GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
บทความ
เข้าสู่ระบบ
บทความ
ชวนนั่งคิด Soudtrack และ BGM สำคัญมากน้อยขนาดไหนในวิดีโอเกม?
ลงวันที่ 28/01/2021

ทุกวันนี้ผลงานเกมที่ยอดเยี่ยมถูกวัดค่าจากสิ่งใด? เป็นความยอดเยี่ยมของเนื้อเรื่องที่แต่งมาได้ซึ้งกินใจจนห้ามน้ำตาของผู้เล่นไว้ไม่อยู่? บางครั้งอาจเป็นเกมเพลย์สุดมันส์ที่บังคับดึงอารมณ์ความสนุกของผู้เล่นออกมาได้ไม่ว่าจะผ่านไปกี่สิบชั่วโมง? บางคนอาจบอกว่าเป็นวิธีการนำเสนอที่ผู้พัฒนาสร้างสรรค์ได้แปลกตาไม่เหมือนใคร ความอลังการ / สวยงามของกราฟิกก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นหนึ่งในนั้น หรือจริงๆ แล้วอาจเป็นการผสมผสานทั้ง 4 อย่างที่กล่าวมาเข้าด้วยกันอย่างลงตัวรึเปล่า เราถึงสามารถพูดได้เต็มปากว่า "เกมนี้คือผลงานที่ยอดเยี่ยม" ?

แม้ว่าทั้งหมดที่กล่าวมาจะถูกต้อง และอาจถูกใช้เป็นเกณฑ์ที่สื่อ หรือผู้เล่นจะมอบคะแนนให้กับเกมหนึ่งเกมจริง แต่จริงๆ เรากำลังมองข้ามบางสิ่งบางอย่างไป บางสิ่งที่คอยผลักดันให้ทั้ง 4 ได้อยู่ท่ามกลางสปอตไลท์ของเวทีแห่งการชื่นชม สิ่งที่ถูกเรียกว่า "Soudtrack และ BGM"

  

งานวิจัยเรื่อง "Does Music Induce Emotion?" ของนักจิตวิทยาชาว Serbia คุณ Vladimir J. Konečni ในปี 1982 ได้แสดงให้เห็นว่า

ท่วงทำนองที่ซับซ้อน และดังจะสร้างอารมณ์โกรธให้ผู้ชม ในขณะที่ดนตรีที่นุ่มนวล ผ่อนคลาย และเรียบง่าย จะมอบความสบายให้กับผู้ชม

นอกจากนี้ในฉากเดียวกันหากเราเลือกใช้ดนตรีประกอบที่ต่างกันไป ก็จะทำให้ความรู้สึก ความสงสัย และอารมณ์ที่มีต่อฉากนั้นแตกต่างกันไป วิดีโอข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนซึ่งผมอยากให้เพื่อนๆ สละเวลาเล็กน้อยสัก 2 นาทีเพื่อดูมันครับ (ไม่ต้องดูจนจบก็คิดว่าคงเห็นภาพกันแล้ว)





มาถึงจุดนี้หลายคนคงตั้งคำถามว่า "แล้วมันเกี่ยวกับเกมตรงไหน" ผมจะอธิบายว่า ก่อนอื่นเลยคือทั้ง 2 เป็นมัลติมีเดียเหมือนกัน และเป็นสื่อที่ให้ความบันเทิงเช่นเดียวกัน ดังนั้นวิธีสร้างของทั้งสองจึงแตกต่างกันแค่กระบวนการผลิตเท่านั้น (ซึ่งจากคำพูดของผู้กำกับชื่อดัง Christopher Nolan แล้ว จริงๆ เกมอาจสร้างยากกว่าหนังด้วยซ้ำ) ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าองค์ประกอบ หรือวิธีการใดๆ ที่ทำให้หนังเรื่องหนึ่งเป็นหนังที่ดีได้ วิธีการเหล่านั้นก็น่าจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการสร้างวิดีโอเกมให้ดีได้เช่นกัน

แบบนั้นแล้ว เมื่อสำหรับหนังเพลงประกอบเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ฉันใด เกมเองก็ไม่สามารถขาดเพลงประกอบได้ฉันนั้น เนื่องจากการสร้างอารมณ์ร่วมเป็นสิ่งที่ทำได้ยากหากเพียงผ่านตัวหนังสือ หรือสีหน้าของตัวละครอย่างเดียว ยิ่งเป็นฉากที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งความหวัง และความสิ้นหวังอยู่ด้วยดังเพลง Answer ฉาก Realm Is Reborn จาก Final Fantasy XIV ด้วยแล้ว การไม่มีบทเพลงใดๆ ประกอบเลย ฉากนี้ก็คงไม่ทำให้ผู้เล่นหลายหมื่นคนนั่งร้องไห้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของตัวเองหลังได้เห็นโลกของเกมที่พวกเขารัก NPC ที่พวกเขาชื่นชอบ ตายไปพร้อมกับโลกที่พังทลาย ดั่งคนบ้าในยามราตรี ในคืนที่ชมเหตุการณ์นี้เป็นครั้งแรก





อีกหนึ่งตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของบทเพลงแห่งความหวัง และความสิ้นหวัง คงจะไม่พ้น Weight of The World ในตอนที่ผู้เล่นกำลังพยายามจะเก็บฉากจบสุดท้ายที่ชื่อว่า The [E]nd of Yorha เราจะต้องพบกับการต่อสู้ที่ไม่มีทางชนะได้ ตัวเกมจะถามทุกครั้งที่เราล้มเหลวว่า "จะยอมแพ้หรือไม่" ซึ่งในขณะเดียวกันเราจะต้องฟังบทเพลงที่มอบความสิ้นหวัง และความหวังให้ในเวลาเดียวกันไปด้วย โดยในทุกครั้งที่พ่ายแพ้ จะมีคำพูดให้กำลังใจจากผู้เล่นทั่วทุกมุมโลกค่อยๆ ขึ้นมาให้กำลังใจเรา พวกเขาจะบอกอยู่เสมอว่า "อย่ายอมแพ้", "นายทำได้", "เชื่อมันในตัวเองสิ" นำไปสู่ช่วงเวลาที่ตื้นตันจนไม่สามารถหาคำมาบรรยายได้ เมื่อได้ฉากจบสุดท้ายมา ตัวเกมจะถามว่า "คุณเอง ก็ต้องการส่งมอบความหวังให้กับคนอื่นรึเปล่า?" ถ้าหากใช่สิ่งที่ต้องแลกไปก็คือเซฟทั้งหมดของเกมที่เล่นมาจนถึงตอนนี้ ราวกับเป็นข้อความจากผู้พัฒนาว่า "ช่วงเวลาที่คุณเพิ่งได้สัมผัสไป จะมีได้เพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น"





บางครั้งดนตรีประกอบเบาๆ ที่มีเสียงร้องขับขานไม่เป็นภาษาในช่วง End Credit ก็อาจเป็นของขวัญชิ้นสุดท้ายก่อนการจากลาจากผู้พัฒนา เหมือนดังเช่น The Nameless Song จาก Dark Souls เมื่อเพลงดังกล่าวถูกขับขานผู้เล่นจะได้รับรู้ว่า "อา.. การเดินทางที่แสนยาวนานใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว" ปลายทางที่ไขว่คว้ามานานอยู่ห่างเพียงแค่ไม่กี่อึดใจ ทั้งความสนุก, ความทรมาน, ความขื่นขม, ความเศร้า, ความตื่นเต้น ความรู้สึกทุกอย่างค่อยๆ จมหายไปพร้อมกับ ตัวอักษร End Credit ที่ขึ้นมาแทนที่ ในช่วงเวลานี้บางคนอาจรู้สึกเศร้า บางคนอาจร้องไห้อย่างเงียบๆ และบางคนอาจหลับตาเพื่อเงียบหูฟังบทเพลงแห่งการจากลานี้ด้วยรอบยิ้ม และความคิดที่จะไม่ลืมท่วงทํานองตราบนานเท่านาน





บทเพลงที่น่าจดจำบางครั้งอาจเป็น BGM เล็กๆ สั้นๆ ที่เราฟังจนคุ้นเคยโดยที่ไม่รู้ตัวได้เช่นกัน ซึ่งถ้าหากให้ยกตัวอย่างเพลงที่คนไทยส่วนใหญ่น่าจะรู้จัก และเมื่อฟังจะเกิดการคิดคำนึงถึง ก็คงไม่พ้นเพลง Theme หน้า Log In และเพลงบรรเลงของเมืองต่างๆ จากเกม Ragnarok ที่ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไหร่ ทุกครั้งที่ได้ยินก็ยังคงทำให้หวนรําลึกถึงความรู้สึกในวันวาน เมือง Prontera ที่มีผู้เล่นจำนวนมาก, เมือง Morroc ที่มีพ่อค้าอยู่มากมาย, บางครั้งเราอาจได้เห็นห้องสนทนาที่มีหัวข้อแสนสนุก บางที่หัวมุมถนนตรงหน้าอาจผู้เล่นจำนวนมากกำลังหนีเอาตัวรอดจากบอสที่ออกมาจากไม้ผีอยู่ เมื่อเดินทางมาถึงหน้าดันเจี้ยนอาจได้พบกับสมาชิกเพื่อนร่วมกิลที่นัดหมายกันไว้ เมื่อได้ฟังเพลงข้างล่างนี้ทุกคนคิดถึงช่วงเวลาเหล่านั้นกันบ้างรึเปล่า?





เพียงแค่เสียงจากกีตาร์โปร่งหนึ่งตัว กับถ้อยคำขับร้องที่ไม่ได้เป็นมืออาชีพ ในสถานการณ์ และฉากที่ถูกต้อง บางครั้งอาจน่าจดจำยิ่งกว่าดนตรีที่ถูกบรรเลงมาอย่างประณีต ดังเช่น Future Days ของ Joel ในช่วงเริ่มต้นของ The Last of Us Part 2 แม้เพลงนี้จะความยาวจะมีเพียงแค่ 3 นาที แต่ในช่วงเวลาสั้นๆ เชื่อว่าทุกคนจะสามารถเข้าใจได้เลยว่า Ellie มีความสำคัญต่อชายแก่คนนี้ยังไง ทำไมเขาถึงหวงแหนเธอขนาดนี้ และมันจึงทำให้เราเสียใจ รวมถึงโกรธมากเมื่อได้ทราบถึงโชคชะตาของเขาในเนื้อเรื่องของเกมหลังจากนี้ โดยที่หลายคนอาจไม่ได้ตระหนักเลยว่า ตัวเองได้มีอารมณ์ร่วมไปกับเนื้อเรื่อง รวมถึงเหตุการณ์ในเกมนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว





แน่นอนว่านี้ไม่ใช้บทเพลงทั้งหมดที่ล่วนแล้วแต่งดงามในแบบของตัวเอง น่าจดจำในแบบของตัวเอง แต่หากจะให้ยกตัวอย่างทุกเพลงจากทุกเกมในโลกนี้แล้ว คิดว่าบทความนี้คงยาวแบบไม่มีวันจบสิ้นกันเลยทีเดียว ตัวอย่างที่ผ่านมาเพียงแค่อยากให้ทุกคนได้เห็นภาพถึงพลัง และความสำคัญของบทเพลง ที่มักไม่ค้อยถูกพูดถึง หรือได้รับความสนใจจากเหล่าผู้เล่นเท่าไหร่นัก

และน่าเสียดายเหมือนกันที่มิอาจยกตัวอย่างเพลงที่ดี แต่ไม่ถูกจดจำในโลกวิดีโอเกมให้เพื่อนๆ ได้เห็นภาพได้ เนื่องจากตัวผมเองก็เพิ่งหันมาให้ความสนใจ บทเพลงที่สวยงามจากเกมเหล่านี้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม "เกม" ก็ยังถือว่าเป็น Multimedia ชนิดหนึ่ง ที่สุดท้ายแล้วก็ยังคงจำเป็นต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้ตัวเองเป็นสิ่งที่น่าจดจำ ไม่ว่าจะเป็นภาพ ,การดำเนินของเนื้อเรื่อง, ภาษาที่ใช้, การเรียบเรียงคำพูดของตัวละคร, ฉาก, กราฟิก, ธีม, เกมเพลย์, ระบบ และปัจจัยสําคัญอีกมากมายที่ขาดไม่ได้





ดังนั้นในท้ายที่สุดแล้ว ต่อให้เพลงที่ถูกแต่งขึ้นมานั้นจะมีดนตรีที่ยอดเยี่ยมขนาดไหน พรรณนาได้งดงามเพียงใด ก็ยังเป็นเพียงแค่องค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้ผลงานมีคุณค่า ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักเพียงหนึ่งเดียวที่จำเป็นต้องสร้างออกมาอย่างประณีตจนไม่จำเป็นต้องทำสิ่งอื่นได้ เช่นนั้นแล้วก็คงมิอาจเข้าถึงจิตใจของผู้เล่น หรือทำให้ถูกจดจำได้ หากขาดองค์ประกอบอื่นๆ ไป

แม้จะเป็นบทเพลงที่สวยงาม และน่าฟังเพียงใด เมื่อไม่มีคุณค่าในการจดจำ เพลงนั้นก็คงถูกลืมเลื่อนหายไปตามกาลเวลา


GameFever TH | เพราะเกมคือชีวิต
ชวนนั่งคิด Soudtrack และ BGM สำคัญมากน้อยขนาดไหนในวิดีโอเกม?
28/01/2021

ทุกวันนี้ผลงานเกมที่ยอดเยี่ยมถูกวัดค่าจากสิ่งใด? เป็นความยอดเยี่ยมของเนื้อเรื่องที่แต่งมาได้ซึ้งกินใจจนห้ามน้ำตาของผู้เล่นไว้ไม่อยู่? บางครั้งอาจเป็นเกมเพลย์สุดมันส์ที่บังคับดึงอารมณ์ความสนุกของผู้เล่นออกมาได้ไม่ว่าจะผ่านไปกี่สิบชั่วโมง? บางคนอาจบอกว่าเป็นวิธีการนำเสนอที่ผู้พัฒนาสร้างสรรค์ได้แปลกตาไม่เหมือนใคร ความอลังการ / สวยงามของกราฟิกก็อาจกล่าวได้ว่าเป็นหนึ่งในนั้น หรือจริงๆ แล้วอาจเป็นการผสมผสานทั้ง 4 อย่างที่กล่าวมาเข้าด้วยกันอย่างลงตัวรึเปล่า เราถึงสามารถพูดได้เต็มปากว่า "เกมนี้คือผลงานที่ยอดเยี่ยม" ?

แม้ว่าทั้งหมดที่กล่าวมาจะถูกต้อง และอาจถูกใช้เป็นเกณฑ์ที่สื่อ หรือผู้เล่นจะมอบคะแนนให้กับเกมหนึ่งเกมจริง แต่จริงๆ เรากำลังมองข้ามบางสิ่งบางอย่างไป บางสิ่งที่คอยผลักดันให้ทั้ง 4 ได้อยู่ท่ามกลางสปอตไลท์ของเวทีแห่งการชื่นชม สิ่งที่ถูกเรียกว่า "Soudtrack และ BGM"

  

งานวิจัยเรื่อง "Does Music Induce Emotion?" ของนักจิตวิทยาชาว Serbia คุณ Vladimir J. Konečni ในปี 1982 ได้แสดงให้เห็นว่า

ท่วงทำนองที่ซับซ้อน และดังจะสร้างอารมณ์โกรธให้ผู้ชม ในขณะที่ดนตรีที่นุ่มนวล ผ่อนคลาย และเรียบง่าย จะมอบความสบายให้กับผู้ชม

นอกจากนี้ในฉากเดียวกันหากเราเลือกใช้ดนตรีประกอบที่ต่างกันไป ก็จะทำให้ความรู้สึก ความสงสัย และอารมณ์ที่มีต่อฉากนั้นแตกต่างกันไป วิดีโอข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนซึ่งผมอยากให้เพื่อนๆ สละเวลาเล็กน้อยสัก 2 นาทีเพื่อดูมันครับ (ไม่ต้องดูจนจบก็คิดว่าคงเห็นภาพกันแล้ว)





มาถึงจุดนี้หลายคนคงตั้งคำถามว่า "แล้วมันเกี่ยวกับเกมตรงไหน" ผมจะอธิบายว่า ก่อนอื่นเลยคือทั้ง 2 เป็นมัลติมีเดียเหมือนกัน และเป็นสื่อที่ให้ความบันเทิงเช่นเดียวกัน ดังนั้นวิธีสร้างของทั้งสองจึงแตกต่างกันแค่กระบวนการผลิตเท่านั้น (ซึ่งจากคำพูดของผู้กำกับชื่อดัง Christopher Nolan แล้ว จริงๆ เกมอาจสร้างยากกว่าหนังด้วยซ้ำ) ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าองค์ประกอบ หรือวิธีการใดๆ ที่ทำให้หนังเรื่องหนึ่งเป็นหนังที่ดีได้ วิธีการเหล่านั้นก็น่าจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการสร้างวิดีโอเกมให้ดีได้เช่นกัน

แบบนั้นแล้ว เมื่อสำหรับหนังเพลงประกอบเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ฉันใด เกมเองก็ไม่สามารถขาดเพลงประกอบได้ฉันนั้น เนื่องจากการสร้างอารมณ์ร่วมเป็นสิ่งที่ทำได้ยากหากเพียงผ่านตัวหนังสือ หรือสีหน้าของตัวละครอย่างเดียว ยิ่งเป็นฉากที่ซับซ้อนซึ่งมีทั้งความหวัง และความสิ้นหวังอยู่ด้วยดังเพลง Answer ฉาก Realm Is Reborn จาก Final Fantasy XIV ด้วยแล้ว การไม่มีบทเพลงใดๆ ประกอบเลย ฉากนี้ก็คงไม่ทำให้ผู้เล่นหลายหมื่นคนนั่งร้องไห้อยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของตัวเองหลังได้เห็นโลกของเกมที่พวกเขารัก NPC ที่พวกเขาชื่นชอบ ตายไปพร้อมกับโลกที่พังทลาย ดั่งคนบ้าในยามราตรี ในคืนที่ชมเหตุการณ์นี้เป็นครั้งแรก





อีกหนึ่งตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของบทเพลงแห่งความหวัง และความสิ้นหวัง คงจะไม่พ้น Weight of The World ในตอนที่ผู้เล่นกำลังพยายามจะเก็บฉากจบสุดท้ายที่ชื่อว่า The [E]nd of Yorha เราจะต้องพบกับการต่อสู้ที่ไม่มีทางชนะได้ ตัวเกมจะถามทุกครั้งที่เราล้มเหลวว่า "จะยอมแพ้หรือไม่" ซึ่งในขณะเดียวกันเราจะต้องฟังบทเพลงที่มอบความสิ้นหวัง และความหวังให้ในเวลาเดียวกันไปด้วย โดยในทุกครั้งที่พ่ายแพ้ จะมีคำพูดให้กำลังใจจากผู้เล่นทั่วทุกมุมโลกค่อยๆ ขึ้นมาให้กำลังใจเรา พวกเขาจะบอกอยู่เสมอว่า "อย่ายอมแพ้", "นายทำได้", "เชื่อมันในตัวเองสิ" นำไปสู่ช่วงเวลาที่ตื้นตันจนไม่สามารถหาคำมาบรรยายได้ เมื่อได้ฉากจบสุดท้ายมา ตัวเกมจะถามว่า "คุณเอง ก็ต้องการส่งมอบความหวังให้กับคนอื่นรึเปล่า?" ถ้าหากใช่สิ่งที่ต้องแลกไปก็คือเซฟทั้งหมดของเกมที่เล่นมาจนถึงตอนนี้ ราวกับเป็นข้อความจากผู้พัฒนาว่า "ช่วงเวลาที่คุณเพิ่งได้สัมผัสไป จะมีได้เพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น"





บางครั้งดนตรีประกอบเบาๆ ที่มีเสียงร้องขับขานไม่เป็นภาษาในช่วง End Credit ก็อาจเป็นของขวัญชิ้นสุดท้ายก่อนการจากลาจากผู้พัฒนา เหมือนดังเช่น The Nameless Song จาก Dark Souls เมื่อเพลงดังกล่าวถูกขับขานผู้เล่นจะได้รับรู้ว่า "อา.. การเดินทางที่แสนยาวนานใกล้จะสิ้นสุดลงแล้ว" ปลายทางที่ไขว่คว้ามานานอยู่ห่างเพียงแค่ไม่กี่อึดใจ ทั้งความสนุก, ความทรมาน, ความขื่นขม, ความเศร้า, ความตื่นเต้น ความรู้สึกทุกอย่างค่อยๆ จมหายไปพร้อมกับ ตัวอักษร End Credit ที่ขึ้นมาแทนที่ ในช่วงเวลานี้บางคนอาจรู้สึกเศร้า บางคนอาจร้องไห้อย่างเงียบๆ และบางคนอาจหลับตาเพื่อเงียบหูฟังบทเพลงแห่งการจากลานี้ด้วยรอบยิ้ม และความคิดที่จะไม่ลืมท่วงทํานองตราบนานเท่านาน





บทเพลงที่น่าจดจำบางครั้งอาจเป็น BGM เล็กๆ สั้นๆ ที่เราฟังจนคุ้นเคยโดยที่ไม่รู้ตัวได้เช่นกัน ซึ่งถ้าหากให้ยกตัวอย่างเพลงที่คนไทยส่วนใหญ่น่าจะรู้จัก และเมื่อฟังจะเกิดการคิดคำนึงถึง ก็คงไม่พ้นเพลง Theme หน้า Log In และเพลงบรรเลงของเมืองต่างๆ จากเกม Ragnarok ที่ไม่ว่าจะผ่านไปนานเท่าไหร่ ทุกครั้งที่ได้ยินก็ยังคงทำให้หวนรําลึกถึงความรู้สึกในวันวาน เมือง Prontera ที่มีผู้เล่นจำนวนมาก, เมือง Morroc ที่มีพ่อค้าอยู่มากมาย, บางครั้งเราอาจได้เห็นห้องสนทนาที่มีหัวข้อแสนสนุก บางที่หัวมุมถนนตรงหน้าอาจผู้เล่นจำนวนมากกำลังหนีเอาตัวรอดจากบอสที่ออกมาจากไม้ผีอยู่ เมื่อเดินทางมาถึงหน้าดันเจี้ยนอาจได้พบกับสมาชิกเพื่อนร่วมกิลที่นัดหมายกันไว้ เมื่อได้ฟังเพลงข้างล่างนี้ทุกคนคิดถึงช่วงเวลาเหล่านั้นกันบ้างรึเปล่า?





เพียงแค่เสียงจากกีตาร์โปร่งหนึ่งตัว กับถ้อยคำขับร้องที่ไม่ได้เป็นมืออาชีพ ในสถานการณ์ และฉากที่ถูกต้อง บางครั้งอาจน่าจดจำยิ่งกว่าดนตรีที่ถูกบรรเลงมาอย่างประณีต ดังเช่น Future Days ของ Joel ในช่วงเริ่มต้นของ The Last of Us Part 2 แม้เพลงนี้จะความยาวจะมีเพียงแค่ 3 นาที แต่ในช่วงเวลาสั้นๆ เชื่อว่าทุกคนจะสามารถเข้าใจได้เลยว่า Ellie มีความสำคัญต่อชายแก่คนนี้ยังไง ทำไมเขาถึงหวงแหนเธอขนาดนี้ และมันจึงทำให้เราเสียใจ รวมถึงโกรธมากเมื่อได้ทราบถึงโชคชะตาของเขาในเนื้อเรื่องของเกมหลังจากนี้ โดยที่หลายคนอาจไม่ได้ตระหนักเลยว่า ตัวเองได้มีอารมณ์ร่วมไปกับเนื้อเรื่อง รวมถึงเหตุการณ์ในเกมนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว





แน่นอนว่านี้ไม่ใช้บทเพลงทั้งหมดที่ล่วนแล้วแต่งดงามในแบบของตัวเอง น่าจดจำในแบบของตัวเอง แต่หากจะให้ยกตัวอย่างทุกเพลงจากทุกเกมในโลกนี้แล้ว คิดว่าบทความนี้คงยาวแบบไม่มีวันจบสิ้นกันเลยทีเดียว ตัวอย่างที่ผ่านมาเพียงแค่อยากให้ทุกคนได้เห็นภาพถึงพลัง และความสำคัญของบทเพลง ที่มักไม่ค้อยถูกพูดถึง หรือได้รับความสนใจจากเหล่าผู้เล่นเท่าไหร่นัก

และน่าเสียดายเหมือนกันที่มิอาจยกตัวอย่างเพลงที่ดี แต่ไม่ถูกจดจำในโลกวิดีโอเกมให้เพื่อนๆ ได้เห็นภาพได้ เนื่องจากตัวผมเองก็เพิ่งหันมาให้ความสนใจ บทเพลงที่สวยงามจากเกมเหล่านี้เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม "เกม" ก็ยังถือว่าเป็น Multimedia ชนิดหนึ่ง ที่สุดท้ายแล้วก็ยังคงจำเป็นต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมายที่ทำให้ตัวเองเป็นสิ่งที่น่าจดจำ ไม่ว่าจะเป็นภาพ ,การดำเนินของเนื้อเรื่อง, ภาษาที่ใช้, การเรียบเรียงคำพูดของตัวละคร, ฉาก, กราฟิก, ธีม, เกมเพลย์, ระบบ และปัจจัยสําคัญอีกมากมายที่ขาดไม่ได้





ดังนั้นในท้ายที่สุดแล้ว ต่อให้เพลงที่ถูกแต่งขึ้นมานั้นจะมีดนตรีที่ยอดเยี่ยมขนาดไหน พรรณนาได้งดงามเพียงใด ก็ยังเป็นเพียงแค่องค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้ผลงานมีคุณค่า ไม่ได้เป็นปัจจัยหลักเพียงหนึ่งเดียวที่จำเป็นต้องสร้างออกมาอย่างประณีตจนไม่จำเป็นต้องทำสิ่งอื่นได้ เช่นนั้นแล้วก็คงมิอาจเข้าถึงจิตใจของผู้เล่น หรือทำให้ถูกจดจำได้ หากขาดองค์ประกอบอื่นๆ ไป

แม้จะเป็นบทเพลงที่สวยงาม และน่าฟังเพียงใด เมื่อไม่มีคุณค่าในการจดจำ เพลงนั้นก็คงถูกลืมเลื่อนหายไปตามกาลเวลา


บทความที่คล้ายกัน

ล่าสุด
Ragnarok Origin รวมไกด์แนวทางการเล่นทั้งหมดของเกม(อัปเดตเรื่อย ๆ)
testprofile
YeeTester2
test
IHu
[เกมลดเป๋าสั่น] Euro Truck Simulator 2 เกมขับสิบล้อเน้นสมจริง และมีให้เล่นแบบ Coop ลดเหลือ 102 บาท!
IHu
วิธีรับ The Evil Within เกมสยองชื่อดังแนว Survival Horror กำลังแจกฟรี!
IHu
[ขุมทรัพย์ GF] รู้จักกับ Drug Dealer Simulator 2 เกม Coop Open World ให้เล่นเป็นเด็กส่งยากับเพื่อน!
IHu
Editors' Choice
[แนะนำเกม] Spire Horizon เกม RPG Open World ฝีมือคนไทย ! กับการตามหาตัวตนของโครงกระดูก ผจญภัยในโลกจินตนาการ
YoJung
The Ants: Underground Kingdom เกมดูแลอาณาจักรมด ประกาศกิจกรรมฉลองคร 2 ปี รับ Code รางวัลพิเศษก่อนใครที่นี่เลย!
BASUP!
PS VR2 + HORIZON: CALL OF THE MOUNTAIN REVIEW "ประสบการณ์ VR สุดล้ำหน้า กับความคุ้มค่าที่ยังไม่มีคำตอบ"
OcelotBoy
[โชว์ห่วย] ย้อนรอยหนังดัง Super Mario Bros. The Movie (1993) กับความพังที่ยากจะให้อภัย
sLAUGHTER
Show header