GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] ส่องประวัติซีรีส์ Gran Turismo กับการขับเคลื่อนวงการ "คนรักรถ" ด้วยวิดีโอเกม
ลงวันที่ 18/03/2022

25 ปี แห่งการเดินทางสุดแสนยาวนาน ของซีรีส์เกมกึ่งจำลองการขับขี่ (simcade) ระดับเอกอุของอุตสาหกรรมวิดีโอเกมอย่าง Gran Turismo ด้วยการกลับมาในภาคที่ 7 ของตระกูล ซึ่งอัดแน่นด้วยความหลงใหลในอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างลึกซึ้งและเปี่ยมล้น ของผู้พัฒนาดั้งเดิมตั้งแต่ภาคแรกจนถึงปัจจุบัน Polyphony Digital ส่งต่อมาถึงผู้เล่นที่ทั้งขึ้นชื่อว่าเป็นคนรักรถตัวกลั่น รวมถึงผู้ที่ริเริ่มสนใจใคร่รู้ พร้อมเปิดใจรับและเฝ้าดู "วัฒนธรรมยานยนต์" (car culture) จากอดีตจนถึงปัจจุบัน


เพียงแค่วิดีโอเปิดตัวก็สัมผัสได้ถึงความคลั่งไคล้ในวัฒนธรรมยานยนต์ของทีม Polyphony Digital 

หาใช่แค่ Gran Turismo เพียงเท่านั้น อีกหนึ่งซีรีส์เกมคู่แข่งตลอดกาลอย่าง Forza Motorsport และรวมถึงวิดีโอเกมซีรีส์อื่นในแนวใกล้เคียงกัน อย่าง iRacing, Assetto Corsa, Project Cars, rFactor และ Automobilista เป็นต้น (ที่ใช้คำว่า “แนวใกล้เคียง” เพราะบรรดาเกมดังกล่าวมีความจำลองที่หนักข้อกว่า เป็นเกม simulation เต็มตัว) ก็ปฏิบัติกับผู้เล่นไม่ต่างกัน เมื่อวิดีโอเกมเป็นมากกว่าวิดีโอเกม กับการช่วยขับเคลื่อนวงการยานยนต์ นำเสนอนวัตกรรมผู้พลิกโฉมหน้าของโลกไปตลอดกาล ให้ผู้คนได้สัมผัสกันอย่างถ้วนหน้า

หากกล่าวถึง Gran Turismo ตั้งแต่ยุคริเริ่ม ในช่วงนั้นมีเกมกึ่งจำลองการขับขี่ยานยนต์จำนวนหนึ่ง แต่สิ่งที่ทำให้ Gran Turismo โดดเด่นกว่าเกมอื่น คือการสร้างบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยรายละเอียดของวัฒนธรรมยานยนต์ ความจริงจังในการปรับแต่งยานยนต์ นำเสนอข้อมูลของยานยนต์แก่ผู้เล่นรูปแบบวิทยาทาน ไปจนถึงให้ผู้เล่นได้สวมบทบาทการเป็นนักแข่งจริง ในการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ซื้อรถ เลือกทัวร์แข่ง และอีกสิ่งที่กลายเป็นเอกลักษณ์ของซีรีส์ คือการสอบใบขับขี่อันทรหด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นแนวทางที่ Gran Turismo ยังคงสานต่อจนถึงปัจจุบัน

หน้าปกวิดีโอเกม Gran Turismo ภาคแรก

สำหรับคนรักรถ มันคือสรวงสวรรค์ ที่ให้พวกเขาได้ดื่มด่ำดำดิ่งไปกับโลกของยานยนต์ที่รักในรูปแบบดิจิทัล ส่วนผู้ที่ริเริ่มสนใจใคร่รู้ในวัฒนธรรมดังกล่าว มันเปรียบเป็นหน้าต่างบานแรกที่พร้อมเปิดรับพวกเขา ก้าวสู่ดินแดนแห่งความเร็วอันมุ่งหน้าด้วยเครื่องยนต์แรงอาชาไนยอย่างไม่รอรี พร้อมต่อยอดไปสายเกมจำลองแบบเต็มตัว รวมถึงการสานต่อความหลงใหลสู่การแข่งขันในชีวิตจริง

จนถึงช่วง Gran Turismo 4 มีคู่แข่งตลอดกาลปรากฏกาย Forza Motorsport ซึ่งดูท่าจะประกาศตัวเป็นคู่แข่งอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่เป็นเกมแนวกึ่งจำลองการขับขี่เช่นเดียวกัน แล้วเลือกตั้งชื่อเกมยั่วล้อกันเอง “Forza” เป็นคำในภาษาอิตาลี แปลว่า สู้เขา, เข้มแข็งไว้ ส่วน “Gran Turismo” เป็นคำในภาษาอิตาลีเช่นกัน มาจากคำว่า Grand Tourer เป็นหนึ่งในประเภทของสปอร์ตคาร์ ออกแบบมาเพื่อการขับขี่ระยะไกลและมีความเร็วสูง

การมีคู่แข่งในตลาดย่อมเป็นผลดีต่อผู้บริโภคเสมอ เป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่เราทุกคนล้วนทราบดี Gran Turismo และ Forza Motorsport ต่างแข่งขันอย่างไม่ลดละ ส่งผลให้มาตรฐานของเกมกึ่งจำลองการขับขี่ถูกผลักดันให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งทำให้วิดีโอเกมแนวขับขี่ยานยนต์สร้างแรงดึงดูดต่อผู้อยู่นอกวงโคจรวัฒนธรรมยานยนต์ได้มากกว่าเก่า

หน้าปกวิดีโอเกม Forza Motorsport ภาคแรก

ไม่ใช่แค่เราที่คิดแบบนี้ เราไม่ได้อยู่ในภาวะห้องเสียงสะท้อน (echo chamber) คิดเองเออเองว่าวิดีโอเกมแนวยานยนต์ได้เข้ามาขับเคลื่อนวงการยานยนต์ โดยเหล่าบรรดาผู้ผลิตยานยนต์ทั้งหลายก็คิดเช่นเดียวกัน เพราะมีการประสานงานและให้ความช่วยเหลือระหว่างผู้พัฒนาเกมกับผู้ผลิตยานยนต์จนเป็นกิจวัตร เพื่อให้บรรดารถยนต์ที่ปรากฏในแต่ละเกมมีความเที่ยงตรงกับของจริงมากที่สุด สร้างภาพจำที่ดี (halo effect) ให้กับผู้เล่น และอาจทำให้ผู้เล่นเทใจเป็นผู้คลั่งไคล้ในแบรนด์นั้น ๆ จนพัฒนาไปถึงการเลือกซื้อรถแบรนด์นี้ในชีวิตจริงเลยทีเดียว

อย่างเช่น การร่วมมือระหว่างบริษัท Ford Performance และ Bayerische Motoren Werke AG (BMW) กับ Turn 10 Studios ผู้พัฒนา Forza Motorsport เพราะพวกเขาต่างเล็งเห็นว่าเกมเป็นทรัพย์สินอันล้ำค่า ใช้ในการเชื่อมโยงพวกเขากับผู้บริโภคได้อย่างแนบเนียนและมีประสิทธิภาพที่สุด ยิ่งกว่าสื่อชนิดอื่นหลายเท่าตัว เนื่องจากผู้เล่นจะได้สัมผัสยานยนต์แบรนด์ของพวกเขาจริง ๆ ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ว่ารถคันนั้นจะแพง จะแดง จะแรงสักเพียงใด ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเล่นล้วนสร้างทัศนะต่อแบรนด์โดยตรง ถึงขั้นมีการนำรถต้นแบบและรถคอนเซปต์มาใส่ในเกม เพื่อให้ผู้เล่นได้ลองสัมผัสด้วยตัวเอง อย่างที่ไม่อาจทำได้ในชีวิตจริง

ยิ่งไปกว่านั้น ยังเคยมีการจัดแข่ง eSports ของเกม Gran Turismo รายการ Nissan GT Academy เป็นรายการจากการร่วมมือระหว่าง PlayStation กับ Nissan ที่มอบโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้ผู้ชนะรายการนี้ ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนานักแข่ง (Driver Development Programme) เพื่อเข้าสู่เส้นทางนักแข่งอาชีพในชีวิตจริง ภายใต้สังกัดทีมนิสโม (NISMO หรือที่เรียกเต็ม ๆ ว่า Nissan Motorsports International)

บันทึกการแข่งขัน Nissan GT Academy ปี 2014 กลุ่มนานาชาติที่ประเทศไทยสังกัด

การแข่งแบ่งเป็น 4 รอบ ช่วงแรกคือการคัดเลือกนักแข่งประจำท้องถิ่น 20 คน ผ่านการแข่งขันทางออนไลน์ด้วยระบบ PSN หรือผ่านทางออฟไลน์ในเวทีพิเศษที่ NISSAN จัดขึ้น ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจะได้เข้าไปแข่งรอบที่สอง เป็นรอบการคัดเลือกตัวแทนของประเทศ โดยใช้การแข่งรถจริง เพื่อคัด 6 คนสุดท้าย มุ่งสู่รอบที่สาม แข่งขันเฟ้นหาผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียวในกลุ่มการแข่งขันเดียวกัน โดยต้องเผชิญหน้ากับตัวแทนประเทศอื่น ๆ ที่ Nissan GT Academy Race Camp สนามซิลเวอร์สโตน ประเทศอังกฤษ ผู้ชนะจากรอบนี้จะได้เข้าสู่รอบสี่ คือเข้าอบรมโครงการพัฒนานักแข่ง เพื่อเข้าสู่วงการนักแข่งมืออาชีพต่อไป

โดยบางปีจะมีการแก้ไขรายชื่อประเทศสังกัดในบางกลุ่มการแข่งขัน อย่างเช่นของปี 2014 ประเทศไทยอยู่กลุ่มนานาชาติ ร่วมกับประเทศ เม็กซิโก, ออสเตรเลีย, อินเดีย, ตะวันออกกลาง ส่วนปี 2015 ประเทศไทยถูกย้ายไปกลุ่มเอเชีย ร่วมกับประเทศญี่ปุ่น, อินเดีย, ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

บันทึกการแข่งขัน Nissan GT Academy ปี 2015 กลุ่มเอเชียที่ประเทศไทยสังกัด

แต่อย่างไรก็ดี รายการ Nissan GT Academy เงียบหายไปตั้งแต่จบการแข่งขัน GT Academy ปี 2016 จนปัจจุบัน ซึ่งยังไม่ทราบชะตากรรมของรายการว่าจะได้กลับมาจัดอีกหรือไม่ เพราะเกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงพันธมิตรของทีม RJN Motorsport (ทีมที่ควบคุมโปรแกรมพัฒนานักแข่ง ตลอดจนเส้นทางอาชีพนักแข่งในอนาคต สำหรับผู้ชนะรายการ GT Academy) จาก Nissan ไปเป็น Honda 

มีนักแข่งหลายท่านที่เข้าสู่เส้นทางนักแข่งมืออาชีพ โดยใช้รายการนี้เป็นใบเบิกทาง ยกตัวอย่างเช่น คุณ ฐนโรจน์ ธนาสิทธิ์นิธิเกตุ, คุณ ริคาร์โด ซานเชซ, คุณ ยานน์ มาร์เด็นโบโรห์ และ คุณ ลูคัส ออร์โดเนซ เป็นต้น เรียกได้ว่า รายการ Nissan GT Academy ได้สร้างนักแข่งหน้าใหม่เข้าวงการ โดยใช้แนวคิดสุดแหวก ไม่มีใครคาดว่ามันจะได้ผล กับการสร้างเกมเมอร์ให้กลายเป็นนักแข่งมืออาชีพ พลิกชีวิตผู้ชนะให้ไขว่คว้าฝันอันยิ่งใหญ่ เปลี่ยนฝันที่ไม่กล้าฝัน ให้กลายเป็นจริง

เราจึงมั่นใจกับคำกล่าวว่า “วิดีโอเกมแนวขับขี่ยานยนต์เป็นมากกว่าวิดีโอเกมไปเสียแล้ว” เพราะมันได้เข้ามารวมกันเป็นเนื้อเดียวกันกับอุตสาหกรรมยานยนต์ เข้าไปมีบทบาทในอุตสาหกรรมยานยนต์ทุกระดับ ตั้งแต่สร้างแรงบันดาลใจ ดึงดูดผู้เล่นเข้าสู่วัฒนธรรมยานยนต์ จนถึงการร่วมมือกับผู้ผลิตยานยนต์จริง ๆ ในการพัฒนาเกม และสร้างกิจกรรมมอบโอกาส เพื่อผลิตบุคลากร ช่วยขับเคลื่อนวงการไปข้างหน้า ทุกองคาพยพ อย่างไม่หยุดยั้ง

คุณ ยานน์ มาร์เด็นโบโรห์ แชมป์ Nissan GT Academy ปี 2011 กลุ่มยุโรป 


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] ส่องประวัติซีรีส์ Gran Turismo กับการขับเคลื่อนวงการ "คนรักรถ" ด้วยวิดีโอเกม
18/03/2022

25 ปี แห่งการเดินทางสุดแสนยาวนาน ของซีรีส์เกมกึ่งจำลองการขับขี่ (simcade) ระดับเอกอุของอุตสาหกรรมวิดีโอเกมอย่าง Gran Turismo ด้วยการกลับมาในภาคที่ 7 ของตระกูล ซึ่งอัดแน่นด้วยความหลงใหลในอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างลึกซึ้งและเปี่ยมล้น ของผู้พัฒนาดั้งเดิมตั้งแต่ภาคแรกจนถึงปัจจุบัน Polyphony Digital ส่งต่อมาถึงผู้เล่นที่ทั้งขึ้นชื่อว่าเป็นคนรักรถตัวกลั่น รวมถึงผู้ที่ริเริ่มสนใจใคร่รู้ พร้อมเปิดใจรับและเฝ้าดู "วัฒนธรรมยานยนต์" (car culture) จากอดีตจนถึงปัจจุบัน


เพียงแค่วิดีโอเปิดตัวก็สัมผัสได้ถึงความคลั่งไคล้ในวัฒนธรรมยานยนต์ของทีม Polyphony Digital 

หาใช่แค่ Gran Turismo เพียงเท่านั้น อีกหนึ่งซีรีส์เกมคู่แข่งตลอดกาลอย่าง Forza Motorsport และรวมถึงวิดีโอเกมซีรีส์อื่นในแนวใกล้เคียงกัน อย่าง iRacing, Assetto Corsa, Project Cars, rFactor และ Automobilista เป็นต้น (ที่ใช้คำว่า “แนวใกล้เคียง” เพราะบรรดาเกมดังกล่าวมีความจำลองที่หนักข้อกว่า เป็นเกม simulation เต็มตัว) ก็ปฏิบัติกับผู้เล่นไม่ต่างกัน เมื่อวิดีโอเกมเป็นมากกว่าวิดีโอเกม กับการช่วยขับเคลื่อนวงการยานยนต์ นำเสนอนวัตกรรมผู้พลิกโฉมหน้าของโลกไปตลอดกาล ให้ผู้คนได้สัมผัสกันอย่างถ้วนหน้า

หากกล่าวถึง Gran Turismo ตั้งแต่ยุคริเริ่ม ในช่วงนั้นมีเกมกึ่งจำลองการขับขี่ยานยนต์จำนวนหนึ่ง แต่สิ่งที่ทำให้ Gran Turismo โดดเด่นกว่าเกมอื่น คือการสร้างบรรยากาศที่อบอวลไปด้วยรายละเอียดของวัฒนธรรมยานยนต์ ความจริงจังในการปรับแต่งยานยนต์ นำเสนอข้อมูลของยานยนต์แก่ผู้เล่นรูปแบบวิทยาทาน ไปจนถึงให้ผู้เล่นได้สวมบทบาทการเป็นนักแข่งจริง ในการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ซื้อรถ เลือกทัวร์แข่ง และอีกสิ่งที่กลายเป็นเอกลักษณ์ของซีรีส์ คือการสอบใบขับขี่อันทรหด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นแนวทางที่ Gran Turismo ยังคงสานต่อจนถึงปัจจุบัน

หน้าปกวิดีโอเกม Gran Turismo ภาคแรก

สำหรับคนรักรถ มันคือสรวงสวรรค์ ที่ให้พวกเขาได้ดื่มด่ำดำดิ่งไปกับโลกของยานยนต์ที่รักในรูปแบบดิจิทัล ส่วนผู้ที่ริเริ่มสนใจใคร่รู้ในวัฒนธรรมดังกล่าว มันเปรียบเป็นหน้าต่างบานแรกที่พร้อมเปิดรับพวกเขา ก้าวสู่ดินแดนแห่งความเร็วอันมุ่งหน้าด้วยเครื่องยนต์แรงอาชาไนยอย่างไม่รอรี พร้อมต่อยอดไปสายเกมจำลองแบบเต็มตัว รวมถึงการสานต่อความหลงใหลสู่การแข่งขันในชีวิตจริง

จนถึงช่วง Gran Turismo 4 มีคู่แข่งตลอดกาลปรากฏกาย Forza Motorsport ซึ่งดูท่าจะประกาศตัวเป็นคู่แข่งอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่เป็นเกมแนวกึ่งจำลองการขับขี่เช่นเดียวกัน แล้วเลือกตั้งชื่อเกมยั่วล้อกันเอง “Forza” เป็นคำในภาษาอิตาลี แปลว่า สู้เขา, เข้มแข็งไว้ ส่วน “Gran Turismo” เป็นคำในภาษาอิตาลีเช่นกัน มาจากคำว่า Grand Tourer เป็นหนึ่งในประเภทของสปอร์ตคาร์ ออกแบบมาเพื่อการขับขี่ระยะไกลและมีความเร็วสูง

การมีคู่แข่งในตลาดย่อมเป็นผลดีต่อผู้บริโภคเสมอ เป็นเรื่องธรรมดาสามัญที่เราทุกคนล้วนทราบดี Gran Turismo และ Forza Motorsport ต่างแข่งขันอย่างไม่ลดละ ส่งผลให้มาตรฐานของเกมกึ่งจำลองการขับขี่ถูกผลักดันให้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งทำให้วิดีโอเกมแนวขับขี่ยานยนต์สร้างแรงดึงดูดต่อผู้อยู่นอกวงโคจรวัฒนธรรมยานยนต์ได้มากกว่าเก่า

หน้าปกวิดีโอเกม Forza Motorsport ภาคแรก

ไม่ใช่แค่เราที่คิดแบบนี้ เราไม่ได้อยู่ในภาวะห้องเสียงสะท้อน (echo chamber) คิดเองเออเองว่าวิดีโอเกมแนวยานยนต์ได้เข้ามาขับเคลื่อนวงการยานยนต์ โดยเหล่าบรรดาผู้ผลิตยานยนต์ทั้งหลายก็คิดเช่นเดียวกัน เพราะมีการประสานงานและให้ความช่วยเหลือระหว่างผู้พัฒนาเกมกับผู้ผลิตยานยนต์จนเป็นกิจวัตร เพื่อให้บรรดารถยนต์ที่ปรากฏในแต่ละเกมมีความเที่ยงตรงกับของจริงมากที่สุด สร้างภาพจำที่ดี (halo effect) ให้กับผู้เล่น และอาจทำให้ผู้เล่นเทใจเป็นผู้คลั่งไคล้ในแบรนด์นั้น ๆ จนพัฒนาไปถึงการเลือกซื้อรถแบรนด์นี้ในชีวิตจริงเลยทีเดียว

อย่างเช่น การร่วมมือระหว่างบริษัท Ford Performance และ Bayerische Motoren Werke AG (BMW) กับ Turn 10 Studios ผู้พัฒนา Forza Motorsport เพราะพวกเขาต่างเล็งเห็นว่าเกมเป็นทรัพย์สินอันล้ำค่า ใช้ในการเชื่อมโยงพวกเขากับผู้บริโภคได้อย่างแนบเนียนและมีประสิทธิภาพที่สุด ยิ่งกว่าสื่อชนิดอื่นหลายเท่าตัว เนื่องจากผู้เล่นจะได้สัมผัสยานยนต์แบรนด์ของพวกเขาจริง ๆ ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ว่ารถคันนั้นจะแพง จะแดง จะแรงสักเพียงใด ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเล่นล้วนสร้างทัศนะต่อแบรนด์โดยตรง ถึงขั้นมีการนำรถต้นแบบและรถคอนเซปต์มาใส่ในเกม เพื่อให้ผู้เล่นได้ลองสัมผัสด้วยตัวเอง อย่างที่ไม่อาจทำได้ในชีวิตจริง

ยิ่งไปกว่านั้น ยังเคยมีการจัดแข่ง eSports ของเกม Gran Turismo รายการ Nissan GT Academy เป็นรายการจากการร่วมมือระหว่าง PlayStation กับ Nissan ที่มอบโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้ผู้ชนะรายการนี้ ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนานักแข่ง (Driver Development Programme) เพื่อเข้าสู่เส้นทางนักแข่งอาชีพในชีวิตจริง ภายใต้สังกัดทีมนิสโม (NISMO หรือที่เรียกเต็ม ๆ ว่า Nissan Motorsports International)

บันทึกการแข่งขัน Nissan GT Academy ปี 2014 กลุ่มนานาชาติที่ประเทศไทยสังกัด

การแข่งแบ่งเป็น 4 รอบ ช่วงแรกคือการคัดเลือกนักแข่งประจำท้องถิ่น 20 คน ผ่านการแข่งขันทางออนไลน์ด้วยระบบ PSN หรือผ่านทางออฟไลน์ในเวทีพิเศษที่ NISSAN จัดขึ้น ผู้ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจะได้เข้าไปแข่งรอบที่สอง เป็นรอบการคัดเลือกตัวแทนของประเทศ โดยใช้การแข่งรถจริง เพื่อคัด 6 คนสุดท้าย มุ่งสู่รอบที่สาม แข่งขันเฟ้นหาผู้ชนะเพียงหนึ่งเดียวในกลุ่มการแข่งขันเดียวกัน โดยต้องเผชิญหน้ากับตัวแทนประเทศอื่น ๆ ที่ Nissan GT Academy Race Camp สนามซิลเวอร์สโตน ประเทศอังกฤษ ผู้ชนะจากรอบนี้จะได้เข้าสู่รอบสี่ คือเข้าอบรมโครงการพัฒนานักแข่ง เพื่อเข้าสู่วงการนักแข่งมืออาชีพต่อไป

โดยบางปีจะมีการแก้ไขรายชื่อประเทศสังกัดในบางกลุ่มการแข่งขัน อย่างเช่นของปี 2014 ประเทศไทยอยู่กลุ่มนานาชาติ ร่วมกับประเทศ เม็กซิโก, ออสเตรเลีย, อินเดีย, ตะวันออกกลาง ส่วนปี 2015 ประเทศไทยถูกย้ายไปกลุ่มเอเชีย ร่วมกับประเทศญี่ปุ่น, อินเดีย, ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย

บันทึกการแข่งขัน Nissan GT Academy ปี 2015 กลุ่มเอเชียที่ประเทศไทยสังกัด

แต่อย่างไรก็ดี รายการ Nissan GT Academy เงียบหายไปตั้งแต่จบการแข่งขัน GT Academy ปี 2016 จนปัจจุบัน ซึ่งยังไม่ทราบชะตากรรมของรายการว่าจะได้กลับมาจัดอีกหรือไม่ เพราะเกิดปัญหาการเปลี่ยนแปลงพันธมิตรของทีม RJN Motorsport (ทีมที่ควบคุมโปรแกรมพัฒนานักแข่ง ตลอดจนเส้นทางอาชีพนักแข่งในอนาคต สำหรับผู้ชนะรายการ GT Academy) จาก Nissan ไปเป็น Honda 

มีนักแข่งหลายท่านที่เข้าสู่เส้นทางนักแข่งมืออาชีพ โดยใช้รายการนี้เป็นใบเบิกทาง ยกตัวอย่างเช่น คุณ ฐนโรจน์ ธนาสิทธิ์นิธิเกตุ, คุณ ริคาร์โด ซานเชซ, คุณ ยานน์ มาร์เด็นโบโรห์ และ คุณ ลูคัส ออร์โดเนซ เป็นต้น เรียกได้ว่า รายการ Nissan GT Academy ได้สร้างนักแข่งหน้าใหม่เข้าวงการ โดยใช้แนวคิดสุดแหวก ไม่มีใครคาดว่ามันจะได้ผล กับการสร้างเกมเมอร์ให้กลายเป็นนักแข่งมืออาชีพ พลิกชีวิตผู้ชนะให้ไขว่คว้าฝันอันยิ่งใหญ่ เปลี่ยนฝันที่ไม่กล้าฝัน ให้กลายเป็นจริง

เราจึงมั่นใจกับคำกล่าวว่า “วิดีโอเกมแนวขับขี่ยานยนต์เป็นมากกว่าวิดีโอเกมไปเสียแล้ว” เพราะมันได้เข้ามารวมกันเป็นเนื้อเดียวกันกับอุตสาหกรรมยานยนต์ เข้าไปมีบทบาทในอุตสาหกรรมยานยนต์ทุกระดับ ตั้งแต่สร้างแรงบันดาลใจ ดึงดูดผู้เล่นเข้าสู่วัฒนธรรมยานยนต์ จนถึงการร่วมมือกับผู้ผลิตยานยนต์จริง ๆ ในการพัฒนาเกม และสร้างกิจกรรมมอบโอกาส เพื่อผลิตบุคลากร ช่วยขับเคลื่อนวงการไปข้างหน้า ทุกองคาพยพ อย่างไม่หยุดยั้ง

คุณ ยานน์ มาร์เด็นโบโรห์ แชมป์ Nissan GT Academy ปี 2011 กลุ่มยุโรป 


แหล่งข้อมูลอ้างอิง:


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header