส่ศัตรู ซึ่งผู้เล่นสามารถดึงไกลงจนรู้สึกถึงแรงต้านเพื่อชาร์จ และดึงต่อจนสุดเพื่อปล่อยลำแสง เป็นต้น


ในช่วงที่เริ่มเล่นเกมแรกๆ การใช้ประโยชน์จากปุ่ม Adaptive Trigger เช่นนี้อาจจะรู้สึก “ใหม่” ก็จริง แต่ก็ไม่ได้ช่วยเสริมหรือเพิ่มเติมประสบการณ์โดยรวมมากเท่าไหร่นัก กล่าวคือต่อให้เกมใช้วิธีควบคุมแบบเก่าๆ (เช่นการกด L2 ค้างไว้เพื่อชาร์จลำแสงและกด R2 เพื่อยิงเป็นต้น) ก็คงไม่ได้แตกต่างกันนักในความเป็นจริง



นอกเหนือจากระบบ Adaptive Trigger (และระบบอื่นๆ ที่เพิ่มเข้ามาในภาคนี้) เกมเพลย์การต่อสู้ ของ Rift Apart มีความแตกต่างกับเกมภาคก่อนๆ น้อยมาก แม้แต่ปืนหลายกระบอกยังดึงมาจากเกมภาค 2016 เป๊ะเลย และแม้ผู้เล่นจะสามารถเปลี่ยนไปควบคุมตัวละครใหม่อย่าง Rivet ได้ แต่เธอก็ไม่ได้มีความสามารถแตกต่างจาก Ratchet เลยแม้แต่น้อย และทั้งสองยังใช้อาวุธและเงินจากแห่งเดียวกันด้วย ความแตกต่างเดียวของการเล่นตัวละครทั้งสองจึงมีแค่หน้าตาเท่านั้น 


ผู้เล่นจะต้องต่อสู้กับกลุ่มศัตรูด้วยอาวุธชนิดต่างๆ ที่สามารถสลับไปมาได้อย่างรวดเร็ว เกมมักจะส่งศัตรูมาให้ผู้เล่นสู้พร้อมกันเป็นจำนวนมากๆ ด้วยเพื่อบังคับให้ต้องสลับอาวุธไปมาเพื่อใช้อาวุธที่เหมาะสมกับศัตรูแต่ละชนิดและเพื่อประหยัดกระสุน โดยในภาคนี้ยังเพิ่มระบบการพุ่งหลบที่เรียกว่า Phantom Dash เข้าไปด้วย อาจเรียกง่ายๆ ว่าเป็นเหมือน Doom สำหรับเด็กก็คงไม่ผิดหนัก อาจจะไม่ใหม่ แต่รับประกันว่าสนุกเร้าใจ (แบบเด็กๆ) แน่นอน



เกมเพลย์ส่วนอื่นๆ นอกจากการต่อสู้ก็ค่อนข้างคล้ายกับเกมภาคก่อนๆ เช่นเดียวกัน ผู้เล่นจะสามารถสำรวจดาวเคราะห์ต่างๆ เพื่อทำภารกิจเสริมและเก็บเงินหรือเพชรไว้อัปเกรดอาวุธ และยังมีพัซเซิ่ลประปรายที่เกมเรียกว่า Anomoly ที่ผู้เล่นจะต้องบังคับ Clank เพื่อแก้ด้วย ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้ยากมากมายนักเพราะออกแบบมาสำหรับเด็ก แต่ก็ท้าทายพอให้ต้องใช้สมองอยู่เหมือนกัน แต่ก็ไมไ่ด้แตกต่างหรือแปลกใหม่ไปกว่าการต่อสู้ของเกม


หากจะมีระบบที่ดูจะเป็นการก้าวกระโดดขึ้นจากคอนโซลเก่าอาจจะเป็นระบบ Rift ที่ให้ผู้เล่นสามารถเดินทางข้ามประตูมิติขนาดเล็กๆ มากมายที่กระจัดกระจายอยู่ตามฉาก รวมไปถึงประตูขนาดใหญ่ที่ซ่อนอยู่ตามดาวเคราะห์ต่างๆ ที่มีพัซเซิ่ลการกระโดด (Platformer) อยู่ข้างใน ซึ่งทั้งสองระบบทำงานอย่างลื่นไหลให้ผู้เล่นข้ามมิติไปมาได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องโหลดฉาก ที่ผู้พัฒนากล่าวว่าเป็นศักยภาพของตัว SSD ของ PS5 ที่ทำให้ระบบนี้เป็นไปได้ แต่เมื่อเช่นเข้าจริงๆ ก็ไม่ได้รู้สึกว่าแปลกใหม่นัก แต่เป็นเพียงการปรับปรุงการเล่นรูปแบบเก่าๆ ให้สมบูรณ์แบบขึ้นซะมากกว่า



ระบบ Performance Mode และ Performance RT Mode


เมื่อไม่กี่วันก่อนที่เกมจะวางจำหน่าย ทางผู้พัฒนา Insomniac Games ก็ได้ปล่อยแพทช์เกมเวอร์ชั่นใหม่ที่เพิ่มโหมดแสดงผลแบบ 60FPS เข้าสู่เกมถึง 2 โหมดด้วยกัน: Performance Mode และ Performance RT Mode นั่นเอง


สำหรับ Performance Mode จะทำให้เกมเน้นความลื่นไหลมากกว่าความคมชัด โดยจะแสดงผลที่ความคมชัดต่ำกว่า 4K (ไม่มั่นใจว่า 2K หรือ Full HD แล้วอัพสเกลเอา) และลดความหนาแน่นของสิ่งของและ NPC ในฉากลงอีกด้วย เพื่อให้เกมสามารถรันที่ความเร็ว 60FPS ได้แบบไม่มีสะดุด โดยจากการทดลองพบว่าเกมสามารถรักษาเฟรมเรตนี้เอาไว้ได้อย่างเสถียรมากๆ ตลอดระยะเวลาที่เล่น แลกมากับสิ่งของในฉากที่บางตาลงเล็กน้อย แต่สิ่งที่จะขาดไปอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับสองโหมดที่เหลือ (Performance RT + Fidelity) คือแสงสีในเกมที่แลดูแบนลงอย่างมาก และทำให้เกมดูใกล้เคียงกับเกม PS4 มากขึ้นพอสมควร



ในส่วนโหมด Performane RT น่าจะเป็นโหมดที่แนะนำให้ผู้เล่นส่วนใหญ่เลือก เพราะแม้จะลดรายละเอียดแบบเดียวกับ Performance Mode แต่ก็ยังคงรักษาแสงสีอันสวยงามของเกมเอาไว้ได้ และทำให้เกมยังคงสามารถแสดงผลที่เฟรมเรต “เกือบ” 60FPS แบบนิ่งๆ อาจจะมีกระตุกเล็กๆ บ้างเวลาอยู่ในฉากที่แสงสีเจิดจ้าเป็นพิเศษ แต่โดยรวมๆ ก็ไม่ได้ส่งผลต่อประสบการณ์การเล่นอย่างมีนัยยะสำคัญ



หากถามว่าได้เล่นเกมในโหมดเหล่านี้ตั้งแต่แรกจะมีผลต่อประสบการณ์ไหม ก็ต้องยอมรับว่าสำหรับผู้เขียนอาจจะรู้สึกทึ่งกับเกมมากขึ้นเล็กน้อยหากได้เล่นที่เฟรมเรต 60FPS แต่โดยรวมก็ยอมรับว่ารายละเอียดที่เพิ่มขึ้นใน Fidelity Mode อาจจะคุ้มค่ากับการเล่นเกมที่ 30FPS สำหรับผู้เล่นหลายๆ คนด้วยเช่นกัน



กล่าวโดยสรุป Ratchet & Clank: Rift Apart ถือเป็นเกมที่อวดศักยภาพด้านกราฟิกของเครื่อง PlayStation 5 ได้เป็นอย่างดี แม้จะยังไม่ได้นำเสนอประสบการณ์การเล่นที่ก้าวกระโดดไปจากรุ่นเก่ามากนักในแง่ของการออกแบบเกมเพลย์ แต่สิ่งที่มีอยู่ก็ยังสนุกและท้าทายในระดับที่ใครๆ ก็น่าจะสามารถเล่นได้ไม่ว่าจะเป็นเพศหรือวัยอะไร และเป็นเกมเรียกน้ำย่อยที่ดีสำหรับยุคคอนโซลใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้น


7
ข้อดี

กราฟิกสวยระดับ Next-Gen ของแท้

อนิเมชั่นเทพมาก เหมือนเล่นหนัง Pixar อยู่จริงๆ

เกมเพลย์สนุกสำหรับทุกเพศทุกวัย

ข้อเสีย

เกมทำมาสำหรับเด็ก บางคนอาจรู้สึกว่าง่ายไป

เกมเพลย์ไม่น่าทึ่งเท่ากราฟิก ไม่ต่างจากเกม PS4 นัก

9
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
Ratchet & Clank: Rift Apart PS5 Review "เจ้าของฉายา Pixar แห่งเกมที่แท้จริง"
08/06/2021

แม้จะไม่ได้เป็นแฟรนไชส์เกมที่โดดเด่นมากในปัจจุบัน เมื่อเทียบกับยุค 2000 ต้นๆ ที่เกมถือกำเนิดขึ้น แต่แฟรนไชส์ Ratchet & Clank ก็เป็นหนึ่งในแฟรนไชส์เกม PlayStation Exclusive ที่มีประวัตืศาสตร์ยาวนาน และยังคงได้มีแฟนๆ หลายชีวิตที่เติบโตมาพร้อมกับแฟรนไชส์นี้ที่ยังคงติดตามเกมภาคใหม่ๆ อย่างเหนียวแน่นตลอดมา ด้วยเสน่ห์ของแนวคิดเบื้องหลังการพัฒนาเกมของผู้พัฒนา Insomniac Games ที่ตั้งเป้าไว้ให้ Ratchet & Clank เป็นดั่ง “หนัง Pixar แห่งวงการเกม” ทั้งในแง่ของอนิเมชั่น กราฟิก และเนื้อเรื่องที่แม้จะมุ่งเน้นให้กับเด็ก แต่ก็มีเนื้อหากินใจและมุขตลกที่ผู้ใหญ่สามารถเพลิดเพลินไปด้วยได้ในเวลาเดียวกัน


นับเป็นเวลากว่า 5 ปีแล้วตั้งแต่ที่เกมภาคก่อนหน้านี้อย่าง Ratchet & Clank (PS4) วางจำหน่ายไป โดยเกมภาคล่าสุด Ratchet & Clank: Rift Apart ก็กำลังจะวางจำหน่ายให้กับเครื่อง PlayStation 5 ในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ (วันที่ 11 มิถุนายน) ในฐานะเกม PlayStation 5 Exclusive ฟอร์มใหญ่เกมแรกๆ ที่ไม่ใช่เกม Remake เหมือน Dark Souls (หรือถูกพัฒนาโดยค่ายอินดี้อย่าง Returnal) ซึ่งแน่นอนว่านั่นทำให้เกมต้องแบกรับความคาดหวังจากแฟนๆ ไม่มากก็น้อยในการแสดงออกถึงศักยภาพของเครื่อง PS5 ทั้งในแง่ของกราฟิก เกมเพลย์ และความเปลี่ยนแปลงหรือข้อปรับปรุงที่ลูกเล่นทั้งหลายของเครื่อง PS5 อย่างจอย DualSense หรือระบบเสียง 3D มีต่อประสบการณ์การเล่นโดยรวม




หลังจากที่เล่นเกมจนจบเนื้อเรื่อง (ขอบคุณบริษัท Sony Interactive Entertainment และผู้พัฒนา Insomniac Games สำหรับโค้ดรีวิวเกมล่วงหน้า) ผู้เขียนยืนยันได้ว่า Ratchet & Clank: Rift Apart สามารถมอบประสบการณ์ “หนัง Pixar แห่งวงการเกม” ที่ผู้พัฒนาตั้งมั่นไว้ได้อย่างไร้ที่ติในแง่ของกราฟิกและอนิเมชั่นที่สวยงามและมีเสน่ห์ในระดับที่ก้าวกระโดดขึ้นจากเกมในยุค PlayStation 4 อย่างชัดเจน ยิ่งไปกว่านั้น ภายในฉากหลังหลายๆ ฉากยังมีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ ซึ่งทำให้โลกของเกมรู้สึกมีชีวิตชีวาและรู้สึกกว้างใหญ่มากขึ้นไปด้วย ราวกับว่าผู้เล่นเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของโลกที่มีเรื่องราวมากมายเกิดขึ้นพร้อมกันอยู่ตลอดเวลา


แต่เมื่อหันกลับมามองดูทางเกมเพลย์ แม้ผู้เขียนจะยังยืนยันว่าเกมเล่นสนุกมากๆ ตลอดระยะเวลาราว 25 ชั่วโมงที่ผู้เขียนใช้ในการเล่นเนื้อเรื่องจนจบ แต่ก็ต้องยอมรับว่าลูกเล่นทั้งหลายของเครื่อง PlayStation 5 ยังไม่สามารถยกระดับเกมเพลย์ของ Rift Apart ให้แตกต่างจากเกมภาคก่อนหน้าได้มากเท่าที่คาดหวังเอาไว้ และทำให้ประสบการณ์การเล่นโดยรวมไม่ได้ต่างจากเกม Ratchet & Clank (PS4) มากขนาดนั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เกม Ratchet & Clank: Rift Apart ก็ยังถือเป็นผลงานที่คุ้มค่าในการเล่นอย่างแน่นอนสำหรับคนที่มีเครื่อง PlayStation 5 อย่างน้อยก็เพื่อให้ได้สัมผัส “น้ำจิ้ม” ของความเป็นไปได้ใหม่ๆ ที่จะตามมาในอนาคต



เรื่องราวของ Ratchet & Clank: Rift Apart เริ่มขึ้นในงานเฉลิมฉลองอันใหญ่โตที่ถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติ์แก่คู่หูตัวเอก Ratchet และ Clank และเพื่อขอบคุณที่ทั้งสองได้ร่วมกันกอบกู้จักรวาลมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วนในเกมภาคที่ผ่านๆ มา แต่งานยังไม่ทันได้เริ่มดีก็กลับโดนจู่โจมโดยกลุ่มวายร้ายที่ถูกว่างจ้างมาโดยหุ่นยนตร์สติเฟื่อง Dr. Nefarious ผู้ซึ่งต้องการขโมยปืนข้ามมิติ Dimensionator ที่ Clank ตั้งใจมอบให้ Ratchet ใช้เพื่อตามหาเหล่าสมาชิกเผ่าพันธุ์ Lombax ที่กระจัดกระจายอยู่ในมิติต่างๆ โดยในระหว่างการต่อสู้ Dr. Nefarious ผู้ซึ่งกำลังจะพ่ายแพ้อีกครั้งก็ตัดสินใจเปิดประตูมิติไปยังจักรวาลที่ “เขาคือผู้ชนะเสมอ” และดูดเอาคู่หูตัวเอกทั้งสองเข้าไปด้วย


ในระหว่างที่เดินทางข้ามมิติ Ratchet กลับพลัดกับ Clank โดยเขาตื่นมาเพื่อพบว่าตัวเองอยู่ในเมือง “Nefarious City” ที่ถูกปกครองโดย “จักรพรรดิ Nefarious” หรือร่างคู่ขนานของ Dr. Nefarious ในจักรวาลนี้นั่นเอง ยิ่งไปกว่านั้น Ratchet ยังพบว่าในจักรวาลนี้ยังมีเผ่าพันธุ์ Lombax อีกคนอยู่ด้วย โดย Lombax สาวที่ชื่อว่า Rivet นี้ยังบังเอิญพบกับ Clank เข้า และตัดสินใจนำตัวเขาไปด้วยเพราะคิดว่าเขาเป็นหุ่นยนตร์สมุนของ จักรพรรดิ์ Nefarious ทำให้ Ratchet จำเป็นต้องออกเดินทางเพื่อตามหาเพื่อนรักของเขา ในขณะที่ Clank ก็ต้องร่วมมือกับ Rivet ในการต่อสู้กับจักรพรรดิ์ Nefarious พร้อมกับหาวิธีสร้างปืนข้ามมิติขึ้นมาใหม่อีกครั้ง




ด้วยความที่เกมถูกพัฒนามาเพื่อกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กซะมากกว่า ทำให้เนื้อเรื่องของ Ratchet & Clank: Rift Apart มีความเรียบง่ายอยู่พอสมควร แต่ก็ยังแฝงไปด้วยแง่คิดที่กินใจและมุขตลกแบบสองแง่สองง่ามเพื่อเอาใจผู้ใหญ่ ตรงตามสูตรของหนัง Pixar ที่เป็นแรงบันดาลใจของแฟรนไชส์นี้ ซึ่งก็ทำหน้าที่มันได้ดี แม้ว่าสุดท้ายจะไม่ได้มีอะไรพิเศษให้จดจำมากมายนัก


ความรู้สึก “Pixar” ของเกมเห็นได้ชัดเจนมากที่สุดจากกราฟิกและการนำเสนอโดยรวม ที่ทำให้บรรยากาศของเกมมีชีวิตชีวามากๆ เพราะมีอะไรเคลื่อนไหวอยู่ในฉากหลังตลอดเวลา ตั้งแต่ NPC หุ่นยนตร์ที่จับกลุ่มแซวหัวหน้าที่ทำงาน หรือเหล่ารถบินได้ที่แล่นผ่านตึกสูงเสียดฟ้าจำนวนมากในเมือง Nefarious City ซึ่งสิ่งของเหล่านี้ทั้งหมดสามารถแสดงอยู่บนจอได้ในระดับความละเอียดเต็ม 100% โดยไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของเกม



หลายคนที่เคยเล่น (หรือเคยติดตามข่าว) ผลงานที่ผ่านมาของผู้พัฒนา Insomniac Games อย่าง Marvel’s Spider-man อาจจะพอจำเหล่า NPC ความละเอียดต่ำรูปร่างบิดเบี้ยวที่อยู่บนเรือในเกมได้ ที่ดูออกว่าถูกออกแบบมาให้มองจากไกลๆ เท่านั้น ผู้พัฒนาจึงสามารถลดทอนความละเอียดของโมเดลตัวละครลงเพื่อให้เกมไม่ต้องทำงานหนักเกินจำเป็น ซึ่งเกม Rift Apart ไม่จำเป็นต้องแลกความละเอียดของโมเดลสิ่งของเพื่อรักษามรรถภาพของเกมเลยแม้แต่น้อย ไม่ว่าจะเป็นก้อนหินทุกก้อน ต้นไม้ใบหญ้า ไปจนถึงรถบินได้ที่อยู่ไกลออกไปสุดระยะสายตา ล้วนมีรายละเอียดแบบจัดเต็มในระดับที่เกม PlayStation 4 ไม่มีทางทำได้แน่นอน แถมเกมยังสามารถรักษาเฟรมเรตของตัวเองเอาไว้ได้อย่างน่าชื่นชม แต่ทั้งนี้ผู้เขียนเล่นเนื้อเรื่องทั้งหมดไปในโหมด Fidelity ที่ทำให้เกมแสดงผลที่ 4K, 30FPS พร้อมเอฟเฟกต์พิเศษอย่าง Ray Tracing แบบเต็มสูบ เพราะโหมด Performance ที่รองรับเฟรมเรต 60FPS และโหมด Performance + Ray Tracing ได้ถูกเพิ่มเข้ามาหลังจากที่เล่นจบไปแล้ว จึงไม่ได้ใช้ในการพิจารณาสำหรับรีวิวนี้ (จะพูดถึงความเปลี่ยนแปลงในโหมดเหล่านี้ในช่วงท้ายของบทความ)


แน่นอนว่ารายละเอียดด้านกราฟิกเหล่านี้ยังครอบคลุมไปถึงในระหว่างการต่อสู้ด้วย โดยรายละเอียดของศัตรูทุกชนิดในเกมรวมไปถึงอาวุธหลากหลายชนิดของผู้เล่นเองอยู่ในมาตรฐานเดียวกับในฉากเมืองเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นปืนลูกซองที่ปล่อยพลังงานไฟฟ้าออกมาในระยะสั้น หรือปืนลำแสงขนาดใหญ่ที่ต้องชาร์จก่อนยิง ที่ล้วนปล่อยเอฟเฟกต์แสงสีเสียงจัดเต็มทุกครั้งที่ลั่นไก ซึ่งทำให้การต่อสู้ในเกมรู้สึกดุเดือดขึ้นมาเสมอจากเอฟเฟกต์พิเศษที่อุบัติขึ้นทั่วจอตลอดเวลา นอกจากนี้ ศัตรูหลายชนิดในเกมยังมักจะมี “ชิ้นส่วน” อย่างชุดเกราะที่กระเด็นออกจากตัวทุกครั้งที่โดนยิง แถมเมื่อตายแล้วยังมักจะปล่อย “น๊อต” ที่เกมใช้แทนเงินเพื่อซื้ออาวุธออกมาเป็นเศษเล็กน้อยเต็มพื้น พูดง่ายๆ ว่าเกมจะมีเอฟเฟกต์ชิ้นเล็กชิ้นน้อยลอยไปมาแทบจะตลอดเวลาที่ต่อสู้ในระดับที่ไม่สามารถทำได้แน่นอนในคอนโซลรุ่นเก่า โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเฟรมเรตของเกมเลยแม้แต่น้อย เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่แสดงออกถึงความก้าวหน้าจากเครื่อง PS4 มายังเครื่อง PS5 อย่างชัดเจน



แต่ดังที่กล่าวไปข้างต้น ในขณะที่กราฟิกของเกมแสดงให้เห็นถึงการก้าวกระโดดในศักยภาพของคอนโซลสองรุ่น ประสบการณ์การเล่นเกมเพลย์โดยรวมกลับไม่ได้พัฒนาไปมากนักเมื่อเทียบกัน โดยลูกเล่นที่รู้สึกว่าจะเพิ่มสัมผัสใหม่ให้กับการเล่นน่าจะเป็นปุ่ม Adaptive Trigger หรือปุ่ม L2/R2 ที่เกมสามารถปรับให้มีแรงต้านในระดับต่างๆ กันไปตามแต่ชนิดของอาวุธ และสามารถใช้ในการยิง Alternate Fire หรือโหมดพิเศษของปืนแต่ละชนิดได้ด้วย ยกตัวอย่างปืน The Executor ที่มีลักษณะคล้ายลูกซองแฝดซึ่งจะยิงกระบอกแรกเมื่อลั่นไกลงครึ่งทาง และกระบอกที่สองเมื่อลั่นไกลงจนสุด ซึ่งจะมีแรงต้านในปุ่มอนาล๊อคให้รู้ว่าตรงไหนคือครึ่งทาง ตรงไหนคือสุดทางด้วย หรืออย่างปืน Negatron Collider ที่สามารถชาร์จและยิงลำแสงขนาดใหญ่ใส่ศัตรู ซึ่งผู้เล่นสามารถดึงไกลงจนรู้สึกถึงแรงต้านเพื่อชาร์จ และดึงต่อจนสุดเพื่อปล่อยลำแสง เป็นต้น


ในช่วงที่เริ่มเล่นเกมแรกๆ การใช้ประโยชน์จากปุ่ม Adaptive Trigger เช่นนี้อาจจะรู้สึก “ใหม่” ก็จริง แต่ก็ไม่ได้ช่วยเสริมหรือเพิ่มเติมประสบการณ์โดยรวมมากเท่าไหร่นัก กล่าวคือต่อให้เกมใช้วิธีควบคุมแบบเก่าๆ (เช่นการกด L2 ค้างไว้เพื่อชาร์จลำแสงและกด R2 เพื่อยิงเป็นต้น) ก็คงไม่ได้แตกต่างกันนักในความเป็นจริง



นอกเหนือจากระบบ Adaptive Trigger (และระบบอื่นๆ ที่เพิ่มเข้ามาในภาคนี้) เกมเพลย์การต่อสู้ ของ Rift Apart มีความแตกต่างกับเกมภาคก่อนๆ น้อยมาก แม้แต่ปืนหลายกระบอกยังดึงมาจากเกมภาค 2016 เป๊ะเลย และแม้ผู้เล่นจะสามารถเปลี่ยนไปควบคุมตัวละครใหม่อย่าง Rivet ได้ แต่เธอก็ไม่ได้มีความสามารถแตกต่างจาก Ratchet เลยแม้แต่น้อย และทั้งสองยังใช้อาวุธและเงินจากแห่งเดียวกันด้วย ความแตกต่างเดียวของการเล่นตัวละครทั้งสองจึงมีแค่หน้าตาเท่านั้น 


ผู้เล่นจะต้องต่อสู้กับกลุ่มศัตรูด้วยอาวุธชนิดต่างๆ ที่สามารถสลับไปมาได้อย่างรวดเร็ว เกมมักจะส่งศัตรูมาให้ผู้เล่นสู้พร้อมกันเป็นจำนวนมากๆ ด้วยเพื่อบังคับให้ต้องสลับอาวุธไปมาเพื่อใช้อาวุธที่เหมาะสมกับศัตรูแต่ละชนิดและเพื่อประหยัดกระสุน โดยในภาคนี้ยังเพิ่มระบบการพุ่งหลบที่เรียกว่า Phantom Dash เข้าไปด้วย อาจเรียกง่ายๆ ว่าเป็นเหมือน Doom สำหรับเด็กก็คงไม่ผิดหนัก อาจจะไม่ใหม่ แต่รับประกันว่าสนุกเร้าใจ (แบบเด็กๆ) แน่นอน



เกมเพลย์ส่วนอื่นๆ นอกจากการต่อสู้ก็ค่อนข้างคล้ายกับเกมภาคก่อนๆ เช่นเดียวกัน ผู้เล่นจะสามารถสำรวจดาวเคราะห์ต่างๆ เพื่อทำภารกิจเสริมและเก็บเงินหรือเพชรไว้อัปเกรดอาวุธ และยังมีพัซเซิ่ลประปรายที่เกมเรียกว่า Anomoly ที่ผู้เล่นจะต้องบังคับ Clank เพื่อแก้ด้วย ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้ยากมากมายนักเพราะออกแบบมาสำหรับเด็ก แต่ก็ท้าทายพอให้ต้องใช้สมองอยู่เหมือนกัน แต่ก็ไมไ่ด้แตกต่างหรือแปลกใหม่ไปกว่าการต่อสู้ของเกม


หากจะมีระบบที่ดูจะเป็นการก้าวกระโดดขึ้นจากคอนโซลเก่าอาจจะเป็นระบบ Rift ที่ให้ผู้เล่นสามารถเดินทางข้ามประตูมิติขนาดเล็กๆ มากมายที่กระจัดกระจายอยู่ตามฉาก รวมไปถึงประตูขนาดใหญ่ที่ซ่อนอยู่ตามดาวเคราะห์ต่างๆ ที่มีพัซเซิ่ลการกระโดด (Platformer) อยู่ข้างใน ซึ่งทั้งสองระบบทำงานอย่างลื่นไหลให้ผู้เล่นข้ามมิติไปมาได้อย่างอิสระโดยไม่ต้องโหลดฉาก ที่ผู้พัฒนากล่าวว่าเป็นศักยภาพของตัว SSD ของ PS5 ที่ทำให้ระบบนี้เป็นไปได้ แต่เมื่อเช่นเข้าจริงๆ ก็ไม่ได้รู้สึกว่าแปลกใหม่นัก แต่เป็นเพียงการปรับปรุงการเล่นรูปแบบเก่าๆ ให้สมบูรณ์แบบขึ้นซะมากกว่า



ระบบ Performance Mode และ Performance RT Mode


เมื่อไม่กี่วันก่อนที่เกมจะวางจำหน่าย ทางผู้พัฒนา Insomniac Games ก็ได้ปล่อยแพทช์เกมเวอร์ชั่นใหม่ที่เพิ่มโหมดแสดงผลแบบ 60FPS เข้าสู่เกมถึง 2 โหมดด้วยกัน: Performance Mode และ Performance RT Mode นั่นเอง


สำหรับ Performance Mode จะทำให้เกมเน้นความลื่นไหลมากกว่าความคมชัด โดยจะแสดงผลที่ความคมชัดต่ำกว่า 4K (ไม่มั่นใจว่า 2K หรือ Full HD แล้วอัพสเกลเอา) และลดความหนาแน่นของสิ่งของและ NPC ในฉากลงอีกด้วย เพื่อให้เกมสามารถรันที่ความเร็ว 60FPS ได้แบบไม่มีสะดุด โดยจากการทดลองพบว่าเกมสามารถรักษาเฟรมเรตนี้เอาไว้ได้อย่างเสถียรมากๆ ตลอดระยะเวลาที่เล่น แลกมากับสิ่งของในฉากที่บางตาลงเล็กน้อย แต่สิ่งที่จะขาดไปอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับสองโหมดที่เหลือ (Performance RT + Fidelity) คือแสงสีในเกมที่แลดูแบนลงอย่างมาก และทำให้เกมดูใกล้เคียงกับเกม PS4 มากขึ้นพอสมควร



ในส่วนโหมด Performane RT น่าจะเป็นโหมดที่แนะนำให้ผู้เล่นส่วนใหญ่เลือก เพราะแม้จะลดรายละเอียดแบบเดียวกับ Performance Mode แต่ก็ยังคงรักษาแสงสีอันสวยงามของเกมเอาไว้ได้ และทำให้เกมยังคงสามารถแสดงผลที่เฟรมเรต “เกือบ” 60FPS แบบนิ่งๆ อาจจะมีกระตุกเล็กๆ บ้างเวลาอยู่ในฉากที่แสงสีเจิดจ้าเป็นพิเศษ แต่โดยรวมๆ ก็ไม่ได้ส่งผลต่อประสบการณ์การเล่นอย่างมีนัยยะสำคัญ



หากถามว่าได้เล่นเกมในโหมดเหล่านี้ตั้งแต่แรกจะมีผลต่อประสบการณ์ไหม ก็ต้องยอมรับว่าสำหรับผู้เขียนอาจจะรู้สึกทึ่งกับเกมมากขึ้นเล็กน้อยหากได้เล่นที่เฟรมเรต 60FPS แต่โดยรวมก็ยอมรับว่ารายละเอียดที่เพิ่มขึ้นใน Fidelity Mode อาจจะคุ้มค่ากับการเล่นเกมที่ 30FPS สำหรับผู้เล่นหลายๆ คนด้วยเช่นกัน



กล่าวโดยสรุป Ratchet & Clank: Rift Apart ถือเป็นเกมที่อวดศักยภาพด้านกราฟิกของเครื่อง PlayStation 5 ได้เป็นอย่างดี แม้จะยังไม่ได้นำเสนอประสบการณ์การเล่นที่ก้าวกระโดดไปจากรุ่นเก่ามากนักในแง่ของการออกแบบเกมเพลย์ แต่สิ่งที่มีอยู่ก็ยังสนุกและท้าทายในระดับที่ใครๆ ก็น่าจะสามารถเล่นได้ไม่ว่าจะเป็นเพศหรือวัยอะไร และเป็นเกมเรียกน้ำย่อยที่ดีสำหรับยุคคอนโซลใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นขึ้น



บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header