GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
รีวิว: The Last of Us Part II "ความยุติธรรมที่ไม่มีใครต้องการ"
ลงวันที่ 12/06/2020

ในหลายๆ จังหวะ การเล่นเกม The Last of Us Part II ทำให้ผู้เขียนนึกถึงเกม PS4 Exclusive ชื่อดังอีกเกมอย่าง God of War (2018) ทั้งสองเกมมีความคล้ายคลึงกันอยู่มาก ตั้งแต่มุมกล้องที่ติดตามตัวละครหลักของเกมอย่างใกล้ชิดแทบจะตลอดเวลา เพื่อให้ผู้เล่นได้เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครในทุกช่วงเวลาตลอดการเดินทาง รวมไปถึงองค์ประกอบด้านภาพ เสียง และเกมเพลย์ระดับแนวหน้าของวงการ ที่ทำงานร่วมกันในการขับสาสน์และ “บรรยากาศ” ของเกมให้ถึงผู้เล่นอย่างชัดเจนตลอดระยะเวลาที่นั่งเล่น จนทำให้ “ประสบการณ์” โดยรวมของเกมน่าดึงดูดในระดับที่พูดได้เต็มปากว่า “วางจอยไม่ลง” เลยทีเดียว

แต่ในขณะเดียวกัน แม้จะปฏิเสธไม่ได้ว่า The Last of Us Part II เป็นผลงานวีดีโอเกมที่น่าทึ่งในหลายๆ ระดับ แต่ในความพยายามที่จะนำเสนอ “แง่มุม” อันหลากหลายมากขึ้นของผู้พัฒนา ทำให้เนื้อเรื่องของเกมขาดส่วนผสมบางอย่าง ที่ทำให้เกมอย่าง God of War (2018) หรือกระทั่งผลงานที่ผ่านมาของผู้พัฒนา Naughty Dog เองทั้ง Uncharted และ The Last of Us ภาคแรก กลายเป็นเกมที่ยอดเยี่ยมอันดับต้นๆ ในแง่ของเนื้อเรื่อง นั่นก็คือการที่เนื้อเรื่องของเกมเหล่านั้น “มุ่งเน้น” (Focused) ไปที่เรื่องราวของตัวละครเพียงไม่กี่ตัวตลอดการเดินทางของพวกเขา ที่ทำให้ผู้เล่นสามารถสร้างความผูกพันธ์กับตัวละครเหล่านั้น และติดตามการเจิรญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของพวกเขาได้อย่างเข้มข้น ทำให้เนื้อเรื่องโดยรวมขาด “น้ำหนัก” เมื่อเทียบกับเกมอื่นๆ ที่กล่าวไปข้างต้น

 แม้ว่าสุดท้ายแล้ว คงไม่สามารถบอกว่าเนื้อเรื่องของเกม The Last of Us Part II นั้น “แย่” หรือ “ห่วย” ได้ เพราะเอาเข้าจริง เนื้อเรื่องของเกมถูกเขียนมาอย่างลึกซึ้ง และเปี่ยมไปด้วยสถานการณ์และตัวละครที่จะทำให้คุณตั้งคำถามกับ “ความถูกต้อง” ของทั้งตัวเองและตัวละครอยู่ตลอดเวลา แถมกราฟิกอันสุดยอดของเกมยังช่วยทำให้นักแสดงมากความสามารถทั้งหลายสามารถมอบ “ความเป็นมนุษย์” ให้กับตัวละครเหล่านี้ได้ในระดับที่ผู้เขียนยังไม่เคยเห็นในเกมไหนมาก่อนเลย และทำให้คุณภาพของการแสดงและคัตซีนทั้งหมดเข้าใกล้คุณภาพระดับ “ฮอลลีวู้ด” มากกว่าเกมไหนๆ ที่ผ่านมาได้สบาย

*หมายเหตุ: รีวิวฉบับนี้จะหลีกเลี่ยงการสปอยเนื้อเรื่องให้ได้มากที่สุด และจะกล่าวถึงเหตุการณ์และตัวละครในภาพกว้างเท่านั้น

*หมายเหตุ 2: เนื่องจากทางผู้พัฒนากำชับมาให้ใช้ภาพประกอบที่พวกเขาส่งมาให้เท่านั้นในบทความรีวิวนี้ จึงไม่สามารถแสดงภาพบทบรรยายหรือเมนูภาษาไทยได้ ผู้ที่อยากเห็นว่าบทบรรยายของเกมหน้าตาเป็นอย่างไร สามารถรับชมได้ในวีดีโอรีวิวเกม The Last of Us Part II ของเราแทน






◊ เนื้อเรื่อง ◊


มาพูดถึงเนื้อเรื่องให้จบๆ กันไปก่อนดีกว่า

สำหรับคนที่อาจจะไม่ทราบ เนื้อเรื่องของเกม The Last of Us Part II จะเกิดขึ้น 4 ปีให้หลังจากตอนจบของเกมภาคแรก (ใครยังไม่เล่น แนะนำให้หามาเล่นเดี๋ยวนี้) โดยจะติดตามตัวละครเด็กสาว Ellie ผู้ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนผู้รอดชีวิตอันแสนสงบสุขในเมือง แจ๊คสัน รัฐไวโอมิ่ง แม้ว่าเธอและเหล่าชาวเมืองจะยังคงต้องเผชิญกับเหล่าผู้ติดเชื้อไวรัส Cordyceps ที่กระจายอยู่ทั่วไป และต้องคอยจัดหน่วยลาดตระเวนเพื่อดูแลความเรียบร้อยรอบๆ เมืองอยู่ตลอด แต่พวกเขาก็ยังมีพื้นที่ให้งานรื่นเริง หรือกระทั่งความรักและมิตรภาพ หลังจากที่ต้องใช้ชีวิตปากกัดตีนถีบเพื่อเอาตัวรอดมาตลอด



แต่ความสงบสุขของ Ellie ก็ถูกทำลายลง เมื่อเธอต้องเผชิญกับโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่หลวงในขณะที่ออกลาดตระเวนวันหนึ่ง และเพื่อทวงคืน “ความยุติธรรม” บางอย่างที่ถูกพรากไปจากเธอ Ellie จึงตัดสินใจออกเดินทางจากชุมชนอันอบอุ่นของเธอ ไปยังเมือง ซีแอตเทิล เพื่อชำระความแค้นที่สุมอยู่เต็มอกของเธอ

อย่างที่ผู้พัฒนาเคยกล่าวไปในบทสัมภาษณ์มากมาย เนื้อเรื่องในเกม The Last of Us Part II จะเกี่ยวข้องกับ “วังวนแห่งความรุนแรง” ที่เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ทั้งสองฝ่ายต่างเลือกที่จะแก้แค้นกันไปกันมา โดยไม่ได้หยุดคิดเสียก่อนเลยว่า “ความแค้น” ที่ต้องชำระนั้นยังคง “สำคัญ” หรือ “คุ้มค่า” แค่ไหนเมื่อเทียบกับสิ่งที่ต้องแลกไป ซึ่งต้องบอกว่าผู้พัฒนา Naughty Dog ก็ยังคงแสดงออกถึงศักยภาพในฐานะผู้นำในด้านการเล่าเรื่อง จากบทพูดที่เขียนมาอย่างคมกริบ ไปจนถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในเนื้อเรื่องที่ล้วนแล้วแต่มีนัยยะ และตั้งคำถามเกี่ยวกับ “การกระทำ” ของ Ellie และตัวละครอื่นๆ ในโลกของเกมได้อย่างคมคาย



ด้วยธรรมชาติของเนื้อเรื่อง ที่ต้องการจะท้าทายความคิดของผู้เล่นอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้พัฒนาตัดสินใจที่จะให้ตัวละครอื่นๆ มีส่วนร่วมในเนื้อเรื่องหลายตัว เพื่อช่วยกันเสริมทั้งโลกของเกมโดยรวม และเพื่อให้ผู้เล่นสามารถเข้าถึงมุมต่างๆ ของ Ellie ผ่านความสัมพันธ์ที่เธอมีกับตัวละครเหล่านั้น โดยปัญหาของเนื้อเรื่องเกิดขึ้นเมื่อผู้พัฒนาใช้เวลาของเกมส่วนหนึ่งในการนำเสนอแง่มุมหรือเส้นเรื่องของตัวละครอื่นบางตัวค่อนข้างเยอะ จนทำให้เนื้อเรื่องของ Ellie ที่ควรจะเป็นแก่นหลักของเกมรู้สึก “เจือจาง” ลงไปอย่างมาก ซึ่งเป็นปัญหามากขึ้นไปอีกเมื่อเกมพยายาม “ดึงดัน” ว่าเนื้อเรื่องนี้ทั้งหมดยังคงเป็นเรื่องของ Ellie แม้ว่าซีกใหญ่ๆ ของเกมจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับเธอโดยตรง

แต่ในทางกลับกัน การที่เกมให้เวลาในการสำรวจชีวิตและความคิดของตัวละครอื่นๆ เหล่านี้ ก็เปิดช่องทางให้ผู้เล่นได้รับรู้ถึงแง่มุมของโลกที่อาจจะไม่ได้เห็นในฐานะ Ellie ซึ่งก็ช่วยทำให้โลกของเกมรู้สึกกว้างและสมจริงมากขึ้น จากการค่อยๆ เรียนรู้วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของมนุษย์กลุ่มต่างๆ หลังจากที่อารยธรรมได้ล่มสลายไปแล้วมากกว่า 20 ปี จึงอาจจะไม่ได้มีแต่ด้านลบไปทั้งหมด แต่ก็กลับไปสู่คำถามที่ว่า แล้วมันควรจะเป็นเรื่องราวของใครกันแน่ ผู้เล่นจำเป็นต้องรู้เรื่องราวเหล่านี้แค่ไหน และจะดีกว่าไหมถ้าเราใช้เวลาตรงนี้กับ Ellie และตัวละครรอบตัวเธอมากขึ้น



สุดท้ายแล้ว ผู้เขียนก็ไม่ได้คิดว่าเนื้อเรื่องของ The Last of Us Part II นั้นแย่ไปเลยเช่นกัน และสุดท้ายอาจจะเป็นตัวผู้เขียนเองที่ตีความเนื้อเรื่องของเกมไม่ถูก หรือไม่ลึกพอก็เป็นได้ แต่ในตอนนี้ คงได้แต่บอกว่าเนื้อเรื่องเป็นเป็นส่วนที่น่าผิดหวังที่สุดของเกม โดยเฉพาะเมื่อคิดว่าเกม The Last of Us ภาคแรกยังคงถูกกล่าวถึงในฐานะเกมที่ “ยกระดับ” มาตรฐานการเล่าเรื่องของสื่อวีดีโอเกมให้ใกล้เคียงกับภาพยนตร์ได้มากที่สุด จากการเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์อันละเอียดอ่อนระหว่างตัวละครสองตัว ก็อดผิดหวังไม่ได้ที่เกมนี้ดูจะขาดเครื่องปรุงสำคัญที่เคยมีในภาคแรกไป




◊ เกมเพลย์ ◊


สำหรับผู้เขียน “เกม” มีข้อได้เปรียบประการหนึ่งในฐานะสื่อการเล่าเรื่อง ที่สื่ออื่นๆ ทั้งหนัง ทีวี หรือหนังสือนิยายไม่มี คือความสามารถในการเล่าเรื่องผ่าน “การกระทำ” ของผู้รับสื่อนั้น ซึ่งเกม The Last of Us Part II ถือเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบที่สุดชิ้นหนึ่งของการเล่าเรื่องผ่าน “การกระทำ” ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบเกมเพลย์ทั้งหมด ตั้งแต่การต่อสู้และลอบเร้น ไปจนถึงการสำรวจและการตามหาทรัพยากร ที่ออกมาให้ขับธีมของเนื้อเรื่อง โดยที่ยังมอบความสนุกท้าทายให้ผู้เล่นได้อย่างไม่ลดละ ตลอดระยะเวลากว่า 25 ชั่วโมงที่ผู้เขียนใช้ในการผ่านเนื้อเรื่อง

แม้ว่าในภาพรวมแล้ว การเล่นเกม The Last of Us Part II จะให้ความรู้สึกคล้ายกับภาคแรกอยู่พอสมควร ด้วยการควบคุมและ “สัมผัส” ในการเล่นที่ใกล้เคียงกันมาก แต่เกมเพลย์ของ Part II โดยเฉพาะการต่อสู้ ก็ได้รับการเพิ่มเติมระบบเล็กๆ น้อยๆ เข้าไปหลายข้อ ที่ทำให้การต่อสู้ในเกมมีความท้าทายและน่าตื่นเต้นกว่าที่พบในเกมแนวลอบเร้นสายเลือดแท้หลายเกมซะอีก



ฉากต่อสู้ในเกม TLoU2 (The Last of Us Part II) มักจะดำเนินไปตามลำดับที่คล้ายกัน ในตอนเริ่มต้นฉากต่อสู้ส่วนใหญ่ในเกม ผู้เล่นจะสามารถใช้ความคล่องตัวที่เพิ่มขึ้นของ Ellie ในการหลบซ่อนจากศัตรู ที่มักจะยกโขยงกันมาเป็นกลุ่มใหญ่เสมอ ความสามารถสำคัญอย่างหนึ่งของ Ellie คือการที่เธอสามารถหมอบคลานลงไปกับพื้น เพื่อซ่อนตัวในพงหญ้าสูง หรือเพื่อหลบซ่อนใต้สิ่งของอย่างรถได้นั่นเอง โดยเมื่อใช้คู่กับความสามารถจากภาคแรกอย่าง “โหมดการฟัง” ที่ทำให้มองเห็นศัตรูผ่านกำแพงได้ ทำให้ผู้เล่นมีทางเลือกในการลอบเร้นเพิ่มขึ้นจากภาคแรกพอสมควร

แต่ถึงจะมีทางเลือกมากมายให้ผู้เล่น ความฉลาดที่เพิ่มขึ้นของศัตรูทั้งที่เป็นมนุษย์ รวมไปถึงลูกเล่นที่เพิ่มมาอย่างสุนัขดมกลิ่นของกลุ่ม W.L.F. ก็ทำให้การลอบเร้นผ่านศัตรูแต่ละกลุ่มไปโดยที่ไม่ถูกเจอตัวอย่างน้อยซักครั้ง แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในประสบการณ์ของผู้เขียน 



อย่างที่ผู้พัฒนาเคยกล่าวถึงอยู่บ่อยครั้ง ศัตรูมนุษย์ในเกม TLoU2 ทุกคนจะมีชื่อเป็นของตัวเอง ที่พวกมันจะใช้ขานเรียกกันเป็นระยะตลอดเวลา หมายความว่าต่อให้เราปลิดชีพศัตรูด้วยวิธีที่เงียบแค่ไหน ซ่อนศพไว้ในมุมที่เปลี่ยวแค่ไหน ไม่ช้าก็เร็วศัตรูที่เหลือก็จะรู้อยู่ดีว่าเพื่อนของพวกมันหายตัวไป แถมยังรู้ด้วยว่าเพื่อนควรจะลาดตระเวนอยู่ตรงไหน และจะยกโขยงกันมาตามหาเพื่อน (และตัวผู้เล่น) อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้เล่นต้องคอยเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้โดนเจอตัว แต่การเคลื่อนที่ก็มีสิทธิ์จะโดนศัตรูตัวอื่นเห็นได้เหมือนกัน ทำให้การลอบเร้นในเกม TLoU2 ให้ความรู้สึกเหมือนกดดันมากๆ เพราะสถานการณ์สามารถพลิกจากการลอบเร้นเงียบๆ สู่การวิ่งหลบห่ากระสุนของศัตรูได้ตลอดเวลา

การต่อสู้ในเกม TLoU2 ก็ทำออกมาได้น่าตื่นเต้นไม่แพ้การลอบเร้นในเกม จากการที่มักจะมีศัตรูปริมาณเยอะมากๆ ในแต่ละฉากต่อสู้ แถมศัตรูยังฉลาดพอที่จะใช้จำนวนที่มากกว่าให้เป็นประโยชน์ ด้วยการตีโอบผู้เล่นเพื่อโจมตีจากหลายมุม หรือกระทั่งการส่งทหารที่มีอาวุธระยะประชิดเข้ามาไล่ต้อน Ellie ออกจากที่กำบังให้เพื่อนยิง ทำให้ผู้เล่นจำเป็นต้องคอยเปลี่ยนตำแหน่งของตัวเองตลอดเวลาเช่นเดียวกับการลอบเร้น ซึ่งก็สื่อความรู้สึกกระเสือกกระสนร้อนรนเพื่อเอาชีวิตรอดของ Ellie ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ การเล็งปืนในเกมที่มักจะแม่นยำน้อยกว่าเกมยิงปืนทั่วไป บวกกับการที่ Ellie สามารถพกกระสุนปืนติดตัวได้ที่ละน้อยมากๆ (เป็นองค์ประกอบเดียวในเกมที่ไม่สมจริง) ก็ทำให้การต่อสู้ในเกมยังคงท้าทายและสมจริง ไม่ว่าผู้เล่นจะเล่นเกมยิงปืนแม่นแค่ไหนก็ตาม 



ในส่วนของผู้ติดเชื้อ จะได้รับการพัฒนาในเรื่องของปริมาณ ความดุร้าย และความสามารถในการตรวจจับผู้เล่น แลกกับการที่ Ellie จะสามารถลอบสังหารเหล่าผู้ติดเชื้อได้ด้วยมีดพกของเธอ แทนที่จะต้องหาทรัพยากรมาสร้างมีดสั้นแบบที่ Joel ต้องทำในภาคแรก ซึ่งแม้ว่าโดยรวมๆ ศัตรูรันเนอร์และคลิ๊กเกอร์ที่พบได้บ่อยที่สุดจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเท่าไหร่ (นอกจากวิ่งเร็วขึ้นพอสมควร) แต่เกมก็เพิ่มมิติเข้าไปผ่านผู้ติดเชื้อชนิดอื่นๆ อย่าง “แชมเบลอร์” ที่สามารถโยนระเบิดพิษใส่เรา หรือปล่อยควันพิษรอบตัวได้ และ “สตอล์คเกอร์” ผู้ติดเชื้อที่เจอเพียงประปรายในภาคแรก แต่กลับมาพร้อมความสามารถในการหลบซ่อน และจะคอยลอบโจมตี Ellie พร้อมกับเรียกเพื่อนๆ มาช่วยอีกด้วย ซึ่งก็ล้วนเพิ่มมิติเข้าไปให้กับการต่อสู้ แม้จะไม่ได้เปลี่ยนไปมากเท่ากับศัตรูมนุษย์ก็ตาม



ถ้าจะมีเรื่องให้ติ คงเป็นการที่เกมไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการที่มีศัตรูหลายๆ กลุ่มที่เป็นศัตรูกันเองในการต่อสู้ เช่นฉากหนึ่งในสถานีรถใต้ดิน ที่ให้ผู้เล่นสามารถหลอกให้ศัตรูมนุษย์และผู้ติดเชื้อในพื้นที่สู้กันเอง ซึ่งผู้เขียนมองว่าน่าสนใจมากๆ และสามารถให้ประสบการณ์การต่อสู้ที่แปลกใหม่ต่อผู้เล่นได้มากขึ้น แต่กลับมีฉากลักษณะนี้อยู่น้อยมากตลอดเกม ไหนๆ เนื้อเรื่องของเกมก็เกี่ยวข้องกับสงครามระหว่างกลุ่มมนุษย์กันเองอยู่แล้ว น่าจะเพิ่มองค์ประกอบนี้ลงไปในเกมมากกว่านี้หน่อย ให้มันมีความหลากหลายเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ได้ส่งผลต่อคุณภาพของเกมในภาพรวม

อีกมิติของเกมเพลย์ใน TLoU2 ก็คือการพัฒนาตัวละคร ที่ทำได้ผ่านการสำรวจโลกของเกมเพื่อเก็บวัตถุดิบหลากหลายชนิดมาสร้างอุปกรณ์เช่นยาหรือระเบิด หรือหาของอัพเกรด เช่นชิ้นส่วนปืนหรืออาหารเสริม เพื่อพัฒนาความสามารถของตัวละครโดยตรงด้วย ซึ่งนอกจากจะเสริมอรรถรสของการเป็นผู้รอดชีวิตในโลก Post-Apocalpyse แล้ว ยังเพิ่มเหตุผลให้ผู้เล่นเดินทางออกนอกเส้นทางหลักเพื่อสำรวจโลกของเกม เพื่อตามหาตำราที่จะปลดล๊อคสายการอัพเกรด และเพื่อปลดล๊อคเนื้อเรื่องเสริมที่มักพบได้ระหว่างทางด้วย แต่พื้นที่เสริมเหล่านี้ ก็มักจะมีศัตรูผู้ติดเชื้ออยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้เล่นต้องชั่งน้ำหนักว่าอยากจะเผชิญหน้าศัตรูเพื่อโอกาสในการเก็บของเพิ่มหรือไม่ ซึ่งก็ย้อนกลับไปเสริม “บรรยากาศ” และ “อรรถรส” ของเกมอีกที




◊ กราฟิก / การนำเสนอ ◊


อย่างที่เคยบอกไปในบทความพรีวิวเกมก่อนหน้านี้ องค์ประกอบที่น่าจะได้รับคำชมมากที่สุด และเป็นสิ่งที่มัดรวมทุกอย่างเอาไว้ด้วยกันก็คือ “บรรยากาศ” ของเกม TLoU2 อันเป็นส่วนผสมขององค์ประกอบด้านภาพและเสียงทั้งหมด ที่ทำให้การเดินทางของ Ellie เต็มไปด้วยความตึงเครียด จากความรู้สึก “อันตราย” ที่แผ่ซ่านออกมาจากสภาพแวดล้อมในเกม 

องค์ประกอบที่ดูเหมือนมีไว้แค่ “ประดับฉาก” ในเกมอื่นๆ มักมีความหมายเสมอ ในเกม TLoU2 ไม่ว่าจะเป็นร่องรอยคราบเลือดหรือซากศพจากการต่อสู้ ที่บ่งบอกว่าเพิ่งมีการปะทะกันระหว่างกลุ่มมนุษย์สองกลุ่ม และกลุ่มที่ชนะอาจกำลังรอคุณอยู่ข้างหน้า ไปจนถึงเชื้อรา Cordyceps ที่คืบคลานไปบนกำแพง ที่บอกใบ้ถึงกลุ่มผู้ติดเชื้อขนาดใหญ่ที่อาจยังอยู่ในบริเวณ องค์ประกอบในฉากของเกม TLoU2 ถูกออกแบบมาให้สร้างความรู้สึกเหมือนมีอะไรรออยู่ข้างหน้าเสมอ เมื่อรวมกับการออกแบบเสียงของเกม ที่มักจะใส่เสียงเล็กๆ อย่างเสียงแก้วแตก เสียงสุนัขเห่า หรือแม้แต่เสียงร้องของผู้ติดเชื้อเข้ามาอยู่เนืองๆ ก็เพียงพอจะทำให้สะดุ้งเล็กๆ ได้ตลอดเวลา



เหตุผลใหญ่ๆ ข้อหนึ่งที่ฉากของเกมสามารถสร้างความตึงเครียดได้ขนาดนี้ มาจากความน่าทึ่งของกราฟิกในเกม TLoU2 ที่บอกได้แค่ว่าเหนือว่าที่ผู้เขียนคาดเอาไว้เสียอีก ตั้งแต่ความคมชัดของพื้นผิวสิ่งของต่างๆ ที่เสริมความสมจริงให้สภาพแวดล้อม ไปจนถึงหน้าตาตัวละคร ที่สามารถถ่ายทอดหน้าตาของนักแสดงจริงได้เหนือกว่าเกมอื่นในตลาดอย่างชัดเจน โดยความสมจริงของหน้าตาตัวละครยังช่วยเสริมองค์ประกอบอื่นๆ ให้มีส่วนในการสร้างบรรยากาศของเกมได้อย่างคาดไม่ถึงด้วย

ถ้าจะให้ลองยกตัวอย่าง รายละเอียดเล็กๆ อย่างหนึ่งที่ผู้เขียนชอบในการต่อสู้ คือการที่หน้าตาของทั้ง Ellie และคู่ต่อสู้จะเปลี่ยนไปตลอดเวลาตามการกระทำของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นความโกรธและเกลียดชังในขณะที่ยัดมีดใส่พุงศัตรู ไปจนถึงความเจ็บปวดเมื่อต้องดึกลูกธนูที่ปักอยู่ตามร่างกายทิ้ง สีหน้าที่เปลี่ยนไปของ Ellie และตัวละครอื่นๆ ในเกมระหว่างการต่อสู้ ทำให้ผู้เล่นรู้สึกได้ถึงความกระเสือกกระสนเอาตัวรอดของทั้ง Ellie และตัวละครศัตรู ที่พร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อฆ่าอีกฝ่ายและมีชีวิตรอดไปต่อไป ซึ่งก็ถูกเสริมด้วยการออกแบบเสียงของเกม เช่นเสียงโลหะกระทบเนื้อ หรือกระทั่งเสียงเลือดที่กระเซ็นไปติดกำแพง ที่มอบน้ำหนักให้กับการโจมตีของทั้งศัตรูและผู้เล่น จนในบางจังหวะก็อดรู้สึก “หวาดเสียว” แทนตัวละครในเกมไม่ได้จริงๆ



นอกจากนี้ เกมยังสามารถใช้ประโยชน์ของความเป็นเกมในรูปแบบของกระดาษโน้ตทั้งหลายที่ซ่อนอยู่ตามฉาก ที่มักจะเล่าเรื่องราวของเหล่า NPC ไร้หน้าในโลกของเกม เช่นจดหมายที่เล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้รอดชีวิตที่บังเอิญหลบซ่อนอยู่ในห้องอพาร์ตเมนต์ข้างๆ กัน ไปจนถึงชายชราผู้น่าสงสาร ที่ถูกลูกชายทั้งสองทอดทิ้งไปเข้ากลุ่มเซราไฟต์ ซึ่งแม้ส่วนใหญ่จะไม่ได้มีความสำคัญกับเนื้อเรื่องหลักโดยตรง แต่ก็ช่วยกันทำให้เห็นภาพของวิถีชีวิตของมนุษย์ในโลกของเกม รวมไปถึงประวัติศาสตร์ของกลุ่มศัตรูทั้ง W.L.F. และเซราไฟต์ด้วย

ถ้าจะให้สาธยายกันไปอีกแปดหน้าก็คงไม่จบ กับรายละเอียดด้านการนำเสนอเล็กๆ น้อยๆ ทั้งหมด ที่ร่วมกันทำให้ระบบการเล่นทุกส่วนของ The Last of Us Part II กลายเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอเรื่องราวหรือ “ประสบการณ์” ของโลกและตัวละครในเกม และสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้กับระบบทั้งหมด เพื่อให้ผู้เล่นได้เข้าถึงความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร รวมไปสาสน์ที่ผู้พัฒนาต้องการสื่อผ่านเนื้อเรื่องอีกด้วย เอาเป็นว่าของแบบนี้ ถ้าไม่มาลองกับมือและรับองค์ประกอบทั้งหมดของเกมพร้อมกัน มันบอกไม่ถูกจริงๆ ต่อให้รู้แค่เนื้อเรื่อง หรือเล่นแคเกมเพลย์ ก็ไม่มีวันเข้าถึงประสบการณ์เต็มของเกมได้เลย




◊ ภาษาไทย / ตัวเลือกอื่นๆ ◊


อย่างที่กล่าวไปแล้วในพรีวิว ภาษาไทยในเกม The Last of Us Part II ถือเป็นงานแปลที่คุณภาพดีที่สุดเท่าที่เคยเห็นในเกมมา แน่นอนว่าอาจจะมีคำแปลผิดหรือเสียอรรถรสไปบ้าง จากการที่คำแปลไม่สามารถมีคำหยาบได้ หรือแค่จากการสื่อความหมายที่ตกหล่นไปในขั้นตอนการแปลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่โดยรวมแล้วก็ถือเป็นบทบรรยายไทยระดับเดียวกับที่เห็นได้ในภาพยนตร์หรือทางเว็บสตรีมมิ่งอย่าง Netflix สบายๆ 

นอกจากนี้ เกมยังมีคำแปลภาษาไทยให้กับตัวหนังสือภาษาอังกฤษทั้งหมดในเกมเลย ไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม ตั้งแต่ป้ายบอกทางที่เอาไว้ประกอบฉาก ไปจนถึงเอกสารและจดหมายโน้ตทุกฉบับในเกม สามารถแปลไทยได้ในระดับเดียวกับบทบรรยาย ทำให้ไม่ต้องกลัวว่าจะพลาดเนื้อเรื่องใดๆ ในเกมเด็ดขาด

นอกจากตัวเลือกด้านบทบรรยาย เกมยังเปิดให้ผู้เล่นสามารถปรับแต่งการควบคุมและระดับความยากแบบแยกหมวดอย่างละเอียด เช่นความแรงการโจมตีศัตรู พลังป้องกันศัตรู ปริมาณกระสุนที่เก็บได้ เป็นต้น ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าจะช่วยผู้เล่นได้หลายคน เพราะต้องบอกว่าเกมแอบยากเหมือนกัน ยิ่งสำหรับคนที่ไม่ชินกับเกมลอบเร้น ตัวเลือกเหล่านี้อาจจะช่วยให้คุณผ่านเกมไปได้โดยหัวไม่ร้อนจนเกินไป



ทั้งนี้ ผู้เขียนพบบั๊คที่ทำให้เกมไม่ยอมบันทึกการตั้งค่าปุ่มควบคุมใหม่ ส่งผลให้ผู้เขียนต้องคอยเข้าไปตั้งใหม่ทุกครั้งที่เข้าไปเล่นเกม แม้จะไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร แต่ก็หวังว่าผู้พัฒนาจะสามารถแก้ไขจุดนี้ได้เมื่อเกมวางจำหน่าย




◊ สรุป ◊


แม้จะเป๋ไปบ้างในส่วนของเนื้อเรื่อง เมื่อเทียบกับเกมที่ผ่านมา แต่ TLoU2 ก็ยังคงเป็นหนึ่งในเกมที่พัฒนามาได้อย่างปราณีตที่สุดเท่าที่ผู้เขียนเคยได้เล่นมาเลย ด้วยองค์ประกอบทั้งหมด ที่ออกแบบมาให้ทำงานร่วมกันอย่างพอดี และใช้ประโยชน์จาก “ความเป็นเกม” อย่างเต็มที่ คนที่ชื่นชอบ TLoU ภาคแรก โดยเฉพาะในส่วนของเกมเพลย์ ไม่ควรพลาดเกมนี้ด้วยประการทั้งปวง ต่อให้ไม่ชอบเนื้อเรื่อง แค่ซื้อมาเล่นเกมเพลย์ก็ยังคุ้ม บอกเลย!



[penci_review id="55739"]

สำหรับข่าวสารเกมที่น่าสนใจ คลิ๊ก!



7
ข้อดี
ข้อเสีย
10
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
รีวิว: The Last of Us Part II "ความยุติธรรมที่ไม่มีใครต้องการ"
12/06/2020

ในหลายๆ จังหวะ การเล่นเกม The Last of Us Part II ทำให้ผู้เขียนนึกถึงเกม PS4 Exclusive ชื่อดังอีกเกมอย่าง God of War (2018) ทั้งสองเกมมีความคล้ายคลึงกันอยู่มาก ตั้งแต่มุมกล้องที่ติดตามตัวละครหลักของเกมอย่างใกล้ชิดแทบจะตลอดเวลา เพื่อให้ผู้เล่นได้เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของตัวละครในทุกช่วงเวลาตลอดการเดินทาง รวมไปถึงองค์ประกอบด้านภาพ เสียง และเกมเพลย์ระดับแนวหน้าของวงการ ที่ทำงานร่วมกันในการขับสาสน์และ “บรรยากาศ” ของเกมให้ถึงผู้เล่นอย่างชัดเจนตลอดระยะเวลาที่นั่งเล่น จนทำให้ “ประสบการณ์” โดยรวมของเกมน่าดึงดูดในระดับที่พูดได้เต็มปากว่า “วางจอยไม่ลง” เลยทีเดียว

แต่ในขณะเดียวกัน แม้จะปฏิเสธไม่ได้ว่า The Last of Us Part II เป็นผลงานวีดีโอเกมที่น่าทึ่งในหลายๆ ระดับ แต่ในความพยายามที่จะนำเสนอ “แง่มุม” อันหลากหลายมากขึ้นของผู้พัฒนา ทำให้เนื้อเรื่องของเกมขาดส่วนผสมบางอย่าง ที่ทำให้เกมอย่าง God of War (2018) หรือกระทั่งผลงานที่ผ่านมาของผู้พัฒนา Naughty Dog เองทั้ง Uncharted และ The Last of Us ภาคแรก กลายเป็นเกมที่ยอดเยี่ยมอันดับต้นๆ ในแง่ของเนื้อเรื่อง นั่นก็คือการที่เนื้อเรื่องของเกมเหล่านั้น “มุ่งเน้น” (Focused) ไปที่เรื่องราวของตัวละครเพียงไม่กี่ตัวตลอดการเดินทางของพวกเขา ที่ทำให้ผู้เล่นสามารถสร้างความผูกพันธ์กับตัวละครเหล่านั้น และติดตามการเจิรญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงของพวกเขาได้อย่างเข้มข้น ทำให้เนื้อเรื่องโดยรวมขาด “น้ำหนัก” เมื่อเทียบกับเกมอื่นๆ ที่กล่าวไปข้างต้น

 แม้ว่าสุดท้ายแล้ว คงไม่สามารถบอกว่าเนื้อเรื่องของเกม The Last of Us Part II นั้น “แย่” หรือ “ห่วย” ได้ เพราะเอาเข้าจริง เนื้อเรื่องของเกมถูกเขียนมาอย่างลึกซึ้ง และเปี่ยมไปด้วยสถานการณ์และตัวละครที่จะทำให้คุณตั้งคำถามกับ “ความถูกต้อง” ของทั้งตัวเองและตัวละครอยู่ตลอดเวลา แถมกราฟิกอันสุดยอดของเกมยังช่วยทำให้นักแสดงมากความสามารถทั้งหลายสามารถมอบ “ความเป็นมนุษย์” ให้กับตัวละครเหล่านี้ได้ในระดับที่ผู้เขียนยังไม่เคยเห็นในเกมไหนมาก่อนเลย และทำให้คุณภาพของการแสดงและคัตซีนทั้งหมดเข้าใกล้คุณภาพระดับ “ฮอลลีวู้ด” มากกว่าเกมไหนๆ ที่ผ่านมาได้สบาย

*หมายเหตุ: รีวิวฉบับนี้จะหลีกเลี่ยงการสปอยเนื้อเรื่องให้ได้มากที่สุด และจะกล่าวถึงเหตุการณ์และตัวละครในภาพกว้างเท่านั้น

*หมายเหตุ 2: เนื่องจากทางผู้พัฒนากำชับมาให้ใช้ภาพประกอบที่พวกเขาส่งมาให้เท่านั้นในบทความรีวิวนี้ จึงไม่สามารถแสดงภาพบทบรรยายหรือเมนูภาษาไทยได้ ผู้ที่อยากเห็นว่าบทบรรยายของเกมหน้าตาเป็นอย่างไร สามารถรับชมได้ในวีดีโอรีวิวเกม The Last of Us Part II ของเราแทน






◊ เนื้อเรื่อง ◊


มาพูดถึงเนื้อเรื่องให้จบๆ กันไปก่อนดีกว่า

สำหรับคนที่อาจจะไม่ทราบ เนื้อเรื่องของเกม The Last of Us Part II จะเกิดขึ้น 4 ปีให้หลังจากตอนจบของเกมภาคแรก (ใครยังไม่เล่น แนะนำให้หามาเล่นเดี๋ยวนี้) โดยจะติดตามตัวละครเด็กสาว Ellie ผู้ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนผู้รอดชีวิตอันแสนสงบสุขในเมือง แจ๊คสัน รัฐไวโอมิ่ง แม้ว่าเธอและเหล่าชาวเมืองจะยังคงต้องเผชิญกับเหล่าผู้ติดเชื้อไวรัส Cordyceps ที่กระจายอยู่ทั่วไป และต้องคอยจัดหน่วยลาดตระเวนเพื่อดูแลความเรียบร้อยรอบๆ เมืองอยู่ตลอด แต่พวกเขาก็ยังมีพื้นที่ให้งานรื่นเริง หรือกระทั่งความรักและมิตรภาพ หลังจากที่ต้องใช้ชีวิตปากกัดตีนถีบเพื่อเอาตัวรอดมาตลอด



แต่ความสงบสุขของ Ellie ก็ถูกทำลายลง เมื่อเธอต้องเผชิญกับโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่หลวงในขณะที่ออกลาดตระเวนวันหนึ่ง และเพื่อทวงคืน “ความยุติธรรม” บางอย่างที่ถูกพรากไปจากเธอ Ellie จึงตัดสินใจออกเดินทางจากชุมชนอันอบอุ่นของเธอ ไปยังเมือง ซีแอตเทิล เพื่อชำระความแค้นที่สุมอยู่เต็มอกของเธอ

อย่างที่ผู้พัฒนาเคยกล่าวไปในบทสัมภาษณ์มากมาย เนื้อเรื่องในเกม The Last of Us Part II จะเกี่ยวข้องกับ “วังวนแห่งความรุนแรง” ที่เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์ทั้งสองฝ่ายต่างเลือกที่จะแก้แค้นกันไปกันมา โดยไม่ได้หยุดคิดเสียก่อนเลยว่า “ความแค้น” ที่ต้องชำระนั้นยังคง “สำคัญ” หรือ “คุ้มค่า” แค่ไหนเมื่อเทียบกับสิ่งที่ต้องแลกไป ซึ่งต้องบอกว่าผู้พัฒนา Naughty Dog ก็ยังคงแสดงออกถึงศักยภาพในฐานะผู้นำในด้านการเล่าเรื่อง จากบทพูดที่เขียนมาอย่างคมกริบ ไปจนถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในเนื้อเรื่องที่ล้วนแล้วแต่มีนัยยะ และตั้งคำถามเกี่ยวกับ “การกระทำ” ของ Ellie และตัวละครอื่นๆ ในโลกของเกมได้อย่างคมคาย



ด้วยธรรมชาติของเนื้อเรื่อง ที่ต้องการจะท้าทายความคิดของผู้เล่นอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้พัฒนาตัดสินใจที่จะให้ตัวละครอื่นๆ มีส่วนร่วมในเนื้อเรื่องหลายตัว เพื่อช่วยกันเสริมทั้งโลกของเกมโดยรวม และเพื่อให้ผู้เล่นสามารถเข้าถึงมุมต่างๆ ของ Ellie ผ่านความสัมพันธ์ที่เธอมีกับตัวละครเหล่านั้น โดยปัญหาของเนื้อเรื่องเกิดขึ้นเมื่อผู้พัฒนาใช้เวลาของเกมส่วนหนึ่งในการนำเสนอแง่มุมหรือเส้นเรื่องของตัวละครอื่นบางตัวค่อนข้างเยอะ จนทำให้เนื้อเรื่องของ Ellie ที่ควรจะเป็นแก่นหลักของเกมรู้สึก “เจือจาง” ลงไปอย่างมาก ซึ่งเป็นปัญหามากขึ้นไปอีกเมื่อเกมพยายาม “ดึงดัน” ว่าเนื้อเรื่องนี้ทั้งหมดยังคงเป็นเรื่องของ Ellie แม้ว่าซีกใหญ่ๆ ของเกมจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับเธอโดยตรง

แต่ในทางกลับกัน การที่เกมให้เวลาในการสำรวจชีวิตและความคิดของตัวละครอื่นๆ เหล่านี้ ก็เปิดช่องทางให้ผู้เล่นได้รับรู้ถึงแง่มุมของโลกที่อาจจะไม่ได้เห็นในฐานะ Ellie ซึ่งก็ช่วยทำให้โลกของเกมรู้สึกกว้างและสมจริงมากขึ้น จากการค่อยๆ เรียนรู้วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของมนุษย์กลุ่มต่างๆ หลังจากที่อารยธรรมได้ล่มสลายไปแล้วมากกว่า 20 ปี จึงอาจจะไม่ได้มีแต่ด้านลบไปทั้งหมด แต่ก็กลับไปสู่คำถามที่ว่า แล้วมันควรจะเป็นเรื่องราวของใครกันแน่ ผู้เล่นจำเป็นต้องรู้เรื่องราวเหล่านี้แค่ไหน และจะดีกว่าไหมถ้าเราใช้เวลาตรงนี้กับ Ellie และตัวละครรอบตัวเธอมากขึ้น



สุดท้ายแล้ว ผู้เขียนก็ไม่ได้คิดว่าเนื้อเรื่องของ The Last of Us Part II นั้นแย่ไปเลยเช่นกัน และสุดท้ายอาจจะเป็นตัวผู้เขียนเองที่ตีความเนื้อเรื่องของเกมไม่ถูก หรือไม่ลึกพอก็เป็นได้ แต่ในตอนนี้ คงได้แต่บอกว่าเนื้อเรื่องเป็นเป็นส่วนที่น่าผิดหวังที่สุดของเกม โดยเฉพาะเมื่อคิดว่าเกม The Last of Us ภาคแรกยังคงถูกกล่าวถึงในฐานะเกมที่ “ยกระดับ” มาตรฐานการเล่าเรื่องของสื่อวีดีโอเกมให้ใกล้เคียงกับภาพยนตร์ได้มากที่สุด จากการเล่าเรื่องราวความสัมพันธ์อันละเอียดอ่อนระหว่างตัวละครสองตัว ก็อดผิดหวังไม่ได้ที่เกมนี้ดูจะขาดเครื่องปรุงสำคัญที่เคยมีในภาคแรกไป




◊ เกมเพลย์ ◊


สำหรับผู้เขียน “เกม” มีข้อได้เปรียบประการหนึ่งในฐานะสื่อการเล่าเรื่อง ที่สื่ออื่นๆ ทั้งหนัง ทีวี หรือหนังสือนิยายไม่มี คือความสามารถในการเล่าเรื่องผ่าน “การกระทำ” ของผู้รับสื่อนั้น ซึ่งเกม The Last of Us Part II ถือเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์แบบที่สุดชิ้นหนึ่งของการเล่าเรื่องผ่าน “การกระทำ” ซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบเกมเพลย์ทั้งหมด ตั้งแต่การต่อสู้และลอบเร้น ไปจนถึงการสำรวจและการตามหาทรัพยากร ที่ออกมาให้ขับธีมของเนื้อเรื่อง โดยที่ยังมอบความสนุกท้าทายให้ผู้เล่นได้อย่างไม่ลดละ ตลอดระยะเวลากว่า 25 ชั่วโมงที่ผู้เขียนใช้ในการผ่านเนื้อเรื่อง

แม้ว่าในภาพรวมแล้ว การเล่นเกม The Last of Us Part II จะให้ความรู้สึกคล้ายกับภาคแรกอยู่พอสมควร ด้วยการควบคุมและ “สัมผัส” ในการเล่นที่ใกล้เคียงกันมาก แต่เกมเพลย์ของ Part II โดยเฉพาะการต่อสู้ ก็ได้รับการเพิ่มเติมระบบเล็กๆ น้อยๆ เข้าไปหลายข้อ ที่ทำให้การต่อสู้ในเกมมีความท้าทายและน่าตื่นเต้นกว่าที่พบในเกมแนวลอบเร้นสายเลือดแท้หลายเกมซะอีก



ฉากต่อสู้ในเกม TLoU2 (The Last of Us Part II) มักจะดำเนินไปตามลำดับที่คล้ายกัน ในตอนเริ่มต้นฉากต่อสู้ส่วนใหญ่ในเกม ผู้เล่นจะสามารถใช้ความคล่องตัวที่เพิ่มขึ้นของ Ellie ในการหลบซ่อนจากศัตรู ที่มักจะยกโขยงกันมาเป็นกลุ่มใหญ่เสมอ ความสามารถสำคัญอย่างหนึ่งของ Ellie คือการที่เธอสามารถหมอบคลานลงไปกับพื้น เพื่อซ่อนตัวในพงหญ้าสูง หรือเพื่อหลบซ่อนใต้สิ่งของอย่างรถได้นั่นเอง โดยเมื่อใช้คู่กับความสามารถจากภาคแรกอย่าง “โหมดการฟัง” ที่ทำให้มองเห็นศัตรูผ่านกำแพงได้ ทำให้ผู้เล่นมีทางเลือกในการลอบเร้นเพิ่มขึ้นจากภาคแรกพอสมควร

แต่ถึงจะมีทางเลือกมากมายให้ผู้เล่น ความฉลาดที่เพิ่มขึ้นของศัตรูทั้งที่เป็นมนุษย์ รวมไปถึงลูกเล่นที่เพิ่มมาอย่างสุนัขดมกลิ่นของกลุ่ม W.L.F. ก็ทำให้การลอบเร้นผ่านศัตรูแต่ละกลุ่มไปโดยที่ไม่ถูกเจอตัวอย่างน้อยซักครั้ง แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในประสบการณ์ของผู้เขียน 



อย่างที่ผู้พัฒนาเคยกล่าวถึงอยู่บ่อยครั้ง ศัตรูมนุษย์ในเกม TLoU2 ทุกคนจะมีชื่อเป็นของตัวเอง ที่พวกมันจะใช้ขานเรียกกันเป็นระยะตลอดเวลา หมายความว่าต่อให้เราปลิดชีพศัตรูด้วยวิธีที่เงียบแค่ไหน ซ่อนศพไว้ในมุมที่เปลี่ยวแค่ไหน ไม่ช้าก็เร็วศัตรูที่เหลือก็จะรู้อยู่ดีว่าเพื่อนของพวกมันหายตัวไป แถมยังรู้ด้วยว่าเพื่อนควรจะลาดตระเวนอยู่ตรงไหน และจะยกโขยงกันมาตามหาเพื่อน (และตัวผู้เล่น) อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้เล่นต้องคอยเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้โดนเจอตัว แต่การเคลื่อนที่ก็มีสิทธิ์จะโดนศัตรูตัวอื่นเห็นได้เหมือนกัน ทำให้การลอบเร้นในเกม TLoU2 ให้ความรู้สึกเหมือนกดดันมากๆ เพราะสถานการณ์สามารถพลิกจากการลอบเร้นเงียบๆ สู่การวิ่งหลบห่ากระสุนของศัตรูได้ตลอดเวลา

การต่อสู้ในเกม TLoU2 ก็ทำออกมาได้น่าตื่นเต้นไม่แพ้การลอบเร้นในเกม จากการที่มักจะมีศัตรูปริมาณเยอะมากๆ ในแต่ละฉากต่อสู้ แถมศัตรูยังฉลาดพอที่จะใช้จำนวนที่มากกว่าให้เป็นประโยชน์ ด้วยการตีโอบผู้เล่นเพื่อโจมตีจากหลายมุม หรือกระทั่งการส่งทหารที่มีอาวุธระยะประชิดเข้ามาไล่ต้อน Ellie ออกจากที่กำบังให้เพื่อนยิง ทำให้ผู้เล่นจำเป็นต้องคอยเปลี่ยนตำแหน่งของตัวเองตลอดเวลาเช่นเดียวกับการลอบเร้น ซึ่งก็สื่อความรู้สึกกระเสือกกระสนร้อนรนเพื่อเอาชีวิตรอดของ Ellie ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ การเล็งปืนในเกมที่มักจะแม่นยำน้อยกว่าเกมยิงปืนทั่วไป บวกกับการที่ Ellie สามารถพกกระสุนปืนติดตัวได้ที่ละน้อยมากๆ (เป็นองค์ประกอบเดียวในเกมที่ไม่สมจริง) ก็ทำให้การต่อสู้ในเกมยังคงท้าทายและสมจริง ไม่ว่าผู้เล่นจะเล่นเกมยิงปืนแม่นแค่ไหนก็ตาม 



ในส่วนของผู้ติดเชื้อ จะได้รับการพัฒนาในเรื่องของปริมาณ ความดุร้าย และความสามารถในการตรวจจับผู้เล่น แลกกับการที่ Ellie จะสามารถลอบสังหารเหล่าผู้ติดเชื้อได้ด้วยมีดพกของเธอ แทนที่จะต้องหาทรัพยากรมาสร้างมีดสั้นแบบที่ Joel ต้องทำในภาคแรก ซึ่งแม้ว่าโดยรวมๆ ศัตรูรันเนอร์และคลิ๊กเกอร์ที่พบได้บ่อยที่สุดจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปเท่าไหร่ (นอกจากวิ่งเร็วขึ้นพอสมควร) แต่เกมก็เพิ่มมิติเข้าไปผ่านผู้ติดเชื้อชนิดอื่นๆ อย่าง “แชมเบลอร์” ที่สามารถโยนระเบิดพิษใส่เรา หรือปล่อยควันพิษรอบตัวได้ และ “สตอล์คเกอร์” ผู้ติดเชื้อที่เจอเพียงประปรายในภาคแรก แต่กลับมาพร้อมความสามารถในการหลบซ่อน และจะคอยลอบโจมตี Ellie พร้อมกับเรียกเพื่อนๆ มาช่วยอีกด้วย ซึ่งก็ล้วนเพิ่มมิติเข้าไปให้กับการต่อสู้ แม้จะไม่ได้เปลี่ยนไปมากเท่ากับศัตรูมนุษย์ก็ตาม



ถ้าจะมีเรื่องให้ติ คงเป็นการที่เกมไม่ได้ใช้ประโยชน์จากการที่มีศัตรูหลายๆ กลุ่มที่เป็นศัตรูกันเองในการต่อสู้ เช่นฉากหนึ่งในสถานีรถใต้ดิน ที่ให้ผู้เล่นสามารถหลอกให้ศัตรูมนุษย์และผู้ติดเชื้อในพื้นที่สู้กันเอง ซึ่งผู้เขียนมองว่าน่าสนใจมากๆ และสามารถให้ประสบการณ์การต่อสู้ที่แปลกใหม่ต่อผู้เล่นได้มากขึ้น แต่กลับมีฉากลักษณะนี้อยู่น้อยมากตลอดเกม ไหนๆ เนื้อเรื่องของเกมก็เกี่ยวข้องกับสงครามระหว่างกลุ่มมนุษย์กันเองอยู่แล้ว น่าจะเพิ่มองค์ประกอบนี้ลงไปในเกมมากกว่านี้หน่อย ให้มันมีความหลากหลายเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ได้ส่งผลต่อคุณภาพของเกมในภาพรวม

อีกมิติของเกมเพลย์ใน TLoU2 ก็คือการพัฒนาตัวละคร ที่ทำได้ผ่านการสำรวจโลกของเกมเพื่อเก็บวัตถุดิบหลากหลายชนิดมาสร้างอุปกรณ์เช่นยาหรือระเบิด หรือหาของอัพเกรด เช่นชิ้นส่วนปืนหรืออาหารเสริม เพื่อพัฒนาความสามารถของตัวละครโดยตรงด้วย ซึ่งนอกจากจะเสริมอรรถรสของการเป็นผู้รอดชีวิตในโลก Post-Apocalpyse แล้ว ยังเพิ่มเหตุผลให้ผู้เล่นเดินทางออกนอกเส้นทางหลักเพื่อสำรวจโลกของเกม เพื่อตามหาตำราที่จะปลดล๊อคสายการอัพเกรด และเพื่อปลดล๊อคเนื้อเรื่องเสริมที่มักพบได้ระหว่างทางด้วย แต่พื้นที่เสริมเหล่านี้ ก็มักจะมีศัตรูผู้ติดเชื้ออยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้เล่นต้องชั่งน้ำหนักว่าอยากจะเผชิญหน้าศัตรูเพื่อโอกาสในการเก็บของเพิ่มหรือไม่ ซึ่งก็ย้อนกลับไปเสริม “บรรยากาศ” และ “อรรถรส” ของเกมอีกที




◊ กราฟิก / การนำเสนอ ◊


อย่างที่เคยบอกไปในบทความพรีวิวเกมก่อนหน้านี้ องค์ประกอบที่น่าจะได้รับคำชมมากที่สุด และเป็นสิ่งที่มัดรวมทุกอย่างเอาไว้ด้วยกันก็คือ “บรรยากาศ” ของเกม TLoU2 อันเป็นส่วนผสมขององค์ประกอบด้านภาพและเสียงทั้งหมด ที่ทำให้การเดินทางของ Ellie เต็มไปด้วยความตึงเครียด จากความรู้สึก “อันตราย” ที่แผ่ซ่านออกมาจากสภาพแวดล้อมในเกม 

องค์ประกอบที่ดูเหมือนมีไว้แค่ “ประดับฉาก” ในเกมอื่นๆ มักมีความหมายเสมอ ในเกม TLoU2 ไม่ว่าจะเป็นร่องรอยคราบเลือดหรือซากศพจากการต่อสู้ ที่บ่งบอกว่าเพิ่งมีการปะทะกันระหว่างกลุ่มมนุษย์สองกลุ่ม และกลุ่มที่ชนะอาจกำลังรอคุณอยู่ข้างหน้า ไปจนถึงเชื้อรา Cordyceps ที่คืบคลานไปบนกำแพง ที่บอกใบ้ถึงกลุ่มผู้ติดเชื้อขนาดใหญ่ที่อาจยังอยู่ในบริเวณ องค์ประกอบในฉากของเกม TLoU2 ถูกออกแบบมาให้สร้างความรู้สึกเหมือนมีอะไรรออยู่ข้างหน้าเสมอ เมื่อรวมกับการออกแบบเสียงของเกม ที่มักจะใส่เสียงเล็กๆ อย่างเสียงแก้วแตก เสียงสุนัขเห่า หรือแม้แต่เสียงร้องของผู้ติดเชื้อเข้ามาอยู่เนืองๆ ก็เพียงพอจะทำให้สะดุ้งเล็กๆ ได้ตลอดเวลา



เหตุผลใหญ่ๆ ข้อหนึ่งที่ฉากของเกมสามารถสร้างความตึงเครียดได้ขนาดนี้ มาจากความน่าทึ่งของกราฟิกในเกม TLoU2 ที่บอกได้แค่ว่าเหนือว่าที่ผู้เขียนคาดเอาไว้เสียอีก ตั้งแต่ความคมชัดของพื้นผิวสิ่งของต่างๆ ที่เสริมความสมจริงให้สภาพแวดล้อม ไปจนถึงหน้าตาตัวละคร ที่สามารถถ่ายทอดหน้าตาของนักแสดงจริงได้เหนือกว่าเกมอื่นในตลาดอย่างชัดเจน โดยความสมจริงของหน้าตาตัวละครยังช่วยเสริมองค์ประกอบอื่นๆ ให้มีส่วนในการสร้างบรรยากาศของเกมได้อย่างคาดไม่ถึงด้วย

ถ้าจะให้ลองยกตัวอย่าง รายละเอียดเล็กๆ อย่างหนึ่งที่ผู้เขียนชอบในการต่อสู้ คือการที่หน้าตาของทั้ง Ellie และคู่ต่อสู้จะเปลี่ยนไปตลอดเวลาตามการกระทำของแต่ละคน ไม่ว่าจะเป็นความโกรธและเกลียดชังในขณะที่ยัดมีดใส่พุงศัตรู ไปจนถึงความเจ็บปวดเมื่อต้องดึกลูกธนูที่ปักอยู่ตามร่างกายทิ้ง สีหน้าที่เปลี่ยนไปของ Ellie และตัวละครอื่นๆ ในเกมระหว่างการต่อสู้ ทำให้ผู้เล่นรู้สึกได้ถึงความกระเสือกกระสนเอาตัวรอดของทั้ง Ellie และตัวละครศัตรู ที่พร้อมจะทำทุกอย่างเพื่อฆ่าอีกฝ่ายและมีชีวิตรอดไปต่อไป ซึ่งก็ถูกเสริมด้วยการออกแบบเสียงของเกม เช่นเสียงโลหะกระทบเนื้อ หรือกระทั่งเสียงเลือดที่กระเซ็นไปติดกำแพง ที่มอบน้ำหนักให้กับการโจมตีของทั้งศัตรูและผู้เล่น จนในบางจังหวะก็อดรู้สึก “หวาดเสียว” แทนตัวละครในเกมไม่ได้จริงๆ



นอกจากนี้ เกมยังสามารถใช้ประโยชน์ของความเป็นเกมในรูปแบบของกระดาษโน้ตทั้งหลายที่ซ่อนอยู่ตามฉาก ที่มักจะเล่าเรื่องราวของเหล่า NPC ไร้หน้าในโลกของเกม เช่นจดหมายที่เล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้รอดชีวิตที่บังเอิญหลบซ่อนอยู่ในห้องอพาร์ตเมนต์ข้างๆ กัน ไปจนถึงชายชราผู้น่าสงสาร ที่ถูกลูกชายทั้งสองทอดทิ้งไปเข้ากลุ่มเซราไฟต์ ซึ่งแม้ส่วนใหญ่จะไม่ได้มีความสำคัญกับเนื้อเรื่องหลักโดยตรง แต่ก็ช่วยกันทำให้เห็นภาพของวิถีชีวิตของมนุษย์ในโลกของเกม รวมไปถึงประวัติศาสตร์ของกลุ่มศัตรูทั้ง W.L.F. และเซราไฟต์ด้วย

ถ้าจะให้สาธยายกันไปอีกแปดหน้าก็คงไม่จบ กับรายละเอียดด้านการนำเสนอเล็กๆ น้อยๆ ทั้งหมด ที่ร่วมกันทำให้ระบบการเล่นทุกส่วนของ The Last of Us Part II กลายเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอเรื่องราวหรือ “ประสบการณ์” ของโลกและตัวละครในเกม และสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันให้กับระบบทั้งหมด เพื่อให้ผู้เล่นได้เข้าถึงความรู้สึกนึกคิดของตัวละคร รวมไปสาสน์ที่ผู้พัฒนาต้องการสื่อผ่านเนื้อเรื่องอีกด้วย เอาเป็นว่าของแบบนี้ ถ้าไม่มาลองกับมือและรับองค์ประกอบทั้งหมดของเกมพร้อมกัน มันบอกไม่ถูกจริงๆ ต่อให้รู้แค่เนื้อเรื่อง หรือเล่นแคเกมเพลย์ ก็ไม่มีวันเข้าถึงประสบการณ์เต็มของเกมได้เลย




◊ ภาษาไทย / ตัวเลือกอื่นๆ ◊


อย่างที่กล่าวไปแล้วในพรีวิว ภาษาไทยในเกม The Last of Us Part II ถือเป็นงานแปลที่คุณภาพดีที่สุดเท่าที่เคยเห็นในเกมมา แน่นอนว่าอาจจะมีคำแปลผิดหรือเสียอรรถรสไปบ้าง จากการที่คำแปลไม่สามารถมีคำหยาบได้ หรือแค่จากการสื่อความหมายที่ตกหล่นไปในขั้นตอนการแปลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่โดยรวมแล้วก็ถือเป็นบทบรรยายไทยระดับเดียวกับที่เห็นได้ในภาพยนตร์หรือทางเว็บสตรีมมิ่งอย่าง Netflix สบายๆ 

นอกจากนี้ เกมยังมีคำแปลภาษาไทยให้กับตัวหนังสือภาษาอังกฤษทั้งหมดในเกมเลย ไม่ว่าจะเล็กน้อยแค่ไหนก็ตาม ตั้งแต่ป้ายบอกทางที่เอาไว้ประกอบฉาก ไปจนถึงเอกสารและจดหมายโน้ตทุกฉบับในเกม สามารถแปลไทยได้ในระดับเดียวกับบทบรรยาย ทำให้ไม่ต้องกลัวว่าจะพลาดเนื้อเรื่องใดๆ ในเกมเด็ดขาด

นอกจากตัวเลือกด้านบทบรรยาย เกมยังเปิดให้ผู้เล่นสามารถปรับแต่งการควบคุมและระดับความยากแบบแยกหมวดอย่างละเอียด เช่นความแรงการโจมตีศัตรู พลังป้องกันศัตรู ปริมาณกระสุนที่เก็บได้ เป็นต้น ซึ่งก็เป็นเรื่องที่น่าจะช่วยผู้เล่นได้หลายคน เพราะต้องบอกว่าเกมแอบยากเหมือนกัน ยิ่งสำหรับคนที่ไม่ชินกับเกมลอบเร้น ตัวเลือกเหล่านี้อาจจะช่วยให้คุณผ่านเกมไปได้โดยหัวไม่ร้อนจนเกินไป



ทั้งนี้ ผู้เขียนพบบั๊คที่ทำให้เกมไม่ยอมบันทึกการตั้งค่าปุ่มควบคุมใหม่ ส่งผลให้ผู้เขียนต้องคอยเข้าไปตั้งใหม่ทุกครั้งที่เข้าไปเล่นเกม แม้จะไม่ใช่เรื่องใหญ่โตอะไร แต่ก็หวังว่าผู้พัฒนาจะสามารถแก้ไขจุดนี้ได้เมื่อเกมวางจำหน่าย




◊ สรุป ◊


แม้จะเป๋ไปบ้างในส่วนของเนื้อเรื่อง เมื่อเทียบกับเกมที่ผ่านมา แต่ TLoU2 ก็ยังคงเป็นหนึ่งในเกมที่พัฒนามาได้อย่างปราณีตที่สุดเท่าที่ผู้เขียนเคยได้เล่นมาเลย ด้วยองค์ประกอบทั้งหมด ที่ออกแบบมาให้ทำงานร่วมกันอย่างพอดี และใช้ประโยชน์จาก “ความเป็นเกม” อย่างเต็มที่ คนที่ชื่นชอบ TLoU ภาคแรก โดยเฉพาะในส่วนของเกมเพลย์ ไม่ควรพลาดเกมนี้ด้วยประการทั้งปวง ต่อให้ไม่ชอบเนื้อเรื่อง แค่ซื้อมาเล่นเกมเพลย์ก็ยังคุ้ม บอกเลย!



[penci_review id="55739"]

สำหรับข่าวสารเกมที่น่าสนใจ คลิ๊ก!




บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header