GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
ข่าวนอกเรื่อง
ยังจำเป็นอยู่หรือไม่ กับ งานเทศกาลใหญ่ ในแวดวงวิดีโอเกม?
ลงวันที่ 22/03/2020

คุณผู้อ่านทุกท่านเคยไป ‘งานนิทรรศการ’ กันบ้างไหม?

มันออกจะเป็นคำถามที่เรียบง่ายจนเกือบจะไร้สาระ เพราะนิทรรศการ ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์และศิลป์อันเป็นที่เราต่างคุ้นเคยกันอย่างดี ไม่ว่าจะนิทรรศการศิลปะ นิทรรศการสินค้า นิทรรศการภาพยนตร์ และอื่นๆ อีกมากมาย หลากหลายทั้งในส่วนของขนาด และในส่วนของเนื้อหา

ถ้าเช่นนั้น ผู้เขียนขอเปลี่ยนคำถามใหม่ … คุณ ‘รู้สึก’ อย่างไรเมื่อได้เข้าไป ‘ร่วม’ นิทรรศการเหล่านั้น?

ผู้เขียนตีวงคำถามให้แคบลง แต่ก็เชื่อเหลือเกินว่าคำตอบก็น่าจะหลากหลายไม่แพ้กัน แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะมีร่วมกัน คือความรู้สึก ‘เป็นส่วนหนึ่ง’ ของการจัดแสดง ไม่ว่าจะในฐานะผู้รับชม หรือผู้ออกร้านเองก็ตาม การได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับผู้สนใจ การได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันโดยเสรี การบรรลุข้อตกลงในทางธุรกิจการค้า นี่ต่างหาก ที่เป็นคุณค่าที่สำคัญของงานนิทรรศการ อันเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญไม่แพ้การโฆษณาในแบบปกติ

[caption id="attachment_46659" align="aligncenter" width="1024"]งานนิทรรศการ E3 ปี 2015 งานนิทรรศการ E3 ที่คุ้นเคย ที่อาจจะต้องผ่านเลยไปสำหรับปี 2020 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่การมีอยู่ของมันเมื่อ 25 ปีที่แล้ว[/caption]

และแวดวงวิดีโอเกมก็ไม่ต่างกัน มันเป็นงานพาณิชย์ศิลป์ที่ต้องการ ‘ความสนใจ’ และ ‘ปฏิสัมพันธ์’ ไม่ว่าจะในรูปแบบของ Business to Business (B2B) หรือ Business to Customer (B2C) ก็ตาม นั่นทำให้งานนิทรรศการจัดแสดงเกมใหญ่ๆ อย่าง Tokyo Game Show, Game Developer Conference, EGX Rezzed, PAX East ไปจนถึงมหกรรม ‘ศักดิ์สิทธิ์’ ของนักเล่นเกมอย่าง Electronic Entertainment Expo หรือ E3 ยังคงดำเนินต่อไปมาจนถึงปัจจุบัน



แต่มาในปีนี้ ดูเหมือนว่าบรรดางานนิทรรศการเกม กำลังเจอบททดสอบและมาถึงทางแยกที่สำคัญอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน



เราคงไม่อาจปฏิเสธได้ ว่าวิกฤติการของ COVID-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ได้กระเทือนถึงการคงอยู่ของนิทรรศการวิดีโอเกมอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะด้วยการยกเลิก E3 2020, การเลื่อนกำหนดของ GDC 2020, การเลื่อนกำหนดของ EGX Rezzed 2020 และ Taipei Game Show 2020 และอีกหลายสิบงานที่ได้รับผลกระทบจากการมาถึงของเชื้อร้ายที่กำลังสร้างความตื่นตระหนกเสียขวัญให้กับผู้คนทั่วโลก และไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่ายๆ ในเร็ววัน



ลำพังแค่การยกเลิก E3 2020 ก็เรียกได้ว่าสะเทือนขวัญอย่างใหญ่หลวง เพราะนับตั้งแต่ปี 1995 นั้น ไม่เคยมีปีใดที่ Los Angeles Convention Center ในช่วงกลางปี จะขาดซึ่งสีสันของมหกรรมยักษ์ใหญ่ ที่เหล่าผู้รักในวิดีโอเกมและผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม จะได้มารวมตัวกันอย่างพร้อมเพรียง แลกเปลี่ยน พูดคุย และได้เปิดตัวพร้อมทดสอบชิ้นงานวิดีโอเกมใหม่ ทั้งที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา และที่พร้อมจะมา Premiere เป็นครั้งแรกในงานนี้

แน่นอนว่าการยกเลิกและการเลื่อนกำหนดของบรรดานิทรรศการวิดีโอเกมเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ (ภายใต้สถานการณ์ที่สุดวิสัย…) แต่มันก็ก่อให้เกิดคำถามที่เกิดขึ้นในใจของผู้เขียนขึ้นมาประการหนึ่ง นั่นคือ…

มันยัง ‘จำเป็น’ อยู่หรือไม่ ที่แวดวงวิดีโอเกมจะต้องมี ‘นิทรรศการ’ ใหญ่ๆ เหล่านี้?

ออกจะเป็นคำถามที่สับสนและขัดแย้งกับข้อกล่าวในช่วงข้างต้นของบทความ แต่เราอาจต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งที่ว่า เสน่ห์ของงานนิทรรศการนั้น แม้จะยังคงทรงพลัง และมีคุณค่าในสายตาของพวกเราผู้บริโภค แต่สำหรับค่ายเกมยักษ์ใหญ่นั้น มันคือเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่ต้องถูกใช้เพื่อจับจอง เตรียมความพร้อม เพื่อช่วงเวลาสามถึงสี่วัน ที่สูงถึงหลักร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการได้มีพื้นที่ในฮอลล์หลัก



ไม่นับรวมบรรดาค่ายเล็กๆ และทีมสร้างเกมอินดี้ ที่ค่าใช้จ่ายสำหรับการออกบูธเล็กๆ นั้น แม้จะไม่สูงเท่ากับการออกบูธของค่ายใหญ่ แต่เมื่อถัวเฉลี่ยค่าตกแต่ง ค่าเช่าที่ ค่าบุคลากร ค่าอุปกรณ์ อาจจะหมายถึงเงินเก็บสะสมทั้งหมด ที่ต้องเอาออกมาใช้แทงจนหมดหน้าตัก และเฝ้าภาวนาว่าผลงานของพวกเขา/เธอ จะไปเข้าตากรรมการหรือผู้ประกอบการให้ทะยานติดปีก (ซึ่งอาจจะได้หรือไม่ได้ ก็ต้องไปวัดดวงกันหน้างาน)



เหล่านี้ เมื่อบวกรวมกับวัฒนธรรมการ Streaming ถ่ายทอดสดผ่านแพลทฟอร์มอย่าง Youtube หรือ Twitch ที่ผู้ชมสามารถเลือกรับชมได้ตามที่ต้องการโดยไม่ต้องไปถึงสถานที่จริง มันก็ยิ่งทำให้ความจำเป็นของการจัดนิทรรศการเกมนั้นถูกท้าทายอย่างมีนัยสำคัญ ว่าในปีนี้ ที่ทุกอย่างต้องยกเลิก เลื่อน หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเสนอ มันจะยังมีพลังและทำหน้าที่ที่งานนิทรรศการทั่วไปสามารถทำได้อยู่หรือไม่



อันที่จริง ค่ายเกมใหญ่ๆ ที่มีศักยภาพเองก็ส่งสัญญาณการ ‘ตีจาก’ ให้เห็นเป็นระยะๆ ไม่ว่าจะเป็น EA ที่แยกมาจัดงานเฉพาะของตัวเอง, Nintendo ที่ถ่ายทอดสดผ่านงาน Nintendo Direct หรือแม้แต่งานอย่าง GDC และ E3 เอง ก็มีการถ่ายทอดสดผ่านระบบ Streaming ที่มีจำนวนผู้ชมมากขึ้นๆ ในแต่ละปี



กระนั้นแล้ว ในทัศนะของผู้เขียน แม้จะมีปัจจัยแวดล้อมที่จะหนุนส่งให้บรรดางานนิทรรศการต้องล้มหายตายจาก มันก็ยังมีอีกมุมหนึ่ง ที่เป็นหลักฐานว่างานนิทรรศการอาจจะ ‘ไม่ตาย’ ไปตามกระแส เพราะดังที่กล่าวไป เป้าประสงค์ของงานนิทรรศการก็คือการ ‘ปฏิสัมพันธ์’ ระหว่างกัน ไม่ว่าจะระหว่างบริษัทกับผู้บริโภค หรือบริษัทกับคู่ค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝั่งผู้บริโภค ที่เป็นปลายน้ำสุดท้ายที่ชิ้นงานเกมจะต้องเดินทางไปถึง และงานนิทรรศการ ก็คือตัวจักรสำคัญที่จะช่วยผลักการตัดสินใจของผู้บริโภคในขั้นสุดท้ายก่อนที่ชิ้นงานจะวางจำหน่ายได้เป็นอย่างดี

อีกทั้งการมีอยู่ของนิทรรศการเกมนั้น ไม่ได้มีส่งผลต่อค่ายพัฒนาและผู้จัดจำหน่าย แต่หมายรวมถึงกิจการต่างๆ ของพื้นที่ในการจัดงานเหล่านั้น ไม่ว่าจะบริการด้านสถานที่พัก สถานประกอบการ ร้านค้า ร้านอาหาร ตั้งแต่เล็กไปจนถึงใหญ่ ซึ่งมีส่วนช่วยในการหมุนเวียนของเม็ดเงินและเศรษฐกิจให้สะพัดมากยิ่งขึ้น การขาดไร้ซึ่งงานนิทรรศการ ย่อมส่งผลกระทบต่อการมีอยู่ของกิจการต่างๆ ที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนอาจจะไม่พร้อมเสี่ยงที่จะยกเลิกงานเหล่านี้ในเร็ววัน



มาถึงวรรคนี้ ย้อนกลับไปที่คำถามเรื่องความจำเป็นของงานนิทรรศการแวดวงวิดีโอเกม มันอาจจเร็วเกินไปที่จะสรุป แต่สิ่งที่เคยเป็นเพียงแค่คำถาม ก็จะได้โอกาสที่จะทำการทดสอบอย่างจริงจัง เมื่อโลกแห่งแวดวงวิดีโอเกมจะไม่มีนิทรรศการ หรือมี แต่ถูกเลื่อนออกไปสู่ทางเลือกใหม่ มันจะได้ผลลัพธ์ออกมาเช่นใด

[caption id="attachment_46674" align="alignnone" width="1000"] ก็ได้แต่หวังว่า Tokyo Game Show 2020 สถานการณ์วิกฤติ COVID-19 จะทุเลาเบาบางจนสามารถจัดงานได้ตามปกติ...[/caption]

แต่ก็ดังที่กล่าวไปข้างต้น ผู้เขียนยังคงเชื่อในพลังของงานนิทรรศการ ตราบเท่าที่มันยังคงฟังก์ชันหลักของมัน มันก็ยากที่อุปกรณ์สำคัญชิ้นนี้ จะร้างลาห่างหายไป
เพราะ ‘ปฏิสัมพันธ์’ ระหว่างผู้คน และการลองดูกับมือเห็นกับตา โดยเฉพาะแวดวงวิดีโอเกม ก็ยังทรงคุณค่า และมีพลังมากกว่าเพียงแค่การถ่ายทอดสด อยู่หลายร้อยหลายพันเท่า

บทความที่คล้ายกัน

GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
ยังจำเป็นอยู่หรือไม่ กับ งานเทศกาลใหญ่ ในแวดวงวิดีโอเกม?
22/03/2020

คุณผู้อ่านทุกท่านเคยไป ‘งานนิทรรศการ’ กันบ้างไหม?

มันออกจะเป็นคำถามที่เรียบง่ายจนเกือบจะไร้สาระ เพราะนิทรรศการ ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเชิงพาณิชย์และศิลป์อันเป็นที่เราต่างคุ้นเคยกันอย่างดี ไม่ว่าจะนิทรรศการศิลปะ นิทรรศการสินค้า นิทรรศการภาพยนตร์ และอื่นๆ อีกมากมาย หลากหลายทั้งในส่วนของขนาด และในส่วนของเนื้อหา

ถ้าเช่นนั้น ผู้เขียนขอเปลี่ยนคำถามใหม่ … คุณ ‘รู้สึก’ อย่างไรเมื่อได้เข้าไป ‘ร่วม’ นิทรรศการเหล่านั้น?

ผู้เขียนตีวงคำถามให้แคบลง แต่ก็เชื่อเหลือเกินว่าคำตอบก็น่าจะหลากหลายไม่แพ้กัน แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะมีร่วมกัน คือความรู้สึก ‘เป็นส่วนหนึ่ง’ ของการจัดแสดง ไม่ว่าจะในฐานะผู้รับชม หรือผู้ออกร้านเองก็ตาม การได้มีปฏิสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับผู้สนใจ การได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันโดยเสรี การบรรลุข้อตกลงในทางธุรกิจการค้า นี่ต่างหาก ที่เป็นคุณค่าที่สำคัญของงานนิทรรศการ อันเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญไม่แพ้การโฆษณาในแบบปกติ

[caption id="attachment_46659" align="aligncenter" width="1024"]งานนิทรรศการ E3 ปี 2015 งานนิทรรศการ E3 ที่คุ้นเคย ที่อาจจะต้องผ่านเลยไปสำหรับปี 2020 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์นับตั้งแต่การมีอยู่ของมันเมื่อ 25 ปีที่แล้ว[/caption]

และแวดวงวิดีโอเกมก็ไม่ต่างกัน มันเป็นงานพาณิชย์ศิลป์ที่ต้องการ ‘ความสนใจ’ และ ‘ปฏิสัมพันธ์’ ไม่ว่าจะในรูปแบบของ Business to Business (B2B) หรือ Business to Customer (B2C) ก็ตาม นั่นทำให้งานนิทรรศการจัดแสดงเกมใหญ่ๆ อย่าง Tokyo Game Show, Game Developer Conference, EGX Rezzed, PAX East ไปจนถึงมหกรรม ‘ศักดิ์สิทธิ์’ ของนักเล่นเกมอย่าง Electronic Entertainment Expo หรือ E3 ยังคงดำเนินต่อไปมาจนถึงปัจจุบัน



แต่มาในปีนี้ ดูเหมือนว่าบรรดางานนิทรรศการเกม กำลังเจอบททดสอบและมาถึงทางแยกที่สำคัญอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน



เราคงไม่อาจปฏิเสธได้ ว่าวิกฤติการของ COVID-19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ได้กระเทือนถึงการคงอยู่ของนิทรรศการวิดีโอเกมอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะด้วยการยกเลิก E3 2020, การเลื่อนกำหนดของ GDC 2020, การเลื่อนกำหนดของ EGX Rezzed 2020 และ Taipei Game Show 2020 และอีกหลายสิบงานที่ได้รับผลกระทบจากการมาถึงของเชื้อร้ายที่กำลังสร้างความตื่นตระหนกเสียขวัญให้กับผู้คนทั่วโลก และไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่ายๆ ในเร็ววัน



ลำพังแค่การยกเลิก E3 2020 ก็เรียกได้ว่าสะเทือนขวัญอย่างใหญ่หลวง เพราะนับตั้งแต่ปี 1995 นั้น ไม่เคยมีปีใดที่ Los Angeles Convention Center ในช่วงกลางปี จะขาดซึ่งสีสันของมหกรรมยักษ์ใหญ่ ที่เหล่าผู้รักในวิดีโอเกมและผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม จะได้มารวมตัวกันอย่างพร้อมเพรียง แลกเปลี่ยน พูดคุย และได้เปิดตัวพร้อมทดสอบชิ้นงานวิดีโอเกมใหม่ ทั้งที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา และที่พร้อมจะมา Premiere เป็นครั้งแรกในงานนี้

แน่นอนว่าการยกเลิกและการเลื่อนกำหนดของบรรดานิทรรศการวิดีโอเกมเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ (ภายใต้สถานการณ์ที่สุดวิสัย…) แต่มันก็ก่อให้เกิดคำถามที่เกิดขึ้นในใจของผู้เขียนขึ้นมาประการหนึ่ง นั่นคือ…

มันยัง ‘จำเป็น’ อยู่หรือไม่ ที่แวดวงวิดีโอเกมจะต้องมี ‘นิทรรศการ’ ใหญ่ๆ เหล่านี้?

ออกจะเป็นคำถามที่สับสนและขัดแย้งกับข้อกล่าวในช่วงข้างต้นของบทความ แต่เราอาจต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งที่ว่า เสน่ห์ของงานนิทรรศการนั้น แม้จะยังคงทรงพลัง และมีคุณค่าในสายตาของพวกเราผู้บริโภค แต่สำหรับค่ายเกมยักษ์ใหญ่นั้น มันคือเม็ดเงินจำนวนมหาศาลที่ต้องถูกใช้เพื่อจับจอง เตรียมความพร้อม เพื่อช่วงเวลาสามถึงสี่วัน ที่สูงถึงหลักร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการได้มีพื้นที่ในฮอลล์หลัก



ไม่นับรวมบรรดาค่ายเล็กๆ และทีมสร้างเกมอินดี้ ที่ค่าใช้จ่ายสำหรับการออกบูธเล็กๆ นั้น แม้จะไม่สูงเท่ากับการออกบูธของค่ายใหญ่ แต่เมื่อถัวเฉลี่ยค่าตกแต่ง ค่าเช่าที่ ค่าบุคลากร ค่าอุปกรณ์ อาจจะหมายถึงเงินเก็บสะสมทั้งหมด ที่ต้องเอาออกมาใช้แทงจนหมดหน้าตัก และเฝ้าภาวนาว่าผลงานของพวกเขา/เธอ จะไปเข้าตากรรมการหรือผู้ประกอบการให้ทะยานติดปีก (ซึ่งอาจจะได้หรือไม่ได้ ก็ต้องไปวัดดวงกันหน้างาน)



เหล่านี้ เมื่อบวกรวมกับวัฒนธรรมการ Streaming ถ่ายทอดสดผ่านแพลทฟอร์มอย่าง Youtube หรือ Twitch ที่ผู้ชมสามารถเลือกรับชมได้ตามที่ต้องการโดยไม่ต้องไปถึงสถานที่จริง มันก็ยิ่งทำให้ความจำเป็นของการจัดนิทรรศการเกมนั้นถูกท้าทายอย่างมีนัยสำคัญ ว่าในปีนี้ ที่ทุกอย่างต้องยกเลิก เลื่อน หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเสนอ มันจะยังมีพลังและทำหน้าที่ที่งานนิทรรศการทั่วไปสามารถทำได้อยู่หรือไม่



อันที่จริง ค่ายเกมใหญ่ๆ ที่มีศักยภาพเองก็ส่งสัญญาณการ ‘ตีจาก’ ให้เห็นเป็นระยะๆ ไม่ว่าจะเป็น EA ที่แยกมาจัดงานเฉพาะของตัวเอง, Nintendo ที่ถ่ายทอดสดผ่านงาน Nintendo Direct หรือแม้แต่งานอย่าง GDC และ E3 เอง ก็มีการถ่ายทอดสดผ่านระบบ Streaming ที่มีจำนวนผู้ชมมากขึ้นๆ ในแต่ละปี



กระนั้นแล้ว ในทัศนะของผู้เขียน แม้จะมีปัจจัยแวดล้อมที่จะหนุนส่งให้บรรดางานนิทรรศการต้องล้มหายตายจาก มันก็ยังมีอีกมุมหนึ่ง ที่เป็นหลักฐานว่างานนิทรรศการอาจจะ ‘ไม่ตาย’ ไปตามกระแส เพราะดังที่กล่าวไป เป้าประสงค์ของงานนิทรรศการก็คือการ ‘ปฏิสัมพันธ์’ ระหว่างกัน ไม่ว่าจะระหว่างบริษัทกับผู้บริโภค หรือบริษัทกับคู่ค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝั่งผู้บริโภค ที่เป็นปลายน้ำสุดท้ายที่ชิ้นงานเกมจะต้องเดินทางไปถึง และงานนิทรรศการ ก็คือตัวจักรสำคัญที่จะช่วยผลักการตัดสินใจของผู้บริโภคในขั้นสุดท้ายก่อนที่ชิ้นงานจะวางจำหน่ายได้เป็นอย่างดี

อีกทั้งการมีอยู่ของนิทรรศการเกมนั้น ไม่ได้มีส่งผลต่อค่ายพัฒนาและผู้จัดจำหน่าย แต่หมายรวมถึงกิจการต่างๆ ของพื้นที่ในการจัดงานเหล่านั้น ไม่ว่าจะบริการด้านสถานที่พัก สถานประกอบการ ร้านค้า ร้านอาหาร ตั้งแต่เล็กไปจนถึงใหญ่ ซึ่งมีส่วนช่วยในการหมุนเวียนของเม็ดเงินและเศรษฐกิจให้สะพัดมากยิ่งขึ้น การขาดไร้ซึ่งงานนิทรรศการ ย่อมส่งผลกระทบต่อการมีอยู่ของกิจการต่างๆ ที่หน่วยงานภาครัฐและเอกชนอาจจะไม่พร้อมเสี่ยงที่จะยกเลิกงานเหล่านี้ในเร็ววัน



มาถึงวรรคนี้ ย้อนกลับไปที่คำถามเรื่องความจำเป็นของงานนิทรรศการแวดวงวิดีโอเกม มันอาจจเร็วเกินไปที่จะสรุป แต่สิ่งที่เคยเป็นเพียงแค่คำถาม ก็จะได้โอกาสที่จะทำการทดสอบอย่างจริงจัง เมื่อโลกแห่งแวดวงวิดีโอเกมจะไม่มีนิทรรศการ หรือมี แต่ถูกเลื่อนออกไปสู่ทางเลือกใหม่ มันจะได้ผลลัพธ์ออกมาเช่นใด

[caption id="attachment_46674" align="alignnone" width="1000"] ก็ได้แต่หวังว่า Tokyo Game Show 2020 สถานการณ์วิกฤติ COVID-19 จะทุเลาเบาบางจนสามารถจัดงานได้ตามปกติ...[/caption]

แต่ก็ดังที่กล่าวไปข้างต้น ผู้เขียนยังคงเชื่อในพลังของงานนิทรรศการ ตราบเท่าที่มันยังคงฟังก์ชันหลักของมัน มันก็ยากที่อุปกรณ์สำคัญชิ้นนี้ จะร้างลาห่างหายไป
เพราะ ‘ปฏิสัมพันธ์’ ระหว่างผู้คน และการลองดูกับมือเห็นกับตา โดยเฉพาะแวดวงวิดีโอเกม ก็ยังทรงคุณค่า และมีพลังมากกว่าเพียงแค่การถ่ายทอดสด อยู่หลายร้อยหลายพันเท่า


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header