GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[Preview] เล่นมาเล่า: God of War: Ragnarok การกลับมาอย่างเต็มภาคภูมิ ของสุดยอดเกมเทพแห่งยุค
ลงวันที่ 20/10/2022

ด้วยความนิยมอันท่วมท้นของเกม God of War (PS4) ซึ่งได้รับความนิยมจากเกมเมอร์และนักวิจารณ์ทั่วโลกแทบจะเป็นเอกฉันท์ และถูกกล่าวถึงในฐานะเกมที่ตั้งมาตรฐานคุณภาพของเกม AAA ใหม่ทั้งหมดในเวลาต่อมา แน่นอนว่าเกมภาคต่ออย่าง God of War: Ragnarok ย่อมต้องแบกรับความคาดหวังของแฟนเกมทั่วโลกเอาไว้อย่างมหาศาล ในระดับที่หลายคนอดสงสัย (แกมเป็นห่วง) ไม่ได้ว่าเกมจะสามารถตอบโจทย์ความคาดหวังเหล่านั้นได้อย่างไรบ้าง 

ทางทีมงาน GameFever ได้มีโอกาสเล่นเกม God of War: Ragnarok ตัวเต็มบนเครื่อง PlayStation 5 ล่วงหน้ามาแล้วระยะหนึ่ง ซึ่งแม้จะยังมีอีกหลายแง่มุมของเกมที่ต้องสัมผัสก่อนจะสามารถออกความเห็นได้อย่างเต็มที่ แต่เราก็มีความยินดีจะบอกว่าถ้าตัดสินจากเนื้อหา 4-6 ชั่วโมงแรกของเกม (ขึ้นอยู่กับความขยันในการเก็บเควสเสริม) ดูเหมือนว่าแฟนคอนโซล PlayStation จะมีเพชรเม็ดงามให้เชยชมกันอีกแล้วเร็ว ๆ นี้

หมายเหตุ: ตามข้อตกลงร่วมกับ Sony และผู้พัฒนา บทความนี้จะครอบคลุมเนื้อหาช่วงแรกของเกมเท่านั้น และจะหลีกเลี่ยงการเจาะจงถึงระบบเกมเพลย์ใหม่ ๆ หรือเหตุการณ์สำคัญในเนื้อเรื่อง เพื่อหลีกเลี่ยงข้อมูลที่อาจเป็นการสปอยผู้อ่านนั่นเอง

นอกจากนี้ แม้ว่าเกมตัวเต็มจะสนับสนุนบทบรรยายและเมนูภาษาไทย แต่ผู้พัฒนาได้ขอความร่วมมือไม่ให้สื่อมวลชนเปิดใช้จนกว่าจะมีการอัปเดตแพทช์เกมครั้งต่อไป บทความนี้จึงจะยังไม่พูดถึงคุณภาพของคำแปลภาษาไทย

***ขอขอบคุณบริษัท Sony Interactive Entertainment สำหรับโค้ดรีวิวเกมล่วงหน้า***


ในช่วงที่เริ่มเล่นเกมแรก ๆ ความคิดที่เข้ามาในหัวผู้เขียนบ่อยครั้งคือ “เกมแทบไม่ได้ต่างอะไรกับภาคก่อนเลย” ทั้งในแง่ของกราฟิกและเกมเพลย์ ซึ่งแม้จะฟังดูเหมือนเป็นข้อตำหนิ แต่หากว่ากันตามตรง เกม God of War (PS4) ก็ยังคงถูกจัดอยู่ในแนวหน้าของเกม AAA ในทั้งสองแง่นี้จนถึงปัจจุบัน และเมื่อเล่นไปเรื่อย ๆ จึงรู้ว่าข้อปรับปรุงของภาค Ragnarok นี้ไม่ได้อยู่ในแง่ของคุณภาพของเกมเพลย์และกราฟิก แต่อยู่ที่ปริมาณหรือ “ความหลากหลาย” ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า

ทางด้านเกมเพลย์ เกมก็ยังคงให้ผู้เล่นใช้ทักษะเบื้องต้นจากภาคที่แล้วอย่างการโจมตีหนัก/เบา การหลบ การป้องกัน การปาขวาน ฯลฯ ซึ่งคนที่เล่นภาคก่อนมาแล้วคงจะยังคุ้นเคยกันอยู่ โดยสิ่งแรกที่แตกต่างจากเกมภาคก่อนหน้าแน่ ๆ ก็คือการที่ผู้เล่นจะได้รับอาวุธ Blades of Chaos มาใช้ตั้งแต่ช่วงต้นเกม ส่งผลให้เกมสามารถนำเสนอระบบการเล่นและพัซเซิ่ลทั้งในและนอกการต่อสู้ได้มากกว่าเมื่อเทียบกับภาคแรก และแม้ว่าระบบและพัซเซิ่ลที่ว่าไปนี้ส่วนใหญ่จะรีไซเคิลมาจากภาคแรก เช่นการปาขวานเพื่อแช่แข็งน้ำ หรือการใช้ Blades of Chaos เพื่อจุดคบเพลิง แต่ก็ทำให้เกมเพลย์ช่วงเริ่มต้นนี้รู้สึกหลากหลายกว่าไปด้วย อย่างน้อยก็เมื่อนำช่วงต้นเกมของทั้่งสองภาคมาเทียบกัน

จุดหนึ่งที่พัฒนาขึ้นจากภาคแรกอย่างชัดเจนที่สังเกตได้ตั้งแต่ต้นเกม ก็คือเรื่องความหลากหลายของชนิดศัตรูที่เราได้ต่อกรด้วย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในข้อตำหนิหลักไม่กี่ข้อที่คนมักยกขึ้นมาพูดถึงเกมภาคแรก โดยในระยะเวลาราว 6 ชั่วโมงแรกที่ผู้เขียนเล่นเกม ผู้เขียนรู้สึกว่าความหลากหลายของชนิดศัตรูเกือบจะเทียบเท่ากับเกมภาคก่อนทั้งเกมอยู่แล้ว โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงบอส ที่ไม่จำเป็นต้องสู้กับยักษ์ตัวเดิมซ้ำกันหลาย ๆ ครั้งอีกต่อไป ซึ่งแน่นอนว่าศัตรูที่หลากหลาย ก็ส่งผลให้การต่อสู้หลากหลายไปด้วยทั้งในแง่ของเกมเพลย์และอนิเมชันการสังหารโหดทั้งหลาย ที่มีให้ดูมากกว่าเดิมเช่นกัน


หลังจากที่เล่นเกมไปได้ซัก 1-2 ชั่วโมง ผู้เล่นจะได้รับมอบหมายให้เดินทางไปยังดินแดนของเหล่าคนแคระหรือ Svartalfheim เป็นแผนที่โลกแห่งแรกที่เราสามารถสำรวจได้อย่างอิสระ ซึ่งก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่รู้สึกว่าได้รับการปรับให้ “ใหญ่” และ “เยอะ” ขึ้นเช่นกัน แผนที่ในเกมภาค Ragnarok ดูจะถูกออกแบบมาให้มีความเปิดกว้างมากขึ้น มีพื้นที่โล่งและทางลับให้ค้นหาในแต่ละฉากมากขึ้น แม้ว่า “ขนาด” ของแผนที่โลกในความเป็นจริงอาจจะไม่ได้ต่างกับภาคก่อนหน้าเท่าไหร่นัก และยังมีลักษณะเป็น “ดันเจี้ยน” ที่มีทางเดินค่อนข้างเป็นเส้นตรง ที่ถูกเชื่อมโดยแผนที่ขนาดใหญ่ตรงกลาง คล้าย ๆ กับในฉาก Lake of the Nine ในเกมดั้งเดิมนั่นเอง

ทั้งนี้ แม้ว่าแผนที่ของเกมอาจจะไม่ได้มีขนาดใหญ่มากมายเป็นพิเศษ แต่ก็อัดแน่นไปด้วยกล่องสมบัติ ภารกิจเสริม ของสะสม และกระทั่งบอสลับให้ผู้เล่นได้ค้นพบอยู่เรื่อย ๆ จนไม่ว่าจะเลือกเดินไปทางไหนก็แทบจะต้องมีอะไรบางอย่างรออยู่เสมอ โดยของที่ค้นพบได้เกือบทุกชนิดยังส่งผลต่อการพัฒนาตัวละครไม่ทาใดก็ทางหนึ่ง การสำรวจหรือแก้พัซเซิ่ลจึงไม่เคยรู้สึกเหมือนเป็นการเสียเวลาเลยอีกด้วย ส่งผลให้ประสบการณ์การเล่นเกมมีความลื่นไหล เพลิดเพลิน ชนิดที่พอเริ่มเล่นแล้วแทบจะไม่อยากเลิกกันเลยทีเดียว ซึ่งก็ได้แต่หวังว่าฉากอื่น ๆ ของเกมจะยังคงรักษาความรู้สึกนี้ไว้ได้จนตลอดรอดฝั่ง

ทางด้านกราฟิก ด้วยความที่เกมยังคงวางจำหน่ายแบบคร่อมเจนให้ทั้ง PS4 และ 5 พร้อมกัน และใช้เอนจิ้นเดียวกันในการพัฒนา การจะคาดหวังให้เกมมีคุณภาพกราฟิกดีขึ้นกว่าภาคก่อนจึงเป็นไปได้ยาก ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าการเล่นเกมภาค Ragnarok บน PS5 ให้กราฟิกแทบไม่แตกต่างจากเกมภาคก่อนหน้านี้เลย แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาเมื่อทุกอย่างในเกมได้ถูกออกแบบมาอย่างละเมียดสวยงาม และมีเอกลักษณ์ในแบบของตัวเอง ที่ทำให้โลกที่อ้างอิงจากเทพนิยายนอร์สของเกมรู้สึกแตกต่างจากโลกนอร์สของเกมอื่น ๆ อย่างรู้สึกได้

God of War: Ragnarok จะเปิดให้ผู้เล่นเลือกระหว่างโหมด Performance ที่จะปรับลดความละเอียดลงมา (เดาว่าน่าจะอยู่ที่ 1440p) เพื่อให้สามารถเล่นเกมที่เฟรมเรต 60FPS ได้ กับโหมด Quality ที่จะดันความละเอียดและเอฟเฟกต์แสงสีทั้งหมดขึ้นจนสุด แต่ปรับลดเฟรมเรตลงมาเหลือ 30FPS แทน ซึ่งในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คุณภาพที่เพิ่มขึ้นของโหมด Quality นั้นสังเกตเห็นได้น้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับโหมด Performance แต่สิ่งที่จะรู้สึกได้แน่ ๆ คือเฟรมเรตที่ลดฮวบลงมา ซึ่งส่งผลต่อความลื่นไหลในการเคลื่อนที่ของตัวละครด้วย

ทั้งนี้ God of War: Ragnarok สามารถทำงานได้ค่อนข้างเสถียร โดยผู้เขียนไม่พบกับอาการเฟรมตกหรือกระตุกเลยซักครั้งเดียวตลอดระบะเวลาที่เล่น และไม่เจอปัญหาด้านกราฟิกอื่น ๆ ที่มักพบได้ในเกม (กึ่ง) โลกเปิดทั่วไปอย่างกราฟิกโหลดไม่ทัน แต่ก็ใช่ว่าจะสมบูรณ์ โดยผู้เขียนได้พบกับบั๊คตัวหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถปฏิสัมพันธ์กับสิ่งของในฉากอย่างกล่องสมบัติหรือประตูได้ ซึ่งในบางกรณีก็ทำให้ไม่สามารถดำเนินเนื้อเรื่องต่อไปได้เลยทีเดียว แต่ก็สามารถแก้ได้ง่าย ๆ ด้วยการโหลดกลับจุดเซฟล่าสุด ซึ่งความสะดวกอย่างหนึ่งของเกมคือกลุ่มศัตรูที่เราฆ่าไปแล้วจะไม่เกิดใหม่เมื่อโหลดจุดเซฟ ทำให้แม้จะพบบั๊คเหล่านี้บ่อย (ราว 3-4 ครั้งในช่วง 6 ชั่วโมงแรกของเกม) แต่ก็ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนรำคาญต่อผู้เขียนมากเป็นพิเศษ

อย่างที่หลายคนอาจจะทราบกันอยู่แล้ว เนื้อเรื่องของเกม God of War: Ragnarok จะเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ของเกมภาคแรกระยะหนึ่ง และจะติดตามสองพ่อลูกเทพสงคราม Kratos และ Atreus ในขณะที่พวกเขาออกเดินทางเพื่อเตรียมตัวสำหรับมหาสงคราม Ragnarok ที่กำลังจะเริ่มขึ้น  

ดังที่กล่าวไปข้างต้นเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างทีมงานและ Sony ส่งผลให้ไม่สามารถพูดถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้มากนัก แต่สิ่งที่พูดได้อย่างเต็มปากเลยก็คือ God of War: Ragnarok ยังคงไว้ซึ่งจุดแข็งทั้งหมดของเนื้อเรื่องเกมภาคก่อนหน้านี้เอาไว้อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะในด้านความสัมพันธ์พ่อลูกระหว่าง Kratos และ Atreus ที่ยังคงเป็นแรงขับสำคัญและจุดแข็งที่สุดของเนื้อเรื่องเลยทีเดียว กาลเวลาที่ดำเนินไปดูจะทำให้ความสัมพัยธ์ของทั้งสองเปลี่ยนแปลงไปจากภาคแรกไม่น้อย โดย Kratos เองก็ดูจะใจเย็นลงกว่าภาคแรกมาก และพร้อมจะรับฟังรวมถึงแสดงออกถึงความห่วงใยต่อลูกชายอย่างเปิดเผย ในขณะที่ Atreus ในวัยแตกหนุ่มดูจะเริ่มควบคุมพลังเทพของตัวเองได้มากขึ้น ส่งผลให้เขามีความมั่นใจมากพอจะเถียงสู้ Kratos ได้ในหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งความลำบากใจของ Kratos ในการหาจุดกึ่งกลางระหว่างความต้องการปกป้องลูก และการปล่อยให้ลูกได้เติบโตเป็นตัวของตัวเอง เป็นปมที่มี “ความเป็นมนุษย์” สูงมาก และทำให้ความขัดแย้ง (Conflict) ในใจของตัวละครกลายเป็นเรื่องที่หลายคนสามารถหาจุดร่วมได้ แม้ว่าเนื้อเรื่องของเกมโดยรวมจะเต็มไปด้วยสัตว์วิเศษ ดินแดนเวทมนต์ และเทพเจ้าก็ตาม

กล่าวโดยสรุป เวลาสั้น ๆ ที่ใช้ไปกับ God of War: Ragnarok ถือเป็นเครื่องเตือนความจำชั้นดีว่าทำไม God of War (PS4) จึงถูกยกให้เป็นหนึ่งในสุดยอดเกมแห่งยุคไปแล้ว โดยเกมไม่เพียงแต่รักษามาตรฐานของภาคก่อนหน้าเอาไว้ได้ แต่ยังสามารถเสริมจุดแข็งของตัวเองได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งหากเกมสามารถรักษาความเป็นเลิศระดับนี้เอาไว้ได้จนจบ การจะคว้ารางวัล Game of the Year อีกซักปีก็ไม่ใช่เรื่องที่เกินจริงไปแต่อย่างใด


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[Preview] เล่นมาเล่า: God of War: Ragnarok การกลับมาอย่างเต็มภาคภูมิ ของสุดยอดเกมเทพแห่งยุค
20/10/2022

ด้วยความนิยมอันท่วมท้นของเกม God of War (PS4) ซึ่งได้รับความนิยมจากเกมเมอร์และนักวิจารณ์ทั่วโลกแทบจะเป็นเอกฉันท์ และถูกกล่าวถึงในฐานะเกมที่ตั้งมาตรฐานคุณภาพของเกม AAA ใหม่ทั้งหมดในเวลาต่อมา แน่นอนว่าเกมภาคต่ออย่าง God of War: Ragnarok ย่อมต้องแบกรับความคาดหวังของแฟนเกมทั่วโลกเอาไว้อย่างมหาศาล ในระดับที่หลายคนอดสงสัย (แกมเป็นห่วง) ไม่ได้ว่าเกมจะสามารถตอบโจทย์ความคาดหวังเหล่านั้นได้อย่างไรบ้าง 

ทางทีมงาน GameFever ได้มีโอกาสเล่นเกม God of War: Ragnarok ตัวเต็มบนเครื่อง PlayStation 5 ล่วงหน้ามาแล้วระยะหนึ่ง ซึ่งแม้จะยังมีอีกหลายแง่มุมของเกมที่ต้องสัมผัสก่อนจะสามารถออกความเห็นได้อย่างเต็มที่ แต่เราก็มีความยินดีจะบอกว่าถ้าตัดสินจากเนื้อหา 4-6 ชั่วโมงแรกของเกม (ขึ้นอยู่กับความขยันในการเก็บเควสเสริม) ดูเหมือนว่าแฟนคอนโซล PlayStation จะมีเพชรเม็ดงามให้เชยชมกันอีกแล้วเร็ว ๆ นี้

หมายเหตุ: ตามข้อตกลงร่วมกับ Sony และผู้พัฒนา บทความนี้จะครอบคลุมเนื้อหาช่วงแรกของเกมเท่านั้น และจะหลีกเลี่ยงการเจาะจงถึงระบบเกมเพลย์ใหม่ ๆ หรือเหตุการณ์สำคัญในเนื้อเรื่อง เพื่อหลีกเลี่ยงข้อมูลที่อาจเป็นการสปอยผู้อ่านนั่นเอง

นอกจากนี้ แม้ว่าเกมตัวเต็มจะสนับสนุนบทบรรยายและเมนูภาษาไทย แต่ผู้พัฒนาได้ขอความร่วมมือไม่ให้สื่อมวลชนเปิดใช้จนกว่าจะมีการอัปเดตแพทช์เกมครั้งต่อไป บทความนี้จึงจะยังไม่พูดถึงคุณภาพของคำแปลภาษาไทย

***ขอขอบคุณบริษัท Sony Interactive Entertainment สำหรับโค้ดรีวิวเกมล่วงหน้า***


ในช่วงที่เริ่มเล่นเกมแรก ๆ ความคิดที่เข้ามาในหัวผู้เขียนบ่อยครั้งคือ “เกมแทบไม่ได้ต่างอะไรกับภาคก่อนเลย” ทั้งในแง่ของกราฟิกและเกมเพลย์ ซึ่งแม้จะฟังดูเหมือนเป็นข้อตำหนิ แต่หากว่ากันตามตรง เกม God of War (PS4) ก็ยังคงถูกจัดอยู่ในแนวหน้าของเกม AAA ในทั้งสองแง่นี้จนถึงปัจจุบัน และเมื่อเล่นไปเรื่อย ๆ จึงรู้ว่าข้อปรับปรุงของภาค Ragnarok นี้ไม่ได้อยู่ในแง่ของคุณภาพของเกมเพลย์และกราฟิก แต่อยู่ที่ปริมาณหรือ “ความหลากหลาย” ที่เพิ่มขึ้นมากกว่า

ทางด้านเกมเพลย์ เกมก็ยังคงให้ผู้เล่นใช้ทักษะเบื้องต้นจากภาคที่แล้วอย่างการโจมตีหนัก/เบา การหลบ การป้องกัน การปาขวาน ฯลฯ ซึ่งคนที่เล่นภาคก่อนมาแล้วคงจะยังคุ้นเคยกันอยู่ โดยสิ่งแรกที่แตกต่างจากเกมภาคก่อนหน้าแน่ ๆ ก็คือการที่ผู้เล่นจะได้รับอาวุธ Blades of Chaos มาใช้ตั้งแต่ช่วงต้นเกม ส่งผลให้เกมสามารถนำเสนอระบบการเล่นและพัซเซิ่ลทั้งในและนอกการต่อสู้ได้มากกว่าเมื่อเทียบกับภาคแรก และแม้ว่าระบบและพัซเซิ่ลที่ว่าไปนี้ส่วนใหญ่จะรีไซเคิลมาจากภาคแรก เช่นการปาขวานเพื่อแช่แข็งน้ำ หรือการใช้ Blades of Chaos เพื่อจุดคบเพลิง แต่ก็ทำให้เกมเพลย์ช่วงเริ่มต้นนี้รู้สึกหลากหลายกว่าไปด้วย อย่างน้อยก็เมื่อนำช่วงต้นเกมของทั้่งสองภาคมาเทียบกัน

จุดหนึ่งที่พัฒนาขึ้นจากภาคแรกอย่างชัดเจนที่สังเกตได้ตั้งแต่ต้นเกม ก็คือเรื่องความหลากหลายของชนิดศัตรูที่เราได้ต่อกรด้วย ซึ่งถือเป็นหนึ่งในข้อตำหนิหลักไม่กี่ข้อที่คนมักยกขึ้นมาพูดถึงเกมภาคแรก โดยในระยะเวลาราว 6 ชั่วโมงแรกที่ผู้เขียนเล่นเกม ผู้เขียนรู้สึกว่าความหลากหลายของชนิดศัตรูเกือบจะเทียบเท่ากับเกมภาคก่อนทั้งเกมอยู่แล้ว โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงบอส ที่ไม่จำเป็นต้องสู้กับยักษ์ตัวเดิมซ้ำกันหลาย ๆ ครั้งอีกต่อไป ซึ่งแน่นอนว่าศัตรูที่หลากหลาย ก็ส่งผลให้การต่อสู้หลากหลายไปด้วยทั้งในแง่ของเกมเพลย์และอนิเมชันการสังหารโหดทั้งหลาย ที่มีให้ดูมากกว่าเดิมเช่นกัน


หลังจากที่เล่นเกมไปได้ซัก 1-2 ชั่วโมง ผู้เล่นจะได้รับมอบหมายให้เดินทางไปยังดินแดนของเหล่าคนแคระหรือ Svartalfheim เป็นแผนที่โลกแห่งแรกที่เราสามารถสำรวจได้อย่างอิสระ ซึ่งก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่รู้สึกว่าได้รับการปรับให้ “ใหญ่” และ “เยอะ” ขึ้นเช่นกัน แผนที่ในเกมภาค Ragnarok ดูจะถูกออกแบบมาให้มีความเปิดกว้างมากขึ้น มีพื้นที่โล่งและทางลับให้ค้นหาในแต่ละฉากมากขึ้น แม้ว่า “ขนาด” ของแผนที่โลกในความเป็นจริงอาจจะไม่ได้ต่างกับภาคก่อนหน้าเท่าไหร่นัก และยังมีลักษณะเป็น “ดันเจี้ยน” ที่มีทางเดินค่อนข้างเป็นเส้นตรง ที่ถูกเชื่อมโดยแผนที่ขนาดใหญ่ตรงกลาง คล้าย ๆ กับในฉาก Lake of the Nine ในเกมดั้งเดิมนั่นเอง

ทั้งนี้ แม้ว่าแผนที่ของเกมอาจจะไม่ได้มีขนาดใหญ่มากมายเป็นพิเศษ แต่ก็อัดแน่นไปด้วยกล่องสมบัติ ภารกิจเสริม ของสะสม และกระทั่งบอสลับให้ผู้เล่นได้ค้นพบอยู่เรื่อย ๆ จนไม่ว่าจะเลือกเดินไปทางไหนก็แทบจะต้องมีอะไรบางอย่างรออยู่เสมอ โดยของที่ค้นพบได้เกือบทุกชนิดยังส่งผลต่อการพัฒนาตัวละครไม่ทาใดก็ทางหนึ่ง การสำรวจหรือแก้พัซเซิ่ลจึงไม่เคยรู้สึกเหมือนเป็นการเสียเวลาเลยอีกด้วย ส่งผลให้ประสบการณ์การเล่นเกมมีความลื่นไหล เพลิดเพลิน ชนิดที่พอเริ่มเล่นแล้วแทบจะไม่อยากเลิกกันเลยทีเดียว ซึ่งก็ได้แต่หวังว่าฉากอื่น ๆ ของเกมจะยังคงรักษาความรู้สึกนี้ไว้ได้จนตลอดรอดฝั่ง

ทางด้านกราฟิก ด้วยความที่เกมยังคงวางจำหน่ายแบบคร่อมเจนให้ทั้ง PS4 และ 5 พร้อมกัน และใช้เอนจิ้นเดียวกันในการพัฒนา การจะคาดหวังให้เกมมีคุณภาพกราฟิกดีขึ้นกว่าภาคก่อนจึงเป็นไปได้ยาก ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าการเล่นเกมภาค Ragnarok บน PS5 ให้กราฟิกแทบไม่แตกต่างจากเกมภาคก่อนหน้านี้เลย แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาเมื่อทุกอย่างในเกมได้ถูกออกแบบมาอย่างละเมียดสวยงาม และมีเอกลักษณ์ในแบบของตัวเอง ที่ทำให้โลกที่อ้างอิงจากเทพนิยายนอร์สของเกมรู้สึกแตกต่างจากโลกนอร์สของเกมอื่น ๆ อย่างรู้สึกได้

God of War: Ragnarok จะเปิดให้ผู้เล่นเลือกระหว่างโหมด Performance ที่จะปรับลดความละเอียดลงมา (เดาว่าน่าจะอยู่ที่ 1440p) เพื่อให้สามารถเล่นเกมที่เฟรมเรต 60FPS ได้ กับโหมด Quality ที่จะดันความละเอียดและเอฟเฟกต์แสงสีทั้งหมดขึ้นจนสุด แต่ปรับลดเฟรมเรตลงมาเหลือ 30FPS แทน ซึ่งในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน คุณภาพที่เพิ่มขึ้นของโหมด Quality นั้นสังเกตเห็นได้น้อยมาก ๆ เมื่อเทียบกับโหมด Performance แต่สิ่งที่จะรู้สึกได้แน่ ๆ คือเฟรมเรตที่ลดฮวบลงมา ซึ่งส่งผลต่อความลื่นไหลในการเคลื่อนที่ของตัวละครด้วย

ทั้งนี้ God of War: Ragnarok สามารถทำงานได้ค่อนข้างเสถียร โดยผู้เขียนไม่พบกับอาการเฟรมตกหรือกระตุกเลยซักครั้งเดียวตลอดระบะเวลาที่เล่น และไม่เจอปัญหาด้านกราฟิกอื่น ๆ ที่มักพบได้ในเกม (กึ่ง) โลกเปิดทั่วไปอย่างกราฟิกโหลดไม่ทัน แต่ก็ใช่ว่าจะสมบูรณ์ โดยผู้เขียนได้พบกับบั๊คตัวหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถปฏิสัมพันธ์กับสิ่งของในฉากอย่างกล่องสมบัติหรือประตูได้ ซึ่งในบางกรณีก็ทำให้ไม่สามารถดำเนินเนื้อเรื่องต่อไปได้เลยทีเดียว แต่ก็สามารถแก้ได้ง่าย ๆ ด้วยการโหลดกลับจุดเซฟล่าสุด ซึ่งความสะดวกอย่างหนึ่งของเกมคือกลุ่มศัตรูที่เราฆ่าไปแล้วจะไม่เกิดใหม่เมื่อโหลดจุดเซฟ ทำให้แม้จะพบบั๊คเหล่านี้บ่อย (ราว 3-4 ครั้งในช่วง 6 ชั่วโมงแรกของเกม) แต่ก็ไม่ได้สร้างความเดือดร้อนรำคาญต่อผู้เขียนมากเป็นพิเศษ

อย่างที่หลายคนอาจจะทราบกันอยู่แล้ว เนื้อเรื่องของเกม God of War: Ragnarok จะเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ของเกมภาคแรกระยะหนึ่ง และจะติดตามสองพ่อลูกเทพสงคราม Kratos และ Atreus ในขณะที่พวกเขาออกเดินทางเพื่อเตรียมตัวสำหรับมหาสงคราม Ragnarok ที่กำลังจะเริ่มขึ้น  

ดังที่กล่าวไปข้างต้นเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างทีมงานและ Sony ส่งผลให้ไม่สามารถพูดถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้มากนัก แต่สิ่งที่พูดได้อย่างเต็มปากเลยก็คือ God of War: Ragnarok ยังคงไว้ซึ่งจุดแข็งทั้งหมดของเนื้อเรื่องเกมภาคก่อนหน้านี้เอาไว้อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะในด้านความสัมพันธ์พ่อลูกระหว่าง Kratos และ Atreus ที่ยังคงเป็นแรงขับสำคัญและจุดแข็งที่สุดของเนื้อเรื่องเลยทีเดียว กาลเวลาที่ดำเนินไปดูจะทำให้ความสัมพัยธ์ของทั้งสองเปลี่ยนแปลงไปจากภาคแรกไม่น้อย โดย Kratos เองก็ดูจะใจเย็นลงกว่าภาคแรกมาก และพร้อมจะรับฟังรวมถึงแสดงออกถึงความห่วงใยต่อลูกชายอย่างเปิดเผย ในขณะที่ Atreus ในวัยแตกหนุ่มดูจะเริ่มควบคุมพลังเทพของตัวเองได้มากขึ้น ส่งผลให้เขามีความมั่นใจมากพอจะเถียงสู้ Kratos ได้ในหลาย ๆ เรื่อง ซึ่งความลำบากใจของ Kratos ในการหาจุดกึ่งกลางระหว่างความต้องการปกป้องลูก และการปล่อยให้ลูกได้เติบโตเป็นตัวของตัวเอง เป็นปมที่มี “ความเป็นมนุษย์” สูงมาก และทำให้ความขัดแย้ง (Conflict) ในใจของตัวละครกลายเป็นเรื่องที่หลายคนสามารถหาจุดร่วมได้ แม้ว่าเนื้อเรื่องของเกมโดยรวมจะเต็มไปด้วยสัตว์วิเศษ ดินแดนเวทมนต์ และเทพเจ้าก็ตาม

กล่าวโดยสรุป เวลาสั้น ๆ ที่ใช้ไปกับ God of War: Ragnarok ถือเป็นเครื่องเตือนความจำชั้นดีว่าทำไม God of War (PS4) จึงถูกยกให้เป็นหนึ่งในสุดยอดเกมแห่งยุคไปแล้ว โดยเกมไม่เพียงแต่รักษามาตรฐานของภาคก่อนหน้าเอาไว้ได้ แต่ยังสามารถเสริมจุดแข็งของตัวเองได้อย่างยอดเยี่ยม ซึ่งหากเกมสามารถรักษาความเป็นเลิศระดับนี้เอาไว้ได้จนจบ การจะคว้ารางวัล Game of the Year อีกซักปีก็ไม่ใช่เรื่องที่เกินจริงไปแต่อย่างใด


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header