GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
ข่าวเกม
[บทความ] เล่นเกมยังไงให้ได้ภาษา พร้อมแนะนำเกมที่เหมาะใช้ฝึก!
ลงวันที่ 27/11/2021

หนึ่งประโยชน์ที่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาจากการเล่นเกม นั่นคือการฝึกฝนภาษาต่างประเทศ  แต่พอเอาเข้าจริงแล้ว.... ไม่ใช่ทุกคนซะทีเดียว ที่สามารถพัฒนาทักษะทางด้านภาษาของตนเองจาก การเล่นเกมได้ นั่นอาจเป็นเพราะ ความรู้พื้นฐานของตัวผู้เล่นเอง ความพร้อมในการเรียนรู้ หรือแม้แต่วิธีการเล่นเกมที่ ไม่ถูกต้อง ทำให้การซึบซับเอาทักษะทางภาษาต่างๆ เป็นไปได้อย่างยากลำบาก ดังนั้น ในบทความนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอวิธีการเล่นเกมอย่างถูกต้วง รวมถึง Mind set ในการเล่นเกม ที่จะทำให้การเล่นเกมของผู้อ่านทุกคน สามารถพัฒนาทักษะทางภาษาได้อย่างแท้จริง และในช่วงท้าย ผู้เขียนได้มีการหยิบยกเกมดีๆ ที่น่าหามาเล่นเพื่อฝึกฝนภาษาอังกฤษอีกด้วย

1. เกมที่เลือกเล่น


การเลือกเกมที่จะใช้ในการพัฒนาทักษะทางภาษานั้น ก็คงเปรียบได้กับ การเลือกหนังสือที่จะใช้อ่านประกอบการเรียน หรือการเลือกติวเตอร์ที่ยอดเยี่ย ก่อนการสอบครั้งสำคัญ ซึ่งหากเลือกผิด เลือกไม่เหมาะสม ย่อมมีผลต่อการเรียนหรือการสอบอย่างแน่นอน ฉะนั้นการเลือกอย่างพิถีพิถัน จึงสำคัญเป็นอย่างยิ่ง แต่สำหรับการเลือกเกมเพื่อฝึกภาษา อาจไม่จำเป็นต้องพิจารณาให้ลึกซึ้งถึงเพียงนั้น...  

สิ่งแรกที่ควรพิจารณาเบื้องต้นเหนือสิ่งอื่นใดเลยคือ พื้นฐานด้านภาษาของตนเอง เราต้องตอบตนเองให้ได้เสียก่อนว่าเรามีความรู้ความเข้าใจ หรือมีพื้นฐานด้านภาษามากน้อยเพียงใด อ่านออกมั้ย แปลและตีความได้แค่ไหน นี่คือก้าวแรกที่สำคัญมาก เพราะการพัฒนาทักษะด้านภาษา จะต้องอิงจากพื้นฐานความรู้ ตรงจุดนี้ เป็นจุดเริ่มต้น โดยบางคนอาจจะไม่มีพื้นฐานเลย บางคนมีพื้นฐานอยู่บ้าง หรือบางคนที่เก่งกาจอยู่แล้ว อาจจะต้องการแค่สิ่งที่จะเข้าเติมเต็มเท่านั้น การเลือกเกมที่เหมาะสมกับพื้นฐานทางภาษาและความสามารถ จึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงเป็นอย่างแรกในการเลือกเกมมาเล่น แต่ถ้าถามว่า หากต้องการพัฒนา อย่างก้าวกระโดด ขอเลือกเกมที่ข้ามขั้นความสามารถไปเล่นเลยจะได้หรือไม่ ในความเห็นของผมนั้น คำตอบก็คือได้ แต่ว่าคุณจะพัฒนาได้มากแค่ไหน ก็อยู่ที่ความอดทนและความตั้งใจของคุณเอง เพราะการที่เราเลือกเกมที่เกินความสามารถ ข้ามขั้นพื้นฐานที่เรามีไป เปรียบเสมือนกำแพงที่สูงเกินกว่า จะกระโดดให้พ้นได้ง่ายๆ คุณจะรู้สึกงง ไม่เข้าใจ และยอมแพ้ไปได้อย่างง่ายดาย 

สิ่งที่สำคัญต่อมาเลยคือ การอำนวยความสะดวกของเกมนั้นๆ กล่าวคือ เกมพร้อมจะให้เราเรียนรู้ได้มากน้อยแค่ไหน มีฟังค์ชั่นหรือระบบต่างๆ เพื่อให้ เราเรียนรู้ได้อย่างสะดวกสบายหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ในฉากคัตซีนมีคำบรรยายให้ หรือไม่ แต่ละฉากสามารถกด Pause เพื่อจะไปหาความหมาย ของคำได้ไหม หรือบทสนทนาต่างๆ ของเกมมีการบันทึกให้กลับมาอ่านย้อนหลังได้มั้ยเป็นต้น ซึ่งเกมที่มีการอำนวยความสะดวกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ก็จะกลาย เป็นเกมที่เหมาะจะเป็นเกมสำหรับฝึกภาษาได้อย่างง่ายดาย ช่วยให้การเรียนรู้ของเราง่ายมากขึ้น ไม่ต้องมากลัวพะวงว่า ถ้าฉันพยายามแปลเนื้อหามากจนเกินไป แล้วจะสูญเสียอรรถรสในการเล่นเกมไป ยกตัวอย่างเกมที่มีการอำนวยความสะอวดได้เป็นอย่างดี นั้นคือเกม RPG อย่างเช่น Persona 5 นี่เป็นเกมที่เกื้อหนุนให้คนเล่นได้ฝึกฝนภาษาเป็นอย่างมาก เช่นมีความหลากหลายของการใช้ภาษา มีบันทึกบทสนทนาให้อ่านช้าๆ ได้อย่างชัดเจน ไม่ต้องรีบแปล งงตรงไหนก็สามารถกลับมาอ่านและทำความเข้าใจได้ตลอดเวลา เอาเข้าจริงเกมแนว RPG (หรือที่บ้านเราเคยชอบเรียกกันว่า "เกมภาษา") เป็นแนวเกมที่เหมาะกับการฝึกภาษามากๆ

สิ่งสำคัญสุดท้ายอีกอย่างที่ไม่ควรมองข้าม นั่นคือ 'ความสนุก' ยังไงเกมก็คือสิ่งที่ถูกสร้างมาเพื่อความสนุกสนานและความบันเทิงอยู่แล้ว ดังนั้นหากจะเลือกเกมจากแค่ 2 ข้อแรกก็อาจจะขาดความสนุกและความบันเทิงไปได้ ดังนั้น นอกจากเกมที่เหมาะกับพื้นฐานภาษา และง่ายต่อการเรียนรู้แล้ว เกมเกมนั้นก็ควรจะเป็นเกมที่ดีระดับนึงด้วย อย่างน้อยก็ทำให้เราสนุกในฐานะของเกมเกมนึงได้ หรือหากใครมีประเภทเกมที่ชอบอยู่แล้ว เช่น JRPG, Action-Open World, Horror ก็อาจจะลองมองหาเกมในประเภทนั้นๆ ก่อนก็ได้เช่นกัน



2. แนวทางการพัฒนาในแต่ละทักษะ (ลำดับ/ความสำคัญ)


ทักษะภาษาอังกฤษสามารถแบ่งอย่างง่ายได้ 4 อย่าง นั่นคือ ฟัง - พูด - อ่าน - เขียน ซึ่งหากจะใช้เกมมาเป็นตัวพัฒนาและสร้างสมทักษะแต่ละอัน ก็จำเป็นจะต้องใช้วิธีการเรียนรู้แตกต่างกันไปตามทักษะนั้นๆด้วยเช่นกัน โดยตัวผู้เขียนขอเสนอวิธีการพัฒนาแต่ละอันดังนี้

1. ทักษะการอ่าน - การอ่านถือเป็นทักษะที่สำคัญเป็นอย่างมาก และสามารถเรียนรู้ได้ง่าย การอ่านในที่นี้ไม่ใช่แค่สักว่าอ่านออก แต่ต้องแปลความหมายได้ เข้าใจบริบท และตีความสิ่งที่อ่านได้ด้วย  โดยวิธีการพัฒนาทักษะนี้ก็ไม่ยากเลยครับ เพียงแค่พยายามตะบี้ตะบันอ่านเข้าไป ทั้งบทสนทนา ทั้งกระดาษโน๊ตหรือ Lore ในเกมทั้งหลาย เราต้องพยายามอ่านและพยายามทำความเข้าใจ คำไหนไม่รู้ความหมายก็หาคำแปล บริบทไหนไม่เข้าใจ ก็ค่อยๆ คิดตาม ยิ่งอ่าน มากแค่ไหนเราก็จะยิ่งเก่งมากขึ้นเท่านั้น เทคนิคก็คือในช่วงแรก เราไม่จำเป็นต้องเข้าใจทุกคำพูด ทุกตัวอักษรก็ได้ แต่ถ้าเข้าใจบริบท เข้าใจว่าแต่ละตัวละครกำลังพูดถึงอะไรกันอยู่ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้วครึ่งหนึ่ง

2. ทักษะการฟัง - การฟังถือเป็นทักษะที่ไม่ได้เรียนรู้ได้ยากนัก แต่ต้องใช้เวลาและความพยายามมากขึ้นมาเล็กน้อย โดยหากเรามีพื้นฐานที่สามารถแปลภาษาอังกฤษได้ประมาณหนึ่ง จะทำให้เราเข้าใจการฟังได้ดีขึ้นด้วย โดยวิธีการพัฒนาการฟังอาจจะดูง่ายแต่จริงๆแล้วต้องใช้ความพยายามไม่น้อยเลย โดยเราแค่ต้องพยายามฟัง พยายามฟังทุกอย่างที่มันดังเข้ามาในหู โดยขอเน้นย้ำว่าต้อง'พยายาม'เท่านั้น หากเราแค่ปล่อยให้มันเพียงสำเนียงที่ผ่านหูไปอย่างนั้น ไม่ได้ตั้งใจจะฟังมันจริงๆ เราจะไม่สามารถพัฒนาทักษะนี้ได้เลย คุณต้องพยายามตั้งใจอย่างเต็มที่ พยายามแกะให้ออกว่าสิ่งที่ได้ยินนั้นคือคำว่าอะไรบ้าง โดยในช่วงแรก เป้าหมายคือฟังให้ออกว่าสิ่งที่ได้ยินคือคำว่าอะไร พยายามจับ Keyword ให้ได้ ตั้งใจฟัง ตั้งใจทำความเข้าใจไปเรื่อยๆ คุณต้องให้เวลา กับมันมากๆ และสุดท้าย เมื่อหูของคุณเคยชิน เมื่อทักษะได้พัฒนาขึ้น จุดนั้น คุณก็ไม่จำเป็นต้อง Focus มากนัก คุณก็สามารถเข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ 

3. ทักษะการพูด - การพูดและการเขียนที่จะกล่าวถึงในข้อถัดไป ถือเป็นทักษะที่อยู่ในระดับที่เรียนรู้ได้ยาก นั่นไม่ใช่เพราะว่ามันมีรายละเอียดมาก หรือเป็นทักษะที่เรียนรู้ยากแต่อย่างใด แต่จริงๆแล้ว ความยากของมันคือการฝึกฝนเสียมากกว่า  ซึ่งทักษะการพูดนั้น จริงๆแล้วมันจะไม่ใช่ทักษะที่ยากเลย ที่จะทำให้คล่องแคล้ว เพียงเราพยายามพูด พยายามสื่อสาร ยิ่งเมื่อเราจะได้พูดกับเจ้าของภาษา หรือคนที่รู้หลักภาษาด้วยแล้ว เราจะยิ่งพัฒนาได้เร็ว แต่ปัญหาหลักของเจ้าตัวทักษะนี้ คือคนไทยอย่างเราๆ จะหาช่องทางสำหรับฝึกฝนทักษะการพูดได้ยาก ไม่รู้จะพูดกับใคร แถมคนไทยส่วนใหญ่ยังมี Mindset ว่า ไม่กล้าพูด เพราะกลัวจะผิด กลัวจะปล่อยไก่ ตรงจุดนี้ยิ่งทำให้ทักษะนี้พัฒนาได้ยากยิ่งขึ้น แต่จากประสบการณ์ตัวของผู้เขียนที่ผ่านมา พบว่าเกมเมอร์ชาวไทยส่วนใหญ่ หากมีช่องให้พูดให้คุย ก็มักจะกล้าพูด กล้าสื่อสารกันทั้งนั้น  นี่นับเป็นเรื่องดีไม่น้อยเลยทีเดียว แต่ตัวผู้เขียนเองก็ยังเชื่อว่า ยังมีเกมเมอร์ชาวไทยอีก ไม่น้อยที่ยังไม่กล้าจะสื่อสาร ทั้งที่ตนเองก็พอจะมีพื้นฐานอยู่บ้าง ซึ่งจะอย่างไรเสีย หากอยากพัฒนาทักษะการพูด แต่ตัวเองกลับไม่กล้าจะพูดเสียเอง ทักษะนี้มันก็จะดีขึ้นได้อย่างไร

4. ทักษะการเขียน - จากที่เอ่ยถึงมาจากข้อก่อนหน้า เราจะพบว่าทักษะะการพูดนั้นพัฒนาได้ยาก อันเนื่องมาจากเราไม่รู้ว่าจะไปพัฒนาที่ใด  ไม่รู้จะหาช่องทางใดในการฝึกฝน ซึ่งก็เป็นทำนองเดียวกันกับทักษะการเขียน ในการที่จะเก่งการเขียน ไม่ว่าจะเขียนทางการหรือไม่ทางการก็ตาม เราจำเป็นจะต้องผ่าน การฝึกฝน ผ่านการทดลองเขียน และเมื่อเขียนเสร็จแล้ว ก็จำเป็นจะต้องมีคนตรวจทานให้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจการสะกด ตรวจหลักภาษา ตรวจใจความ เป็นต้น ซึ่งการจะหาคนพูดภาษาอังกฤษด้วยยากแล้ว การจะหาคนตรวจเนื้อความภาษาอังกฤษยากยิ่งกว่า ดังนั้นการฝึกฝนการเขียนจึงเป็นเรื่องที่ยาก ทั้งในทางการปฏิบัติและในทางการของการฝึกฝนด้วย ซึ่งเอาจริงๆ การเล่นเกมสามารถช่วยทักษะการเขียนของเราได้ แต่ก็คงได้แค่ในเชิงการสื่อสารง่ายๆ เท่านั้น อีกทั้งชาวเกมเมอร์ต่างๆ ก็คงไม่มีเวลามานั่งบอกเราว่า เราเขียนผิดอย่างไร ใช้ไวยากรณ์ผิดตรงไหนอยู่แล้ว 


3. วิธีปฏิบัติในการเล่น (ห้ามขี้เกียจ/ห้ามมั่ว/ห้ามหยุดพัฒนา)



1. ห้ามขี้เกียจ - ปัญหาหลักของเกมเมอร์ที่พยายามจะเก่งภาษาให้ได้ก็คือ ความขี้เกียจ จะมีเกมเมอร์ซักกี่คนกันที่ขยันอ่าน ขยันแปลทุกสิ่งภายในเกม แต่ตามจริงแล้ว เราไม่จำเป็นต้องพยายามอ่าน พยายามแปลไปซะทุกอย่างก็ได้ อาจจะเน้นแค่ใจความสำคัญ จำพวก Cutscene หรือ Note ที่สำคัญๆ หรือเนื้อหาของเควสหลักเป็นต้น ซึ่งแค่หากเราพยายามจะอ่านและแปลใจความสำคัญเหล่านี้ในเกม เราก็สามารถพัฒนาทักษะทางภาษาได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นว่าแปล ทุกอย่างในเกมก็ได้ แต่ก็มีเกมเมอร์จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ที่เลือกที่จะข้ามสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไป ซึ่งนอกจากจะทำให้เราพลาดเนื้อหาบางอย่างของเกมไปแล้ว เรายังจะไม่ได้พัฒนาทักษะทางภาษาของเราอีกด้วย เพราฉะนั้นหากอยากจะเก่งภาษาให้มากขึ้น ห้ามขี้เกียจเด็ดขาด 

2. ห้ามมั่ว - เกมมีหลากหลายแนวฉันใด ศัพท์ที่นำมาใช้ก็มีหลากหลายฉันนั้น ซึ่งในแต่ละเกมก็จะมีระดับการใช้ภาษาที่แตกต่างกัน บางเกมก็ใช้ภาษาทั่วไป ที่ง่ายๆ เข้าใจได้ไม่ยาก หรือบางเกมก็เลือกใช้ภาษาทางการ เน้นการใช้ไวยากรณ์ระดับงานเขียน หรือบางเกมก็เล่นใช้ราชาศัพท์ ศัพทโบราณต่างๆ มากมาย ซึ่งหากเกมใดใช้ภาษาง่ายๆ ที่เราคุ้นชินอยู่แล้วก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่เกมไหนที่ใช้ภาษาระดับยากๆ ที่เราแทบจะไม่เคยเห็นเลย มันก็สร้างความยากลำบาก ในการแปลและทำความเข้าใจได้ไม่น้อยเลย ซึ่งบางครั้งก็เจอเกิดอาการอยากจะมั่วไปซะเลย เห็นประโยคยาวๆ ศัพท์ยากๆ ก็ขอแปลแค่เฉพาะคำที่รู้และประติดประต่อกับสถานการณ์เอาเอง ซึ่งนี่เป็นทักษะด้นสดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในการใช้ภาษาต่างประเทศบ้าง แต่ถ้าหากมีการด้นสดมากจนเกินไป ก็ไม่เป็นผลดีนัก เพราะอาจจะทำให้ความเข้าใจบางอย่างของเราผิดเพี้ยนไปทีละน้อย จนสุดท้ายอาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดไปได้ในที่สุด ฉะนั้นการมั่วหรือการด้นสดในบางสถานการณ์ไม่ใช่สิ่งที่ผิดอะไร แต่หากมั่วบ่อยครั้งจนเกินไป ก็จะสร้างผลเสียให้แก่เราซะเอง  

3. ห้ามหยุดพัฒนา - อยากจะเตะฟุตบอลเก่งก็ต้องขยันเล่น อยากจะเรียนเก่งก็ต้องขยันเรียน และแน่นอนว่าอยากจะเก่งภาษาก็ต้องขยันฝึกฝน ซึ่งไม่ใช่แค่ว่าเราพอได้บ้างแล้ว เราพอมีความรู้แล้ว เราจะหยุดอยู่กับที่ได้ การจะเก่งขึ้นได้นั้นเราต้องขยันพัฒนาไปเรื่อยๆ ไม่ต้องคิดว่าแข่งขันกับใคร แค่แข่งขันกับตัวเองก็พอ ไม่ต้องพัฒนาอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดดก็ได้ ขอแค่พัฒนาเรื่อยๆ อย่าหยุดอยู่กับที่ก็พอ ขอให้ตัวเราในวันนี้รู้มากกว่าตัวเราเมื่อวาน และตัวเราวันพรุ่งนี้ต้องรู้มากกว่าตัวเราในวันนี้ และด้วยการไม่หยุดพัฒนาไปเรื่อยๆ นี่เอง จะทำให้เราเก่งกาจขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่ทันรู้ตัวเลยทีเดียว


4. แนะนำเกมสำหรับฝึกฝนภาษาอังกฤษ

หลังจากที่อ่านเนื้อหาด้านวิชาการกันมาครบถ้วนแล้ว ผู้อ่านก็น่าจะสามารถมองเห็นภาพมากขึ้นว่า การฝึกฝนภาษาด้วยเกมควรจะทำอย่างไร ซึ่งสำหรับหัวข้อสุดท้ายนี้ ผู้เขียนก็อยากจะแนะนำเกมทั้ง 5 ที่เหมาะสมและเล่นได้อย่างสนุกสนาน เพลิดเพลิน ซึ่งทั้ง 5 เกมนี้ เป็นเกมที่มีแนวที่กันชัดเจน ฉะนั้นใครชื่นชอบแบบไหนก็ลองหยิบไปเล่นกันได้ตามสะดวกเลยครับ

1. Persona 5 - นี่คือสุดยอด JRPG แห่งยุคอีก 1 เกม ที่ไม่ว่าคุณจะเป็นเกมเมอร์สายไหน ก็ไม่ควรพลาด การันตีด้วยจำนวนรางวัลและแฟนคลับ จำนวนมหาศาลทั่วโลก หากใครไม่เคยสัมผัสหรือรู้จักเกมนี้มาก่อน นี่คือเกม JRPG ที่มีระบบต่อสู้แบบ Turnbase อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เล่นสนุก และท้าทายอยู่เสมอ แถมด้วยระบบการใช้ชีวิตอย่างอิสระแบบเด็กนักเรียน ม.ปลายญี่ปุ่น ที่คุณจะทำอะไรก็ได้แล้วแต่ใจนึก พร้อมด้วยอาร์ตไสตล์ที่มีเสน่ห์ เพลงประกอบที่ยอดเยี่ยม ทั้งหมดช่วยเสริมให้ Persona 5 กลายเป็นเกมที่ยอดเยี่ยมมากๆ เกมหนึ่งเท่าที่ผู้เขียนเคยได้เล่นมา โดยภายในเกมจะมีการใช้ภาษาอังกฤษที่หลากหลายมาก ทั้งระดับภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาทางการ หรือแม้แต่ศัพท์แปลกๆ ก็มีมาให้เห็นอยู่เสมอ ซึ่งภายในเกมก็จะมีการบันทึกบทสนทนาต่างๆ ให้เราสามารถ เปิดดูย้อนหลัง แถมมีระบบหยุด ให้เราได้ค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ แปลได้อีกด้วย นี่คือเกมที่ทั้งดีและเหมาะกับการขัดเกลาภาษาเป็นอย่างมาก ดังนั้น ใครยังไม่เคยลอง ห้ามพลาดเด็ดขาดครับ
Platform : PS3, PS4, PS5




2. Fallout 3 - แนะนำเกม RPG จากฝั่งญี่ปุ่นไปแล้ว หากขาดเกม RPG จากฝั่งตะวันตกบ้างก็ คงจะขาดสีสันไปไม่น้อย ซึ่งหากพูดถึงเกม Western-RPG ที่อยู่ในใจผู้เขียน  Fallout 3 ก็คือเกมแรกที่ผุดขึ้นมาในหัวอย่างแน่นอน เพราะนี่คือเกมที่กวาดรางวัลในปี 2008 มามากมาย พร้อมกับคะแนนรีวิวบนเว็บไซต์ต่างๆที่สูงลิ่ว Fallout คือเป็นเกม RPG Open World บนโลกหลังสงครามนิวเคลียร์ ที่อบอวลไปด้วยเสน่ห์ของซี่รี่ส์นี้อยู่ตลอดทั้งเกม เราจะสามารถเลือกเส้นทางของเราเองได้อย่างอิสระ จะเป็นคนดีหรือคนชั่ว จะปฏิบัติต่อใครแบบไหนก็ตามแต่ใจผู้เล่น ทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าจะเอาชีวิตรอดบนโลกที่โหดร้ายนี้ได้อย่างไร ภายใน Fallout 3 จะเต็มไปด้วยศัพท์ภาษาอังกฤษ การพูดคุย การใช้คำที่ค่อนข้างหลากหลาย ศัพท์แสลงก็มีมาให้ได้ยินบ่อยครั้ง แต่อาจจะไม่เหมาะ กับมือใหม่ซักหน่อย เพราะเกมนี้จะไม่ได้มีช่วงให้หยุดได้อ่านทั้งหมด ซึ่งในบางจังหวะเราอาจจะต้องฟังให้ทัน อ่านให้ทันเองบ้าง ซึ่งใครที่พอจะมีพื้นฐานอยู่บ้าง Fallout 3 ก็ถือเป็นอีกเกมที่เหมาะมากๆ สำหรับการเล่นเอาสนุกและเล่นเอาทักษะภาษาอังกฤษไปควบคู่กัน (แน่นอนว่าถ้าอยากได้เกมที่ทันสมัยกว่า จะเลือกภาค 4 ที่วางจำหน่ายภายหลังก็ได้เช่นกัน)
Platform : PC, PS3, XBOX360 (ภาค 4 Platform: PC, PS4, Xbox One)




3. DORAEMON STORY OF SEASONS - เปลี่ยนบรรยากาศจากเกมสไตล์จริงจัง มาสู่เกมสไตล์สบายๆ กันบ้าง กับ Story of seasons ที่มาในธีมของการ์ตูนอมตะตลอดกาล อย่าง "โดราเอมอน" ที่ดูภายนอกอาจจะคิดว่าเกมมันดูตื้นเขิน เหมาะสำหรับเด็กซะมากกว่า และไม่น่าสนใจซักเท่าไหร่ แต่เอาจริงๆ แล้วนี่คือหนึ่งในเกมที่ใช้คำว่า Story of Seasons ที่ออกมาดีมากเกมนึงเลย ด้วยเนื้อเรื่องและอาร์ตสไตล์ที่ยกมาจากโดเรมอนแบบ 100% โดยถึงแม้เกมนี้จะมีเนื้อเรื่องแบบ Original เป็นของตัวเอง แต่ก็สามารถคงไว้ซึ่งเสน่ห์ของเรื่องราว ความรู้สึก และความสัมพันธ์ของตัวละครต่างๆ ในเรื่องที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันดีอยู่แล้วอย่าง โนบิตะ เจ้าเด็กแว่นจอมขี้เกียจ หรือโดราเอม่อน แมวสีฟ้าสุดเปิ่น รวมถึงเอกลักษณ์ของเรื่องอย่างพวกของวิเศษต่างๆ ก็มีมาให้เล่นกันอีกด้วย ไม่ใช่แค่พาร์ทของเนื้อเรื่องและบรรยากาศจะดีเพียงอย่างเดียว ส่วนของเกมการเล่นก็สนุกไม่น้อยเลย ไม่ว่าจะเป็นส่วนของการสำรวจเมือง ค้นหาความลับต่างๆ รวมถึงระบบทำฟาร์มปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ ที่ลุ่มลึกและเพลิดเพลินตามสไตล์ของ Story of Seasons ซึ่งภายในเกมก็จะเต็มไปด้วยบทสนทนา และคำศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เกี่ยวกับอาหาร เกี่ยวกับเทศกาลต่างๆ ที่เข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน รูปประโยคไม่ยาก ดังนั้น นี้เป็นอีกหนึ่งเกมที่เหมาะกับผู้เริ่มต้นฝึกฝนภาษาอังกฤษมากๆ รวมถึงถ้าใครไม่ไหวจริงๆ ก็สามารถปรับเป็บภาษาไทยเพื่อทำความเข้าใจได้อีกด้วย

 Platform : PC, PS4, Switch (ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนซื้อ บางเวอร์ชั่นไม่มีภาษาไทยนะครับ)





4. Yakuza: Like a Dragon - กลับมาที่เกมยอดเยี่ยมจากฝั่งญี่ปุ่นกันอีกครั้ง กับซี่รี่ส์ Yakuza ที่ยอดเยี่ยมและครองใจแฟนๆ มาอย่างยาวนาน ด้วยเนื้อเรื่องที่สนุก เข้มข้น ผสมกับความเพี้ยนหลุดโลก ทำให้ Yakuza กลายเป็นแฟรนไชส์ที่มีแฟนคลับเฝ้ารอกันอยู่ทั่วโลก ซึ่งในบทความนี้ภาคที่ผมจะมาแนะนำก็คือ Like a Dragon  ภาคใหม่ล่าสุด ลำดับที่ 7 ของซีรีส์ ที่มีเนื้อเรื่องแตกแขนงไปเป็นของตัวเอง ไม่เชื่อมโยงกับภาคไหน มีวิธีการดำเนินเนื้อเรื่องสไตล์ใหม่ๆ ทำให้ภาคนี้เป็นภาคเหมาะมาก สำหรับหน้าใหม่ที่สนใจเกมแฟรนไชต์นี้ โดยถ้าพูดถึงจุดเด่นของ Yakuza: Like a Dragon นอกจากเนื้อเรื่องที่ตื่นเต้น และน่าค้นหาแล้ว ยังมีระบบต่อสู้แบบ Turn-based สุดกาว ที่ผสมผสานความเป็น RPG สไตล์ผู้กล้าและปีศาจที่แสนจะแฟนตาซีให้เข้ากับสไตล์ของยากูซ่าและยุคสมัยใหม่ได้อย่างไม่น่าเชื่อ รวมถึงเหล่าเควสเสริมต่างๆ ของเกมที่สร้างความสดใหม่ให้กับการเล่นได้เป็นอย่างดี และแน่นอนว่าสำหรับการใช้เกมนี้ในการฝึกภาษาก็ไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน เพราะภายในเกมจะมีทั้งบทสนทนาแบบค่อยๆ อ่าน บทสนทนาแบบคัตซีนยาวๆ หรือแม้แต่บทพูดลอยๆ ที่ NPC จะพูดขึ้นมาตามบรรยากาศ รวมถึงเหล่าประโยคทั้งภาษาพูด-ภาษาเขียนต่างๆ มากมาย ถือได้ว่า Yakuza: Like a Dragon เป็นเกมที่มีการใช้ภาษาได้หลากหลายและเต็มไปด้วยคำศัพท์ต่างๆ ที่บางครั้งเราอาจจะหาฟังไม่ได้ง่ายๆ แต่ก็ต้องยอมรับว่า ผู้ที่ไม่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษเลยอาจจะไม่เหมาะกับเกมนี้ซักเท่าไหร่นัก
Platform : PC, PS4, PS5, XBOX One, XBOX SS|SX




5. Firewatch - ปิดท้ายด้วยเกมอินดี้ที่หลายคนมองข้าม ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าใครเป็นสายอินดี้ น่าจะเคยสัมผัสกับความสุดยอดของเกมเกมนี้กันมาบ้าง Firewatch คือเกม First Person Adventure ที่จะให้เรารับบทเป็นชายผู้เข้ามาเป็นนักระวังไฟป่า (Firewatch) ที่อุทยานแห่งชาติแห่งหนึ่ง ทำไมตัวเอกถึงต้องมาที่นี้? เขาจะต้องเผชิญกับอะไรในป่าใหญ่ที่ไม่คุ้นเคยบ้าง? รวมถึงเหตุการต่างๆ ที่ผู้ระวังไฟป่าจะต้องพบเจอจะเป็นอย่างไร? เนื้อเรื่องของเกมนี้สามารถถ่ายทอดได้ถึงอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความเหงา ความเศร้า ความผ่อนคลาย หรือแม้แต่ความรู้สึกถึงการหลุดพ้นจากอะไรบางอย่างได้อย่างไม่น่าเชื่อ ถึงแม้เกมเพลย์อาจจะไม่ได้มีอะไรมากมายนัก ส่วนใหญ่จะเป็นการเดินสำรวจไปตามจุดต่างๆ ตามแผนที่เสียเป็นส่วนใหญ่ แต่บรรยากาศและการเล่าเรื่องที่เกมเกนี้มอบให้กับผู้เล่น ก็ถือว่าคุ้มค่าแล้วที่ได้ลองเล่นด้วยตัวเอง ซึ่งใน Firewatch จะเต็มไปด้วยบทสนทนาที่เป็นธรรมชาติ คมคาย รวมถึงคำศัพท์ต่างๆ ที่ไม่ได้ยากไม่ได้ง่ายจนเกินไป อีกทั้งยังมีคำตอบต่างๆ ให้เลือกตอบตามบทสนทนาอีกด้วย ใครที่กำลังตามหาเกมเนื้อเรื่องดีกินใจ สื่อถึงอารมณ์ได้อย่างลุ่มลึก งานอาร์ตสวยงาม เล่นได้อย่างเพลิดเพลิน ห้ามพลาด Firewatch เด็ดขาดครับ
Platform : PC, PS4, XBOX One, Switch



จบไปแล้วนะครับสำหรับ How To เล่นเกมอย่างไรให้ได้ฝึกฝนทักษะทางภาษา ผู้เขียนหวังเพียงว่าผู้อ่านที่ได้อ่านบทความนี้จนจบ จะมีความไคร่รู้อยากจะฝึกฝนทักษะภาษาของตัวเองให้ดียิ่งๆขึ้นได้จากสิ่งที่เรารัก อย่างสิ่งที่เรียกว่า “เกม”  หากใครมีความคิดเห็นอย่างไรสามารถ Comment พูดคุยกันได้ครับ ขอบคุณครับ :)

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] เล่นเกมยังไงให้ได้ภาษา พร้อมแนะนำเกมที่เหมาะใช้ฝึก!
27/11/2021

หนึ่งประโยชน์ที่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาจากการเล่นเกม นั่นคือการฝึกฝนภาษาต่างประเทศ  แต่พอเอาเข้าจริงแล้ว.... ไม่ใช่ทุกคนซะทีเดียว ที่สามารถพัฒนาทักษะทางด้านภาษาของตนเองจาก การเล่นเกมได้ นั่นอาจเป็นเพราะ ความรู้พื้นฐานของตัวผู้เล่นเอง ความพร้อมในการเรียนรู้ หรือแม้แต่วิธีการเล่นเกมที่ ไม่ถูกต้อง ทำให้การซึบซับเอาทักษะทางภาษาต่างๆ เป็นไปได้อย่างยากลำบาก ดังนั้น ในบทความนี้ ผู้เขียนขอนำเสนอวิธีการเล่นเกมอย่างถูกต้วง รวมถึง Mind set ในการเล่นเกม ที่จะทำให้การเล่นเกมของผู้อ่านทุกคน สามารถพัฒนาทักษะทางภาษาได้อย่างแท้จริง และในช่วงท้าย ผู้เขียนได้มีการหยิบยกเกมดีๆ ที่น่าหามาเล่นเพื่อฝึกฝนภาษาอังกฤษอีกด้วย

1. เกมที่เลือกเล่น


การเลือกเกมที่จะใช้ในการพัฒนาทักษะทางภาษานั้น ก็คงเปรียบได้กับ การเลือกหนังสือที่จะใช้อ่านประกอบการเรียน หรือการเลือกติวเตอร์ที่ยอดเยี่ย ก่อนการสอบครั้งสำคัญ ซึ่งหากเลือกผิด เลือกไม่เหมาะสม ย่อมมีผลต่อการเรียนหรือการสอบอย่างแน่นอน ฉะนั้นการเลือกอย่างพิถีพิถัน จึงสำคัญเป็นอย่างยิ่ง แต่สำหรับการเลือกเกมเพื่อฝึกภาษา อาจไม่จำเป็นต้องพิจารณาให้ลึกซึ้งถึงเพียงนั้น...  

สิ่งแรกที่ควรพิจารณาเบื้องต้นเหนือสิ่งอื่นใดเลยคือ พื้นฐานด้านภาษาของตนเอง เราต้องตอบตนเองให้ได้เสียก่อนว่าเรามีความรู้ความเข้าใจ หรือมีพื้นฐานด้านภาษามากน้อยเพียงใด อ่านออกมั้ย แปลและตีความได้แค่ไหน นี่คือก้าวแรกที่สำคัญมาก เพราะการพัฒนาทักษะด้านภาษา จะต้องอิงจากพื้นฐานความรู้ ตรงจุดนี้ เป็นจุดเริ่มต้น โดยบางคนอาจจะไม่มีพื้นฐานเลย บางคนมีพื้นฐานอยู่บ้าง หรือบางคนที่เก่งกาจอยู่แล้ว อาจจะต้องการแค่สิ่งที่จะเข้าเติมเต็มเท่านั้น การเลือกเกมที่เหมาะสมกับพื้นฐานทางภาษาและความสามารถ จึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงเป็นอย่างแรกในการเลือกเกมมาเล่น แต่ถ้าถามว่า หากต้องการพัฒนา อย่างก้าวกระโดด ขอเลือกเกมที่ข้ามขั้นความสามารถไปเล่นเลยจะได้หรือไม่ ในความเห็นของผมนั้น คำตอบก็คือได้ แต่ว่าคุณจะพัฒนาได้มากแค่ไหน ก็อยู่ที่ความอดทนและความตั้งใจของคุณเอง เพราะการที่เราเลือกเกมที่เกินความสามารถ ข้ามขั้นพื้นฐานที่เรามีไป เปรียบเสมือนกำแพงที่สูงเกินกว่า จะกระโดดให้พ้นได้ง่ายๆ คุณจะรู้สึกงง ไม่เข้าใจ และยอมแพ้ไปได้อย่างง่ายดาย 

สิ่งที่สำคัญต่อมาเลยคือ การอำนวยความสะดวกของเกมนั้นๆ กล่าวคือ เกมพร้อมจะให้เราเรียนรู้ได้มากน้อยแค่ไหน มีฟังค์ชั่นหรือระบบต่างๆ เพื่อให้ เราเรียนรู้ได้อย่างสะดวกสบายหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ในฉากคัตซีนมีคำบรรยายให้ หรือไม่ แต่ละฉากสามารถกด Pause เพื่อจะไปหาความหมาย ของคำได้ไหม หรือบทสนทนาต่างๆ ของเกมมีการบันทึกให้กลับมาอ่านย้อนหลังได้มั้ยเป็นต้น ซึ่งเกมที่มีการอำนวยความสะดวกสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ก็จะกลาย เป็นเกมที่เหมาะจะเป็นเกมสำหรับฝึกภาษาได้อย่างง่ายดาย ช่วยให้การเรียนรู้ของเราง่ายมากขึ้น ไม่ต้องมากลัวพะวงว่า ถ้าฉันพยายามแปลเนื้อหามากจนเกินไป แล้วจะสูญเสียอรรถรสในการเล่นเกมไป ยกตัวอย่างเกมที่มีการอำนวยความสะอวดได้เป็นอย่างดี นั้นคือเกม RPG อย่างเช่น Persona 5 นี่เป็นเกมที่เกื้อหนุนให้คนเล่นได้ฝึกฝนภาษาเป็นอย่างมาก เช่นมีความหลากหลายของการใช้ภาษา มีบันทึกบทสนทนาให้อ่านช้าๆ ได้อย่างชัดเจน ไม่ต้องรีบแปล งงตรงไหนก็สามารถกลับมาอ่านและทำความเข้าใจได้ตลอดเวลา เอาเข้าจริงเกมแนว RPG (หรือที่บ้านเราเคยชอบเรียกกันว่า "เกมภาษา") เป็นแนวเกมที่เหมาะกับการฝึกภาษามากๆ

สิ่งสำคัญสุดท้ายอีกอย่างที่ไม่ควรมองข้าม นั่นคือ 'ความสนุก' ยังไงเกมก็คือสิ่งที่ถูกสร้างมาเพื่อความสนุกสนานและความบันเทิงอยู่แล้ว ดังนั้นหากจะเลือกเกมจากแค่ 2 ข้อแรกก็อาจจะขาดความสนุกและความบันเทิงไปได้ ดังนั้น นอกจากเกมที่เหมาะกับพื้นฐานภาษา และง่ายต่อการเรียนรู้แล้ว เกมเกมนั้นก็ควรจะเป็นเกมที่ดีระดับนึงด้วย อย่างน้อยก็ทำให้เราสนุกในฐานะของเกมเกมนึงได้ หรือหากใครมีประเภทเกมที่ชอบอยู่แล้ว เช่น JRPG, Action-Open World, Horror ก็อาจจะลองมองหาเกมในประเภทนั้นๆ ก่อนก็ได้เช่นกัน



2. แนวทางการพัฒนาในแต่ละทักษะ (ลำดับ/ความสำคัญ)


ทักษะภาษาอังกฤษสามารถแบ่งอย่างง่ายได้ 4 อย่าง นั่นคือ ฟัง - พูด - อ่าน - เขียน ซึ่งหากจะใช้เกมมาเป็นตัวพัฒนาและสร้างสมทักษะแต่ละอัน ก็จำเป็นจะต้องใช้วิธีการเรียนรู้แตกต่างกันไปตามทักษะนั้นๆด้วยเช่นกัน โดยตัวผู้เขียนขอเสนอวิธีการพัฒนาแต่ละอันดังนี้

1. ทักษะการอ่าน - การอ่านถือเป็นทักษะที่สำคัญเป็นอย่างมาก และสามารถเรียนรู้ได้ง่าย การอ่านในที่นี้ไม่ใช่แค่สักว่าอ่านออก แต่ต้องแปลความหมายได้ เข้าใจบริบท และตีความสิ่งที่อ่านได้ด้วย  โดยวิธีการพัฒนาทักษะนี้ก็ไม่ยากเลยครับ เพียงแค่พยายามตะบี้ตะบันอ่านเข้าไป ทั้งบทสนทนา ทั้งกระดาษโน๊ตหรือ Lore ในเกมทั้งหลาย เราต้องพยายามอ่านและพยายามทำความเข้าใจ คำไหนไม่รู้ความหมายก็หาคำแปล บริบทไหนไม่เข้าใจ ก็ค่อยๆ คิดตาม ยิ่งอ่าน มากแค่ไหนเราก็จะยิ่งเก่งมากขึ้นเท่านั้น เทคนิคก็คือในช่วงแรก เราไม่จำเป็นต้องเข้าใจทุกคำพูด ทุกตัวอักษรก็ได้ แต่ถ้าเข้าใจบริบท เข้าใจว่าแต่ละตัวละครกำลังพูดถึงอะไรกันอยู่ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้วครึ่งหนึ่ง

2. ทักษะการฟัง - การฟังถือเป็นทักษะที่ไม่ได้เรียนรู้ได้ยากนัก แต่ต้องใช้เวลาและความพยายามมากขึ้นมาเล็กน้อย โดยหากเรามีพื้นฐานที่สามารถแปลภาษาอังกฤษได้ประมาณหนึ่ง จะทำให้เราเข้าใจการฟังได้ดีขึ้นด้วย โดยวิธีการพัฒนาการฟังอาจจะดูง่ายแต่จริงๆแล้วต้องใช้ความพยายามไม่น้อยเลย โดยเราแค่ต้องพยายามฟัง พยายามฟังทุกอย่างที่มันดังเข้ามาในหู โดยขอเน้นย้ำว่าต้อง'พยายาม'เท่านั้น หากเราแค่ปล่อยให้มันเพียงสำเนียงที่ผ่านหูไปอย่างนั้น ไม่ได้ตั้งใจจะฟังมันจริงๆ เราจะไม่สามารถพัฒนาทักษะนี้ได้เลย คุณต้องพยายามตั้งใจอย่างเต็มที่ พยายามแกะให้ออกว่าสิ่งที่ได้ยินนั้นคือคำว่าอะไรบ้าง โดยในช่วงแรก เป้าหมายคือฟังให้ออกว่าสิ่งที่ได้ยินคือคำว่าอะไร พยายามจับ Keyword ให้ได้ ตั้งใจฟัง ตั้งใจทำความเข้าใจไปเรื่อยๆ คุณต้องให้เวลา กับมันมากๆ และสุดท้าย เมื่อหูของคุณเคยชิน เมื่อทักษะได้พัฒนาขึ้น จุดนั้น คุณก็ไม่จำเป็นต้อง Focus มากนัก คุณก็สามารถเข้าใจสิ่งที่ได้ยินได้ 

3. ทักษะการพูด - การพูดและการเขียนที่จะกล่าวถึงในข้อถัดไป ถือเป็นทักษะที่อยู่ในระดับที่เรียนรู้ได้ยาก นั่นไม่ใช่เพราะว่ามันมีรายละเอียดมาก หรือเป็นทักษะที่เรียนรู้ยากแต่อย่างใด แต่จริงๆแล้ว ความยากของมันคือการฝึกฝนเสียมากกว่า  ซึ่งทักษะการพูดนั้น จริงๆแล้วมันจะไม่ใช่ทักษะที่ยากเลย ที่จะทำให้คล่องแคล้ว เพียงเราพยายามพูด พยายามสื่อสาร ยิ่งเมื่อเราจะได้พูดกับเจ้าของภาษา หรือคนที่รู้หลักภาษาด้วยแล้ว เราจะยิ่งพัฒนาได้เร็ว แต่ปัญหาหลักของเจ้าตัวทักษะนี้ คือคนไทยอย่างเราๆ จะหาช่องทางสำหรับฝึกฝนทักษะการพูดได้ยาก ไม่รู้จะพูดกับใคร แถมคนไทยส่วนใหญ่ยังมี Mindset ว่า ไม่กล้าพูด เพราะกลัวจะผิด กลัวจะปล่อยไก่ ตรงจุดนี้ยิ่งทำให้ทักษะนี้พัฒนาได้ยากยิ่งขึ้น แต่จากประสบการณ์ตัวของผู้เขียนที่ผ่านมา พบว่าเกมเมอร์ชาวไทยส่วนใหญ่ หากมีช่องให้พูดให้คุย ก็มักจะกล้าพูด กล้าสื่อสารกันทั้งนั้น  นี่นับเป็นเรื่องดีไม่น้อยเลยทีเดียว แต่ตัวผู้เขียนเองก็ยังเชื่อว่า ยังมีเกมเมอร์ชาวไทยอีก ไม่น้อยที่ยังไม่กล้าจะสื่อสาร ทั้งที่ตนเองก็พอจะมีพื้นฐานอยู่บ้าง ซึ่งจะอย่างไรเสีย หากอยากพัฒนาทักษะการพูด แต่ตัวเองกลับไม่กล้าจะพูดเสียเอง ทักษะนี้มันก็จะดีขึ้นได้อย่างไร

4. ทักษะการเขียน - จากที่เอ่ยถึงมาจากข้อก่อนหน้า เราจะพบว่าทักษะะการพูดนั้นพัฒนาได้ยาก อันเนื่องมาจากเราไม่รู้ว่าจะไปพัฒนาที่ใด  ไม่รู้จะหาช่องทางใดในการฝึกฝน ซึ่งก็เป็นทำนองเดียวกันกับทักษะการเขียน ในการที่จะเก่งการเขียน ไม่ว่าจะเขียนทางการหรือไม่ทางการก็ตาม เราจำเป็นจะต้องผ่าน การฝึกฝน ผ่านการทดลองเขียน และเมื่อเขียนเสร็จแล้ว ก็จำเป็นจะต้องมีคนตรวจทานให้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจการสะกด ตรวจหลักภาษา ตรวจใจความ เป็นต้น ซึ่งการจะหาคนพูดภาษาอังกฤษด้วยยากแล้ว การจะหาคนตรวจเนื้อความภาษาอังกฤษยากยิ่งกว่า ดังนั้นการฝึกฝนการเขียนจึงเป็นเรื่องที่ยาก ทั้งในทางการปฏิบัติและในทางการของการฝึกฝนด้วย ซึ่งเอาจริงๆ การเล่นเกมสามารถช่วยทักษะการเขียนของเราได้ แต่ก็คงได้แค่ในเชิงการสื่อสารง่ายๆ เท่านั้น อีกทั้งชาวเกมเมอร์ต่างๆ ก็คงไม่มีเวลามานั่งบอกเราว่า เราเขียนผิดอย่างไร ใช้ไวยากรณ์ผิดตรงไหนอยู่แล้ว 


3. วิธีปฏิบัติในการเล่น (ห้ามขี้เกียจ/ห้ามมั่ว/ห้ามหยุดพัฒนา)



1. ห้ามขี้เกียจ - ปัญหาหลักของเกมเมอร์ที่พยายามจะเก่งภาษาให้ได้ก็คือ ความขี้เกียจ จะมีเกมเมอร์ซักกี่คนกันที่ขยันอ่าน ขยันแปลทุกสิ่งภายในเกม แต่ตามจริงแล้ว เราไม่จำเป็นต้องพยายามอ่าน พยายามแปลไปซะทุกอย่างก็ได้ อาจจะเน้นแค่ใจความสำคัญ จำพวก Cutscene หรือ Note ที่สำคัญๆ หรือเนื้อหาของเควสหลักเป็นต้น ซึ่งแค่หากเราพยายามจะอ่านและแปลใจความสำคัญเหล่านี้ในเกม เราก็สามารถพัฒนาทักษะทางภาษาได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องถึงขั้นว่าแปล ทุกอย่างในเกมก็ได้ แต่ก็มีเกมเมอร์จำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว ที่เลือกที่จะข้ามสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไป ซึ่งนอกจากจะทำให้เราพลาดเนื้อหาบางอย่างของเกมไปแล้ว เรายังจะไม่ได้พัฒนาทักษะทางภาษาของเราอีกด้วย เพราฉะนั้นหากอยากจะเก่งภาษาให้มากขึ้น ห้ามขี้เกียจเด็ดขาด 

2. ห้ามมั่ว - เกมมีหลากหลายแนวฉันใด ศัพท์ที่นำมาใช้ก็มีหลากหลายฉันนั้น ซึ่งในแต่ละเกมก็จะมีระดับการใช้ภาษาที่แตกต่างกัน บางเกมก็ใช้ภาษาทั่วไป ที่ง่ายๆ เข้าใจได้ไม่ยาก หรือบางเกมก็เลือกใช้ภาษาทางการ เน้นการใช้ไวยากรณ์ระดับงานเขียน หรือบางเกมก็เล่นใช้ราชาศัพท์ ศัพทโบราณต่างๆ มากมาย ซึ่งหากเกมใดใช้ภาษาง่ายๆ ที่เราคุ้นชินอยู่แล้วก็คงไม่มีปัญหาอะไร แต่เกมไหนที่ใช้ภาษาระดับยากๆ ที่เราแทบจะไม่เคยเห็นเลย มันก็สร้างความยากลำบาก ในการแปลและทำความเข้าใจได้ไม่น้อยเลย ซึ่งบางครั้งก็เจอเกิดอาการอยากจะมั่วไปซะเลย เห็นประโยคยาวๆ ศัพท์ยากๆ ก็ขอแปลแค่เฉพาะคำที่รู้และประติดประต่อกับสถานการณ์เอาเอง ซึ่งนี่เป็นทักษะด้นสดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในการใช้ภาษาต่างประเทศบ้าง แต่ถ้าหากมีการด้นสดมากจนเกินไป ก็ไม่เป็นผลดีนัก เพราะอาจจะทำให้ความเข้าใจบางอย่างของเราผิดเพี้ยนไปทีละน้อย จนสุดท้ายอาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดไปได้ในที่สุด ฉะนั้นการมั่วหรือการด้นสดในบางสถานการณ์ไม่ใช่สิ่งที่ผิดอะไร แต่หากมั่วบ่อยครั้งจนเกินไป ก็จะสร้างผลเสียให้แก่เราซะเอง  

3. ห้ามหยุดพัฒนา - อยากจะเตะฟุตบอลเก่งก็ต้องขยันเล่น อยากจะเรียนเก่งก็ต้องขยันเรียน และแน่นอนว่าอยากจะเก่งภาษาก็ต้องขยันฝึกฝน ซึ่งไม่ใช่แค่ว่าเราพอได้บ้างแล้ว เราพอมีความรู้แล้ว เราจะหยุดอยู่กับที่ได้ การจะเก่งขึ้นได้นั้นเราต้องขยันพัฒนาไปเรื่อยๆ ไม่ต้องคิดว่าแข่งขันกับใคร แค่แข่งขันกับตัวเองก็พอ ไม่ต้องพัฒนาอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดดก็ได้ ขอแค่พัฒนาเรื่อยๆ อย่าหยุดอยู่กับที่ก็พอ ขอให้ตัวเราในวันนี้รู้มากกว่าตัวเราเมื่อวาน และตัวเราวันพรุ่งนี้ต้องรู้มากกว่าตัวเราในวันนี้ และด้วยการไม่หยุดพัฒนาไปเรื่อยๆ นี่เอง จะทำให้เราเก่งกาจขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่ทันรู้ตัวเลยทีเดียว


4. แนะนำเกมสำหรับฝึกฝนภาษาอังกฤษ

หลังจากที่อ่านเนื้อหาด้านวิชาการกันมาครบถ้วนแล้ว ผู้อ่านก็น่าจะสามารถมองเห็นภาพมากขึ้นว่า การฝึกฝนภาษาด้วยเกมควรจะทำอย่างไร ซึ่งสำหรับหัวข้อสุดท้ายนี้ ผู้เขียนก็อยากจะแนะนำเกมทั้ง 5 ที่เหมาะสมและเล่นได้อย่างสนุกสนาน เพลิดเพลิน ซึ่งทั้ง 5 เกมนี้ เป็นเกมที่มีแนวที่กันชัดเจน ฉะนั้นใครชื่นชอบแบบไหนก็ลองหยิบไปเล่นกันได้ตามสะดวกเลยครับ

1. Persona 5 - นี่คือสุดยอด JRPG แห่งยุคอีก 1 เกม ที่ไม่ว่าคุณจะเป็นเกมเมอร์สายไหน ก็ไม่ควรพลาด การันตีด้วยจำนวนรางวัลและแฟนคลับ จำนวนมหาศาลทั่วโลก หากใครไม่เคยสัมผัสหรือรู้จักเกมนี้มาก่อน นี่คือเกม JRPG ที่มีระบบต่อสู้แบบ Turnbase อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เล่นสนุก และท้าทายอยู่เสมอ แถมด้วยระบบการใช้ชีวิตอย่างอิสระแบบเด็กนักเรียน ม.ปลายญี่ปุ่น ที่คุณจะทำอะไรก็ได้แล้วแต่ใจนึก พร้อมด้วยอาร์ตไสตล์ที่มีเสน่ห์ เพลงประกอบที่ยอดเยี่ยม ทั้งหมดช่วยเสริมให้ Persona 5 กลายเป็นเกมที่ยอดเยี่ยมมากๆ เกมหนึ่งเท่าที่ผู้เขียนเคยได้เล่นมา โดยภายในเกมจะมีการใช้ภาษาอังกฤษที่หลากหลายมาก ทั้งระดับภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาทางการ หรือแม้แต่ศัพท์แปลกๆ ก็มีมาให้เห็นอยู่เสมอ ซึ่งภายในเกมก็จะมีการบันทึกบทสนทนาต่างๆ ให้เราสามารถ เปิดดูย้อนหลัง แถมมีระบบหยุด ให้เราได้ค่อยๆ อ่าน ค่อยๆ แปลได้อีกด้วย นี่คือเกมที่ทั้งดีและเหมาะกับการขัดเกลาภาษาเป็นอย่างมาก ดังนั้น ใครยังไม่เคยลอง ห้ามพลาดเด็ดขาดครับ
Platform : PS3, PS4, PS5




2. Fallout 3 - แนะนำเกม RPG จากฝั่งญี่ปุ่นไปแล้ว หากขาดเกม RPG จากฝั่งตะวันตกบ้างก็ คงจะขาดสีสันไปไม่น้อย ซึ่งหากพูดถึงเกม Western-RPG ที่อยู่ในใจผู้เขียน  Fallout 3 ก็คือเกมแรกที่ผุดขึ้นมาในหัวอย่างแน่นอน เพราะนี่คือเกมที่กวาดรางวัลในปี 2008 มามากมาย พร้อมกับคะแนนรีวิวบนเว็บไซต์ต่างๆที่สูงลิ่ว Fallout คือเป็นเกม RPG Open World บนโลกหลังสงครามนิวเคลียร์ ที่อบอวลไปด้วยเสน่ห์ของซี่รี่ส์นี้อยู่ตลอดทั้งเกม เราจะสามารถเลือกเส้นทางของเราเองได้อย่างอิสระ จะเป็นคนดีหรือคนชั่ว จะปฏิบัติต่อใครแบบไหนก็ตามแต่ใจผู้เล่น ทุกอย่างจะขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าจะเอาชีวิตรอดบนโลกที่โหดร้ายนี้ได้อย่างไร ภายใน Fallout 3 จะเต็มไปด้วยศัพท์ภาษาอังกฤษ การพูดคุย การใช้คำที่ค่อนข้างหลากหลาย ศัพท์แสลงก็มีมาให้ได้ยินบ่อยครั้ง แต่อาจจะไม่เหมาะ กับมือใหม่ซักหน่อย เพราะเกมนี้จะไม่ได้มีช่วงให้หยุดได้อ่านทั้งหมด ซึ่งในบางจังหวะเราอาจจะต้องฟังให้ทัน อ่านให้ทันเองบ้าง ซึ่งใครที่พอจะมีพื้นฐานอยู่บ้าง Fallout 3 ก็ถือเป็นอีกเกมที่เหมาะมากๆ สำหรับการเล่นเอาสนุกและเล่นเอาทักษะภาษาอังกฤษไปควบคู่กัน (แน่นอนว่าถ้าอยากได้เกมที่ทันสมัยกว่า จะเลือกภาค 4 ที่วางจำหน่ายภายหลังก็ได้เช่นกัน)
Platform : PC, PS3, XBOX360 (ภาค 4 Platform: PC, PS4, Xbox One)




3. DORAEMON STORY OF SEASONS - เปลี่ยนบรรยากาศจากเกมสไตล์จริงจัง มาสู่เกมสไตล์สบายๆ กันบ้าง กับ Story of seasons ที่มาในธีมของการ์ตูนอมตะตลอดกาล อย่าง "โดราเอมอน" ที่ดูภายนอกอาจจะคิดว่าเกมมันดูตื้นเขิน เหมาะสำหรับเด็กซะมากกว่า และไม่น่าสนใจซักเท่าไหร่ แต่เอาจริงๆ แล้วนี่คือหนึ่งในเกมที่ใช้คำว่า Story of Seasons ที่ออกมาดีมากเกมนึงเลย ด้วยเนื้อเรื่องและอาร์ตสไตล์ที่ยกมาจากโดเรมอนแบบ 100% โดยถึงแม้เกมนี้จะมีเนื้อเรื่องแบบ Original เป็นของตัวเอง แต่ก็สามารถคงไว้ซึ่งเสน่ห์ของเรื่องราว ความรู้สึก และความสัมพันธ์ของตัวละครต่างๆ ในเรื่องที่เราคุ้นหน้าคุ้นตากันดีอยู่แล้วอย่าง โนบิตะ เจ้าเด็กแว่นจอมขี้เกียจ หรือโดราเอม่อน แมวสีฟ้าสุดเปิ่น รวมถึงเอกลักษณ์ของเรื่องอย่างพวกของวิเศษต่างๆ ก็มีมาให้เล่นกันอีกด้วย ไม่ใช่แค่พาร์ทของเนื้อเรื่องและบรรยากาศจะดีเพียงอย่างเดียว ส่วนของเกมการเล่นก็สนุกไม่น้อยเลย ไม่ว่าจะเป็นส่วนของการสำรวจเมือง ค้นหาความลับต่างๆ รวมถึงระบบทำฟาร์มปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ ที่ลุ่มลึกและเพลิดเพลินตามสไตล์ของ Story of Seasons ซึ่งภายในเกมก็จะเต็มไปด้วยบทสนทนา และคำศัพท์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เกี่ยวกับอาหาร เกี่ยวกับเทศกาลต่างๆ ที่เข้าใจได้ง่าย ไม่ซับซ้อน รูปประโยคไม่ยาก ดังนั้น นี้เป็นอีกหนึ่งเกมที่เหมาะกับผู้เริ่มต้นฝึกฝนภาษาอังกฤษมากๆ รวมถึงถ้าใครไม่ไหวจริงๆ ก็สามารถปรับเป็บภาษาไทยเพื่อทำความเข้าใจได้อีกด้วย

 Platform : PC, PS4, Switch (ศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนซื้อ บางเวอร์ชั่นไม่มีภาษาไทยนะครับ)





4. Yakuza: Like a Dragon - กลับมาที่เกมยอดเยี่ยมจากฝั่งญี่ปุ่นกันอีกครั้ง กับซี่รี่ส์ Yakuza ที่ยอดเยี่ยมและครองใจแฟนๆ มาอย่างยาวนาน ด้วยเนื้อเรื่องที่สนุก เข้มข้น ผสมกับความเพี้ยนหลุดโลก ทำให้ Yakuza กลายเป็นแฟรนไชส์ที่มีแฟนคลับเฝ้ารอกันอยู่ทั่วโลก ซึ่งในบทความนี้ภาคที่ผมจะมาแนะนำก็คือ Like a Dragon  ภาคใหม่ล่าสุด ลำดับที่ 7 ของซีรีส์ ที่มีเนื้อเรื่องแตกแขนงไปเป็นของตัวเอง ไม่เชื่อมโยงกับภาคไหน มีวิธีการดำเนินเนื้อเรื่องสไตล์ใหม่ๆ ทำให้ภาคนี้เป็นภาคเหมาะมาก สำหรับหน้าใหม่ที่สนใจเกมแฟรนไชต์นี้ โดยถ้าพูดถึงจุดเด่นของ Yakuza: Like a Dragon นอกจากเนื้อเรื่องที่ตื่นเต้น และน่าค้นหาแล้ว ยังมีระบบต่อสู้แบบ Turn-based สุดกาว ที่ผสมผสานความเป็น RPG สไตล์ผู้กล้าและปีศาจที่แสนจะแฟนตาซีให้เข้ากับสไตล์ของยากูซ่าและยุคสมัยใหม่ได้อย่างไม่น่าเชื่อ รวมถึงเหล่าเควสเสริมต่างๆ ของเกมที่สร้างความสดใหม่ให้กับการเล่นได้เป็นอย่างดี และแน่นอนว่าสำหรับการใช้เกมนี้ในการฝึกภาษาก็ไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน เพราะภายในเกมจะมีทั้งบทสนทนาแบบค่อยๆ อ่าน บทสนทนาแบบคัตซีนยาวๆ หรือแม้แต่บทพูดลอยๆ ที่ NPC จะพูดขึ้นมาตามบรรยากาศ รวมถึงเหล่าประโยคทั้งภาษาพูด-ภาษาเขียนต่างๆ มากมาย ถือได้ว่า Yakuza: Like a Dragon เป็นเกมที่มีการใช้ภาษาได้หลากหลายและเต็มไปด้วยคำศัพท์ต่างๆ ที่บางครั้งเราอาจจะหาฟังไม่ได้ง่ายๆ แต่ก็ต้องยอมรับว่า ผู้ที่ไม่มีพื้นฐานภาษาอังกฤษเลยอาจจะไม่เหมาะกับเกมนี้ซักเท่าไหร่นัก
Platform : PC, PS4, PS5, XBOX One, XBOX SS|SX




5. Firewatch - ปิดท้ายด้วยเกมอินดี้ที่หลายคนมองข้าม ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าใครเป็นสายอินดี้ น่าจะเคยสัมผัสกับความสุดยอดของเกมเกมนี้กันมาบ้าง Firewatch คือเกม First Person Adventure ที่จะให้เรารับบทเป็นชายผู้เข้ามาเป็นนักระวังไฟป่า (Firewatch) ที่อุทยานแห่งชาติแห่งหนึ่ง ทำไมตัวเอกถึงต้องมาที่นี้? เขาจะต้องเผชิญกับอะไรในป่าใหญ่ที่ไม่คุ้นเคยบ้าง? รวมถึงเหตุการต่างๆ ที่ผู้ระวังไฟป่าจะต้องพบเจอจะเป็นอย่างไร? เนื้อเรื่องของเกมนี้สามารถถ่ายทอดได้ถึงอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความเหงา ความเศร้า ความผ่อนคลาย หรือแม้แต่ความรู้สึกถึงการหลุดพ้นจากอะไรบางอย่างได้อย่างไม่น่าเชื่อ ถึงแม้เกมเพลย์อาจจะไม่ได้มีอะไรมากมายนัก ส่วนใหญ่จะเป็นการเดินสำรวจไปตามจุดต่างๆ ตามแผนที่เสียเป็นส่วนใหญ่ แต่บรรยากาศและการเล่าเรื่องที่เกมเกนี้มอบให้กับผู้เล่น ก็ถือว่าคุ้มค่าแล้วที่ได้ลองเล่นด้วยตัวเอง ซึ่งใน Firewatch จะเต็มไปด้วยบทสนทนาที่เป็นธรรมชาติ คมคาย รวมถึงคำศัพท์ต่างๆ ที่ไม่ได้ยากไม่ได้ง่ายจนเกินไป อีกทั้งยังมีคำตอบต่างๆ ให้เลือกตอบตามบทสนทนาอีกด้วย ใครที่กำลังตามหาเกมเนื้อเรื่องดีกินใจ สื่อถึงอารมณ์ได้อย่างลุ่มลึก งานอาร์ตสวยงาม เล่นได้อย่างเพลิดเพลิน ห้ามพลาด Firewatch เด็ดขาดครับ
Platform : PC, PS4, XBOX One, Switch



จบไปแล้วนะครับสำหรับ How To เล่นเกมอย่างไรให้ได้ฝึกฝนทักษะทางภาษา ผู้เขียนหวังเพียงว่าผู้อ่านที่ได้อ่านบทความนี้จนจบ จะมีความไคร่รู้อยากจะฝึกฝนทักษะภาษาของตัวเองให้ดียิ่งๆขึ้นได้จากสิ่งที่เรารัก อย่างสิ่งที่เรียกว่า “เกม”  หากใครมีความคิดเห็นอย่างไรสามารถ Comment พูดคุยกันได้ครับ ขอบคุณครับ :)

บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header