GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
ข่าวนอกเรื่อง
สั้นยาวแตกต่างกัน ‘จำนวนเวลา’ นั้นสำคัญหรือไม่ในชิ้นงานวิดีโอเกม
ลงวันที่ 13/04/2020

‘เมื่อคุณนั่งอยู่กับสาวสวยสองชั่วโมง มันดูผ่านไปรวดเร็วเพียงไม่กี่นาที แต่เมื่อนั่งบนเตาไฟไม่กี่นาที มันดูยาวนานราวชั่วโมง’

ประโยคนี้ คือคำอธิบายสุดคลาสสิคของทฤษฏีสัมพัทภาพ (Theory of Relativity) อันเป็นหนึ่งในแนวคิดสำคัญของทฤษฏีฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ สุดยอดนักวิทยาศาสตร์แห่งศตวรรษที่ 20 ที่ใช้บรรยายเรื่องยากให้สามารถเข้าใจได้อย่างง่ายๆ ให้เห็นภาพได้ภายในประโยคเดียว (ตามวิสัยที่แกเป็นนักวิทยาศาสตร์สุดเฟื่องและขึ้นชื่อในเรื่องอารมณ์ขันอันรุ่มรวยที่ช่วยให้โลกวิทยาศาสตร์ไม่เป็นยาขมไหม้ในลำไส้ไปเสียก่อน...)

แน่นอนว่าผู้เขียนไม่ได้จะพาคุณผู้อ่านไปทำความเข้าใจในเรื่องของฟิสิกส์ดาราศาสตร์ (เพราะมันคงกินโควต้าหน้าบทความจนเกินไป รวมถึงไม่มีความเข้าใจในเชิงลึกด้วยสติปัญญาที่แม้แต่ตารางธาตุก็ยังจำไม่ได้...) แต่กำลังจะเกริ่นนำถึงสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกได้ถึงเวลาที่ไหลผ่านไปอย่างรวดเร็วโดยไม่รู้ตัว ใช่แล้ว มันไม่ใช่สิ่งอื่นใด หากแต่เป็น ‘วิดีโอเกม’ ที่เรารักและคุ้นเคยกับมันเป็นอย่างดี

เหล่านี้ เป็นประสบการณ์ที่เราต่างพบเจอกับสภาวะเวลาไหลผ่านกันมาแล้วนักต่อนัก ไม่ว่าจะปรากฏการณ์ ‘ขออีกตา’ ในซีรีส์ Civilization ไปจนถึงการทุ่มเทเวลาอย่างสมบุกสมบันในเกมสวมบทบาทอย่าง The Elder Scrolls ในแต่ละภาค (ที่อย่างน้อยๆ ก็ต้องใช้เวลาประมาณ 40 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำในการจบหนึ่งรอบการเล่น ไม่นับการดัดแปลงด้วย Mod และเนื้อหาเสริมอีกจำนวนมหาศาลให้เลือกเล่น…) นั่นคือคุณสมบัติของวิดีโอเกมที่เชื่อว่าหลายคนน่าจะต้องเคยผ่านมันมาบ้างแล้ว ไม่มากก็น้อย

กระนั้นแล้ว ภายใต้สภาวะการไหลผ่านของเวลาที่รวดเร็วโดยไม่รู้ตัวเมื่อพาตนเองจมอยู่กับความสนุกของชิ้นงานเกม มันได้กลายมาเป็นคำถามสำคัญว่า
 แท้จริงแล้ว ‘ความยาว’ ที่เกมหนึ่งๆ ควรจะมีนั้น สำคัญมากน้อยแค่ไหนในโลกยุคปัจจุบัน?

แน่ล่ะ เราอาจจะอนุมานเอาได้ว่า ยิ่งมากก็ยิ่งดี เมื่อพิจารณาในแง่ของความคุ้มค่าของชิ้นงานต่อราคาที่ผู้เล่นจะต้องจ่ายเพื่อให้ได้ความสนุกที่ว่า (ที่ราคาเกมออกใหม่ก็มักอยู่ที่ 60 เหรียญสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยในปัจจุบัน…) แต่มันก็ยังคงมีความลักลั่นอยู่ ภายใต้การหาสมดุลที่เหมาะสมระหว่างความยาวของเกม กับประสบการณ์ที่ผู้เล่นจะได้รับในชิ้นงานนั้นๆ (เพราะวิดีโอเกม คือสื่อความบันเทิงชนิดหนึ่ง การที่เราจะถือเรื่องจำนวนเป็นประกาศิตราวกับว่าเป็นแพ็คม้วนกระดาษชำระ ห่อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า หรือยกโหลน้ำยาปรับผ้านุ่มก็คงจะเป็นการเทียบที่ผิดฝาผิดตัวไปสักนิด…)

เช่นนั้นแล้ว ความลักลั่นของคำถามเหล่านี้จะไปจบลงที่จุดไหน? และหนทางแบบใดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับชิ้นงานเกม?

ผู้เขียนเองก็มีประสบการณ์การเล่นเกมมาไม่น้อย เคยผ่านเกมที่เล่นอย่างยาวนานซ้ำไปซ้ำมาด้วยจำนวนเวลานับร้อยชั่วโมง หรือประสบการณ์กับเกมอินดี้สัญชาติเบลเยียม ที่มีจำนวนเวลาการเล่นสั้นที่สุดเพียง 5 นาทีจบในสนนราคา 99 บาทไทย (และเป็นสิ่งที่จดจำลืมไม่ลงเพราะไม่เคยเจอชิ้นงานแบบ Experimental เช่นนี้มาก่อนในชีวิต เป็นความเหวอที่ฝังใจไปอีกนาน…) และได้ข้อสรุปกับตนเองเอาไว้อย่างหนึ่งว่า
บางที จำนวนเวลาอาจจะไม่ได้สำคัญมากนัก ตราบเท่าที่มันยังมี ‘คุณภาพ’ ของการใช้เวลานั้นๆ ได้อย่างครบถ้วน

เพราะไม่ว่าจะเวลานับพันกว่าชั่วโมงในรอบเจ็ดปีที่ผู้เขียนทุ่มเทลงไปในเกมออนไลน์อย่าง Final Fantasy XIV Online หรือเวลาไปกว่าสองร้อยชั่วโมงกับ XCOM2 ผ่านการเล่นซ้ำห้ารอบ ทั้งหมด ถ้าเราได้รับความสนุกจากมัน ถ้ามันเคารพเวลาที่เรามีให้ และเป็นความคุ้มค่าที่ผ่านการ Crafted เป็นอย่างดี และเป็นสิ่งที่ผู้สร้างได้พิจารณาแล้วว่า เป็นจำนวนเวลาที่เหมาะสมสำหรับประสบการณ์การเล่นนั้นๆ เรื่องจำนวนเวลาหรือความยาวเกมอาจจะไม่ใช่สาระสำคัญที่ต้องเอามาใส่ใจ

กระนั้นแล้ว ไม่ใช่ทุกชิ้นงานจะสามารถเข้าถึงสมดุลระหว่างปริมาณและคุณภาพได้อย่างเหมาะสม หลายเกมเลยทีเดียว ที่โฆษณาตนเองเอาไว้ว่ามีจำนวนชั่วโมงการเล่นที่ยาวนานนับร้อยชั่วโมง ก็เป็นเพียงกิจกรรม Sandbox ซ้ำๆ หรือภารกิจที่น่าเบื่อหน่ายที่ถูกวนเวียนมาให้ทำอย่างไม่รู้จบ มีส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องที่ถูกใส่เข้ามาอย่างมากมายเพียงเพื่อจะได้เอามาทบเป็นจำนวนชั่วโมงที่ยาวนาน ให้ผู้ซื้อรู้สึกถึงความคุ้มค่าต่อราคาที่ต้องจ่ายไปมากที่สุด ที่กลับกลายมาเป็นความทรมานและไม่หลงเหลือสิ่งใดให้จดจำ หรืออยากจะกลับไปเล่นมันซ้ำอีกครั้ง (หรือที่สำนวนภาษาอังกฤษใช้ว่า wear out of ones welcome หรือนานเกินกว่าความจำเป็น...)

แน่ล่ะ เรื่องของสนนราคาเองก็เป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาในความคุ้มค่าที่ผู้เล่นจะได้รับจากการจับจ่ายซื้อหามันมาเล่น (ที่นับวันจะยิ่งสูงขึ้นตามขนาดของอุตสาหกรรมที่เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด) แต่ก็อย่างที่กล่าวไปในข้างต้น ถ้าเกมนั้นมีปริมาณความยาว เพื่อสักแต่ว่าจะยาว แต่เต็มไปด้วยคุณภาพที่ย่ำแย่ ปัญหาทางเทคนิคอย่างมากมาย หรือมีเนื้อหาที่น่าเบื่อหน่ายไม่ชวนให้จดจำ การจะทุ่มเทเล่นมันคงไม่ต่างอะไรกับการบำเพ็ญเพียรทุกกรกิริยาที่ไม่น่าจะพาเราไปถึงการรู้แจ้งอะไรมากมายนัก และเราก็คงรู้สึกเหมือนเอาเงินไปโปรยทิ้งอย่างเปล่าประโยชน์เสียมากกว่า (และในทางกลับกัน เกมที่สั้นจนเกินงามในสนนราคาที่ไม่เหมาะสมก็ถือเป็นจำเลยในคดีนี้ได้อย่างไม่ต่างกัน...)

อนึ่ง ผู้เขียนคงไม่ขอไปชี้ขาดตัดสินในเรื่องของการใช้เวลาอย่างมีคุณภาพของพี่ๆ เพื่อนๆ ผู้อ่านแต่ละท่านว่าจะเลือกใช้เวลาไปกับชิ้นงานใด หรือเกมไหน ที่มีความคุ้มค่าในจำนวนเวลาที่มันมอบให้ (เพราะมันเป็นเรื่องที่อัตวิสัยความคิดใครความคิดมันโดยธรรมชาติอยู่แล้ว…) แต่สำหรับผู้สร้างแล้ว พวกเขาทั้งหลายต่างก็มุ่งหมายใจที่จะมอบประสบการณ์อันมีความหมาย ความสนุกสนานที่พร้อมจะมอบให้ และจำนวนเวลา ก็เป็นตัวแปรผันตรงที่ทีมสร้างได้พิจารณาเอาไว้แล้วว่า มัน ‘อาจจะ’ เหมาะสมภายใต้เงื่อนไขและโจทย์ดังกล่าว

ซึ่งในบั้นปลายแล้ว ก็ต้องเป็นผู้เล่น ที่จะเป็นคนตัดสินว่า ความยาวที่ชิ้นงานเกมหนึ่งๆ ได้มอบให้ มีความสนุกคุ้มค่ามากแค่ไหน ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมเสริมอย่างราคาและคุณภาพของเกมการเล่น

ในตอนนี้ ผู้เขียนพึ่งจบภารกิจของ Persona 5 Royal ด้วยจำนวนเวลา 140 ชั่วโมงไปหมาดๆ ซึ่งแม้ว่ามันจะยาว แต่ก็เป็นความยาวที่คุ้มค่า เป็นงานสร้างที่ผ่านการคิดคัดสรรค์เป็นอย่างดี เป็นงานระดับ ‘Crafted’ ชั้นเยี่ยมที่จะติดตรึงฝังทนในความทรงจำไปอีกนาน และวาดหวังเอาไว้ว่า Final Fantasy VII Remake ที่พึ่งได้แผ่นมา จะมอบประสบการณ์ที่ดีไม่แตกต่างกัน รวมทั้ง Resident Evil 3 Remake ที่ต้องพิสูจน์ให้เห็นกับตารู้กับมือ ว่ามันจะคุ้มค่าแม้จะถูกครหาเรื่องเวลาการเล่นมากน้อยแค่ไหน

เพราะเช่นเดียวกับทฤษฏีสัมพัทภาพของไอน์สไตน์ เราต่างพึงพอใจที่จะใช้เวลาที่มีคุณภาพไปกับสิ่งที่ดี ความรู้สึกที่ยอดเยี่ยม และให้ความบันเทิงเริงใจ ไม่ว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าใด นั่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับการเล่นวิดีโอเกม เพราะ ‘ความสนุก’ ก็ยังเป็นสิ่งที่ใช้ชี้ขาดได้ในบั้นปลายท้ายสุด
ที่มันควรจะทำให้เรารู้สึกราวกับนั่งคุยกับสาวสวยที่ช่วยให้เวลาไหลผ่านอย่างรวดเร็ว มากกว่าต้องไปนั่งบนเตาไฟอย่างไม่รู้ว่าความทรมานที่แม้เพียงสักนาทีก็ถือว่าเกินกว่าจะทนได้จะจบลงเมื่อใด...  

บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
สั้นยาวแตกต่างกัน ‘จำนวนเวลา’ นั้นสำคัญหรือไม่ในชิ้นงานวิดีโอเกม
13/04/2020

‘เมื่อคุณนั่งอยู่กับสาวสวยสองชั่วโมง มันดูผ่านไปรวดเร็วเพียงไม่กี่นาที แต่เมื่อนั่งบนเตาไฟไม่กี่นาที มันดูยาวนานราวชั่วโมง’

ประโยคนี้ คือคำอธิบายสุดคลาสสิคของทฤษฏีสัมพัทภาพ (Theory of Relativity) อันเป็นหนึ่งในแนวคิดสำคัญของทฤษฏีฟิสิกส์ดาราศาสตร์ของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ สุดยอดนักวิทยาศาสตร์แห่งศตวรรษที่ 20 ที่ใช้บรรยายเรื่องยากให้สามารถเข้าใจได้อย่างง่ายๆ ให้เห็นภาพได้ภายในประโยคเดียว (ตามวิสัยที่แกเป็นนักวิทยาศาสตร์สุดเฟื่องและขึ้นชื่อในเรื่องอารมณ์ขันอันรุ่มรวยที่ช่วยให้โลกวิทยาศาสตร์ไม่เป็นยาขมไหม้ในลำไส้ไปเสียก่อน...)

แน่นอนว่าผู้เขียนไม่ได้จะพาคุณผู้อ่านไปทำความเข้าใจในเรื่องของฟิสิกส์ดาราศาสตร์ (เพราะมันคงกินโควต้าหน้าบทความจนเกินไป รวมถึงไม่มีความเข้าใจในเชิงลึกด้วยสติปัญญาที่แม้แต่ตารางธาตุก็ยังจำไม่ได้...) แต่กำลังจะเกริ่นนำถึงสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกได้ถึงเวลาที่ไหลผ่านไปอย่างรวดเร็วโดยไม่รู้ตัว ใช่แล้ว มันไม่ใช่สิ่งอื่นใด หากแต่เป็น ‘วิดีโอเกม’ ที่เรารักและคุ้นเคยกับมันเป็นอย่างดี

เหล่านี้ เป็นประสบการณ์ที่เราต่างพบเจอกับสภาวะเวลาไหลผ่านกันมาแล้วนักต่อนัก ไม่ว่าจะปรากฏการณ์ ‘ขออีกตา’ ในซีรีส์ Civilization ไปจนถึงการทุ่มเทเวลาอย่างสมบุกสมบันในเกมสวมบทบาทอย่าง The Elder Scrolls ในแต่ละภาค (ที่อย่างน้อยๆ ก็ต้องใช้เวลาประมาณ 40 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำในการจบหนึ่งรอบการเล่น ไม่นับการดัดแปลงด้วย Mod และเนื้อหาเสริมอีกจำนวนมหาศาลให้เลือกเล่น…) นั่นคือคุณสมบัติของวิดีโอเกมที่เชื่อว่าหลายคนน่าจะต้องเคยผ่านมันมาบ้างแล้ว ไม่มากก็น้อย

กระนั้นแล้ว ภายใต้สภาวะการไหลผ่านของเวลาที่รวดเร็วโดยไม่รู้ตัวเมื่อพาตนเองจมอยู่กับความสนุกของชิ้นงานเกม มันได้กลายมาเป็นคำถามสำคัญว่า
 แท้จริงแล้ว ‘ความยาว’ ที่เกมหนึ่งๆ ควรจะมีนั้น สำคัญมากน้อยแค่ไหนในโลกยุคปัจจุบัน?

แน่ล่ะ เราอาจจะอนุมานเอาได้ว่า ยิ่งมากก็ยิ่งดี เมื่อพิจารณาในแง่ของความคุ้มค่าของชิ้นงานต่อราคาที่ผู้เล่นจะต้องจ่ายเพื่อให้ได้ความสนุกที่ว่า (ที่ราคาเกมออกใหม่ก็มักอยู่ที่ 60 เหรียญสหรัฐฯ โดยเฉลี่ยในปัจจุบัน…) แต่มันก็ยังคงมีความลักลั่นอยู่ ภายใต้การหาสมดุลที่เหมาะสมระหว่างความยาวของเกม กับประสบการณ์ที่ผู้เล่นจะได้รับในชิ้นงานนั้นๆ (เพราะวิดีโอเกม คือสื่อความบันเทิงชนิดหนึ่ง การที่เราจะถือเรื่องจำนวนเป็นประกาศิตราวกับว่าเป็นแพ็คม้วนกระดาษชำระ ห่อบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมาม่า หรือยกโหลน้ำยาปรับผ้านุ่มก็คงจะเป็นการเทียบที่ผิดฝาผิดตัวไปสักนิด…)

เช่นนั้นแล้ว ความลักลั่นของคำถามเหล่านี้จะไปจบลงที่จุดไหน? และหนทางแบบใดที่เหมาะสมที่สุดสำหรับชิ้นงานเกม?

ผู้เขียนเองก็มีประสบการณ์การเล่นเกมมาไม่น้อย เคยผ่านเกมที่เล่นอย่างยาวนานซ้ำไปซ้ำมาด้วยจำนวนเวลานับร้อยชั่วโมง หรือประสบการณ์กับเกมอินดี้สัญชาติเบลเยียม ที่มีจำนวนเวลาการเล่นสั้นที่สุดเพียง 5 นาทีจบในสนนราคา 99 บาทไทย (และเป็นสิ่งที่จดจำลืมไม่ลงเพราะไม่เคยเจอชิ้นงานแบบ Experimental เช่นนี้มาก่อนในชีวิต เป็นความเหวอที่ฝังใจไปอีกนาน…) และได้ข้อสรุปกับตนเองเอาไว้อย่างหนึ่งว่า
บางที จำนวนเวลาอาจจะไม่ได้สำคัญมากนัก ตราบเท่าที่มันยังมี ‘คุณภาพ’ ของการใช้เวลานั้นๆ ได้อย่างครบถ้วน

เพราะไม่ว่าจะเวลานับพันกว่าชั่วโมงในรอบเจ็ดปีที่ผู้เขียนทุ่มเทลงไปในเกมออนไลน์อย่าง Final Fantasy XIV Online หรือเวลาไปกว่าสองร้อยชั่วโมงกับ XCOM2 ผ่านการเล่นซ้ำห้ารอบ ทั้งหมด ถ้าเราได้รับความสนุกจากมัน ถ้ามันเคารพเวลาที่เรามีให้ และเป็นความคุ้มค่าที่ผ่านการ Crafted เป็นอย่างดี และเป็นสิ่งที่ผู้สร้างได้พิจารณาแล้วว่า เป็นจำนวนเวลาที่เหมาะสมสำหรับประสบการณ์การเล่นนั้นๆ เรื่องจำนวนเวลาหรือความยาวเกมอาจจะไม่ใช่สาระสำคัญที่ต้องเอามาใส่ใจ

กระนั้นแล้ว ไม่ใช่ทุกชิ้นงานจะสามารถเข้าถึงสมดุลระหว่างปริมาณและคุณภาพได้อย่างเหมาะสม หลายเกมเลยทีเดียว ที่โฆษณาตนเองเอาไว้ว่ามีจำนวนชั่วโมงการเล่นที่ยาวนานนับร้อยชั่วโมง ก็เป็นเพียงกิจกรรม Sandbox ซ้ำๆ หรือภารกิจที่น่าเบื่อหน่ายที่ถูกวนเวียนมาให้ทำอย่างไม่รู้จบ มีส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องที่ถูกใส่เข้ามาอย่างมากมายเพียงเพื่อจะได้เอามาทบเป็นจำนวนชั่วโมงที่ยาวนาน ให้ผู้ซื้อรู้สึกถึงความคุ้มค่าต่อราคาที่ต้องจ่ายไปมากที่สุด ที่กลับกลายมาเป็นความทรมานและไม่หลงเหลือสิ่งใดให้จดจำ หรืออยากจะกลับไปเล่นมันซ้ำอีกครั้ง (หรือที่สำนวนภาษาอังกฤษใช้ว่า wear out of ones welcome หรือนานเกินกว่าความจำเป็น...)

แน่ล่ะ เรื่องของสนนราคาเองก็เป็นส่วนสำคัญในการพิจารณาในความคุ้มค่าที่ผู้เล่นจะได้รับจากการจับจ่ายซื้อหามันมาเล่น (ที่นับวันจะยิ่งสูงขึ้นตามขนาดของอุตสาหกรรมที่เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด) แต่ก็อย่างที่กล่าวไปในข้างต้น ถ้าเกมนั้นมีปริมาณความยาว เพื่อสักแต่ว่าจะยาว แต่เต็มไปด้วยคุณภาพที่ย่ำแย่ ปัญหาทางเทคนิคอย่างมากมาย หรือมีเนื้อหาที่น่าเบื่อหน่ายไม่ชวนให้จดจำ การจะทุ่มเทเล่นมันคงไม่ต่างอะไรกับการบำเพ็ญเพียรทุกกรกิริยาที่ไม่น่าจะพาเราไปถึงการรู้แจ้งอะไรมากมายนัก และเราก็คงรู้สึกเหมือนเอาเงินไปโปรยทิ้งอย่างเปล่าประโยชน์เสียมากกว่า (และในทางกลับกัน เกมที่สั้นจนเกินงามในสนนราคาที่ไม่เหมาะสมก็ถือเป็นจำเลยในคดีนี้ได้อย่างไม่ต่างกัน...)

อนึ่ง ผู้เขียนคงไม่ขอไปชี้ขาดตัดสินในเรื่องของการใช้เวลาอย่างมีคุณภาพของพี่ๆ เพื่อนๆ ผู้อ่านแต่ละท่านว่าจะเลือกใช้เวลาไปกับชิ้นงานใด หรือเกมไหน ที่มีความคุ้มค่าในจำนวนเวลาที่มันมอบให้ (เพราะมันเป็นเรื่องที่อัตวิสัยความคิดใครความคิดมันโดยธรรมชาติอยู่แล้ว…) แต่สำหรับผู้สร้างแล้ว พวกเขาทั้งหลายต่างก็มุ่งหมายใจที่จะมอบประสบการณ์อันมีความหมาย ความสนุกสนานที่พร้อมจะมอบให้ และจำนวนเวลา ก็เป็นตัวแปรผันตรงที่ทีมสร้างได้พิจารณาเอาไว้แล้วว่า มัน ‘อาจจะ’ เหมาะสมภายใต้เงื่อนไขและโจทย์ดังกล่าว

ซึ่งในบั้นปลายแล้ว ก็ต้องเป็นผู้เล่น ที่จะเป็นคนตัดสินว่า ความยาวที่ชิ้นงานเกมหนึ่งๆ ได้มอบให้ มีความสนุกคุ้มค่ามากแค่ไหน ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมเสริมอย่างราคาและคุณภาพของเกมการเล่น

ในตอนนี้ ผู้เขียนพึ่งจบภารกิจของ Persona 5 Royal ด้วยจำนวนเวลา 140 ชั่วโมงไปหมาดๆ ซึ่งแม้ว่ามันจะยาว แต่ก็เป็นความยาวที่คุ้มค่า เป็นงานสร้างที่ผ่านการคิดคัดสรรค์เป็นอย่างดี เป็นงานระดับ ‘Crafted’ ชั้นเยี่ยมที่จะติดตรึงฝังทนในความทรงจำไปอีกนาน และวาดหวังเอาไว้ว่า Final Fantasy VII Remake ที่พึ่งได้แผ่นมา จะมอบประสบการณ์ที่ดีไม่แตกต่างกัน รวมทั้ง Resident Evil 3 Remake ที่ต้องพิสูจน์ให้เห็นกับตารู้กับมือ ว่ามันจะคุ้มค่าแม้จะถูกครหาเรื่องเวลาการเล่นมากน้อยแค่ไหน

เพราะเช่นเดียวกับทฤษฏีสัมพัทภาพของไอน์สไตน์ เราต่างพึงพอใจที่จะใช้เวลาที่มีคุณภาพไปกับสิ่งที่ดี ความรู้สึกที่ยอดเยี่ยม และให้ความบันเทิงเริงใจ ไม่ว่าจะต้องใช้เวลานานเท่าใด นั่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับการเล่นวิดีโอเกม เพราะ ‘ความสนุก’ ก็ยังเป็นสิ่งที่ใช้ชี้ขาดได้ในบั้นปลายท้ายสุด
ที่มันควรจะทำให้เรารู้สึกราวกับนั่งคุยกับสาวสวยที่ช่วยให้เวลาไหลผ่านอย่างรวดเร็ว มากกว่าต้องไปนั่งบนเตาไฟอย่างไม่รู้ว่าความทรมานที่แม้เพียงสักนาทีก็ถือว่าเกินกว่าจะทนได้จะจบลงเมื่อใด...  


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header