GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
ว่าด้วยเรื่องของ เกม และ การเมือง : มิติใหม่ หรือเชื้อไฟที่ไม่ควรยุ่ง?
ลงวันที่ 24/07/2020

เมื่อหลายพันปีมาแล้ว ปราชญ์ชาวกรีกอย่าง อริสโตเติล ได้กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์เอาไว้ข้อหนึ่งว่า ‘มนุษย์เป็นสัตว์การเมือง’ อันหมายถึง มนุษย์จะพัฒนาความเป็นมนุษย์ได้ ก็ต่อเมื่อรวมตัวกันเป็นสังคม เป็นเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการพัฒนาธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ นั่นทำให้กฎระเบียบ ความคิด และความเชื่อ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อกำกับควบคุม และคำว่า ‘การเมือง’ ของอริสโตเติล จึงไม่ใช่แค่ระบอบใดระบอบหนึ่ง แต่ครอบคลุมถึงการกระทำและกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในสังคม ภายใต้กติกาและเงื่อนไขเดียวกัน

 

 



มาในปัจจุบัน สังคมทวีความหลากหลายในมิติต่างๆ มากยิ่งขึ้น และสื่อบันเทิงอย่างวิดีโอเกม ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญภายในครัวเรือน และมีพลังมากพอในการที่จะฉายภาพแห่งจินตนาการต่างๆ ออกมาได้อย่างสมจริง และนั่น ก่อให้เกิดคำถามหนึ่งในรอบหลายปีที่ผ่านมา ว่าโดยธรรมชาติของวิดีโอเกมนั้น ควรหรือไม่ที่จะเกี่ยวข้องกับ ‘การเมือง’ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงไม่นานมานี้ กับประเด็นที่ละเอียดอ่อนอย่างมากในชิ้นงานล่าสุดของ Naughty Dog อย่าง The Last of Us Part II ที่ก่อให้เกิดกระแสต่างๆ ทั้งทางบวกและทางลบอย่างต่อเนื่องแม้ในขณะที่ผู้เขียนพิมพ์บทความชิ้นนี้

 

 



บทความชิ้นนี้ ไม่ได้มีเจตนาที่จะชี้นำว่าคุณผู้อ่านควรจะคิดเห็นอย่างไร มากไปกว่าความคิดเห็นของผู้เขียนที่มีต่อนิยามของคำว่า ‘การเมือง’ ที่ถูกสอดแทรกเข้ามาในชิ้นงานวิดีโอเกมยุคปัจจุบัน ว่ามันเป็นไปในลักษณะใด และจะช่วยให้แวดวงได้ก้าวเดินอย่างมีวุฒิภาวะอย่างไรในอนาคตภายภาคหน้า

 

 

จุดเริ่มต้นของวิดีโอเกมกับ ‘การเมือง’


 

 

ถ้าหากจะนับวิวัฒนาการของวิดีโอเกมตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 80 แล้วนั้น มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว ไม่ได้มีบริบทอื่นใดที่สลับซับซ้อน เป็นเพียงความสนุกเนื้อๆ ด้วยกฎและกติกาอย่างง่ายๆ อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของเทคโนโลยีในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้หลายความคิดและจินตนาการไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างที่ใจคิด

 

 



แต่เมื่อก้าวล่วงเข้ามาถึงทศวรรษที่ 90 การพัฒนาวิดีโอเกมอย่างก้าวกระโดด ทั้งในด้านภาพ เสียง เนื้อหา ทำให้การรังสรรค์ชิ้นงานต่างๆ เริ่มทวีความหลากหลาย และนั่น ทำให้มันฉายภาพที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงขึ้นมากกว่าจุดเริ่มต้นของมัน และ ‘การเมือง’ ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญกับแวดวงในเวลานั้น

 

 



แน่นอนว่าการเมืองที่ว่า คือความห่วงกังวลที่มีต่อ ‘ความรุนแรง’ ที่เกิดขึ้นในชิ้นงานวิดีโอเกม ไม่ว่าจะด้วยผลงานอย่าง Doom ในปี 1993 หรือ Mortal Kombat ในปีเดียวกัน ความสมจริงที่กลายสภาพมาเป็นความรุนแรง ก่อให้เกิดความกังขาและความกังวลในระดับการเมืองเป็นครั้งแรก จากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น (เช่น เหตุการณ์สังหารหมู่ที่โรงเรียนมัธยมปลาย Columbine Highschool ในปี 1999) และเป็นก้าวสำคัญ ที่แวดวงวิดีโอเกม ที่เคยแยกขาดออกจากกัน ได้รวมตัวกันภายใต้ธงของ Entertainment Software Association (ESA) ในปี 1994 เพื่อให้อุตสาหกรรมวิดีโอเกมได้มีปากมีเสียงในพื้นที่ทางสังคมมากขึ้น (และเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดเรทเกมด้วยระบบ ESRB จนถึงการจัดมหกรรม Electronic Entertainment Expo หรือ E3 ขึ้นมาในภายหลัง)

 

 



และมันคงไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ‘การเมือง’ ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมวิดีโอเกมอย่างไม่อาจแยกขาดนับจากเวลานั้นเป็นต้นมา และมักจะมีประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่เนืองๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือความพยายามของวุฒิสมาชิก Jack Thompson ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับค่ายอย่าง Rockstar North และซีรีส์ Grand Theft Auto หรือ GTA ที่พยายามจะผลักดันให้เกิดกฎหมายการควบคุมขึ้นมาอย่างจริงจัง (แต่แน่นอนว่า ผลการวิจัย และอุตสาหกรรมวิดีโอเกมที่เติบโตขึ้นเป็นระดับหลักพันล้าน ก็ทำให้การตีฆ้องร้องป่าวของท่านวุฒิสมาชิกต้องเงียบหายและร้างลาจากเวทีไปโดยปริยาย)

 

 

ความซับซ้อนที่ทวีมากยิ่งขึ้น


 

 

แต่แม้ว่า ‘การเมือง’ จะสอดแทรกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิดีโอเกม (ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงเฉพาะฐานคิดของพรรคใดพรรคหนึ่ง แต่รวมถึงค่านิยมทางสังคมต่างๆ ที่เคลื่อนตัวไปในปัจจุบัน) แต่ดูเหมือนว่า ‘การเมือง’ จะยังเป็นของแสลงสำหรับกลุ่มนักพัฒนาและบริษัทจัดจำหน่าย หลายต่อหลายครั้ง พวกเขามักออกตัวปฏิเสธกันเสียแต่เนิ่นๆ ว่าผลงานต่างๆ นั้น ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง หรือขั้วความคิดข้างใดข้างหนึ่งเป็นสำคัญ

 

 

แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ?

 

 



ภายใต้ความซับซ้อนของชิ้นงานวิดีโอเกมหนึ่งๆ ที่ผ่านการพัฒนาด้านความสมจริงจนถึงขีดสุด เราคงไม่อาจมองข้ามได้เลยว่า ภาพที่ปรากฏ ระบบที่มี กติกาที่กำหนด ต่างซุกซ่อนนัยยะทางการเมืองเอาไว้แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะด้วยเกมแนวสงครามอย่างซีรีส์ Call of Duty ก็ดี ซีรีส์ผจญภัยข้ามโลกข้ามยุคอย่าง Assassin’s Creed ก็ดี ซีรีส์แฮ็คเกอร์ผจญภัย Watchdogs เกม JRPG อย่าง Persona 5 ไปจนถึงเกมแนว Shooter-Looter ชื่อดังอย่างซีรีส์ Tom Clancy’s The Division เหล่านี้ ต่างมี ‘ข้อความ’ ที่ชวนให้เราฉุกใจคิดถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น ภายใต้ความเป็นไปได้ทาง ‘การเมือง’ ด้วยกันแทบทั้งสิ้น เรารับบทเป็นทหารสัมพันธมิตรในสงครามโลก เราสู้เพื่ออุดมการณ์บางอย่าง หรือใบอนุญาตสั่งฆ่าในยามที่บ้านเมืองไร้ขื่อแป ทั้งหมด ถ้าไม่ใช่ ‘การเมือง’ แล้ว จะเรียกว่าอะไร

 

 



เหล่านี้ ยังไม่นับเกมอินดี้อีกหลายต่อหลายชิ้นงาน ที่ไม่ปิดบังนัยยะทาง ‘การเมือง’ ของตนเอง เกมอย่าง Paper, Please หรือ Riot : Civil Unrest ก็ถูกสร้างขึ้นโดยผู้พัฒนาที่มีส่วนเกี่ยวข้องและความเชื่อทางการเมืองของตนเองอย่างเหนียวแน่น (โดยเฉพาะ Riot : Civil Unrest ที่ผู้พัฒนาไปเดินขบวนประท้วงและลิ้มรสแก๊สน้ำตาติดขอบสนามมาแล้ว…) และยิ่งแวดวงวิดีโอเกมเติบโตขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป ความสลับซับซ้อนและความสามารถในการสร้างเรื่องราวผสมผสานกับความสมจริงทางภาพ เสียง และการเล่น ก็ยิ่งทำให้มันเข้าใกล้กับ ‘การเมือง’ มากยิ่งขึ้น

 

 



แต่ถ้าทุกอย่างดำเนินไปโดยธรรมชาติของมัน ถ้าหากวิดีโอเกมคือเครื่องมือหนึ่งทาง ‘การเมือง’ อย่างไม่อาจปฏิเสธได้แล้ว อะไรคือปัญหาที่เรากำลังประสบพบเจออยู่ในขณะนี้? อะไรที่ทำให้การเมืองเป็นของ ‘แสลง’ สำหรับทีมพัฒนาและบริษัทจัดจำหน่าย?

 

 

บางที มันอาจจะเป็นเรื่องที่เรียบง่ายกว่าที่เราคิดเอาไว้มากก็เป็นได้

 

 

อะไรคือปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อ ‘การเมือง’ มาเกี่ยวข้องกับ ‘วิดีโอเกม’


 

 

จากหัวข้อที่แล้ว ที่กล่าวว่า ทีมพัฒนาและบริษัทจัดจำหน่าย มักจะหลีกเลี่ยงการเกี่ยวข้องกับ ‘การเมือง’ โดยตรง และออกตัวกันเสียแต่เนิ่นๆ ว่าทุกอย่างดำเนินไปด้วย ‘ความสนุก’ เป็นที่ตั้งนั้น บางที ปัญหาที่ทำให้การเมืองเป็นของแสลงสำหรับแวดวงวิดีโอเกม ก็อาจจะอยู่ที่คำว่า ‘ความสนุก’ ที่ว่านั้นก็เป็นได้

 

 



ไม่ได้หมายความว่าวิดีโอเกมควรจะเป็นอุปกรณ์โฆษณาชวนเชื่อหรือเผยแพร่ Propaganda อย่างตรงไปตรงมา แต่การปฏิเสธถึงความเกี่ยวพันของ ‘การเมือง’ ที่มีในชิ้นงานวิดีโอเกม มันเป็นความลักลั่นที่เริ่มจะเผยตัวให้เห็นมากยิ่งขึ้นไปทุกทีๆ เพราะในทางหนึ่ง วิดีโอเกมเดินหน้าไปสู่ขอบเขตของความสมจริง แต่ในอีกทางหนึ่ง มันก็วางตัวเองให้ออกห่างจากผลลัพธ์ของการนำเสนอจากความสมจริงนั้นๆ

 

 



ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ก็อาจจะหนีไม่พ้นซีรีส์อย่าง Call of Duty และซีรีส์ Grand Theft Auto ที่ที่มันได้นำเสนอประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์สงครามสุดสมจริง หรือการยั่วล้อวัฒนธรรมยุคโมเดิร์นอย่างเจ็บแสบ และนั่นทำให้ประโยคที่บอกว่าวิดีโอเกมไม่เกี่ยวข้องกับ ‘การเมือง’ นั้น ฟังดูไม่มีน้ำหนักมากขึ้นไปทุกทีๆ เพราะแค่สองตัวอย่าง มันก็อิงแอบอยู่กับการเมืองไปแล้วโดยนัย

 

 



หรืออย่างในกรณีที่เป็นปัญหาล่าสุดอย่าง The Last of Us Part II ที่ถูกกลุ่มนักเล่นบางส่วนต่อต้านอย่างรุนแรงจากการสอดแทรกประเด็นทางความเชื่อที่แตกต่างจากชิ้นงานวิดีโอเกมอื่นอย่างสุดสเปคตรัม (จนถึงขั้นมีข้อความและจดหมายขู่ฆ่าผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตชนิดที่เท่าเทียมและทั่วถึง) มันก็คือผลลัพธ์จากการวางตำแหน่งของวิดีโอเกมเอาไว้ว่า จะต้องดำเนินไปเพื่อความ ‘สนุก’ เป็นที่ตั้ง ออกให้ห่างจากการแตะประเด็นที่ละเอียดอ่อนที่สุด และต้องมีรูปแบบและแนวทางที่ผู้เล่นคุ้นเคย แบ่งชัดเจนขาวดำ จนนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่น่าเศร้าใจอย่างในปัจจุบันขณะ ณ ตอนนี้

 

 



แต่เราต้องอย่าลืมว่า วิดีโอเกมนั้น เป็นสื่อความบันเทิงที่มีอายุถึงสี่ทศวรรษ และอัตราการเติบโตของมันก็ทวีมากยิ่งกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ จะเทียบได้ ในไม่ช้าก็เร็ว มันจะต้องถึงจุดที่มันจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับ ‘การเมือง’ ในฐานะที่มันเป็นสื่อที่จำลองและสะท้อนโลกแห่งความเป็นไปได้ของความเป็น ‘มนุษย์’ อย่างถึงที่สุดชิ้นหนึ่งที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

 

 

มันอาจจะถึงเวลาที่เราต้องทบทวนท่าทีที่เรามีต่อวิดีโอเกมครั้งใหญ่ ที่ไม่ช้าก็เร็ว มันจะต้องเดินทางมาถึง

 

 

ก้าวต่อไปของวิดีโอเกม เมื่อ ‘การเมือง’ อยู่ใกล้กว่าที่เราคิด


 

 

อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านั้น บทความชิ้นนี้ของผู้เขียนมิได้มีเจตนาที่จะชี้ว่าสิ่งใดถูกหรือผิด แต่เป็นการฉายภาพของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในโลกแห่งวิดีโอเกม ที่ที่ความเป็น ‘การเมือง’ อาจจะไม่ใช่สิ่งไกลตัว และเมื่อถึงเวลา มันจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของสื่อบันเทิงที่เรารักชิ้นนี้อย่างช่วยไม่ได้

 

 



‘คุณพูดถึงการเมืองในชิ้นงานได้ แต่ไม่ใช่การสั่งสอนชี้นำ’ Mike Pondsmith ผู้สร้างซีรีส์ Cyberpunk 2020 และโปรดิวเซอร์ร่วมของ Cyberpunk 2077 กล่าวเมื่อถูกถามถึงการมีส่วนร่วมของการเมืองในชิ้นงานวิดีโอเกม นั่นก็เป็นสิ่งที่เข้าใจกันได้ เพราะถ้าการเมืองเป็นเรื่อง ‘ละเอียดอ่อน’ แล้ว คงไม่มีใครชื่นชอบ ที่จะถูกชี้หน้าแล้วบอกว่าความคิดและความเชื่อของตนเองนั้นผิด ไม่ถูกต้อง

 

 



แต่ผู้เขียนขออนุญาตเสริมในจุดนี้สักนิดหนึ่งว่า บางที มันอาจจะไม่เสียหาย ถ้าชิ้นงานวิดีโอเกม จะนำเสนอแนวคิดทางการเมืองและความเชื่อของทีมสร้าง (เช่นที่เกิดขึ้นกับ The Last of Us Part II) มันเป็นสิทธิ์ที่ทีมพัฒนาจะสามารถพึงกระทำได้ และเราในฐานะผู้เล่น ก็มีสิทธิ์อีกเช่นกัน ที่จะแสดงความไม่เห็นด้วย ไปจนถึงอาจจะไม่ชื่นชอบสารที่สื่อออกมา (และดูเหมือนว่า ทีมพัฒนาจะคิดไปไกล และลึกกว่าที่เราคาดเอาไว้มากนัก)

 

 



แต่มันต้องอยู่บนพื้นฐานที่ว่า วิดีโอเกมคือความหลากหลาย และมันสมควรที่จะเติบโตอย่างมีวุฒิภาวะ และไม่ต้องกระมิดกระเมี้ยนหลบหลีกคำว่า ‘การเมือง’ ทั้งที่มันเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบการสร้างมานับสิบกว่าปี และต้องมีพื้นที่ให้กับการส่งเสียงทางความคิดและความเชื่อที่แตกต่างกันอย่างเสรี  (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ที่แนวคิดและอุดมการณ์ต่างๆ เช่นความเท่าเทียมทางเพศ, LGBTQ+ และความโปร่งใสในกระบวนการทำงานเริ่มมีบทบาทและส่งเสียงในอุตสาหกรรมวิดีโอเกมมากขึ้นทุกขณะ)

 

 



สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะเห็น (แม้มันจะยังคงต้องใช้เวลาอีกนาน กว่าที่จะไปถึง) คือการถกเถียงพูดคุยกันอย่าง Constructive ว่าชอบ หรือไม่ชอบ เพราะเหตุใด ไม่มีการชี้หน้าด่าทอ ใครที่ชอบก็ออกมาบอกว่าชอบเพราะอะไร ใครที่ไม่ชอบ ก็โต้แย้งว่าไม่ชอบที่ตรงไหน ต่อยอดไปสู่ความเข้าใจใหม่ๆ (แน่นอน เหตุการณ์ที่ทีมงาน Gamespot ด่า Angry Joe ที่ให้คะแนน The Last of Us Part II ต่ำกว่าเจ้าอื่นๆ เป็นพวกเหยียดเพศนั้นก็จัดว่าเป็นอะไรที่ไม่สร้างสรรค์เลยแม้แต่น้อย…)

 

 

และผู้พัฒนา สมควรที่จะสร้างสรรค์ชิ้นงานได้โดยปราศจากความกลัว ให้โลกของวิดีโอเกมมีความหลากหลาย ไม่แตกต่างอะไรกับแวดวงภาพยนตร์ ที่มีทั้งชิ้นงานป็อบคอร์น Blockbuster จนถึงงานระดับเชิงศิลป์สุดโต่ง ความหลากหลายเหล่านี้ จะทำให้แวดวงวิดีโอเกมเติบโต และมีงานสร้างสรรค์ที่น่าสนใจออกมาอีกมากมายในอนาคต มันอาจจะถึงเวลาแล้ว ที่มันจะต้องก้าวต่อไป เรียนรู้จากมัน อันนำไปสู่การเติบโตทางความคิดที่เปิดกว้างของตัวผู้เล่นในอีกทางหนึ่งด้วย

 

 



ดังที่อริสโตเติลกล่าวเอาไว้ ‘มนุษย์เป็นสัตว์การเมือง’ และผลลัพธ์ที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างกันของผู้คน ผ่านสื่ออย่างวิดีโอเกมนั้น ก็ยากที่จะออกห่างจาก ‘การเมือง’ ไปได้ในอนาคต เราอาจจะสมควรที่จะต้องติดอาวุธทางความคิด พร้อมรับกับวุฒิภาวะที่มากขึ้น เพื่อให้แวดวงวิดีโอเกมก้าวต่อไป และถ้าการเมืองเป็นเหมือน ‘ไฟ’ ที่พร้อมสร้างอันตรายได้ในทางหนึ่งแล้วนั้น…
‘มันก็มีคุณประโยชน์ที่จะนำพาไปสู่การพัฒนาต่อยอด ถ้าหากใช้มันได้อย่างถูกวิธี และมีแนวทางที่เหมาะสมชัดเจนในการเข้าหามันเช่นนั้นเอง…’


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
ว่าด้วยเรื่องของ เกม และ การเมือง : มิติใหม่ หรือเชื้อไฟที่ไม่ควรยุ่ง?
24/07/2020

เมื่อหลายพันปีมาแล้ว ปราชญ์ชาวกรีกอย่าง อริสโตเติล ได้กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์เอาไว้ข้อหนึ่งว่า ‘มนุษย์เป็นสัตว์การเมือง’ อันหมายถึง มนุษย์จะพัฒนาความเป็นมนุษย์ได้ ก็ต่อเมื่อรวมตัวกันเป็นสังคม เป็นเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการพัฒนาธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ นั่นทำให้กฎระเบียบ ความคิด และความเชื่อ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อกำกับควบคุม และคำว่า ‘การเมือง’ ของอริสโตเติล จึงไม่ใช่แค่ระบอบใดระบอบหนึ่ง แต่ครอบคลุมถึงการกระทำและกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในสังคม ภายใต้กติกาและเงื่อนไขเดียวกัน

 

 



มาในปัจจุบัน สังคมทวีความหลากหลายในมิติต่างๆ มากยิ่งขึ้น และสื่อบันเทิงอย่างวิดีโอเกม ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญภายในครัวเรือน และมีพลังมากพอในการที่จะฉายภาพแห่งจินตนาการต่างๆ ออกมาได้อย่างสมจริง และนั่น ก่อให้เกิดคำถามหนึ่งในรอบหลายปีที่ผ่านมา ว่าโดยธรรมชาติของวิดีโอเกมนั้น ควรหรือไม่ที่จะเกี่ยวข้องกับ ‘การเมือง’ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงไม่นานมานี้ กับประเด็นที่ละเอียดอ่อนอย่างมากในชิ้นงานล่าสุดของ Naughty Dog อย่าง The Last of Us Part II ที่ก่อให้เกิดกระแสต่างๆ ทั้งทางบวกและทางลบอย่างต่อเนื่องแม้ในขณะที่ผู้เขียนพิมพ์บทความชิ้นนี้

 

 



บทความชิ้นนี้ ไม่ได้มีเจตนาที่จะชี้นำว่าคุณผู้อ่านควรจะคิดเห็นอย่างไร มากไปกว่าความคิดเห็นของผู้เขียนที่มีต่อนิยามของคำว่า ‘การเมือง’ ที่ถูกสอดแทรกเข้ามาในชิ้นงานวิดีโอเกมยุคปัจจุบัน ว่ามันเป็นไปในลักษณะใด และจะช่วยให้แวดวงได้ก้าวเดินอย่างมีวุฒิภาวะอย่างไรในอนาคตภายภาคหน้า

 

 

จุดเริ่มต้นของวิดีโอเกมกับ ‘การเมือง’


 

 

ถ้าหากจะนับวิวัฒนาการของวิดีโอเกมตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษที่ 80 แล้วนั้น มันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อความบันเทิงเพียงอย่างเดียว ไม่ได้มีบริบทอื่นใดที่สลับซับซ้อน เป็นเพียงความสนุกเนื้อๆ ด้วยกฎและกติกาอย่างง่ายๆ อันเนื่องมาจากข้อจำกัดของเทคโนโลยีในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้หลายความคิดและจินตนาการไม่สามารถเกิดขึ้นได้อย่างที่ใจคิด

 

 



แต่เมื่อก้าวล่วงเข้ามาถึงทศวรรษที่ 90 การพัฒนาวิดีโอเกมอย่างก้าวกระโดด ทั้งในด้านภาพ เสียง เนื้อหา ทำให้การรังสรรค์ชิ้นงานต่างๆ เริ่มทวีความหลากหลาย และนั่น ทำให้มันฉายภาพที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงขึ้นมากกว่าจุดเริ่มต้นของมัน และ ‘การเมือง’ ก็เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญกับแวดวงในเวลานั้น

 

 



แน่นอนว่าการเมืองที่ว่า คือความห่วงกังวลที่มีต่อ ‘ความรุนแรง’ ที่เกิดขึ้นในชิ้นงานวิดีโอเกม ไม่ว่าจะด้วยผลงานอย่าง Doom ในปี 1993 หรือ Mortal Kombat ในปีเดียวกัน ความสมจริงที่กลายสภาพมาเป็นความรุนแรง ก่อให้เกิดความกังขาและความกังวลในระดับการเมืองเป็นครั้งแรก จากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น (เช่น เหตุการณ์สังหารหมู่ที่โรงเรียนมัธยมปลาย Columbine Highschool ในปี 1999) และเป็นก้าวสำคัญ ที่แวดวงวิดีโอเกม ที่เคยแยกขาดออกจากกัน ได้รวมตัวกันภายใต้ธงของ Entertainment Software Association (ESA) ในปี 1994 เพื่อให้อุตสาหกรรมวิดีโอเกมได้มีปากมีเสียงในพื้นที่ทางสังคมมากขึ้น (และเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดเรทเกมด้วยระบบ ESRB จนถึงการจัดมหกรรม Electronic Entertainment Expo หรือ E3 ขึ้นมาในภายหลัง)

 

 



และมันคงไม่อาจปฏิเสธได้เลยว่า ‘การเมือง’ ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมวิดีโอเกมอย่างไม่อาจแยกขาดนับจากเวลานั้นเป็นต้นมา และมักจะมีประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่เนืองๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด คือความพยายามของวุฒิสมาชิก Jack Thompson ที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับค่ายอย่าง Rockstar North และซีรีส์ Grand Theft Auto หรือ GTA ที่พยายามจะผลักดันให้เกิดกฎหมายการควบคุมขึ้นมาอย่างจริงจัง (แต่แน่นอนว่า ผลการวิจัย และอุตสาหกรรมวิดีโอเกมที่เติบโตขึ้นเป็นระดับหลักพันล้าน ก็ทำให้การตีฆ้องร้องป่าวของท่านวุฒิสมาชิกต้องเงียบหายและร้างลาจากเวทีไปโดยปริยาย)

 

 

ความซับซ้อนที่ทวีมากยิ่งขึ้น


 

 

แต่แม้ว่า ‘การเมือง’ จะสอดแทรกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวิดีโอเกม (ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงเฉพาะฐานคิดของพรรคใดพรรคหนึ่ง แต่รวมถึงค่านิยมทางสังคมต่างๆ ที่เคลื่อนตัวไปในปัจจุบัน) แต่ดูเหมือนว่า ‘การเมือง’ จะยังเป็นของแสลงสำหรับกลุ่มนักพัฒนาและบริษัทจัดจำหน่าย หลายต่อหลายครั้ง พวกเขามักออกตัวปฏิเสธกันเสียแต่เนิ่นๆ ว่าผลงานต่างๆ นั้น ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง หรือขั้วความคิดข้างใดข้างหนึ่งเป็นสำคัญ

 

 

แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ?

 

 



ภายใต้ความซับซ้อนของชิ้นงานวิดีโอเกมหนึ่งๆ ที่ผ่านการพัฒนาด้านความสมจริงจนถึงขีดสุด เราคงไม่อาจมองข้ามได้เลยว่า ภาพที่ปรากฏ ระบบที่มี กติกาที่กำหนด ต่างซุกซ่อนนัยยะทางการเมืองเอาไว้แทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะด้วยเกมแนวสงครามอย่างซีรีส์ Call of Duty ก็ดี ซีรีส์ผจญภัยข้ามโลกข้ามยุคอย่าง Assassin’s Creed ก็ดี ซีรีส์แฮ็คเกอร์ผจญภัย Watchdogs เกม JRPG อย่าง Persona 5 ไปจนถึงเกมแนว Shooter-Looter ชื่อดังอย่างซีรีส์ Tom Clancy’s The Division เหล่านี้ ต่างมี ‘ข้อความ’ ที่ชวนให้เราฉุกใจคิดถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น ภายใต้ความเป็นไปได้ทาง ‘การเมือง’ ด้วยกันแทบทั้งสิ้น เรารับบทเป็นทหารสัมพันธมิตรในสงครามโลก เราสู้เพื่ออุดมการณ์บางอย่าง หรือใบอนุญาตสั่งฆ่าในยามที่บ้านเมืองไร้ขื่อแป ทั้งหมด ถ้าไม่ใช่ ‘การเมือง’ แล้ว จะเรียกว่าอะไร

 

 



เหล่านี้ ยังไม่นับเกมอินดี้อีกหลายต่อหลายชิ้นงาน ที่ไม่ปิดบังนัยยะทาง ‘การเมือง’ ของตนเอง เกมอย่าง Paper, Please หรือ Riot : Civil Unrest ก็ถูกสร้างขึ้นโดยผู้พัฒนาที่มีส่วนเกี่ยวข้องและความเชื่อทางการเมืองของตนเองอย่างเหนียวแน่น (โดยเฉพาะ Riot : Civil Unrest ที่ผู้พัฒนาไปเดินขบวนประท้วงและลิ้มรสแก๊สน้ำตาติดขอบสนามมาแล้ว…) และยิ่งแวดวงวิดีโอเกมเติบโตขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป ความสลับซับซ้อนและความสามารถในการสร้างเรื่องราวผสมผสานกับความสมจริงทางภาพ เสียง และการเล่น ก็ยิ่งทำให้มันเข้าใกล้กับ ‘การเมือง’ มากยิ่งขึ้น

 

 



แต่ถ้าทุกอย่างดำเนินไปโดยธรรมชาติของมัน ถ้าหากวิดีโอเกมคือเครื่องมือหนึ่งทาง ‘การเมือง’ อย่างไม่อาจปฏิเสธได้แล้ว อะไรคือปัญหาที่เรากำลังประสบพบเจออยู่ในขณะนี้? อะไรที่ทำให้การเมืองเป็นของ ‘แสลง’ สำหรับทีมพัฒนาและบริษัทจัดจำหน่าย?

 

 

บางที มันอาจจะเป็นเรื่องที่เรียบง่ายกว่าที่เราคิดเอาไว้มากก็เป็นได้

 

 

อะไรคือปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อ ‘การเมือง’ มาเกี่ยวข้องกับ ‘วิดีโอเกม’


 

 

จากหัวข้อที่แล้ว ที่กล่าวว่า ทีมพัฒนาและบริษัทจัดจำหน่าย มักจะหลีกเลี่ยงการเกี่ยวข้องกับ ‘การเมือง’ โดยตรง และออกตัวกันเสียแต่เนิ่นๆ ว่าทุกอย่างดำเนินไปด้วย ‘ความสนุก’ เป็นที่ตั้งนั้น บางที ปัญหาที่ทำให้การเมืองเป็นของแสลงสำหรับแวดวงวิดีโอเกม ก็อาจจะอยู่ที่คำว่า ‘ความสนุก’ ที่ว่านั้นก็เป็นได้

 

 



ไม่ได้หมายความว่าวิดีโอเกมควรจะเป็นอุปกรณ์โฆษณาชวนเชื่อหรือเผยแพร่ Propaganda อย่างตรงไปตรงมา แต่การปฏิเสธถึงความเกี่ยวพันของ ‘การเมือง’ ที่มีในชิ้นงานวิดีโอเกม มันเป็นความลักลั่นที่เริ่มจะเผยตัวให้เห็นมากยิ่งขึ้นไปทุกทีๆ เพราะในทางหนึ่ง วิดีโอเกมเดินหน้าไปสู่ขอบเขตของความสมจริง แต่ในอีกทางหนึ่ง มันก็วางตัวเองให้ออกห่างจากผลลัพธ์ของการนำเสนอจากความสมจริงนั้นๆ

 

 



ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนที่สุด ก็อาจจะหนีไม่พ้นซีรีส์อย่าง Call of Duty และซีรีส์ Grand Theft Auto ที่ที่มันได้นำเสนอประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์สงครามสุดสมจริง หรือการยั่วล้อวัฒนธรรมยุคโมเดิร์นอย่างเจ็บแสบ และนั่นทำให้ประโยคที่บอกว่าวิดีโอเกมไม่เกี่ยวข้องกับ ‘การเมือง’ นั้น ฟังดูไม่มีน้ำหนักมากขึ้นไปทุกทีๆ เพราะแค่สองตัวอย่าง มันก็อิงแอบอยู่กับการเมืองไปแล้วโดยนัย

 

 



หรืออย่างในกรณีที่เป็นปัญหาล่าสุดอย่าง The Last of Us Part II ที่ถูกกลุ่มนักเล่นบางส่วนต่อต้านอย่างรุนแรงจากการสอดแทรกประเด็นทางความเชื่อที่แตกต่างจากชิ้นงานวิดีโอเกมอื่นอย่างสุดสเปคตรัม (จนถึงขั้นมีข้อความและจดหมายขู่ฆ่าผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตชนิดที่เท่าเทียมและทั่วถึง) มันก็คือผลลัพธ์จากการวางตำแหน่งของวิดีโอเกมเอาไว้ว่า จะต้องดำเนินไปเพื่อความ ‘สนุก’ เป็นที่ตั้ง ออกให้ห่างจากการแตะประเด็นที่ละเอียดอ่อนที่สุด และต้องมีรูปแบบและแนวทางที่ผู้เล่นคุ้นเคย แบ่งชัดเจนขาวดำ จนนำมาซึ่งผลลัพธ์ที่น่าเศร้าใจอย่างในปัจจุบันขณะ ณ ตอนนี้

 

 



แต่เราต้องอย่าลืมว่า วิดีโอเกมนั้น เป็นสื่อความบันเทิงที่มีอายุถึงสี่ทศวรรษ และอัตราการเติบโตของมันก็ทวีมากยิ่งกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ จะเทียบได้ ในไม่ช้าก็เร็ว มันจะต้องถึงจุดที่มันจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับ ‘การเมือง’ ในฐานะที่มันเป็นสื่อที่จำลองและสะท้อนโลกแห่งความเป็นไปได้ของความเป็น ‘มนุษย์’ อย่างถึงที่สุดชิ้นหนึ่งที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

 

 

มันอาจจะถึงเวลาที่เราต้องทบทวนท่าทีที่เรามีต่อวิดีโอเกมครั้งใหญ่ ที่ไม่ช้าก็เร็ว มันจะต้องเดินทางมาถึง

 

 

ก้าวต่อไปของวิดีโอเกม เมื่อ ‘การเมือง’ อยู่ใกล้กว่าที่เราคิด


 

 

อย่างที่กล่าวไปก่อนหน้านั้น บทความชิ้นนี้ของผู้เขียนมิได้มีเจตนาที่จะชี้ว่าสิ่งใดถูกหรือผิด แต่เป็นการฉายภาพของสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในโลกแห่งวิดีโอเกม ที่ที่ความเป็น ‘การเมือง’ อาจจะไม่ใช่สิ่งไกลตัว และเมื่อถึงเวลา มันจะต้องเป็นส่วนหนึ่งของสื่อบันเทิงที่เรารักชิ้นนี้อย่างช่วยไม่ได้

 

 



‘คุณพูดถึงการเมืองในชิ้นงานได้ แต่ไม่ใช่การสั่งสอนชี้นำ’ Mike Pondsmith ผู้สร้างซีรีส์ Cyberpunk 2020 และโปรดิวเซอร์ร่วมของ Cyberpunk 2077 กล่าวเมื่อถูกถามถึงการมีส่วนร่วมของการเมืองในชิ้นงานวิดีโอเกม นั่นก็เป็นสิ่งที่เข้าใจกันได้ เพราะถ้าการเมืองเป็นเรื่อง ‘ละเอียดอ่อน’ แล้ว คงไม่มีใครชื่นชอบ ที่จะถูกชี้หน้าแล้วบอกว่าความคิดและความเชื่อของตนเองนั้นผิด ไม่ถูกต้อง

 

 



แต่ผู้เขียนขออนุญาตเสริมในจุดนี้สักนิดหนึ่งว่า บางที มันอาจจะไม่เสียหาย ถ้าชิ้นงานวิดีโอเกม จะนำเสนอแนวคิดทางการเมืองและความเชื่อของทีมสร้าง (เช่นที่เกิดขึ้นกับ The Last of Us Part II) มันเป็นสิทธิ์ที่ทีมพัฒนาจะสามารถพึงกระทำได้ และเราในฐานะผู้เล่น ก็มีสิทธิ์อีกเช่นกัน ที่จะแสดงความไม่เห็นด้วย ไปจนถึงอาจจะไม่ชื่นชอบสารที่สื่อออกมา (และดูเหมือนว่า ทีมพัฒนาจะคิดไปไกล และลึกกว่าที่เราคาดเอาไว้มากนัก)

 

 



แต่มันต้องอยู่บนพื้นฐานที่ว่า วิดีโอเกมคือความหลากหลาย และมันสมควรที่จะเติบโตอย่างมีวุฒิภาวะ และไม่ต้องกระมิดกระเมี้ยนหลบหลีกคำว่า ‘การเมือง’ ทั้งที่มันเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบการสร้างมานับสิบกว่าปี และต้องมีพื้นที่ให้กับการส่งเสียงทางความคิดและความเชื่อที่แตกต่างกันอย่างเสรี  (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน ที่แนวคิดและอุดมการณ์ต่างๆ เช่นความเท่าเทียมทางเพศ, LGBTQ+ และความโปร่งใสในกระบวนการทำงานเริ่มมีบทบาทและส่งเสียงในอุตสาหกรรมวิดีโอเกมมากขึ้นทุกขณะ)

 

 



สิ่งที่ผู้เขียนอยากจะเห็น (แม้มันจะยังคงต้องใช้เวลาอีกนาน กว่าที่จะไปถึง) คือการถกเถียงพูดคุยกันอย่าง Constructive ว่าชอบ หรือไม่ชอบ เพราะเหตุใด ไม่มีการชี้หน้าด่าทอ ใครที่ชอบก็ออกมาบอกว่าชอบเพราะอะไร ใครที่ไม่ชอบ ก็โต้แย้งว่าไม่ชอบที่ตรงไหน ต่อยอดไปสู่ความเข้าใจใหม่ๆ (แน่นอน เหตุการณ์ที่ทีมงาน Gamespot ด่า Angry Joe ที่ให้คะแนน The Last of Us Part II ต่ำกว่าเจ้าอื่นๆ เป็นพวกเหยียดเพศนั้นก็จัดว่าเป็นอะไรที่ไม่สร้างสรรค์เลยแม้แต่น้อย…)

 

 

และผู้พัฒนา สมควรที่จะสร้างสรรค์ชิ้นงานได้โดยปราศจากความกลัว ให้โลกของวิดีโอเกมมีความหลากหลาย ไม่แตกต่างอะไรกับแวดวงภาพยนตร์ ที่มีทั้งชิ้นงานป็อบคอร์น Blockbuster จนถึงงานระดับเชิงศิลป์สุดโต่ง ความหลากหลายเหล่านี้ จะทำให้แวดวงวิดีโอเกมเติบโต และมีงานสร้างสรรค์ที่น่าสนใจออกมาอีกมากมายในอนาคต มันอาจจะถึงเวลาแล้ว ที่มันจะต้องก้าวต่อไป เรียนรู้จากมัน อันนำไปสู่การเติบโตทางความคิดที่เปิดกว้างของตัวผู้เล่นในอีกทางหนึ่งด้วย

 

 



ดังที่อริสโตเติลกล่าวเอาไว้ ‘มนุษย์เป็นสัตว์การเมือง’ และผลลัพธ์ที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างกันของผู้คน ผ่านสื่ออย่างวิดีโอเกมนั้น ก็ยากที่จะออกห่างจาก ‘การเมือง’ ไปได้ในอนาคต เราอาจจะสมควรที่จะต้องติดอาวุธทางความคิด พร้อมรับกับวุฒิภาวะที่มากขึ้น เพื่อให้แวดวงวิดีโอเกมก้าวต่อไป และถ้าการเมืองเป็นเหมือน ‘ไฟ’ ที่พร้อมสร้างอันตรายได้ในทางหนึ่งแล้วนั้น…
‘มันก็มีคุณประโยชน์ที่จะนำพาไปสู่การพัฒนาต่อยอด ถ้าหากใช้มันได้อย่างถูกวิธี และมีแนวทางที่เหมาะสมชัดเจนในการเข้าหามันเช่นนั้นเอง…’


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header