GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
$69.99 Vs ระบบ Subscribe คำถามที่ถูกตั้งขึ้นเมื่อคำนึงถึง 'ความคุ้มค่า'
ลงวันที่ 22/11/2021

หลังจากรับใช้เหล่าเกมเมอร์มานานถึง 7 ปี เครื่องคอนโซล PS4 ก็ใกล้จะกลายเป็นเครื่องเล่นเกมที่ปลดระวางมากขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้นึกถึงวันวานที่แสนสนุก ซึ่งได้ใช้เวลาร่วมกัน และเป็นการต้อนรับการมาของยุคใหม่ PS5 ยิ่งได้นั่งมองเครื่องเล่นเกมเก่าและใหม่ ที่นอนอยู่ข้างๆ กันนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำความรู้สึกว่าเวลาได้ผ่านไปแล้วมากขึ้นเท่านั้น แม้การมาของยุคสมัยใหม่จะเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น ด้วยภาพที่สวยขึ้น ระบบควบคุมที่ดีขึ้น ระบบเสียงที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นยังนำพาความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาด้วย นั้นก็คือ ราคาของเกม AAA ที่แพงมากยิ่งขึ้น

จาก $59.99 สู่ราคาใหม่ของเกมระดับ AAA ที่แพงมากขึ้นเป็น $69.99 การเปลี่ยนแปลงนี้แม้มองเผินๆ เหมือนไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ก็ทำให้ฉุกคิดขึ้นมาได้เหมือนกันว่า 'มันหมายถึงเม็ดเงินที่ต้องสูญเสียมากขึ้นต่อๆ ไปในอนาคต' แม้จะเพิ่มขึ้นไม่มากมายอะไรในแต่ละครั้ง แต่พอรวมๆ กันแล้วก็คงเรียกได้ว่าไม่ใช่เงินก้อนเล็กๆ พร้อมกันนี้มีคำถามหนึ่งถูกตั้งขึ้นมาอย่างเงียบๆ "แล้วเกมนี้คุ้มค่ากับเงินที่ต้องเสียไปจริงๆ รึเปล่า?" 


ความคุ้มค่านั้นวักได้จากอะไร?

หลายครั้งที่เรามักได้ยินคนพูดว่า "รู้สึกว่าซื้อมาแล้วยังเล่นไม่คุ้มเลย" หรือ "ซื้อมาตั้งแพงแต่เล่นได้นิดเดียว รู้สึกยังไม่คุ้มเลย" จากสองประโยคดังกล่าวจะสังเกตได้ว่า จำนวนชั่วโมง ที่ใช้ในการเล่นเกมหนึ่งเกมมักถูกเอามาเป็นตัวแปลหนึ่งในการวัด ความคุ้มค่า ที่เราได้จากเกมหนึ่งเกมหลังจากเสียงเงินเพื่อซื้อมา และแม้แต่ผู้พัฒนาเองก็มีอยู่บ่อยครั้งเหมือนกันที่นำจำนวนชั่วโมงที่ต้องใช้เล่นมาใช้เป็นหนึ่งในจุดขาย หรือโฆษณาปริมาณคอนเทนต์ที่มีให้เล่นในเกม

เอาจริงๆ แล้วสิ่งที่จะวัดความคุ้มค่าที่เราได้จากเกมหนึ่งเกม หรือเงินที่ต้องจ่ายไป ไม่ได้ถูกวัดด้วยจำนวนชั่วโมงที่ต้องใช้ในการเล่นเสียทีเดียว หากแต่เป็นความสนุกที่ได้ในช่วงเวลาที่เล่นเกมที่ซื้อมาเสียมากกว่า แต่ก็ต้องยอมรับไปในทิศทางเดียวกันด้วยว่า หากเกมที่ซื้อมานั้นทำให้เรารู้สึกสนุกไปกับการเล่นได้จริงๆ จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการเล่นมักจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เอง เพราะเราเลือกที่จะเปิดเกมนั้นมาเล่นบ่อยๆ เพราะยังสนุกกับมันอยู่

ดังนั้นผู้เขียนจึงคิดว่า "การนำจำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการเล่นจนเรารู้สึกเบื่อ เป็นหนึ่งในวิธีที่วัดความคุ้มค่าของเกมที่ซื้อได้" นอกจากนี้ในปัจจุบันเกมระดับ AAA นั้นมักถูกออกแบบมาให้สามารถใช้เวลาได้เป็นหลัก 100 ชั่วโมงเพื่อตามหาความลับ เคลียร์คอนเทนต์ทั้งหมด หรือการ New Game+ เพื่อดูฉากจบอีกหลายแบบที่เป็นไปได้อยู่แล้ว ดังนั้นผู้เขียนคิดว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ หากเราจะใช้จำนวนชั่วโมงที่เล่นในการกำหนดความคุ้มค่าในการซื้อเกม AAA มาเล่นของแต่ละคน


คำถามคือการซื้อเกม AAA มาเล่นในแต่ละครั้ง เราสนุกกับมันจนคุ้มค่าจริงๆ รึเปล่า?

ที่นี่หากอ้างอิงจากที่อธิบายมาข้างบน จริงอยู่ว่าเกม AAA ส่วนใหญ่นั้น มักมีคอนเทนต์ที่ให้เลือกเล่นมากมาย และคงได้ใช้เวลากันเป็นหลัก 100 ชั่วโมงแน่ๆ หากเล่นกันแบบทำคอนเทนต์ ไขปริศนาทั้งหมด อย่างไรก็ตามในบางครั้งความสนุกที่เราได้จากเกมก็ไม่ได้มาจากคอนเทนต์อื่นๆ ภายในเกม หากแต่เป็นเนื้อเรื่องที่น่าติดตาม หรือบางครั้งอาจเป็นเกมเพลย์ที่สนุกเฉยๆ ทำให้ก็ไม่ใช่ทุกครั้งที่ซื้อเกมมาเล่นแล้วจะรู้สึกว่า คุ้มค่าจริงๆ แม้ว่าจะสนุกกับเกมนั้นๆ มากก็ตาม

บางครั้งเกม AAA ที่ถูกปล่อยออกมา อาจมาในรูปแบบของ Live Service ที่เพิ่มคอนเทนต์เข้ามาให้เราสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในภายหลัง แต่ไม่ได้มีคอนเทนต์มากมายอะไรนักให้เล่นในช่วงแรกที่เกมวางขาย ซึ่งก็ไม่ใช่ผู้เล่นทุกคนที่จะอยู่รอให้คอนเทนต์ใหม่ๆ ถูกเพิ่มเข้ามา บางคนอาจเลิกไปก่อนแล้วเนื่องจากไม่มีอะไรให้ทำ แม้ว่าบางคนอาจกลับมาเล่นเมื่อมีการเพิ่มคอนเทนต์ใหม่ๆ เข้ามาจนพอจะทำให้รู้สึกว่า คุ้มค่าได้อยู่บ้าง แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นเช่นนั้น สำหรับคนที่เลิกเล่นไปเลยก็จะรู้สึกว่า การซื้อเกมในครั้งนั้นเป็นอะไรที่ไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย


แน่นอนว่ามันดีขึ้นหน่อยในยุคนี้ที่เรามักจะได้รับโอกาสเข้าไปทดลองเล่นเกมก่อนทั้งผ่าน DEMO หรือรอบทดสอบต่างๆ ที่ผู้พัฒนาเปิด และร้านค้าส่วนใหญ่เองก็เปิดให้ Refund ค้าเกมได้หากเล่นไปแล้วรู้สึกว่าไม่ชอบ อย่างไรก็ตามจำนวนชั่วโมงใน DEMO กับ 2 ชั่วโมงแรกเพื่อให้ยังทำการ Refund ได้ เพียงพอจะพิสูจน์ได้จริงหรือ? ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ผู้เขียนรู้สึก และตั้งคำถามมาตลอดปีหลังจากที่รู้สึก ไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย กับเกม AAA หลายๆ ผลงานที่ซื้อมาเล่นในปีนี้

Outrider เป็นเกมแรกที่มอบความรู้สึกดังกล่าวให้กับผู้เขียนในช่วงเดือน เมษายน 2021 ด้วยความที่เป็นคนชอบเกม Borderlands มากๆ จึงคิดว่าเกมนี้ที่เป็นสไตล์เดียวกันคงทำให้เราสนุกได้ๆ พอรวมกับชื่อบริษัทผู้จัดจำหน่ายที่เป็น Square Enix ด้วยแล้ว จึงคิดว่าไม่น่าใช้เรื่องที่ผิดพลาด แต่พอเอาเข้าจริงมันไม่ใช่แบบนั้น แม้ว่าเกมเพลย์จะ Action หนักสมใจสนุกดี แต่วิธีการเล่าเรื่องที่ไม่น่าติดตาม และการออกแบบแผนที่ซึ่งต้องโหลดบ่อยๆ ทำเอาขัดใจมากๆ ในตอนเล่น พอหลายชั่วโมงผ่านไปก็ไม่สามารถรู้สึกสนุกกับเกมนี้ได้จริงๆ อีกต่อไป ที่หนักที่สุดคือคอนเทนต์ End Game ที่น่าเบื่อมาก เควสย่อยที่เนื้อเรื่องน่าเบื่อมาก สุดท้ายจึงได้ใช้เวลาเล่นเกมนี้ไปแค่ประมาณ 30 ชั่วโมง (ประมาณ 1 อาทิตย์) โดยที่ยังไม่ได้สู้กับบอสท้ายเกมใน Eye of Storm เลย และทิ้งความรู้ว่า ไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย มาจนถึงตอนนี้


เกมที่มอบความรู้สึก ไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย ต่อมาคือ Back 4 Blood ทั้งนี้ไม่ได้จะบอกว่าเกมเพลย์ของเกมนี้น่าเบื่อ หากแต่เป็นปริมาณคอนเทนต์ที่มีไม่มาก จนรู้สึกว่าไม่คุ้มค่าเกมเลยตั้งแต่แรกมากกว่า หลังจากเล่นไปได้ 20 - 30 ชั่วโมง ผ่านระดับความยากสุดของเกมทุกๆ ด้านได้กับกลุ่มเพื่อน ทุกคนก็เกิดความรู้สึกว่า "แล้วยังไงต่อ?" ขึ้นมาพร้อมๆ กัน ไม่มีความยากอะไรให้ท้าทายแล้ว ครั้นจะให้ลงไปวิ่งเล่น ด่านเดิมๆ ใหม่อีกครั้งก็รู้สึกว่าน่าเบื่อจนเกินไป (เนื่องจากตอนเล่นระดับความยากสุด ใน 1 ด่านได้วิ่งกันหลายครั้งมากๆ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว) สุดท้ายจึงได้หยุดเล่นกันไป

แต่ผลงานที่เลวร้ายที่สุดสำหรับผู้เขียนในปีนี้คงไม่พ้น Call of Duty: Vanguard ที่แม้แต่ส่วนที่น่าติดตามที่สุดอย่างเนื้อเรื่องของเกม ที่ในภาคนี้ให้ความรู้สึกว่าโดนลดความสำคัญจนทั้งสั้นเกินไป และไม่น่าสนใจ ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นมาบ้างเมื่อได้เล่นโหมด Multiplayer รูปแบบใหม่ของเกม อย่างไรก็ตามพอเล่นไปได้สัก 5 - 10 เกม ก็เริ่มรู้เฉยๆ กับมัน แต่เลวร้ายที่สุดเห็นจะเป็นโหมด Zombie ที่ผู้เขียนคิดว่าห่วยแตกสิ้นดีไม่น่าเล่น น่าเบื่อ และไม่สนุกด้วย เกมนี้ได้เวลาจากผู้เขียนไปแค่ประมาณ 10 - 15 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งมันทำให้ตั้งคำถามหนักมากๆ ว่า "เราควรจะยอมจ่ายเงิน 1600 - 1800 บาท เพื่อความสนุกเพียงแค่นี้มันจะดีจริงๆ หรือ?"


การ Subscribe เพื่อเล่นเกม อาจเป็นทางออก?

หลังจากเจ็บมาถึง 3 ครั้งในหนึ่งปี ก็ทำเอาผู้เขียนคิดหนักกับการจะซื้อเกมระดับ AAA มาเล่นในแต่ละครั้ง เนื่องจากภาระที่มากขึ้น ค่าใช้จ่ายในชีวิตที่ไม่หนักขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง COVID-19 ระบาด จึงทำให้ไม่ค่อยกล้าที่จะซื้อเกมมาทดลองเหมือนสมัยก่อน จนกระทั่งวันหนึ่งที่นึกขึ้นได้ว่า โลกนี้มีระบบที่ให้เรา Subscribe เพื่อโหลดเกมมาเล่นฟรีได้อยู่ บวกกับตอนนั้นอยู่ดีๆ ก็รู้สึกอยากเล่นเกมแข่งรถอย่าง Need for Speed ขึ้นมา จึงเป็นครั้งแรกที่มีโอกาสได้สมัครเป็นสมาชิก EA Play ด้วยเงิน 150 บาท แล้วโหลด Need for Speed Heat มาเล่น

แน่นอนว่า โดยปกติผู้เขียนไม่ได้เป็นสายเล่นเกมแข่งรถอยู่แล้ว แต่วันนั้นไปดูหนัง Fast and Furious 8 มาเลยทำให้เกิดความรู้ประมาณว่า "อยากจะซิ่งรถกับเขาบ้างจัง" แต่ก็รู้ตัวดีเหมือนกันว่าไอ้ความรู้สึกประมาณนี้จะอยู่ไม่นาน ซึ่งต่อให้จะรู้สึกสนุกกับมันมากๆ ขึ้นมาจริงก็คงไม่ได้ใช้เวลาเล่นอะไรมากมายขนาดนั้น เต็มที่ 2 - 3 อาทิตย์ก็คงเลิก การจ่ายเงิน Subscribe เพียง 150 บาท แล้วสามารถโหลดเกมมาเล่นได้จึงเป็นอะไรที่ผู้เขียนคิดว่าคุ้มค่ามากๆ เพราะต่อให้เล่น Need for Speed ไปแล้วไม่ชอบก็ยังสามารถโหลดเกมอื่นๆ ใน EA Play มาเล่นต่อได้ในช่วง 1 เดือนนั้น

สุดท้ายผู้เขียนก็เล่น Need for Speed Heat ได้อยู่ 2 อาทิตย์ แล้วก็ไม่ได้เล่นต่อ ใช้เวลาไปรวมๆ ประมาณ 20 - 25 ชั่วโมง แต่ก็ไม่ได้รู้เสียดายอะไรมากนัก เพราะถือว่า 20 - 25 ชั่วโมงนั้นได้สนุกกับมันอย่างเต็มที่แล้ว แถมก็ไม่ได้เสียเงินไปเยอะมากมายเพื่อให้ได้ความสนุชั่วคราวดังกล่าวมาด้วย แถมยังได้ทดลองเล่น Anthem ที่สนใจมานาน แต่ไม่กล้าซื้ออีกนิดหน่อยด้วย ทำเอาคิดขึ้นมาเล่นว่า ไอ้ระบบ Subscribe เพื่อเล่นเกม ก็ดีเหมือนกัน


การเติบโตของ ระบบ Subscribe และโอกาสเป็น New Normal

ระบบ Subscribe เพื่อเล่นเกมนั้นเอาจริงๆ มีมานานแล้วตั้งแต่ปี 2014 โดย EA ใช้ชื่อว่า EA Play บนเครื่อง Xbox ก่อนจะตามมาลงให้กับ PC ในปี 2016 ข้อดีของระบบนี้คืออย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า สมาชิกจะสามารถเข้าถึงเกมจำนวนมากโดยไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินซื้อเกมเหล่านั้นจริงๆ เลย อย่างไรก็ตามระบบแบบนี้ก็มีจุดอ่อนเช่นเดียวกัน นั้นก็คือหากรายชื่อของเกมที่มีให้เล่นไม่น่าสนใจมากพอ ก็จะไม่มีใครสมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาใช้บริการ

EA สามารถทำสำเร็จได้ เพราะตัวบริษัทมีเกมทั้งฟอร์มเล็ก ฟอร์มใหญ่มากมายให้เล่น ต่อมา Microsoft ได้ทำตามโดยนำเสนอ Xbox Game Pass ให้เกมเมอร์ทั่วโลกได้รู้จัก และตามมาด้วย Ubisoft ในชื่อ Ubisoft+ แต่แม้ว่าระบบเหล่านี้จะน่าสนใจมากขนาดไหน ก็ยังไม่สามารถเข้าถึงผู้เล่นส่วนใหญ่ได้จนถึงขนาดเป็นที่พูดถึงหลายคนรู้จัก แต่อะไรๆ ก็เปลี่ยนไปในช่วง 1 - 2 ปีที่ผ่านมาเมื่อ  Microsoft  ตัดสินใจที่จะผลักดัน  Xbox Game Pass อย่างจริงจัง


ด้วยการผลักดันอย่างจริงจังของ Microsoft จึงทำให้ตอนนี้ Xbox Game Pass มีเกมระดับ AAA จากผู้พัฒนาอื่นที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ Xbox ถูกเพิ่มเข้ามาให้สมาชิกเลย รวมถึง EA ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับ Xbox มานานแล้ว ก็เปิดให้สมาชิก Xbox Game Pass เป็นสมาชิกของ EA Play และสามารถโหลดเกมของทาง EA มาเล่นได้ด้วย แต่ที่ทำให้ระบบนี้น่าสนใจมากที่สุด คือการสามารถทำให้แม้แต่เกมฟอร์มยักษ์ที่กำลังจะวางจำหน่ายใหม่ๆ มาลงให้กับระบบของตัวเองได้ ดังนั้นการเป็นสมาชิก Xbox Game Pass ในตอนนี้จึงหมายถึงการสามารถสนุกไปกับเกมเยอะมากๆ ได้ในราคาเพียงเดือนละ $10 หรือประมาณ 300 บาท เท่านั้น แถมยังสามารถใช้งานได้ทั้งบน Console และ PC อีกต่างหาก คือถ้าพูดถึงความคุ้มค่าเพียงอย่างเดียว การสมัครสมาชิก Xbox Game Pass อาจถือเป็นการจ่ายเงินเพื่อให้ได้เล่นเกมที่คุ้มค่ามากที่สุดแล้วตอนนี้

จากการเติบโตของ Xbox Game Pass จากคำบอกเล่าของคุณ Phil Spencer ที่ยืนยันว่าระบบนี้กำลังเติบโตอย่างยั่งยืนอยู่ หมายความว่าหลังจากนี้ทาง Mircrosoft จะยิ่งหาเกมมาลงให้กับระบบของตัวเองมากยิ่งขึ้นไปอีกทำเอาคิดเลยว่า "เป็นไปได้ขนาดไหน? ที่สุดท้ายแล้ว ระบบนี้จะมีชื่อเสียงจนถึงระดับที่ใครๆ ก็เป็นสมาชิกกันเหมือนกับ Netflix หรือ Disney+" เพราะถ้าหากเป็นแบบนั้นได้ การจ่ายเงินเพียงเดือนละ 300 - 500 บาทเพื่อให้ได้เล่นเกม ก็ดูไม่ใช่ตัวเลือกที่แย่เท่าไหร่นัก ออกจะเป็นเรื่องดีเสียด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตามระบบเช่นนี้ก็มีข้อเสียร้ายแรงของตัวมันเอง เนื่องจากผู้เล่นไม่ได้เป็นเจ้าของเกมในการเป็นสมาชิกระบบเหล่านี้ ดังนั้นถ้าหากเดือนไหนไม่ได้จ่ายค่าสมาชิก ก็จะไม่สามารถเล่นเกมอะไรภายในระบบได้เลย แตกต่างจากการเป็นเจ้าของเกมเองที่สามารถหยิบมาเล่นตอนไหน เวลาไหนก็ได้ ดังนั้นสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาเล่นเกมเท่าไหร่นัก การสมัครสมาชิกระบบเหล่านี้ก็อาจใช้ประโยชน์จากมันได้ไม่คุ้มค่าเท่าไหร่นัก นอกจากนี้แม้ว่าระบบเหล่านี้จะทำให้เราเข้าถึงเกมดีๆ ได้มากมาย แต่ถ้าหากไม่มีเกมที่เราอยากเล่นอยู่ในช่วงนั้นเลยก็ไม่มีความหมาย ในทางกลับกันแบบนั้นจะเป็นการเปลืองเงินเสียมากกว่าด้วย เพราะสมัครมาแล้วไม่ได้เปิดเกมจากระบบที่สมัครไปขึ้นมาเล่นเลย


ลากยาวมาหลายสิบบรรทัด สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะเล่าให้ฟังจริงๆ ในบทความนี้ คือประสบการณ์ที่มีโอกาสได้ไปลองใช้ระบบ Subscribe แล้วคิดว่า "สิ่งนี่แหละที่จะกลายเป็นอนาคตใหม่ของวงการเกม" เนื่องจากหากสามารถจ่ายเงินในราคาถูก แต่เข้าถึงเกมดีๆ ที่เราอยากเล่นได้ เป็นใครจะไม่ทำบ้าง? แม้ว่าเราอาจไม่ได้เป็นเจ้าของเกมนั้นจริงๆ แต่หากพอใจกับการที่จะเล่นให้เคลียร์ อยากสัมผัสเกมนี้ด้วยตัวเอง มันจำเป็นขนาดไหนที่เราจะต้องเป็นเจ้าของเกมนั้นด้วยตัวเอง? ถ้าหากสามารถสนุกในเกมเดียวกัน สามารถ Co-Op กับเพื่อนๆ ได้เหมือนกัน รับประสบการณ์แบบเดียวกันได้ เห็นฉากจบของเกมได้เหมือนกัน ระหว่างจ่าย 300 บาท กับจ่าย 1,800 บาท เพื่อนๆ จะเลือกอะไร? อยากฝากให้ลองเปิดใจใช้งานระบบ Subscribe เพื่อเล่นเกมกันดูครับ 


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
$69.99 Vs ระบบ Subscribe คำถามที่ถูกตั้งขึ้นเมื่อคำนึงถึง 'ความคุ้มค่า'
22/11/2021

หลังจากรับใช้เหล่าเกมเมอร์มานานถึง 7 ปี เครื่องคอนโซล PS4 ก็ใกล้จะกลายเป็นเครื่องเล่นเกมที่ปลดระวางมากขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้นึกถึงวันวานที่แสนสนุก ซึ่งได้ใช้เวลาร่วมกัน และเป็นการต้อนรับการมาของยุคใหม่ PS5 ยิ่งได้นั่งมองเครื่องเล่นเกมเก่าและใหม่ ที่นอนอยู่ข้างๆ กันนานเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำความรู้สึกว่าเวลาได้ผ่านไปแล้วมากขึ้นเท่านั้น แม้การมาของยุคสมัยใหม่จะเป็นสิ่งที่น่าตื่นเต้น ด้วยภาพที่สวยขึ้น ระบบควบคุมที่ดีขึ้น ระบบเสียงที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นยังนำพาความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่มาด้วย นั้นก็คือ ราคาของเกม AAA ที่แพงมากยิ่งขึ้น

จาก $59.99 สู่ราคาใหม่ของเกมระดับ AAA ที่แพงมากขึ้นเป็น $69.99 การเปลี่ยนแปลงนี้แม้มองเผินๆ เหมือนไม่ใช่เรื่องใหญ่ แต่ก็ทำให้ฉุกคิดขึ้นมาได้เหมือนกันว่า 'มันหมายถึงเม็ดเงินที่ต้องสูญเสียมากขึ้นต่อๆ ไปในอนาคต' แม้จะเพิ่มขึ้นไม่มากมายอะไรในแต่ละครั้ง แต่พอรวมๆ กันแล้วก็คงเรียกได้ว่าไม่ใช่เงินก้อนเล็กๆ พร้อมกันนี้มีคำถามหนึ่งถูกตั้งขึ้นมาอย่างเงียบๆ "แล้วเกมนี้คุ้มค่ากับเงินที่ต้องเสียไปจริงๆ รึเปล่า?" 


ความคุ้มค่านั้นวักได้จากอะไร?

หลายครั้งที่เรามักได้ยินคนพูดว่า "รู้สึกว่าซื้อมาแล้วยังเล่นไม่คุ้มเลย" หรือ "ซื้อมาตั้งแพงแต่เล่นได้นิดเดียว รู้สึกยังไม่คุ้มเลย" จากสองประโยคดังกล่าวจะสังเกตได้ว่า จำนวนชั่วโมง ที่ใช้ในการเล่นเกมหนึ่งเกมมักถูกเอามาเป็นตัวแปลหนึ่งในการวัด ความคุ้มค่า ที่เราได้จากเกมหนึ่งเกมหลังจากเสียงเงินเพื่อซื้อมา และแม้แต่ผู้พัฒนาเองก็มีอยู่บ่อยครั้งเหมือนกันที่นำจำนวนชั่วโมงที่ต้องใช้เล่นมาใช้เป็นหนึ่งในจุดขาย หรือโฆษณาปริมาณคอนเทนต์ที่มีให้เล่นในเกม

เอาจริงๆ แล้วสิ่งที่จะวัดความคุ้มค่าที่เราได้จากเกมหนึ่งเกม หรือเงินที่ต้องจ่ายไป ไม่ได้ถูกวัดด้วยจำนวนชั่วโมงที่ต้องใช้ในการเล่นเสียทีเดียว หากแต่เป็นความสนุกที่ได้ในช่วงเวลาที่เล่นเกมที่ซื้อมาเสียมากกว่า แต่ก็ต้องยอมรับไปในทิศทางเดียวกันด้วยว่า หากเกมที่ซื้อมานั้นทำให้เรารู้สึกสนุกไปกับการเล่นได้จริงๆ จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการเล่นมักจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เอง เพราะเราเลือกที่จะเปิดเกมนั้นมาเล่นบ่อยๆ เพราะยังสนุกกับมันอยู่

ดังนั้นผู้เขียนจึงคิดว่า "การนำจำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการเล่นจนเรารู้สึกเบื่อ เป็นหนึ่งในวิธีที่วัดความคุ้มค่าของเกมที่ซื้อได้" นอกจากนี้ในปัจจุบันเกมระดับ AAA นั้นมักถูกออกแบบมาให้สามารถใช้เวลาได้เป็นหลัก 100 ชั่วโมงเพื่อตามหาความลับ เคลียร์คอนเทนต์ทั้งหมด หรือการ New Game+ เพื่อดูฉากจบอีกหลายแบบที่เป็นไปได้อยู่แล้ว ดังนั้นผู้เขียนคิดว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้ หากเราจะใช้จำนวนชั่วโมงที่เล่นในการกำหนดความคุ้มค่าในการซื้อเกม AAA มาเล่นของแต่ละคน


คำถามคือการซื้อเกม AAA มาเล่นในแต่ละครั้ง เราสนุกกับมันจนคุ้มค่าจริงๆ รึเปล่า?

ที่นี่หากอ้างอิงจากที่อธิบายมาข้างบน จริงอยู่ว่าเกม AAA ส่วนใหญ่นั้น มักมีคอนเทนต์ที่ให้เลือกเล่นมากมาย และคงได้ใช้เวลากันเป็นหลัก 100 ชั่วโมงแน่ๆ หากเล่นกันแบบทำคอนเทนต์ ไขปริศนาทั้งหมด อย่างไรก็ตามในบางครั้งความสนุกที่เราได้จากเกมก็ไม่ได้มาจากคอนเทนต์อื่นๆ ภายในเกม หากแต่เป็นเนื้อเรื่องที่น่าติดตาม หรือบางครั้งอาจเป็นเกมเพลย์ที่สนุกเฉยๆ ทำให้ก็ไม่ใช่ทุกครั้งที่ซื้อเกมมาเล่นแล้วจะรู้สึกว่า คุ้มค่าจริงๆ แม้ว่าจะสนุกกับเกมนั้นๆ มากก็ตาม

บางครั้งเกม AAA ที่ถูกปล่อยออกมา อาจมาในรูปแบบของ Live Service ที่เพิ่มคอนเทนต์เข้ามาให้เราสนุกขึ้นเรื่อยๆ ในภายหลัง แต่ไม่ได้มีคอนเทนต์มากมายอะไรนักให้เล่นในช่วงแรกที่เกมวางขาย ซึ่งก็ไม่ใช่ผู้เล่นทุกคนที่จะอยู่รอให้คอนเทนต์ใหม่ๆ ถูกเพิ่มเข้ามา บางคนอาจเลิกไปก่อนแล้วเนื่องจากไม่มีอะไรให้ทำ แม้ว่าบางคนอาจกลับมาเล่นเมื่อมีการเพิ่มคอนเทนต์ใหม่ๆ เข้ามาจนพอจะทำให้รู้สึกว่า คุ้มค่าได้อยู่บ้าง แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่เป็นเช่นนั้น สำหรับคนที่เลิกเล่นไปเลยก็จะรู้สึกว่า การซื้อเกมในครั้งนั้นเป็นอะไรที่ไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย


แน่นอนว่ามันดีขึ้นหน่อยในยุคนี้ที่เรามักจะได้รับโอกาสเข้าไปทดลองเล่นเกมก่อนทั้งผ่าน DEMO หรือรอบทดสอบต่างๆ ที่ผู้พัฒนาเปิด และร้านค้าส่วนใหญ่เองก็เปิดให้ Refund ค้าเกมได้หากเล่นไปแล้วรู้สึกว่าไม่ชอบ อย่างไรก็ตามจำนวนชั่วโมงใน DEMO กับ 2 ชั่วโมงแรกเพื่อให้ยังทำการ Refund ได้ เพียงพอจะพิสูจน์ได้จริงหรือ? ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ผู้เขียนรู้สึก และตั้งคำถามมาตลอดปีหลังจากที่รู้สึก ไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย กับเกม AAA หลายๆ ผลงานที่ซื้อมาเล่นในปีนี้

Outrider เป็นเกมแรกที่มอบความรู้สึกดังกล่าวให้กับผู้เขียนในช่วงเดือน เมษายน 2021 ด้วยความที่เป็นคนชอบเกม Borderlands มากๆ จึงคิดว่าเกมนี้ที่เป็นสไตล์เดียวกันคงทำให้เราสนุกได้ๆ พอรวมกับชื่อบริษัทผู้จัดจำหน่ายที่เป็น Square Enix ด้วยแล้ว จึงคิดว่าไม่น่าใช้เรื่องที่ผิดพลาด แต่พอเอาเข้าจริงมันไม่ใช่แบบนั้น แม้ว่าเกมเพลย์จะ Action หนักสมใจสนุกดี แต่วิธีการเล่าเรื่องที่ไม่น่าติดตาม และการออกแบบแผนที่ซึ่งต้องโหลดบ่อยๆ ทำเอาขัดใจมากๆ ในตอนเล่น พอหลายชั่วโมงผ่านไปก็ไม่สามารถรู้สึกสนุกกับเกมนี้ได้จริงๆ อีกต่อไป ที่หนักที่สุดคือคอนเทนต์ End Game ที่น่าเบื่อมาก เควสย่อยที่เนื้อเรื่องน่าเบื่อมาก สุดท้ายจึงได้ใช้เวลาเล่นเกมนี้ไปแค่ประมาณ 30 ชั่วโมง (ประมาณ 1 อาทิตย์) โดยที่ยังไม่ได้สู้กับบอสท้ายเกมใน Eye of Storm เลย และทิ้งความรู้ว่า ไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย มาจนถึงตอนนี้


เกมที่มอบความรู้สึก ไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย ต่อมาคือ Back 4 Blood ทั้งนี้ไม่ได้จะบอกว่าเกมเพลย์ของเกมนี้น่าเบื่อ หากแต่เป็นปริมาณคอนเทนต์ที่มีไม่มาก จนรู้สึกว่าไม่คุ้มค่าเกมเลยตั้งแต่แรกมากกว่า หลังจากเล่นไปได้ 20 - 30 ชั่วโมง ผ่านระดับความยากสุดของเกมทุกๆ ด้านได้กับกลุ่มเพื่อน ทุกคนก็เกิดความรู้สึกว่า "แล้วยังไงต่อ?" ขึ้นมาพร้อมๆ กัน ไม่มีความยากอะไรให้ท้าทายแล้ว ครั้นจะให้ลงไปวิ่งเล่น ด่านเดิมๆ ใหม่อีกครั้งก็รู้สึกว่าน่าเบื่อจนเกินไป (เนื่องจากตอนเล่นระดับความยากสุด ใน 1 ด่านได้วิ่งกันหลายครั้งมากๆ เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว) สุดท้ายจึงได้หยุดเล่นกันไป

แต่ผลงานที่เลวร้ายที่สุดสำหรับผู้เขียนในปีนี้คงไม่พ้น Call of Duty: Vanguard ที่แม้แต่ส่วนที่น่าติดตามที่สุดอย่างเนื้อเรื่องของเกม ที่ในภาคนี้ให้ความรู้สึกว่าโดนลดความสำคัญจนทั้งสั้นเกินไป และไม่น่าสนใจ ช่วยให้รู้สึกดีขึ้นมาบ้างเมื่อได้เล่นโหมด Multiplayer รูปแบบใหม่ของเกม อย่างไรก็ตามพอเล่นไปได้สัก 5 - 10 เกม ก็เริ่มรู้เฉยๆ กับมัน แต่เลวร้ายที่สุดเห็นจะเป็นโหมด Zombie ที่ผู้เขียนคิดว่าห่วยแตกสิ้นดีไม่น่าเล่น น่าเบื่อ และไม่สนุกด้วย เกมนี้ได้เวลาจากผู้เขียนไปแค่ประมาณ 10 - 15 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งมันทำให้ตั้งคำถามหนักมากๆ ว่า "เราควรจะยอมจ่ายเงิน 1600 - 1800 บาท เพื่อความสนุกเพียงแค่นี้มันจะดีจริงๆ หรือ?"


การ Subscribe เพื่อเล่นเกม อาจเป็นทางออก?

หลังจากเจ็บมาถึง 3 ครั้งในหนึ่งปี ก็ทำเอาผู้เขียนคิดหนักกับการจะซื้อเกมระดับ AAA มาเล่นในแต่ละครั้ง เนื่องจากภาระที่มากขึ้น ค่าใช้จ่ายในชีวิตที่ไม่หนักขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง COVID-19 ระบาด จึงทำให้ไม่ค่อยกล้าที่จะซื้อเกมมาทดลองเหมือนสมัยก่อน จนกระทั่งวันหนึ่งที่นึกขึ้นได้ว่า โลกนี้มีระบบที่ให้เรา Subscribe เพื่อโหลดเกมมาเล่นฟรีได้อยู่ บวกกับตอนนั้นอยู่ดีๆ ก็รู้สึกอยากเล่นเกมแข่งรถอย่าง Need for Speed ขึ้นมา จึงเป็นครั้งแรกที่มีโอกาสได้สมัครเป็นสมาชิก EA Play ด้วยเงิน 150 บาท แล้วโหลด Need for Speed Heat มาเล่น

แน่นอนว่า โดยปกติผู้เขียนไม่ได้เป็นสายเล่นเกมแข่งรถอยู่แล้ว แต่วันนั้นไปดูหนัง Fast and Furious 8 มาเลยทำให้เกิดความรู้ประมาณว่า "อยากจะซิ่งรถกับเขาบ้างจัง" แต่ก็รู้ตัวดีเหมือนกันว่าไอ้ความรู้สึกประมาณนี้จะอยู่ไม่นาน ซึ่งต่อให้จะรู้สึกสนุกกับมันมากๆ ขึ้นมาจริงก็คงไม่ได้ใช้เวลาเล่นอะไรมากมายขนาดนั้น เต็มที่ 2 - 3 อาทิตย์ก็คงเลิก การจ่ายเงิน Subscribe เพียง 150 บาท แล้วสามารถโหลดเกมมาเล่นได้จึงเป็นอะไรที่ผู้เขียนคิดว่าคุ้มค่ามากๆ เพราะต่อให้เล่น Need for Speed ไปแล้วไม่ชอบก็ยังสามารถโหลดเกมอื่นๆ ใน EA Play มาเล่นต่อได้ในช่วง 1 เดือนนั้น

สุดท้ายผู้เขียนก็เล่น Need for Speed Heat ได้อยู่ 2 อาทิตย์ แล้วก็ไม่ได้เล่นต่อ ใช้เวลาไปรวมๆ ประมาณ 20 - 25 ชั่วโมง แต่ก็ไม่ได้รู้เสียดายอะไรมากนัก เพราะถือว่า 20 - 25 ชั่วโมงนั้นได้สนุกกับมันอย่างเต็มที่แล้ว แถมก็ไม่ได้เสียเงินไปเยอะมากมายเพื่อให้ได้ความสนุชั่วคราวดังกล่าวมาด้วย แถมยังได้ทดลองเล่น Anthem ที่สนใจมานาน แต่ไม่กล้าซื้ออีกนิดหน่อยด้วย ทำเอาคิดขึ้นมาเล่นว่า ไอ้ระบบ Subscribe เพื่อเล่นเกม ก็ดีเหมือนกัน


การเติบโตของ ระบบ Subscribe และโอกาสเป็น New Normal

ระบบ Subscribe เพื่อเล่นเกมนั้นเอาจริงๆ มีมานานแล้วตั้งแต่ปี 2014 โดย EA ใช้ชื่อว่า EA Play บนเครื่อง Xbox ก่อนจะตามมาลงให้กับ PC ในปี 2016 ข้อดีของระบบนี้คืออย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า สมาชิกจะสามารถเข้าถึงเกมจำนวนมากโดยไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินซื้อเกมเหล่านั้นจริงๆ เลย อย่างไรก็ตามระบบแบบนี้ก็มีจุดอ่อนเช่นเดียวกัน นั้นก็คือหากรายชื่อของเกมที่มีให้เล่นไม่น่าสนใจมากพอ ก็จะไม่มีใครสมัครสมาชิกเพื่อเข้ามาใช้บริการ

EA สามารถทำสำเร็จได้ เพราะตัวบริษัทมีเกมทั้งฟอร์มเล็ก ฟอร์มใหญ่มากมายให้เล่น ต่อมา Microsoft ได้ทำตามโดยนำเสนอ Xbox Game Pass ให้เกมเมอร์ทั่วโลกได้รู้จัก และตามมาด้วย Ubisoft ในชื่อ Ubisoft+ แต่แม้ว่าระบบเหล่านี้จะน่าสนใจมากขนาดไหน ก็ยังไม่สามารถเข้าถึงผู้เล่นส่วนใหญ่ได้จนถึงขนาดเป็นที่พูดถึงหลายคนรู้จัก แต่อะไรๆ ก็เปลี่ยนไปในช่วง 1 - 2 ปีที่ผ่านมาเมื่อ  Microsoft  ตัดสินใจที่จะผลักดัน  Xbox Game Pass อย่างจริงจัง


ด้วยการผลักดันอย่างจริงจังของ Microsoft จึงทำให้ตอนนี้ Xbox Game Pass มีเกมระดับ AAA จากผู้พัฒนาอื่นที่ไม่ได้อยู่ภายใต้ Xbox ถูกเพิ่มเข้ามาให้สมาชิกเลย รวมถึง EA ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับ Xbox มานานแล้ว ก็เปิดให้สมาชิก Xbox Game Pass เป็นสมาชิกของ EA Play และสามารถโหลดเกมของทาง EA มาเล่นได้ด้วย แต่ที่ทำให้ระบบนี้น่าสนใจมากที่สุด คือการสามารถทำให้แม้แต่เกมฟอร์มยักษ์ที่กำลังจะวางจำหน่ายใหม่ๆ มาลงให้กับระบบของตัวเองได้ ดังนั้นการเป็นสมาชิก Xbox Game Pass ในตอนนี้จึงหมายถึงการสามารถสนุกไปกับเกมเยอะมากๆ ได้ในราคาเพียงเดือนละ $10 หรือประมาณ 300 บาท เท่านั้น แถมยังสามารถใช้งานได้ทั้งบน Console และ PC อีกต่างหาก คือถ้าพูดถึงความคุ้มค่าเพียงอย่างเดียว การสมัครสมาชิก Xbox Game Pass อาจถือเป็นการจ่ายเงินเพื่อให้ได้เล่นเกมที่คุ้มค่ามากที่สุดแล้วตอนนี้

จากการเติบโตของ Xbox Game Pass จากคำบอกเล่าของคุณ Phil Spencer ที่ยืนยันว่าระบบนี้กำลังเติบโตอย่างยั่งยืนอยู่ หมายความว่าหลังจากนี้ทาง Mircrosoft จะยิ่งหาเกมมาลงให้กับระบบของตัวเองมากยิ่งขึ้นไปอีกทำเอาคิดเลยว่า "เป็นไปได้ขนาดไหน? ที่สุดท้ายแล้ว ระบบนี้จะมีชื่อเสียงจนถึงระดับที่ใครๆ ก็เป็นสมาชิกกันเหมือนกับ Netflix หรือ Disney+" เพราะถ้าหากเป็นแบบนั้นได้ การจ่ายเงินเพียงเดือนละ 300 - 500 บาทเพื่อให้ได้เล่นเกม ก็ดูไม่ใช่ตัวเลือกที่แย่เท่าไหร่นัก ออกจะเป็นเรื่องดีเสียด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตามระบบเช่นนี้ก็มีข้อเสียร้ายแรงของตัวมันเอง เนื่องจากผู้เล่นไม่ได้เป็นเจ้าของเกมในการเป็นสมาชิกระบบเหล่านี้ ดังนั้นถ้าหากเดือนไหนไม่ได้จ่ายค่าสมาชิก ก็จะไม่สามารถเล่นเกมอะไรภายในระบบได้เลย แตกต่างจากการเป็นเจ้าของเกมเองที่สามารถหยิบมาเล่นตอนไหน เวลาไหนก็ได้ ดังนั้นสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลาเล่นเกมเท่าไหร่นัก การสมัครสมาชิกระบบเหล่านี้ก็อาจใช้ประโยชน์จากมันได้ไม่คุ้มค่าเท่าไหร่นัก นอกจากนี้แม้ว่าระบบเหล่านี้จะทำให้เราเข้าถึงเกมดีๆ ได้มากมาย แต่ถ้าหากไม่มีเกมที่เราอยากเล่นอยู่ในช่วงนั้นเลยก็ไม่มีความหมาย ในทางกลับกันแบบนั้นจะเป็นการเปลืองเงินเสียมากกว่าด้วย เพราะสมัครมาแล้วไม่ได้เปิดเกมจากระบบที่สมัครไปขึ้นมาเล่นเลย


ลากยาวมาหลายสิบบรรทัด สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะเล่าให้ฟังจริงๆ ในบทความนี้ คือประสบการณ์ที่มีโอกาสได้ไปลองใช้ระบบ Subscribe แล้วคิดว่า "สิ่งนี่แหละที่จะกลายเป็นอนาคตใหม่ของวงการเกม" เนื่องจากหากสามารถจ่ายเงินในราคาถูก แต่เข้าถึงเกมดีๆ ที่เราอยากเล่นได้ เป็นใครจะไม่ทำบ้าง? แม้ว่าเราอาจไม่ได้เป็นเจ้าของเกมนั้นจริงๆ แต่หากพอใจกับการที่จะเล่นให้เคลียร์ อยากสัมผัสเกมนี้ด้วยตัวเอง มันจำเป็นขนาดไหนที่เราจะต้องเป็นเจ้าของเกมนั้นด้วยตัวเอง? ถ้าหากสามารถสนุกในเกมเดียวกัน สามารถ Co-Op กับเพื่อนๆ ได้เหมือนกัน รับประสบการณ์แบบเดียวกันได้ เห็นฉากจบของเกมได้เหมือนกัน ระหว่างจ่าย 300 บาท กับจ่าย 1,800 บาท เพื่อนๆ จะเลือกอะไร? อยากฝากให้ลองเปิดใจใช้งานระบบ Subscribe เพื่อเล่นเกมกันดูครับ 


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header