GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
รีวิวเกม
รีวิวเกม Sekiro: Shadows Die Twice - นินจาไร้ปราณี ตายกี่รอบก็ไม่พอ
ลงวันที่ 08/04/2019

ข้อดี


  • เกมเพลย์ดีมากๆ ท้าทายอย่างยุติธรรม

  • บรรยากาศของเกมมีความน่าสนใจ มีความแฟนตาซีผสมกับความบิดเบี้ยวในแบบฉบับเกมตระกูล Soul

  • เนื้อเรื่องติดตามง่ายกว่าเกม From Software อื่นๆ แต่ก็ยังมีความลับให้สำรวจเยอะมาก


ข้อเสีย

  • เกมยากมากกกกกกกกกกกกกกกกกก จนอาจจะไม่เหมาะกับผู้เล่นทุกคน

  • อนิเมชั่นการปลิดชีพศัตรูซ้ำๆ กันทั้งเกม




แนวเกม: แอคชั่น

ผู้พัฒนา: From Software

จัดจำหน่าย: From Software, Activision

เวลาเล่น: ราวๆ 20 ชั่วโมง (จบเนื้อเรื่อง แต่เวลาเล่นจริงจะผกผันตามฝีมือคนเล่น)

แพลตฟอร์ม: PlayStation 4, Xbox One, PC (รีวิวใน PS4 Pro)

(รีวิวโดย: Devil Takoyaki)



แม้ว่าจะมีประวัติยาวนานมามากกว่า 30 ปี (ค่ายก่อตั้งปี 1986) แต่ค่ายพัฒนา From Software ก็คงไม่ได้ถูกนับเป็นหนึ่งในค่ายพัฒนาระดับแนวหน้าของวงการเกม ที่มีผู้คนรอเล่นเกมอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งการมาถึงของเกม Demons Souls เกม RPG มหาโหดของค่ายที่ได้รับการจดจำในฐานะเกมที่ยากอันดับต้นๆ ของยุค แต่กลับสามารถดึงดูดกลุ่มผู้เล่นได้มหาศาล จนก่อนให้เกิดเกมตระกูล Souls (Dark Souls และ Bloodborne ก็นับด้วย) ตามมาอีกหลายภาคตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยแน่นอนว่าเกมทุกภาคยังคงเกมเพลย์ที่ท้าทายชวนหัวร้อนของเกมต้นตำหรับเอาไว้ (และเผลอๆ จะเพิ่มให้หนักขึ้นไปอีกเรื่อยๆ ด้วย)

ด้วยความนิยมอันท่วมท้นของเกมตระกูล Souls จึงไม่แน่แปลกใจที่เกมเมอร์ทั่วโลกจะให้ความสนใจกับเกมใหม่ล่าสุดของค่ายอย่าง Sekiro: Shadows Die Twice เกมแอคชั่นนินจาซีรี่ย์ใหม่ที่เพิ่งวางจำหน่ายไปเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากที่ได้ลองเล่นจนจบเนื้อเรื่องมาแล้ว ก็พูดได้อย่างเต็มปากเลยว่าเกม Sekiro นี้ยากในระดับที่ทำให้เกมตระกูล Souls ที่ผ่านๆ มาดูเป็นเกมเด็กเล่นไปได้เลย ด้วยระบบเกมเพลย์แบบแอคชั่นที่ต้องใช้ฝีมือดิบๆ ล้วนๆ โดยไม่มีเวทย์มนตร์หรืออาวุธพิเศษ (ถ้าไม่นับอาวุธนินจาในแขนกล) มาเป็นตัวช่วย ไม่มีการเก็บเลเวลเพื่อเพิ่มค่าความสามารถ มีเพียงฝีมือในการเล่นเกมเท่านั้นที่จะช่วยให้เราพิชิตเหล่าศัตรูน้อยใหญ่อันร้ายกาจในเกมได้



แต่ก็เพราะแบบนี้เองเช่นกัน ที่ทำให้เกม Sekiro: Shadows Die Twice ถือเป็นหนึ่งในเกมแอคชั่นที่ดีเยี่ยมในลักษณะคล้ายๆ กับเกมอย่าง Devil May Cry 5 ที่เพิ่งวางจำหน่ายไป เพราะทั้งคู่ถือเป็นเกมที่สนุกอย่าง บริสุทธิ์ เป็นเกมที่ต้องใช้ฝีมือและไหวพริบในการเอาชนะเท่านั้นโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีระบบเล็กๆ ยุบยับไปหมดให้ต้องคำนึงถึง แต่วัดความสำเร็จทั้งหมดจากความสามารถและความคุ้นเคยต่อเกมของผู้เล่นทั้งหมด แม้ว่าจะมีองค์ประกอบในส่วนขอการนำเสนอที่อาจจะปรับปรุงได้บ้าง แต่โดยรวมก็ยังถือว่า Sekiro: Shadows Die Twice เป็นเกมที่ออกแบบมาได้อย่างปราณีตและสนุกมากๆ เหมาะกับเกมเมอร์ที่อยากจะท้าทายตัวเอง ให้รู้กันไปเลยว่าจริงๆ แล้วเราเล่นเกม เก่ง แค่ไหนกันแน่


เนื้อเรื่อง


สำหรับเนื้อเรื่องของเกม Sekiro: Shadows Die Twice นั้นจะติดตามนินจาหนุ่มที่ใช้ชื่อว่า โอคามิ (แปลว่าหมาป่านั่นเอง) ผู้ซึ่งดำรงค์ตำแหน่งนินจาอารักขาขององค์ชายคุโระ ผู้สืบสายเลือดคนสุดท้ายของโชกุน และเป็นผู้สืบ สายเลือดมังกร เป็นคนสุดท้ายด้วย โดยเหตุการณ์ของเกมจะเริ่มขึ้นเมื่อองค์ชายคุโระถูกลักพาตัว โดยโอคมิก็ไม่รอช้ารีบรุกไปช่วยเหลือองค์ชาย แต่กลับพ่ายแพ้ให้กับซามูไรข้าศึกจนต้องเสียแขนไปข้างหนึ่ง แต่โชคดีของโอคามิ ทำให้เค้าได้รับการช่วยเหลือจากชายแก่ปริศนาคนหนึ่ง ซึ่งมอบแขนกลนินจาให้กับโอคามิ ก่อนที่เขาจะออกเดินทางเพื่อตามหาองค์ชายผู้เป็นนายอีกครั้ง



แม้ว่าเนื้อเรื่องในเกม Sekiro: Shadows Die Twice จะไม่ได้วิเศษวิโสอะไรเมื่อเทียบกับเกมฟอร์มใหญ่ๆ หลายๆ เกมที่วางจำหน่ายในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่เนื้อเรื่องของเกมก็ยังทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี ซึ่งก็คือการมอบแรงขับหรือจุดประสงค์ให้กับการกระทำของโอคามิ (ซึ่งก็คือผู้เล่นนั่นแหละ)



ถ้าจะต้องชม ก็คงต้องชมในประเด็นการนำเสนอของเนื้อเรื่อง ที่มีความตรงไปตรงมามากกว่าเกมที่ผ่านๆ มาของผู้พัฒนา From Software (เกมตระกูล Soulsborne ทั้งหลาย) ที่มักจะมีเรื่องราวลึกซึ้ง แต่ต้องอาศัยความพยายามของผู้เล่นในการตามหาข้อมูลเอาเองจาก NPC หรือไอเทมในเกม โดยแม้ว่า Sekiro จะยังคงมีเกร็ดเนื้อเรื่องลับๆ ให้เราได้ตามหาอยู่ แต่อย่างน้อยผู้เล่นที่ไม่ได้อยากจะใช้เวลาในการตามเก็บความลับทุกอย่างก็จะยังพอมีเนื้อเรื่องให้ติดตามอยู่บ้าง ต่างกับเกม Soulsborne อื่นๆ ที่ถ้าไม่พยายามตามหาเอาเองก็แทบจะไม่เล่าอะไรให้เราฟังตรงๆ เลย



แน่นอนว่าพวกเกร็ดเนื้อเรื่องเสริมที่เราสามารถพบได้ระหว่างทางก็ถือเป็นหนึ่งในจุดเด่นของเกมค่าย From Software อยู่แล้วด้วย ซึ่งใน Sekiro ก็มีเนื้อเรื่องเหล่านี้จาก NPC ตามทางมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่ช่วยเสริมบรรยากาศของเกมได้อย่างดีมากๆ แถมยังช่วยเสริมประเด็นเรื่องความตายของเกมได้มาก ทำให้โลกของเกมรู้สึกลึกและน่าสนใจกว่าเดิม มีความรู้สึกว่าทุกอย่างมีเรื่องราวที่มีความหมายแฝงอยู่ ซึ่งก็ช่วยทำให้การเล่นเกมมีเป้าหมายมากกว่าแค่การตะลุยด่านสู้บอสไปเรื่อยๆ ได้เหมือนกัน


กราฟิค/การนำเสนอ


เมื่อพูดถึงซีรี่ย์ Soulsborne นั้น แน่นอนว่าสิ่งที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือเกมเพลย์ของซีรี่ย์ แต่อีกหนึ่งองค์ประกอบที่ทำให้ผู้เขียนหลงไหลเกมตระกูล Soulsborne (โดยเฉพาะ Bloodborne) ก็คือลายเซ็นการออกแบบฉากและศัตรูใยนซีรี่ย์ ที่มักจะมีความอัปลักษณ์ บิดเบี้ยว แม้จะเป็นศัตรูที่อิงจากสิ่งมีชีวิตจริงๆ อย่างหมาป่าหรือมนุษย์ก็ตาม ซึ่งเมื่อนำมารวมกับการออกแบบฉากที่เน้นโทนสีมืดๆ ก็ช่วยเสริมบรรยากาศอันน่ากดดันของซีรี่ย์ขึ้นไปอีกระดับ ทำให้รู้สคกว่าศัตรูทั้งหมดในเกมมีความอันตรายจริงๆ ทุกครั้งที่เห็น



แม้จะไม่ได้ถือเป็นเกมตระกูล Soulsborne กับเค้าด้วย แต่ Sekiro ก็ยังคงแนวทางการออกแบบฉากและศัตรูแบบเดียวกับเกมรุ่นพี่ด้วย โดยแม้ว่าศัตรูและบอสหลายๆ ตัวในเกมจะเป็นเพียงทหารหรือซามูไรมนุษย์ธรรมดาๆ แต่เมื่อออกแบบในสไตล์ของ From Software แล้วก็ทำให้หน้าตาและรูปร่างของศัตรูเหล่านี้มีความเป็น อมุษย์ อยู่ด้วย ซึ่งก็ช่วยเสริมบรรยากาศอันน่ากดดันของเกม



ความบิดเบี้ยวที่ว่านี้ยังครอบคลุมไปถึงการออกแบบฉากด้วย โดยแม้ว่าเกม Sekiro จะไม่ได้ใช้โทนสีทะมึนๆ เพียงอย่างเดียวเหมือนเกม Soulsborne แต่ความสดใสของ Sekiro กลับมาหลายๆ ส่วนที่ทำให้รู้สึกน่าขยะแขยงอยู่ ซึ่งก็ช่วยเสริมบรรยากาศอันตรายของเกมในแบบเดียวกับเกม Soulsborne ได้ด้วย ถือเป็นเรื่องที่น่าชมทีมออกแบบที่ยังสามารถสร้างโลกที่ให้ความรู้สึกสวยและกดดันพร้อมๆ กันแบบนี้ได้

ทั้งนี้ กราฟิคของเกม Sekiro คงจะไม่ได้ถูกจดจำเป็นพิเศษ อาจจะด้วยสไตล์การออกแบบของค่ายที่ทำให้ไม่สามารถทำให้กราฟิคมีความสมจริงได้มากกว่านี้ แต่โดยรวมก็ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่อะไรนัก



ถ้าจะมีอะไรที่อยากจะตำหนิจริงๆ ก็คงเป็นเรื่องของอนิเมชั่นการปลิดชีพศัตรู ซึ่งค่อนข้างจะคล้ายๆ กันไปหมดไม่ว่าจะใช้ใส่ศัตรูชนิดไหนก็ตาม เห็นไม่กี่ครั้งก็รู้สึกไม่ตื่นเต้นซะแล้ว (แต่เป็นอนิเมชั่นที่ต้องเห็นนับร้อยๆ ครั้งตลอดเวลาที่เล่นเกม) ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบย่อยๆ ที่น่าจะเพิ่มความสนุกให้กับเกมได้อีกมากถ้ามีความหลากหลายมากกว่านี้


เกมเพลย์


ขึ้นชื่อว่าเป็นผลงานของ From Software เชื่อว่าไม่ต้องบอกก็น่าจะพอรู้กันอยู่บ้างว่าเกมเพลย์ของ Sekiro: Shadows Die Twice นั้นจัดว่ายากมหาหินเลยทีเดียว ในฐานะคนที่เล่นเกมตระกูล Soulsborne จบมาแล้วทุกภาค ผู้เขียนพูดได้อย่างเต็มปากเลยว่าเกมเพลย์ของ Sekiro นั้นยากกว่ามากๆ (จะบอกว่าโคตรๆ ก็กลัวหยาบคาย) แต่เช่นเดียวกับในเกม Soulsborne ความยากของเกม Sekiro ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าเกมไม่แฟร์ โดยในความเป็นจริงนั้นเกมได้มอบเครื่องมือทั้งหมดที่ต้องใช้มาให้ผู้เล่นแล้วเรียบร้อย เหลือก็แต่ตัวผู้เล่นเองที่จะต้องพยายามทำความเข้าใจและฝึกฝนจนชำนาญไปเอง



สำหรับเกมเพลย์ของ Sekiro นั้นจะเน้นการกระทำเพียง 4 อย่างง่ายๆ ประกอบไปด้วย โจมตี พุ่งหลบ ป้องกัน และอุปกรณ์เสริมจากแขนกลนินจา โดยเกมจะไม่ได้มีระบบ RPG แบบเดียวกับเกมรุ่นพี่ค่ายเดียวกันที่ผ่านๆ มา (มีก็แต่การเพิ่มหลอดเลือด/พลังโจมตี/อัพสกิลเล็กน้อย และใช้ของหายาก) หมายความว่าจะไม่มีการอัพสเตตัสช่วยเพื่อให้ตัวเราถึกขึ้น/โดนโจมตีเบาลง หรือเพื่อใส่อาวุธพิเศษที่เลเวลสูงมากๆ เป็นต้น ทำให้การจะอยู่หรือตายในเกมนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่นในการเลือกการกระทำที่เหมาะสมกับสถานการณ์และจังหวะมากที่สุดเพียงอย่างเดียวเลย เช่นการจดจำจังหวะการโจมตีของบอสเพื่อป้องกัน/หลบหลีกได้ง่าย หรือการเลือกใช้อาวุธลับให้ตรงกับจุดอ่อนของศัตรูที่ต่อสู้ด้วย เป็นต้น



อีกระบบที่ทำให้เกม Sekiro แตกต่าง/ยากกว่าเกม Soulsborne นั้นก็คือระบบ การทรงตัว หรือ Posture นั่นเอง โดยใน Sekiro นั้นนอกจากจะมีหลอดเลือดเหมือนเกมทั่วไปแล้ว ศัตรูทั้งหลายในเกมจะยังมีหลอด การทรงตัว เพิ่มเข้ามาด้วย โดยหลอดการทรงตัวจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเมื่อศัตรูโดนโจมตีหรือโดนป้องกันการโจมตี (Deflect หรือการกดป้องกันในจังหวะที่ศัตรูโจมตีพอดี) ซึ่งเมื่อหลอดนี้เพิ่มจนเต็ม จะทำให้ผู้เล่นสามารถกดปลิดชีพศัตรูได้เลยทันทีในดาบเดียว แต่ในขณะเดียวกัน ผู้เล่นก็จะมีหลอดการทรงตัวของตัวเองเช่นกัน ซึ่งเมื่อโดนโจมตีจนหลอดเต็มจะทำให้เราป้องกันการโจมตีไม่ได้ไปชั่วขณะ (ซึ่งร้ายแรงมากเพราะศัตรูเกือบทุกตัวฟันเราเข้าทีละครึ่งหลอด)

ระบบการทรงตัวนี้ถือเป็นจุดที่ทำให้เกม Sekiro มีความยากกว่าเกมรุ่นพี่หลายขุมเลย เพราะหลอดการทรงตัวนั้นจะค่อยๆ ลดลงเองเมื่อเราเว้นระยะห่างจากศัตรู โดยเฉพาะบอส ทำให้การต่อสู้กับบอสหลายๆ ตัวต้องใช้ความดุดันมากกว่าเกมอย่าง Dark Souls/Bloodborne ที่เน้นการรักษาระยะห่างและหาจังหวะค่อยๆ ตอดเลือดบอสไปเรื่อยๆ เพราะถ้าเว้นระยะห่างนานเกินไปใน Sekiro จะทำให้ล้มบอสยากขึ้นหลายเท่าเลยทีเดียว (แถมบางตัวมีหลอดเลือดมากกว่า 1 หลอดด้วย)



ทั้งนี้ เกมดูจะหยิบยื่นความปราณีให้ผู้เล่นในรูปแบบของระบบการคืนชีพ (ที่มาของชื่อเกม Shadows Die Twice/เงาตายได้สองครั้ง) ซึ่งจะเปิดให้ผู้เล่นสามารถฟื้นจากความตายมาสู้ต่อได้ครั้งหนึ่ง (พอคืนชีพแล้วต้องเก็บไอเทมเพื่อให้คืนชีพได้อีกครั้ง) โดยจะฟื้นขึ้นมาด้วยหลอดเลือดครึ่งนึงเท่านั้น โดยระบบนี้ก็ช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เล่นสามารถลองผิดลองถูกได้มากขึ้นเวลาที่ต่อสู้กับบอสเป็นครั้งแรก แต่ถ้าคิดว่าบอสแต่ละตัวแทบจะฟาดหลอดเลือดเราหายไปทีละครึ่งหลอดอยู่แล้ว การคืนชีพก็อาจจะไม่ได้ช่วยให้เกมง่ายขึ้นขนาดนั้นสำหรับผู้เล่นหลายๆ คน

รู้อย่างนี้แล้ว ผู้เล่นบางคนอาจจะรู้สึกโล่งใจว่าอย่างน้อยเกมก็ยังพอมีควมปราณีให้เราอยู่บ้าง แต่ไม่เลย! เพราะระบบคืนชีพนี้ก็ใช่ว่าจะไม่มีผลเสียตามมาถ้าใช้บ่อยไป โดยเกมจะมีระบบที่เรียกว่า Dragonrot ซึ่งเป็นโรคร้ายที่จะถูกส่งต่อไปยัง NPC ต่างๆ ที่เราพบเจอตามทาง ซึ่งถ้าโดนโรคกัดกินนานเกินไปก็อาจจะทำให้ NPC เหล่านั้นถึงกับตายไปเลยก็ได้ ซึ่งก็จะทำให้เราไม่สามารถรับเควสหรือความช่วยเหลืออื่นๆ จาก NPC ตัวนั้นๆ ได้อีกต่อไป แน่นอนว่าเกมยังมีไอเทมรักษาโรคให้เราใช้ได้ในยามคับขัน แต่ก็ไม่พอสำหรับ NPC ทุกตัวแน่นอน ผู้เล่นจึงมีแรงจูงใจที่จะ ไม่ตาย อยู่ แม้ว่าจะสามารถคืนชีพได้ก็ตาม



เมื่อนำระบบทั้งหมดมารวมกันแล้ว ทำให้เกม Sekiro เป็นเกมที่เรียกร้องความตั้งใจและมุมานะจากผู้เล่นในระดับที่เกมส่วนใหญ่ไม่กล้าแม้แต่จะคิดเลย ระบบในเกมเกือบทั้งหมดถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความกดดันให้ผู้เล่นตลอดเวลา ตั้งแต่การบังคับให้ผู้เล่นต้องเข้าประชิดศัตรูที่พร้อมจะหวดหลอดเลือดเรากระเด็นหายไปเลยในดาบเดียว ไปจนถึงระบบการคืนชีพที่แทนที่จะให้ความรู้สึกปลอดภัยกับผู้เล่น กลับกลายเป็นตัวเลือกที่ยากลำบากทุกครั้งเมื่อต้องแลกมาด้วยความช่วยเหลือของ NPC ต่างๆ ในเกม ซึ่งในจุดนี้เองทำให้เกม Sekiro น่าจะถูกใจแฟนเกมสาย Soulsborne ที่โหยหาความท้าทายที่แม้จะแฟร์แต่ก็ไร้ปราณี

แต่ในขณะเดียกวัน ผู้เขียนก็อดไม่ได้ที่จะบอกว่าแม้ว่าเกม Sekiro จะเป็นเกมที่ดีขนาดไหน แต่เอาตามตรงก็ไม่ใช่เกมที่ใครๆ จะหยิบมาเล่นและสนุกกับมันได้เช่นกัน อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า Sekiro เป็นเกมที่เรียกร้องความพยายามและเวลาของผู้เล่นในแบบที่น้อยเกมมากๆ จะทำ ซึ่งคนที่ไม่ได้มีเวลาจะมานั่งเรียนรู้และฝึกฝนระบบทั้งหมดของเกมอย่างจริงจังอาจจะพาลหัวร้อนซะเปล่าๆ ถ้าเล่นเกมนี้ แต่ถ้าพยายามจนช่ำชองแล้วก็ถือเป็นประสบการณ์เกมที่น่าพึงพอใจทุกครั้งที่สามารถเอาชนะบอสตัวใดตัวหนึ่งได้ เพราะกว่าจะผ่านได้แต่ละตัวเล่นกันจนปวดตั้งแต่นิ้วยันหัวไหล่เลยทีเดียว


สรุป


แม้ว่าอาจจะไม่ใช่เกมสำหรับทุกคน แต่ Sekiro: Shadows Die Twice ก็ยังถือเป็นเกมแอคชั่นที่สนุกและท้าทายในแบบที่น้อยเกมมากๆ จะสามารถเทียบได้ สุดท้ายแล้วไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ชอบเกม Sekiro: Shadows Die Twice ก็ตาม แต่ถ้าได้ลองเล่นมันไปซักครั้งแล้ว เชื่อว่าน่าจะเป็นเกมที่ลืมไม่ลงไปอีกหลายปีเลยทีเดียว...



[penci_review id="20854"]

7
ข้อดี
ข้อเสีย
8
บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
รีวิวเกม Sekiro: Shadows Die Twice - นินจาไร้ปราณี ตายกี่รอบก็ไม่พอ
08/04/2019

ข้อดี


  • เกมเพลย์ดีมากๆ ท้าทายอย่างยุติธรรม

  • บรรยากาศของเกมมีความน่าสนใจ มีความแฟนตาซีผสมกับความบิดเบี้ยวในแบบฉบับเกมตระกูล Soul

  • เนื้อเรื่องติดตามง่ายกว่าเกม From Software อื่นๆ แต่ก็ยังมีความลับให้สำรวจเยอะมาก


ข้อเสีย

  • เกมยากมากกกกกกกกกกกกกกกกกก จนอาจจะไม่เหมาะกับผู้เล่นทุกคน

  • อนิเมชั่นการปลิดชีพศัตรูซ้ำๆ กันทั้งเกม




แนวเกม: แอคชั่น

ผู้พัฒนา: From Software

จัดจำหน่าย: From Software, Activision

เวลาเล่น: ราวๆ 20 ชั่วโมง (จบเนื้อเรื่อง แต่เวลาเล่นจริงจะผกผันตามฝีมือคนเล่น)

แพลตฟอร์ม: PlayStation 4, Xbox One, PC (รีวิวใน PS4 Pro)

(รีวิวโดย: Devil Takoyaki)



แม้ว่าจะมีประวัติยาวนานมามากกว่า 30 ปี (ค่ายก่อตั้งปี 1986) แต่ค่ายพัฒนา From Software ก็คงไม่ได้ถูกนับเป็นหนึ่งในค่ายพัฒนาระดับแนวหน้าของวงการเกม ที่มีผู้คนรอเล่นเกมอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งการมาถึงของเกม Demons Souls เกม RPG มหาโหดของค่ายที่ได้รับการจดจำในฐานะเกมที่ยากอันดับต้นๆ ของยุค แต่กลับสามารถดึงดูดกลุ่มผู้เล่นได้มหาศาล จนก่อนให้เกิดเกมตระกูล Souls (Dark Souls และ Bloodborne ก็นับด้วย) ตามมาอีกหลายภาคตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยแน่นอนว่าเกมทุกภาคยังคงเกมเพลย์ที่ท้าทายชวนหัวร้อนของเกมต้นตำหรับเอาไว้ (และเผลอๆ จะเพิ่มให้หนักขึ้นไปอีกเรื่อยๆ ด้วย)

ด้วยความนิยมอันท่วมท้นของเกมตระกูล Souls จึงไม่แน่แปลกใจที่เกมเมอร์ทั่วโลกจะให้ความสนใจกับเกมใหม่ล่าสุดของค่ายอย่าง Sekiro: Shadows Die Twice เกมแอคชั่นนินจาซีรี่ย์ใหม่ที่เพิ่งวางจำหน่ายไปเมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งหลังจากที่ได้ลองเล่นจนจบเนื้อเรื่องมาแล้ว ก็พูดได้อย่างเต็มปากเลยว่าเกม Sekiro นี้ยากในระดับที่ทำให้เกมตระกูล Souls ที่ผ่านๆ มาดูเป็นเกมเด็กเล่นไปได้เลย ด้วยระบบเกมเพลย์แบบแอคชั่นที่ต้องใช้ฝีมือดิบๆ ล้วนๆ โดยไม่มีเวทย์มนตร์หรืออาวุธพิเศษ (ถ้าไม่นับอาวุธนินจาในแขนกล) มาเป็นตัวช่วย ไม่มีการเก็บเลเวลเพื่อเพิ่มค่าความสามารถ มีเพียงฝีมือในการเล่นเกมเท่านั้นที่จะช่วยให้เราพิชิตเหล่าศัตรูน้อยใหญ่อันร้ายกาจในเกมได้



แต่ก็เพราะแบบนี้เองเช่นกัน ที่ทำให้เกม Sekiro: Shadows Die Twice ถือเป็นหนึ่งในเกมแอคชั่นที่ดีเยี่ยมในลักษณะคล้ายๆ กับเกมอย่าง Devil May Cry 5 ที่เพิ่งวางจำหน่ายไป เพราะทั้งคู่ถือเป็นเกมที่สนุกอย่าง บริสุทธิ์ เป็นเกมที่ต้องใช้ฝีมือและไหวพริบในการเอาชนะเท่านั้นโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีระบบเล็กๆ ยุบยับไปหมดให้ต้องคำนึงถึง แต่วัดความสำเร็จทั้งหมดจากความสามารถและความคุ้นเคยต่อเกมของผู้เล่นทั้งหมด แม้ว่าจะมีองค์ประกอบในส่วนขอการนำเสนอที่อาจจะปรับปรุงได้บ้าง แต่โดยรวมก็ยังถือว่า Sekiro: Shadows Die Twice เป็นเกมที่ออกแบบมาได้อย่างปราณีตและสนุกมากๆ เหมาะกับเกมเมอร์ที่อยากจะท้าทายตัวเอง ให้รู้กันไปเลยว่าจริงๆ แล้วเราเล่นเกม เก่ง แค่ไหนกันแน่


เนื้อเรื่อง


สำหรับเนื้อเรื่องของเกม Sekiro: Shadows Die Twice นั้นจะติดตามนินจาหนุ่มที่ใช้ชื่อว่า โอคามิ (แปลว่าหมาป่านั่นเอง) ผู้ซึ่งดำรงค์ตำแหน่งนินจาอารักขาขององค์ชายคุโระ ผู้สืบสายเลือดคนสุดท้ายของโชกุน และเป็นผู้สืบ สายเลือดมังกร เป็นคนสุดท้ายด้วย โดยเหตุการณ์ของเกมจะเริ่มขึ้นเมื่อองค์ชายคุโระถูกลักพาตัว โดยโอคมิก็ไม่รอช้ารีบรุกไปช่วยเหลือองค์ชาย แต่กลับพ่ายแพ้ให้กับซามูไรข้าศึกจนต้องเสียแขนไปข้างหนึ่ง แต่โชคดีของโอคามิ ทำให้เค้าได้รับการช่วยเหลือจากชายแก่ปริศนาคนหนึ่ง ซึ่งมอบแขนกลนินจาให้กับโอคามิ ก่อนที่เขาจะออกเดินทางเพื่อตามหาองค์ชายผู้เป็นนายอีกครั้ง



แม้ว่าเนื้อเรื่องในเกม Sekiro: Shadows Die Twice จะไม่ได้วิเศษวิโสอะไรเมื่อเทียบกับเกมฟอร์มใหญ่ๆ หลายๆ เกมที่วางจำหน่ายในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา แต่เนื้อเรื่องของเกมก็ยังทำหน้าที่ของตัวเองได้ดี ซึ่งก็คือการมอบแรงขับหรือจุดประสงค์ให้กับการกระทำของโอคามิ (ซึ่งก็คือผู้เล่นนั่นแหละ)



ถ้าจะต้องชม ก็คงต้องชมในประเด็นการนำเสนอของเนื้อเรื่อง ที่มีความตรงไปตรงมามากกว่าเกมที่ผ่านๆ มาของผู้พัฒนา From Software (เกมตระกูล Soulsborne ทั้งหลาย) ที่มักจะมีเรื่องราวลึกซึ้ง แต่ต้องอาศัยความพยายามของผู้เล่นในการตามหาข้อมูลเอาเองจาก NPC หรือไอเทมในเกม โดยแม้ว่า Sekiro จะยังคงมีเกร็ดเนื้อเรื่องลับๆ ให้เราได้ตามหาอยู่ แต่อย่างน้อยผู้เล่นที่ไม่ได้อยากจะใช้เวลาในการตามเก็บความลับทุกอย่างก็จะยังพอมีเนื้อเรื่องให้ติดตามอยู่บ้าง ต่างกับเกม Soulsborne อื่นๆ ที่ถ้าไม่พยายามตามหาเอาเองก็แทบจะไม่เล่าอะไรให้เราฟังตรงๆ เลย



แน่นอนว่าพวกเกร็ดเนื้อเรื่องเสริมที่เราสามารถพบได้ระหว่างทางก็ถือเป็นหนึ่งในจุดเด่นของเกมค่าย From Software อยู่แล้วด้วย ซึ่งใน Sekiro ก็มีเนื้อเรื่องเหล่านี้จาก NPC ตามทางมากมาย ซึ่งล้วนแล้วแต่ช่วยเสริมบรรยากาศของเกมได้อย่างดีมากๆ แถมยังช่วยเสริมประเด็นเรื่องความตายของเกมได้มาก ทำให้โลกของเกมรู้สึกลึกและน่าสนใจกว่าเดิม มีความรู้สึกว่าทุกอย่างมีเรื่องราวที่มีความหมายแฝงอยู่ ซึ่งก็ช่วยทำให้การเล่นเกมมีเป้าหมายมากกว่าแค่การตะลุยด่านสู้บอสไปเรื่อยๆ ได้เหมือนกัน


กราฟิค/การนำเสนอ


เมื่อพูดถึงซีรี่ย์ Soulsborne นั้น แน่นอนว่าสิ่งที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยคือเกมเพลย์ของซีรี่ย์ แต่อีกหนึ่งองค์ประกอบที่ทำให้ผู้เขียนหลงไหลเกมตระกูล Soulsborne (โดยเฉพาะ Bloodborne) ก็คือลายเซ็นการออกแบบฉากและศัตรูใยนซีรี่ย์ ที่มักจะมีความอัปลักษณ์ บิดเบี้ยว แม้จะเป็นศัตรูที่อิงจากสิ่งมีชีวิตจริงๆ อย่างหมาป่าหรือมนุษย์ก็ตาม ซึ่งเมื่อนำมารวมกับการออกแบบฉากที่เน้นโทนสีมืดๆ ก็ช่วยเสริมบรรยากาศอันน่ากดดันของซีรี่ย์ขึ้นไปอีกระดับ ทำให้รู้สคกว่าศัตรูทั้งหมดในเกมมีความอันตรายจริงๆ ทุกครั้งที่เห็น



แม้จะไม่ได้ถือเป็นเกมตระกูล Soulsborne กับเค้าด้วย แต่ Sekiro ก็ยังคงแนวทางการออกแบบฉากและศัตรูแบบเดียวกับเกมรุ่นพี่ด้วย โดยแม้ว่าศัตรูและบอสหลายๆ ตัวในเกมจะเป็นเพียงทหารหรือซามูไรมนุษย์ธรรมดาๆ แต่เมื่อออกแบบในสไตล์ของ From Software แล้วก็ทำให้หน้าตาและรูปร่างของศัตรูเหล่านี้มีความเป็น อมุษย์ อยู่ด้วย ซึ่งก็ช่วยเสริมบรรยากาศอันน่ากดดันของเกม



ความบิดเบี้ยวที่ว่านี้ยังครอบคลุมไปถึงการออกแบบฉากด้วย โดยแม้ว่าเกม Sekiro จะไม่ได้ใช้โทนสีทะมึนๆ เพียงอย่างเดียวเหมือนเกม Soulsborne แต่ความสดใสของ Sekiro กลับมาหลายๆ ส่วนที่ทำให้รู้สึกน่าขยะแขยงอยู่ ซึ่งก็ช่วยเสริมบรรยากาศอันตรายของเกมในแบบเดียวกับเกม Soulsborne ได้ด้วย ถือเป็นเรื่องที่น่าชมทีมออกแบบที่ยังสามารถสร้างโลกที่ให้ความรู้สึกสวยและกดดันพร้อมๆ กันแบบนี้ได้

ทั้งนี้ กราฟิคของเกม Sekiro คงจะไม่ได้ถูกจดจำเป็นพิเศษ อาจจะด้วยสไตล์การออกแบบของค่ายที่ทำให้ไม่สามารถทำให้กราฟิคมีความสมจริงได้มากกว่านี้ แต่โดยรวมก็ไม่ได้เป็นปัญหาใหญ่อะไรนัก



ถ้าจะมีอะไรที่อยากจะตำหนิจริงๆ ก็คงเป็นเรื่องของอนิเมชั่นการปลิดชีพศัตรู ซึ่งค่อนข้างจะคล้ายๆ กันไปหมดไม่ว่าจะใช้ใส่ศัตรูชนิดไหนก็ตาม เห็นไม่กี่ครั้งก็รู้สึกไม่ตื่นเต้นซะแล้ว (แต่เป็นอนิเมชั่นที่ต้องเห็นนับร้อยๆ ครั้งตลอดเวลาที่เล่นเกม) ซึ่งถือเป็นองค์ประกอบย่อยๆ ที่น่าจะเพิ่มความสนุกให้กับเกมได้อีกมากถ้ามีความหลากหลายมากกว่านี้


เกมเพลย์


ขึ้นชื่อว่าเป็นผลงานของ From Software เชื่อว่าไม่ต้องบอกก็น่าจะพอรู้กันอยู่บ้างว่าเกมเพลย์ของ Sekiro: Shadows Die Twice นั้นจัดว่ายากมหาหินเลยทีเดียว ในฐานะคนที่เล่นเกมตระกูล Soulsborne จบมาแล้วทุกภาค ผู้เขียนพูดได้อย่างเต็มปากเลยว่าเกมเพลย์ของ Sekiro นั้นยากกว่ามากๆ (จะบอกว่าโคตรๆ ก็กลัวหยาบคาย) แต่เช่นเดียวกับในเกม Soulsborne ความยากของเกม Sekiro ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่าเกมไม่แฟร์ โดยในความเป็นจริงนั้นเกมได้มอบเครื่องมือทั้งหมดที่ต้องใช้มาให้ผู้เล่นแล้วเรียบร้อย เหลือก็แต่ตัวผู้เล่นเองที่จะต้องพยายามทำความเข้าใจและฝึกฝนจนชำนาญไปเอง



สำหรับเกมเพลย์ของ Sekiro นั้นจะเน้นการกระทำเพียง 4 อย่างง่ายๆ ประกอบไปด้วย โจมตี พุ่งหลบ ป้องกัน และอุปกรณ์เสริมจากแขนกลนินจา โดยเกมจะไม่ได้มีระบบ RPG แบบเดียวกับเกมรุ่นพี่ค่ายเดียวกันที่ผ่านๆ มา (มีก็แต่การเพิ่มหลอดเลือด/พลังโจมตี/อัพสกิลเล็กน้อย และใช้ของหายาก) หมายความว่าจะไม่มีการอัพสเตตัสช่วยเพื่อให้ตัวเราถึกขึ้น/โดนโจมตีเบาลง หรือเพื่อใส่อาวุธพิเศษที่เลเวลสูงมากๆ เป็นต้น ทำให้การจะอยู่หรือตายในเกมนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้เล่นในการเลือกการกระทำที่เหมาะสมกับสถานการณ์และจังหวะมากที่สุดเพียงอย่างเดียวเลย เช่นการจดจำจังหวะการโจมตีของบอสเพื่อป้องกัน/หลบหลีกได้ง่าย หรือการเลือกใช้อาวุธลับให้ตรงกับจุดอ่อนของศัตรูที่ต่อสู้ด้วย เป็นต้น



อีกระบบที่ทำให้เกม Sekiro แตกต่าง/ยากกว่าเกม Soulsborne นั้นก็คือระบบ การทรงตัว หรือ Posture นั่นเอง โดยใน Sekiro นั้นนอกจากจะมีหลอดเลือดเหมือนเกมทั่วไปแล้ว ศัตรูทั้งหลายในเกมจะยังมีหลอด การทรงตัว เพิ่มเข้ามาด้วย โดยหลอดการทรงตัวจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเมื่อศัตรูโดนโจมตีหรือโดนป้องกันการโจมตี (Deflect หรือการกดป้องกันในจังหวะที่ศัตรูโจมตีพอดี) ซึ่งเมื่อหลอดนี้เพิ่มจนเต็ม จะทำให้ผู้เล่นสามารถกดปลิดชีพศัตรูได้เลยทันทีในดาบเดียว แต่ในขณะเดียวกัน ผู้เล่นก็จะมีหลอดการทรงตัวของตัวเองเช่นกัน ซึ่งเมื่อโดนโจมตีจนหลอดเต็มจะทำให้เราป้องกันการโจมตีไม่ได้ไปชั่วขณะ (ซึ่งร้ายแรงมากเพราะศัตรูเกือบทุกตัวฟันเราเข้าทีละครึ่งหลอด)

ระบบการทรงตัวนี้ถือเป็นจุดที่ทำให้เกม Sekiro มีความยากกว่าเกมรุ่นพี่หลายขุมเลย เพราะหลอดการทรงตัวนั้นจะค่อยๆ ลดลงเองเมื่อเราเว้นระยะห่างจากศัตรู โดยเฉพาะบอส ทำให้การต่อสู้กับบอสหลายๆ ตัวต้องใช้ความดุดันมากกว่าเกมอย่าง Dark Souls/Bloodborne ที่เน้นการรักษาระยะห่างและหาจังหวะค่อยๆ ตอดเลือดบอสไปเรื่อยๆ เพราะถ้าเว้นระยะห่างนานเกินไปใน Sekiro จะทำให้ล้มบอสยากขึ้นหลายเท่าเลยทีเดียว (แถมบางตัวมีหลอดเลือดมากกว่า 1 หลอดด้วย)



ทั้งนี้ เกมดูจะหยิบยื่นความปราณีให้ผู้เล่นในรูปแบบของระบบการคืนชีพ (ที่มาของชื่อเกม Shadows Die Twice/เงาตายได้สองครั้ง) ซึ่งจะเปิดให้ผู้เล่นสามารถฟื้นจากความตายมาสู้ต่อได้ครั้งหนึ่ง (พอคืนชีพแล้วต้องเก็บไอเทมเพื่อให้คืนชีพได้อีกครั้ง) โดยจะฟื้นขึ้นมาด้วยหลอดเลือดครึ่งนึงเท่านั้น โดยระบบนี้ก็ช่วยเปิดโอกาสให้ผู้เล่นสามารถลองผิดลองถูกได้มากขึ้นเวลาที่ต่อสู้กับบอสเป็นครั้งแรก แต่ถ้าคิดว่าบอสแต่ละตัวแทบจะฟาดหลอดเลือดเราหายไปทีละครึ่งหลอดอยู่แล้ว การคืนชีพก็อาจจะไม่ได้ช่วยให้เกมง่ายขึ้นขนาดนั้นสำหรับผู้เล่นหลายๆ คน

รู้อย่างนี้แล้ว ผู้เล่นบางคนอาจจะรู้สึกโล่งใจว่าอย่างน้อยเกมก็ยังพอมีควมปราณีให้เราอยู่บ้าง แต่ไม่เลย! เพราะระบบคืนชีพนี้ก็ใช่ว่าจะไม่มีผลเสียตามมาถ้าใช้บ่อยไป โดยเกมจะมีระบบที่เรียกว่า Dragonrot ซึ่งเป็นโรคร้ายที่จะถูกส่งต่อไปยัง NPC ต่างๆ ที่เราพบเจอตามทาง ซึ่งถ้าโดนโรคกัดกินนานเกินไปก็อาจจะทำให้ NPC เหล่านั้นถึงกับตายไปเลยก็ได้ ซึ่งก็จะทำให้เราไม่สามารถรับเควสหรือความช่วยเหลืออื่นๆ จาก NPC ตัวนั้นๆ ได้อีกต่อไป แน่นอนว่าเกมยังมีไอเทมรักษาโรคให้เราใช้ได้ในยามคับขัน แต่ก็ไม่พอสำหรับ NPC ทุกตัวแน่นอน ผู้เล่นจึงมีแรงจูงใจที่จะ ไม่ตาย อยู่ แม้ว่าจะสามารถคืนชีพได้ก็ตาม



เมื่อนำระบบทั้งหมดมารวมกันแล้ว ทำให้เกม Sekiro เป็นเกมที่เรียกร้องความตั้งใจและมุมานะจากผู้เล่นในระดับที่เกมส่วนใหญ่ไม่กล้าแม้แต่จะคิดเลย ระบบในเกมเกือบทั้งหมดถูกออกแบบมาเพื่อสร้างความกดดันให้ผู้เล่นตลอดเวลา ตั้งแต่การบังคับให้ผู้เล่นต้องเข้าประชิดศัตรูที่พร้อมจะหวดหลอดเลือดเรากระเด็นหายไปเลยในดาบเดียว ไปจนถึงระบบการคืนชีพที่แทนที่จะให้ความรู้สึกปลอดภัยกับผู้เล่น กลับกลายเป็นตัวเลือกที่ยากลำบากทุกครั้งเมื่อต้องแลกมาด้วยความช่วยเหลือของ NPC ต่างๆ ในเกม ซึ่งในจุดนี้เองทำให้เกม Sekiro น่าจะถูกใจแฟนเกมสาย Soulsborne ที่โหยหาความท้าทายที่แม้จะแฟร์แต่ก็ไร้ปราณี

แต่ในขณะเดียกวัน ผู้เขียนก็อดไม่ได้ที่จะบอกว่าแม้ว่าเกม Sekiro จะเป็นเกมที่ดีขนาดไหน แต่เอาตามตรงก็ไม่ใช่เกมที่ใครๆ จะหยิบมาเล่นและสนุกกับมันได้เช่นกัน อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า Sekiro เป็นเกมที่เรียกร้องความพยายามและเวลาของผู้เล่นในแบบที่น้อยเกมมากๆ จะทำ ซึ่งคนที่ไม่ได้มีเวลาจะมานั่งเรียนรู้และฝึกฝนระบบทั้งหมดของเกมอย่างจริงจังอาจจะพาลหัวร้อนซะเปล่าๆ ถ้าเล่นเกมนี้ แต่ถ้าพยายามจนช่ำชองแล้วก็ถือเป็นประสบการณ์เกมที่น่าพึงพอใจทุกครั้งที่สามารถเอาชนะบอสตัวใดตัวหนึ่งได้ เพราะกว่าจะผ่านได้แต่ละตัวเล่นกันจนปวดตั้งแต่นิ้วยันหัวไหล่เลยทีเดียว


สรุป


แม้ว่าอาจจะไม่ใช่เกมสำหรับทุกคน แต่ Sekiro: Shadows Die Twice ก็ยังถือเป็นเกมแอคชั่นที่สนุกและท้าทายในแบบที่น้อยเกมมากๆ จะสามารถเทียบได้ สุดท้ายแล้วไม่ว่าคุณจะชอบหรือไม่ชอบเกม Sekiro: Shadows Die Twice ก็ตาม แต่ถ้าได้ลองเล่นมันไปซักครั้งแล้ว เชื่อว่าน่าจะเป็นเกมที่ลืมไม่ลงไปอีกหลายปีเลยทีเดียว...



[penci_review id="20854"]


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header