GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
Dune II - ผู้ปฏิวัติเกมแนว RTS "บิดาของ Command & Conquer"
ลงวันที่ 28/10/2021

หากกล่าวถึง Dune ปัจจุบันคงไม่มีใครไม่รู้จัก Dune ในฐานะภาพยนตร์ไซไฟระดับเอกอุ จากวิสัยทัศน์ของสุดยอดผู้กำกับ คุณ Denis Villeneuve ที่ดัดแปลงจากวรรณกรรมคลาสสิกตลอดกาลจากมันสมองอันสุดหยั่งถึงของคุณ Frank Herbert ซึ่งทั้งสร้างผลกระทบพร้อมปูรากฐานต่อสื่อบันเทิงในแนวไซไฟจวบจนทุกวันนี้ หากเราพิจารณาองค์ประกอบโครงสร้าง เรื่องราว จังหวะจะโคนในการพรรณนา ถักทอเนื้อหาให้เป็นหนึ่งเดียว เรามักเห็นองค์ประกอบของ Dune แอบซ่อนอยู่ในเรื่องราวต่าง ๆ อย่างแยบยล ไม่มากก็น้อย

หาใช่เรื่องแปลกอันใด เมื่อ Dune ถูกมองว่าเป็นวัตถุดิบชั้นยอด มักถูกดัดแปลงให้ไปอยู่ในรูปแบบสื่ออื่น ๆ ที่หลากหลาย นอกจากภาพยนตร์แล้ว วรรณกรรม Dune ยังเคยถูกดัดแปลงให้เป็นวิดีโอเกม หนึ่งในนั้นเป็นวิดีโอเกมอันถูกกล่าวขานว่าเป็นผู้ปฏิวัติ วางรากฐาน และเบิกทางให้กับเกมแนว real-time strategy อย่าง Dune II ของทีมพัฒนาระดับตำนาน Westwood Studios ซึ่งต่อมาได้ใช้แนวคิดของเกม Dune II สร้างเกม RTS ที่ทุกคนล้วนรู้จักและยังคงถวิลหา “Command & Conquer

จากคำครหา

เมื่อย้อนกลับสู่ช่วงพัฒนาเกม Dune II มีเรื่องราวน่าสนใจไม่น้อย แสดงให้เห็นถึงแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังระบบต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นสูตรสำเร็จของเกมแนว RTS ในเวลาต่อมา โดยผู้พัฒนาล้วนได้รับแรงบันดาลใจมาจากทั้งผลงานเก่าของพวกเขาเอง และเกมของทีมพัฒนาอื่นที่กำลังโด่งดังในช่วงเวลานั้น แต่แรงบันดาลใจที่สำคัญที่สุดมาจากความเห็นเชิงครหาว่าร้ายต่อเกมแนววางแผน ว่าเกมแนวดังกล่าวกำลังอยู่ในช่วงขาลง

มีการกล่าวว่าเกมแนววางแผนมันห่วยเพราะขาดนวัตกรรม มีการออกแบบที่ไม่สู้ดี และเกมแนวนี้กำลังเข้าสู่ช่วงขาลงอย่างเนิบช้า เนื่องจากผู้เล่นย้ายไปเล่นเกมที่น่าสนใจกว่า ซึ่งคุณ Brett Sperry ผู้ร่วมก่อตั้ง Westwood Studios และอำนวยการสร้างของ Dune II กลับเห็นต่าง เขาคิดว่าเกมแนวนี้ยังมีศักยภาพและต้องการพิสูจน์ว่าเกมแนวนี้ยังไปต่อได้อีก พร้อมทั้งคิดว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับคิดค้นระบบการควบคุมที่เหมาะสมสำหรับเกมวางแผนที่รวดเร็วและอัดแน่นไปด้วยความพลวัตแบบเรียลไทม์

ความท้าทายประการแรกคือการยกเครื่องระบบควบคุมสำหรับเกมวางแผน ในยุคสมัยที่ระบบปฏิบัติการ MS-DOS ยังเป็นที่นิยม ด้วยระบบ user interface (UI) แบบ text-based user interface (TUI) ทีมพัฒนากลับเห็นว่าการแก้ปัญหา UI ในเกมแนวนี้เพื่อสร้างการควบคุมที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพ คือการนำปรัชญาการออกแบบ UI จาก macOS มาใช้ ด้วยการออกแบบที่เน้นการคลิก เลือก เล็ง ลากเมาส์เพื่อสั่งการต่าง ๆ หากนำมาไว้ในเกม สามารถสร้างความสะดวกมากกว่าการใช้คีย์บอร์ดพิมพ์สั่งการเป็นหลัก และเหมาะสมกับการควบคุมเกมที่มีความพลวัต รวดเร็ว ต้องใช้ความไวในการสั่งการมากกว่าก่อน นอกจากนั้นยังมีแรงบันดาลใจจากเกมของทีมพัฒนา Bullfrog อย่างเกม Populous ที่ใช้การควบคุมแบบคลิกเมาส์สั่งการได้อย่างลื่นไหล


ความท้าทายประการต่อมากับการแก้ปัญหาความเฉื่อยชาและน่าเบื่อในเกมแนวนี้ เมื่อคุณ Brett ลองเล่นเกมในบิวท์แรก ๆ พบว่ามันน่าเบื่อและใช้เวลาไม่มากก็เล่นจบ เขาจึงต้องหาวิธีในการสร้างความน่าสนใจให้กับเกม ไม่ว่าการสร้างอุปสรรคให้กับผู้เล่น, ระบบการสร้างความเป็นพลวัต, ระบบก่อสร้างยูนิตและฐานทัพ, ระบบหมอกสงคราม รวมถึงระบบการจัดการทรัพยากรที่ลงตัวกับแนวคิดของจักรวาล Dune ได้อย่างแนบเนียน ซึ่งล้วนได้แรงบันดาลใจมาจาก Civilization ภาคแรกที่วางจำหน่ายในปี 1991 เป็นผลให้ Dune II มีส่วนผสมของการวางแผน, ต่อสู้, สำรวจ และบริหารจัดการทรัพยากรอย่างลงตัว

ความท้าทายประการสุดท้ายกับการโดนเกม IP เดียวกันออกตัดหน้าภายในปีเดียวที่วิดีโอเกม Dune II วางจำหน่าย ปรากฏว่ามีเกม Dune โดยทีมพัฒนา Cryo Interactive ซึ่งเป็นเกมแนว point-and-click ผสมกับ strategy วางจำหน่ายอีกเช่นกัน โดยทั้งสองวางจำหน่ายหลังจาก Dune ฉบับภาพยนตร์ของคุณ David Lynch ออกฉายก่อนหน้า 8 ปี ซึ่งทั้งคู่ล้วนได้แรงบันดาลใจจากฉบับภาพยนตร์ แต่มีแนวคิดหลักในการพัฒนาที่แตกต่างกันออกไป Dune II สรรค์สร้างเรื่องราวในโลก Dune ในยุคหลายพันปีหลังจากวรรณกรรมเพื่อผละตัวเองจากการถูกผูกมัดเรื่องราวในวรรณกรรมและเกม Dune ของ Cryo Interactive


สาเหตุที่มีเกม IP เดียวกันออกซ้อนกันเพราะทางผู้ซื้อสิทธิดัดแปลง Dune อย่าง Virgin Games ว่าจ้างทีม Cryo Interactive พัฒนาเกม IP นี้ แต่ Virgin Games คิดว่า Cryo Interactive ไม่น่าจะพัฒนาเกมให้เสร็จทันกำหนดและคิดว่ายกเลิกการพัฒนาไปแล้ว จึงว่าจ้าง Westwood Studios พัฒนาเกม Dune แทน ผลกลับกลายเป็นว่า Cryo Interactive เร่งพัฒนาเกมจนเสร็จ จึงมีเกม Dune อยู่สองเกมออกภายในปีเดียวกัน เรียกได้ว่าเป็นฝันร้ายสำหรับการตลาด เพราะทั้งสองเกมไม่มีความเกี่ยวข้องนอกจากอยู่ในจักรวาล Dune เหมือนกัน โดยเกม Dune ของ Cryo Interactive วางจำหน่ายก่อน ทาง Westwood Studios จึงต้องคิดชื่อสร้อยให้เกมเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน

สู่การปฏิวัติเกมแนว RTS

ท้ายที่สุด Dune II: The Building of a Dynasty (หรือรู้จักในชื่อ Dune II: The Battle for Arrakis สำหรับการทำตลาดในแถบยุโรป และ Dune: The Battle for Arrakis สำหรับการพอร์ตลงเครื่อง Sega Mega Drive/Genesis) วางจำหน่ายในปี 1992 โดย Dune II มีเรื่องราวของการพุ่งรบระหว่างตระกูล Atreides, ตระกูล Harkonnen และตระกูล Ordos เพื่อแก่งแย่งตำแหน่งผู้ปกครอง Arrakis ไว้แต่เพียงผู้เดียว ตามข้อเสนอของจักรพรรดิ Frederick ที่ 4 สำหรับผู้ที่นำ spice มาให้พระองค์ได้มากที่สุด โดยผู้เล่นได้รับบทเป็นผู้บัญชาการกองทัพของแต่ละตระกูลตามการตัดสินใจของผู้เล่น

Dune II มาพร้อมระบบพื้นฐานอย่าง ระบบการเก็บเกี่ยวทรัพยากรเพื่อนำมาพัฒนากองกำลัง, ระบบการควบคุมยูนิตและสิ่งก่อสร้างแบบเรียบง่ายเพียงแค่คลิกและลากเมาส์, ระบบหมอกสงครามบดบังวิสัยทัศน์ผู้เล่นจนกว่าจะได้สำรวจพื้นที่, ระบบการพัฒนาเทคโนโลยีของกองทัพ, ระบบสงครามอสมมาตรที่ต่างฝ่ายต่างมีข้อดีข้อเสียเฉพาะตัว และ UI ที่เรียบง่าย สั่งได้ดั่งใจนึก แม้ไม่ใช่เกมแนว RTS เกมแรก (หลายสำนักต่างยกให้เกม Herzog Zwei เป็นเกมแรกของแนว RTS) แต่ทุกอย่างล้วนหล่อหลอมให้ Dune II กลายเป็นพิมพ์เขียวสำคัญสำหรับเกมแนว RTS ในยุคปัจจุบัน และคำว่า real-time strategy ก็มาจากคุณ Brett Sperry คิดคำนี้เพื่อใช้ในการอธิบายตัวเกมแก่ผู้เล่นและสื่อต่าง ๆ ซึ่งในตอนนั้นเขาคิดไว้หลายคำ อย่าง “real-time war game”, “real-time war”, “wargame”, หรือ “strategy game” แต่สุดท้ายก็เลือกใช้คำว่า real-time strategy 

Dune II ประสบความสำรวจทั้งรายได้และคำวิจารณ์ในระดับยอดเยี่ยม ถูกขนานนามว่าเป็นหนึ่งในนวัตกรรมของวงการเกม Dune II ได้เปลี่ยนโฉมเกมวางแผนให้มีความรวดเร็ว ดุเดือด และที่สำคัญคือตัวเกมทำความเข้าใจง่ายแต่ยังคงไว้ซึ่งความซับซ้อน แตกต่างจากเกมวางแผนก่อนหน้าที่เป็นเกมแนว “ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำ” (slow-paced) ระบบของเกม Dune II ผลักดันกึ่งบีบบังคับให้ผู้เล่นต้องคิดไว ทำไว ตัดสินใจให้ถี่ถ้วนและถูกต้อง ทั้งการจัดการทรัพยากร กองทัพ กลยุทธ์การจู่โจมและตั้งรับ การแพ้ชนะเกิดขึ้นได้หลายหนทาง ซึ่งล้วนเกิดจากการตัดสินใจของผู้เล่นทั้งสิ้น


หลังจากสร้างมาตรฐานใหม่ให้วงการเกม RTS ทีมพัฒนาสานต่อและตอกย้ำว่าสมการแห่งความสำเร็จของ Dune II หาใช่เรื่องบังเอิญ ด้วยเกม Command & Conquer นอกจากนำสูตรสำเร็จและความรู้เชิงปฏิบัติการของ Dune II มาใช้ทุกองคาพยพ ยังปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบดังกล่าวให้ดียิ่งขึ้น ความสำเร็จของ Command & Conquer เป็นการผลักดันวงการเกม RTS ไปอีกขั้น จนทำให้เข้าสู่ยุครุ่งเรืองของแนวเกมดังกล่าว StarCraft, Age of Empires และอื่น ๆ อีกมากมาย ยกขบวนออกมาสร้างสีสันให้กับวงการเกม เกม RTS ไม่ใช่เกมเฉพาะกลุ่มอีกต่อไป กลายเป็นเกมสายหลักของอุตสาหกรรมวิดีโอเกมอย่างเต็มตัว พร้อมทั้งสร้างผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและวัฒนธรรม อย่างเช่น ความโด่งดังของเกม RTS สร้างการเติบโตให้กับวงการ “ร้านเน็ต” และเกม RTS ก็ได้แทรกซึมไปอยู่ในชีวิตประจำวัน กลายเป็นบรรทัดฐานทางสังคม เห็นได้ชัดที่สุดคือในประเทศเกาหลีกับเกมประจำชาติอย่าง StarCraft ที่ร้านเน็ตล้วนมีขึ้นเพื่อรองรับการเล่น StarCraft โดยเฉพาะ อีกกระทั่งเกมดังกล่าวยังได้สอดแทรกอยู่ในเพลง รายการโทรทัศน์ วงการไอดอล จนเป็นเรื่องปกติ


ลงเอยด้วยจุดจบเกม Dune 

ในช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองของเกมแนว RTS สวนทางกันกับความรุ่งโรจน์ของวิดีโอเกมในนาม Dune เพราะหลังจาก Dune และ Dune II กลับมีเกม Dune อย่างเป็นทางการอีกเพียงสามเกมคือ Dune 2000, Emperor: Battle for Dune และสุดท้ายเกม Frank Herbert's Dune

Dune 2000 จำหน่ายในปี 1998 พัฒนาโดย Intelligent Games จัดจำหน่ายโดย Westwood Studios ผู้พัฒนาวางเป้าให้เป็นเกมกึ่งรีเมคของ Dune II โดยใช้เกมเอนจินจาก Command & Conquer เพื่ออัปเดตระบบเกมให้ทันยุคทันสมัย ถึงแม้ว่างานภาพของเกมสวยงามขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เป็นผลพวงจากเกมเอนจินใหม่ แต่ตัวเกมมีปัญหาด้านระบบการเล่นจากแนวคิดที่ย้อนแย้งจากเกมภาคต้นฉบับ คือการพยายามปรับสมดุลของยูนิตแต่ละฝ่าย ทั้งที่เกมต้นฉบับยึดมั่นในแนวคิดของการสร้างความเฉพาะตัวให้แต่ละฝ่าย ด้วยแนวทางการเล่น, รูปแบบยูนิต และสิ่งก่อสร้างเป็นของตัวเอง จึงทำให้มีจุดเด่นและจุดด้อยนำมาหักล้างกัน รวมถึงไม่ได้มีการเพิ่มระบบใหม่ ๆ เข้ามาในเกม ยิ่งไปกว่านั้นคือการที่ทีมพัฒนาไม่ได้ใส่ใจกับรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำให้ตัวเกมมีความ “งานไม่ละเอียด” เมื่อเทียบกับ Command & Conquer จนท้ายที่สุด Dune 2000 กลายเป็นเกมที่ถูกตีตราปะหน้าว่า “Command & Conquer ในร่าง Dune”

ต่อมา Emperor: Battle for Dune จำหน่ายในปี 2001 ซึ่ง Westwood Studios พัฒนาร่วมกับ Intelligent Games เกมถูกปรับภาพให้เป็นสามมิติเต็มรูปแบบ และนำระบบจาก Dune II กับ Command & Conquer มาปรับปรุงและต่อยอด โดยเกมได้รับคำวิจารณ์ในระดับดี แตกต่างจาก Dune 2000 โดยสิ้นเชิง แต่ก็ไม่โดดเด่นจนเทียบเคียงสุดยอดเกม RTS ในยุคเดียวกันได้ แม้กระทั่งผลงานของ Westwood Studios เอง อย่าง Command & Conquer: Red Alert 2 

ส่วน Cryo Interactive ที่ยังไม่ยอมแพ้ กลับมาทำเกม Dune อีกครั้งกับเกม Frank Herbert's Dune แต่ความไม่ยอมแพ้ของพวกเขานั้นกลายเป็นเพียงความดื้อดึงติดตรึงความไม่ปล่อยวาง ด้วยคุณภาพเกมที่ไม่มีใครอยากเอื้อนเอ่ยถึง เป็นการขุดหลุมฝังกลบจบตำนาน Dune ในอุตสาหกรรมวิดีโอเกม ไม่ได้เห็นแสงเดือนแสงตะวัน จวบจนปัจจุบัน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
Dune II - ผู้ปฏิวัติเกมแนว RTS "บิดาของ Command & Conquer"
28/10/2021

หากกล่าวถึง Dune ปัจจุบันคงไม่มีใครไม่รู้จัก Dune ในฐานะภาพยนตร์ไซไฟระดับเอกอุ จากวิสัยทัศน์ของสุดยอดผู้กำกับ คุณ Denis Villeneuve ที่ดัดแปลงจากวรรณกรรมคลาสสิกตลอดกาลจากมันสมองอันสุดหยั่งถึงของคุณ Frank Herbert ซึ่งทั้งสร้างผลกระทบพร้อมปูรากฐานต่อสื่อบันเทิงในแนวไซไฟจวบจนทุกวันนี้ หากเราพิจารณาองค์ประกอบโครงสร้าง เรื่องราว จังหวะจะโคนในการพรรณนา ถักทอเนื้อหาให้เป็นหนึ่งเดียว เรามักเห็นองค์ประกอบของ Dune แอบซ่อนอยู่ในเรื่องราวต่าง ๆ อย่างแยบยล ไม่มากก็น้อย

หาใช่เรื่องแปลกอันใด เมื่อ Dune ถูกมองว่าเป็นวัตถุดิบชั้นยอด มักถูกดัดแปลงให้ไปอยู่ในรูปแบบสื่ออื่น ๆ ที่หลากหลาย นอกจากภาพยนตร์แล้ว วรรณกรรม Dune ยังเคยถูกดัดแปลงให้เป็นวิดีโอเกม หนึ่งในนั้นเป็นวิดีโอเกมอันถูกกล่าวขานว่าเป็นผู้ปฏิวัติ วางรากฐาน และเบิกทางให้กับเกมแนว real-time strategy อย่าง Dune II ของทีมพัฒนาระดับตำนาน Westwood Studios ซึ่งต่อมาได้ใช้แนวคิดของเกม Dune II สร้างเกม RTS ที่ทุกคนล้วนรู้จักและยังคงถวิลหา “Command & Conquer

จากคำครหา

เมื่อย้อนกลับสู่ช่วงพัฒนาเกม Dune II มีเรื่องราวน่าสนใจไม่น้อย แสดงให้เห็นถึงแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังระบบต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นสูตรสำเร็จของเกมแนว RTS ในเวลาต่อมา โดยผู้พัฒนาล้วนได้รับแรงบันดาลใจมาจากทั้งผลงานเก่าของพวกเขาเอง และเกมของทีมพัฒนาอื่นที่กำลังโด่งดังในช่วงเวลานั้น แต่แรงบันดาลใจที่สำคัญที่สุดมาจากความเห็นเชิงครหาว่าร้ายต่อเกมแนววางแผน ว่าเกมแนวดังกล่าวกำลังอยู่ในช่วงขาลง

มีการกล่าวว่าเกมแนววางแผนมันห่วยเพราะขาดนวัตกรรม มีการออกแบบที่ไม่สู้ดี และเกมแนวนี้กำลังเข้าสู่ช่วงขาลงอย่างเนิบช้า เนื่องจากผู้เล่นย้ายไปเล่นเกมที่น่าสนใจกว่า ซึ่งคุณ Brett Sperry ผู้ร่วมก่อตั้ง Westwood Studios และอำนวยการสร้างของ Dune II กลับเห็นต่าง เขาคิดว่าเกมแนวนี้ยังมีศักยภาพและต้องการพิสูจน์ว่าเกมแนวนี้ยังไปต่อได้อีก พร้อมทั้งคิดว่าเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับคิดค้นระบบการควบคุมที่เหมาะสมสำหรับเกมวางแผนที่รวดเร็วและอัดแน่นไปด้วยความพลวัตแบบเรียลไทม์

ความท้าทายประการแรกคือการยกเครื่องระบบควบคุมสำหรับเกมวางแผน ในยุคสมัยที่ระบบปฏิบัติการ MS-DOS ยังเป็นที่นิยม ด้วยระบบ user interface (UI) แบบ text-based user interface (TUI) ทีมพัฒนากลับเห็นว่าการแก้ปัญหา UI ในเกมแนวนี้เพื่อสร้างการควบคุมที่เรียบง่ายแต่มีประสิทธิภาพ คือการนำปรัชญาการออกแบบ UI จาก macOS มาใช้ ด้วยการออกแบบที่เน้นการคลิก เลือก เล็ง ลากเมาส์เพื่อสั่งการต่าง ๆ หากนำมาไว้ในเกม สามารถสร้างความสะดวกมากกว่าการใช้คีย์บอร์ดพิมพ์สั่งการเป็นหลัก และเหมาะสมกับการควบคุมเกมที่มีความพลวัต รวดเร็ว ต้องใช้ความไวในการสั่งการมากกว่าก่อน นอกจากนั้นยังมีแรงบันดาลใจจากเกมของทีมพัฒนา Bullfrog อย่างเกม Populous ที่ใช้การควบคุมแบบคลิกเมาส์สั่งการได้อย่างลื่นไหล


ความท้าทายประการต่อมากับการแก้ปัญหาความเฉื่อยชาและน่าเบื่อในเกมแนวนี้ เมื่อคุณ Brett ลองเล่นเกมในบิวท์แรก ๆ พบว่ามันน่าเบื่อและใช้เวลาไม่มากก็เล่นจบ เขาจึงต้องหาวิธีในการสร้างความน่าสนใจให้กับเกม ไม่ว่าการสร้างอุปสรรคให้กับผู้เล่น, ระบบการสร้างความเป็นพลวัต, ระบบก่อสร้างยูนิตและฐานทัพ, ระบบหมอกสงคราม รวมถึงระบบการจัดการทรัพยากรที่ลงตัวกับแนวคิดของจักรวาล Dune ได้อย่างแนบเนียน ซึ่งล้วนได้แรงบันดาลใจมาจาก Civilization ภาคแรกที่วางจำหน่ายในปี 1991 เป็นผลให้ Dune II มีส่วนผสมของการวางแผน, ต่อสู้, สำรวจ และบริหารจัดการทรัพยากรอย่างลงตัว

ความท้าทายประการสุดท้ายกับการโดนเกม IP เดียวกันออกตัดหน้าภายในปีเดียวที่วิดีโอเกม Dune II วางจำหน่าย ปรากฏว่ามีเกม Dune โดยทีมพัฒนา Cryo Interactive ซึ่งเป็นเกมแนว point-and-click ผสมกับ strategy วางจำหน่ายอีกเช่นกัน โดยทั้งสองวางจำหน่ายหลังจาก Dune ฉบับภาพยนตร์ของคุณ David Lynch ออกฉายก่อนหน้า 8 ปี ซึ่งทั้งคู่ล้วนได้แรงบันดาลใจจากฉบับภาพยนตร์ แต่มีแนวคิดหลักในการพัฒนาที่แตกต่างกันออกไป Dune II สรรค์สร้างเรื่องราวในโลก Dune ในยุคหลายพันปีหลังจากวรรณกรรมเพื่อผละตัวเองจากการถูกผูกมัดเรื่องราวในวรรณกรรมและเกม Dune ของ Cryo Interactive


สาเหตุที่มีเกม IP เดียวกันออกซ้อนกันเพราะทางผู้ซื้อสิทธิดัดแปลง Dune อย่าง Virgin Games ว่าจ้างทีม Cryo Interactive พัฒนาเกม IP นี้ แต่ Virgin Games คิดว่า Cryo Interactive ไม่น่าจะพัฒนาเกมให้เสร็จทันกำหนดและคิดว่ายกเลิกการพัฒนาไปแล้ว จึงว่าจ้าง Westwood Studios พัฒนาเกม Dune แทน ผลกลับกลายเป็นว่า Cryo Interactive เร่งพัฒนาเกมจนเสร็จ จึงมีเกม Dune อยู่สองเกมออกภายในปีเดียวกัน เรียกได้ว่าเป็นฝันร้ายสำหรับการตลาด เพราะทั้งสองเกมไม่มีความเกี่ยวข้องนอกจากอยู่ในจักรวาล Dune เหมือนกัน โดยเกม Dune ของ Cryo Interactive วางจำหน่ายก่อน ทาง Westwood Studios จึงต้องคิดชื่อสร้อยให้เกมเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน

สู่การปฏิวัติเกมแนว RTS

ท้ายที่สุด Dune II: The Building of a Dynasty (หรือรู้จักในชื่อ Dune II: The Battle for Arrakis สำหรับการทำตลาดในแถบยุโรป และ Dune: The Battle for Arrakis สำหรับการพอร์ตลงเครื่อง Sega Mega Drive/Genesis) วางจำหน่ายในปี 1992 โดย Dune II มีเรื่องราวของการพุ่งรบระหว่างตระกูล Atreides, ตระกูล Harkonnen และตระกูล Ordos เพื่อแก่งแย่งตำแหน่งผู้ปกครอง Arrakis ไว้แต่เพียงผู้เดียว ตามข้อเสนอของจักรพรรดิ Frederick ที่ 4 สำหรับผู้ที่นำ spice มาให้พระองค์ได้มากที่สุด โดยผู้เล่นได้รับบทเป็นผู้บัญชาการกองทัพของแต่ละตระกูลตามการตัดสินใจของผู้เล่น

Dune II มาพร้อมระบบพื้นฐานอย่าง ระบบการเก็บเกี่ยวทรัพยากรเพื่อนำมาพัฒนากองกำลัง, ระบบการควบคุมยูนิตและสิ่งก่อสร้างแบบเรียบง่ายเพียงแค่คลิกและลากเมาส์, ระบบหมอกสงครามบดบังวิสัยทัศน์ผู้เล่นจนกว่าจะได้สำรวจพื้นที่, ระบบการพัฒนาเทคโนโลยีของกองทัพ, ระบบสงครามอสมมาตรที่ต่างฝ่ายต่างมีข้อดีข้อเสียเฉพาะตัว และ UI ที่เรียบง่าย สั่งได้ดั่งใจนึก แม้ไม่ใช่เกมแนว RTS เกมแรก (หลายสำนักต่างยกให้เกม Herzog Zwei เป็นเกมแรกของแนว RTS) แต่ทุกอย่างล้วนหล่อหลอมให้ Dune II กลายเป็นพิมพ์เขียวสำคัญสำหรับเกมแนว RTS ในยุคปัจจุบัน และคำว่า real-time strategy ก็มาจากคุณ Brett Sperry คิดคำนี้เพื่อใช้ในการอธิบายตัวเกมแก่ผู้เล่นและสื่อต่าง ๆ ซึ่งในตอนนั้นเขาคิดไว้หลายคำ อย่าง “real-time war game”, “real-time war”, “wargame”, หรือ “strategy game” แต่สุดท้ายก็เลือกใช้คำว่า real-time strategy 

Dune II ประสบความสำรวจทั้งรายได้และคำวิจารณ์ในระดับยอดเยี่ยม ถูกขนานนามว่าเป็นหนึ่งในนวัตกรรมของวงการเกม Dune II ได้เปลี่ยนโฉมเกมวางแผนให้มีความรวดเร็ว ดุเดือด และที่สำคัญคือตัวเกมทำความเข้าใจง่ายแต่ยังคงไว้ซึ่งความซับซ้อน แตกต่างจากเกมวางแผนก่อนหน้าที่เป็นเกมแนว “ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำ” (slow-paced) ระบบของเกม Dune II ผลักดันกึ่งบีบบังคับให้ผู้เล่นต้องคิดไว ทำไว ตัดสินใจให้ถี่ถ้วนและถูกต้อง ทั้งการจัดการทรัพยากร กองทัพ กลยุทธ์การจู่โจมและตั้งรับ การแพ้ชนะเกิดขึ้นได้หลายหนทาง ซึ่งล้วนเกิดจากการตัดสินใจของผู้เล่นทั้งสิ้น


หลังจากสร้างมาตรฐานใหม่ให้วงการเกม RTS ทีมพัฒนาสานต่อและตอกย้ำว่าสมการแห่งความสำเร็จของ Dune II หาใช่เรื่องบังเอิญ ด้วยเกม Command & Conquer นอกจากนำสูตรสำเร็จและความรู้เชิงปฏิบัติการของ Dune II มาใช้ทุกองคาพยพ ยังปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบดังกล่าวให้ดียิ่งขึ้น ความสำเร็จของ Command & Conquer เป็นการผลักดันวงการเกม RTS ไปอีกขั้น จนทำให้เข้าสู่ยุครุ่งเรืองของแนวเกมดังกล่าว StarCraft, Age of Empires และอื่น ๆ อีกมากมาย ยกขบวนออกมาสร้างสีสันให้กับวงการเกม เกม RTS ไม่ใช่เกมเฉพาะกลุ่มอีกต่อไป กลายเป็นเกมสายหลักของอุตสาหกรรมวิดีโอเกมอย่างเต็มตัว พร้อมทั้งสร้างผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจและวัฒนธรรม อย่างเช่น ความโด่งดังของเกม RTS สร้างการเติบโตให้กับวงการ “ร้านเน็ต” และเกม RTS ก็ได้แทรกซึมไปอยู่ในชีวิตประจำวัน กลายเป็นบรรทัดฐานทางสังคม เห็นได้ชัดที่สุดคือในประเทศเกาหลีกับเกมประจำชาติอย่าง StarCraft ที่ร้านเน็ตล้วนมีขึ้นเพื่อรองรับการเล่น StarCraft โดยเฉพาะ อีกกระทั่งเกมดังกล่าวยังได้สอดแทรกอยู่ในเพลง รายการโทรทัศน์ วงการไอดอล จนเป็นเรื่องปกติ


ลงเอยด้วยจุดจบเกม Dune 

ในช่วงเวลาแห่งความรุ่งเรืองของเกมแนว RTS สวนทางกันกับความรุ่งโรจน์ของวิดีโอเกมในนาม Dune เพราะหลังจาก Dune และ Dune II กลับมีเกม Dune อย่างเป็นทางการอีกเพียงสามเกมคือ Dune 2000, Emperor: Battle for Dune และสุดท้ายเกม Frank Herbert's Dune

Dune 2000 จำหน่ายในปี 1998 พัฒนาโดย Intelligent Games จัดจำหน่ายโดย Westwood Studios ผู้พัฒนาวางเป้าให้เป็นเกมกึ่งรีเมคของ Dune II โดยใช้เกมเอนจินจาก Command & Conquer เพื่ออัปเดตระบบเกมให้ทันยุคทันสมัย ถึงแม้ว่างานภาพของเกมสวยงามขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เป็นผลพวงจากเกมเอนจินใหม่ แต่ตัวเกมมีปัญหาด้านระบบการเล่นจากแนวคิดที่ย้อนแย้งจากเกมภาคต้นฉบับ คือการพยายามปรับสมดุลของยูนิตแต่ละฝ่าย ทั้งที่เกมต้นฉบับยึดมั่นในแนวคิดของการสร้างความเฉพาะตัวให้แต่ละฝ่าย ด้วยแนวทางการเล่น, รูปแบบยูนิต และสิ่งก่อสร้างเป็นของตัวเอง จึงทำให้มีจุดเด่นและจุดด้อยนำมาหักล้างกัน รวมถึงไม่ได้มีการเพิ่มระบบใหม่ ๆ เข้ามาในเกม ยิ่งไปกว่านั้นคือการที่ทีมพัฒนาไม่ได้ใส่ใจกับรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ทำให้ตัวเกมมีความ “งานไม่ละเอียด” เมื่อเทียบกับ Command & Conquer จนท้ายที่สุด Dune 2000 กลายเป็นเกมที่ถูกตีตราปะหน้าว่า “Command & Conquer ในร่าง Dune”

ต่อมา Emperor: Battle for Dune จำหน่ายในปี 2001 ซึ่ง Westwood Studios พัฒนาร่วมกับ Intelligent Games เกมถูกปรับภาพให้เป็นสามมิติเต็มรูปแบบ และนำระบบจาก Dune II กับ Command & Conquer มาปรับปรุงและต่อยอด โดยเกมได้รับคำวิจารณ์ในระดับดี แตกต่างจาก Dune 2000 โดยสิ้นเชิง แต่ก็ไม่โดดเด่นจนเทียบเคียงสุดยอดเกม RTS ในยุคเดียวกันได้ แม้กระทั่งผลงานของ Westwood Studios เอง อย่าง Command & Conquer: Red Alert 2 

ส่วน Cryo Interactive ที่ยังไม่ยอมแพ้ กลับมาทำเกม Dune อีกครั้งกับเกม Frank Herbert's Dune แต่ความไม่ยอมแพ้ของพวกเขานั้นกลายเป็นเพียงความดื้อดึงติดตรึงความไม่ปล่อยวาง ด้วยคุณภาพเกมที่ไม่มีใครอยากเอื้อนเอ่ยถึง เป็นการขุดหลุมฝังกลบจบตำนาน Dune ในอุตสาหกรรมวิดีโอเกม ไม่ได้เห็นแสงเดือนแสงตะวัน จวบจนปัจจุบัน

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header