GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
[บทความ] Far Cry 6 กับการปฏิวัติคิวบาเขย่าหน้าประวัติศาสตร์ของฟิเดล คาสโตร
ลงวันที่ 15/11/2021

เป็นเรื่องปกติสำหรับเกมของ Ubisoft กับการนำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาใช้ในวิดีโอเกมของตนเอง ไม่ว่าจะใช้แบบตรงไปตรงมาอย่างเกมชุด Assassin's Creed หรือการใช้ในทำนองดัดแปลงบางส่วนอย่างเกมชุด Far Cry โดยเฉพาะในภาคหลังๆ สำหรับ Far Cry 5 ที่นำเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อันมิอาจถูกลืมของสาธุคุณ จิม โจนส์ กับลัทธิสุดคลั่ง 

จนถึงปัจจุบัน Far Cry เดินทางมาถึงภาค 6 ซึ่งไม่ว่าพิเคราะห์อย่างไร เรารู้ทันทีว่าเรื่องราวของกลุ่มปฏิวัติในเกาะแถบแคริบเบียน, การต่อสู้ด้วยยุทธวิธีกองโจร และการรวมกลุ่มหลายขบวนการเพื่อต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหารจอมคอร์รัปชัน ทุกปัจจัยล้วนมุ่งตรงไปยังเรื่องราวของประเทศเดียวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

และนี้คือเรื่องราวที่เป็นต้นแบบของ Far Cry 6 การปฏิวัติแห่งสาธารณรัฐคิวบาเพื่อล้มล้างรัฐบาลขี้ฉ้อของฟุลเฮนซิโอ บาติสตา โดยขบวนการปฏิวัติ “26 กรกฎาคม” ภายใต้การนำทัพของบุรุษนาม 

ฟิเดล คาสโตร


จุดเริ่มต้น: การแทรกแซงของสหรัฐอเมริกา

จุดกำเนิดรัฐบาลของนายฟุลเฮนซิโอ บาติสตา เป็นผลพวงมาจากการครอบงำและแทรกแซงของประเทศสหรัฐอเมริกา ย้อนไปในช่วงหลังจากจบสงครามสเเปนิช-อเมริกัน อำนาจในการควบคุมคิวบาถูกส่งต่อไปยังสหรัฐจากเดิมที่เป็นของประเทศสเปน สหรัฐได้เขียนรัฐธรรมนูญโดยมีบทบัญญัติอันลือชื่อซึ่งเรียกว่า “Platt Amendment” เพื่อครอบงำและแทรกแซงคิวบาโดยเฉพาะ มีเนื้อหาโดยสังเขปกำหนดโดยนัยไว้ว่าคิวบาต้องยอมให้สหรัฐแทรกแซงอำนาจอธิปไตย “โดยไม่มีเงื่อนไข” เพื่อประโยชน์แก่การรักษาเอกราชของคิวบาเอง (ทำท่าไขว้นิ้ว) 

ผลจากรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว คิวบาก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐอย่างเป็นทางการภายใต้การปกครองของรัฐบาลชุดแรกที่มีนายโทมาส เอสตราดา พัลม่า เป็นประธานาธิบดี โดยการปกครองของรัฐบาลชุดนี้ เศรษฐกิจคิวบาดีขึ้นอย่างทันตาเห็น เพราะได้อานิสงส์จากสนธิสัญญาการค้าน้ำตาลระหว่างสหรัฐ โดยสหรัฐเป็นผู้ผูกขาดการซื้อขายน้ำตาจากคิวบาเพียงเจ้าเดียว

(โทมาส เอสตราดา พัลม่า)

อนาคตดูสดใสสำหรับรัฐบาลของนายโทมาส แต่ต่อมาเกิดความไม่เสถียรภาพในการปกครอง ถึงแม้ว่าจะชนะการเลือกตั้งในปี 1905 จากการที่รัฐบาลของตนถูกขั้วอำนาจตรงข้ามกล่าวหาว่ารัฐบาลของเขาโกงการเลือกตั้งและฉ้อเงินบำนาญ อีกกระทั่งเขาไม่สามารถปฏิรูปรัฐบาลเพื่อลดแรงเสียดทานทางการเมืองได้ ความวุ่นวายลุกลามจนเกิดการจลาจลไปทั่ว นายโทมาสจึงร้องขอความช่วยเหลือไปยังสหรัฐให้ลงมาควบคุมสถานการณ์ 

โดยช่วงแรกทางสหรัฐส่งคนมาเจรจา แต่การเจรจาไม่เป็นผล จึงใช้ไม้แข็งโดยการแต่งตั้งนายวิลเลียม โฮเวิร์ด ทาฟท์ ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการสงครามแห่งสหรัฐอเมริกา (ต่อมาเปลี่ยนเป็นกระทรวงกลาโหม) ให้เป็นผู้สำเร็จราชการของคิวบา เป็นคำสั่งที่ส่งตรงมาจากประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา “นายธีโอดอร์ รูสเวลต์” ซึ่งให้นายวิลเลียมปกครองสาธารณรัฐคิวบาจนกว่าการเมืองภายในประเทศเกิดเสถียรภาพ

(วิลเลียม โฮเวิร์ด ทาฟท์)

(ธีโอดอร์ รูสเวลต์)

เมื่อความวุ่นวายเริ่มคลี่คลาย ในปี 1909 ทางสหรัฐยุติปกครองคิวบาโดยนายวิลเลียม และมีการถอนกำลังทางทหารทั้งหมดในปีเดียวกัน 

คิวบากลับไปสู่การปกครองจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอีกครั้ง โดยมีรัฐบาลรวมทั้งสิ้นสามชุด แต่ก็เหมือนการฉายภาพซ้ำ เกิดปัญหาในระหว่างปกครองและก็มีการแทรกแซงจากสหรัฐเช่นเคย ไม่ว่าจะเป็น

  • ปัญหาทางการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติและศาสนาในช่วงรัฐบาลของนายโจเซ มิเกล โกเมส จนเกิดเหตุการณ์นองเลือดขั้นรุนแรง 
  • ปัญหาการฉ้อโกง, ปัญหาการใช้ความรุนแรง และโกงการเลือกตั้งในช่วงรัฐบาลของนายมาริโอ การ์เซีย เมโนกัล 
  • ปัญหาทางการเงินในช่วงรัฐบาลของนายอัลเฟรโด้ ซายาส เย อัลฟอนโซ โดยต้องทำเรื่องกู้เงินจากสหรัฐเพื่อแก้ปัญหา

 

(อัลเฟรโด้ ซายาส เย อัลฟอนโซ)

ซึ่งประเด็นที่สำคัญอยู่ที่เรื่องราวของรัฐบาลของนายอัลเฟรโด้ ถึงแม้ว่าจะแก้ปัญหาวิกฤตทางการเงินได้ แต่ปัญหาการคอร์รัปชันทะลักจุดแตก เกิดการจลาจลขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีกระแสแง่ลบต่อตัวเขามากมายเกินจะทัดทาน นายอัลเฟรโด้จึงไม่ได้รับเสนอชื่อจากพรรคให้ลงเขาชิงเก้าอี้ประธานาธิบดี ตัวเขาเองเลยให้การสนับสนุนคนในพรรคตัวเองอย่าง นายพลเกเรอโด เย โมราเลส ลงชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีคนใหม่แทนเขา 

นายพลเกเรอโดได้รับคะแนนเสียงแบบล้นหลามด้วยนโยบายเราจะทำตามสัญญาขอเวลาอีกไม่นานแล้วคิวบาที่งดงามจะคืนกลับมา เขาก้าวขึ้นสู่การเป็นประธานาธิบดีเต็มข้อ นำคิวบาเข้าสู่ยุค “เผด็จการทหาร” เต็มแข้ง

(เกเรอโด เย โมราเลส)

สวัสดี ยุคเผด็จการทหารของฟุลเฮนซิโอ บาติสตา

การปกครองคิวบาภายใต้นายพลเกเรอโด ช่วงสมัยแรกยังดูทรงดี แต่เริ่มมาออกลายช่วงสมัยที่สอง เรียกว่าอะไรที่ “เผด็จการทหาร” ทำ เขาทำตามหลักสูตรทั้งหมด ตั้งแต่การปิดปากประชาชน ควบคุมสื่อ ระงับการชุมนุม แจกกล้วยอุดปาก ไปจนการใช้กำลังกำราบขั้วตรงข้าม

ต่อมา ปัญหาเศรษฐกิจกลับมาอีกครั้ง เนื่องจากเขาไม่สามารถควบคุมราคาน้ำตาลได้ตามที่สัญญาไว้ ถือว่าเป็นเรื่องคอขาดบาดตายเพราะการส่งออกน้ำตาลเป็นเส้นเลือดใหญ่ของเศรษฐกิจคิวบา สหรัฐต้องกลับมาแทรกแซงอีกครั้งโดยการเจรจากับรัฐบาลนายพลเกเรอโด ถึงแม้จะเจรจากันแล้ว สุดท้ายนายพลเกเรอโดไม่ยอมลาออก จึงโดนกองทัพขับไล่ออกจากประเทศไป แต่อย่างไรก็ดี เมื่อเข้าสู่ยุคเผด็จการทหารแล้ว จะไม่มีวันออกจากยุคนี้ได้ง่ายๆ กองทัพเข้าครอบงำและชักใยการเมืองภายในประเทศแบบเบ็ดเสร็จผ่านผู้นำที่ตนเลือก นำโดย สิบเอกฟุลเฮนซิโอ บาติสตา แม้ว่าหลังจากนี้คิวบาก็มีรัฐบาลอีกหลายชุด แต่ล้วนถูกแต่งตั้งและถอดถอนโดยเขาเองด้วยเหตุผลหลากหลาย

(ฟุลเฮนซิโอ บาติสตา)

หลังจากชักใยอยู่เบื้องหลังพักใหญ่ ฟุลเฮนซิโอที่ตอนนี้เป็นพันเอกได้ลงเลือกตั้งเองและชนะการเลือกตั้ง แต่การเลือกตั้งในสมัยต่อมา ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่เขาไว้วางใจกลับพ่ายแพ้ 

เขากลับมาอีกครั้งด้วยการก่อรัฐประหารรัฐบาลของนายคาลอส ปรีโอ โซคาราส ก่อนการเลือกตั้งครั้งใหม่จะจัดขึ้นในอีกสามเดือนข้างหน้าเท่านั้น เขาปกครองประเทศอยู่ประมาณ 2 ปีกว่า ซึ่งเขาขอให้รัฐสภาจัดการเลือกตั้งและก็ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีเพราะเป็นการเลือกตั้งที่ไม่มีคู่แข่ง (ใครมันจะกล้า) 

ภายใต้การปกครองรอบนี้ของฟุลเฮนซิโอ เกิดกระแสต่อต้านเขาอย่างรุนแรงจากหลายปัจจัย นอกจากปัญหาคอร์รัปชันแล้ว มีอีกปัจจัยหลักที่เป็นเชื้อไฟชั้นเยี่ยมคือผลกระทบจากพระราชบัญญัติน้ำตาล ปี 1956 มีใจความว่าสหรัฐจะลดปริมาณการซื้อน้ำตาลจากคิวบาเพื่อสนับสนุนผู้ผลิตน้ำตาลภายในประเทศตัวเอง สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจขั้นรุนแรง รวมไปถึงการต่อต้านความชอบธรรมในการเลือกตั้งของเขาในครั้งล่าสุด เกิดขบวนการต่อต้านฟุลเฮนซิโอ โดยการนำทัพของนายฟิเดล คาสโตร

คาสโตรและผองเพื่อน

คาสโตรเป็นนักกิจกรรมตัวกลั่น เขาจบนิติศาสตร์ และเขากำลังจะลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่กลับถูกพันเอกฟุลเฮนซิโอชิงก่อการรัฐประหารเสียก่อน คาสโตรคิดว่าเขาคงสู้ฟุลเฮนซิโอในระบบไม่ได้ ต้องออกมาสู้กันนอกระบบ คาสโตรได้ก่อตั้งขบวนการต่อต้านฟุลเฮนซิโอโดยมีเป้าหมายในการจุดกระแสการก่อการลุกฮือโดยประชาชน (uprising)

(ฟิเดล คาสโตร)

เขาและขบวนการได้เริ่มก่อเหตุบุกเขาปล้นสะดมค่ายทหารซานติอาโก การปล้นสะดมคว้าน้ำเหลว หลายคนถูกฆ่า ส่วนคาสโตรกับนายราอูลที่เป็นพี่ชายของเขาถูกจับกุม หลังจากนั้นเขาทั้งสองได้รับการอภัยโทษและได้เดินทางไปยังประเทศเม็กซิโกเพื่อทำการรวบรวมกำลังและวางแผนในการต่อสู้กับรัฐบาลของฟุลเฮนซิโออย่างไม่ลดละ 

ต่อมา เขากลับมาคิวบาอีกครั้งโดยอาศัยทางเรือยอชต์ โดยมีผู้ร่วมขบวนการ 26 กรกฎาคม 81 นาย รวมถึงราอูลและนายเช เกวารา พวกเขาถูกกองทัพโจมตีจึงต้องลาดถอยไปยังเทือกเขาเซียร์รา มาเอสตรา ซึ่งเป็นชัยภูมิหลักที่ใช้ในการดำเนินยุทธวิธีกองโจรเพื่อต่อต้านฟุลเฮนซิโอ 

ในเวลาเดียวกันก็เกิดความวุ่นวายทั่วทุกแห่ง อย่าง

  • เกิดสงครามกลางเมืองนำโดยคณะปฏิวัติ (Directorio Revolucionario) ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษา พวกเขาทำการบุกเข้าทำเนียบประธานาธิบดีจนเกิดเหตุนองเลือด  
  • เกิดการพยายามนัดหยุดงานนำโดยสหภาพแรงงาน แต่ความพยายามไม่เป็นผล เนื่องจากฝั่งฟุลเฮนซิโอขู่ไว้ว่าถ้าใครเข้าร่วม จะตกงานทันทีและไม่ถูกว่าจ้างอีกถาวร 
  • เกิดการบุกเข้ายึดเมืองท่าอย่างจังหวัดเซียนฟูเอกอส ซึ่งถูกฝั่งรัฐบาลยึดคืนในเวลาต่อมา มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยคน จากเหตุปะทะ

(เช เกวารา)

และเมื่อความวุ่นวายเกิดขึ้นจนยับยั้งไม่ได้ วิธีการสุดแสนคลาสสิกของเผด็จการทหารก็ถูกหยิบมาใช้ กับการคุกคามเสรีภาพในการแสดงออก ทางนายฟุลเฮนซิโอบีบให้ศาลรัฐธรรมนูญไม่คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกอีกต่อไป 

แน่นอนว่าเศรษฐกิจของคิวบาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการก่อการทั่วทุกแห่งหน เมื่อสหรัฐเห็นว่าทางรัฐบาลของฟุลเฮนซิโอไม่สามารถควบคุมสถานการณ์และประกอบกับใช้ความรุนแรง สหรัฐจึงทำการคว่ำบาตรคิวบาทุกทาง ส่วนฝั่งฟุลเฮนซิโอจึงใช้โอกาสนี้เลื่อนจัดการเลือกตั้งอ้างเหตุความไม่สงบ (โคตรคุ้น) 

การพยายามโต้กลับของฟุลเฮนซิโอ

ฟุลเฮนซิโอได้สั่งการโจมตีฐานที่มั่นของขบวนการ 26 กรกฎาคม ที่เทือกเขาเซียร์รา มาเอสตรา เพราะเขาคิดว่าทางประชาชนไม่ได้สนับสนุนคาสโตรสักเท่าไร จากการนัดหยุดงานที่ล้มเหลวหลายครั้ง ผลคือกองทัพของเขาถูกฝั่งขบวนการ 26 กรกฎาคมไล่ต้อนกลับ สุดท้ายจบลงด้วยการลาดถอยของฝ่ายกองทัพเอง

ส่วนคาสโตรก็ทำการกดดันฝั่งรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะออกแถลงการณ์ขอให้นัดหยุดงาน ข่มขู่ฝ่ายรัฐบาล จนไปถึงลักพาตัวพลเรือนชาวอเมริกันและแคนาเดียนรวมไปถึงพวกทหารอเมริกา แต่สุดท้ายกระแสตีกลับอย่างรุนแรง คาสโตรจึงต้องปล่อยตัวพวกเขาในเวลาต่อมา

(ฟิเดล คาสโตร กับพรรคพวก ณ เทือกเขาเซียร์รา มาเอสตรา)

เมื่อถึงกำหนดการเลือกตั้งใหม่จากที่ถูกเลื่อน ก็เป็นที่คาดเดาได้ว่าเกิดการฉ้อโกงในการเลือกตั้งอีกแล้ว จากการแทรกแซงของฟุลเฮนซิโอ การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ลงสมัครสามราย ได้แก่ นายแอนเดรีย รีเวอร์โร อกูเอโร ซึ่งเป็นคนของฟุลเฮนซิโอ, นายราม่อน เกรา ซาน มาติน อดีตประธานาธิบดี และนายคาลอส มาเกซ สเตอร์ลิง ผู้ที่มีกระแสได้รับการยอมรับจากคนหลายฝ่ายในการเลือกตั้งครั้งนี้ 

ผู้ชนะการเลือกตั้งคือนายแอนเดรีย ความไม่โปร่งใสในการเลือกตั้งครั้งนี้ปรากฏเมื่อทางนายแอนเดรียชนะเพราะบัตรเสียในการเลือกตั้งจากจังหวัดโอเรียนเตและลัสบียัส ซึ่งเป็นจังหวัดที่พวกกลุ่มปฏิวัติควบคุมอยู่ แม้จะมีผลการเลือกตั้งว่านายคาลอสชนะการเลืองตั้งในอีก 4 จังหวัดก็ตาม 

มันจบแล้วครับนาย

ผลจากการเลือกตั้งอันฉ้อฉลซึ่งทำให้การสนับสนุนที่มีต่อฟุลเฮนซิโอลดน้อยถอยลงและกำลังทหารที่อ่อนแอลงจากการถูกคว่ำบาตรของสหรัฐ เป็นเหตุให้ยุทโธปกรณ์ร่อยหรอ ประกอบกับฝ่ายปฏิวัติได้สรรพาวุธจากต่างแดน 

คาสโตรรู้ว่านี้คือโอกาสทองที่จะเผด็จศึกรัฐบาลจอมฉ้อฉล กลุ่มปฏิวัติภายใต้การนำของเช เกวาราทำการบุกฐานทัพในเมืองซานตา คารา ผลคือสำเร็จลุล่วง ซึ่งกลุ่มปฏิวัติสามารถยึดรถไฟหุ่มเกราะที่บรรทุกอาวุธและกระสุน ทางฟุลเฮนซิโอเห็นท่าไม่ดี จึงหลบหนีออกจากประเทศไปยังสาธารณรัฐโดมินิกัน จากนั้นไปเกาะมาเดรา หมู่เกาะของประเทศโปรตุเกส ใช้ชีวิตที่นั่น จวบจนวันตาย 

คาสโตรประกาศชัยชนะในการปฏิวัติครั้งนี้ และไม่เจรจากับผู้บัญชาการทหารสูงสุด นายพลยูโลจีโอ คานทิลโลที่ได้รับมอบอำนาจมาจากฟุลเฮนซิโอก่อนเขาจะหลบหนีและแต่งตั้งตัวเองกับพรรคพวกเป็นรัฐบาลเฉพาะกาล 

ต่อมา เช เกวารานำขบวนการปฏิวัติเดินทางเข้าเมืองฮาวานาโดยไม่มีผู้ใดต่อต้าน หลังจากนั้นมีการรัฐบาลเฉพาะกาลของฝั่งปฏิวัติ โดยนายมานูเอล อูรูเชียน เลโอ เป็นประธานาธิบดี และนายฟิเดล คาสโตร เป็นนายกรัฐมนตรี 

และแล้ว คิวบาก็เข้าสู่ยุคเถลิงอำนาจของฟิเดล คาสโตร อย่างเป็นทางการ

(ฟิเดล คาสโตร (คนขวา) ระหว่างนั่งรถหุ้มเกราะ บุกเข้าเมืองฮาวานา ในวันที่ 8 มกราคม 1959)

จากการปฏิวัติคิวบา สู่ Far Cry 6

หาใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับการนำเรื่องปฏิวัติคิวบามาดัดแปลงและถ่ายทอดในวิดีโอเกมจนกลายเป็น “สูตรสำเร็จหรือแม่แบบ” (trope) ของเกมที่มีเรื่องราวการปฏิวัติหรือล้มล้างระบอบเผด็จการทหารโสโครก โดยกลุ่มประชาชน คนตัวเล็กตัวน้อย ผู้เป็นชนชั้นเบี้ยหมากในโลกแห่งทุนนิยม ใช้การต่อสู้ด้วยยุทธวิธีกองโจร 

ไม่ว่าจะนำมาใช้อย่างตรงไปตรงมา หรือบิดให้แตกต่าง แต่สุดท้ายเรามักเห็นว่ามันไม่ได้ผิดแผกจากสูตรสำเร็จซึ่งเป็นหัวใจของเรื่องราวปฏิวัติคิวบา โดยองค์ประกอบหลักคือ การก่อการลุกฮือโดยประชาชนเพื่อโค่นเผด็จการทหารคอร์รัปชัน, การต่อสู้ด้วยยุทธวิธีกองโจร, การรวมกลุ่มหลายขบวนการเพื่อต่อต้านรัฐบาลเผด็จการ, การสืบทอดอำนาจของฝั่งเผด็จการ และการสนับสนุนเผด็จการจากเหล่านายทุน

สูตรสำเร็จดังกล่าวถูกนำมาใช้ในวิดีโอเกมอย่างต่อเนื่อง ถูกนำเสนอในหลายมุมมอง เริ่มตั้งแต่เกมในปี 1987 อย่างเกม Guevara หรืออีกชื่อคือ Guerrilla War ของทีมพัฒนา SNK เป็นการนำเรื่องราวปฏิวัติคิวบามาใช้แบบตรงไปตรงมา แต่ต่อมาถูกปรับแก้ทั้งชื่อเกม, ตัวละคร และเรื่องราวในเกม สำหรับการจำหน่ายเกมนี้ในตลาดประเทศอเมริกา


ปฏิวัติคิวบามักเป็นของคู่กันเกมจำพวกแนวสงครามชื่อดังที่เราเห็นผ่านตาจนชินชา อย่าง Just Cause, Call of Duty: Black Ops และหากเอ่ยถึงเรื่องเกมซึ่งใช้เรื่องราวของเผด็จการในเกาะแถบแคริบเบียน เราไม่กล่าวถึงเกมนี้คงเป็นเรื่องผิดมหันต์ กับเกมแนวสร้างเมืองซึ่งจำลองแนวคิด กลเม็ดของเผด็จการแบบ “เจ็บแต่จริง” จนเคยโดนแบนในบ้านเรา กับเกม Tropico เหตุเพราะ “เนื้อหาเกมบางส่วนอาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ” (ทำท่าไขว้นิ้วรอบที่สอง)

“นิว อีร่า ขอแจ้งให้ทราบว่า ผลการตรวจพิจารณาเกม Tropico 5 จากสำนักพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ปรากฏว่าคณะกรรมการฯ มีมติไม่อนุญาต เนื่องด้วยเนื้อหาเกมบางส่วนอาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ จึงทำให้บริษัทฯ ไม่สามารถวางจำหน่ายเกม Tropico 5 ได้”

เมื่อศึกษาจากประวัติศาสตร์ข้างต้น เราเห็นภาพซ้อนในหลายจุดระหว่างเกมและประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน กับการนำเรื่องราวปฏิวัติคิวบามาใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อดัดแปลงสู่เกม Far Cry 6 

Far Cry 6 เต็มไปองค์ประกอบของสูตรสำเร็จสำหรับเกมแนวดังกล่าว อย่างเรื่องสงครามอสมมาตรในรูปแบบการต่อสู้ด้วยยุทธวิธีกองโจรของขบวนการ 26 กรกฎาคมที่เทือกเขาเซียร์รา มาเอสตรา โดยเช เกวารานำประสบการณ์การต่อสู้ที่สั่งสมมาจากการก่อปฏิวัติคิวบา เขียนเป็นหนังสือ “ทฤษฎีสงครามกองโจร” วางจำหน่ายเพียง 2 ปีให้หลังจากปฏิวัติคิวบาสำเร็จ และหนังสือเล่มนี้ก็กลายเป็นหนังสือคู่มือ แนะแนวทางของการใช้ยุทธวิธีกองโจร โดยเช เกวารา เน้นย้ำถึงเรื่องความจำเป็นในการสร้างแรงจูงใจทางการเมืองสำหรับยุทธวิธีกองโจร รวมถึงการบริหารจัดการองค์กรและยุทธปัจจัยของกลุ่มปฏิวัติ ซึ่งเราก็พบว่า Far Cry 6 นำเสนอถึงประเด็นนี้เช่นกัน

เกมยังนำเสนอถึงพฤติกรรมของเผด็จการทหาร ตั้งแต่การคอร์รัปชัน, ปิดปากประชาชน, สืบทอดอำนาจจนถึงกำจัดผู้เห็นต่างด้วยวิธีโสมม ซึ่งผู้คนในคิวบา, เกาะยาร่า (และพวกเรา) ต้องเผชิญ แต่ท้ายที่สุด เป็นเรื่องปลายเปิดที่ผู้เล่นต้องไปพิจารณากันเองว่าหลังจากช่วงจบเกมแล้ว แดนี่จะพายาร่าไปในทิศทางใด

ประชาธิปไตยที่พวกเขาใฝ่หา หรือลงเอยซ้ำรอยประวัติศาสตร์ กับการครองและสืบทอดอำนาจแบบฟิเดล คาสโตร เป็นเวลาหลายทศวรรษ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
[บทความ] Far Cry 6 กับการปฏิวัติคิวบาเขย่าหน้าประวัติศาสตร์ของฟิเดล คาสโตร
15/11/2021

เป็นเรื่องปกติสำหรับเกมของ Ubisoft กับการนำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาใช้ในวิดีโอเกมของตนเอง ไม่ว่าจะใช้แบบตรงไปตรงมาอย่างเกมชุด Assassin's Creed หรือการใช้ในทำนองดัดแปลงบางส่วนอย่างเกมชุด Far Cry โดยเฉพาะในภาคหลังๆ สำหรับ Far Cry 5 ที่นำเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์อันมิอาจถูกลืมของสาธุคุณ จิม โจนส์ กับลัทธิสุดคลั่ง 

จนถึงปัจจุบัน Far Cry เดินทางมาถึงภาค 6 ซึ่งไม่ว่าพิเคราะห์อย่างไร เรารู้ทันทีว่าเรื่องราวของกลุ่มปฏิวัติในเกาะแถบแคริบเบียน, การต่อสู้ด้วยยุทธวิธีกองโจร และการรวมกลุ่มหลายขบวนการเพื่อต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหารจอมคอร์รัปชัน ทุกปัจจัยล้วนมุ่งตรงไปยังเรื่องราวของประเทศเดียวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 

และนี้คือเรื่องราวที่เป็นต้นแบบของ Far Cry 6 การปฏิวัติแห่งสาธารณรัฐคิวบาเพื่อล้มล้างรัฐบาลขี้ฉ้อของฟุลเฮนซิโอ บาติสตา โดยขบวนการปฏิวัติ “26 กรกฎาคม” ภายใต้การนำทัพของบุรุษนาม 

ฟิเดล คาสโตร


จุดเริ่มต้น: การแทรกแซงของสหรัฐอเมริกา

จุดกำเนิดรัฐบาลของนายฟุลเฮนซิโอ บาติสตา เป็นผลพวงมาจากการครอบงำและแทรกแซงของประเทศสหรัฐอเมริกา ย้อนไปในช่วงหลังจากจบสงครามสเเปนิช-อเมริกัน อำนาจในการควบคุมคิวบาถูกส่งต่อไปยังสหรัฐจากเดิมที่เป็นของประเทศสเปน สหรัฐได้เขียนรัฐธรรมนูญโดยมีบทบัญญัติอันลือชื่อซึ่งเรียกว่า “Platt Amendment” เพื่อครอบงำและแทรกแซงคิวบาโดยเฉพาะ มีเนื้อหาโดยสังเขปกำหนดโดยนัยไว้ว่าคิวบาต้องยอมให้สหรัฐแทรกแซงอำนาจอธิปไตย “โดยไม่มีเงื่อนไข” เพื่อประโยชน์แก่การรักษาเอกราชของคิวบาเอง (ทำท่าไขว้นิ้ว) 

ผลจากรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว คิวบาก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐอย่างเป็นทางการภายใต้การปกครองของรัฐบาลชุดแรกที่มีนายโทมาส เอสตราดา พัลม่า เป็นประธานาธิบดี โดยการปกครองของรัฐบาลชุดนี้ เศรษฐกิจคิวบาดีขึ้นอย่างทันตาเห็น เพราะได้อานิสงส์จากสนธิสัญญาการค้าน้ำตาลระหว่างสหรัฐ โดยสหรัฐเป็นผู้ผูกขาดการซื้อขายน้ำตาจากคิวบาเพียงเจ้าเดียว

(โทมาส เอสตราดา พัลม่า)

อนาคตดูสดใสสำหรับรัฐบาลของนายโทมาส แต่ต่อมาเกิดความไม่เสถียรภาพในการปกครอง ถึงแม้ว่าจะชนะการเลือกตั้งในปี 1905 จากการที่รัฐบาลของตนถูกขั้วอำนาจตรงข้ามกล่าวหาว่ารัฐบาลของเขาโกงการเลือกตั้งและฉ้อเงินบำนาญ อีกกระทั่งเขาไม่สามารถปฏิรูปรัฐบาลเพื่อลดแรงเสียดทานทางการเมืองได้ ความวุ่นวายลุกลามจนเกิดการจลาจลไปทั่ว นายโทมาสจึงร้องขอความช่วยเหลือไปยังสหรัฐให้ลงมาควบคุมสถานการณ์ 

โดยช่วงแรกทางสหรัฐส่งคนมาเจรจา แต่การเจรจาไม่เป็นผล จึงใช้ไม้แข็งโดยการแต่งตั้งนายวิลเลียม โฮเวิร์ด ทาฟท์ ผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการสงครามแห่งสหรัฐอเมริกา (ต่อมาเปลี่ยนเป็นกระทรวงกลาโหม) ให้เป็นผู้สำเร็จราชการของคิวบา เป็นคำสั่งที่ส่งตรงมาจากประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา “นายธีโอดอร์ รูสเวลต์” ซึ่งให้นายวิลเลียมปกครองสาธารณรัฐคิวบาจนกว่าการเมืองภายในประเทศเกิดเสถียรภาพ

(วิลเลียม โฮเวิร์ด ทาฟท์)

(ธีโอดอร์ รูสเวลต์)

เมื่อความวุ่นวายเริ่มคลี่คลาย ในปี 1909 ทางสหรัฐยุติปกครองคิวบาโดยนายวิลเลียม และมีการถอนกำลังทางทหารทั้งหมดในปีเดียวกัน 

คิวบากลับไปสู่การปกครองจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอีกครั้ง โดยมีรัฐบาลรวมทั้งสิ้นสามชุด แต่ก็เหมือนการฉายภาพซ้ำ เกิดปัญหาในระหว่างปกครองและก็มีการแทรกแซงจากสหรัฐเช่นเคย ไม่ว่าจะเป็น

  • ปัญหาทางการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติและศาสนาในช่วงรัฐบาลของนายโจเซ มิเกล โกเมส จนเกิดเหตุการณ์นองเลือดขั้นรุนแรง 
  • ปัญหาการฉ้อโกง, ปัญหาการใช้ความรุนแรง และโกงการเลือกตั้งในช่วงรัฐบาลของนายมาริโอ การ์เซีย เมโนกัล 
  • ปัญหาทางการเงินในช่วงรัฐบาลของนายอัลเฟรโด้ ซายาส เย อัลฟอนโซ โดยต้องทำเรื่องกู้เงินจากสหรัฐเพื่อแก้ปัญหา

 

(อัลเฟรโด้ ซายาส เย อัลฟอนโซ)

ซึ่งประเด็นที่สำคัญอยู่ที่เรื่องราวของรัฐบาลของนายอัลเฟรโด้ ถึงแม้ว่าจะแก้ปัญหาวิกฤตทางการเงินได้ แต่ปัญหาการคอร์รัปชันทะลักจุดแตก เกิดการจลาจลขึ้นอีกครั้ง เมื่อมีกระแสแง่ลบต่อตัวเขามากมายเกินจะทัดทาน นายอัลเฟรโด้จึงไม่ได้รับเสนอชื่อจากพรรคให้ลงเขาชิงเก้าอี้ประธานาธิบดี ตัวเขาเองเลยให้การสนับสนุนคนในพรรคตัวเองอย่าง นายพลเกเรอโด เย โมราเลส ลงชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีคนใหม่แทนเขา 

นายพลเกเรอโดได้รับคะแนนเสียงแบบล้นหลามด้วยนโยบายเราจะทำตามสัญญาขอเวลาอีกไม่นานแล้วคิวบาที่งดงามจะคืนกลับมา เขาก้าวขึ้นสู่การเป็นประธานาธิบดีเต็มข้อ นำคิวบาเข้าสู่ยุค “เผด็จการทหาร” เต็มแข้ง

(เกเรอโด เย โมราเลส)

สวัสดี ยุคเผด็จการทหารของฟุลเฮนซิโอ บาติสตา

การปกครองคิวบาภายใต้นายพลเกเรอโด ช่วงสมัยแรกยังดูทรงดี แต่เริ่มมาออกลายช่วงสมัยที่สอง เรียกว่าอะไรที่ “เผด็จการทหาร” ทำ เขาทำตามหลักสูตรทั้งหมด ตั้งแต่การปิดปากประชาชน ควบคุมสื่อ ระงับการชุมนุม แจกกล้วยอุดปาก ไปจนการใช้กำลังกำราบขั้วตรงข้าม

ต่อมา ปัญหาเศรษฐกิจกลับมาอีกครั้ง เนื่องจากเขาไม่สามารถควบคุมราคาน้ำตาลได้ตามที่สัญญาไว้ ถือว่าเป็นเรื่องคอขาดบาดตายเพราะการส่งออกน้ำตาลเป็นเส้นเลือดใหญ่ของเศรษฐกิจคิวบา สหรัฐต้องกลับมาแทรกแซงอีกครั้งโดยการเจรจากับรัฐบาลนายพลเกเรอโด ถึงแม้จะเจรจากันแล้ว สุดท้ายนายพลเกเรอโดไม่ยอมลาออก จึงโดนกองทัพขับไล่ออกจากประเทศไป แต่อย่างไรก็ดี เมื่อเข้าสู่ยุคเผด็จการทหารแล้ว จะไม่มีวันออกจากยุคนี้ได้ง่ายๆ กองทัพเข้าครอบงำและชักใยการเมืองภายในประเทศแบบเบ็ดเสร็จผ่านผู้นำที่ตนเลือก นำโดย สิบเอกฟุลเฮนซิโอ บาติสตา แม้ว่าหลังจากนี้คิวบาก็มีรัฐบาลอีกหลายชุด แต่ล้วนถูกแต่งตั้งและถอดถอนโดยเขาเองด้วยเหตุผลหลากหลาย

(ฟุลเฮนซิโอ บาติสตา)

หลังจากชักใยอยู่เบื้องหลังพักใหญ่ ฟุลเฮนซิโอที่ตอนนี้เป็นพันเอกได้ลงเลือกตั้งเองและชนะการเลือกตั้ง แต่การเลือกตั้งในสมัยต่อมา ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่เขาไว้วางใจกลับพ่ายแพ้ 

เขากลับมาอีกครั้งด้วยการก่อรัฐประหารรัฐบาลของนายคาลอส ปรีโอ โซคาราส ก่อนการเลือกตั้งครั้งใหม่จะจัดขึ้นในอีกสามเดือนข้างหน้าเท่านั้น เขาปกครองประเทศอยู่ประมาณ 2 ปีกว่า ซึ่งเขาขอให้รัฐสภาจัดการเลือกตั้งและก็ได้รับเลือกให้เป็นประธานาธิบดีเพราะเป็นการเลือกตั้งที่ไม่มีคู่แข่ง (ใครมันจะกล้า) 

ภายใต้การปกครองรอบนี้ของฟุลเฮนซิโอ เกิดกระแสต่อต้านเขาอย่างรุนแรงจากหลายปัจจัย นอกจากปัญหาคอร์รัปชันแล้ว มีอีกปัจจัยหลักที่เป็นเชื้อไฟชั้นเยี่ยมคือผลกระทบจากพระราชบัญญัติน้ำตาล ปี 1956 มีใจความว่าสหรัฐจะลดปริมาณการซื้อน้ำตาลจากคิวบาเพื่อสนับสนุนผู้ผลิตน้ำตาลภายในประเทศตัวเอง สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจขั้นรุนแรง รวมไปถึงการต่อต้านความชอบธรรมในการเลือกตั้งของเขาในครั้งล่าสุด เกิดขบวนการต่อต้านฟุลเฮนซิโอ โดยการนำทัพของนายฟิเดล คาสโตร

คาสโตรและผองเพื่อน

คาสโตรเป็นนักกิจกรรมตัวกลั่น เขาจบนิติศาสตร์ และเขากำลังจะลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่กลับถูกพันเอกฟุลเฮนซิโอชิงก่อการรัฐประหารเสียก่อน คาสโตรคิดว่าเขาคงสู้ฟุลเฮนซิโอในระบบไม่ได้ ต้องออกมาสู้กันนอกระบบ คาสโตรได้ก่อตั้งขบวนการต่อต้านฟุลเฮนซิโอโดยมีเป้าหมายในการจุดกระแสการก่อการลุกฮือโดยประชาชน (uprising)

(ฟิเดล คาสโตร)

เขาและขบวนการได้เริ่มก่อเหตุบุกเขาปล้นสะดมค่ายทหารซานติอาโก การปล้นสะดมคว้าน้ำเหลว หลายคนถูกฆ่า ส่วนคาสโตรกับนายราอูลที่เป็นพี่ชายของเขาถูกจับกุม หลังจากนั้นเขาทั้งสองได้รับการอภัยโทษและได้เดินทางไปยังประเทศเม็กซิโกเพื่อทำการรวบรวมกำลังและวางแผนในการต่อสู้กับรัฐบาลของฟุลเฮนซิโออย่างไม่ลดละ 

ต่อมา เขากลับมาคิวบาอีกครั้งโดยอาศัยทางเรือยอชต์ โดยมีผู้ร่วมขบวนการ 26 กรกฎาคม 81 นาย รวมถึงราอูลและนายเช เกวารา พวกเขาถูกกองทัพโจมตีจึงต้องลาดถอยไปยังเทือกเขาเซียร์รา มาเอสตรา ซึ่งเป็นชัยภูมิหลักที่ใช้ในการดำเนินยุทธวิธีกองโจรเพื่อต่อต้านฟุลเฮนซิโอ 

ในเวลาเดียวกันก็เกิดความวุ่นวายทั่วทุกแห่ง อย่าง

  • เกิดสงครามกลางเมืองนำโดยคณะปฏิวัติ (Directorio Revolucionario) ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษา พวกเขาทำการบุกเข้าทำเนียบประธานาธิบดีจนเกิดเหตุนองเลือด  
  • เกิดการพยายามนัดหยุดงานนำโดยสหภาพแรงงาน แต่ความพยายามไม่เป็นผล เนื่องจากฝั่งฟุลเฮนซิโอขู่ไว้ว่าถ้าใครเข้าร่วม จะตกงานทันทีและไม่ถูกว่าจ้างอีกถาวร 
  • เกิดการบุกเข้ายึดเมืองท่าอย่างจังหวัดเซียนฟูเอกอส ซึ่งถูกฝั่งรัฐบาลยึดคืนในเวลาต่อมา มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยคน จากเหตุปะทะ

(เช เกวารา)

และเมื่อความวุ่นวายเกิดขึ้นจนยับยั้งไม่ได้ วิธีการสุดแสนคลาสสิกของเผด็จการทหารก็ถูกหยิบมาใช้ กับการคุกคามเสรีภาพในการแสดงออก ทางนายฟุลเฮนซิโอบีบให้ศาลรัฐธรรมนูญไม่คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออกอีกต่อไป 

แน่นอนว่าเศรษฐกิจของคิวบาได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการก่อการทั่วทุกแห่งหน เมื่อสหรัฐเห็นว่าทางรัฐบาลของฟุลเฮนซิโอไม่สามารถควบคุมสถานการณ์และประกอบกับใช้ความรุนแรง สหรัฐจึงทำการคว่ำบาตรคิวบาทุกทาง ส่วนฝั่งฟุลเฮนซิโอจึงใช้โอกาสนี้เลื่อนจัดการเลือกตั้งอ้างเหตุความไม่สงบ (โคตรคุ้น) 

การพยายามโต้กลับของฟุลเฮนซิโอ

ฟุลเฮนซิโอได้สั่งการโจมตีฐานที่มั่นของขบวนการ 26 กรกฎาคม ที่เทือกเขาเซียร์รา มาเอสตรา เพราะเขาคิดว่าทางประชาชนไม่ได้สนับสนุนคาสโตรสักเท่าไร จากการนัดหยุดงานที่ล้มเหลวหลายครั้ง ผลคือกองทัพของเขาถูกฝั่งขบวนการ 26 กรกฎาคมไล่ต้อนกลับ สุดท้ายจบลงด้วยการลาดถอยของฝ่ายกองทัพเอง

ส่วนคาสโตรก็ทำการกดดันฝั่งรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะออกแถลงการณ์ขอให้นัดหยุดงาน ข่มขู่ฝ่ายรัฐบาล จนไปถึงลักพาตัวพลเรือนชาวอเมริกันและแคนาเดียนรวมไปถึงพวกทหารอเมริกา แต่สุดท้ายกระแสตีกลับอย่างรุนแรง คาสโตรจึงต้องปล่อยตัวพวกเขาในเวลาต่อมา

(ฟิเดล คาสโตร กับพรรคพวก ณ เทือกเขาเซียร์รา มาเอสตรา)

เมื่อถึงกำหนดการเลือกตั้งใหม่จากที่ถูกเลื่อน ก็เป็นที่คาดเดาได้ว่าเกิดการฉ้อโกงในการเลือกตั้งอีกแล้ว จากการแทรกแซงของฟุลเฮนซิโอ การเลือกตั้งครั้งนี้มีผู้ลงสมัครสามราย ได้แก่ นายแอนเดรีย รีเวอร์โร อกูเอโร ซึ่งเป็นคนของฟุลเฮนซิโอ, นายราม่อน เกรา ซาน มาติน อดีตประธานาธิบดี และนายคาลอส มาเกซ สเตอร์ลิง ผู้ที่มีกระแสได้รับการยอมรับจากคนหลายฝ่ายในการเลือกตั้งครั้งนี้ 

ผู้ชนะการเลือกตั้งคือนายแอนเดรีย ความไม่โปร่งใสในการเลือกตั้งครั้งนี้ปรากฏเมื่อทางนายแอนเดรียชนะเพราะบัตรเสียในการเลือกตั้งจากจังหวัดโอเรียนเตและลัสบียัส ซึ่งเป็นจังหวัดที่พวกกลุ่มปฏิวัติควบคุมอยู่ แม้จะมีผลการเลือกตั้งว่านายคาลอสชนะการเลืองตั้งในอีก 4 จังหวัดก็ตาม 

มันจบแล้วครับนาย

ผลจากการเลือกตั้งอันฉ้อฉลซึ่งทำให้การสนับสนุนที่มีต่อฟุลเฮนซิโอลดน้อยถอยลงและกำลังทหารที่อ่อนแอลงจากการถูกคว่ำบาตรของสหรัฐ เป็นเหตุให้ยุทโธปกรณ์ร่อยหรอ ประกอบกับฝ่ายปฏิวัติได้สรรพาวุธจากต่างแดน 

คาสโตรรู้ว่านี้คือโอกาสทองที่จะเผด็จศึกรัฐบาลจอมฉ้อฉล กลุ่มปฏิวัติภายใต้การนำของเช เกวาราทำการบุกฐานทัพในเมืองซานตา คารา ผลคือสำเร็จลุล่วง ซึ่งกลุ่มปฏิวัติสามารถยึดรถไฟหุ่มเกราะที่บรรทุกอาวุธและกระสุน ทางฟุลเฮนซิโอเห็นท่าไม่ดี จึงหลบหนีออกจากประเทศไปยังสาธารณรัฐโดมินิกัน จากนั้นไปเกาะมาเดรา หมู่เกาะของประเทศโปรตุเกส ใช้ชีวิตที่นั่น จวบจนวันตาย 

คาสโตรประกาศชัยชนะในการปฏิวัติครั้งนี้ และไม่เจรจากับผู้บัญชาการทหารสูงสุด นายพลยูโลจีโอ คานทิลโลที่ได้รับมอบอำนาจมาจากฟุลเฮนซิโอก่อนเขาจะหลบหนีและแต่งตั้งตัวเองกับพรรคพวกเป็นรัฐบาลเฉพาะกาล 

ต่อมา เช เกวารานำขบวนการปฏิวัติเดินทางเข้าเมืองฮาวานาโดยไม่มีผู้ใดต่อต้าน หลังจากนั้นมีการรัฐบาลเฉพาะกาลของฝั่งปฏิวัติ โดยนายมานูเอล อูรูเชียน เลโอ เป็นประธานาธิบดี และนายฟิเดล คาสโตร เป็นนายกรัฐมนตรี 

และแล้ว คิวบาก็เข้าสู่ยุคเถลิงอำนาจของฟิเดล คาสโตร อย่างเป็นทางการ

(ฟิเดล คาสโตร (คนขวา) ระหว่างนั่งรถหุ้มเกราะ บุกเข้าเมืองฮาวานา ในวันที่ 8 มกราคม 1959)

จากการปฏิวัติคิวบา สู่ Far Cry 6

หาใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับการนำเรื่องปฏิวัติคิวบามาดัดแปลงและถ่ายทอดในวิดีโอเกมจนกลายเป็น “สูตรสำเร็จหรือแม่แบบ” (trope) ของเกมที่มีเรื่องราวการปฏิวัติหรือล้มล้างระบอบเผด็จการทหารโสโครก โดยกลุ่มประชาชน คนตัวเล็กตัวน้อย ผู้เป็นชนชั้นเบี้ยหมากในโลกแห่งทุนนิยม ใช้การต่อสู้ด้วยยุทธวิธีกองโจร 

ไม่ว่าจะนำมาใช้อย่างตรงไปตรงมา หรือบิดให้แตกต่าง แต่สุดท้ายเรามักเห็นว่ามันไม่ได้ผิดแผกจากสูตรสำเร็จซึ่งเป็นหัวใจของเรื่องราวปฏิวัติคิวบา โดยองค์ประกอบหลักคือ การก่อการลุกฮือโดยประชาชนเพื่อโค่นเผด็จการทหารคอร์รัปชัน, การต่อสู้ด้วยยุทธวิธีกองโจร, การรวมกลุ่มหลายขบวนการเพื่อต่อต้านรัฐบาลเผด็จการ, การสืบทอดอำนาจของฝั่งเผด็จการ และการสนับสนุนเผด็จการจากเหล่านายทุน

สูตรสำเร็จดังกล่าวถูกนำมาใช้ในวิดีโอเกมอย่างต่อเนื่อง ถูกนำเสนอในหลายมุมมอง เริ่มตั้งแต่เกมในปี 1987 อย่างเกม Guevara หรืออีกชื่อคือ Guerrilla War ของทีมพัฒนา SNK เป็นการนำเรื่องราวปฏิวัติคิวบามาใช้แบบตรงไปตรงมา แต่ต่อมาถูกปรับแก้ทั้งชื่อเกม, ตัวละคร และเรื่องราวในเกม สำหรับการจำหน่ายเกมนี้ในตลาดประเทศอเมริกา


ปฏิวัติคิวบามักเป็นของคู่กันเกมจำพวกแนวสงครามชื่อดังที่เราเห็นผ่านตาจนชินชา อย่าง Just Cause, Call of Duty: Black Ops และหากเอ่ยถึงเรื่องเกมซึ่งใช้เรื่องราวของเผด็จการในเกาะแถบแคริบเบียน เราไม่กล่าวถึงเกมนี้คงเป็นเรื่องผิดมหันต์ กับเกมแนวสร้างเมืองซึ่งจำลองแนวคิด กลเม็ดของเผด็จการแบบ “เจ็บแต่จริง” จนเคยโดนแบนในบ้านเรา กับเกม Tropico เหตุเพราะ “เนื้อหาเกมบางส่วนอาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ” (ทำท่าไขว้นิ้วรอบที่สอง)

“นิว อีร่า ขอแจ้งให้ทราบว่า ผลการตรวจพิจารณาเกม Tropico 5 จากสำนักพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ปรากฏว่าคณะกรรมการฯ มีมติไม่อนุญาต เนื่องด้วยเนื้อหาเกมบางส่วนอาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประเทศ จึงทำให้บริษัทฯ ไม่สามารถวางจำหน่ายเกม Tropico 5 ได้”

เมื่อศึกษาจากประวัติศาสตร์ข้างต้น เราเห็นภาพซ้อนในหลายจุดระหว่างเกมและประวัติศาสตร์อย่างชัดเจน กับการนำเรื่องราวปฏิวัติคิวบามาใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อดัดแปลงสู่เกม Far Cry 6 

Far Cry 6 เต็มไปองค์ประกอบของสูตรสำเร็จสำหรับเกมแนวดังกล่าว อย่างเรื่องสงครามอสมมาตรในรูปแบบการต่อสู้ด้วยยุทธวิธีกองโจรของขบวนการ 26 กรกฎาคมที่เทือกเขาเซียร์รา มาเอสตรา โดยเช เกวารานำประสบการณ์การต่อสู้ที่สั่งสมมาจากการก่อปฏิวัติคิวบา เขียนเป็นหนังสือ “ทฤษฎีสงครามกองโจร” วางจำหน่ายเพียง 2 ปีให้หลังจากปฏิวัติคิวบาสำเร็จ และหนังสือเล่มนี้ก็กลายเป็นหนังสือคู่มือ แนะแนวทางของการใช้ยุทธวิธีกองโจร โดยเช เกวารา เน้นย้ำถึงเรื่องความจำเป็นในการสร้างแรงจูงใจทางการเมืองสำหรับยุทธวิธีกองโจร รวมถึงการบริหารจัดการองค์กรและยุทธปัจจัยของกลุ่มปฏิวัติ ซึ่งเราก็พบว่า Far Cry 6 นำเสนอถึงประเด็นนี้เช่นกัน

เกมยังนำเสนอถึงพฤติกรรมของเผด็จการทหาร ตั้งแต่การคอร์รัปชัน, ปิดปากประชาชน, สืบทอดอำนาจจนถึงกำจัดผู้เห็นต่างด้วยวิธีโสมม ซึ่งผู้คนในคิวบา, เกาะยาร่า (และพวกเรา) ต้องเผชิญ แต่ท้ายที่สุด เป็นเรื่องปลายเปิดที่ผู้เล่นต้องไปพิจารณากันเองว่าหลังจากช่วงจบเกมแล้ว แดนี่จะพายาร่าไปในทิศทางใด

ประชาธิปไตยที่พวกเขาใฝ่หา หรือลงเอยซ้ำรอยประวัติศาสตร์ กับการครองและสืบทอดอำนาจแบบฟิเดล คาสโตร เป็นเวลาหลายทศวรรษ

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header